Tuesday, 8 July 2025
SPECIAL

ขอนแก่น - "ทม.ศิลา" มอบถุงยังชีพให้ครอบครัวผู้ติดโควิด-19 เพื่อใช้ชีวิตกลับเป็นปกติในสังคมต่อไป

รองนายกฯ พร้อมประธานสภาฯ ทม.ศิลา พร้อมด้วยผญบ.อสม.บ้านหนองกุง ร่วมมอบถุงยังชีพให้ครอบครัวผู้ติดเชื้อโควิด ที่ได้รับการรักษาหายป่วยแล้วพร้อมใช้ชีวิตปกติในสังคมต่อไป

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 นายกรวิทย์ ติวเฮือง รองนายกเทศมนตรีเมืองศิลา ,นายสุริยนต์ ติวเฮือง ประธานสภาเทศบาลเมืองศิลา พร้อมด้วยผญบ.,อสม.บ้านหนองกุง ม.2  ม.17 ลงพื้นที่ เยี่ยมและมอบถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้งให้ครอบครัวผู้ติดเชื้อโควิด -19 ที่ได้รับการรักษาหายป่วยแล้ว พร้อมใช้ชีวิตปกติในสังคมต่อไป โดยมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคนในครอบครัวที่ติดเชื้อโควิค -19 ที่ได้ทำการรักษาจนหายดี แล้วมารับมอบ

นายกรวิทย์ ติวเฮือง รองนายกเทศมนตรีเมืองศิลา กล่าวว่าจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทุกช่วงวัย โดยต้องปรับตัวต่อมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันตนเองและการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ขณะที่ยังมีประชาชนกลุ่มเปราะบางหลายพื้นที่ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.ศิลา ซึ่งในการลงพื้นที่ในวันนี้จึงเป็นการติดตามและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง และครอบครัวผู้ติดเชื้อโควิด - 19 ที่ได้รับการรักษาหายป่วยแล้วให้พร้อมใช้ชีวิตปกติในสังคม ต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทุกคน ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด ไม่ประมาท โดยสวมหน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมือเป็นประจำ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 หากทุกคนร่วมมือกัน มั่นใจว่าจะผ่านวิกฤตินี้ไปได้แน่นอน

ศรีสะเกษ!แถลงข่าวผลการจับกุม ‘เครือข่ายยาเสพติด’ พบยาบ้า 243,045 เม็ด ยึดทรัพย์มูลค่าประมาณ 19,928,070 บาท

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  นายสำรวย เกษกุล  รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พล.ต.ต. สันติ เหล่าประทาย   ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ  พันเอก ณัฐพงศ์ จินดาเวช  รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดศรีสะเกษ  และคณะ   ได้ร่วมก้นแถลงข่าวผลการจับกุมเครือข่ายยาเสพติดรายสำคัญ ภายใต้ยุทธการ พิฆาตทรชน คนค้ายา อีสานใต้ และ ยุทธการ 238 พิทักษ์นครลำดวน  ในห้วงระหว่างวันที่  19 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 4 กันยายน 3564    

โดยมีนายนพ พงศ์ผลาดิสัย  ปลัดจังหวัดศรีสะเกษ  / นายทนงค์ วีระแสงพงศ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีษะเกษ / นายวิชัย เลิศภัทรนันท์ แรงงานจังหวัดศรีสะเกษ / ว่าที่ รต.สิทบบัดถ์ สิทธิบัวครี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครองจังหวัดศรีสะเกษ และสื่อมวลชนจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมรับฟังการแถลงผลการจับกุม

โดยมีผลการจับกุมรวมทั้งสิ้น 885 คดี ได้ผู้ต้องหา 913 คน ของกลาง ยาบ้า 243,045 เม็ด /กัญชาสด 57 ต้น 2,069 กรัม  ไอซ์ 481.56 กรัม กระท่อม 3,754 กรัม และอาวุธปืน 51 กระบอก  ตรวจยึดทรัพย์ตาม พ.ร.บ.มาตรการฯจำนวน 23 รายการ รวมมูลค่าประมาณ 19,928,070 บาท  ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการปราบปราม จับกุม ทำลายเครือข่ายผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเพื่อลดปัญหายาเสพติดให้สังคมมีความปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดศรีละเกษ ต่อไป

นายวัฒนา พุฒิชาติ  ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  กล่าวว่า   ตามนโยบายรัฐบาลโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังทั้งระบบ โดยเร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ปราบปรามแหล่งผลิตและเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติด ทั้งพื้นที่แนวชายแดนและพื้นที่ตอนใน โดยให้เป็นการแก้ไขปัญหาภายในของประเทศด้วยกฎหมายไทยและหลักสากล ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดให้วาระที่ 2 ของ 10 วาระเร่งด่วนในการพัฒนาจังหวัด เป็นเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  

พล.ต.ต. สันติ เหล่าประทาย   ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า  ตร.ภาค 3 จึงขอความร่วมมือมายังพี่น้องประชาชน ให้ความร่วมมือแจ้งเบาะแสข้อมูล ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งผู้เสพ ผู้ค้า โดยแจ้งข้อมูลผ่าน สายด่วนยาเสพติด 1594 , สายด่วน 191, Application Police I lert U และ เบอร์สายด่วน 1386 ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม (https://www.oncb.go.th/) ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดศรีสะเกษ สายด่วน 1567 ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการปราบปราม จับกุม ทำลายเครือข่ายผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อลดปัญหายาเสพติดให้สังคมมีความปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดต่อไป


ภาพ/ข่าว  บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

อว. จับมือ บีโอไอ ป้อนแรงงานคุณภาพสูงตามความต้องการอุตสาหกรรมไฮเทคจากไต้หวัน ได้ฝึกทักษะควบคู่ทำงานจริง รูปแบบ “โรงเรียนในโรงงาน” รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่า 15,000/เดือน

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยหลังการประชุมหารือร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) เรื่องการสนับสนุนกำลังคนทักษะสูงตามความต้องการของอุตสาหกรรมระดับสูงจากต่างประเทศ โดยกล่าวว่า

อว. พร้อมสนับสนุนบีโอไอ ในการสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนักลงทุนเก่าและนักลงทุนใหม่ ที่จะลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูงในประเทศไทย ซึ่งต้องการแรงงานคุณภาพสูง มีทักษะที่จำเป็นในการทำงานในโรงงานที่มีเทคโนโลยีระดับสูง โดย สอวช. และ สวทช. มีประสบการณ์ในการจัดหา ดูแล ประสานงาน และฝึกอบรมแรงงาน ภายใต้โครงการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) ในรูปแบบ โรงเรียนในโรงงาน โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชน

รมว.อว.กล่าวต่อว่า ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในวันนี้ คือบริษัทแคล-คอมพ์จากไต้หวัน เป็นผู้ผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ ลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทยมากว่า 30 ปี มีความต้องการขยายฐานการผลิตร่วมกับบริษัทที่ย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีน เนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา โดยต้องการแรงงานทักษะสูงประมาณ 400 ตำแหน่งภายในปีนี้

แรงงานดังกล่าวจะได้รับการฝึกฝนทักษะไปพร้อม ๆ กับการทำงานจริง ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาโทเป็นพี่เลี้ยง ทั้งนี้ บริษัทมีแผนขยายโรงงานและรับแรงงานเพิ่มไม่ต่ำกว่า 2,000 ตำแหน่งในอนาคต

“นี่เป็นเพียงตัวอย่างของหนึ่งบริษัทจากต่างประเทศที่เลือกลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูงในประเทศไทย เมื่อมีการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมของประเทศไทยโดยบีโอไอ ประกอบกับการดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนการลงทุน โดย อว. จะทำให้มั่นใจได้ว่า ประเทศไทยจะมีแรงงานทักษะสูงที่พร้อมป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไฮเทค สร้างงานและรายได้ให้แก่คนไทย เพิ่มจีดีพีให้แก่ประเทศ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวหรือ Resiliency ของประเทศไทย ที่จะผ่านพ้นวิกฤตและมุ่งสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในอนาคต” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว


ที่มา: https://www.facebook.com/184257161601372/posts/4950589134968127/

สงขลา - ม.อ. ลงนาม ศอ.บต. หนุนนักเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าเรียนคณะทรัพย์ฯ พร้อมสร้างเกษตรกรยุคใหม่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย คณะทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพิเศษรับนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษา ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ” โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ผศ. ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต รักษาการแทนคณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมลงนาม ณ ห้องประชุม 260 อาคาร 2 ชั้น 2 คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 64

​ผศ. ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต รักษาการแทนคณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. แก่นักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ควบคู่ศาสนา ที่เป็นต้นแบบดีเด่นด้านการเกษตร จากโครงการสนองแนวพระราชดำริฯ “ครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้าน” ของ ศอ.บต. ซึ่งเป็นนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในระดับจังหวัด และเข้ารับรางวัล จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

​ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ กล่าวว่า ภารกิจการสร้างคนที่มีคุณภาพเป็นหนึ่งใน 3 ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นั่นคือ การสร้างคนที่มีคุณภาพ สร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้และประเทศ และการสร้างความเป็นนานาชาติให้เกิดขึ้นในประเทศซึ่งเป็นด่านหน้าของอาเซียน การพัฒนากำลังคนจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่ในพื้นที่ แต่รวมถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียน

นักเรียนที่จะเข้ามาศึกษาที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้โครงการพิเศษรับนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษา ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นเกษตรกรยุคใหม่ ใช้ความรู้ความสามารถที่หลากหลายโดยใช้ดิจิทัลเป็นพื้นฐาน สาขาวิชาของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีชื่อเสียงระดับต้นๆ ของประเทศ ขอให้นักเรียนที่จะเข้ามาศึกษาเชื่อมั่นในคุณภาพและโอกาสที่จะได้รับในวันข้างหน้า โดยเฉพาะความรู้เชิงปฎิบัติที่จะสอนให้นักศึกษาทำงานเป็น ทำงานได้ รู้จักรับผิดชอบต่อสังคมและครอบครัว เพื่อจะออกไปเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ศอ.บต. ทำงานร่วมกันมากมาย โครงการนี้ถือเป็นหนึ่งโครงการนำร่องของภาคใต้ และมีความสำคัญ ภายใต้โครงการสนองแนวพระราชดำริฯ “ครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้าน” ของ ศอ.บต. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเป็นเยาวชนที่มีศักยภาพและรักการเกษตร เราจะผลักดันเยาวชนเหล่านี้ให้เข้าสู่มหาวิทยาลัยที่ศึกษาด้านการเกษตรโดยเฉพาะ เพื่อกลับไปพัฒนาบ้านเกิด เป็นเกษตรกรต้นแบบ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของเกษตรยุคใหม่ ทำให้สังคมเห็นว่าอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพที่มั่นคงอาชีพหนึ่ง เชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะสามารถบ่มเพาะ พัฒนาศักยภาพของเยาวชนเหล่านี้ให้มีศักยภาพต่อไป

สุรินทร์ - บริษัท น้ำตาลสุรินทร์ จำกัด ร่วมทำดีกับโครงการ “แยกขวดช่วยหมอ” เพื่อผลิตชุด PPE สู้โควิด-19

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นายพัฒน์  เสถียรถิระกุล และนางสาววัชรนันท์  พิริยพูล ผู้บริหารรุ่นใหม่จาก KI Sugar Group (บริษัท น้ำตาลสุรินทร์ จำกัด) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์สู้วิกฤตโควิด-19 ด้วยการมอบขวด PET จำนวน 130 กิโลกรัม ให้กับ PTT GC (YOUเทิร์น) และสนับสนุนทุน 100,000 บาท ให้กับมูลนิธิทันตแพทยศาสตร์มหิดล

โดยมี ศ.คลินิกเกียรติคุณ ทพ.นิติพันธ์  จีระแพทย์ นายกสมาคมศิษย์เก่าทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเป็นผู้รับมอบ เพื่อรวบรวมขวด PET นำไปผลิตเป็นชุด PPE ใช้สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และนำไปบริจาคในพื้นที่ที่ขาดแคลนต่อไป  “โครงการแยกขวดช่วยหมอ” เป็นภารกิจระดมขวด PET เพื่อนำไปผลิตเป็นชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ดำเนินการโดย YOUเทิร์น by PTT GC นำขวด PET ไปแปรรูปเป็นเส้นใย ถักทอเป็นผืนผ้าแล้วเคลือบสะท้อนน้ำ และมูลนิธิทันตแพทยศาสตร์มหิดล จัดสรรทุนในการตัดเย็บเป็นชุด PPE สำเร็จรูป ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ 


ภาพ/ข่าว  ปุรุศักดิ์ แสนกล้า 

กาฬสินธุ์ – ส่งเสบียงช่วยหมู่บ้านล็อกดาวน์ คลัสเตอร์งานวันเกิดติดเชื้อโควิด 29 ราย

“วิรัช พิมพะนิตย์” ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ นำถุงยังชีพปันน้ำใจสู้ภัยโควิดมอบให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ที่บ้านเหล่าสูง ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ หลังพบคลัสเตอร์งานวันเกิด มีผู้ติดเชื้อในหมู่บ้าน 29 ราย มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีก 13 ครัวเรือน และต้องสั่งล็อกดาวน์ทั้งหมู่บ้าน

เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 5 กันยายน 2564 ที่บริเวณจุดคัดกรองทางเข้าบ้านเหล่าสูง ม.4 ต.ห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์  นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายณัฐวัชต์ พิมพะนิตย์ หรือ สจ.เบ๊นซ์  รองประธานสภา อบจ.กาฬสินธุ์  นายกีรฒิการย์ พิมพะนิตย์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วน จ.กาฬสินธุ์ พร้อมคณะ นำถุงยังชีพเครื่องอุปโภค บริโภค ปันน้ำใจสู้ภัยโควิด-19 ซึ่งมีทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง ปลากระป๋อง น้ำดื่ม และหน้ากากอนามัย จำนวน 200 ชุด ไปมอบให้กับประชาชนบ้านเหล่าสูง ม. 4 ต.ห้วยโพธิ์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 หลังพบคลัสเตอร์หญิงสาวรายหนึ่งที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วมีการจัดงานวันเกิด ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อในหมู่บ้านจำนวน 29 ราย และมีกลุ่มเสี่ยงสูงอีก 13 ครัวเรือน ทำให้ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปิดหมู่บ้าน ตั้งจุดคัดกรอง 250 หลังคาเรือน ห้ามเข้า-ออกโดยไม่จำเป็น เพื่อป้องกันและหยุดยั้งการแพร่ระบาด โดยมีนายสุนทร เจริญพันธ์ นายกเทศมนตรีตำบลห้วยโพธิ์ นายจันทร์ ดอนประชุม ประธาน อสม.ตำบลห้วยโพธิ์ นายอำนวย ศรีแพงมล ผู้ใหญ่บ้านเหล่าสูง พร้อมด้วย อสม.ร่วมรับมอบ

นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า วันนี้เป็นการเข้ามาช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่บ้านเหล่าสูง ซึ่งมีอยู่กว่า 250 หลังคาเรือน กว่า 800 คน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากต้องปิดหมู่บ้าน พร้อมให้กำลังใจผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม.ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด่านหน้าประจำจุดคัดกรอง ทั้งนี้อยากฝากถึงทุกคนให้ช่วยกัน อย่าได้รังเกียจกันและกัน เพราะไม่มีใครอยากติดเชื้อ และอยากฝากถึงพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนจะต้องร่วมแรง ร่วมใจกัน ต่อสู้โรคโควิด-19 และให้ผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปด้วยกันให้ได้

นายจันทร์ ดอนประชุม ประธาน อสม.ตำบลห้วยโพธิ์ กล่าวว่า เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา บ้านเหล่าสูง ต.ห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ มีกลุ่มคลัสเตอร์โควิด-19 การจัดงานวันเกิด ทำให้พบผู้ป่วยยืนยันจำนวน 29 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงรวมจำนวน 13 ครัวเรือน ทำให้ทางผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้านประชุมร่วมกันและมีมติปิดหมู่บ้าน พร้อมทั้งตั้งด่านคัดกรองการเข้า-ออก โดยไม่จำเป็น เพื่อป้องกันและหยุดการแพร่เชื้อไปยังพื้นที่อื่น อย่างไรก็ตามสำหรับการปิดหมู่บ้านนั้น ประชาชนทั้ง 250 หลังคาเรือน กว่า 800 คน ต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ร่วมกันทำงานเชิงรุก ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้นบ้างแล้ว ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้ง 13 ครัวเรือนก็ได้กักตัวสังเกตอาการ 14 วัน


ภาพ/ข่าว  ณัฐพงษฺ  ประชากูล จ.กาฬสินธุ์

“ประเทศสิงคโปร์” เป็นประเทศที่มีการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีไปตามทุกยุคทุกสมัยได้อย่างรวดเร็วด้วยประชากรและทรัพยากรทำให้ต้องมีความพร้อม ปรับตัวอยู่เสมอ รวมไปถึงเทคโนโลยีอย่าง “ยานยนต์อัตโนมัติ”

ช่วงนี้ท่านผู้อ่านน่าจะได้ข่าวเกี่ยวกับการทดลองและทดสอบรถยนต์อัตโนมัติในหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวที่มาจากประเทศในแถบตะวันตก แต่กลับมีประเทศที่มีความพร้อมในการใช้รถยนต์อัตโนมัติมากที่สุดและอยู่ในภูมิภาคอาเซียน นั่นคือประเทศ “สิงคโปร์”

บริษัท KMPG ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกได้เริ่มศึกษาดัชนีชี้วัดความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนในแต่ละประเทศ (Autonomous Vehicles Readiness Index : AVRI) ตั้งแต่ปี 2018 โดยดัชนี AVRI มีการประเมินด้วย 28 หัวข้อชี้วัด ภายใต้ 4 ด้านหลัก คือ นโยบายและกฎหมาย เทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และการยอมรับของผู้บริโภค และการจัดอันดับล่าสุดในปี 2020 สิงคโปร์ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนขับมากที่สุด เบียดเนเธอร์แลนด์ที่เคยอยู่ที่หนึ่งมาสองปีติดกัน

หากมาพิจารณาในรายละเอียด สิงคโปร์ได้คะแนนอันดับหนึ่งในด้านนโยบายและกฎหมาย และการยอมรับของผู้บริโภค โดยสิงคโปร์ได้เริ่มต้นจากการจัดตั้ง Committee on Autonomous Road Transport for Singapore (CARTS) ในปี 2014 เพื่อกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการปรับใช้รถยนต์ไร้คนขับ

ต่อมาในปี 2016 รัฐบาลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางจัดตั้ง Centre of Excellence for Testing and Research of AVs-NTU (CETRAN) เพื่อเป็นศูนย์ทดสอบและให้การรับรองรถยนต์อัตโนมัติ ได้มีการออกแบบสนามทดสอบโดยจำลองสภาพถนนในสิงคโปร์ รวมถึงจำลองสถานการณ์สภาพฝนตกและน้ำท่วมขังเพื่อให้การทดสอบใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด

ในปี 2019 องค์การขนส่งทางบกของสิงคโปร์ (Land Transport Authority : LTA) ได้ออกมาตรฐานรถยนต์ไร้คนขับ ที่เรียกว่า Technical Reference 68 (TR68) เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนายานยนต์อัตโนมัติ โดยครอบคลุมถึงพฤติกรรมโดยทั่วไปของยานพาหนะ มาตรฐานความปลอดภัย ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ และมาตรฐานรูปแบบข้อมูล จากการออกมาตรฐานนี้ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจเพราะเป็นการลดความเสี่ยงว่าเทคโนโลยีที่ตนเองลงทุนศึกษาค้นคว้าไปนั้นจะไม่ถูกกำหนดเป็นมาตรฐานในการใช้งานจริง

และความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนขับนั้นต้องมีพื้นฐานมาจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นทางรัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยกำหนดให้ยกเลิกใช้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในหรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในปี 2040 และมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2023 รัฐบาลสนับสนุนส่วนลดสูงสุดถึงคันละ 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือราว 489,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนลดประมาณ 11% ของมูลค่ารถ นอกจากนั้นยังให้ส่วนลดภาษีการใช้ถนนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และมีนโยบายขยายจุดชาร์จไฟจาก 1,600 จุดเป็น 28,000 จุดภายในปี 2030

ส่วนการทดสอบวิ่งนั้นในขณะนี้มาถึงขั้นตอนการทดสอบวิ่งบนถนนสาธารณะ โดยในปี 2021 ได้เริ่มใช้รถเมล์อัตโนมัติให้บริการในสองเส้นทางในฝั่งตะวันตกของประเทศ และมีเป้าหมายจะวิ่งทดสอบในเส้นทางฝั่งตะวันตกทั้งหมด สาเหตุที่เลือกทดสอบในฝั่งตะวันตกนั้นเนื่องจากเป็นเขตเมืองใหม่ซึ่งมีประชาการอาศัยอยู่หนาแน่นน้อยกว่าและสภาพการจราจรที่คล่องตัวกว่าทางฝั่งตะวันออกของประเทศ

ในส่วนการยอมรับของผู้ใช้งานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จต่อการปรับใช้รถยนต์อัตโนมัติ ซึ่งสิงคโปร์ถูกจัดเป็นผู้นำในด้านนี้ โดยมีสาหตุมาจากการทดสอบวิ่งในหลายพื้นที่ส่งผลให้ประชาชนคุ้นชินกับรถยนต์อัตโนมัติ และชาวสิงคโปร์เองมีความคุ้นเคยกับการใช้งานระบบ ICT และมีทักษะสูงทางด้านดิจิตอล นอกจากนั้นชาวสิงคโปร์ยังนิยมการใช้งานแอปพลิเคชันเรียกรถยนต์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเข้าถึงรถยนต์อัตโนมัติสาธารณะตามความต้องการ

จากตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ สามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาที่ดีของแนวทางการปรับใช้รถยนต์อัตโนมัติ เริ่มจากมีหน่วยงานที่ชัดเจนในการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงาน การกำหนดนโยบายการส่งเสริมที่ชัดเจนทั้งในด้านงบประมาณสำหรับการวิจัย การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นพื้นฐานของรถยนต์อัตโนมัติ และการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิตอลของประชาชนในประเทศซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับการใช้รถยนต์อัตโนมัติ

.

เขียนโดย : อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์
อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


ขอบคุณข้อมูลที่มา
https://home.kpmg/xx/en/home/insights/2020/06/autonomous-vehicles-readiness-index.html
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/newsroom/2019/1/2/joint-media-release-by-the-land-transport-authority-lta-enterprise-singapore-standards-development-organisation-singapo.html
https://www.straitstimes.com/singapore/transport/singapore-budget-2020-push-to-promote-evs-in-move-to-phase-out-petrol-and-diesel
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/newsroom/2020/2/news-releases/Supporting_cleaner_and_greener_vehicles.html
https://techwireasia.com/2019/03/how-the-ltas-tr68-fuelled-singapores-autonomous-vehicle-agenda/
https://www.straitstimes.com/singapore/transport/pay-to-ride-on-driverless-buses-in-two-areas-until-april-30
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/industry_innovations/technologies/autonomous_vehicles.html

กระทรวงศึกษาธิการจีนสั่งเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบวุฒิการศึกษาจากหลายสถาบัน รวมทั้ง มหาวิทยาลัยเกริกของไทย หากไม่ได้รับการรับรองจะทำให้ปริญญาบัตรไม่สามารถใช้เรียนต่อและทำงานในประเทศจีนได้

ศูนย์นักศึกษาต่างชาติ กระทรวงศึกษาธิการจีน ออกประกาศเมื่อวันที่ 3 ก.ย. ระบุว่าได้รับการร้องเรียนจำนวนมากว่า ในช่วงการระบาดของโรคโควิด สถาบันการศึกษาในต่างประเทศหลายแห่งได้เปิดหลักสูตรการเรียนออนไลน์ที่มีคุณภาพต่ำเพื่อดึงดูดนักศึกษา

เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของนักศึกษาชาวจีนที่ไปเรียนในต่างประเทศ และการดำเนินการที่เหมาะสมของตลาดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจีนจะเพิ่มความเข้มในการตรวจสอบวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัยดังต่อไปนี้

1. Sekolah Tinggi Ilmu Ekonomi IBMT อินโดนีเซีย

2. University of Perpetual Help System Dalta ฟิลิปปินส์

3. มหาวิทยาลัยเกริก ประเทศไทย

4. Universidad Rey Juan Carlos สเปน

กระทรวงศึกษาธิการจีนจะเพิ่มระยะเวลาในการตรวจสอบวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเหล่านี้ โดยใช้เวลาไม่เกิน 60 วันทำการ โดยจะตรวจสอบเอกสารและสถานภาพที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นอิสระ

ต้นฉบับประกาศ http://www.cscse.edu.cn/web/xsy/411032/504070/index.html

ก่อนหน้านี้ มีรายงานข่าวว่า มหาวิทยาลัยเกริก ถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มทุนจากประเทศจีน เพื่อขยายหลักสูตรนานาชาติโดยมีนักศึกษาชาวจีนเป็นกลุ่มเป้าหมาย ขณะที่หลักสูตรของนักศึกษาไทยก็ยังทำการเรียนการสอนตามปกติ

ขณะนี้ รัฐบาลจีนมีนโยบายจัดระเบียบธุรกิจด้านการศึกษา โดยสั่งระงับกิจการโรงเรียนกวดวิชาจำนวนมาก และกำลังขยายผลมายังการศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดหลักสูตรเพื่อดึงดูดนักศึกษาจีน โดยไม่ได้มาตรฐาน

ก่อนหน้านี้ กระทรวงศึกษาธิการจีนได้มีคำสั่งระงับการรับรองวุฒิการศึกษาของ North Borneo University College ประเทศมาเลเซีย และสั่งเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศเบราลุส


ที่มา: https://mgronline.com/china/detail/9640000087937

กาฬสินธุ์ – รวมพลังคนจิตอาสา เก็บขยะแหลมโนนวิเศษ ปลูกจิตสำนึกนักท่องเที่ยว พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงปลดล็อกร้านอาหารนั่งทานได้

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะคนจิตอาสารวมพลังรณรงค์จัดเก็บขยะบริเวณแหลมโนนวิเศษ และสะพานเทพสุดา เขื่อนลำปาวแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวกินแล้วอย่าทิ้งขยะ พร้อมมีส่วนร่วมอนุรักษ์ธรรมชาติรักษาทัศนียภาพ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงปลดล็อกร้านอาหารนั่งทานได้

ที่บริเวณแหลมโนนวิเศษ และบริเวณสะพานเทพสุดา เขื่อนลำปาว  ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายณัฐวัชต์ พิมพะนิตย์ หรือ สจ.เบ๊นซ์ รองประธานสภา อบจ.กาฬสินธุ์  นายกีรฒิการย์ พิมพะนิตย์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วน จ.กาฬสินธุ์ นายบุญมี แก่นนาคำ นายกเทศมนตรีตำบลโนนบุรี พร้อมด้วยประชาชนจิตอาสากลุ่มรสนิยม กู้ภัยกุดหว้าจิตอาสา และประชาชนร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เก็บขยะ พลาสติก เศษวัสดุ ของมีคม เพื่อให้มีความสะอาด ปลอดภัย ซึ่งเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วน ในการปลูกจิตสำนึกรักษาความสะอาด สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของ จ.กาฬสินธุ์ ทั้ง 2 แหล่ง โดยเฉพาะบริเวณแหลมโนนวิเศษ ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นทะเลมรกตอีสาน และสะพานเทพสุดา ซึ่งสะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศ

นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จ.กาฬสินธุ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งเชิงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมและอีกหลายด้าน ช่วงที่ผ่านมาซึ่งประสบสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวซบเซาไป อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีแนวโน้มสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย และทางศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ประกาศปลดล็อกร้านค้า ร้านอาหาร ให้สามารถนั่งรับประทานได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา แต่ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้พบว่าผู้ประกอบการเริ่มเปิดกิจการค้าขายและต้อนรับลูกค้า โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยว เช่น แหลมโนนวิเศษ สะพานเทพสุดา เขื่อนลำปาว

นายวิรัช กล่าวอีกว่า หลังจากประกาศดังกล่าวออกมา เพื่อให้บรรยากาศการท่องเที่ยวกลับมาคึกคัก และสร้างความตระหนักในการช่วยกันรักษาความสะอาด ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว จึงได้ร่วมกับเทศบาลตำบลโนนบุรี ประชาชน และกู้ภัยจิตอาสา ตัวแทนผู้ประกอบการร้านค้า ร่วมกันจัดกิจกรรมทำความสะอาดบริเวณแหลมโนนวิเศษ ใกล้สะพานเทพสุดา เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึก ร่วมกันรณรงค์รักษาความสะอาด และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ในช่วงปลดล็อกร้านอาหารนั่งทานได้ และเป็นการเตรียมความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง  โดยมีการจัดเก็บขยะ เศษวัสดุ ของมีคม และขอความร่วมมือนักท่องเที่ยว ที่นำอาหารมานั่งทาน ให้นำถุงใส่อาหาร กล่องโฟม กลับไปด้วย  ทั้งนี้เพื่อช่วยกันรักษาความสะอาดดังกล่าว

ด้านนายบุญมี แก่นนาคำ นายกเทศมนตรีตำบลโนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า  ในพื้นที่ตำบลโนนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง เช่น แหลมโนนวิเศษ สะพานเทพสุดา พิพิธภัณฑ์สิรินธร วัดสักวันภูกุ้มข้าว จุดชมวิวภูสิงห์ วัดพุทธนิมิตภูค่าว เป็นต้น ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวดังกล่าว สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมตลอดปี

นายบุญมีกล่าวอีกว่า ในส่วนของการเตรียมการรับนักท่องเที่ยว ในช่วงนี้และต่อเนื่องถึงอนาคต หลังสถานการณ์โควิด-19 ก็จะได้ตระเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน เช่น การจัดการเก็บขยะที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล การจัดระเบียบร้านค้า ร้านอาหาร รวมทั้งการรักษาความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการมีวินัย ใส่ใจความสะอาด ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยว และประชาชน เพื่อการเป็นเจ้าบ้านที่ดี และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อที่จะสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว และกลับมาท่องเที่ยวอีก

ชลบุรี - ต้องรุกสู้! นายก อบจ.ชลบุรี ตรวจเยี่ยมการให้บริการวัคซีนซิโนฟาร์ม เร่งกระจายให้ประชาชนเร็วที่สุด

บริเวณศาลาประชาคมอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ได้ร่วมกันลงพื้นตรวจเยี่ยมการให้บริการวัคซีนซิโนฟาร์ม ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (อบจ.ชลบุรี) ที่ได้จัดหาวัคซีนทางเลือกในการป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันหมู่ และเพื่อเป็นการเสริมแนวทางการกระจายวัคซีนหลักจากทางรัฐบาล

ในวันนี้ได้กำหนดกระจายวัคซีนต่อ ให้กับประชาชนที่ลงทะเบียนกับเครือข่าย อบจ.ชลบุรี โดยกำหนดใช้พื้นที่ศาลาประชาคมอ่าวอุดม ซึ่งเป็นสถานที่ให้บริการวัคซีนซิโนฟาร์ม กับประชาชน โดยพบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนงานต่าง ๆ ได้ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวก ท่ามกลางมาตรการป้องกันและควบคุมโรคระบาด อย่างเคร่งครัด

นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ทางอบจ.ชลบุรี จะได้พยายามกระจายวัคซีนซิโนฟาร์ม ให้ทั่วทั้งจังหวัด โดยอำเภอศรีราชา ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่พบการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และเป็นกลุ่มเสี่ยงในการแพร่ระบาด เนื่องด้วยเป็นพื้นที่เมืองท่องเที่ยว

อบจ.ชลบุรี ได้ประสานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกอำเภอ เพื่อจะได้จัดสรรและกระจายวัคซีนได้อย่างทั่วถึงให้เร็วที่สุด  


ภาพ/ข่าว  นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี ก012 ชลบุรี

สตูล - บริการฉีดวัคซีนแบบ boat drive through ให้ชาวเลกลุ่ม 608 นับเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

วันนี้ 6 กันยายน 2564 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ที่ท่าเรือตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล  จังหวัดสตูล ทีมแพทย์โรงพยาบาลสตูล สาธารณสุขอำเภอเมือง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ลงพื้นที่ให้บริการฉีดวัคซีนแบบ boat drive through ให้กับกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง, หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป) ซึ่งเป็นชาวเลอูรักลาโว้ย ที่เดินทางมาจาก ตำบลตำมะลัง ตำบลปูยู รวม 2 ตำบล 6 หมู่บ้าน เข้ารับการฉีดวัคซีน

นายยาลา ใบกาเด็ม นายอำเภอเมืองสตูล กล่าวว่า พื้นที่ ตำบลตำมะลัง มี 3 หมู่บ้าน มีกลุ่มเป้าหมาย 608 ทั้งหมด 834 คน ฉีดวัคซีนแล้ว 197 คน ส่วนที่ตำบลปูยู มี 3 หมู่บ้าน มีกลุ่มเป้าหมาย 608 ทั้งหมด 467 คน ฉีดวัคซีนแล้ว 46 คน สำหรับการลงพื้นที่ฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมาย 608 วันนี้ มีผู้ลงทะเบียนมาแล้ว 80 คน และกลุ่มเป้าหมาย walk in เข้ามาเพิ่ม 10 คน ก็จะได้รับการฉีดวัคซีนเช่นกัน เนื่องจากวันนี้ทีมแพทย์ได้เตรียมวัคซีนมาสำหรับฉีดกลุ่มเป้าหมาย 608  ซึ่งวันนี้มีผู้เข้ารับบริการฉีดวัคซีนจากตำบลตำมะลัง ตำบลปูยู และลงไปให้บริการเชิงรุกในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน จำนวน 95 คน ซึ่งทั้งหมดนี้ มีคนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง อยู่ด้วย 5 คน

โดยมีนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล,นาวาตรีหญิงโนสมา หลีเส็น นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล ประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล พร้อมสื่อมวลชนได้ไปให้กำลังใจด้วย


ภาพ/ข่าว  นิตยา แสงมณี / ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล

การศึกษาโลกอนาคต อีกนานไหม(ไทย)ถึงพร้อม | เปิด(ปม)ภาคการศึกษา EP.5

จากวิกฤตเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เข้ามาเขย่าวงการการศึกษา เรียกได้ว่าแตกกระจุยไม่ว่าจะเป็น การเรียนออนไลน์ การปรับหลักสูตรและวิธีการสอน รวมไปถึง Mindset ของครูอาจารย์และผู้ปกครอง

หลายคนสามารถปรับตัวได้ แต่ก็มีอีกหลายคนท่ีไม่ได้เป็นเช่นนั้น ปัจจุบันประเทศไทย อยู่จุดไหนของโลก ชมจากคลิปนี้พร้อมๆ กันเลย‼️

.

.

ปันน้ำใจส่งข้าวกล่องปันอิ่ม ช่วยคนเลี้ยงช้างอโยธยา หลังรายได้วูบหายช่วงวิกฤติโควิด ขณะที่พันธมิตรจิตอาสา เดินหน้าข้ามจังหวัดช่วยคนในพื้นที่สีแดง โดยไม่มีวันหยุด

จากเหตุการณ์ช้างพังคำหล้าอายุ 89 ปี ช้างจากปางช้างอโยธยา ต.ไผ่ลิง  อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ล้มป่วยจนไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ จึงต้องใช้เชือกรัดที่ลำตัว แล้วคล้องกับรถแม็คโครขนาดใหญ่ ของเทศบาลเมืองอโยธยา เพื่อช่วยพยุงดึงร่างให้ลุกขึ้นยืนทรงตัวอยู่ได้ สาเหตุขาดอาหารกินที่ไม่เพียงพอ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ประกอบกับมีอายุมาก ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น 

วันที่ 5 กันยายน​ 2564 ที่หมู่บ้านช้างอโยธยา นายสมชาย จรรยา อุปนายก สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นายเกียรติยศ ศรีสกุล ประธานชมรมช่างภาพสื่อมวลชนพระนครศรีอยุธยา และผู้แทนมูลนิธิสหชาติ นำข้าวกล่องพร้อมทาน จาก ”ครัวปันอิ่ม” พร้อมหน้ากากผ้า และสเปรย์ฉีดแอลกอฮอล์ มอบแก่ควาญช้าง และครอบครัว เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ได้มีแรงต่อสู้ที่กับวิกฤติโควิด-19 

น.ส.บุณยาพร บุญเกิด พนักงานต้อนรับหมู่บ้านช้าง เปิดเผยว่า ช่วงสถานการณ์ Covid-19 ระบาด ตลาดน้ำอโยธยา ปิดให้บริการ ทำให้ผู้ดูแลช้างไม่มีรายได้ นักท่องเที่ยวไม่ได้มาเที่ยว ขาดทุนทรัพย์ในการซื้ออาหารมาเลี้ยงช้าง แต่ยังมีผู้ใจบุญนำอาหารมาเลี้ยงอยู่บ้าง ก็ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากช้างมีหลายเชือก ต้องนำอาหารมาแบ่งปันกัน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พังคำหล้า ได้รับอาหารไม่เพียงพอ และขาดสารอาหาร ทำให้หมดแรงและล้มป่วยลง และนอกจากช้างแล้ว ผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดคือ คนเลี้ยงช้าง หรือ ควาญช้าง ที่มีครอบครัวอยู่หลายคน ขาดรายได้ จึงวิงวอนผู้เกี่ยวข้องช่วยลงมาดูพวกเขาด้วย  

ด้าน นางสอน คำสุข อายุ 85 ปี เจ้าของช้างพังคำหล้า กล่าวว่า วันนี้พังคำหล้าได้ลุกขึ้นยืนด้วยตัวเองได้ หลังจากที่ได้รับอาหารจากผู้ใจบุญที่นำมาบริจาคให้ได้กิน ช่วงโควิดจะนำพังคำหล้าไปปล่อยให้กินหญ้าซึ่งได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จนร่างกายผอมโซล้มป่วยลง พรุ่งนี้ได้รับแจ้งจะมีเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จะมาตรวจเช็คร่างกายให้

วันเดียวกัน ที่ศาลาประชาคม หมู่ 3 ต.แคตก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา นายสมชาย จรรยา อุปนายก สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่น 1 (ปสม.) สถาบันพระปกเกล้า นำโดย นางถวิล เพิ่มเพียรสิน อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นางสาวพรทิพย์ เตชะสมบูรณา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทในเครือ เวิลด์เมดิคอลซัพพลาย จำกัด นายภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา กรรมการผู้จัดการ บจก.เอสพีวี ปิโตรเลียม นายประเสริฐ เพิ่มเพียรสิน และนางสุกัญญา จรรยา ผู้จัดการ มูลนิธิสหชาติ ร่วมส่งมอบข้าวกล่องพร้อมทาน “ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” ของเครือซีพี พร้อมถุงยังชีพส่งความสุขและความห่วงใย  อาทิ ข้าวสาร ปลากระป๋อง น้ำปลา มาม่า ไข่ น้ำดื่ม หน้ากากผ้า สเปรย์ฉีดแอลกอฮอล์ และเครื่องตรวจวัดออกซิเจนปลายนิ้ว มอบแด่ชาวบ้านชุมชนหมู่ 3 ต.แคตก ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด โดยมีนายแพทย์ ศุภกร จิบสมานบุญ ผู้อำนวยการศูนย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคตก พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านร่วมรับมอบ 

ทางด้านนายแพทย์ศุภกร จิบสมานบุญ เปิดเผยว่า ตำบลแคตกมีประชากร 1,200 คน และมีผู้ติดเชื้อโควิด 40 คน โดยได้ทำการรักษาจนหาย แล้วกลับไปทำงานบ้างแล้ว สำหรับมาตรการป้องกันได้เชิญชวนประชาชนทุกคนไปรับการฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนกันมากแล้ว อีกทั้งยังรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักการ์ดอย่าตก กินร้อนช้อนกลาง และขอขอบพระคุณ ผู้ใหญ่ใจดี กลุ่มพันธมิตรจิตอาสา ที่นำสิ่งขอมาแบ่งปันความสุขถึงท้องถิ่นห่างไกลในครั้งนี้ 

​​​​​​

การตั้งคำถาม กระตุ้นให้พวกเขามีโอกาสแสดงความเป็นตัวตน มอบพื้นที่แห่งความสบายใจและรู้สึกปลอดภัยในการแสดงออก เพื่อให้พวกเขาได้ค้นพบคุณค่าในตัวเอง และค้นหาทางออกด้วยตัวของเขาเอง

การตั้งคำถามที่ทรงพลัง (Powerful Questioning) คือ การตั้งคําถามที่ช่วยให้คู่สนทนาสามารถจัดการความคิดยุ่งเหยิงของตนเองให้เป็นระบบระเบียบ และเมื่อความคิดความรู้สึกถูกจัดเรียงใหม่แล้ว เขาจะมีความพร้อมในการตั้งเป้าหมาย ประเมินสถานการณ์ มองหาทางเลือกต่างๆ และตัดสินใจเลือกวิธีการเดินหน้าต่อได้ชัดเจน 

การตั้งคำถามที่ทรงพลัง เป็นทักษะสำคัญที่ใช้ในการโค้ชเพื่อสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการทำโครงการ/กิจการเพื่อสังคม แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร หรือใช้สื่อสารกับผู้ที่กำลังสับสน ให้ได้ค้นพบคำตอบและแนวทางต่อด้วยตนเอง

1. คำถามกระตุ้นวิสัยทัศน์และเป้าหมาย 

วัยรุ่นค่อนข้างสับสนในตัวเอง เพราะมีข้อมูลรอบด้าน เพื่อช่วยให้วัยรุ่นได้เข้าใจตัวเอง มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนมากขึ้น จะได้มองเห็นภาพอนาคต จะได้มีความชัดเจนในตัวเอง ด้วยการตั้งคำถามกระตุ้นให้พวกเขาได้รู้จักข้อดีข้อเสีย โอกาสและอุปสรรคของตัวเอง จะได้ตั้งเป้าหมายในชีวิตที่แคบลง  เช่น

 “วันนี้เราจะคุยเรื่องอะไรกันดี” 
“คิดว่าทักษะอะไรสำคัญบ้าง”
“สุดท้ายต้องการเห็นอะไร หลังจากที่จบการคุยกัน”
“จากจุดนี้ต้องการไปให้ถึงจุดไหน”
“คิดว่านิสัยส่วนไหนของเราที่อาจเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในเป้าหมายนะ”
“คิดว่านิสัยส่วนไหนที่เป็นจุดแข็งของเรานะ”

2. คำถามชวนตระหนักถึงความจริงที่เกิดขึ้น

ในเวลาที่ข้อมูลเยอะ เกิดความสับสนในชีวิต มักทำให้คนรุ่นใหม่เกิดความลังเลสงสัย เกิดจินตนาการและการคาดการณ์ต่างๆ นานา เพื่อช่วยให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงความจริงที่อยู่ตรงหน้า ช่วยตรวจสอบมุมมองของข้อมูลให้รอบด้านมากขึ้น “ข้อมูลที่พบ มีที่มาจากแหล่งใด” (ช่วยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล) ด้วยการตั้งคำถามให้พวกเขาตระหนักและยืนอยู่บนพื้นฐานตามความจริง พร้อมช่วยประเมินสถานการณ์เบื้องต้น เช่น

“มีใครหรือหน่วยงานใดบ้างที่ทำงานในประเด็นนี้อยู่บ้างนะ”
“เกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดผลลัพธ์หรือผลกระทบกับคุณอย่างไรบ้าง”
“คิดว่ามีส่วนไหนบ้างที่ไม่จำเป็นในเบื้องต้น”
“ที่ผ่านมามีตรงจุดไหนบ้างที่เราพลาดไปไม่ได้ทำ”

3. คำถามชวนค้นหาทางเลือก

เมื่อช่วยให้วัยรุ่นมีจุดตั้งต้นอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงแล้ว ขั้นต่อไปคือการชวนคิดถึงโอกาสและทางเลือกต่างๆ โดยกลับไปเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น

– ถามเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และเปิดพื้นที่ให้เขาได้ทดลองคิดถึงความเป็นไปได้ต่างๆ เช่น 

“คิดว่ามีไอเดียหรือทางเลือกใดบ้าง ที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ปัจจุบัน”
“เราจะพัฒนาสิ่งที่เรามีได้อย่างไรนะ”
“เกี่ยวกับเรื่องนี้เลวร้ายที่สุดคือเรื่องใด”
“หากมีคนที่อยู่ในสถานการณ์เหมือนเราตอนนี้ คุณจะแนะนำเขาว่าอย่างไร”
 “คุณจะมีแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละทางเลือกอย่างไรบ้าง”

ขั้นตอนนี้จะเป็นตัวสรุปการพูดคุย โดยเราอาจช่วยให้วัยรุ่นทบทวนสิ่งที่คุยกัน ตั้งแต่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ความเป็นจริงที่ผ่านมา และทางเลือกต่างๆ เพื่อให้คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจเลือกว่าจะเลือกทางใดดี ซึ่งเราอาจเพิ่มคำถามเพื่อย้ำบทสรุปให้เห็นแผนที่ชัดเจนขึ้น เช่น “คิดว่าจะพร้อมลงมือทำตามไอเดียที่เลือกเมื่อไรดี” หรือ “สรุปว่าเราจะทำอะไรกันต่อบ้าง” เป็นต้น
 
4. ทำความเข้าใจก่อนค่อยถามต่อ 

ระหว่างการพูดคุย หากพบว่ามีข้อมูลบางอย่างที่ไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจตรงกับวัยรุ่นหรือไม่ อย่างไร ให้จัดการเคลียร์ความเข้าใจนั้นให้กระจ่างก่อน เช่น ศัพท์เฉพาะ ให้อธิบายให้เข้าใจ หรือ เรื่องนามธรรมให้เปรียบเทียบเปรียบเปรยให้เห็นได้ชัดๆ ด้วยการพูดว่า

 “ตรงนี้นิดหนึ่งนะ…ที่คุณพูดว่า….(ทวบทวนสิ่งที่เราได้ยิน)”
“ที่คุณพูดว่า……(บอกสิ่งที่เราเข้าใจ)…ว่าใช่หรือไม่”
“นิดหนึ่ง….(บอกสิ่งที่เราเข้าใจ)….ไม่ทราบว่าเข้าใจตรงกันไหมคะ”

ซึ่งหากผลออกมาว่าเราเข้าใจไม่ตรงกับเป้าหมายของวัยรุ่น ขอแนะนำให้จดบันทึกไว้ว่า ประเด็นหลักที่วัยรุ่นต้องการสื่อสารแต่แรกคือเรื่องใด และขณะนี้เราต้องหยุดพักซักครู่เพื่อทำความเข้าใจเรื่องใดก่อน เพื่อป้องกันการคุยหลุดประเด็น

เคล็ดลับอยู่ตรงที่ การตั้งคำถามกระตุ้นให้พวกเขาได้มีโอกาสแสดงความเป็นตัวตน มอบพื้นที่แห่งความสบายใจและรู้สึกปลอดภัยในการแสดงออก เพื่อให้พวกเขาได้ค้นพบคุณค่าในตัวเอง และค้นหาทางออกด้วยตัวของเขาเอง เราแค่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้เขาเข้าถึงความจริงในตัวเองให้ได้ 

เขียนโดย อ.นิธิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากร โปรเฟสชั่นนอล เทรนเนอร์
#Talktonitima


อ้างอิง
https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/11291/
https://www.hcdcoaching.com/17020389/ทักษะการถาม-questioning-skill

รวมพลังพันธมิตรจิตอาสา ปันน้ำใจ คลายทุกข์ 'ชาวชุมชนคลองเตย-สื่อภาคสนาม' ร่วมสู้ภัยโควิดก้าวผ่านวิกฤติไปด้วยกัน

(4 ก.ย.​ 64) ที่ลานหน้าสำนักงานมูลนิธิรวมน้ำใจ ถนนพระราม 4 เขตคลองเตย นางสาวสุดทินี แสงดี ประธานชุมชนริมคลองสามัคคี คลองเตย นางมาเรียม ป้อมดี ประธานชุมชนพัฒนาใหม่ พร้อมด้วยคณะกรรมการชุมชน และอาสาสมัครป้องกันภัยเขตคลองเตย ร่วมรับมอบอาหาร "ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจสู้ภัยโควิด-19" เพื่อส่งต่อให้ผู้พักอาศัยในชุมชนได้ปันอิ่ม โดยจัดแบ่งเป็น 3 ส่วน เพื่อแจกจ่ายให้กับชุมชนริมคลองสามัคคี ชุมชนพัฒนาใหม่ และอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เขตคลองเตย  

โดยมี นายสมชาย จรรยา อุปนายก สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย นำทีมพันธมิตรจิตอาสา จากองค์กรต่างๆ อาทิ มูลนิธิสหชาติ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เว็บไซต์ข่าว จั่นเจา canchaonews.com หนังสือพิมพ์ ดีดี โพตส์นิวส์ ร่วมส่งมอบสิ่งของเครื่องใช้ในการบรรเทาทุกข์ อาทิ ข้าวกล่องปันอิ่มหลากหลายเมนู ขนมครัวซอง หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย พร้อมสเปรย์ฉีดแอลกอฮอล์ 

นางสาวสุดทินี แสงดี เปิดเผยว่า ชุมชนของเรามีผู้พักอาศัย 700 คน ตั้งแต่เกิดการแพร่ระเบิดเชื้อโควิด มีผู้ติดเชื้อ 170 คน และทำการรักษาจนหายดี ปัจจุบันเหลือเพียง 10 คน ส่วนการดูแลเป็นไปตามระบบของสาธารณสุข ขอขอบคุณพันธมิตรจิตอาสา และเครือซีพี ที่ร่วมแบ่งปันห่วงใย มอบความสุขช่วยคลายทุกข์ ให้คนในชุมชนแห่งนี้ 

ด้าน นายสมชาย จรรยา เปิดเผยว่า พันธมิตรจิตอาสาเดินหน้าลงพื้นที่ชุมชนต่างๆอย่างต่อเนื่อง ไม่มีวันหยุด ในการทำหน้าที่เป็นสะพานบุญ นำสิ่งของเครื่องใช้ ที่ได้รับการสนับสนุนจ อาทิ ขนมครัวซองต์ จากร้าน Susan Croissant เอกมัย สเปรย์ฉีดแลกอฮอล์ กองพิทักษ์สิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม หน้ากากผ้า มูลนิธิสหชาติ รวมทั้งอาหารพร้อมทานจาก ”น้องเทนนิส” ที่ส่งกำลังใจผ่านข้าวกล่อง “ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” ผนึกกำลังบริษัทในเครือซีพี และห้างสรรพสินค้า โลตัส ส่งถึงมือผู้ได้รับความเดือดร้อน ผู้ที่ต้องแยกกักตัวที่บ้าน เพื่อได้มีอาหารที่ดีได้รับประทาน 

นอกจากนี้ พันธมิตรจิตอาสา ยังบรรเทาทุกข์คนสื่อภาคสนามที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มอบสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องตรวจออกซิเจนปลายนิ้วแก่นายสุรเชษฐ ศิลานนท์ ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย และมอบอาหารให้กับคุณยายและหลาน ที่ได้รับความเดือดร้อน ยืนเช็ดกระจกรถเวลาติดไฟแดงบริเวณหน้ากรมศุลกากร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top