Monday, 19 May 2025
ECONBIZ NEWS

‘CHIC’ เคาะราคาขาย IPO 0.90 บาท จำนวน 360 ล้านหุ้น เปิดจองซื้อ 18-21 ก.ค.นี้

CHIC’ เคาะราคาขายหุ้นไอพีโอ ราคาหุ้นละ 0.90 บาท จำนวน 360 ล้านหุ้น เปิดจองซื้อ 18-21 .. เตรียมเข้าเทรด mai .. นี้ แต่งตั้ง เมย์แบงก์ (MST) พร้อมด้วย ASP และ LHS ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย เผยธุรกิจมีโอกาสเติบโตสูง ผนึก KSS และ KTBST เป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย

นายธีร์ จารุศร กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน บริษัท ชิค รีพับบลิค จำกัด (มหาชน) หรือ ‘CHIC’ เปิดเผยว่า หลังจาก บมจ. ชิค รีพับบลิค ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) ต่อสำนักงาน ก... เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 360 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 26.47 ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ปัจจุบัน สำนักงาน ก...ได้อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบ ไฟลิ่งมีผลใช้บังคับแล้ว

ล่าสุด บมจ.ชิค รีพับบลิค ลงนามสัญญาแต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) พร้อมผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายอีก 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) (KTBST)

โดยกำหนดราคา IPO ที่หุ้นละ 0.90 บาท เปิดให้นักลงทุนจองซื้อหุ้นระหว่างวันที่ 18-20 กรกฏาคม 2565 ระหว่างเวลา 9.00-16.00 . และวันที่ 21 กรกฏาคม 2565 ระหว่างเวลา 9.00-12.00 . คาดว่าหุ้น CHIC จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ (Service) หมวดธุรกิจพาณิชย์ (Commerce) ภายในเดือน ก.. 2565 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า ‘CHIC’

สำหรับการกำหนดราคา IPO ดังกล่าว ถือเป็นระดับราคาเหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐาน และสอดคล้องกับสภาวะตลาดปัจจุบัน คาดว่า CHIC จะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี ทั้งโอกาสการเติบโตของธุรกิจ และมีความพร้อมในการขยายธุรกิจรองรับการเติบโตในอนาคต” นายธีร์ กล่าว

นางยอดฤดี สันตติกุล กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า CHIC เป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ ผู้บริหารและทีมงานมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์มายาวนาน เข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หลากหลาย โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ อีกทั้งได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในประเทศ การระดมทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายธุรกิจ รองรับความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จะช่วยเสริมการเติบโตได้ในอนาคต

นายกานต์ อรรถธรรมสุนทร กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า บริษัทมีศักยภาพเติบโต ตามความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์ของภาคอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้ง จุดแข็งของบริษัทที่มีนโยบายบริหารจัดการต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการผลิต กำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสม สามารถสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน อีกทั้งความสามารถด้านการเงิน ของบริษัทที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ซึ่งหลังจากการระดมทุนครั้งนี้ จะส่งผลให้บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น เนื่องจากสัดส่วนหนี้สินต่อทุนลดลง

นายกิจจา ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิค รีพับบลิค จำกัด (มหาชน) หรือ ‘CHIC’ เปิดเผยว่า บริษัทจะนำเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ไปใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาเว็บไซต์ของบริษัทเพิ่มเติม สำหรับการขายแบบ E-Commerce ในประเทศและกัมพูชา เพื่อรองรับฐานลูกค้าที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงพื้นที่บางสาขาในประเทศและขยายพื้นที่ให้เช่า สร้างแหล่งที่มาของรายได้ประจำ รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการและชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันทางการเงิน เพิ่มสภาพคล่องด้านการเงินของบริษัท

ก.พาณิชย์ สั่ง ปรับลดราคา 'น้ำมันปาล์ม' ร้านค้าปลีก-ห้างขนาดใหญ่ ปรับลง 4-5 บาท

(14 ก.ค. 65) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามการปรับระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือการค้ากำไรเกินควร ในช่วงที่คนไทยเช่นเดียวกับคนทั่วโลกที่กำลังเผชิญปัญหาภาวะเงินเฟ้อ โดยมีการติดตามต้นทุนการผลิต ปริมาณสต๊อกสินค้า เพื่อให้การกำหนดราคาเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ส่งผลให้สินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันหลายชนิดชะลอการปรับเพิ่มราคา 

และล่าสุดนายจุรินทร์ ได้สั่งการให้เร่งรัดการปรับลดราคาน้ำมันปาล์มขวดตามต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง โดยร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า จะเริ่มปรับลดราคาน้ำมันปาล์มขวดลง 4-5 บาท จากราคาขายปัจจุบันที่ขวดละ 69-70 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ (14 ก.ค. 65) เป็นต้นไป เพื่อให้มีราคาสะท้อนตามต้นทุนที่แท้จริง

น.ส.รัชดา กล่าวว่า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานผลการประชุมร่วมกับห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ซูเปอร์มาร์เกต ซึ่งทุกฝ่ายพร้อมให้ความร่วมมือ แต่การลดราคาอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับต้นทุนและสต๊อกเก่าที่มีค้างอยู่ของแต่ละผู้ประกอบการ แต่ยืนยันได้ว่าน้ำมันปาล์มขวดจะต้องขายตามต้นทุนที่แท้จริง หากผลปาล์มดิบลดราคา น้ำมันปาล์มขวดก็ต้องปรับลดด้วยเป็นไปตามโครงสร้างการคำนวณราคาประมาณการของผลปาล์มน้ำมัน น้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มขวด ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้เป็นราคาแนะนำให้ปฏิบัติ 

เปิดข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช.

เปิดข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ประมาณการรายได้เฉลี่ยต่อหัวคนไทยล่าสุด ปี 2565 หลังประเมินเศรษฐกิจไทยทั้งปี GDP จะขยายตัว 2.5 - 3.5% 

โดย สศช. ประมาณการรายได้ต่อหัวคนไทย ในปี 2565 คาดว่า จะมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 248,468 บาทต่อคนต่อปี หรือ 7,351 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ราว 16,300 บาท
 

ไทยเจ๋ง!! เจ้าภาพจัดงาน World RoboCup 2022 การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก 45 ชาติร่วมชิงชัย

(13 ก.ค.65) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม เป็นประธานเปิดงานการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกในรายการ World RoboCup 2022 ซึ่งจัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือ อว. พร้อมด้วย สหพันธ์โรโบคัพ และบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดฉากการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกในรายการ World RoboCup 2022 โดยมี 45 ประเทศเข้าร่วม 

โดย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า เป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยที่เราได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ตซิตี้ เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่กระทรวงฯ มุ่งขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เกิดขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีเป้าหมายสร้างพื้นที่และเมืองที่ทันสมัย ตอบโจทย์กับความก้าวล้ำของโลกยุคใหม่ที่เน้นการพึ่งพาดิจิทัลและเทคโนโลยี 

โดยนำโซลูชันที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI คลาวด์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือแม้แต่กระทั่งหุ่นยนต์เข้ามาช่วยพัฒนาเรื่องการเดินทาง การขนส่ง ความปลอดภัย การจ้างงาน ตลอดจนคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งเสริมหุ่นยนต์ ที่นับเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยทั้งในแง่ของการเกิดขึ้นของสตาร์ตอัปที่จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มหาศาลให้กับประเทศ การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม ต่อเนื่องไปถึงการสร้างแรงจูงใจเพื่อรับการลงทุนจากทั่วโลก โดยขณะนี้ประเทศไทย ถือว่ามีศักยภาพในด้านหุ่นยนต์ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต และจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้เติบโตมากกว่าในด้านการแข่งขันหรือเพียงต้นแบบที่พัฒนากันในปัจจุบัน

สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกในรายการ World RoboCup 2022 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 13 – 17 กรกฎาคมนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา Hall EH98-100 โดยมีถึง 45 ประเทศที่เข้าร่วมนำหุ่นยนต์ในหลากหลายโซลูชันเข้าแข่งขัน และอวดโฉมความอัจฉริยะใน 2 หมวดประเภทหลัก คือ หมวด Major League 4 ประเภท ได้แก่ การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์, การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย, การประกวดหุ่นยนต์ในบ้านเพื่อการบริการส่วนบุคคล และการจัด

ฟรุ้ทบอร์ดพอใจส่งออกผลไม้ไปจีนครึ่งปีแรกทะลุ 1 ล้านตัน สร้างรายได้กว่า 8 หมื่นล้าน 

ฟรุ้ทบอร์ดพอใจส่งออกผลไม้ไปจีนครึ่งปีแรกทะลุ 1 ล้านตัน สร้างรายได้กว่า 8 หมื่นล้าน ตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าผนึก 'คพจ.' 22 จังหวัดรับมือผลไม้ใต้ลำไยเหนือ 1.2 ล้านตันพร้อมเห็นชอบโครงการช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยจากผลกระทบโควิด-19

'เฉลิมชัย' สั่งฟรุ้ทบอร์ดเร่งเดินหน้าแผนปฏิบัติการพัฒนาผลไม้ปี 2565-2570 เพิ่มศักยภาพสู่เป้าหมายเกษตรมูลค่าสูงชูนโยบายคุณภาพและมาตรฐาน เน้นพัฒนาพันธุ์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มการแปรรูปสร้างแบรนด์ขยายตลาดและการปฏิรูปการบริหารจัดการ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ได้มอบหมาย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ครั้งที่ 3/2565 โดยนายอลงกรณ์เปิดเผยภายหลังการประชุมวันนี้ว่า ที่ประชุมฟรุ้ทบอร์ทพอใจผลงานการส่งออกผลไม้ครึ่งปีแรกของปีนี้เกิน1ล้านตันมากกว่าปีที่แล้วกว่า 120,000 ตัน สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ประกอบการและประเทศกว่า 8 หมื่นล้าน และผลการดำเนินการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออกโดยที่ประชุมได้แสดงความพอใจและกำชับให้เตรียมพร้อมล่วงหน้ารับมือลำไยภาคตะวันออกที่จะออกช่วงปลายปีพร้อมเห็นชอบโครงการช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยฤดูกาลที่แล้วจากผลกระทบโควิด-19

ทั้งนี้ที่ประชุมยังมอบหมายนายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าภาคใต้ และนายชาตรี บุนนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าภาคเหนือ ประสานการทำงานกับคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเป็นแกนหลักบริหารจัดการเชิงรุกผลไม้ใต้ลำไยเหนือ 22 จังหวัด ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ได้มอบหมายฟรุ้ทบอร์ดให้ยกระดับนโยบาย 'คุณภาพและมาตรฐานผลไม้' และให้เร่งเดินหน้าแผน 5 ปี คือ แผนปฏิบัติการพัฒนาผลไม้ปี 2565-2570 เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่เป้าหมายเกษตรมูลค่าสูงโดยเน้นการพัฒนาพันธ์ุ การใช้เทคโนโลยีในการผลิต การเพิ่มการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ผลไม้ การใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability system) การขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศและการปฏิรูปการบริหารจัดการผลไม้ของฟรุ้ทบอร์ดอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของผลไม้ไทยตลอดห่วงโซ่การผลิตการแปรรูปจนถึงการตลาดและรับมือกับการเพิ่มขึ้นของพื้นที่การปลูกทุเรียนตลอดจนการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกในจีนและทั่วโลก

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1.) การแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนามังคุดมะม่วงและมะพร้าวตามข้อเสนอของเกษตรกรผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่จัดทำแผนและพัฒนามังคุดมะม่วงและมะพร้าวแบบครบวงจรซึ่งเป็นคณะทำงานชุดใหม่เพิ่มเติมจากคณะทำงานทุเรียนและคณะทำงานลำไยตามแนวทางการบริหารเชิงรายผลไม้เศรษฐกิจ (product based)

2.) รายงานการศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลำไยต่อคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ และ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการและคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลรายงานการศึกษาฯ เพื่อประกอบการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการพัฒนาและบริหารจัดการลำไยทั้งระบบต่อไป

3.) แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2565 จำนวน 764,777 ตัน

4.) แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2565 รวม 487,459 ตัน ได้แก่ ทุเรียน จำนวน 382,873 ตัน, มังคุด จำนวน 56,340 ตัน, เงาะ จำนวน 41,714 ตัน, และลองกอง จำนวน 6,532 ตัน 

โดยมอบหมายศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าประสานคพจ. เป็นแกนหลักในการบริหารจัดการผลไม้กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหาให้ประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติงานช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป 

AIS ขออภัยพร้อมชดเชย กรณี AIS Play ล่ม ทำลูกค้าอดชมถ่ายทอดสดเกมแดงเดือด

หลังเกิดเหตุการณ์ AIS Play ล่ม ทำให้เหล่าแฟน ๆ ไม่สามารถรับชมถ่ายทอดสด The MATCH Bangkok Century Cup 2022 ระหว่าง “ปีศาจแดง” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบกับ “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล ผ่านทางช่องทาง AIS Play ได้

ล่าสุด ทาง AIS ก็ออกมาขออภัยในความไม่สะดวกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการรับชมการถ่ายทอดสดศึกแดงเดือด ในช่วงเวลา 20.00 น. ของคืนวันอังคารที่ 12 ก.ค.65 เนื่องจากมีลูกค้าใช้บริการและให้ความสนใจเข้ารับชมเป็นจำนวนมาก

โดยออกประกาศระบุว่า

“12 กรกฎาคม 2565 เวลา 23.30 น.
เอไอเอส ขออภัยและขอชดเชยลูกค้า กรณีการถ่ายทอดสด THE MATCH Bangkok Century Cup 2022 ผ่านทาง AIS PLAY เอไอเอส ใคร่ขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นจากการรับชมการถ่ายทอดสดศึกแดงเดือด ในช่วงเวลาประมาณ 20.00 น. ของคืนวันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2565 เนื่องจากมีลูกค้าให้ความสนใจเข้ารับชมเป็นจำนวนมาก

'อลงกรณ์' ชี้ ไทยเผชิญ 4 วิกฤติโลก สร้างโอกาสให้ก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจด้านอาหารภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวบรรยายพิเศษเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 65 เรื่อง ก้าวต่อไป เกษตรไทยสู่มหาอำนาจทางอาหารของโลก โดยมองว่าแม้ประเทศไทยต้องเผชิญ 4 วิกฤติโลก แต่ก็เป็นโอกาสที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจอาหารของโลกได้ภายใต้การขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรเพราะมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น

โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพเป็นประเทศส่งออกอาหารอันดับ 13 ของโลก ด้วยมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท และการส่งออกเติบโต 17% ในปี 2564 โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกลำดับต้นๆ สะท้อนถึงขีดความสามารถของภาคการผลิต การแปรรูปและการตลาดของไทยในตลาดโลก

แม้ต้องเผชิญ 4 วิกฤติการณ์ของโลก ได้แก่ 
1.) โควิด-19 สงคราม 
2.) รัสเซีย-ยูเครน 
3.) ประชากรโลกเพิ่มขึ้น 
4.) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) 

ซึ่งทำให้โลกประสบปัญหาระบบการผลิตภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทานตามมาด้วยปัญหาการขาดแคลนอาหาร แต่วิกฤติดังกล่าวก็ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่ประสบปัญหาความมั่นคงทางอาหาร เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา เซาท์แปซิฟิก เอเซีย และไม่เว้นแม้แต่ประเทศร่ำรวย เช่น ซาอุดีอาระเบีย และญี่ปุ่นที่ผลิตอาหารได้เพียง 20% และ 37% ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นโอกาสในวิกฤติของประเทศไทย 3 ปีที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์เดินหน้าปฏิรูปสร้างศักยภาพใหม่อย่างต่อเนื่องภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนบนความร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะการจับคู่กับกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์)

1.) ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต
2.) ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 
3.) ยุทธศาสตร์ 3’s (safety - Security - Sustainability เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน) 
4.) ยุทธศาสตร์ การทำงานเชิงบูรณาการทุกภาคส่วน 5.ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนบนศาสตร์พระราชา 

บอร์ดอีอีซี คิกออฟสร้างรถไฟความเร็วสูง ต.ค.นี้ พร้อมเคาะแผนแม่บทเมืองอัจฉริยะ 1.3 ล้านล้าน

อีอีซี เคาะแผนแม่บทศูนย์ธุรกิจ - เมืองอัจฉริยะ วงเงิน 1.3 ล้านล้าน เพิ่มจุดแข็งโครงการอีอีซี พร้อมเตรียมคิกออฟก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง – สนามบินอู่ตะเภา ต.ค.นี้ หลังสามารถส่งมอบที่ดินให้เอกชนได้ 100%  

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติร่างแผนแม่บทและแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหญ่น่าอยู่อัจฉริยะ วงเงินลงทุนประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท โดยในขั้นตอนต่อไปหลังจากผ่านการเห็นชอบจากบอร์ดแล้ว เตรียมให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ต่อไป 

สำหรับร่างแผนแม่บทโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ มีพื้นที่โครงการฯ ประมาณ 14,619 ไร่ ตั้งอยู่ในตำบลห้วยใหญ่ จังหวัดชลบุรี อยู่ในเขต สปก. ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 10 ปี มีเงินลงทุนโครงการประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท โดยโครงการลงทุนประกอบด้วย ภาครัฐลงทุนเรื่องที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการส่วนกลาง โดยมีการแบ่งพื้นที่เป็นโซนเพื่อให้เอกชนหรือรัฐวิสาหกิจเช่าที่ดินหรือร่วมลงทุนหรือลงทุนในกิจการด้านระบบสาธารณูปโภค หรือเอกชนเช่าพื้นที่ลงทุนด้านพื้นที่พาณิชย์  

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการสร้างเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะของ EEC คือสามารถรองรับประชากรได้ 350,000 คน ภายในปี 2575 รวมทั้งสร้างงานทางตรงไม่น้อยกว่า 200,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2575 และมีมูลค่าการจ้างงานกว่า 1.2 ล้านล้านบาท มีธุรกิจและบริการมาตรฐานสากล มีวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ประมาณ 150-300 กิจการ อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ดี ปลอดภัย สะดวกสบาย  มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายคมนาคมอัจฉริยะที่สะดวกรวดเร็ว เป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองเน้นความน่าอยู่ จะช่วยกระตุ้นการขยายตัว GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 2 ล้านล้านบาท ภายใน 10 ปี สินทรัพย์ที่โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา 50 ปี จะมีมูลค่าเพิ่มประมาณ 5 เท่า 

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 4 โครงการ โดยในส่วนของ 2 โครงการสำคัญที่จะออกหนังสือส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนที่ชนะการประมูลในโครงการ (NTP) เพื่อจะก่อสร้างในเดือน ต.ค.นี้ ได้แก่

 

‘แบงก์ชาติ’ เผย เงินสำรองคงคลังของไทย แข็งแกร่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ระหว่าง 'วาทกรรม' กับ ' การกระทำ' 

แบบไหนที่ 'ควร' ต้องเปิดหู เปิดตา เปิดใจ ยอมรับฟัง!! ในระหว่างที่บางกลุ่มก้อนของสังคมชิงฉายวาทกรรม ให้เกิดการมอง 8 ปี ประเทศไทย ว่า 'พังในทุกมิติ'

เป็นเช่นนั้นหรือไม่?

ลองมาย้อนสักดูตัวอย่างเล็ก ๆ เช่น เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ถูกฉายวนในสังคมมาสักพักใหญ่ ๆ กันอีกสักหลาย ๆ รอบ แล้วพิจารณาดูว่า...

อันดับของไทยที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกแบบนี้ 

หากมีใครมาพูดว่า 8 ปีประเทศไทย 'พัง' ก็คือพัง? ได้ง่าย ๆ ตามใจปากพูดได้เลยงั้นหรือ?

จากเฟซบุ๊ก 'Bangkok I Love You' ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย เนื้อหาดังนี้...

ปัจจุบันประเทศไทย มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึง 9,319,090.28 ล้านบาท นับเป็นอันดับที่ 13 ของโลก แซงหน้า สหรัฐอเมริกา 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้น เดือนธันวาคม ปี 64 อยู่ที่ 9,319,090.28 ล้านบาท

นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565

นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565 โดยในปีนี้ ‘พี่น้องเจียรวนนท์’ แห่งเครือซีพี ยังครองแชมป์มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในไทยอีกสมัยไปด้วยทรัพย์สิน 2.65 หมื่นล้านเหรียญ หรือราว 9.33 แสนล้านบาท

Forbes รายงานว่า เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวกลับมาได้เนื่องจากโควิด-19 เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับลดจากจากจุดสูงสุดลง 3%

ไม่เพียงเท่านั้น ตั้งแต่จากการอันดับมหาเศรษฐีไทยครั้งล่าสุด อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหน่วยดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงถึง 12% ส่งให้มูลค่ารวมทรัพย์สินของมหาเศรษฐีไทยทั้ง 50 รายชื่อ ลดลงเกือบ 6% มาอยู่ที่ 1.51 แสนล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 5.31 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับการจัดอันดับปีที่ผ่านมา

สำหรับ 10 อันดับแรกของปีนี้ ยังคงมีการขึ้น-ลง สลับกันกับปีก่อนๆ ส่วนทั้ง 50 อันดับเป็นอย่างไรบ้าง คลิกดูได้ที่ https://www.forbes.com/lists/thailand-billionaires/?sh=56cd7d16223e


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top