Wednesday, 4 December 2024
ภาคกลางไทม์

สุโขทัยเขียนลายสังคโลกบนผืนผ้า งานอาร์ตเวิร์คช้อป สร้างรายได้แก่คนรักงานศิล์ปที่“บ้านปรีดาภิรมย์”

ถ้าเอ่ยคำว่า ‘ลายสังโลก’ หลายคนน่าจะนึกถึงเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เซรามิก เท่านั้น ที่สุโขทัยลายสังคโลกสวยๆ จากงานบรรจงฝีมือลงบนผืนผ้า ก็มีให้ชม ให้ใช้ ให้เลือกหา บ่งบอกถึงสุโขทัยเช่นกัน ‘ลายสังโลก’ ถือเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานจากเครื่องปั้นสังคโลก หรือจะเป็นลวดลายบนผืนผ้าที่เรานำมาใช้ประจำวัน เช่นเสื้อ หมวก ร่ม โคมไฟ  ย่าม กระเป๋า พัด กรอบภาพโชว์ และงานจากการสร้างขึ้นมาอื่น ๆ จากผ้า ที่มีความหมายสำคัญในชีวิตและวัฒนธรรมของสุโขทัย ‘ลายสังโลก’ก็ยังมีบทบาทสำคัญอย่างต่อเนื่องในประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสุโขทัยและคนไทย โดยลวดลายที่ถูกเขียนลงบนผืนผ้าสามารถบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาได้ ในยุคหลายร้อยปี   

งานศิลปะไม่ใกล้ไม่ไกลจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยในเขตชุมชนเมืองเก่า จ.สุโขทัย มีบ้านไม้หลังหนึ่ง รอให้ทุกคนได้มาสร้างสรรค์ลวดลายสังคโลกผ่านผืนผ้าที่ “บ้านปรีดาภิรมย์” ที่นี่เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบและความหมายของลวดลายสังคโลก ซึ่งถือเป็นงานหัตถกรรมที่สำคัญของสุโขทัยมาช้านาน โดยปกติแล้วเรามักจะเห็นลวดลายสังคโลกอยู่บนเซรามิก หรือเครื่องปั้นสังคโลก ที่เมืองเก่าแห่งนี้คือต้นกำเนิดของสุโขทัยทุกวันนี้ มีหญิงสาวท่านหนึ่งที่ถูกปลูกฝังในความเป็นคนสุโขทัยที่มีเอกลักษณ์และศิลปะในตัวเธอ คุณธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ “หรือฝน” ตัวเธอและครอบครัว และชาวบ้านชุมชนเมืองเก่าต้องการที่จะอนุรักษ์ สืบสานลวดลายบนเครื่องสังคโลกเอาไว้ไม่ให้หายไปตามกาลเวลา จึงเกิดเป็นกิจกรรมเวิร์คช้อปดี ๆ ให้นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามามีส่วนร่วมในการหัดเขียนลวดลายสังคโลก

คุณธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์  เอ่ยไว้น่าสนใจว่า การลงมือวาดลวดลายต่างๆ ของ‘ลายสังโลก’ ลงบนผืนผ้า เสื้อยืด กระเป๋าหรือโคมไฟ ไม่ว่าจะเป็น ลวดลายสัตว์ (ลายปลา ลายนกคุ้ม) ลวดลายพืชพรรณ (ลายดอกบัว ต้นไม้) และลวดลายเรขาคณิตแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต สังคม ความเชื่อและรูปแบบศิลปะเฉพาะของสุโขทัย จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าของ “จิตวิญญาณของวัฒนธรรม” เมืองสุโขทัย และเข้าใจอัตลักษณ์ของความเป็นสุโขทัยมากขึ้น และผู้ที่มาเรียนรู้เพื่อขยายคนสร้างงานศิล ใจรัก หรือ ทำเป็นอาชีพเสริม อาชีพหลัก ก็ล้วนแล้วแต่ความชอบของแต่ละคนที่สนใจ ส่วนตัวฝนและครอบครัว ก็ยังใช้งานที่รักนี้มาเป็นงานสร้างรายได้ สร้างผลงาน เพิ่มความรู้และแบ่งปันความรู้สู่ผู้อื่นมาทั้งชีวิตเช่นกัน


ภาพ/ข่าว  สุริยา ด้วงมา (จ.สุโขทัย)

หลวงพ่อพัฒน์ (ปุญญกาโม) บริจาคเงินจำนวน 8,000,000 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ และ รถพยาบาลVIP จำนวน 1 คัน มอบให้โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

วันนี้ 12.30 น.  หลวงพ่อพัฒน์ (ปุญญกาโม) และดร.เสมอ งิ้วงาม (ป๋อง สุพรรณ) บริจาคเงินจำนวน 8,000,000 บาท(แปดล้านบาทถ้วน) เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ และรถพยาบาลVIP จำนวน 1 คัน มอบให้โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โดยมีนายแพทย์โชติ ภาวศุทธิกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์รับมอบ ในพิธีมหาพุทธามังคลาภิเษกวัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ (ปุญฺญกาโม) รุ่น พยัคฆ์แสนล้านและรุ่น ราชาพยัคฆ์ ณ วัดธารทหาร (ห้วยด้วน) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

ท่านที่ประสงค์จะทำบุญในโอกาสพิเศษต่างๆ ติดต่อได้ที่ ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลฯ 056-001555 และ 089-8584102 หรือโอนเงินธนาคารกรุงไทย เลขที่ 633-0-41531-5 ส่งหลักฐานที่ inbox เพจ Facebook โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


ภาพ/ข่าว  ตอริก (ปัตตานี)

Sukhothai Crafts and Folk Art “สังคโลกอาร์ต” แหล่งเรียนรู้การทำสังคโลกของคนรุ่นใหม่

สังคโลกของจังหวัดสุโขทัย ได้สืบทอดศิลปะและภูมิปัญญาการทำเครื่องสังคโลกมานานมากกว่า 700 ปี และยังเป็นสื่อของการบอกเล่าเรื่องราวในอดีต ถึงความเจริญและความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักรสุโขทัยที่รุ่งเรือง จวบจนทุกวันนี้ การตกแต่งลวดลายบนสังคโลกเฉพาะของสุโขทัยคือเป็นรูปปลากา กงจักร และดอกไม้ จะเป็นสีเขียวและสีคราม เป็นสีนิยมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอดีต ในสีของเครื่องสังคโลกของสุโขทัย

และคุณครูผู้รักการเขียนลายสังคโลกด้วยมือ และผลิตชิ้นงานสังคโลก เซรามิคที่ชำนาญงานในด้านศิลปะลวดลายสังคโลก งานปั้น ขึ้นรูป จากงานดิน “ครูสาว” จันทรา อ่วมพรม อดีตอาจารย์แผนกศิลปกรรมเซรามิค ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยมีลูกศิษย์มากมาย หลายต่อหลายรุ่น ที่ประสบความสำเร็จ เมื่อได้ผันตัวเองมาเป็นเจ้าของร้าน "สังคโลกอาร์ต" อย่างเต็มตัวแทนการเป็นครูประจำ ด้วยความหลงไหลงานด้านศิลป์สังคโลกแบบลายโบราณ ก็ได้ประยุกต์ลวดลายที่สวยงาม วาดไว้บนชิ้นงานสังคโลก เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวและร้านค้า ที่มาเป็นลูกค้าของร้าน "สังคโลกอาร์ต"

“ครูสาว” กล่าวว่า “สังคโลกอาร์ต เรามีความชำนาญและความชื่นชอบในการปั้นและการวาดลวดลายสังคโลก มีนักท่องเที่ยว และลูกค้าให้ความสนใจ จึงได้จัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างหัตถศิลป์ด้วยตัวเอง โดยให้นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจงานศิลปะด้านนี้ ได้ร่วมกิจกรรมลงมือปั้นและวาดลวดลายเฉพาะของสุโขทัย ลงบนสังคโลก ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนกับกิจกรรมของทางร้าน 

และกิจกรรมการมีส่วนร่วมนี้ของนักท่องเที่ยว นักเรียน และผู้ที่สนใจ ทำให้ได้ร่วม อนุรักษ์ และสืบสานงานหัตถศิลป์ ให้คงอยู่สืบคู่สุโขทัย คนไทย เยาวชนและคนรุ่นใหม่ต่อไป และเรายังออกบูธกิจกรรม ออกร้าน เรียนรู้ทางกิจกรรมต่าง ๆ ของงานศิลป์และงานอีเวนท์ด้านส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านฝึกวิชาชีพตามงานสำคัญต่าง ๆ ด้วยเพื่อเผยแพร่งานศิลปะของงานช่างของของคนสุโขทัย”

ภาพ/ข่าว  เสนิศชนันต์ สุขกสิกร
 

อำเภอศรีสัชนาลัย เชิญชวนเที่ยวงานประเพณี ‘แห่ช้างบวชนาค ชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว ปีที่ 176’

ประชาชนชาวไทยพวนหาดเสี้ยวส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ และนิยมบรรพชาอุปสมบทบุตรหลานของตน โดยการแห่นาคด้วยขบวนช้างซึ่งเป็นประเพณีที่มีการสืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษแต่โบราณ ถือปฏิบัติกันมาถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 176 ตามคติความเชื่อเรื่องพระเวชสันดรชาดก โดยเรียกการบรรพชาอุปสมบทแห่นาคด้วยขบวนช้างหรือขี่ช้างแห่นาคว่า “บวชช้าง” อันหมายถึงการจัดงานบวชซึ่งเรียกว่า “นาคขี่คอช้าง” พร้อมด้วยญาติมิตรนำอัฐบริขารขี่บนหลังช้าง แห่เป็นริ้วขบวนของชาวไทยพวนหาดเสี้ยวนั่นเอง

อำเภอศรีสัชนาลัยและเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ได้มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายช่วงอายุคน จึงได้จัดงานประเพณีแห่ช้างบวชนาคของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพื่ออนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชน อีกทั้งเพื่อเป็น การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลและจังหวัดสุโขทัยตลอดจนรวมไปถึงการสร้าง   การมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความสามัคคีของประชาชนในพื้นที่
นายนิรันดร์  พรมละ ปลัดอาวุโสรักษาราชการแทนนายอำเภอศรสีชนาลัย จ.สุโขทัย เปิดเผยว่า งานประเพณีแห่ช้างบวชนาคของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว ประจำปี 2564 กำหนดจัดขึ้น ณ วัดหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2564 นักท่องเที่ยว และประชาชนผู้เข้าร่วมชมงาน จะได้รับชมพิธีทำขวัญนาคแบบไทยพวนหาดเสี้ยว ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และการแสดงการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยพวน รวมถึงพิธีบวงสรวงศาลเจ้าวัด (เจ้าปู่กื้อ) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยพวนหาดเสี้ยวเคารพบูชา 


นอกจากนี้จะได้ชมริ้วขบวนแห่ช้างอันยิ่งใหญ่ตระการตา นำหน้าขบวนด้วยหญิงชายเต้นรำวงนำขบวนแตรวงหรือกลองยาว ถือเทียนเอก เทียนอนุศาสน์ กรวยอุปัชฌาย์ ผ้าไตร อัฐบริขาร และเครื่องไทยธรรม เดินนำหน้าขบวนช้าง และมีอาสาสมัครพี่เลี้ยงร่วมขบวน ทำหน้าที่พยาบาลคอยให้ความช่วยเหลือและบริการน้ำดื่มแก่ผู้ร่วมขบวน ซึ่งสะท้อนภาพให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่บ้านเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง 


อำเภอศรีสัชนาลัยจึงขอเชิญทุกท่านเที่ยวชมงาน ประเพณีแห่ช้างบวชนาคของชาวไทยพวน   บ้านหาดเสี้ยว ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2564 ณ วัดหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ที่ทำการปกครองอำเภอศรีสัชนาลัยโทร. 0 - 5567 - 1466 


ภาพ/ข่าว  พงศ์เทพ สาคร (สุโขทัย)
 

เครื่องดนตรีจากผลไม้ ศิลปะสุดทึ่งของครูเกษียณ ชาวบ้านโป่ง

สุดว้าว !! "เครื่องดนตรีจากผลไม้" ศิลปะสุดทึ่ง ของอดีตข้าราชการครูเกษียณวิชาดนตรี "อาจารย์วิรัช ขำมาลัย" วัย 67 ปี นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีพิสดาร ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาศิลปะการแสดงประจำปี พ.ศ.2542 ที่หยิบจับผลไม้ หรือ ภาชนะเหลือใช้เป็นเครื่องดนตรี

(29 มี.ค.64) เครื่องดนตรีไทยเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย ที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีเสียงที่ไพเราะและแตกต่างกับเครื่องเล่นจากประเทศอื่น ๆ เครื่องดนตรีแต่ละอย่างจะมีความไพเราะและนุ่มนวลเฉพาะตัวของมัน และแบ่งประเภทออกมาได้ทั้งหมด 4 ประเภทนั่นคือ ดีด สี ตี และเป่า แต่ละประเภทจะมีเสียงที่แตกต่างกัน แต่เมื่อไหร่ที่นำมาเข้าจังหวะด้วยกันจะเกิดทำนองเพลงที่ไพเราะ ซึ่งชาติไหนก็ไม่สามารถเทียบความไพเราะของเครื่องดนตรีไทยได้ เครื่องดีดเป็นเครื่องดนตรีจำพวก จะเข้  เครื่องสีเป็นเครื่องดนตรีจำพวก ซอ เครื่องตีเป็นเครื่องดนตรีจำพวก ระนาด ฆ้อง กลอง เครื่องเป่าเป็นเครื่องดนตรีจำพวก ขลุ่ย ปี่ เป็นต้น

วัสดุที่สร้างเครื่องดนตรีไทย ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้วค่อย ๆ มาปรับปรุงพัฒนาต่อไปเรื่อย ต้นไผ่ และกระดูกสัตว์ กะลามะพร้าว แผ่นอลุมิเนียม ไฟเบอร์กลาส หนังสัตว์ และวัสดุที่ให้ความคงทนแข็งแรง ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

แต่ที่บ้านคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กลับมีอดีตครูวัยเกษียณ ที่พร่ำสอนดนตรีไทยมายาวนานกว่า 50 ปี แม้จะเกษียณอายุราชการมาแล้ว ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นครูจิตอาสาสอนวิชาดนตรีให้กับนักเรียน ด้วยแถมยังเป็นที่รู้จักกันว่า ครูนักประดิษฐ์ นักสร้างสรรค์ เครื่องดนตรีพิสดาร ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาศิลปะการแสดงประจำปี พ.ศ.2542 ที่หยิบจับผลไม้ หรือ ภาชนะเหลือใช้เป็นเครื่องดนตรี

ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปที่บ้านของครูนักประดิษฐ์เครื่องดนตรีพิสดารคนดังกล่าว ตั้งอยู่ใน บ้านคุ้งพยอม หมู่ที่ 12 ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นบ้านของ นายวิรัช ขำมาลัย อายุ 67 ปี หรือ ที่รู้จักกันครูวิรัช เป็นอดีตข้าราชการครูวัยเกษียณ แต่ปัจจุบันยังคงทำหน้าที่เป็นครูจิตอาสายังคงทำหน้าที่สอนวิชาดนตรีไทยให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ

ครูวิรัช เล่าว่า ตนเองเป็นครูตั้งแต่อายุ 18 ปี และสอนจนเกษียณ รวมแล้วเกือบ 50 ปี เป็นครูสอนดนตรี และ สอนเด็กอนุบาล ส่วนเครื่องดนตรีที่ตนเองได้คิดขึ้นมาเอง และเป็นคนสร้างขึ้นมานั้นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องดนตรีชนิดเป่า อาทิ ทุเรียน แอปเปิล ชมพู่ หรือแม้แต่ แตงร้าน นอกจากผลไม้ก็ยังนำ สาก มาใช้ทำเครื่องดนตรีอีกด้วย งานนี้คำว่า "เงียบเป็นเป่าสาก" ทำให้รู้ว่าน่าจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป รวมไปถึงเครื่องดนตรีที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้อีกมายมาย ไม่ว่าจะเป็น ทรอมโบน จากท่อ PVC และราวตากผ้า, แซกโซโฟน จากขี้เลื่อย, แซกบราโน่ จากไม้ไผ่ และกีตาร์ไฟฟ้า จากไม้ทีของนักศึกษาอาชีวะ

ซึ่งครูวิรัช ขำมาลัย ได้พาผู้สื่อข่าวไปที่ตลาดในเทศบาลเมืองบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง เพื่อเลือกซื้อผลไม้ ที่จะนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี อาทิ ชมพู่ ละมุด กล้วย มะละกอ มะระ แตงกวา มะม่วง เพื่อพิสูจน์ให้ผู้สื่อข่าวดูว่าจะสามารถทำเป็นเครื่องดนตรีได้หรือไม่ โดยหลังจากเลือกเสร็จ ครูวิรัชได้ นำกลับเตรียมให้วัสดุในการประดิษฐ์ก็จะประกอบไปด้วย มีด ดอกสว่าน ไขควง ประแจหกเหลี่ยม ช้อน และที่ขาดไม่ได้คือ กำกวด หรือ ลิ้น เป็นส่วนประกอบของปี่ซึ่งทำให้เกิดเสียงเวลาเป่า สอดติดอยู่กับเลาปี่ ที่จะทำให้กำเนิดเสียงในผลไม้ ทำจากใบตาลมาประดิษฐ์คู่กับหลอดและใช้เชือกพัน

ส่วนวิธีการทำนั้นไม่อยาก แต่ครูวิรัช บอกว่าต้องใช้ประสบการณ์ การฟังเสียง เมื่อเรานำผลไม้ที่เลือกซื้อมา ใช้มีดตัดหรือหั่นส่วนที่มีขนาดความกว้างที่มากว่า ก็จะอยู่ช่วงป้องก่อนถึงส่วยยอดของผลไม้ อาทิ ลูกชมพู่ จะใช้มีดคว้านช่วงปลายของผล ให้มีลักษณะคล้ายดอกลำโพง จากนั้นใช้ไขควงเจาะให้เป็นรูตรงกลางจนทะลุอีกฝั่ง ส่วนที่ติดกับก้าน และตัดจุกก้านทิ้ง ต่อมาใช้ไขควงเล็ก เจาะรูที่ด้านข้าวของผล โดยการเว้นช่องห่างของนิ้ว จะได้ประมาณ 3 - 4 รู เท่านี้ก็จะได้เครื่องดนตรีจากผลชมพู่ ส่วน ผลไม้อื่น ๆ ก็ทำลักษณะเหมือนกัน แต่จะให้เสียงที่แตกต่างกันไปตามชนิดของผลไม้ เช่น ชมพู่ จะให้เสียงที่ค่อนข้างกังวานและเสียงแหลม, ละมุด ก้องและออกไปแหลมทุ้ม, จะให้เสียงที่ กล้วย จะให้เสียงที่กังวานและแหลม, มะละกอ จะให้เสียงก้องและออกไปแหลมทุ้ม,  มะระ จะให้เสียงก้องและออกไปทุ้ม,  แตงกวา จะให้เสียงที่ก้องและออกไปแหลมทุ้ม มะม่วง จะให้เสียงแหลมและออกไปแหลมกังวาน

นอกจากนี้ ครูวิรัช ยังได้สาธิตการเป่าสาก ที่ได้ประดิษฐ์เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพราะต้องใช้เครื่องมือไฟฟ้า อย่างเช่นสว่านเพื่อเจาะไม้ของตัวสากให้เป็นรู ซึ่งงานนี้คำว่า "เงียบเป็นเป่าสาก" จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะครูวิรัชสามารถเป่าสากให้มีเสียงได้ พร้อมทั้งยังได้สาธิตการเป่าเครื่องดนตรีที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้อีกหลายชิ้น อาทิ ทรอมโบน จากท่อ PVC และราวตากผ้า, แซกโซโฟน จากขี้เลื่อย, แซกบราโน่จากไม้ไผ่

จากการนำผลไม้ชนิดต่าง ๆ และ เศษวัสดุเหลือใช้ มาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี ครูวิรัช กล่าวว่า เกิดจากการที่เมื่อสมัยเด็กอยากเป็นนักดนตรี แต่ไม่มีทุนในการซื้อจึงได้รองคิดค้นนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี ส่วนผลไม้ ตนได้รองนำผลไม้มาประดิษฐ์ดูจึงพบว่าสามารถนำมาเป็นเครื่องดนตรีชนิดเป่าได้ ประกอบกับการใช้ทักษะในการฟังเสียงและการเข้าใจเสียงที่ได้จากผลไม้ บางชนิดได้เสียงแหลม บางชนิด เสียงทุ้ม ซึ่งตนจะนำมาสอนเด็ก ๆ เวลาสอนจะทำให้เด็กรักสนุกและเข้าใจง่าย แต่ที่สำคัญ ตนมองว่าทำไมเครื่องดนตรีถึงราคาแพง เด็กจะเข้าถึงเครื่องดนตรีได้อย่างไร ตนจึงนำสิ่งของเหล่านี้มาทำเป็นเครื่องดนตรีและสอนเด็ก ๆ ปัจจุบัน ครูวิรัชได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีมาแล้วกว่า 30 ชนิด

สำหรับใครที่อยากจะเรียนรู้เรื่องการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากผลไม้ และ วัสดุเหลือใช่สามารถโทรสอบถามได้ที่หมายเลข 086-766-6985

ภาพ/ข่าว  ตาเป้ (จ.ราชบุรี)

MEDIVAC in Royal Thai Navy Annaul Exercise 2021 ซักซ้อมการฝึกปฏิบัติการทางการแพทย์ในการส่งกลับกรณีกำลังพลได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ในสนาม

วันที่ 28 มี.ค.64 กรมแพทย์ทหารเรือจัดกำลังเข้าร่วมการซักซ้อมการฝึกการส่งกลับสายแพทย์ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2564 โดย ร.ล.อ่างทอง เป็นโรงพยาบาลสนาม ทั้งนี้ชุดปฏิบัติการทางการแพทย์นี้มีขีดความสามารถรักษาผู้บาดเจ็บในระดับที่ต้องรักษาเร่งด่วนได้ ในกรณีที่มีการบาดเจ็บฉุกเฉิน โดยการผึกกองทัพเรือในครั้งนี้กรมแพทย์ทหารเรือทำการจัดกำลังดังนี้

             ชุดลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศยาน 1 ชุด

             ชุดการแพทย์ฉุกเฉิน 1 ชุด

             ชุดศัลยกรรมเคลื่อนที่ 1 ชุด 

การซ้อมนี้เป็นส่วนหนึ่งในการซ้อมการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2564 ซึ่งกองเรือยุทธการได้จัดกำลังเป็น หมวดเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบก โดยมี พล.ร.ต.อาภา  ชพานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการเป็นผู้บังคับหมวดเรือฯ เป็นหน่วยขึ้นการบังคับบัญชากับกองเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกล ทั้งนี้หมวดเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบกได้ทำการซ้อมการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมในการเดินทางเพื่อเคลื่อนกำลังจากเรือสู่ฝั่ง (From the sea) ในวัน D-Day

 

ภาพ/ข่าว  สมนึก เชื้อสนุก

 

ถึงกับผงะ! นักท่องเที่ยวกราบไหว้พระพุทธรูปในพระอุโบสถ จ.ชัยนาท เห็นรอยแตกร้าว หวั่นเกิดอุบัติเหตุล้มทับคนที่มากราบไหว้ ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปยัง วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตำบลชัยนาท จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองชาวจังหวัดชัยนาทและใกล้เคียง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 19 ภายในวัดประดิษฐานเจดีย์พระบรมธาตุแบบศิลปะสมัยอู่ทอง เป็นเจดีย์ประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอาณาเขตของวัดติดต่อกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชัยนาทมุนี หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปเยี่ยมชมและเข้ากราบไหว้หลวงพ่อทอง พระประธานในพระอุโบสถ​หลังดังกล่าว ก็ได้พบกับกลุ่มชาวบ้านซึ่งกำลังกราบไหว้ขอพรอยู่ในพระอุโบสถ

หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงจากกลุ่มชาวบ้านกำลังวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรูปพระประธานในพระอุโบสถซึ่งมีรอยแตกร้าวขึ้นอยู่หลายจุด หวั่นเกิดอุบัติเหตุล้มมาทับคน จึงได้พากันแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ นา ๆ เนื่องจากพระ พระอุโบสถซึ่งสร้างจากดินเหนียว หนึ่งเดียวในเมืองไทยรวมทั้งงดงาม และก็แปลกกว่าที่อื่นใด จึงอยากให้ทางวัดพระบรมธาตุวรวิหารเร่งแก้ไข หรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยลงมาดูแลหน่อย โดยกลุ่มชาวบ้านได้กล่าวว่า ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหารมีงานบ่อย อาทิเช่นงานบวช งานบุญ หรือตามเทศกาลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสงฆ์ หากรอยแตกร้าวที่องค์พระพุทธรูปนั้นยังไม่แก้ไข หวั่นรอยแตกร้าวนั้นอาจจะลามทั่วจนแตกหักเกิดอุบัติเหตุ ถล่มทับคนที่เข้ามากราบไหว้ หรือกำลังทำพิธีเกี่ยวกับสงฆ์ก็เป็นได้ ยังไม่พออาจจะสร้างความเสื่อมเสียมาถึงวัดได้ จึงอยากให้เบื้องบน หรือทางวัดนั้นได้แก้ไข

หลังจากนั้น จึงได้สอบถามไปยังเจ้าอาวาสวัดเพื่อขอทราบลายละเอียดเรื่องรอยแตกร้าวที่องค์พระพุทธรูปในพระอุโบสถ ท่านเจ้าคุณพระสุธีวราภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ได้กล่าวว่า หลวงพ่อทองพระประธานในพระอุโบสถนั้นสร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทองปี พ.ศ.1912 ซึ่งทางวัดได้ทำการบูรณะมาครั้งหนึ่งแล้วในปี พ.ศ 2554 ภายใต้การควบคุมของกรมศิลปากร หลังจากนั้นปี พ.ศ.2563 หลวงพ่อทอง เริ่มแตกร้าวแล้วเป็นหนักกว่าช่วงที่ผ่านมา ทางวัดจึงได้แจ้งไปยังกรมศิลปากร แล้วต่อมาก็มีทางคณะ ทางกรมศิลปากรมาตรวจ แต่เรื่องก็เงียบหายไป จนกระทั่งมาปี พ.ศ.2564 องค์หลวงพ่อทองที่อยู่ในพระอุโบสถ แตกร้าวทั่วเกือบทั้งองค์ ซึ่งทางวัดก็หวั่นเกิดอุบัติเหตุล้มลงมาทับคนที่มากราบไหว้ ทั้งนี้ทั้งนี้ทางวัดก็อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยลงมาดูแลหน่อย  ก่อนที่จะเสียหายไปมากกว่านี้ ทั้งหมดนี้ทางเจ้าอาวาสได้กล่าวไว้

ภาพ/ข่าว  ภาวิณี ศรีอนันต์  รายงาน

เสียงสัมภาษณ์ คุณทองณัฐฎ์ ศุภปัญญาพงษ์ นายกสภากาชาด อ.วัดสิงห์ และสัมภาษณ์ ท่านเจ้าคุณพระสุธีวราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท

พ่อเมืองสุโขทัย ชวนเที่ยวงาน “เมษาหรรษา @สุโขทัย”ซึ่งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางเที่ยวชมงาน และสร้างรายได้หมุนเวียนให้กับจังหวัดอย่างคึกคัก

จังหวัดสุโขทัย ร่วมกับ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย แถลงข่าว “เมษาหรรษา @สุโขทัย” ตามโครงการส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นแนวคิดการเดินทางท่องเที่ยวตลอดเดือนเมษายน ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมและงานประเพณีสำคัญที่จะเกิดขึ้น ตลอดเดือนเมษายน นี้ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ ที่จะมีขึ้นในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุโขทัย

นายวิรุฬ  พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า จังหวัดสุโขทัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเป็นเมืองท่องเที่ยว และต้องการให้จังหวัดสุโขทัย เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกจังหวัด อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในจังหวัด เกิดการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ของฝาก การขยายตลาดของสินค้า การท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างอาชีพ และก่อให้เกิดรายได้กับประชาชน จังหวัดสุโขทัย จึงได้กำหนดให้เดือนเมษายน เป็นเดือนแห่งการท่องเที่ยวภายใต้ชื่อกิจกรรม “เมษาหรรษา @สุโขทัย” เนื่องจากในเดือนนี้ มีงานประเพณีวัฒนธรรมไทยที่สำคัญ แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัย ที่จะทำให้นักท่องเที่ยว สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย  ได้ตลอดทั้งเดือนเมษายน        

ซึ่งจังหวัดสุโขทัย มีกิจกรรมเด่นและประเพณีสำคัญๆที่จะเกิดขึ้นตลอดเดือนเมษายน มีดังนี้  ตักบาตรสะพานบุญ ณ วัดตระพังทอง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย ซึ่งจัดให้นักท่องเที่ยวได้ใส่บาตรกันทุกวัน  งาน Amazing Sukhothai Light Up Night ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 มีนาคม ณ.วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  งานสักการะพระแม่ย่าจังหวัดสุโขทัย ณ ศาลพระแม่ย่าสุโขทัย วันที่ 30 มีนาคม ถึง 8 เมษายน  งาน Mini Light & Sound เรื่องเมืองสุโขทัย ณ วัดสระศรี อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  วันที่ 3 และ 17 เมษายนงานประเพณีแห่ช้างบวชนาค ชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว  ณ วัดหาดเสี้ยว  วันที่ 6 – 7 เมษายน  งานประเพณีสรงน้ำโอยทานสงกรานต์ศรีสัชนาลัย ณ อนุสาวรีย์พระยาลิไท วันที่ 8 -11 เมษายน  งานประเพณีสรงน้ำโอยทานสงกรานต์ศรีสัชนาลัย ณ ศาลหลักเมืองศรีสัชนาลัย วันที่ 11 เมษายน  งานกิจกรรมส่งเสริมเมืองสร้างสรรค์ Crafts and Folk Art “งานบ้านบ้านสุโขทัย” ณ สวนน้ำเปรมสุข วันที่ 10-14 เมษายน   งานย้อนมหาสงกรานต์กรุงสุโขทัย ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย วันที่ 13 เมษายน งานประเพณีสงกรานต์เมืองสุโขทัย วันที่ 13 ถึง 15 เมษายน  งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง สรงน้ำเจ้าหมื่นด้ง ณ อนุสาวรีย์เจ้าพ่อหมื่นด้ง ตำบลบ้านตึก วันที่ 18-20 เมษายน

 

นายวิรุฬ  พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และศรีสัชนาลัย ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่เป็นเมืองแห่งมรดกโลก ที่มีเป็นต้นกำเนิดด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี อีกทั้งผู้คนในท้องถิ่นยังคงรักษาขนบธรรมเนียม และประเพณีดั้งเดิมอันงดงามไว้ได้อย่างเข้มแข็งตลอดทั้งปี มีการจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองและงานประเพณีที่สำคัญมากมาย จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาร่วมเยี่ยมชมงานประเพณีวัฒนธรรม และกิจกรรมต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ อีกทั้งจังหวัดสุโขทัยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานที่งดงาม มีเอกลักษณ์โดดเด่นหลากหลายไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่าน มีอาหารอร่อยมากมายให้ลิ้มลอง มีสินค้าและของที่ระลึกเป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่น ของดีของเด่นทั้ง 9 อำเภอ ที่สำคัญ เราพร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ที่พัก การเดินที่ทางสะดวก ปลอดภัย และสามารถเที่ยวได้ทุกวัน เที่ยวได้ตลอดเดือนเมษายนนี้ ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่นิวนอร์มอน ซึ่งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางเที่ยวชมงาน และจะสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนให้กับจังหวัดอย่างคึกคัก เกิดการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจภายในจังหวัดสุโขทัย

ภาพ/ข่าว  พงศ์เทพ สาคร (สุโขทัย)

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปิด รพ.สนามแห่งที่ 7 ชูสมุทรสาคร “นำร่องฉีดวัคซีนเพื่อชาติ” หลังจากควบคุมสถานการณ์โรคระบาดได้ โดยพบผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 9 – 15 รายต่อวัน พร้อมปรับรูปแบบให้เป็นสถานที่ฉีดวัคซีนฯ

เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 25 มีนาคม 2564 นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะผู้บริหาร ได้ร่วมกันทำพิธีปิดโรงพยาบาลสนาม หรือ ศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 7 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย อ.เมือง จ. สมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสนามที่มีขนาด 460 เตียง เปิดรับผู้ติดเชื้อตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 มกราคม - 19 มีนาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อเข้าใช้บริการทั้งสิ้น 761 คน ซึ่งในพื้นที่ตำบลท่าทรายนี้ นับเป็นพื้นที่พบผู้ติดเชื้อสงสุดของจังหวัดสมุทรสาคร จำนน 9,907 คน คิดเป็นเกือบร้อย ละ 50 ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด โดยหลังจากที่ปิดโรงพยาบาลสนามแห่งนี้แล้ว ก็จะปรับให้เป็นสถานที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้แก่ประชาชนในจังหวัดสมุทรสาคร โดยได้เริ่มดําเนินการมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิดไปแล้ว กว่า 5,000 คน

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า การเปิดโรงพยาบาลสนาม หรือศูนย์ห่วงใยคนสาคร  รองรับสถานการณ์โรคโควิด 19 เป็นอีกเหตุการณ์ในหน้าประวัติศาสตร์ที่ชาวสมุทรสาครได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ดึงทรัพยากรที่มีอยู่เข้ามาช่วยต่อสู้กับโรคระบาดและแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลในการดูแลผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ เป็นนวัตกรรมระดับโลกที่สำคัญต่อระบบสาธารณสุขของประเทศในการจัดการกับวิกฤต เพิ่มความมั่นใจให้ประชาชนถึงศักยภาพความเข้มแข็งและความเพียงพอของระบบสาธารณสุขที่จะรองรับผู้ ติดเชื้อจำนวนมาก โดยได้ตั้งโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ติดเชื้อถึง 10 แห่ง รวมกว่า 4 พันเตียง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์ของโควิด 19 จ.สมุทรสาครมีแนวโน้มดีขึ้น จากมาตรการค้นหาและเฝ้าระวังเชิงรุก มาตรการ Bubble and Sealed ในโรงงานขนาดใหญ่ ที่นำผู้ติดเชื้อไปอยู่ในสถานที่กักกันจนปลอดเชื้อ และการตรวจหาภูมิคุ้มกัน รวมถึงมาตรการ DMHT เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ การคัดกรองอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าสถานที่ต่าง ๆ ทำให้จำกัดการระบาดได้ ประกอบกับการได้รับวัคซีน 2 แสนโดส สำหรับ 1 แสนคน โดยได้ฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในจังหวัดแล้ว 40,715 คน ส่งผลให้พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 9 - 15 รายต่อวัน จึงได้ทยอยปิดโรงพยาบาลสนาม จนถึงวันนี้นับเป็นแห่งที่ 7 รวม ทั้งหมด 2,227 เตียง ส่วนอีก 3 แห่ง 1,985 เตียง ได้แก่ ศูนย์ห่วงโยคนสาครแห่งที่ 8 หรือโรงพยาบาลสนาม 1,000 เตียง (ส่วนนต่อเติมวัฒนาแฟคตอรี่),แห่งที่ 9 (บริษัทวิท วอเตอร์ซิสเต็มดีเวลลอปเม้นท์) และแห่งที่ 10 (ที่ดินของนางเง็กเน้ย ศิริชัยเอกวัฒน์) เพียงพอรองรับเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

แต่ทั้งนี้ “การปิดโรงพยาบาลสนามไม่ได้เป็นการประกาศว่าสถานการณ์โควิด 19 จบสิ้นหรือไม่มีการระบาดแล้ว แต่เป็นการ ส่งสัญญาณว่าต่อไปนี้การระบาดอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ เพราะระบบโรงพยาบาลมีศักยภาพและความพร้อมรองรับผู้ป่วยได้ ซึ่งบทบาทและภารกิจในการดูแลผู้ป่วยโควิดที่ยังมีอยู่จะถูกส่งต่อให้กับโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่มีศักยภาพในจังหวัดสมุทรสาคร 

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวทิ้งท้ายว่า หลังจากที่จังหวัดสมุทรสาคร สามารถแสดงออกถึงศักยภาพด้านการควบคุมโรคด้วยการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามหรือศูนย์ห่วงใยคนสาครที่มีมากที่สุดของประเทศและดีที่สุดของประเทศ ภายใต้การบริหารจัดการของระบบสาธารณสุขแล้วนั้น ขั้นต่อไปก็อยากจะขอเชิญชวนพี่น้องชาวจังหวัดสมุทรสาคร และผู้ที่ทำงานหรือพักอาศัยอยู่ในจังหวัดนี้ ได้ร่วมกันต่อยอดแสดงถึงความสามัคคีอีกระดับหนึ่ง ด้วยการพร้อมใจกัน “ฉีดวัคซีนเพื่อชาติ ป้องกันโควิด 19” ที่รัฐบาลจะดำเนินการจัดสรรลงมาให้จังหวัดสมุทรสาครได้รับมากที่สุด และเป็นจังหวัดนำร่องที่มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนมากที่สุดอีกด้วย หากทั้งนี้ประเทศไทยสามารถดำเนินการฉีดวัคซีนได้มากกว่าร้อยละ 60 เร็วเท่าไหร่ เราก็จะเปิดประเทศไทยเร็วมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่พี่น้องชาวจังหวัดสมุทรสาคร จะได้ร่วมกันแสดงออกการถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการ “ร่วมกันฉีดวัคซีนเพื่อชาติ” เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคนี้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และเพิ่มศักยภาพความปลอดภัยให้แก่บุคคลภายนอกอีกด้วย

สำหรับสถานการณ์โควิด19 จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2563 - วันที่ 24 มีนาคม 2554 พบผู้ติดเชื้อ 17,195 คน จังหวัดได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนจัดหาสถานที่สร้างโรงพยาบาลสนามที่ไม่มีผลกระทบหรือสร้างความกังวลให้กับประชาชน โดยโรงพยาบาลสนามหรือศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 1 ใช้สนามกีฬาจังหวัด มี 700 เตียง เปิดใช้งานเมื่อ วันที่ 4 มกราคม 2564 รับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการมาดูอาการ 10 วัน ซึ่งในระหว่างนั้นหากมีอาการจะส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันทีชูชาตแดพยนต์ทีมข่าวสมุทรสาคร

ชาวบ้านงมหาหอยในคลอง ต้องตกใจพบ ‘ลูกระเบิด’ รีบแจ้งตำรวจ

ชาวบ้านออกงมหอยในคลอง งมขึ้นมาเป็นลูกระเบิดตกใจรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจสอบ ศูนย์วิทยุเมืองนายกได้รับแจ้งเหตุมีชาวบ้านไปหางมหอยที่ลำคลอง แต่งมได้ลูกระเบิด บริเวณคลองบ้านขาม-วังไทรระหว่างหมู่ที่ 5 บ้านใหญ่เขตติดต่อกับหมูที่ 7 ตำบลเขาพระ  ตรงข้ามวัดบ้านข้าม

จึงรายงาน พ.ต.อ.ทนงศักดิ์ คำมาตย์ ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรเมืองนครนายก พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเก็บกู้ระเบิด (อีโอดี )ไปยังที่เกิดเหตุพบลูกระเบิดถูกนำจากคลองมาวางไว้ที่ป่าหญ้าริมทาง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเก็บกู้ระเบิดได้เข้าตรวจสอบพบว่าเป็นลูกระเบิด กปรส. ขนาด 75 มม. ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ที่มีประสิทธิภาพแรงระเบิดระยะประมาณ 20 เมตร มีสภาพเก่าแต่ยังมีประสิทธิภาพอยู่ เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้ระเบิดอีโอดีจึงได้นำลูกระเบิดชนิดนี้เข้าไปเก็บไว้ยังที่ปลอดภัยเพื่อรอการทำลายร้างต่อไป

จากการบอกเล่าของนางสาวสำรอง อยู่สุข อายุ 61 ปี อยู่บ้านเลขที่ 62 หมู่ที่ 7 ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้มางมหอยในลำคลองหมู่ที่ 5 ตำบลบ้านใหญ่เขตติดต่อหมู่ที่ 7 ตำบลเขาพระ ได้มางมหอยแต่มาพบลูกระเบิดตกใจรีบนำขึ้นมาไว้ริมบ่อ เพื่อรอเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจสอบดังกล่าว

ภาพ/ข่าว  สมบัติ เนินใหม่ (นครนายก)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top