Monday, 19 May 2025
ECONBIZ NEWS

‘เกรท วอลล์’ เฮ!! น้องเหมียวไฟฟ้าตัวแรง ‘ORA Good Cat GT’ จองหมด 500 คัน ใน 58 นาที

หลังจาก บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (Great Wall Motor) หรือ GWM ได้ประกาศเปิดตัว ORA Good Cat GT อย่างเป็นทางการเมื่อคืนวันที่ (29 มิถุนายน) ที่ผ่านมา พร้อมเปิดรับจองออนไลน์ ตั้งแต่เวลา 20:00 น. ปรากฎว่า แค่ 58 นาที หรือไม่ถึง 1 ชั่วโมง ก็ปิดยอดจองได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ทาง เกรท วอลล์ ได้ระบุเงื่อนไขการจองให้ผู้จอง ORA Good Cat GT (โอร่า กู๊ดแคท จีที) ผ่านทาง GWM Application และเว็บไซต์ www.GWM.CO.TH โดยต้องวางเงินมัดจำ 10,000 บาท และพบว่าหลังเปิดรับจอง 58 นาที มีผู้จองพร้อมวางเงินมัดจำครบ 500 คัน ตามจำนวนโควตาที่บริษัทได้ระบุ

สำหรับโควต้า 500 คัน ของ ORA Good Cat GT ทางเกรท วอลล์ จะสามารถเริ่มต้นส่งมอบล็อตแรก 200 คัน ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2565 ขณะที่ที่เหลืออีก 300 คัน จะเริ่มต้นส่งมอบได้ตั้งแต่เดือน เมษายน 2566 เป็นต้นไป

ด้าน ณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ORA Good Cat GT การมียอดจองครบ 500 คันภายในเวลาอันรวดเร็ว นับการพิสูจน์ถึงความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคชาวไทยมีต่อเกรท วอลล์ มอเตอร์

สำหรับ ORA Good Cat GT มีราคาจำหน่ายอย่างเป็นทางการ 1,549,000 บาท แต่หลังจากหักส่วนลดและสิทธิประโยชน์จากทางภาครัฐ ทั้งเงินสนับสนุน 150,000 บาท การลดภาษีสรรพามิตจาก 8% เหลือ 2% ทำให้ราคาลงมาอยู่ที่ 1,286,000 บาท

เผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน ไตรมาส 3/2565

ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน ไตรมาส 3/2565 สถานการณ์ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อของชาติมหาอำนาจและราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น  สร้างความกังวลสูงต่อผู้ประกอบการคาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะกลับมาไตรมาสแรกของปีหน้า

นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า หอการค้าไทย-จีน และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น จากคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกหอการค้าไทยจีน และประธาน ผู้บริหาร กรรมการสมาพันธ์หอการค้าไทยจีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทยจีน จำนวน  325 คน  ระหว่างวันที่ 16 ถึง 24 มิถุนายน 2565  เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 ได้ดังนี้...

ในระยะเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน จากเหตุดังกล่าวจึงมีการสำรวจปัจจัยที่มีความกังวลที่เกิดมาจากสถานการณ์ในต่างประเทศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลความกังวลในสองลำดับแรกคือสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อของชาติมหาอำนาจ และราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ที่สร้างความกังวลกับผู้ให้ข้อมูลเป็นอย่างมาก (เป็นจำนวนร้อยละ 76 และ 68 ตามลำดับ) ในขณะที่ความกังวลในลำดับรองลงมาคือราคาอาหารโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและความผันผวนของตลาดการเงิน (เป็นจำนวนร้อยละ 38 และ 29 ตามลำดับ) จากสถานการณ์โควิดในวันนี้พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความกังวลอยู่บ้างแต่ใช้ชีวิตที่ผ่อนคลายมากขึ้น (ร้อยละ 65) และอีกส่วนหนึ่งมีความกังวลพอควรและใช้ชีวิตระวังเช่นเดิม (ร้อยละ 20) และมีผู้ให้ข้อมูลบางส่วนได้หมดความกังวลแล้ว (ร้อยละ 11) สถานการณ์คลี่คลายความกังวลจากโควิดเป็นสัญญาณที่ดีมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ 

จากการปรับตัวของราคาพลังงานและต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่สอง ผู้ให้ข้อมูล ได้แบ่งปันประสบการณ์ผลกระทบต่อต้นทุนทางธุรกิจ และพบว่าร้อยละ 50 ของผู้ให้ข้อมูลที่สำรวจมีต้นทุนการประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 10 ถึง 20  ร้อยละ 31 ของผู้ให้ข้อมูลมีต้นทุนเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 20 ถึง 40 และร้อยละ 12 ของผู้ให้ข้อมูลมีต้นทุนเพิ่มมากกว่าร้อยละ 40 จากประเด็นดังกล่าวจึงมีคำถามต่อเนื่องหากในสามเดือนหน้าราคาน้ำมันและวัตถุดิบยังคงเดิมเช่นวันนี้จะมีการปรับราคาสินค้าหรือไม่ พบว่าร้อยละ 51 ของผู้ให้ข้อมูลจะต้องปรับราคาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 25 ของผู้ให้ข้อมูลต้องปรับราคาเพิ่มขึ้นให้เท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นดังที่ผ่านมา และมีเพียงร้อยละ 14 ยังรอการปรับราคาได้ แนวโน้มดังกล่าวส่งสัญญาณว่าปัญหาทางด้านเงินเฟ้อคงยังไม่ชะลอตัวลง

เมื่อได้สอบถามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศจีนกล่าวคือในระยะที่ผ่านมารัฐบาลจีนมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาของภาคอสังหาริมทรัพย์และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 60 คาดว่าสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะต้องใช้เวลามากกว่าอีกหกเดือนจากวันนี้ ขณะที่ร้อยละ 34.5 คาดว่าต้องใช้เวลาระหว่างสามถึงหกเดือน จากนโยบายปลอดโควิดของจีนนั้นที่ทำให้เกิดการปิดบังเมืองชั่วคราว ผู้ให้ข้อมูลให้ข้อคิดเห็นว่านโยบายดังกล่าว มีผลต่อการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศจีน โดยที่ร้อยละ 48 ของผู้ให้ข้อมูลระบุว่ามีผลกระทบเป็นอย่างมาก และร้อยละ 31 มีผลกระทบพอประมาณ จากสถานการณ์ภายในประเทศจีนต่อการเดินทางไปต่างประเทศ ร้อยละ 44 ของผู้ให้ข้อมูลคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวจีนจะกลับมาเยือนประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2566 ในขณะที่ร้อยละ 16 ของผู้ให้ข้อมูลคาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะกลับมายืนเมืองไทยก่อนสิ้นปี 2565 ส่วนผู้ให้ข้อมูลที่เหลือคาดว่าต้องรอจนหลังไตรมาสที่สองของปี 2566 ที่นักท่องเที่ยวจีนจะกลับมาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง 

ในเรื่องของการท่องเที่ยวอีกเช่นกันจากนโยบายผ่อนปรนจนกระทั่งไม่มีการตรวจโควิดกับนักท่องเที่ยวก่อนเข้าประเทศ ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 55 คาดว่าต้องใช้เวลาระหว่างสามถึงหกเดือน การท่องเที่ยวจะนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่งอย่างเต็มที่ ขณะที่ร้อยละ 36.8 คาดว่าต้องใช้เวลามากกว่าอีกหกเดือน 

นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและไทย จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 29 คาดว่าเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนโดยรวมของจีนในไตรมาสที่ 3 จะดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ในขณะที่ร้อยละ 43 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะทรงๆ ส่วนร้อยละ 22 มีความเห็นว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตช้าลง ซึ่งผลการประเมินดังกล่าวได้สะท้อนถึงการคาดคะเนการส่งออกของไทยไปยังประเทศจีนในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสปัจจุบันกล่าวคือ ร้อยละ 54 คาดว่าการส่งออกของไทยไปยังจีนจะเพิ่มขึ้น และ ร้อยละ 27 ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน การคาดคะเนการนำเข้านั้น ร้อยละ 58 คาดว่าการนำเข้าจากจีนจะเพิ่มสูงขึ้น และร้อยละ 23 การนำเข้าจะทรงตัว ส่วนผลของการสอบถามความคิดเห็น ด้านการลงทุนของจีนในไทย พบว่า ร้อยละ 56 ของผู้ให้ข้อมูลคิดว่าการลงทุนจากจีนในไทยในไตรมาสที่สามเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองจะเพิ่มขึ้นในขณะที่ร้อยละ 28 ของผู้ให้ข้อมูลคาดว่าการลงทุนจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน กล่าวโดยสรุปได้ว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นบ้างในอีกสามเดือนหน้า และน่าจะมีผลที่ดีกับประเทศไทยในเรื่องการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ

การสำรวจการคาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ของไทยโดยรวม ในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสปัจจุบัน สรุปได้ว่าร้อยละ 52 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ร้อยละ 25 จะทรงๆ ขณะที่ร้อยละ 20 ไตรมาสที่ 3 จะชะลอตัวลงอีก ทั้งนี้ภาคธุรกิจที่ยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสหน้า คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว พืชผลการเกษตร ธุรกิจบริการสุขภาพ และธุรกิจออนไลน์ ส่วนธุรกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว พืชผลการเกษตร  และพลังงานและสาธารณูปโภค การสอบถามเพิ่มเติมในส่วนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พบว่าเป็นอุตสาหกรรมเป็นโอกาสของประเทศไทยที่สำคัญและจะนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หากได้รับการแก้ไขอุปสรรคอย่าวรวดเร็ว

การคาดการณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสปัจจุบัน ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 51 คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์น่าจะปรับตัวลดลง ร้อยละ 22 คาดว่าคงเดิม ร้อยละ 23 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น ส่วนแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาสหน้านั้น เสียงส่วนใหญ่ร้อยละ 57 คาดว่าเงินบาทจะมีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา และอีกร้อยละ 17 คิดว่าถ้าเงินบาทจะอ่อนตัวลงเป็นอย่างมาก

‘สุริยะ’ เร่งช่วยเหลือภาคธุรกิจกระทบสงคราม สั่ง สมอ. แก้กฎลดอุปสรรค ‘ส่งออก-นำเข้า’

สมอ. แก้ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ช่วยเหลือผู้ส่งออกสินค้าควบคุม จากเดิมที่ให้รายงานปริมาณการผลิต การส่งออก และปริมาณคงเหลือ ต่อ สมอ. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการส่งออก เป็น 30 วัน หลังจากได้รับเอกสารครบถ้วนจากกรมศุลกากร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกอย่างเร่งด่วน โดยตนได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขสถานการณ์ที่ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อน หากมีกฎระเบียบหรือประกาศของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ การค้า การส่งออก-นำเข้า ให้พิจารณาแก้ไขเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการให้มากที่สุด โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ต้องไม่กระทบกับนโยบายด้านการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมถึงให้ความช่วยเหลือกรณีที่ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ไม่สามารถส่งสินค้าเข้าประเทศปลายทางได้ และจำเป็นต้องนำกลับเข้ามาในประเทศให้ สมอ. หามาตรการช่วยเหลือด้วย

ด้าน นายบรรจง  สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ที่ตนได้เข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เมื่อเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ก็ได้รับข้อร้องเรียนจากผู้ส่งออกมาอย่างต่อเนื่อง กรณีที่ไม่สามารถรายงานปริมาณการผลิต การส่งออก และปริมาณคงเหลือ ต่อ สมอ. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ส่งออกได้ จึงทำให้ต้องถูกดำเนินคดี ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว สมอ. จึงเสนอบอร์ดคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์

‘ดร.กฤชนนท์’ เผย อุตสาหกรรมไทยยังโตต่อเนื่อง ชี้ กลุ่มเครื่องมือแพทย์ - ยานยนต์ไฟฟ้า มาแรง

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผย ภาพรวมอุตสาหกรรมไทยช่วงครึ่งปีหลัง 2565 ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แม้จะเกิดวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมโลก 

โดยในไทยพบ กลุ่มอุตสาหกรรมด้านอาหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์สมุนไพรไทย และยานยนต์ไฟฟ้า มีแนวโน้มการเติบโตสูง ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นเติบโตลดลง

นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมไทย ในงาน Thailand’s Smart Awards ครั้งที่ 3

ว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ภาพรวมการเติบโตอุตสาหกรรมไทยลดลงจากมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งในส่วนของภาคอุตสาหกรรมไทยนั้น มีการปรับตัวทำให้กลับมาเทียบเท่าก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 และยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย GDP ภาคอุตสาหกรรมไทยเติบโตขึ้น 5.9 % ซึ่งสูงกว่า GDP ของประเทศที่เมื่อปีที่แล้วเติบโตอยู่ประมาณ 1.6 % โดยในปีนี้คาดการณ์ว่า GDP ภาคอุตสาหกรรมจะเติบโตเพิ่มขึ้นอยู่ระดับ 2.2 – 3.2 % 

‘สุริยะ’ ดันโครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุน โชว์ 9 เดือน จดจำนองทะลุ 2 แสนลบ.

‘สุริยะ’ สั่งเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ดันโครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนฯ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ โชว์ตัวเลขปี 2565 แค่ 9 เดือน อัดเงินทุนถึงมือผู้ประกอบการกว่า 2 แสนล้านบาทแล้ว

 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในโอกาสเป็นประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “โครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน” ระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย และ SME Bank ว่าได้สั่งการให้กรมโรงงานฯ ดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้เร่งจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานสามารถนำเครื่องจักรที่อยู่ในโรงงานมาใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อกับทางสถาบันการเงินได้ และนำเงินทุนที่ได้มาทำการปรับปรุงการประกอบการให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิต ลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม ตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ (BCG Economy) ของรัฐบาล

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เสริมว่า โครงการนี้ทั้งสี่ฝ่ายจะร่วมมือกันในด้านการส่งเสริมผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้านเครื่องจักร และจะมีการส่งเสริมสนับสนุนมาตรการทางการเงิน (Financial support) พิเศษต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการ โดยที่ธนาคารกรุงไทย และ SME Bank จะดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อพิเศษในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สินเชื่อ Factoring สินเชื่อเพื่อการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ ฯลฯ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่โรงงานเป็นหลัก

'กอบศักดิ์' ชี้ สหรัฐฯ เหลือเวลาน้อยในการจัดการเงินเฟ้อ หลัง 'เฟด' รับ!! ไม่รู้ต้องแก้ปัญหานี้บนพื้นฐานอะไร

'ดร.กอบศักดิ์' ชี้ สหรัฐฯ เหลือเวลาน้อยในการจัดการเงินเฟ้อ หลัง 'เฟด' รับ!! ไม่รู้ต้องแก้ปัญหานี้บนพื้นฐานอะไร และจะออกจากปัญหาได้อย่างไร

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพโพสต์เฟซบุ๊ก “Dr.KOB” ระบุว่า …

เตรียมตัวให้พร้อม !!!

เมื่อคืนนี้ ได้ฟังท่านประธานเฟด ท่านประธาน ECB ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ และผู้จัดการใหญ่ของ BIS ร่วมเสวนาในเรื่อง Challenges for Monetary Policy in Rapidly Changing World หรือ ความท้าทายสำหรับนโยบายการเงิน ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่น่าสนใจในการเสวนา ก็คือ ความในใจของนายธนาคารกลางชั้นนำของโลก โดยเฉพาะท่านประธานเฟด 

ท่านบอกว่า

Clock is running out to bring inflation down

เวลาเริ่มเหลือน้อยแล้ว ในการจัดการกับเงินเฟ้อ 

It’s gotten harder ... The pathways have gotten narrower.’

สำหรับโอกาสของการ Soft Landing นั้น "ยากขึ้น และเส้นทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้แคบลงมาก"

There’s no guarantee the central bank can tame runaway inflation without hurting the job market.  

ท่านไม่สามารถรับประกันได้ว่า "สงครามของเฟดกับเงินเฟ้อ" จะไม่สร้างปัญหาใหญ่ให้ตลาดแรงงาน ไม่สามารถรับประกันได้ว่า จะไม่มีคนตกงาน

We now understand better how little we understand about inflation

เราเข้าใจแล้วว่า เราเข้าใจเงินเฟ้อน้อยแค่ไหน !!!!

Our model is not capable of producing high inflation. 

โมเดลที่เราใช้ ไม่สามารถจำลองสถานการณ์เงินเฟ้อสูง ที่กำลังเกิด

It is a deep in the tail kind of risk. Very hard to predict and access.

เหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ขณะนี้ เป็นเหตุการณ์เฉพาะ ที่ยากจะประเมินและคาดการณ์ได้

สรุปว่า ยิ่งฟัง ก็ยิ่งเข้าใจว่า ธนาคารกลางมีปัญหาในการประเมินสถานการณ์ว่ากำลังสู้กับอะไร และจะออกจากปัญหาได้อย่างไร

ทำให้มีคำถามต่อไปว่า ที่เฟดบอก "เอาอยู่ จัดการเงินเฟ้อได้แน่ และให้เชื่อเฟด" นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานอะไร?

หากโมเดลที่เฟดและธนาคารกลางใช้ในการสู้ศึก มีข้อจำกัด ไม่ใช่ตัวแทนของโลกจริง 

หรือว่าที่ท่านกำลังพูด อธิบายกันอยู่นั้น เป็นเพียง "คำปลอบใจ" 

ที่กระทั่งตัวท่านเอง ก็ไม่มั่นใจว่า "จะทำได้ตามที่พูดหรือไม่"

สำหรับที่ท่านประธานเฟดบอกว่า เวลาเหลือน้อยเต็มทนแล้ว สำหรับการจัดการกับเงินเฟ้อ เฟดต้องเร่งการดำเนินนโยบายให้ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น นั้น

อันนี้ คงเกิดขึ้นจริง 

ซึ่งหมายความต่อไปว่า เราก็เหลือเวลาไม่มากในการเตรียมตัวรับกับผลพวงที่จะตามมา 

'ธพว.' ผนึก 'ภาครัฐ-เอกชน' ร่วมลงนาม MOU ‘แปลงเครื่องจักรเป็นทุน’ หนุน SMEs เข้าถึงแหล่งทุน เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร รับ BCG Model

'ธพว.' ผนึก 'ภาครัฐ-เอกชน' ร่วมลงนาม MOU ‘แปลงเครื่องจักรเป็นทุน’ หนุน SMEs เข้าถึงแหล่งทุน เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร รับ BCG Model

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 'โครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน' ที่มีนายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เข้าร่วมลงนาม 

'สุริยะ' ชี้!! ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน 5 โต 7.46% คาด!! ศก.ภาคอุตฯ ขยายตัวอีกหลังจีนคลายล็อกดาวน์

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2565  ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.46 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวหลังผ่อนคลายมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยสะท้อนได้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.97 ชี้ภาคการผลิตรับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากการล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาด!! การขาดแคลนวัตถุดิบเป็นผลกระทบระยะสั้น ส่วนภาคการผลิตจะขยายตัวหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลงและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าของเงินบาทช่วยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัว สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 7.46 โดยสะท้อนได้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.97 ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต 5 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 64.11 ทั้งนี้จำเป็นต้องจับตาดูสถานการณ์การล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีนที่ทำให้เกิดปัญหา Supply shortage โดยเฉพาะการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ว่าการขาดแคลนวัตถุดิบเป็นผลกระทบระยะสั้น ภาคการผลิตขยายตัวอีกครั้งหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา 

ด้านนางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2565 ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 2.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญของจีน ทำให้เกิดปัญหา Supply shortage โดยเฉพาะการขาดแคลน เซมิคอนดักเตอร์เพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์และสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ โดยจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งในเดือนหน้าหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์เมืองท่าสำคัญ ในขณะที่การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันและบริโภคได้ตามปกติมากขึ้น การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการส่งออกทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก  ด้านสถานการณ์ความไม่สงบของรัสเซียและยูเครนมีผลให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าขนส่ง ขณะเดียวกันภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 เร่งตัวขึ้นจากเดือนเมษายนขยายตัวที่ร้อยละ 11.4

'สนธิรัตน์' แนะ!! แก้วิกฤตเศรษฐกิจยุคนี้ ปลุกท้องถิ่นเข้มแข็ง เพิ่มพลังเศรษฐกิจฐานราก

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์บนเฟซบุ๊กระบุว่า...

คำตอบอยู่ที่เศรษฐกิจฐานราก!!

เศรษฐกิจชะลอตัว เศรษฐกิจถดถอย น่าจะเป็นคำคาดการณ์เรื่องเศรษฐกิจโลกและประเทศที่เราได้ยินกันบ่อยในช่วงนี้ครับ

เงินเฟ้อในประเทศต่าง ๆ ก็เพิ่มสูงขึ้น คนที่ลำบากคือพวกเราที่ต้องซื้อของในราคาที่สูงขึ้น ต่อให้ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่พอไปซื้อของก็ได้ของลดลง

อ.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวในงาน ม. ธรรมศาสตร์ เมื่อวันก่อนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังมีปัญหาและจะรุนแรงขึ้น และเศรษฐกิจบ้านเราอิงกับปัจจัยภายนอกอย่างการส่งออก ท่องเที่ยว หรือลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไม่พ้นว่าจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

ท่านอาจารย์ได้ชี้ทางออกอย่างหนึ่งคือ “สร้างความเข้มแข็งกับเศรษฐกิจท้องถิ่น ให้เกิดการขยายตัว สร้างงานสร้างรายได้ควบคู่การอาศัยแรงหนุนจากภายนอก การเปลี่ยนแปลงโหมดแห่งการพัฒนาต้องการพลังที่ยิ่งใหญ่เข้าไปช่วยขับเคลื่อนในภาคชนบทและขับเคลื่อนให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการ”

จึงเป็นที่มาของคำว่า ถ้าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจของไทยวันนี้ คำตอบอยู่ที่เศรษฐกิจฐานรากครับ

คำตอบที่อยากเอามาแชร์กันวันนี้ คือ 'โรงไฟฟ้าชุมชน' ครับ

Foxconn ยัน!! ปี 65 พร้อมเดินหน้าแผน EV ในไทย ด้านนายกฯ หนุนเต็มที่ เพื่อดันไทยฮับ EV อาเซียน

‘ประธาน Foxconn’ เข้าพบ ‘บิ๊กตู่’ พร้อมผลักดันความร่วมมือตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งเป้าให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน

เมื่อ (28 มิ.ย. 65) คณะผู้บริหารระดับสูง กลุ่ม ปตท. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี กรุ๊ป เข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อแสดงเจตนารมณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมถึงหารือการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องระหว่าง กลุ่ม ปตท. และ ฟ็อกซ์คอนน์ ในการร่วมขับเคลื่อนการสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร และผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ของภูมิภาคอาเซียน

โดย นายยัง หลิว ประธานกรรมการบริษัท Foxconn Technology Group กล่าวว่า ทางบริษัทฯ ต้องการร่วมมือและการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตแพลตฟอร์ม Mobility-In-Harmony ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับสากล ช่วยขยายอัตราการจ้างงาน ฯลฯ โดยนายกฯ เชิญชวนบริษัทผู้ผลิตและออกแบบชิ้นส่วนอุปกรณ์อัจฉริยะ - เซมิคอนดักเตอร์ระดับโลกพิจารณาไทยเป็นฐานการผลิต

พร้อมกันนี้ ยังชูโครงการ EEC ว่า เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาค ซึ่งประธานฯ Foxconn ยินดีสนับสนุนความและร่วมมือกับผู้ประกอบการท้องถิ่นของไทย เพื่อดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ในอาเซียน

ด้าน นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการจัดตั้งบริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด (HORIZON PLUS) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง อรุณ พลัส บริษัทย่อยของ ปตท. และ Lin Yin International Investment บริษัทในกลุ่มของ Foxconn เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพื่อดำเนินธุรกิจผลิต EV ครบวงจร โดยมีแผนสร้างโรงงานสำหรับรับผลิต EV ให้กับค่ายรถยนต์ที่สนใจทำตลาดในประเทศไทยและอาเซียนนั้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top