Wednesday, 21 May 2025
SPECIAL

บช.ปส.นำทีม สนธิกำลัง เปิดปฏิบัติการแผนสยบไพรี 64/14 ทลายแก๊งค้ายาเสพติด “กาก้า มังกรหลับ” ค้น 35 เป้าหมายทั่วประเทศ ยึดทรัพย์รวม 50 ล้านบาท

เวลา 05.00 น.วันที่ 24 ส.ค.64  พล.ต.ท.มนตรี ยิ้มแย้ม ผบช.ปส.ได้นำกำลังตำรวจ กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ตำรวจภูธร ภาค 5 ทหาร ฉก.ม.3 กองกำลังผาเมือง ตชด.ภาค 3 และฝ่ายปกครอง เปิดปฏิบัติการแผนสยบไพรี 64/14 เพื่อทลายเครือข่ายค้ายาเสพติด "กาก้า มังกรหลับ" ในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 35 จุด ทั่วประเทศ โดย จ.เชียงราย 23 จุด  จ.เชียงใหม่ 7 จุด จ.น่าน 2 จุด กรุงเทพฯ 1 จุด จ.สุราษฎร์ธานี 1 จุด และ จ.แม่ฮ่องสอน 1 จุด โดยผลการปฏิบัติสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับได้ 17 ราย ยึดทรัพย์ บ้านพร้อมที่ดิน 4 หลัง อาคารพาณิชย์ 2 คูหา ที่ดิน 1 แปลง รถยนต์ 5 คัน มูลค่าประมาณ 35 ล้านบาท

โดยปฏิบัติการมีขึ้นหลังจากเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมเครือข่าย แก๊งกาก้า มังกรหลับ โดยมีคดีเกี่ยวข้อง 5 คดีคือ คดีแรกเกิดขึ้นเมื่วันที่ 1 ส.ค.2563 ได้จับนายวรเดช พรถาวรกุล กับพวกรวม 4 คน พร้อมไอซ์ 50 กิโลกรัม เหตุเกิดในพื้นที่ ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย  คดีที่ 2 วันที่ 28 ส.ค.2563 จับกุมนายมนตรี แซ่ลี กับพวกรวม 4 คน พร้อมยาบ้า 1,399,800 เม็ด ยาไอซ์ 6 กิโลกรัม และฝิ่นดิบ 4 กิโลกรัม เหตุเกิดในพื้นที่ ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ คดีที่ 3 วันที่ 3 ก.พ.2564 จับกุมนายบดินทร์ ตานะสาย กับพวกรวม 2 คน ของกลางยาไอซ์ 100 กิโลกรัม ยาบ้า 341 เม็ด เหตุเกิดที่ ต.แม่สาย อ.แม่สาย และ ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียราย จ.เชียงราย คดีที่ 4 วันที่ 13 มี.ค.2564 จับกุมนายสมพล ลีไพรอุทิศ กับพวกรวม 3 คน ของกลางยาบ้า 920,000 เม็ด และยาไอซ์ 52 กิโลกรัม เหตุเกิด ต.หนองหาร อ.สันทราย และ ต.สันผีเสื้อ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และคดีสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 มี.ค.64 จับกุมนายกฤษกร ประชุมพรรณ์ กับพวกรวม 7 คน ของกลางยาบ้า 8,085,000 เม็ด เหตุเกิด ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี จากการขยายผลทางเจ้าหน้าที่ได้ขออนุมัติออกหมายจับ จำนวน 39 ราย เป็นหมายจับข้อหา สมคบฯ พ.ร.บ.ยาเสพติด จำนวน 12 ราย หมายจับข้อหา สมคบฯ พ.ร.บ.ยาเสพติด และ ฟอกเงิน จำนวน 12 ราย และหมายจับข้อหา ฟอกเงิน จำนวน 15 ราย 

โดยก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ได้เปิดปฏิบัติการตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายมาแล้ว 10 จุด เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมาในเขต จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่  ลพบุรี และลำพูน ดำเนินกรจับกุมผู้ต้องหาได้ 6 ราย ยึดทรัพย์ได้มูลค่า 15,000,000 บาท ประกอบด้วยบ้านพร้อมที่ดิน 1 หลัง ที่ดิน 1 แปลง คอนโด 1 หลัง รถยนต์ 7 คัน รถจักรยานยนต์ 10 คัน ทองคำรูปพรรณ 14 รายการ และอาวุธปืน 6 กระบอกอีกด้วย

โดย พล.ต.อ.มนู เมฆหมก รอง ผบ.ตร.(ปป.) พล.ต.ท.มนตรี ยิ้มแย้ม ผบช.ปส.มีกำหนดเดินทางไปยังห้อง ศปก.สภ.แม่สาย เพื่อรับฟังบรรยายสรุป ก่อนลงตรวจพื้นที่เป้าหมายในปฏิบัติการใน อ.แม่สาย พร้อมแถลงข่าต่อสื่อมวลชนต่อไป


ภาพ/ข่าว  ณัฐวัตร ลาพิงค์ / เชียงราย

สระแก้ว - ผู้ว่าสระแก้วประชุมร่วมผู้ประกอบการในตลาดโรงเกลือเพื่อหารือ เปิดร้านขายของตามปกติ มีบางส่วนปิดหนีโควิด-19

เมื่อเวลา 10.30 น. ของวันนี้ ณ โรงแรมเดอะเวโลโฮเทล อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานในพิธี โยมี นายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วพ.อ.เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการกองกำลังบูรพา หัวหน้าสำนักงานจังหวัด ปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ กรปกครองสวนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ตม.สระแก้ว ทหาร ตำรวจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บรรยากาศที่ตลาดโรงเกลือ มีชาวกัมพูชาเดินทางกลับประเทศกัมพูชา ประกอบการค้า และกรรมกรรับจ้างทั่วไม่มีทำให้ตลาดเงียบเหงา และเปิดร้านอยู่ไม่กี่ร้านนอกจากนั้นปิดหมด ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในตลาดโรงเกลือ คงต้องรอ ส่วนความคืบหน้าในการป้องกันโรคโควิดตามมาตรการสาธารณสุขสำหรับในช่วงนี้มีชาวกัมพูชาในตลาดโรงเกลือติดเชื้อโควิดเป็นจำนวนมากจึงมีการคัดเตอร์ในตลาดโรงเกลือ 21 วันจะครบในวันที่ 24 ส.ค.2564ที่จะถึงนี้ จึงมีมาตรการมารองรับในการเปิดตลาดโรงเกลือให้กับมาคึกคักเหมือนเดิม

นายสุรศักดิ์ รัตนธรรม เจ้าของตลาดรัตนธรรม กล่าวว่า ในช่วงนี้ตลาดโรงเกลือไม่มีนักท่องเที่ยวมาซื้อสินค้าเหมือนแต่ก่อน การขายของก็ไม่ได้เลย ยามปกติขายของได้ แต่มีลิขสิทธิ์มาจับ พอขายของดีหน่อยก็มีโรคโควิดแพร่ระบาดปิดตลาด แต่ค่าเช่า และค่ายามต้องจ่ายทุกเดือน แต่ตอนนี้ชาวกัมพูชากลัวโควิดมาก ขอกลับประเทศเกือบหมด จึงไม่มีโครมาเปิดร้านขายของได้ รายได้จากการขายของไม่มี แต่ค่าห้อง และค่าอะไรอีกมากมาย ก็ยังมาเก็บอยู่ ถ้าเป็นอย่างนี้ชาวกัมพูชา จะลำบากมาก และคนไทยก็ไม่ค่อยซื้อของมากนัก ไม่มีคนเดินซื้อของเลยจึงขอเสนอให้เปิดตลาดโรงเกลือและให้แต่ละเจ้าของตลาดดูแลคนของตนในการเข้า-ออก จะต้องมีการตรวจคัดกรองและกำชับให้คนในตลาดของตนสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยแอลกอฮอลเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว

นางราตรี แสงรุ่งเรือง ประธานสภาการท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ตลาดโรงเกลือเป็นตลาดการค้า ที่มีชาวกัมพูชาเข้ามาประกอบการเกือบทุกร้าน และชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ก็มีฐานะไม่ค่อยดี การแก้ไขปัญหาการขายสินค้า ทางจังหวัดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้า มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ซึ่งทางจังหวัดได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรึกษาหารือแนวทางแก้ไข ประกอบการตลาดโรงเกลือเป็นตลาดขนาดใหญ่ จะต้องแก้ปัญหาเป็นขั้นเป็นตอน แต่ปัญหาใหญ่ในช่วงนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการซึ่งเป็นชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในตลาดโรงเกลือ ส่วนใหญ่ก็มีฐานะไม่คอยดีอยู่แล้วที่เป็นกรรมกรรับจ้างทั่วไป ดังนั้นจะทำอย่างไรเพื่อให้คนไทยและคนกัมพูชาที่อาศัยอยู่ตมแนวชายแดน มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดไป ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เราเลย จึงไม่มีรายได้เข้ามาทำให้ตลาดโรงเกลือเงียบเหงาดังกล่าว

นายเกียรติศักดิ์ จันทา ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว  กล่าวว่าในที่ประชุมได้รับฟังปัญหาของผู้ประกอบการทั้งในพื้นที่เมืองอรัญฯและในตลาดการค้าชายแดน(โรงเกลือ) เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาด ตลอดจนการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว(กัมพูชา) กรณีขอกลับประเทศเข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับการที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโดยเฉพาะตลาดโรงเกลือ ไม่สามารถขายสินค้าได้ตามปกติตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน และล่าสุดได้มีคำสั่งทางจังหวัดควบคุมการเข้า-ออก ในพื้นที่ ทำให้เดือดร้อนไม่สามารถขายสินค้าได้ แต่ต้องแบกภาระในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการเรียกต่อสัญญาเช่าอาคาร ที่ดิน หรือสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นต้น ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันไม่ดีขึ้นเลย ดังนั้นในการมาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ทางผู้ประกอบการเช่าอาคารตลาดโรงเกลือ ขอยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พิจารณาทบทวนปัญหาของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในขณะนี้

ทางผู้ว่าสระแก้วได้รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นโดยรวมรับปากว่าจะรีบหาทางแก้ไขทั้งเจ้าของตลาดและผู้ประกอบการให้เป็นธรรมกันทั้งสองฝ่าย ส่วนตลาดโรงเกลือท่านผู้ว่าฯ ยังต้องใช้มาตรการควบคุมพื้นที่ขั้นสูงต่อไปเรื่อย ๆ ก่อน เนื่องจากยังมีชาวกัมพูชาติดเชื้อเพิ่มเกือบทุกวัน สืบเนื่องจากกลุ่มชาวกัมพูชานั้นยังไม่มีใครได้รับวัคซินสร้างภูมิคุ้มกัน และที่ได้ข่าวว่าชาวกัมพูชาที่อยู่ในตลาดโรงเกลือได้มีการลงทะเบียนเพื่อรอการฉีดวัคซินจากรัฐบาลกัมพูชานั้น ผู้ว่าฯบอกก็ทราบข่าวเหมือนกัน ทั้งนี้ก็ต้องรอผู้ที่มีอำนาจในการอนุญาตหรือตัดสินใจเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามก็คอยช่วยเหลือเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติใดก็ตาม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังกล่าว ทำให้ชาวกัมพูชา ที่ประกอบการค้าในตลาดโรงเกลือ ต่างพากันปิดร้าน ขอเดินทางเข้าไปในประเทศกัมพูชา ด้วยความกลัวโรคระบาด ที่อยู่ติดกับฝั่งกัมพูชา ทางด้านทิศตะวันออกของตลาดโรงเกลือ และในช่วงที่ผ่านมา ชาวกัมพูชาเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาในประเทศของตนเพื่อความปลอดภัยตลาดโรงเกลือ ปิดร้าน คิดเป็นร้อยละ 70% จึงทำให้ตลาดโรงเกลือเงียบเหงาอย่างที่เห็นดังกล่าว


ภาพ/ข่าว  สมศักดิ์ สารการ / บูรพาทีวีออนไลน์ รายงาน

เมื่อเราอายุเริ่มมากขึ้น ก็ต้องดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้นแต่เรื่องง่าย ๆ ที่หลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามไป ”อุบัติเหตุจากการหกล้ม” ซึ่งนอกจากจะเกิดอาการบาดเจ็บแล้วอาจส่งผลถึงระบบภายใน ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 10 ล้านคน ซึ่งนับเป็นร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด จึงถือว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged society) ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น, อิตาลี, เยอรมันและสวีเดน

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ, ความแข็งแรงเริ่มถดถอย, การทรงตัวแย่ลง จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การล้มเป็นสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องย้ายจากบ้านไปอยู่สถานพักฟื้น รวมถึงสภาพจิตใจและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการล้มมากถึงร้อยละ 28-35 และผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการล้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 32-42 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุมีอัตราการเสียชีวิตจากการล้มสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย

ทำไมผู้สูงอายุถึงล้ม

1.) มีปัญหาเรื่องการทรงตัว
2.) มีความบกพร่องทางการมองเห็น
3.) มีปัญหากระดูกสันหลังหรือหลังค่อม ทำให้ไม่สามารถยืดลำตัวตรง
4.) เป็นโรคความดันโลหิตหรือกินยาบางชนิดที่ส่งผลต่อความดันโลหิต
5.) กล้ามเนื้อขาและสะโพกไม่แข็งแรง

วิธีป้องกันและแก้ไขเบื้องต้น

1.) พบผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินและแก้ไขปัญหาการทรงตัวที่เกิดจากทางกระดูกหูชั้นใน 
2.) แก้ไขปัญหาสายตา เช่น การตัดแว่นสายตาให้เหมาะสม
3.) เปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ ไม่นั่งหลังค่อมเป็นระยะเวลานาน
4.) ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคความดันโลหิต
5.) ออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาและสะโพก โดยใช้เก้าอี้เป็นอุปกรณ์ช่วยในการออกกำลังกาย ดังนี้

ท่าที่ 1

เขย่งเท้า : ค้าง 10 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้ง

กระดกเท้า : ค้าง 10 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้ง

ท่าที่ 2     

ย่ำเท้า ซ้าย-ขวา สลับกัน

ยกขาขึ้น ค้าง 10 วินาที แล้วสลับข้าง ทำซ้ำ 40 ครั้ง (ข้างละ 20 ครั้ง)

ท่าที่ 3

แกว่งขาไปด้านหน้า ค้างไว้ 10 วินาที แล้วแกว่งไปด้านหลัง ค้างไว้ 10 วินาที ตัวตรง หลังตรง ทำซ้ำข้างละ 20 ครั้ง

ท่าที่ 4 กางขาออกด้านข้าง ซ้าย-ขวาสลับกัน

กางขา ค้างไว้ 10 วินาที แล้วเปลี่ยนข้าง

ตัวตรง หลังตรง ทำซ้ำข้างละ 20 ครั้ง

การออกกำลังกายดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและสะโพก เมื่อออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีส่วนช่วยฝึกการทรงตัวและป้องกันการล้มในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ลูกหลานต้องให้ความรัก ความห่วงใย ดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนน้ำทิพย์หล่อเลี้ยงจิตใจให้ท่านมีชีวิตอยู่กับเราไปอีกนาน

.

เขียนโดย:  กภ. วิชญดา มาเสถียร
นักกายภาพบำบัด ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 


ข้อมูลอ้างอิง 
12 Best Elderly Balance Exercises For Seniors to Help Prevent Falls – ELDERGYM®
หกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายกว่าวัยอื่นหลายเท่าตัว ปัญหาที่ต้องระวัง • RAMA Channel (mahidol.ac.th)

นราธิวาส - "สธ. และ ศธ. ห่วงใยคนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จ.นราธิวาส" จัดเสวนายุคใหม่แบบ WHF Online สร้างความเข้าใจในการเรียนการสอน จากสถานการณ์ Covid-19

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่หอประชุมจำลอง ศรีเลขา โรงเรียนนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส นายณัฐพงษ์ นวลมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 7 เป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน เรื่องการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดนราธิวาส ภายใต้กิจกรรม "สธ. และ ศธ. ห่วงใยคนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จังหวัดนราธิวาส"เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริหาร ครูอาสาสมัครในสถาบันศึกษาปอเนาะ

โดยมี นายแพทย์สมหมาย บุญเกลี้ยง ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต , นายแพทย์วิเศษ สิรินทโสภณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส , นายธวัชชัย ไชยกันย์ รองศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส , ดร.มุทริกา จินากุล หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนและวัยรุ่นสำนักงานอนามัยที่ 12 ยะลา , นายแพทย์วิบูลย์ คลายนา เภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานอนามัยที่ 12 ยะลา และฮัจญีอัสอารี ลาเต๊ะ (บาบอซู) ตัวแทนสถาบันศึกษาปอเนาะ พร้อมกันนี้มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google Meet พร้อมกันนี้ได้มอบเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วจำนวน 20 เครื่อง ชุด PPE จำนวน 30 ชุด อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นกว่า 20,000 บาทให้บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสนามจังหวัดนราธิวาส

ทางด้านนายณัฐพงษ์ นวลมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 7 กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถาบันศึกษาปอเนาะ จังหวัดนราธิวาส มีข้อกำหนดโดยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบ On-Hand เป็นหลักเพราะจะมาอยู่ร่วมกันไม่ได้ ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 จำนวนมากในขณะนี้ ซึ่งประเด็นที่น่ากังวลก็คือประเด็นของนักเรียนที่กลับไปบ้านแล้วกลับเข้ามาในสถาบันปอเนาะ ซึ่งเป็นประเด็นที่เรากังวล ถ้าหากมีนักเรียนคนใดคนหนึ่งกลับมาอยู่ในสถาบันการศึกษาปอเนาะจะต้องกักตัวก่อน 14 วัน ซึ่งในบางสถาบันศึกษาปอเนาะ จะเป็นนักเรียนที่อยู่ประจำ เพราะฉะนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จะออกนอกพื้นที่ไม่ได้ โดยจะต้องอยู่ในสถาบันศึกษาปอเนาะทุกวันและต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มที่แบบ 100% โดยห้ามคนในออกคนนอกเข้าไม่เช่นนั้นการแพร่ระบาดจะเกิดขึ้น ส่วนในการจัดการเรียนการสอนจะเป็นไปใน 3 รูปแบบ ดังนี้

1.ใช้ระบบ ON-HAND เป็นหลัก ซึ่งครูก็จะสามารถที่จะประสานกับนักเรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะ ผ่านทางบาบอโดยมอบนโยบายในการจัดการเรียนการสอนต่างๆให้กับนักเรียนได้อ่านและตอบ

2.ใช้ระบบ ON–DEMAND ซึ่งบางคนมีมือถือเครื่องมือสื่อสารที่จะสามารถติดต่อสื่อสารกับครูได้ ซึ่งจะใช้คลิปเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนดังกล่าว

3.ใช้ระบบ ON-AIR ซึ่งในบางพื้นที่ก็สามารถจัดการเรียนการสอนได้แต่ก็มีน้อย ก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนใน 3 รูปแบบได้

ซึ่งในขณะนี้การจัดการเรียนการสอนแบบ ON-SITE ไม่ได้เด็ดขาด เพราะพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม การจัดการเรียนการสอนแบบ ON-SITE  ก็จะต้องได้รับการอนุมัติจาก ศบค.เป็นหลัก โดยในขณะนี้การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นปัญหาและอุปสรรคในด้านเครื่องมือต่าง ๆ อาทิเช่น โทรศัพท์มือถือ โน๊ตบุ๊ก รวมถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว และร่วมหารือหาทางแก้ไข และในส่วนของเด็กยากจนที่ยังขาดอุปกรณ์ในการเรียนการสอนนั้นในขณะนี้ต้องยึด ศบค.เป็นหลักคือเงินอุดหนุนบางส่วน สามารถที่จะสนับสนุนจัดอุปกรณ์การเรียนการสอน เช่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งต้องรอทำการตกลงกันระหว่างกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

นายณัฐพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ยังกล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันโรค covid-19 ในกิจกรรม "สธ. และ ศธ. ห่วงใยคนในสถาบันปอเนาะ" สืบเนื่องจากการตรวจราชการในหลายพื้นที่ในห้วงที่ผ่านมานั้น ยังมีประเด็นที่น่ากังวลคือ การสร้างการรับรู้รวมถึงแนวทางการป้องกันมาตรการการป้องกัน covid-19 ยังไม่รัดกุมเท่าที่ควร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งสร้างการรับรู้ระหว่างรัฐกับประชาชนทั่วไป รวมถึงนักเรียนนักศึกษาในประเด็นดังกล่าวให้มากขึ้น และควรจะต้องดำเนินการให้เร็ว ครอบคลุมให้มากที่สุด ทางสาธารณสุขในพื้นที่ และศึกษาธิการจังหวัด จึงได้ร่วมกันประชุมหารือ หาแนวทางมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับสถานศึกษาในพื้นที่ โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือสถาบันการศึกษาปอเนาะ โดยสถานศึกษานั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 ตามที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)กำหนด

ส่วนเรื่องของการฉีดวัคซีน โควิด-19 นั้น ขณะนี้ทางศึกษาธิการจังหวัดได้ดำเนินการให้บุคลากรทางการศึกษาทุกแห่ง ได้ฉีดวัคซีนวัคซีน เพื่อรองรับการเปิดภาคเรียนแล้ว โดยหลังจากนี้ ศึกษาธิการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้เร่งชี้แจงสร้างความเข้าใจถึงมาตรการต่าง ๆ ต่อสถานศึกษาในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการรับรู้ และมีการปฏิบัติเรื่องการป้องกันโควิด-19 ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป


ภาพ/ข่าว  แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

ตราด - ผบ.มชด. เยี่ยมบำรุงขวัญกำลังพลที่ปฏิบัติราชการชายแดน เมืองตราดให้กำลังใจ ต้านภัยโควิด

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 64 น.อ.เกียรติกูล สุวรรณ รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1/ผู้บังคับหมวดเรือชาดตระเวนชายแดน พร้อมด้วย น.อ.ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ เสนาธิการกองเรือปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 1 / รองผู้บังคับหมวดเรือชาดตระเวนชายแดน ตรวจพื้นที่และเยี่ยมบำรุงขวัญกำลังพลของเรือใน มชด./1 ณ ท่าเทียบเรือฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1 อ.แหลมงอบ จว.ตราด และประชุม ผบ.เรือ/ผค.เรือ เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งตรวจความพร้อมของเรือ โดยทำการฝึกสถานีป้องกันภัยทางอากาศ และสถานีป้องกันความเสียหาย และในโอกาสนี้ ผบ.มชด. ได้มอบอุปกรณ์การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 ให้กับกำลังพลประจำเรือ อีกด้วย

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19) ยังไม่เบาบางลง พล.ร.ท.โกวิท อินทร์พรหม ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 มีความห่วงใยกำลังพล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในทะเล จึงให้ผู้บังคับหน่วยในการบังคับบัญชา ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 เพื่อให้ขีดความสามารถในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน กระทำได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเน้นย้ำให้ทุกหน่วย มีการฝึกฝนให้ชำนาญอยู่เสมอ

หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน มีการจัดเรือออกลาดตรวจการณ์ทาง ทะเล อย่างสม่ำเสมอ โดย น.อ.เกียรติกูล สุวรรณ รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1/ผู้บังคับหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน(ผบ.มชด.)ได้กำชับเรือใน มชด. ทั้งสองหมู่ (มชด./1 และ มชด./2) ให้ตื่นตัวตลอดเวลา พร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด พร้อมทั้งให้ประสานงานด้านการข่าวกับทุกหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ เพื่อให้การรักษาอธิปไตย การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และการรักษากฎหมายในทะเล ตลอดจนการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลอด 24 ชม.


ภาพ/ข่าว  กองกิจการพลเรือนทัพเรือภาคที่ 1

นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน

อยุธยา - รองผู้ว่าอยุธยา นำคณะลงพื้นที่มอบ “ถุงกำลังใจ สู้ภัยโควิด-19” จากสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางครอบครัวผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงในพื้นที่อำเภอบางปะอิน รวม 123 ราย

นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มอบหมายให้นางสาวนุชนาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย นางสาวนฤมล พงษ์สุภาพ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด นายวัชระ กระแสร์ฉัตร์ นายอำเภอบางปะอิน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทีม พม.พระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มเปราะบางครอบครัวผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงของอำเภอบางปะอิน  เพื่อเป็นกำลังใจให้กับครอบครัว ดูแลสภาพจิตใจ รวมทั้งมอบถุงยังชีพ “ถุงกำลังใจ สู้ภัยโควิด-19” จากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนกลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่มเปราะบางครอบครัวผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงในพื้นที่อำเภอบางปะอิน จำนวน 123 ราย  ซึ่งญาติของผู้ป่วยที่ได้รับมอบ “ถุงกำลังใจ สู้ภัยโควิด-19” ต่างขอบคุณภาครัฐที่ได้ความช่วยเหลือ ทำให้แบ่งเบาความเดือดร้อนได้ในสถานการณ์การระบาดปัจจุบันนี้

สำหรับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา ได้รับการจัดสรรถุงยังชีพ “ถุงกำลังใจ สู้ภัยโควิด-19” เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางครอบครัวผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด จากเงินกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณะภัย สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนทั้งสิ้น 835 ถุง ซึ่งจะดำเนินการนำส่งมอบช่วยเหลือทั้ง 16 อำเภอ อย่างต่อเนื่องต่อไป


ภาพ/ข่าว  สุจินดา อุ่นขาว รายงานจากอยุธยา

ชลบุรี - รัฐมนตรีแรงงาน ตรวจเยี่ยมผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เกาะสีชัง พร้อมแจกถุงยังชีพผู้สูงอายุ มอบเงิน 5 แสน ศูนย์เรียนรู้ธนาคารทะเลเกาะสีชัง

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 23 สิงหาคม ที่ศาลาอเนกประสงค์ เทศบาลตำบลเกาะสีชัง อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงแรงงานได้เดินทางตรวจเยี่ยมการรับสมัครผู้ประกันตนตามมาตรา 40 โดยมีการนำรถโมบายมาให้บริการ นอกจากนี้ยังได้พบปะผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 พร้อมทั้งได้มอบถุงยังชีพ โดยมีนายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมชาวเกาะสีชังให้การต้อนรับ นอกจากนี้ยังเป็นตัวแทน บริษัท คิงส์ แพ็ค อินดัสเตรียล จำกัด และผลิตภัณฑ์ตราฮีโร่ มอบเงิน 500,000 บาท ให้กับศูนย์เรียนรู้ธนาคารทะเลเกาะสีชัง โดยชุมชนเพื่อชุมชนยั่งยืน เพื่อช่วยในการอนุรักษ์สัตว์ทะเลและพืชทะเล

หลังจากนั้นนายสุชาติกล่าวว่า การเดินทางมาเกาะสีชังในครั้งนี้ เนื่องมาจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้มีความห่วงใยประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 สร้างความลำบากในการดำรงชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่สีแดงจัด 29 จังหวัด รวมทั้ง จ.ชลบุรี จึงได้เปิดให้มีการประกันตนตามมาตรา 40 เพื่อให้สิทธิพื้นฐานกับประชาชนที่ทำงานอิสระ

 

สำหรับ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ให้ความห่วงใยผู้ประกอบอาชีพอิสระ สำหรับเกาะสีชังประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และอาชีพดูแลนักท่องเที่ยวสกายแลป การเดินทางมาเกาะสีชังเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งวันที่ 24 สิงหาคมจะหมดเขตแล้ว โดยเฉพาะอาชีพประมงจะลำบากมาก เพราะนักท่องเที่ยวไม่มาเกาะสีชัง ชาวประมงก็ขายอาหารทะเลไม่ได้ ซึ่งเป็นวงจรเศรษฐกิจบนเกาะสีชัง

ส่วนกรณีที่จะเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสุชาติกล่าวว่า "จากการที่ทำงานทุกวันสามารถตอบคำถามได้ ไม่กังวลใจแต่อย่างใด เพราะรู้อยู่แล้วว่าเราทำอะไร ถือว่าเป็นสีสันทางการเมือง เป็นเรื่องความสวยงามในระบอบประชาธิปไตย ที่ฝ่ายค้านต้องตรวจสอบฝ่ายบริหาร ชาวบ้านที่ดูอยู่ทางบ้านจะรู้ว่าใครทำงาน ใครไม่ทำงาน"

กรณี ที่มีการลงในโลกโซเซียลเกี่ยวกับการท้าชกระหว่างรัฐมนตรีเฮ้งกับนายมงคลกิตติ์ หรือเต้ สุขสินธารานนท์ นั้น นายสุชาติกล่าวว่า ตนเองกับเต้นั้นรู้จักกัน จากการที่เต้ออกมาท้านายกรัฐมนตรีชกกันนั้น ผมมองว่าเป็นการก้าวร้าว เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศ ตนเองก็ต้องออกมาพูดว่าสิ่งที่ออกมาทำนั้นไม่ถูกต้อง จึงได้บอกเต้ไปว่ากำลังนั้นไม่ได้มีไว้แก้ปัญหา ในเรื่องกีฬานั้นไม่เป็นไร ตนพร้อมในเรื่องกีฬา


ภาพ/ข่าว  นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี ก012 ชลบุรี

“โรคไมเกรน” ถือว่าเป็นโรคที่คนไทยหลาย ๆ คนเป็น เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดในสมองมีการหดตัว ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว ต้องทานยาสำหรับโรคนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้หลาย ๆ คนก็สามารถเป็นโรคไมเกรนเทียมได้อีกด้วย !

'โรคไมเกรน' หรือ การปวดหัวข้างเดียว เกิดจากความผิดปกติในการหดตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง มักเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ แต่อาจมีตัวกระตุ้น เช่น แสง สี เสียง กลิ่น อากาศร้อน หรือการมีประจำเดือน มักมีอาการปวดหัวข้างเดียว หรือปวดสลับข้างกัน หากเป็นมากจะเห็นแสงจ้าหรือแสงระยิบระยับร่วมด้วย ซึ่งการปวดหัวไมเกรนมักดีขึ้นได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนโดยเฉพาะ (ยาพาราเซตามอลไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น)

อย่างไรก็ตามหากรับประทานยารักษาไมเกรนแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจเกิดจาก 'ไมเกรนเทียม' แฝงอยู่ก็เป็นได้ !! 

ไมเกรนเทียมไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง แต่เกิดจากการเกร็งตัว หรือหดสั้นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า และฐานกะโหลกศีรษะ โดยกลุ่มกล้ามเนื้อที่มักก่อให้เกิดการปวดคล้ายไมเกรนพบได้หลายมัด เช่น Suboccipital, Upper trapezius, Semispinalis capitis, Splenius capitis, Sternocleidomastoid Muscle ซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หลักในการพยุงกะโหลกศีรษะ การหันหน้า และการก้มเงยคอ 
เนื่องจากกล้ามเนื้อเหล่านี้มีจุดเกาะอยู่ที่กระดูกสันหลังส่วนคอและฐานกะโหลก

เมื่อเกร็งคอและบ่าเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการปวดสะสมขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงอาจแยกไม่ออกว่าอาการปวดหัวข้างเดียวเกิดขึ้นเกิดจากไมเกรนเทียมหรือไม่

ทั้งนี้ ไมเกรนเทียมสามารถพบได้บ่อยไม่ต่างจากไมเกรนแท้!! แต่สามารถสังเกตได้!! 

วิธีสังเกตอาการของไมเกรนเทียม สังเกตได้จากเมื่อเกิดการปวดหัวข้างเดียว ขณะที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ รวมถึงการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น ไหล่ห่อ คอยื่น เป็นต้น 

นอกจากนี้ไมเกรนเทียมยังสามารถพบจุดกดเจ็บ (Trigger Point) หรือกล้ามเนื้อที่เกร็งค้างบริเวณคอ บ่า และใต้ฐานกะโหลก ซึ่งเมื่อทำการกด นวด หรือยืดกล้ามเนื้อมัดดังกล่าว อาจมีการปวดร้าวไปยังบริเวณต่าง ๆ 

ส่วนวิธีป้องกันไมเกรนเทียมที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องนั่งนาน ๆ เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการเกร็งและนำไปสู่การบาดเจ็บได้ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้... 

>> หากต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานควรจัดระดับหน้าจอ เก้าอี้ และคีย์บอร์ดให้เหมาะสม ควรเป็นเก้าอี้ที่มีที่รองแขน เพื่อให้ไม่ต้องออกแรงยกไหล่ขึ้นตลอดเวลา ปรับระดับหน้าจอ และความสูงของเก้าอี้ 

>> ใส่แว่นสายตาและจัดแสงสว่างให้เหมาะสมกับการทำงานประเภทต่าง ๆ เพราะการต้องเพ่งมองมาก ๆ ทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่า และฐานกะโหลกเกร็งตัวมากขึ้น

>> เปลี่ยนอิริยาบททุกชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย หรือดื่มน้ำ 1-2 แก้วทุกชั่วโมงทำให้ต้องเปลี่ยนอิริยาบทและเดินไปเข้าห้องน้ำอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ระหว่างวันควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่อย่างสม่ำเสมอ ดังต่อไปนี้... 

ยืดกล้ามเนื้อบ่า 

เริ่มจากนำแขนข้างที่จะยืดไปไว้ด้านหลัง แล้วใช้มืออีกข้างจับไว้ โดยเอียงศีรษะไปด้านตรงข้าม ช้า ๆ เอียงจนรู้สึกตึงบ่าด้านขวา หรือให้หูซ้ายเข้าใกล้บ่าซ้ายมากที่สุด หากยังไม่รู้สึกตึงให้หมุนหน้าไปทางซ้ายหรือขวาเล็กน้อย ยืดค้าง 5-10 วินาที รอบละ 10-15 ครั้ง

บริหารกล้ามเนื้อฐานกะโหลก

ทำท่าเก็บคาง หรือพยายามเอาคางชิดอกโดยไม่ก้มคอ ห้ามกลั้นหายใจขณะทำ เกร็งค้างเบา ๆ 5-10 วินาที ทำรอบละ 10-15 ครั้ง

บริหารกล้ามเนื้อต้นคอ

...นอนคว่ำ ให้ช่วงอกยื่นออกจากเตียงเล็กน้อย

เก็บคาง ไม่เงยหน้า แต่ให้ออกแรงยกช่วงศีรษะขึ้นมาตรงๆ เกร็งกล้ามเนื้อด้านหลังคอค้างไว้ 5-10 วินาที ทำรอบละ 10-15 ครั้ง

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการปวดหัวข้างเดียวหรือไมเกรนและรับการรักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น เพราะอาจพบไมเกรนเทียมร่วมด้วยนั้น

เราจึงไม่ควรมองข้ามการตรวจประเมินและรักษาไมเกรนเทียม โดยการรักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ดี เช่น การประคบร้อนหรือเย็นตามระยะของอาการ การกดจุดหรือยืดกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหา การใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการออกกำลังกายกล้ามเนื้อเฉพาะจุดและการปรับท่าทางในชีวิตประจำวัน จะช่วยลดปัญหาไมเกรนเทียมได้เป็นอย่างดี

.

เขียนโดย: กภ.อุสา บุญเพ็ญ ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต พัฒนาการมนุษย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของคลินิกกายภาพบำบัด และเพจสุขภาพดี


ข้อมูลอ้างอิง
http://www.kulpphysicaltherapy.com/headache.html
https://kokyun.wordpress.com/2011/10/10/the-correct-sitting-posture-in-front-of-a-computer/
https://www.thonburihospital.com/Migraine.html
https://i.pinimg.com/originals/b0/80/90/b080902f6d514f13cd01408a57ff36dc.jpg
https://www.rehabmypatient.com/neck/splenius-cervicis
https://salusmt.com/saturday-stretch-the-suboccipital-group/

กาฬสินธุ์ - สืบสานผ้าพื้นถิ่น ประมูลผ้าลายขอ – ผ้าไหมแพรวา ส่งเสริมผ้าไทยใส่ให้สนุก เดือนมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดประมูลผ้าทอลายขอ ผ้าไหมแพรวา อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมกิจกรรมผ้าไทยใส่ให้สนุก เดือนมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ ห้องเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ศาลากลาง จ.กาฬสินธุ์  

สำนักงานพัฒนาชุมชน จ.กาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก ในเดือนมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี 2564 เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายอันล้ำค่าภูมิปัญญาของชาวกาฬสินธุ์ ส่งเสริมผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ด้านการผลิต การตลาด และสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมีนายสนั่น  พงษ์อักษร รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดงาน และมีนายอุทัย สิงห์ทอง พัฒนาการ จ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เข้าร่วม

ทั้งนี้ ยังมีผู้ประกอบการภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการ ประชาชน ได้ร่วมประมูลผ้าลายพระราชทานลายขอเจ้าฟ้า  ผ้าไหมแพรวา ผ้าทอพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์ของจ.กาฬสินธุ์  โดยมีผู้ประมูลผ้าไหมแพรวาลายน้ำหยาด ราคาสูงสุด ที่ 68,000 บาท ผ้าซิ่นแพรวาลายขอเจ้าฟ้า ลำดับที่ 2 ประมูลได้ที่ 20,000 บาท  ผ้าซิ่นแพรวาลายขอเจ้าฟ้าฯ ลำดับที่ 3 ประมูลได้ที่ 15,000 บาท ซึ่งมีผู้ประมูลผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ ผ้าลายขอเจ้าฟ้า และ ผ้าพื้นถิ่นในครั้งนี้ จำนวน 20 ผืน รวมมูลค่า จำนวน 167,500 บาท

นอกจากนี้ จ.กาฬสินธุ์ยังได้สร้างแรงจูงใจผู้แต่งกายผ้าไทยที่โดดเด่นประกวดในเพจ จังหวัดกาฬสินธุ์โอทอปเซ็นเตอร์ เพื่อให้ประชาชนร่วมโหวต ซุปเปอร์โมเดล ผู้ที่แต่งชุดผ้าไทยรับรางวัลในระดับจังหวัด และมีกิจกรรมเดินแบบ "ผ้าไทยใส่ให้สนุกในเดือนมหามงคล"

อย่างไรก็ตาม จ.กาฬสินธุ์ มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายจำนวน 1,148 กลุ่ม/ราย มีผลิตภัณฑ์จำนวน 1,524 ผลิตภัณฑ์ ผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้า ในภาพรวมสามารถจำหน่ายได้ 109,692,676 บาท ผลการจำหน่ายผ้าลายขอเจ้าฟ้าจำนวน 6,375,000 บาท


ภาพ/ข่าว  ณัฐพงษ์  ประชากูล จ.กาฬสินธุ์

'คาร์ม็อบขอนแก่น' ปิดถนนหน้ากองบัญชาการตำรวจภูธรถาค 4 ก่อนปาสีใส่ป้ายกองบัญชาการฯ ขณะที่กำลังตำรวจชุดควบคุมฝูงชนได้นำโล่ออกมาบังจนเกิดเหตุชุลมุนเกิดขึ้น

เมื่อเวลา 18.30 น.วันที่ 22 ส.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะราษฎรขอนแก่นได้กำหนดจัดกิจกรรมคาร์ม็อบ คู่ขนานกับการจัดกิจกรรมที่กรุงเทพฯและในอีกหลายจังหวัด โดยได้เคลื่อนขบวนออกจากหน้าตึกสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และขับไปตามถนนสายต่าง ๆ ภายในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จนกระทั่งมาถึงหน้ากองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 กลุ่มผู้ชุมนุมได้ปิดถนนทุกช่องการจราจรพร้อมนำรถเครื่องขยายเสียงมาจอดที่บริเวณหน้าป้าย เพื่อปลุกระดมให้ผู้ชุมนุมนำถังบรรจุถุงสีที่เตรียมไว้มาเทหน้าป้ายโดยมีกำลังตำรวจออกมายืมเป็นแนวเพื่อดูแลความสงบ

จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้นำถุงบรรจุสีปาใส่ป้ายกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค4 พร้อมกับปาประทัดแบบควัน โดยทาง พ.ต.อ.ปรีชา เก่งสาริกิจ ผกก.สภ.เมืองขอนแก่น พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนได้นำโล่ออกมากันผู้ชุมนุมไม่ให้ปาสีใส่ ทำให้เกิดเหตุชุลมุนปะทะเล็กน้อยแต่ก็ยังควบคุมสถานการณ์จนทรงตัวได้ ขณะที่ความเสียหายจะมีป้ายกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 และเครื่องแบบชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใส่มาปฏิบัติหน้าที่

อย่างไรก็ตามขณะนี้กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงจัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่างต่อเนื่อง โดยได้กล่าวปราศรัยบนรถเครื่องเสียงจากแกนนำกลุ่มต่าง ๆ ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบคอยดูแลความสงบเรียบร้อยและให้ปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรการการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด

กลุ่มขันอาสา กลุ่มล้านนาปลดแอก และกลุ่มราษฎรลำปาง จัดกิจกรรม Carsmob ไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตจากโควิดและเรียกร้องวัคซีนและนายกรัฐมนตรีต้องลาออก

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 22 ส.ค.2564 ที่ จ.ลำปาง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณสวนสาธารณะห้าแยกหอนาฬิกา อ.เมือง จ.ลำปาง กลุ่มขันอาสา กลุ่มล้านนาปลดแอกและกลุ่มราษฎรลำปาง จำนวนกว่า 300 คน นำโดย เกียรติ ลำปาง แกนนำกลุ่มล้านนาปลดแอก และผู้ประสานงาน ร่วมกันจัดกิจกรรม Carsmob ไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตจากโควิดและเรียกร้องวัคซีนไฟเซอร์ให้กับทุกคนและนายกรัฐมนตรีต้องลาออก โดยมีป้าเป้า วรวรรณ แซ่อั้ง อายุ 67 ปี ขวัญใจผู้ชุมนุมเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วยและปฎิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

ก่อนเริ่มขบวนมีการตรวจคัดกรองป้าเป้าด้วยวิธี  Antigen Test Kid (ATK) และยืนยันผลการตรวจเป็นลบก่อนปล่อยขบวนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ที่เข้าร่วมกว่า 100 คันที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมพร้อมบีบแตร ชูสามนิ้ว และชูป้ายไล่ประยุทธ์ ไปตามถนนฉัตรไชย เลี้ยวซ้ายไปถนนตวงรัตน์ เลี้ยวขวาไปถนนไมตรีถึงบริเวณหน้าสถานีรถไฟนครลำปาง เลี้ยวขวามาตามถนนฉัตรไชยถึงจุดเริ่มต้นบริเวณสวนสาธารณะฯรวมระยะทางไป-กลับประมาณ 10 กม.โดยป้าเป้าขึ้นรถแห่ปราศัยนำขบวนดังกล่าวด้วย บรรยายกาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ป้าเป้า กล่าวว่า อยากจะพูดให้ทุกคนฟัง ทำไมถึงต้องสู้ เพราะสงสารเด็กคิดว่า ประเทศนี้เขากดขี่เราบังคับเรา ไม่เคยอยู่ข้างประชาชน อยากกู้ก็กู้แต่ประชาชนพวกเราต้องหาใช้หนี้โดยที่เราไม่ได้กินเงินภาษีเราเลย ประยุทธ์ต้องออกไป คนเราถ้าอยู่ดีกินดีใครจะออกมาไล่ ไม่มีประเทศไหนในโลกที่เอาภาษีมาซื้ออาวุธฆ่าประชาชน

ทางด้าน เกียรติ ลำปาง ผู้ประสานงานกลุ่มฯ กล่าวว่า เรามาร่วมตัวกันวันนี้มีวุตถุประสงค์

1.เพื่อเรียกร้องวัคซีน

2.แสดงความไว้อาลัยผู้เสียชีวิตจากโควิด แล

3.พลเอกประยุทธ์ต้องลาออก

เนื่องจากที่ผ่านมา มีโรคระบาดแต่ประชาชนเข้าถึงวัคซีนไม่ได้มันคืออะไร เรื่องนี้เกิดมาปีครึ่งแล้วลูกหลานเรายังไม่ได้ฉีดวัคซีน ไปโรงเรียนไม่ได้ พ่อค้าแม่ค้าขายของไม่ได้ไม่มีรายได้มันกระทบกันไปหมด วัคซีนคือโอกาส รัฐบาลต้องเปิดให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงโดยเร็วที่สุด ซึ่งทุกวันนี้มีคนเสียชีวิตทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ทำอะไ ถ้ายังเพิกเฉยเราก็จะจัดกิจกรรมเข้มข้นต่อไปอีก เพราะทุกวันนี้มีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่มีวัคซีนให้ประชาชน จึงฝากถึงพลเอกประยุทุธ์  ท่านอยู่มา 7 ปีครึ่งแล้วลาออกเถอะครับ อยู่มาเกือบ 8 ปี ประเทศมีหนี้มากมายมหาศาล ท่านยังจะอยู่ต่ออีกเหรอ ลาออกเถอะครับเพื่อให้คนอื่นที่มีความสามารถเข้ามาเป็นนายกฯแทนและต้องมาจากเสียงประชาชน ไม่ใช่จากการเลือกของ สว.


ภาพ/ข่าว  วินัย / ลำปาง รายงาน

กระบี่ - ตำรวจน้ำ ส่งต่อบุญเพื่อชาวเล ฝ่าวิกฤติโควิด-19 บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ริมทะเล

ตำรวจน้ำ กองกำกับการ 9 โดย พ.ต.อ. จตุรวิทย์ คชน่วม ผกก.9 ฯ ได้กล่าวว่าด้วยปัจจุบันได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนเป็นวงกว้างทั่วทั้งประเทศ โดย พล.ต.ต. สมควร พึ่งทรัพย์ ผบก.รน. ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญและให้ ทุกหน่วยช่วยเหลือประชาชน อย่างเต็มที่

ในส่วนของตำรวจน้ำจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล จึงได้มีมาตรการ เร่งด่วนในด้านต่าง ๆ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด โดยเฉพาะประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ริมทะเล ประกอบอาชีพประมง เดินทางโดยเรือเป็นปกติชีวิต ซึ่งการเข้าไปช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบากต้องอาศัยเรือเป็นหลักตำรวจน้ำ เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการการช่วยเหลือประชาชน(ชาวเล) ที่ได้รับผลกระทบ กรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ริมทะเล และต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ตลอดทั้งสนับสนุนมาตรการตามประกาศของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล ณ บริเวณบ้านคลองหิน หมู่ที่ 7 ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ จำนวน 40 ครัวเรือน สิ่งของต่าง ๆ ที่เรานำไปส่งต่อให้ประชาชน ส่วนหนึ่งมาจากการร่วมกันของข้าราชการตำรวจน้ำกองกำกับการ 9ฯ ที่ได้ร่วมกันทำบุญในครั้งนี้และได้รับการสนับสนุน จากพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ร่วมสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาฟ้าทะลายโจร อุปกรณ์ป้องกันและเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนที่กักตัว ตามโครงการฯ ในยามวิกฤตแบบนี้ขอเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งในการที่จะช่วยเหลือประชาชน ให้ฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน


ภาพ/ข่าว  นิตยา แสงมณี / ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล

สระบุรี – รับมอบเครื่องช่วยหายใจและชุดถังออกซิเจน จากผู้มีจิตกุศลบริจาคช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสระบุรี ตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี / นายสมภพ สมิตะสิริ พร้อมด้วย นายเอกพร จุ้นสำราญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี / นายพลวรรธน์  เทียนชัยมงคล ปลัดจังหวัดสระบุรี รับมอบเครื่องกำเนิด oxygen ชนิดไฟฟ้า ขนาด 10 L จำนวน 1 เครื่อง ราคาประมาณ 42,000 บาท และถังบรรจุ oxygen พร้อมหัวจ่าย จำนวน 4 ถัง ราคาประมาณ 5,500 บาท/ถัง รวมมูลค่าทั้งสิ้น 64,000 บาท  จากนางรพีพร เหลืองอร่ามรัตน์ เจ้าของคอนโดเลควิว สระบุรี ที่มีความประสงค์มอบเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ในจังหวัดสระบุรี ที่มีอาการรุนแรงและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

สำหรับจังหวัดสระบุรี ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ยืนยัน ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2564 จำนวน 348 ราย ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย 136 ราย มีผู้เสียชีวิต 4 ราย มีผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันสะสม 16,894 ราย ผู้ติดเชื้อเข้าข่ายสะสม 2,147 ราย ผู้ป่วยรักษาหายสะสม 12,734 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิตสะสม 147 ราย กำลังรักษาในโรงพยาบาล สีเขียว 954 ราย สีเหลือง 789 ราย สีแดง 77 ราย รักษาอาการที่ศูนย์โควิดชุมชน 96 แห่ง 1,960 ราย แยกรักษาที่บ้าน 2,380 ราย ยอดรวมการรับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 147,369 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 66,965 ราย


ภาพ/ข่าว  ดำรงค์ ชื่นจินจินดา รายงาน

นราธิวาส - ผบ. ฉก.นราธิวาส ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจรยุทธ์ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหารและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก

พลตรี ไพศาล หนูสังข์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส พร้อมด้วยพันเอก เฉลิมพร ขำเขียว รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส  เดินทางลงพื้นที่ เป็นประธานการประชุมติดตามผลการปฏิบัติตามแผนยุทธการ 46421 ควบคุมพื้นที่รอบเขาตะเว และหมู่บ้านเชิงเขา ณ ที่ทำการทางยุทธวิธี หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส  กองร้อยทหารพราน 4811 ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี โดยมี พันเอกกำธร ศรีเกตุ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส , พันเอก เอกพล เลขนอก ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 48 , พันเอก จิรวัฒน์ จุฬากาญจน์ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 49 และส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม

จากนั้น ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจรยุทธ์ (ชป.จรยุทธ์) ของกองร้อยทหารพราน ที่ 1005 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 10 บ้านปะดังยอ ตำบลมูโน๊ะ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส โดยได้เน้นย้ำการปฏิบัติในการ รปภ.พื้นที่ให้มีความปลอดภัย และการติดตามพฤติกรรมกลุ่มเครือญาติ ผกร. ทำลายเครือข่ายโครงสร้างหมู่บ้าน Support site จนทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือ กลุ่ม ผกร. และเป็นแหล่งพักพิงได้ ตลอดจนทำลายความพยายามก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่

พร้อมทั้งเน้นย้ำการปฎิบัติให้เป็นตามนโยบาย/สั่งการของ พลโทเกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชน และให้กำลังพลเพิ่มความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งยังเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมมอบเครื่องบริโภค เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับกำลังพล ชุดปฏิบัติการจรยุทธ์(ชป.จรยุทธ์) ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป


ภาพ/ข่าว  แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

“คนสิทธิ” จับมือ “คนข่าว” ส่งต่อความห่วงใย มอบอาหาร-น้ำ ชุมชนริมคลองบางบัว ช่วยบรรเทาพิษโควิด

วันที่ 21 สิงหาคม ที่ชุมชนริมคลองบางบัวหลังกรมวิทยาศาสตร์ ถนนเกษตรนวมินทร์ นายสมชาย จรรยา อุปนายก สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่น 1 (ปสม.1) สถาบันพระปกเกล้า นำโดย นางถวิล เพิ่มเพียรสิน อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นางสาวพรทิพย์ เตชะสมบูรณา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทในเครือ เวิลด์เมดิคอลซัพพลาย จำกัดนางสุจิตรา แก้วไกร ผู้อำนวยการ กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และนางสุกัญญา จรรยา ผู้จัดการ มูลนิธิสหชาติ

ร่วมกับเวปไซต์ข่าวจั่นเจา Canchaonews.com หนังสือพิมพ์ดีดีโพสต์ นิวส์ ส่งมอบข้าวกล่องพร้อมทาน หน้ากากอนามัย น้ำดื่ม และสเปร์แอลกอฮอล์ ส่งมอบแก่ นางสิริวรรณ กลิ่นหอม ประธานชุมชน เป็นผู้แทนรับมอบเพื่อส่งต่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ดูแล

นางสิริวรรณ กลิ่นหอม เปิดเผยว่า ชุมชนแห่งนี้ มีประชาชนพักอาศัย 120 ครัวเรือน ประชากรกว่า 600  คน ในจำนวนนี้ผู้มีความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อโควิด-19 และต้องกักตัว 16 ครอบครัว ขณะนี้รักษาหายแล้ว และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ แต่ชุมชนยังคงเฝ้าระวัง ช่วยกันดูแลป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด แบบไม่ประมาทการ์ดไม่ตก 

ด้านนายสมชาย จรรยา เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดเขื้อไวรัสโควิด-19 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานประจำวัน มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 20,571 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 20,336 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 235 ราย

ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง ที่เป็นทั้งคนไร้บ้าน ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะเมืองกรุง ที่จังรอการช่วยเหลือ 

ในนามพันธมิตรจิตอาสาเป็นอีกหนึ่งกลุ่มองค์กร ที่อาสามาเป็นสะพานบุญ รับข้าวกล่องพร้อมทานจากจุดส่งมอบอาหารโลตัสบางกะปิ ภายใต้โครงการ "ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจสู้ภัยโควิด-19" โดยบริษัทในเครือซีพี จัดทำขึ้น โดยมีสิ่งของ อื่นๆ อาทิ สเปรย์แอลกอฮอล์ น้ำดื่ม ได้นำมาสมทบ เพื่อแบ่งปันความสุข
และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย เราคนไทยไม่ทิ้งกัน ต้องก้าวผ่านวิกฤติไปด้วยกันให้ได้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top