Monday, 29 April 2024
เกษตรกร

'บิ๊กป้อม' ลั่น!! รัฐบาลพร้อมดูแลเกษตรกรให้อยู่ดีกินดี อ้อน!! บอกอายุมากแล้ว แต่พยายามทำงานเพื่อปชช.

พล.อ.ประวิตร ติดตามสถานการณ์น้ำ-ปาล์มน้ำมัน ชี้รัฐบาลพร้อมดูแลเกษตรกรให้อยู่ดีกินดี ย้ำใช้ใจบันดาลแรง เพื่อมีกำลังใจช่วยให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและมีความสุข อ้อนบอกอายุมากแล้ว แต่พยายามทำงานเพื่อปชช.

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ การคาดการณ์ และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่กล่าวต้อนรับ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำเสนอสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ ขณะที่ กรมชลประทานนำเสนอแผนการดำเนินการโครงการระบบส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบอ่างเก็บน้ำคลองแห้ง ต.กระบี่น้อย อ.เมือง โดยสรุปภาพรวม ปริมาณฝน จ.กระบี่ สูงกว่าปี 64 ร้อยละ 8 ขณะที่เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) นำเสนอแผนดำเนินการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ดำเนินการ ส.ป.ก.จังหวัดกระบี่ บ้านสองแพร่ง หมู่ที่ 9 บ้านหว่างคลองไทย หมู่ที่ 10 ต.กระบี่น้อย อ.เมืองขณะที่รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นำเสนอสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในพื้นที่ 

ทั้งนี้ภายหลังการประชุมพล.อ.ประวิตร ได้เยี่ยมชมนิทรรศการสินค้าพื้นบ้าน พร้อมอุดหนุนผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นบ้าน และเซ็นชื่อบนเรือหัวโทงจำลอง บ้ายเกาะกลาง จ.กระบี่ เพื่อเป็นที่ระลึกอีกด้วย 

จากนั้น พล.อ.ประวิตร พบปะกับเกษตรกรชาวสวนปาล์ม โดยมีตัวแทนชาวสวนปาล์มชูป้ายให้กำลังใจ ข้อความว่า "ลุงป้อมสู้ สู้" และ "อสร.กระบี่รักลุงป้อม" โดยพล.อ.ประวิตร กล่าวว่า วันนี้ตนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและปาล์มน้ำมัน ตั้งใจมาพบพี่น้องชาวสวนปาล์ม เพื่อรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนด้วยตัวเอง เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ชาวสวนปาล์มหลายจังหวัดในภาคใต้มาพบตนที่ทำเนียบรัฐบาล ในฐานะตนเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมัน (กนป.) ที่ทำต่อเนื่องมา 8 ปี มีความห่วงใยชาวสวนปาล์มอย่างมาก ได้พยายามลดต้นทุน ทำราคาให้ดีขึ้น ออกมาตรการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ปีนี้มีผลงานออกมาชัดเจน และได้ไปขอบคุณตน อย่างไรก็ตามต้องไม่ให้มีผู้บริโภคเดือดร้อน

'กรณ์' ปลื้ม!! 9 ปี 'ข้าวอิ่มมหาสารคาม' ช่วยเกษตรกรปลดหนี้ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

'กรณ์' ลงนา เกี่ยว 'ข้าวอิ่มมหาสารคาม' ครบปี 9 ชาวนาปลื้ม ทำข้าวอินทรีย์ ปลดหนี้ทั้งหมู่บ้าน มุ่งมั่นทำเกษตรพรีเมียม ได้รับรางวัลระดับประเทศ 

(29 พ.ย. 65) นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า พร้อมด้วยคณะ เดินทางไปยัง จ. ขอนแก่น และ จ.มหาสารคาม เพื่อร่วมเกี่ยวข้าวอิ่ม ข้าวเกษตรอินทรีย์ ในโครงการเกษตรเข้มแข็ง โดยกล่าวว่า ปีนี้ครบ 9 ปี แล้วสำหรับข้าวอิ่มมหาสารคาม ซึ่งตนได้ริเริ่มตั้งแต่ปี 2556 ที่ หมู่บ้านหนองหิน จ.มหาสารคาม ด้วยการเปลี่ยนข้าวที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก มาเป็นข้าวเกษตรอินทรีย์ จนได้รางวัลพันธุ์ข้าวยอดเยี่ยมระดับประเทศ เกิดการต่อยอดข้าวเป็นสินค้าพรีเมียมประจำจังหวัด ด้วยรสชาติของข้าวมหาสารคามที่อร่อยที่สุดในโลก และกำลังขยายผลเพิ่มมูลค่าสินค้าอีกหลายชนิด ทั้งข้าวพองธัญพืช รสชาติอร่อยมาก รวมไปถึงเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิว สบู่ ฯลฯ ช่วยให้เกษตรกรปลดหนี้ มีเงินเก็บ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

นายกรณ์ กล่าวว่า ดีใจมากที่ปีนี้ ข้าวอิ่ม ได้รับรางวัล ข้าวคุณภาพอันดับที่ 3 ของประเทศ ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดา จากหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่รวมตัวกันด้วยความกล้าหาญ เปลี่ยนวิถีการปลูกข้าว เริ่มต้นจาก 7 ครัว เรือนปัจจุบันเพิ่มเป็น 171 ครัวเรือน ในพื้นที่นา 1,783 ไร่ ทำให้เห็นถึงความตั้งใจ และอดทน จนเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ และได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลผ่านโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลผลิต ทั้งรถเกี่ยวข้าว โรงสีชุมชน เครื่องบรรจุสุญญากาศ ฯลฯ นับเป็นโอกาสที่ดีที่เกษตรกรจะได้ยกระดับมาตรฐานสินค้าให้น่าซื้อ มากยิ่งขึ้น 

‘เอกชัย’ ชี้!! 8 ปี การเกษตรไทยไม่พัฒนา เชื่อ!! หากเป็นเพื่อไทย เกษตรไทยก้าวกระโดด

นายเอกชัย ทรงอำนาจเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ระบุว่าเพื่อไทยความหวังของเกษตรกร ทุกครั้งที่เพื่อไทยมาเป็นรัฐบาล เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้ เพราะ พวกเราแก้ปัญหาที่ฐานรากทางเศรษฐกิจ สร้างแรงจูงใจ ให้ความรู้ หาตลาด เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน กระจายรายได้ ขยายโอกาส เพิ่มผลผลิตเกษตรกร ดูแลปัจจัยในการผลิต สนันสนุนทุนในการทำงาน 

ที่ผ่านมา 8 ปีเกษตรกรยากลำบากมาพอแล้ว รายได้ไม่พอรายจ่าย ปัจจัยการผลิต ปุ๋ย น้ำมันแพงหมด เกษตรกรเป็นหนี้สินอยู่ด้วยความยากลำบาก แต่ราคาสินค้าเกษตรไม่เพิ่มขึ้น ซ้ำยังตกต่ำลง ชลประทานไม่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาเท่าที่ควร การเกษตรทั้วโลกเปลี่ยนไปหมดแล้ว คุณภาพ ผลผลิต ราคา ทุกประเทศต่างแข่งขันกันพัฒนา เราหยุดนิ่งไม่ได้ วันนี้ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวให้อินเดีย ผลผลิตต่อไรต่ำกว่าเวียดนามสองเท่า คุณภาพข้าวหอมผกาลำดวลของกัมพูชาพัฒนาจนได้รับรางวัลอันดับหนึ่งแซงข้าวหอมมะลิไปเรียบร้อย เราเสียแชมป์ ทั้งคุณภาพ ราคา และ ผลผลิตต่อไร เพราะรัฐบาลไม่มีฝีมือ ไม่น่าแปลกใจเลยที่ผ่านมาในรัฐบาลนี้เศรษฐกิจเราโตต่ำที่สุดในภูมิภาคตลอด

15 ธันวาคม วันชาสากล วันรณรงค์ให้ตั้งราคาสินค้าใบชาอย่างเป็นธรรม กับเครื่องดื่มที่อยู่คู่มนุษยชาติกว่า 2,000 ปี

‘วันชาสากล’ วันที่เกษตรกรผู้ปลูกชา ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมในการค้าชา และเป็นวันแห่งเครื่องดื่มยอดนิยมของคนทั่วโลก!!

วันที่ 15 ธันวาคมของทุกปีเป็น ถูกยกให้เป็น ‘วันชาสากล’ (International Tea Day) วันนี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2548 จุดเริ่มต้นมาจากเกษตรกรผู้ปลูกชากลุ่มเล็ก ๆ ในเบงกอลตะวันตก และหลายรัฐทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องถึงสิทธิและความชอบธรรมในการค้าชาของตน โดยในช่วงนั้น แม้ว่าชาจะเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีการปลูกอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ แต่อุตสาหกรรมค้าชาในประเทศอินเดียกลับมีความอ่อนแอและบริหารจัดการได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ 

กระทั่งองค์กรเพื่อการสื่อสารและการศึกษาของประเทศอินเดีย (CEC – Centre for Communication and Education) ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือสิทธิของเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยในประเทศ ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โดยได้รับความร่วมมือกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติด้วยอีกทาง ในที่สุดจึงสามารถเข้ามาพัฒนาและช่วยเหลือเกษตรกรผู้ค้าชากลุ่มย่อย ๆ ให้ได้รับความเป็นธรรมในการค้าชาและทำให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้น

‘เพื่อไทย’ อัด ‘ประยุทธ์’ ทำลาย ศก.ไทยพังยับ ชี้!! ที่ผ่านมาเอื้อแต่นายทุน - ไม่ช่วยเกษตรกร

(30 ม.ค. 66) นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน ได้รับเสียงสะท้อนถามกลับมาว่าเมื่อไหร่จะเลือกตั้ง อยากเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว เพราะหากยังเป็นรัฐบาลนี้ประชาชนคงอดตายแน่ ๆ ทั้งนี้ ตลอด 8 ปีที่ผ่านมาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำมาก โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือก ขายข้าวเปลือก 1 กิโลกรัม ซื้อมาม่ากินไม่ได้ ราคาข้าวเปลือกที่โรงสี รับซื้ออยู่ที่ 6,500-7,000 บาทต่อตัน ขณะที่ต้นทุนการเพาะปลูกพุ่งเกิน 6,500 บาทต่อไร่ ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนตั้งแต่ขาย ปัจจัยสำคัญมาจากการที่รัฐบาลปล่อยให้ต้นทุนสินค้าจำเป็นในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวปรับขึ้นไปหลายเท่าตัว โดยเฉพาะราคาปุ๋ยจาก 600 บาทต่อกระสอบปรับราคาขึ้นไป 3 เท่าตัวไปอยู่ที่ราคา 1,800 บาทต่อกระสอบ ตลอด 8 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีปีไหนเลยที่เกษตรกรมีความสุข  เพราะรัฐล้มเหลวในการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร 

นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล บริหารแบบข้าเก่งที่สุด ไม่ฟังใคร ผลที่ออกมาคือเศรษฐกิจพังพินาศ นโยบายของรัฐบาลไม่สามารถยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้เลย เอสเอ็มอีปิดกิจการนับหมื่นราย หลายพื้นที่ถูกขายให้ต่างชาติ จนไม่เหลือผู้ประกอบการ ความเหลื่อมล้ำเพิ่มสูงขึ้น เพราะนายทุนตักตวงผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลที่ประกาศออกมา ระบบการเงินหมุนเพียงรอบเดียว ส่งผลให้กระแสเงินสดในประเทศไหลเข้าสู่นายทุนเจ้าสัว ไม่หมุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผิดหลักการเศรษฐศาสตร์มาก ยิ่งหมุนน้อยค่าของเงินก็ลดลง

'นายกฯ' เคาะประกันรายได้เกษตรกร เฟส 4 วงเงิน 7.6 พันล้าน คาดเริ่มจ่ายงวดแรก ก.พ.นี้

(1 ก.พ. 66) นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ (กนย.) วันนี้ (1 ก.พ. 66) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน มีมติเห็นชอบเดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 วงเงินรวมกว่า 7.6 พันล้านบาท โดยขั้นตอนต่อจากนี้ จะเร่งเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ และคาดว่าจะเริ่มจ่ายเงินงวดแรกได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 ล่าสุดมีเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่กับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 จำนวนทั้งสิ้น 1,604,379 ราย (เจ้าของสวน ผู้เช่า ผู้ทำ 1,372,865 ราย และคนกรีดยาง 231,514 ราย) คิดเป็นพื้นที่ปลูกยาง รวม 18,183,764.59 ไร่ ซึ่งเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว

‘บิ๊กตู่’ ย้ำ!! 5 ยุทธศาสตร์ยางพารา ช่วยเหลือเกษตรกร ตั้งเป้า ‘ประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดี เกษตรกรมีรายได้มั่นคง’

(20 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความก้าวหน้าจากรายงานการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งได้ดำเนินการผลักดันซื้อขายยางมาตรฐาน และการจัดการป่าไม้ยั่งยืน โดยการซื้อขายล็อตแรกมีจำนวนกว่า 500 ตัน ระหว่างสหกรณ์ชุมชน กับ เอกชน ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินการตามนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แผนยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี (2560-2579) ที่ช่วยยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการผลิตยางของไทยให้สูงขึ้น ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง

นายอนุชา กล่าวว่า จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร ด้านเศรษฐกิจ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านเทคโนโลยี ทำให้อาจมีผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนา และการปรับตัวภายใต้การผลิตและการซื้อขายผลิตภัณฑ์ยาง ส่งผลให้การซื้อขายยางในหลายประเทศ เริ่มให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย กยท. จึงจัดระบบ ผลักดันสวนยางไทย ให้เข้าสู่ระบบการรับรองป่าไม้ ตั้งแต่กระบวนการปลูกสร้างสวนยาง เก็บเกี่ยว แปรรูป เพื่อผลักดันให้เกิดการซื้อ - ขายผลิตภัณฑ์จากยางพารา ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ผ่านระบบตลาดยางพาราของ กยท. ซึ่งเป็นแนวทางจากแผนยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี (2560-2579) ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 

1.การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรฯ และสถาบันเกษตรกรฯ 
2.การเพิ่มประสิทธิภาพ และการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน  
3.การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 
4.การพัฒนาตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย 
และ 5.การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน

3 ทางเลือกทำลาย 'ลำไยอบแห้ง' อีกบทพิสูจน์ความโปร่งใสรัฐ

รู้หรือไม่? ในอดีตรัฐบาลไทยได้มีการแก้ไขปัญหากรณีลำไยอบแห้งค้างสต็อก ด้วยการจัดสรรงบประมาณทำลายทิ้ง เพื่อไม่ปล่อยให้ตัวลำไยไหลไร้คุณภาพไหลไปสู่ตลาด ถึงมือผู้บริโภค และคู่ค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นอีกการแสดงออกถึงความรับผิดชอบ บนมาตรการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้

อันที่จริงแล้ว ในอดีตเกษตรกรภาคเหนือเคยร่ำรวยจากการขายลำไย จนบางรายถึงขั้นกล้าเปลี่ยนแปลงพื้นที่นา และพื้นที่ทำการเกษตรอื่นๆ ให้กลายเป็นสวนลำไยอย่างกว้างขวาง 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาราคาลำไยตก ก็เริ่มมีให้เห็น เมื่อเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรเร่งการผลิตลำไยนอกฤดู ทำให้ราคาลำไยค่อยๆ ลดต่ำลงเป็นลำดับ 

คำถาม คือ เวลาเจอสถานการณ์เช่นนี้ ควรต้องเป็นความรับผิดชอบของใคร? เกษตรกรฝ่ายเดียวหรือไม่? 

คำตอบก็รู้ๆ กันอยู่แล้วว่า ไม่!! 

แน่นอนว่า ในห้วงที่ราคาผลผลิตทางการเกษตรดี ไม่มีเกษตรกรคนใดไม่อยากรวย ไม่อยากปลดหนี้ ฉะนั้นผู้ที่ควรรับผิดชอบที่สำคัญในจังหวะเวลาดังกล่าว จึงต้องเป็นหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาส่งเสริมการผลิต ไม่เว้นแม้แต่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ที่ปล่อยกู้อย่างมีเงื่อนไข หากเกษตรกรระบุวัตถุประสงค์การกู้ว่าจะนำเงินไปลงทุนปลูกลำไย ก็จะได้รับการอนุมัติอย่างรวดเร็ว และจนถึงวันที่ผลของการผลิตอย่างไม่มีการวางแผนการตลาดล่วงหน้าก็ย้อนกลับมาทำลายระบบตลาดลำไย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาลำไยเป็นปัญหาที่ต้องแก้ทั้งระบบอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นปัญหาที่สะท้อนการพัฒนาของประเทศ ทุกๆ ปัญหาที่ถาโถมเข้ามา รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาจัดการแบบแก้ไปทำไป เพื่อต่อลมหายใจให้เกษตรกรไม่พังกันเป็นแถบ

มีกรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ โดยย้อนไปในช่วงปี 2552 กับการแก้ปัญหาลำไยอบแห้งค้างสต็อกปี 2546/2547 กว่า 4.6 หมื่นตันที่ค้างคามานาน 

ตอนนั้นคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ได้มีมติให้ทำลายลำไยด้วยวงเงินไม่เกิน 90 ล้านบาท แต่ยังเป็นที่ถกเถียงว่าจะทำลายด้วยวิธีใดที่จะคุ้มค่าที่สุดและไม่เปลืองงบประมาณ ที่สุด

ผลจากการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการและทำลายลำไยอบแห้งปี 2546 และปี 2547 ครั้งที่ 1/2552 ในวันที่ 24 มิถุนายน โดยมีนายจรัลธาดา กรรณสูตร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นประธานคณะกรรมการ ได้สรุป 3 แนวทางในการจัดการปัญหาลำไยค้างสต็อกเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2552

>> แนวทางแรก : เป็นการบดแล้วนำไปทำลายด้วยการฝังกลบ 
>> แนวทางที่สอง : เป็นการบดแล้วนำไปทำลายด้วยการเผา 

ทั้ง 2 วิธีนี้ จะใช้งบประมาณในการทำลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.67 บาท รวมกับค่าดำเนินการอีกกิโลกรัมละ 0.25 บาท เบ็ดเสร็จเชื่อว่างบประมาณที่ใช้ในการทำลายขึ้นกับปริมาณลำไยอบแห้งค้างสต็อกคาดว่าจะไม่เกิน 78 ล้านบาท

>> ส่วนแนวทางที่สาม : เป็นการนำไปทำพลังงานชีวมวลโดยการนำลำไยดังกล่าวบดให้ละเอียดแล้วอัดเป็นแท่งตะเกียบ โดยความร่วมมือของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องต้นแบบแล้วจำนวน 3 เครื่อง วิธีนี้ใช้วิธีการทำลายจำนวน 60 ล้านบาท

นายจรัลธารา ยืนยันว่าทั้ง 3 แนวทางจะโปร่งใสไม่มีลำไยค้างสต็อกออกมาเล็ดลอดปลอมปนกับลำไยที่กำลังจะออกสู่ท้องตลาดในฤดูกาลใหม่ในขณะนั้นอย่างแน่นอน เพราะจะมีการทำลายด้วยการบดละเอียดทีละโกดังที่กระจายอยู่ทั้งหมด 59 โกดังใน 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน และลำปาง อีกทั้งยังเป็นการเช็กสต็อกลำไยอบแห้งไปด้วยในตัว หากปริมาณที่บดทำลายน้อยกว่าที่ขึ้นทะเบียนไว้ไม่ตรงกันโดยหักค่าเสื่อมน้ำหนักไม่เกิน 10% เจ้าของโกดังต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายโดยถือเป็นจำเลยที่ 1

อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ 3 ถือเป็นแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้กว่า 70-80% ซึ่งหลายฝ่ายก็เห็นด้วยและ ครม.ก็ไม่ติดขัดให้ดำเนินการทำลายแล้วนำมาอัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ 

'อลงกรณ์' มั่นใจเกษตรกร 9 ล้านครัวเรือน สนับสนุน 'พรรคประชาธิปัตย์' ด้วยผลงานที่พิสูจน์แล้ว 4 ปีสร้างเงินกว่า 5 ล้านล้านบาทให้ประเทศและเกษตรกร

ชี้ไตรมาสแรกปีนี้จีดีพี.เกษตรโต5.5%สร้างเงินเกือบ2แสนล้านบาทเพราะราคาพืชผลเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์กล่าววันนี้ (25 เม.ย.) แสดงความเชื่อมั่นว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ 9 ล้านครัวเรือนทั้งประเทศจะให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคขวัญใจเกษตรกรด้วยผลงานทำได้ไว ทำได้จริงที่พิสูจน์แล้ว4ปีที่ผ่านมาที่พรรคประชาธิปัตย์ดูแลกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้ยุทธศาสตร์” ตลาดนำการผลิต เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” สามารถสร้างเงินสร้างรายได้ให้ประเทศและเกษตรกรจากการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ กว่า 5  ล้านล้านบาท เฉลี่ยปีละ 1.39 ล้านล้านบาท ทำให้ได้เปรียบดุลการค้าภาคส่งออกนำเข้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ 8.6 แสนล้านต่อปี แม้ต้องเผชิญกับวิกฤติโควิดและสงครามรัสเซีย-ยูเครน

‘ประชาธิปัตย์’ เปิดนโยบาย ‘เกษตรทันสมัย’ 26 ด้าน ดันไทยสู่มหาอำนาจอาหารโลก สร้างเงินให้ประเทศ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

(27 เม.ย.66) (พรรคประชาธิปัตย์) ทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าว วาระประเทศไทย ครั้งที่ 4 'ปชป. กับนโยบายเกษตร' นำโดย นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์, ม.ร.ว. ศศิพฤนท์ จันทรทัต อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคมขนส่งโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการขนาดใหญ่ ณ ห้องประชุมชั้น 3 พรรคประชาธิปัตย์ อาคาร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เล็งเห็นว่า เกษตรคืออนาคตของประเทศและเป็นดีเอ็นเอ (DNA) ของพรรคจึงมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปภาคเกษตรเพื่อให้เกษตรกรเข้มแข็ง เกษตรไทยแข็งแกร่งจึงกำหนดเป้าหมายของนโยบายเกษตรทันสมัยภายใต้วิสัยทัศน์ “เกษตรฐานราก เกษตรฐานโลก”และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 1. ประเทศไทยต้องเป็นมหาอำนาจอาหารโลก Top10 2. เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น 100 % และ 3. เพิ่ม GDP เกษตรเป็น 10% 

นโยบายเกษตรทันสมัยของพรรคประชาธิปัตย์ เบอร์ 26 จึงกำหนด 26 นโยบายสำคัญๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการยกระดับอัพเกรดภาคเกษตรสู่การบรรลุเป้าหมาย เช่น ต่อยอดประกันรายได้จ่ายส่วนต่าง เกษตรแปลงใหญ่ 3 ล้าน เติมทุนชาวนา 3 หมื่นต่อครัวเรือน องค์กรประมงท้องถิ่น1แสน ตอบแทน อาสาสมัครเกษตร 1 พันต่อเดือน ธนาคารหมู่บ้านชุมชน 2 ล้าน ปรับลดปลดหนี้พักหนี้เกษตรกร ปลดล็อก พรก.ประมง"


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top