Tuesday, 1 July 2025
NEWS

วัยรุ่นเตรียมเฮ ททท.ปรับเกณฑ์หนุนท่องเที่ยวไทย เล็งเสนอโครงการใหม่ ‘ทัวร์เที่ยวไทย’ แจก 5,000 บ. ช่วยค่าเที่ยว ผ่านบริษัททัวร์นำเที่ยวในราคาแพคเกจขั้นต่ำ 12,500 บาท เป็นจำนวนประมาณ 1 ล้านคน แทนที่ ‘เที่ยวไทยวัยเก๋า’

รัฐบาลแจกเก่ง ล่าสุดเตรียมสนับสนุนให้คนไทยออกมาเที่ยวช่วงสงกรานต์ โดยเพจ ‘เราชนะ’ ได้ออกมาโพสต์ว่า

เตรียมเฮกันเลย จัดให้ทั้งวันหยุดและเงินเที่ยว สงกรานต์ปีนี้ หยุดยาว 6 วัน (10 - 15 เม.ย)

แต่เท่านั้นยังไม่พอ จัดให้อีกต่อ เตรียมเปิดโครงการใหม่ "ทัวร์เที่ยวไทย" แจก 5,000 บ. ช่วยค่าเที่ยว เพียงอายุ 18 ปีขึ้นไป แทนที่เที่ยวไทยวัยเก๋าที่กำหนดอายุ 55 ปีขึ้นไป (รอรายละเอียดเต็มหลังมติ ครม.)

รายละเอียดเบื้องต้น

- อายุ 18 ปีขึ้นไป

- สมทบเงินสูงสุด 5,000 บ./คน ให้ออกเดินทางเที่ยวผ่านบริษัททัวร์ (โดยจะสมทบเงินให้ 40% ของแพคเกจ)

** สำหรับรายละเอียดทัวร์เที่ยวไทยเต็ม ๆ ต้องรอสรุป มติ ครม.คาดว่าจะออกมาเร็ว ๆ นี้

ขณะที่ ก่อนหน้านี้ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เปิดเผยความคืบหน้าโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยว ได้แก่ เราเที่ยวด้วยกัน และเที่ยวไทยวัยเก๋า ว่า ทาง ททท.จะหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนออกมามากขึ้น และหากผ่านการพิจารณาของสศช. จะนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

โดยโครงการเที่ยวไทยวัยเก๋า จะปรับเปลี่ยนรูปแบบเล็กน้อย ภายใต้ชื่อ ‘ทัวร์เที่ยวไทย’ ที่จะขยายกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมระดับอายุมากขึ้น เริ่มตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่ได้จำกัดแค่เพียงผู้สูงวัยเท่านั้น โดยจะสมทบเงินให้ 40% หรือไม่เกิน 5,000 บาทต่อคน ให้ออกเดินทางท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์นำเที่ยวในราคาแพคเกจขั้นต่ำ 12,500 บาท เป็นจำนวนประมาณ 1 ล้านคน

ซึ่งจะทำให้บริษัททัวร์ รับคนเข้าร่วมโครงการได้จำนวน 3,000 คนต่อ 1 บริษัท รวมบริษัททัวร์ประมาณ 300 ราย ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เดือน ซึ่งขณะนี้ยังต้องหารือกันอีกครั้งว่า สรุปแล้วเงินที่รัฐบาลจะสมทบให้นั้น จะส่งตรงไปยังผู้ใด ระหว่างบริษัทหรือผู้ใช้สิทธิ

ซึ่งนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้แนวทางมาว่า ควรส่งตรงไปยังบริษัทมากกว่า เพราะจำนวนน้อยกว่าประชาชนใช้สิทธิ รวมถึงหากมีการผิดปกติหรือต้องดำเนินการตรวจสอบใด ๆ ก็สามารถทำได้ง่ายกว่าด้วย

ขณะเดียวกัน ช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ รัฐบาลประกาศหยุดยาว 6 วันตั้งแต่วันที่ 10 - 15 เมษายน 2564 ททท.ยืนยันว่าในปีนี้มีการจัดงานสงกรานต์แน่นอน ส่วนการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวจะออกมาในรูปแบบใดยังต้องพิจารณาในระยะใกล้ ๆ อีกครั้ง เพราะมีหลากหลายวิธี อาทิ การเล่นน้ำสงกรานต์แบบวัฒนธรรมดั้งเดิม การฉีดน้ำได้หรือไม่ได้ ซึ่งต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาลอีกครั้ง


ที่มา : 

https://web.facebook.com/105309981534467/photos/a.105323294866469/120967176635414/

https://www.matichon.co.th/economy/news_2608546

หลังจากกรณีการจับกุม นายปิยรัฐ จงเทพ หรือ โตโต้ หัวหน้าการ์ดวีโว่ ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ที่ลานจอดรถห้างสรรพสินค้าเมเจอร์ รัชโยธิน ทางเพจ 'Potato Corner Thailand' ร้านเฟรนช์ฟรายส์ชื่อดังของ 'พีช พชร' ที่ได้โพสต์ข้อความเพื่อทำการตลาด

“Potato Corner ฟรายส์คลุกผงเจ้าแรกแห่งไทย โดนแจ้งข้อหาฟรายส์อร่อยเกินไป เบื้องต้น “น้องโตโต้” (นามสมมติ) ได้ถูกจับกุมที่ร้าน Potato Corner สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ชั้น 6"

โดยทางแบรนด์ได้อธิบายว่าได้ใช้มาสคอตประจำร้านชื่อว่า “น้องโตโต้” เป็นคาแรกเตอร์มันฝรั่ง สื่อถึงสินค้าหลักที่เป็นเฟรนช์ฟรายส์มาโดยตลอด

แต่ด้านดราม่ากลับมองว่าแบรนด์ได้ล้อเล่นกับความเป็นความตายของคนๆ หนึ่ง และได้ติดแฮชแท็ก #แบนPotatoCornerThailand จนเชื่อได้ว่าร้านของหนุ่มพีชอาจต้องถูกวิกฤติแบนหนักแน่ ๆ

อย่างไรก็ตามได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งชื่อ Atom SP โพสต์ภาพลูกค้าเข้าแถวต่อคิวยาวหน้าร้าน หวังลิ้มรส Potato Corner เฟรนช์ฟรายส์ชื่อดังของพระเอกไฮโซทายาทห้างดัง แต่กลับต้องถามชาวเน็ตกลับว่า ติดแฮชแท็ก #แบนPotatoCorner แบนยังไงทำไมขายดีขึ้น

โดยเฟซบุ๊กดังกล่าวได้ระบุว่า...

ทัวร์ตั้งใจขับรถมากิน #potatocorner แต่ โดยมีคนต่อแถวชั่วคราว 50 คิวโดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มากกว่าเกินกฎหมาย

#มันแบนยังไงของมันวะ

#ว๊ากคนอยากกินไม่ได้กิน


ที่มา: https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000022189

‘สุริยะ’ สั่งการกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ยกระดับการตรวจโรงงานและสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายแบบทางไกล (Remote Inspection) เน้นอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ภายใต้วิถีปกติใหม่ (New Normal) โดยเริ่มให้บริการนำร่องโรงงานกว่า 5,000 โรงงาน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ ตามนโยบาย Ease of Doing Business ของรัฐบาล

ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการออกใบอนุญาต และได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการออกใบอนุญาตโรงงาน

ล่าสุดได้สั่งการให้ กรอ. ยกระดับการให้บริการด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ตรวจโรงงานทางออนไลน์ เพื่อให้การกำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ได้อย่างทั่วถึง

รวมทั้งยังสามารถอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยให้บริการนำร่องโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ กทม. กว่า 5,000 โรงงาน เริ่มดำเนินการตั้งเดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นไป

ด้าน นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมโรงงาน อุตสาหกรรม ได้ดำเนินการตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้วยการออกประกาศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยการตรวจสอบโรงงานและสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายแบบทางไกล (Remote Inspection)

โดยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการตรวจโรงงานแทนการลงพื้นที่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภัยธรรมชาติ หรือจากสถานการณ์อื่น ๆ โดยเจ้าหน้าที่จะประสานงานการตรวจแบบ ทางไกลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนเว็บไซต์ และสมาร์ทโฟน เป็นต้น

“ประกาศของ กรอ. ในเรื่องดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทันที โดยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงาน หรือผู้ที่ครอบครองวัตถุอันตราย ต้องจัดส่งรายงานการตรวจประเมินแบบทางไกล หรือแบบฟอร์มการตรวจติดตามสถานที่ เก็บวัตถุอันตรายทาง E-mail, Line

ซึ่งหาก กรอ. พิจารณาแล้วเห็นว่ารายงานดังกล่าว มีความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือ การประกอบกิจการไม่สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด อาจให้มีการประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Zoom, Skype, Microsoft Teams, Line VDO Call เพื่อให้สามารถเห็นภาพการประกอบกิจการได้ชัดเจน หรือหากมีข้อสงสัยก็จะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว โดยเริ่มนำร่องในโรงงานอุตสาหกรรมพื้นที่ กทม. จำนวน 5,592 โรงงานก่อน และจะขยายผลไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป” อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าวทิ้งท้าย

‘สะพานซังฮี๊’ ชาวกรุงเทพคุ้นหูกันเป็นอย่างดี โดยสะพานแห่งนี้ มีชื่อเต็มว่า ‘สะพานกรุงธน’ ถูกสร้างขึ้นมากว่า 63 ปีแล้ว และวันนี้ในอดีต ถือเป็นวันแรกที่มีการเปิดใช้สะพานแห่งนี้อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสัญจรของผู้คน

สะพานกรุงธน เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร แรกเริ่มเดิมที ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสะพานที่ช่วยผ่องถ่ายความหนาแน่นการจราจรจากสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และเชื่อมต่อผู้คนจากฝั่งพระนครกับฝั่งธนเช่นเดียวกัน

โดยสะพานกรุงธนเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 มาแล้วเสร็จและเปิดการจราจรได้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2501 เดิมผู้คนเรียกติดปากว่า สะพานซังฮี๊ โดยคำว่า ซังฮี๊ แปลว่า ความยินดี และเป็นชื่อถนนด้านหลังพระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นชื่อที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 พระราชทานนาม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อ ถนนราชวิถี

แต่ชาวบ้านในละแวกนั้น ยังคุ้นเคยกับคำว่า ซังฮี๊ จนเมื่อมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านดังกล่าว จึงเรียกกันเองว่า สะพานซังฮี๊ กระทั่งเมื่อสะพานสร้างเสร็จ รัฐบาลจึงประกาศให้สะพานมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานกรุงธน

เวลาผ่านมา 63 ปี ปัจจุบัน สะพานกรุงธน ยังคงเป็นสะพานที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ให้ผู้คนได้สัญจรไปมาตลอดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่เช่นเดิม นอกจากนี้ยังเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของความเป็นกรุงเทพ ที่เมื่อนึกถึงสะพานที่มีโครงเหล็กอันสวยงาม ตั้งตระหง่านเหนือแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้คนก็มักจะนึกถึงชื่อ สะพานกรุงธน นี่เอง


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/สะพานกรุงธน

‘สุริยะ’ ผลักดันโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศพัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) มุ่งปรับปรุงกระบวนการผลิตและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

เพื่อการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้พัฒนาอย่างยั่งยืนสอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ของรัฐบาล ตั้งเป้าภายในปี 2568 โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศกว่า 70,000 โรง ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งส่งเสริมให้การประกอบกิจการต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล หรือ BCG โมเดล ที่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งเป้ายกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยสู่สากล ภายใต้การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยเพื่อชุมชน ต่อยอดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง และยั่งยืน

“ได้สั่งการให้ กรอ. เดินหน้าผลักดันให้ทุกโรงงานอุตสาหกรรมในกำกับที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 71,130 โรง ทั่วประเทศ พัฒนาสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) โดยตั้งเป้าภายในปี 2568 โรงงานอุตสาหกรรมทุกโรงต้องได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (พ.ศ.2564 - 2580) เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ส่งเสริมและกำกับดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ สร้างการรับรู้และเข้าใจในอุตสาหกรรมสีเขียว และมุ่งยกระดับอุตสาหกรรมสีเขียวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและนานาชาติในที่สุด” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว

ด้าน นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบกิจการโรงงานสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบันมีสถานประกอบการอุตสาหกรรมได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวแล้วประมาณ 20,000 ราย โดยมีสถานประกอบการที่ขอใช้ตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียวบนฉลากผลิตภัณฑ์แล้ว จำนวน 110 ราย เพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ข้อมูล ณ 31 มกราคม 2564)

สำหรับปี 2564 กรมโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการ 3 โครงการหลักเพื่อการยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ประกอบด้วย

1.) โครงการส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อมุ่งสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว

2.) โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดระดับรายสาขา การลดปริมาณน้ำในโรงานอุตสาหกรรม และส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และโรงงานที่มีการใช้น้ำมากหรืออยู่ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ

และ 3.) โครงการส่งเสริมการยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืนด้วยระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

นอกจากนี้ รอ. ยังมีการพัฒนาระบบสารสนเทศอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสถานประกอบการ ด้วยการจัดทำระบบการเรียนรู้และอบรมออนไลน์ (E-learning) และคู่มืออุตสาหกรรมสีเขียว ที่รวบรวมหลักการดำเนินงาน หลักเกณฑ์และเงื่อนไข พร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว โดยที่ผู้ประกอบกิจการสามารถสมัครและขอใบรับรองผ่านระบบออนไลน์

กัญชงต้องเกิด!! ‘ก.อุตฯ’ ผลักดันธุรกิจไทยแปรรูป ‘กัญชง’ สู่ ‘พาณิชย์’ ปั้นไทยผู้นำ ‘ผลิต - ส่งออก’ สินค้ากัญชงแห่งอาเซียนใน 5 ปี

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ผลักดันผู้ประกอบการแปรรูปกัญชงสู่พาณิชย์รองรับ BCG Model จัดประชุมสร้างความร่วมมือ ‘การพัฒนาและส่งเสริม อุตสาหกรรมแปรรูปกัญชงสู่เชิงพาณิชย์’ ร่วม 3 สถาบันเครือข่าย >> สถาบันอาหาร (สอห.) / สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สพว.) และ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (สสท.) ผลักดันกัญชงให้ใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม หลังกฎหมายอนุญาตให้ผลิตนำเข้า - ส่งออก หวังไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกสินค้ากึ่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากกัญชงที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียนภายใน 5 ปี

นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิด การประชุมและปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ‘ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปพืชกัญชงเพื่อตอบสนอง ‘เศรษฐกิจชีวภาพ’ (Bioeconomy) ของกระทรวงอุตสาหกรรม’ ในงานการประชุมสร้างความร่วมมือ เรื่อง ‘การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชงสู่เชิงพาณิชย์’ ภายใต้โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชงเพื่อตอบสนองเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์

เพื่อสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานพืชกัญชงทบทวนและพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีการ แปรรูปพืชกัญชง และการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น อาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ สิ่งทอจากเส้นด้ายกัญชง ผลิตภัณฑ์คอมโพสิต และอาหารสัตว์ พร้อมทั้งเชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วนในการยกระดับเทคโนโลยีการแปรรูป และนำทุกส่วนของพืชกัญชงมาแปรรูปเป็นสินค้ากึ่งวัตถุดิบ สำหรับป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม โดยได้รับการตอบรับจากทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในงาน และประชุมผ่านระบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก

นายสุชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า พืชกัญชงสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก เห็นได้จากมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมกัญชงทั่วโลกในปี 2562 ที่มีมูลค่าประมาณ 4,410 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 16.21 ต่อปี โดยคาดว่าภายใน 7 ปีข้างหน้า (ปี 2569) จะมีมูลค่ากว่า 14,670 ล้าน เหรียญสหรัฐ ด้วยปัจจัยสำคัญที่สามารถนำส่วนต่างๆ ของกัญชงไปใช้แปรรูปได้หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ วัสดุคอมโพสิต พลาสติกชีวภาพ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ตลอดจนการนำเมล็ดและน้ำมันจากเมล็ดกัญชงมาใช้เพื่อการบริโภค โดยตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป

สำหรับมูลค่าตลาดทั่วโลกของสารสกัด CBD (Cannabidiol เป็นสารสกัดจากกัญชง) ที่มีฤทธิ์ระงับประสาท ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และบรรเทาอาการเจ็บป่วย รวมทั้งคุณประโยชน์ที่หลากหลายของ CBD เมื่ออยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร ซึ่งในปี 2562 มีมูลค่า 553.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 33.5 ต่อปี คาดว่าภายใน 7 ปีข้างหน้า (ปี 2569) จะมีมูลค่ากว่า 4,268.3 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการเปิดกว้างโดยการปลดล็อคทางกฎหมาย ทั้งด้านการผลิตและการจำหน่ายที่มีมากขึ้นในประเทศต่างๆ

ทั้งนี้ ประเทศไทยกัญชงได้รับการยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ ยกเว้นช่อดอกที่ยังเป็นยาเสพติด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 หากประชาชนหรือผู้ประกอบการสนใจผลิตหรือนำเข้ากัญชงจะต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากกัญชงสามารถใช้ประโยชน์ได้เพียงเฉพาะกลุ่มและวัตถุประสงค์ที่จำกัด

อย่างไรก็ตาม กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีบทบาทต่อการพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมในระดับสูง เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยมีศักยภาพในการรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการมีความพร้อมด้านการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากส่วนต่างๆ ของกัญชง ประกอบกับมีพื้นที่ว่างทางการเกษตรที่สามารถเพาะปลูกกัญชงได้ รวมทั้งกฎหมายได้เปิดกว้างให้ภาคธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ใน เชิงพาณิชย์ได้หลากหลายและคล่องตัวมากขึ้น

นางสาวพะเยาว์ คำมุข รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า สศอ. ได้เล็งเห็นความสำคัญในการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำเพื่อให้เกิดการพัฒนา พืชกัญชงอย่างครบวงจร จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากต้นกัญชง ได้ครบทุกส่วน

ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาเมล็ดเพื่อใช้เป็นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (Healthy Food/Drink) แกนแห้ง นำไปใช้ทำพื้นรองเท้าและยางคอมปาวด์ เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ยางถอนขนไก่ เปลือกนำไปใช้ทำ สิ่งทอเป็นเส้นด้ายกัญชงผลิตเสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติ Anti Bacteria และผลิตภัณฑ์คอมโพสิต เช่น กันชนรถยนต์ และสเก็ตบอร์ด ใบใช้ประโยชน์ทำเครื่องสำอาง เช่น Skin Care และ Anti-aging ก้านใบและใบนำไปใช้เป็น ส่วนผสมของอาหารสัตว์อีกทั้งช่อดอกนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ไล่แมลงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสูงผ่านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตอบสนองนโยบาย BCG Model ที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พร้อมกันนี้ อก. โดย สมอ. ได้เร่งเตรียมความพร้อมในด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับพืชกัญชง โดยจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการผลิตสินค้ากึ่ง วัตถุดิบจากพืชกัญชงจำนวน 3 มาตรฐาน ได้แก่ น้ำมันเมล็ดกัญชง, น้ำมันกัญชง และสารสกัด CBD จากกัญชง คาดว่าจะทยอยประกาศใช้ภายใน ปี 2564 ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดเหล่านี้ อก. คาดว่าจะช่วยให้ เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน ก่อให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและเพิ่มมูลค่าการ ส่งออกของไทย ตลอดจนสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ก่อให้เกิดการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทานกัญชง และพร้อมเป็นผู้นำในฐานะผู้ผลิตและส่งออกสินค้ากึ่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากกัญชง เพื่อให้ไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการแปรรูปกัญชงของอาเซียนภายใน 5 ปี

สำนักงานวิจัยแห่งชาติ เผยคนกรุงเริ่มการ์ดตก หลัง AI ตรวจพบคนเริ่มใส่แมสลดลงอย่างต่อเนื่อง เขตยานนาวา มีคนสัญจรที่ไม่ใส่หน้ากากหรือใส่ไม่ถูกต้องมากที่สุดถึง 19.32% จ่อรายงานศบค.เร่งกระตุ้นให้คนกลับมาใส่แมสให้ถูกต้อง

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม นายธนารักษ์ ธีระมั่นคง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดเผยรายงานผลการติดตามการใส่หน้ากากอนามัยโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI)โดยเตรียมข้อมูลรายงานให้ศบค.ชุดเล็กทราบ ว่า มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง เพราะในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯใส่หน้ากากอนามัยลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ที่ไม่ใส่หน้ากากหรือใส่ไม่ถูกต้องรวมกันสูงถึง 3.97%

ถึงแม้ว่าตัวเลขการใส่หน้ากากอนามัยโดยรวมยังสูงอยู่ที่ 96 % แต่โดยรวมทั้งเดือนที่ผ่านมา มีข้อมูลชัดเจนว่าประชาชนมีความระมัดระวังน้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และช่วงวันหยุดยาวเนื่อง มีคนออกมาทำกิจกรรมร่วมกันเป็นจำนวนมาก โดยใส่หน้ากากอนามัยน้อยลง มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการแพร่ระบาด จึงอยากขอความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อให้มากขึ้น

ระบบปัญญาประดิษฐ์ เอไอมาสต์ นี้ ได้เพิ่มพื้นที่ในการเฝ้าระวังตรวจจับการใส่หน้ากากอนามัยมาเป็น 31 จุด ครอบคลุม 30 เขตทั่วกรุงเทพฯ โดย พบว่าเขตยานนาวา มีประชาชนผู้สัญจรที่ไม่ใส่หน้ากากหรือใส่ไม่ถูกต้องมากที่สุดถึง 19.32% หรือสูงถึง 1 ใน 5 คน โดยถัดมาเป็นเขตบางคอแหลมที่มีอัตราการใส่หน้ากากไม่ถูกต้องหรือไม่ใส่หน้ากากอนามัยสูงถึง 10.15%

นอกจากนี้ ยังมีเขตที่อัตราการไม่ใส่หน้ากากหรือใส่ไม่ถูกต้องสูงกว่า 5% มีมากถึง 11 เขต และมากที่สุดตั้งแต่เริ่มใช้ระบบการประเมินนี้

ภาพโดยรวมแล้ว 2 สัปดาห์ล่าสุดใกล้เคียงกับช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ โดยช่วงเช้าประชาชนใส่หน้ากากอนามัยมากกว่าในช่วงบ่าย ซึ่งแสดงถึงความระมัดระวังน้อยลงในตอนเย็นของแต่ละวัน นอกจากนี้ในวันหยุดโดยเฉพาะวันอาทิตย์จะมีแนวโน้มอัตราการไม่ใส่หน้ากากหรือใส่หน้ากากอนามัยไม่ถูกต้องสูงสุดในทุกสัปดาห์ และในช่วงวันหยุดยาวช่วงเทศกาลต่าง ๆ ก็มีอัตราการไม่ใส่หรือใส่ไม่ถูกต้องสูงขึ้นมาก

นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า "หลังจากที่ได้ใช้เทคโนโลยีเอไอมาประเมินมาได้ 2 เดือนตั้งแต่เดือนมกราคม อว.พบว่าอัตราการใส่หน้ากากอนามัยลดลงเรื่อย ๆ น่าเป็นห่วง จึงอยากกระตุ้นและรณรงค์ขอความร่วมมือการสวมใส่หน้าการอนามัย และขอให้ประชาชนระมัดระวังมากขึ้น” ทั้งนี้สถานการณ์เรื่องโรคโควิดของประเทศดีขึ้นมาก “ขณะนี้ประเทศไทยได้เริ่มใช้วัคซีนแล้ว โดยมีจำนวนผู้ฉีดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว"

อดีตเลขาฯ อังก์ถัด ‘ศุภชัย พานิชภักดิ์’ ชี้ รัฐบาลกู้หนี้สู้วิกฤติโควิด เต็มเพดาน 60% ของจีดีพี ยังไม่น่ากังวล เหตุรัฐบาลทั่วโลกกู้เหมือนกันหมด ระบุ สัดส่วนยังต่ำกว่าหลายประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังก์ถัด) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) เปิดเผยในงาน TJA Talk เนื่องในโอกาสครบรอบ 66 ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เรื่อง มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้จะดีขึ้นเรื่อย ๆ แบบเรียบ ๆ เพราะหลายประเทศยังต่อสู้กับวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ เพราะเป็นเศรษฐกิจในรูปแบบที่เรียกว่าเซอร์ไววัล หรือเศรษฐกิจที่จำเป็นจะต้องหาทางบริหารให้อยู่รอด

นายศุภชัย กล่าวว่า การทำเศรษฐกิจให้อยู่รอดแม้ว่าจะทำให้เกิดปัญหาหนี้แต่ก็มีความจำเป็น เพราะทางเลือกในการแก้ปัญหามีไม่มาก ซึ่งการกู้เงินมาใช้ต่อสู้กับวิกฤต ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลทั่วโลกก็โดนโจมตีเหมือนกันหมดว่าเป็นรัฐบาลนักกู้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่ากู้มากหรือกู้น้อย และการกู้มาต้องใช้ในการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ และใช้ในสิ่งที่เหมาะสม ล่าสุดทั้งธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต่างก็เปิดช่องให้หลายประเทศกู้เงินในเงื่อนไขพิเศษทั้งหมด เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนทั่วโลก

ทั้งนี้การกู้เงินมาสู้กับวิกฤตครั้งนี้ มองว่า แม้จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเข้าใกล้กรอบความยั่งยืนทางการเงินการคลังที่กำหนดเอาไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี แต่ก็ไม่อยากให้กังวลใจมาก เพราะสัดส่วนยังต่ำกว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัดส่วนหนี้สูงกว่านี้มาก

พิมรี่พายแค่ไปติดไฟ ทำไมเป็นดราม่าซะได้? | News​ มีนิสส​ More​ Minutes Contrast

พิมรี่พายแค่ไปติดไฟ ทำไมเป็นดราม่าซะได้?

.

คลังฯ เตรียมหารือ ขยายโครงการคนละครึ่งเฟส 3 คาดครอบคลุมสิทธิ์เดิม 15 ล้านคนไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ วงเงินเยียวยาสูงสุด 3,500 นาน 3 เดือน แต่ต้องดูตามความเหมาะสม พร้อมเล็ง! ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% จูงใจต่างชาติลงทุนในไทย

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เตรียมหารือกับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน และ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง ขยายมาตรการคนละครึ่ง เฟส 3 ที่มาตรการเฟส 1-2 จะครบกำหนดในวันที่ 31 มี.ค.นี้ ว่า จะขยายต่อไปเลยหรือไม่ หรือเป็นช่วงเวลาใด และจะครอบคลุมผู้ที่ได้สิทธิ์เดิม 15 ล้านคนที่ได้สิทธิ์เดิมไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ หรือ จะเปิดลงทะเบียนใหม่ทั้งหมด ให้สิทธิ์กับทุกคนที่อยากได้

“ตอนนี้ต้องออกแบบโครงการให้ชัดเจนก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ถ้าฝ่ายนโยบายเห็นว่า จะไม่มีโครงการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่น ๆ ออกมา ก็สามารถเสนอโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ได้ ซึ่งหลักการต้องใกล้เคียงกับของเดิม แต่จะดูเวลาที่เหมาะสม ว่าจะให้ต่อเนื่องไปเลย หรือ จะเว้นช่วงไว้ แล้ว จะให้สิทธิ์กี่คน จำเป็นต้อง 15 ล้านคนไหม หรือจะให้ 30 ล้านคนเท่าเราชนะ แต่ถามใจคือ ใครอยากได้ต้องได้หมด” นายกฤษฎา กล่าว

ทั้งนี้ โครงการคนละครึ่งเฟส 3 ต้องแก้ข้อบกพร่องเดิม ที่มีในโครงการเฟส 1-2 เช่น จะต้องรวมภาคบริการจากเดิมให้ซื้อได้เฉพาะสินค้า ซึ่งจะต้องขอหารือกับธนาคารกรุงไทยว่า มีภาคบริการเข้าร่วมโครงการในฐานข้อมูลมากน้อยแค่ไหน และสาเหตุที่ควรขยายมาตรการเฟส 3 ออกไป เพราะเห็นว่าต้องการรักษาแรงส่งให้เศรษฐกิจฟื้นฟูต่อไปได้ เป็นการช่วยเหลือทุกภาคส่วน ร้านค้ารายเล็ก ทั้งสินค้าและบริการกว่า 2 ล้านราย ให้มีส่วนร่วมช่วยกันจับจ่ายใช้สอยคนละครึ่งกับรัฐบาล

นายกฤษฎา กล่าวว่า ส่วนวงเงินที่จะให้เบื้องต้น คาดว่าจะไม่ได้ให้ 500 บาท เหมือนเฟส 2 ซึ่งอาจจะน้อยเกินไป แต่หากจะให้ รายละ 3,000-3,500 บาท นาน 3 เดือน ก็ต้องดูว่า มีเงินเหลือพอหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ เงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วนวงเงินเยียวยา 5.5 แสนล้านบาท ใช้ไปเกือบหมดแล้ว จึงเหลือวงเงินในส่วนฟื้นฟูอีกประมาณ 2 แสนล้านบาท ที่จะนำมาใช้ได้ ก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายนโยบายว่า จะจ่ายเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสม

ส่วนข้อเสนอของ นายสุพัฒนพงษ์ ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% เพื่อจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยนั้น ต้องไปพิจารณาว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งแล้ว อัตราภาษีไทยสูงเกินไปหรือไม่ เช่น สิงคโปร์ อยู่ที่ 18% แต่บางประเทศก็สูงกว่าไทยมาก ในมุมมองคือ ถ้าลดภาษี ก็ช่วยเรื่องของการแข่งขัน จูงใจลงทุนเพิ่มขึ้นได้ แต่การเสนอต้องทำเป็นแพ็คเกจ ถ้าลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็ต้องจัดเก็บรายได้จากตัวอื่นมาทดแทนด้วย

“ภูมิใจไทย” เปิดเวที “ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม” สะท้อนปัญหาค่าโดยสารราคาแพง เทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ ด้าน ‘สิริพงศ์’ ลั่น ! จับตา กทม.อย่างใกล้ชิด ขู่ประกาศขึ้นราคาเมื่อไหร่ - ฟ้องเมื่อนั้น

ขณะที่ “กรมราง-รฟม.-นักวิชาการ-ผู้บริโภค” ประสานเสียง ค่าโดยสารถูกลงได้อีก ชี้ไม่ควรเกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ

นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ประธานเปิดการเสวนา เรื่อง “ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม” ที่จัดขึ้นโดยพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมี นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.จังหวัดศรีษะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย, นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.), นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค, นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิผู้บริโภค และนายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ TDRI ร่วมเสวนา

นายศุภชัย กล่าวว่า ในช่วงหลายรัฐบาลที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในหลายรูปแบบ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่ออำนวยความสะดวก และรองรับการเดินทางของประชาชน ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ก็นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ของประเทศไทยที่มีการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบ “รถไฟฟ้า” ที่กลายเป็นโครงข่ายการเดินทางหลัก เพื่อให้สอดรับกับการเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ทั้งภาคการค้า การลงทุน ที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาล รวมถึงเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการค้าหลักของกลุ่มประเทศในภูมิภาค

“ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้นี้ การเดินทางโดยโครงข่ายรถไฟฟ้าถือเป็นการขนส่งสาธารณะหลักของประชาชนชาว กทม. และปริมณฑล รวมถึงประชาชนในจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่ต้องแบกรับภาระค่าเดินทางที่มากเกินไปอยู่ในขณะนี้ อีกทั้งยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน รายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย และกลายเป็นหนี้สินในท้ายที่สุด” นายศุภชัย กล่าว

นายศุภชัย กล่าวต่ออีกว่า ตามที่มีการประกาศจากส่วนราชการ จะมีการคิดอัตราค่าโดยสารตลอดสายในราคาสูงถึง 104 บาท หรือหากเดินทางไป-กลับ รวมค่าโดยสารต้องจ่ายถึง 208 บาท แต่ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำในเขต กทม. อยู่ที่ 331 บาท อีกทั้งเงินเดือนสำหรับผู้ศึกษาจบในระดับปริญญาตรี เริ่มต้นเฉลี่ย อยู่ที่เดือนละ 15,000 บาท เท่านั้น พรรคภูมิใจไทย จึงได้จัดงานเสวนา เรื่อง “ชำแหละค่ารถไฟฟ้าที่เหมาะสม” ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่ในวงการคมนาคม ขนส่ง นักวิชาการ ผู้ใช้บริการและภาคประชาชน ในการแสดงความคิดเห็น เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และเป็นเสียงสะท้อนเพื่อนำไปสู่การพิจารณาของภาครัฐ ภาคเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการระบบขนส่งเป็นหลัก

ด้านนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.จังหวัด ศรีสะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ตนในฐานะ ส.ส. ซึ่งมีหน้าที่รับฟังปัญหาของประชาชน ทั้งนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้า โดยเฉพาะค่ารถไฟฟ้านั้น ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพของประชาชนทุกคน ไม่เพียงแค่ชาว กทม. เท่านั้น แต่ชาวต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานหรือดำรงชีวิตในเขต กทม. และปริมณฑล ไม่น้อยกว่า 50% ของจำนวนประชากรในพื้นที่ดังกล่าว ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ที่ต้องแบกรับภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอัตราสูง โดยมองว่า ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ยังมีราคาแพงเกินไป

ทั้งนี้ ตามที่มีการออกประกาศของ กทม. เรื่องปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาทตลอดสาย เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 และในประกาศระบุไว้ว่า มีผลวันที่ 16 ก.พ. 2564 จนเป็นเหตุให้ตนและ ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทย ไปดำเนินการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองในช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อให้พิจารณายับยั้งการขึ้นราคา พร้อมทั้งให้พิจารณาว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากมองว่า เรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้า เป็นเรื่องสำคัญของประชาชน อีกทั้ง ระบบรถไฟฟ้า ควรเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงได้ และไม่เป็นภาระของประชาชน

“ถึงแม้ว่า ล่าสุด กทม. จะประกาศเลื่อนการปรับขึ้นราคาดังกล่าว และศาลได้มีคำสั่งทุเลาการยื่นฟ้องนั้น ผมยังเชื่อว่า โอกาสที่ กทม. จะขึ้นราคาค่าโดยสาร ยังมีแน่นอน ผมจะเฝ้าจับตามอง และติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะประกาศของ กทม. ระบุไว้ว่า เลื่อน ไม่ได้ยกเลิก ซึ่งหลังจากนี้ ถ้า กทม.มีประกาศอีกเมื่อไหร่ เราก็จะไปฟ้องร้องอีก เพราะราคา 104 บาทตลอดสาย ไม่ใช่ขนส่งมวลชนสาธารณะที่ทุกคนใช้ได้ เป็นแค่บางคนที่มีฐานะเข้าถึงได้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ” นายสิริพงศ์ กล่าว

ขณะที่ นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า วิธีการคิดคำนวณค่าโดยสารทั่วโลก มี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.อัตราเดียวกันทั้งหมด 2.คิดตามระยะทาง และ 3.คิดตามโซน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น ได้คิดค่าโดยสารในรูปแบบตามระยะทาง บวกด้วยค่าแรกเข้า ทั้งนี้ การเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้า จุดประสงค์หลัก คือ การเดินทางสะดวก ราคาไม่แพง และทุกคนต้องเข้าถึงได้ และควรหารายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ มาชดเชยรายได้ และลดค่าโดยสารให้กับประชาชน โดยมองว่า ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ยังมีราคาแพงเกินไป

ขณะที่นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ระบบรถไฟฟ้าของ รฟม. ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ระหว่างคู่สัญญาไว้ ทั้งนี้ การคิดอัตราค่าโดยสารของ รฟม. นั้น คิดตาม MRT Assessment Standardization ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ทั้งนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันนั้น รวมระยะทาง 48 กิโลเมตร (กม.) มี 38 สถานี ค่าโดยสารอยู่ที่ 17-42 บาท (คิดค่าโดยสาร 12 สถานี) ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วง ให้บริการ 16 สถานี คิดค่าโดยสารในอัตรา 14-42 บาท อีกทั้งหากใช้บริการข้ามระบบ หรือระหว่างสายสีม่วงเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน รวม 54 สถานี ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 70 บาทตลอดสายเท่านั้น โดยเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถือว่าค่าโดยสารของ รฟม. ถูกกว่าเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลืองในอนาคต จะใช้วิธีการคำนวณอัตราค่าโดยสารในรูปแบบแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตามที่ BTS จะหมดสัญญาสัมปทานในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในปี 2572 นั้น มองว่า เป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากโครงการดังกล่าว รัฐบาลจะเป็นเจ้าของโครงการโดยสมบูรณ์ และสามารถบริหารจัดการโครงการ แล้วมาชดเชยค่ารถไฟฟ้าได้ ซึ่งจะทำให้ค่ารถไฟฟ้ามีราคาที่ถูกลง ซึ่งจะทำให้หลายโครงข่ายมีค่าโดยสารในรูปแบบเดียวกัน

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ราคาค่ารถไฟฟ้าในปัจจุบันไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค และถือว่าแพงที่สุดในโลก โดยเมื่อพิจารณาจากตัวเลขอ้างอิงโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ที่ระบุว่า ค่ารถไฟฟ้าของประเทศไทย มีอัตรา 26-28% ของค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่ หากใช้ราคา 65 บาท จะอยู่ที่ 30 กว่า% ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านจะอยู่ที่ 3-9% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม มองว่า การคิดคำนวณค่ารถไฟฟ้าไม่ควรยึดหลักดัชนีผู้บริโภค โดยไม่ควรเกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ อีกทั้ง ควรมีการกำหนดเพดานราคาสูงสุดของค่ารถไฟฟ้าทั้งระบบด้วย

นอกจากนี้ ควรมองว่า ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งสาธารณะหลัก แต่ในปัจจุบันกลับมองว่า เป็นการให้บริการทางเลือก

ขณะเดียวกัน จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หากเก็บค่าโดยสารสูงสุดที่ราคา 49.83 บาท กทม.จะมีกำไรส่งให้รัฐในปี 2602 อยู่ที่ 380,200 ล้านบาท ซึ่งข้อมูลของ กทม. ระบุว่า หากเก็บค่าโดยสารที่ราคา 65 บาท กทม.จะมีกำไรส่งรัฐในปี 2602 อยู่ที่ 240,000 ล้านบาท ขณะที่ข้อมูลของสภาฯ คำนวณว่า หากเก็บค่าโดยสารที่ 25 บาท จะมีกำไรส่งรัฐในปี 2602 อยู่ที่ 23,200 ล้านบาท โดย กทม. อ้างว่า การคำนวณของกระทรวงคมนาคม คำนวณรายได้จากจำนวนผู้โดยสารสูงกว่า กทม. คำนวณ

“ทำไม กทม. ถึงต้องหวังมีกำไร เนื่องจากการเป็นการให้บริการขนส่งสาธารณะกับประชาชน ซึ่งควรพิจารณานำกำไรที่ได้ มาเฉลี่ยเป็นค่ารถไฟฟ้าให้ถูกลง ซึ่งถ้า กทม. ทำไม่ได้ รัฐก็ไม่ควรต่อสัญญา ควรชะลอให้ผู้ว่า กทม.คนใหม่เข้ามาตัดสินใจ เพราะดิฉันเชื่อว่า ราคาจะถูกลงได้ นอกจากนี้ ควรมาทบทวนทั้งระบบ โดยจะต้องมีราคาที่ถูกลง หรือไม่เกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ และบอกมาเลยว่า ต้องมีสัญญาสัมปทานกี่ปี ค่ารถไฟฟ้าถึงลดลงได้ ตอนนี้ถือเป็นโอกาสของผู้ว่า กทม. คนปัจจุบัน ย้ำว่า ถ้าทำไม่ได้ ต้องไม่ต่อสัญญา” นางสาวสารี กล่าว และว่า เราชื่นชมมากเลยที่ พรรคภูมิใจไทย และ นายสิริพงศ์ ไปฟ้องคดี เพราะการตัดสินใจจะฟ้องเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการมาก

ขณะที่ นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิผู้บริโภค กล่าวว่า จุดยืนของมูลนิธิฯ ยืนยันว่า ระบบรถไฟฟ้าต้องเป็นขนส่งมวลชนหลัก ไม่ใช่ระบบขนส่งทางเลือก ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ยังไม่เคยได้รับคำตอบจาก กทม. ในวิธีการคิดค่าโดยสารว่า มีสูตรคำนวณอย่างไร ขณะเดียวกัน ไม่เห็นด้วยกับการเร่งรีบในการต่อสัญญาสัมปทานของ กทม. กับภาคเอกชน เนื่องจากยังมีเวลาเหลืออีกประมาณ 8 ปี ควรมาร่วมกันพิจารณาทางออกให้ชัดเจนก่อน

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ TDRI กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลประเทศไทยติดอันดับในเรื่องของอัตราค่าโดยสารที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยหลายด้าน โดยอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าครองชีพ ถือว่ามีอัตราค่าโดยสารที่สูง และเมื่อเทียบกับมาตรฐานระดับต่างประเทศ ก็ยังถือว่าสูงมากเช่นเดียวเช่นกัน

เฟสบุ๊คชื่อ Pat Sangtham ได้โพสต์ ถึงการดีเบต ของฝ่ายต่อต้าน และสนับสนุน ม.112 ผ่านงานเสวนาวิกฤติการเมืองไทยและการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112

ซึ่งจัดโดย สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT: Foreign Correspondent's Club of Thailand)

โดยระบุว่า ALIEN SALIVA – น้ำลายเอเลี่ยน: การเข้ามาวิจารณ์กฎหมายไทย ของเดวิด สเตร็คฟัสส์ เป็นหลักฐานชัดเจนว่าประเทศไทย มีประชาธิปไตยมากพอ ที่จะให้คนต่างชาติเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเสรี

สิ่งที่สเตร็คฟัสส์ อ้าง เช่นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นการอนุมานเอาเอง จากการอ่านและค้นคว้า เพราะสเตร็คฟัสส์ไม่ได้อยู่เมืองไทย ทุกอย่างได้มาจากการอ่าน ไม่ได้เข้าใจถึง ความรู้สึกของคนไทย (sentiment) ไม่ได้รู้ถึงผลกระทบทางอารมณ์ (emotional impact) ต่อเหตุการณ์ ณ ตอนนั้น แล้วโยงเข้าเรื่องกฎหมายปกป้องกษัตริย์ของไทย ที่มีมาถึงปัจจุบัน และไม่แตะเรื่อง "ศรัทธาทางจิตวิญญาณ" ใดๆ อาจจะด้วยเจตนาที่จะไม่พูดถึง หรือเพราะไม่เข้าใจมิติของศรัทธาเนื่องจากมาจากสภาพแวดล้อม ที่ศรัทธาแต่ตัวเอง

แล้วก็ย้อนแย้งตัวเอง จากการที่คุณหมอวรงค์พูดถึง กฎหมายคุ้มครองประมุขของประเทศ ในประเทศต่างๆ เช่นญี่ปุ่น มาเลเชีย เดนมาร์ค โดยอ้างว่า แม้กฎหมายในประเทศยุโรปเช่น สวีเดน และเดนมาร์ค ว่าด้วยการหมิ่นประมาทประมุขของประเทศ จะมีโทษแรงกว่ากฎหมายไทยถึง 3 เท่า แต่จะเห็นได้ว่า "นานแค่ไหนแล้ว ทีมีคดีเรื่องการหมิ่นประมาทประมุขของประเทศ... เอิ่ม ก็มีเหมือนกัน แต่มีเพียงปีละ 3 - 4 คดี"

ตกลง จะย้อนแย้งตัวเองไปทำไม ในเมื่อ กฎหมายในยุโรปลงโทษแรงกว่าไทย และมีคดีให้เห็น

กฎหมายไทย หรือรัฐธรรมนูญไทย ร่างขึ้นและผ่านประชามติ โดยคนไทย เพราะกฎหมายมีหน้าที่ปกป้อง รักษาผลประโยชน์ให้กับคนไทย ดูแลสิทธิ บนพื้นฐานของพฤติกรรมไทย ความเชื่อแบบไทย ค่านิยมและศรัทธาของคนไทย จึงเป็นเรื่องแปลกที่คนต่างชาติ จะออกมาวิจารณ์กฎหมายไทย ราวกับเป็นแผ่นดินแม่

ถ้ามีชาวต่างชาติอื่นๆ ออกมาวิจารณ์กฎหมายไทยอย่างสเตร็คฟัสส์ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนไทยและชาติต่างๆ ออกมาวิจารณ์กฎหมายของสหรัฐอเมริกาบ้างจะได้ไหม เราจะได้ฟังคำวิจารณ์จากรัสเซีย เวเนซูเวลล่า อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือ มาเลเชีย ฯลฯ กันสนุกแน่นอน


ที่มา : เฟซบุ๊ก Pat Sangtum

https://web.facebook.com/watch/live/?v=206302414606417&ref=watch_permalink

 

สถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยและอาเซียน ประจำวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2564

สถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยและอาเซียน

ประจำวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2564

ยอดขายของร้านหนังสือในจีน ยอดเติบโตก้าวกระโดดช่วงหยุดยาวตรุษจีนที่ผ่านมา เฉพาะที่เซี่ยงไฮ้ ทะลุ 8.5 ล้านหยวน ตอกย้ำ ‘ร้านหนังสือไม่มีวันตายในจีน’

ธุรกิจหนังสือและร้านหนังสือในจีน ยังคงเป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินได้ ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่โดยส่วนใหญ่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์โดน Disrupt ด้วยสื่อและหนังสือแบบดิจิทัล

เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น เพราะ?

เนื่องจากคนจีนเองถูกปลูกฝังให้รักการอ่านและคุ้นชินกับการอ่านหนังสือเป็นเล่มมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงการปรับตัวของร้านหนังสือ ที่ไม่ได้เป็นแค่ร้านหนังสือ แต่เป็นเหมือนสถานที่พักผ่อน พบปะ และสามารถท่องเที่ยวได้ด้วย เห็นได้จากคนจีน โดยเฉพาะคนที่มีลูก จะพาครอบครัวมาเที่ยวร้านหนังสือในช่วงวันหยุด

จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจเลบว่า ทำไมช่วงวันหยุดยาวเทศกาลตรุษจีน 12 ก.พ.64 ที่ผ่านมา ยอดขายหนังสือในร้านหนังสือจีน เฉพาะที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ถึงทะลุ 8.5 ล้านหยวน หรือมากกว่า 2 เท่าของยอดขายหนังสือแบบออนไลน์

ยิ่งไปกว่านั้นยอดขายที่มากมาย ก็ยังเกิดขึ้นในช่วงที่ร้านหนังสือต่างๆ จำกัดจำนวนคนเข้าร้าน โดยลดลงกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนคนที่รับได้ เนื่องจากต้องป้องกัน COVID-19 แต่ก็ยังมีคนจีนหลั่งไหลมาซื้อหนังสืออ่านกัน

สำหรับหนังสือที่เป็นนิยมมากที่สุดในกลุ่มชาวเซี่ยงไฮ้ ได้แก่

- หนังสือสายสังคมวิทยา

- หนังสือเด็ก

- หนังสือแนววัฒนธรรม

- หนังสือนิยายวิทยาศาสตร์


ที่มา: อ้ายจงเล่าเรื่องจาก China Daily

https://www.facebook.com/348166825314887/posts/2160116784119873/

คลังเผย! กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน - พิเศษ ที่ลงทะเบียนเราชนะกลุ่มแรก รับเงินงวดแรกวันนี้ 4,000 บาท พร้อมรองวดต่อไป12 - 19 - 26 มี.ค. รวม 7,000 ส่วนกลุ่มสอง รอคัดกรองสิทธ์ิ 19 มี.ค. รอรับงวดแรก 6,000 บาท !

หลังจากที่กระทรวงการคลัง เปิดให้ประชาชนกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือ กลุ่มพิเศษเปิดให้ ลงทะเบียนร่วมโครงการเราชนะ โดยไม่ต้องลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com ตั้งแต่วันที่ - 21 ก.พ. กระทรวงการคลัง ได้แจ้งว่ามีผู้ผ่านการคัดกรองแล้วจำนวน 5 แสนคน

ดังนั้นในวันนี้ กลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือ กลุ่มพิเศษ ที่ลงทะเบียนในโครงการเราชนะตั้งแต่วันที่ 15 - 21 ก.พ. ซึ่งเป็นกลุ่มรอบแรก ที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองแล้วจะรับเงินงวดที่ 1 จำนวน 4,000 บาทหลังจากนั้นทุกวันศุกร์ กระทรวงการคลัง โอนเงินเพิ่มอีก 1,000 บาท ในวันที่12 มีนาคม , วันที่19 มีนาคม และ วันที่ 26 มี.ค. รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,000 บาท

โดยประชาชนสามารถใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ดังกล่าวผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card) ผ่านผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการเราชนะได้เลย สำหรับกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ลงทะเบียนเราชนะ ระหว่างวันที่ 22 ก.พ. - 5 มี.ค. รับทราบผลการคัดกรองสิทธิ์ครั้งแรกในวันที่ 19 มี.ค. กลุ่มที่ 2 เมื่อผ่านการคัดกรองได้รับเงิน ครั้งแรกจำนวน 6,000 บาท หลังจากนั้นก็จะได้รับเงินในวันศุกร์ที่ 26 มี.ค. อีกจำนวน 1,000 บาท


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top