Monday, 5 May 2025
THE STATES TIMES TEAM

จาก ‘ผู้นำมะกัน’ สู่ ‘เลือกตั้ง’ ครั้งใหม่ของไทย ‘คนดี’ นั้นไซร้ ย่อมอยู่ในใจผู้คนตลอดกาล

สำหรับมวลมหาประชาชนคนอเมริกันแล้ว ไม่ได้มีแค่ ‘วันวาเลนไทน์’ วันเดียวเท่านั้นที่เป็นวันสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ หาแต่ยังมีอีกวันที่ทุกคนเฝ้ารอ นั่นคือ ‘วันประธานาธิบดี’ 

ที่ว่าเฝ้ารอนี่ไม่ใช่เพราะให้ความสำคัญกับ ‘ประธานาธิบดี’ หรอก แต่เพราะทุกห้างร้านจะ ‘ลดราคาครั้งใหญ่’ ถึงบางคนอดใจไม่ซื้อของขวัญวาเลนไทน์ แต่เลื่อนไปซื้อของขวัญในวันนี้แทน เพราะได้ส่วนลดมากมาย 

วัน Presidents Day หรือ วันประธานาธิบดี ตรงกับวันจันทร์ในสัปดาห์ที่ 3 ส่วนที่เลือกเป็นวันนี้นั้น เพราะเป็นวันเกิดของ ‘จอร์จ วอชิงตัน’ ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1732 โดยมีการร่างพระราชบัญญัติให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการและเริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1971 

ไม่เพียงแค่เป็นเดือนเกิดของ ‘จอร์จ วอชิงตัน’ เท่านั้น หากแต่ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ยังเป็นเดือนเกิดของประธานาธิบดีที่มีความสำคัญอีกท่าน นั่นก็คือ ‘อับราฮัม ลินคอล์น’ โดยในพระราชบัญญัติที่ว่านี้ระบุให้วันประธานาธิบดี เป็น ‘วันสดุดีอับราฮัม ลินคอล์น’ ประธานาธิบดีคนที่ 16 ซึ่งเกิดในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1809 อีกด้วย เรียกว่าเป็นแพ็กคู่แห่งความสำคัญแบบ 1 แถม 1 กันเลยทีเดียว

ไหน ๆ ก็พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว ก็ขอพาย้อนไปดูสาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้นำมะกันในอดีตสักเล็กน้อย โดยเริ่มจากจำนวนประธานาธิบดีนับตั้งแต่เริ่มอย่าง จอร์จ วอชิงตัน ในปี ค.ศ. 1789 มาจนถึงปัจจุบันนั้น อเมริกาจะมีประธานาธิบดีแล้วทั้งสิ้น 46 คน ซึ่งคนล่าสุด ก็คือ ‘ลุงโจ ไบเดน’ นั่นแหละ  

>> อยู่ยั่งยืนยง
ส่วนประธานาธิบดีที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด ก็ได้แก่ ประธานาธิบดี ‘แฟรงคลิน ดี รูสเวลท์’ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ถึง 4 สมัยหรือ 16 ปี หลังจากนั้นมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ในปี ค.ศ. 1951 กำหนดให้บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน

ที่สหรัฐฯ นั้น ทุกๆ 4 ปีจะมีการสำรวจโพล ‘ประธานาธิบดีและความยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีในการเมืองของฝ่ายบริหาร’ โดยสำรวจความคิดเห็นนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ของสมาคมรัฐศาสตร์ เกี่ยวกับประธานาธิบดีและการเมืองของฝ่ายการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นให้คะแนนความยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีแต่ละคนจาก 0 ถึง 100 ซึ่ง 100 คือ ยิ่งใหญ่, 50 คือ ปานกลาง และ 0 คือ ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

>> สุดยอดผู้นำ
สำหรับประธานาธิบดียอดเยี่ยมนั้น ผลสำรวจมักออกมาแบบนี้แทบทุกหน นั่นคือ 7 อันดับประธานาธิบดียอดเยี่ยมอันดับหนึ่งอภิมหาอมตะนิรันดร์กาลคือ อับราฮัม ลินคอล์น ตามด้วยจอร์จ วอชิงตัน, แฟรงคลิน  รูสเวลต์, ธีโอออร์ รูสเวลต์, โธมัส เจฟเฟอร์สัน, แฮร์รี ทรูแมน และดไวท์ ไอเซนฮาวร์ โดยอับราฮัม ลินคอล์นได้คะแนนนำสูงลิ่วมาทุกครั้ง เรียกว่าเป็นประธานาธิบดีในหัวใจประชาชนอย่างแท้จริง

>> ผู้นำห่วยแตก
ส่วนประธานาธิบดีห่วยแตกสุด 5 คน เรียงจากบ๊วยสุด คือ โดนัลด์ ทรัมป์ ตามมาด้วย แอนดรูว์ จอห์นสัน, แฟรงคลิน เพียร์ซ, วิลเลียม แฮร์ริสัน และ เจมส์ บูแคนัน โดยนักวิจัยขอให้นักรัฐศาสตร์ช่วยระบุชื่อประธานาธิบดีที่คิดว่าสร้างความแตกแยกมากที่สุด ผลปรากฏว่านักรัฐศาสตร์ 90 จากทั้งหมด 170 คนยกให้ ‘ทรัมป์’ เป็นผู้นำที่สร้างความแตกแยกที่สุด

กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกเป็นของผู้ซื้อตั้งแต่เมื่อไร | รู้ LAW CASE STUDY EP.25

ใครจะขายรถต้องฟัง! ซื้อ - ขายรถยนต์ยังไง?
ให้เราไม่เสียกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ไปให้ผู้ซื้อแบบฟรีๆ
รู้ LAW CASE STUDY รวมกรณีศึกษาในเรื่องกฎหมายสำหรับคนไทย

รับชมคลิปอื่น ๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyJ19GDOHCI9He2hZHLsD4OG

#THESTATESTIMES
#THESTATESTIMESPodcast
#Podcast
#รู้LAWCASESTUDY
#กรณีศึกษา
#กฎหมายน่ารู้

โอบอุ้ม 'วาเลนไทน์' สไตล์ 'Y2K' หรือแท้จริง ‘คนรุ่นใหม่’ เริ่มเห็นคุณค่าแห่งอดีต

วันนี้คำว่า 'Y2K' ดูจะกำลังแพร่สู่ทุกหย่อมหญ้า ถูกพูดถึงทุกตรอกซอกซอย ตั้งแต่ในศูนย์กลางการค้าของเมืองหลวง จนถึงซอกตลาดอันลึกลับที่สุดของหัวเมืองต่างจังหวัด โดยเฉพาะกลุ่มคน 'Gen Z' (เกิดระหว่างปี 1997 - 2010) ที่เหมือนกำลังหลงใหลได้ปลื้มกับคำบอกเหตุการณ์แห่งยุคคำนี้เป็นพิเศษ

อันที่จริงคำว่า 'Y2K' คือ 'วิกฤตการณ์ทางเทคโนโลยี' ซึ่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 1999 คาดการณ์ไว้ล่วงหน้านับสิบปี ว่าอาจเกิดปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ 'เลข 2 หลัก' ขึ้น ด้วยวิศวกรสมัยก่อนเขียนโปรแกรมระบบคอมพ์ฯ แสดงปฏิทินรายปีด้วยเลขเพียงสองหลัก เพราะฉะนั้นรอยต่อระหว่าง ค.ศ. 1999 ซึ่งเครื่องทั่วโลกอ่านค่าเป็น 99 พอรุ่งขึ้นสู่ปีใหม่ ค.ศ. 2000 คอมพ์ฯ ทุกเครื่องก็จะเซ็ตระบบเป็น 00

นั่นหมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำมาทั้งศตวรรษจะหายไปในเวลาแค่เข็มนาฬิกาข้ามวันใหม่ แต่สุดท้ายมนุษย์เรายังโชคดี เพราะไม่มีสิ่งใดที่ว่า เกิดขึ้นจริงกับโลก 

อย่างไรซะ ความสนใจของวันนี้คงไม่ได้วนอยู่กับเหตุการณ์ Y2K (จริง) แต่อย่างใด เพราะวายทูเคของคนรุ่นใหม่เขากำลังหมายถึง Pop Culture

พวกเขากำลังมอง 'Y2K' เป็นแฟชัน เป็นความหอมหวานอันเชื่องช้าต่างจากยุคเทคโนโลยีทันสมัยเช่นวันนี้ แต่ก็ไม่ถึงกับต้องบอกรักด้วยจดหมาย หรือคอลหาหวานใจผ่านตู้โทรศัพท์ (สาธารณะ) เพราะเรื่องนั้นมัน ‘เอ๊าท์’ แล้ว (ปี 2000) รวมถึงการฝากข้อความผ่านเพจเจอร์ หรือแม้แต่นัดเจอกัน ณ ร้านไอศครีมโฟร์โมสต์

พลิกธุรกิจล้มเหลวจากโควิด-19 สู่ความสำเร็จด้วยหลักธรรมะ | TIME TO LISTENING EP.7

คุณไพรัตน์ ใจบุญ เปิดใจถอดบทเรียนธุกิจล้มละลาย จากพิษโควิด-19 และวิกฤตทางเศรษฐกิจ

พร้อมแชร์ทริคลุกอย่างไรให้ปัง ด้วยคำสอนจากหลักธรรมะ 

 

ดำเนินรายการโดย ไอยรา อัลราวีย์ Content Manager

 

แขกรับเชิญนักธุรกิจ คุณไพรัตน์ ใจบุญ 

 

ติดตามได้ใน THE STATES TIMES PODCAST และสามารถรับชมคลิปอื่น ๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLBnnkZJ5-QgtyID5DqrnG4

 

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIME PODCAST

‘Red Hot Chili Peppers’ นุ่งกางเกง ‘มวยไทย’ โปรโมตทัวร์

วงดนตรี ‘Red Hot Chili Peppers’ (เรด ฮ็อต ชิลลี่ เปปเปอร์ส) อเมริกันร็อกแบนด์ที่กำเนิดในลอสแองเจลิส ตั้งแต่ยุคสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี (พ.ศ. 2525) มีสมาชิกดั้งเดิมอันประกอบด้วยนักร้องนำ ‘แอนโธนี่ย์ คีดิส’ (Anthony Kiedis) มือเบส ‘ฟลี’ (Flea) มือกลอง ‘แชด สมิธ’ (Chad Smith) และมือกีตาร์ ‘จอห์น ฟูเซียนเต้’ (John Frusciante) โดนแนวดนตรีของ ‘RHCP’ ผสมผสานทั้งอัลเทอร์เนทีฟร็อก ฟังก์ พังก์ร็อก ฮาร์ดร็อก ฮิปฮอป และไซคีเดลิกร็อก ซึ่งแนวเพลงแบบนี้เองได้ส่งอิทธิพลต่อแนวเพลงต่าง ๆ ต่อยอดต่อมาอีกมากมายหลายแขนง อาทิ ฟังก์เมทัล แร็พเมทัล แร็พร็อก และนูเมทัล

ล่าสุดวงร็อกอายุงานสี่สิบปีปล่อยภาพโปรโมตทัวร์ทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป ‘Return of the Dream Canteen’ ในคอนเซปต์สุดเฟี้ยวไม่เคยตกแนวเหมือนเดิม แต่จุดโฟกัสที่ติดอกติดใจแฟนเพลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยเรา ก็ตัวนักร้องนำวัยเก๋า ‘แอนโธนี่ย์ คีดิส’ มาด้วยลุคนักมวยไทย เปลือยท่อนบนโชว์กล้ามเนื้อไร้ไขมันบนวัยแซยิด กางเกงมวยโทนแดงสด ปักคำ ‘มวยไทย’ สีทองอร่ามชัดเจน แบบเห็นได้จากดาวอังคาร

“อิทธิพลของภาพนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น Soft Power อย่างหนึ่ง แต่คือ Soft Power ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากน้ำมือคนไทยเรา เป็นพลังซอฟต์ ซึ่งส่งมาจากวงร็อกระดับโลก ที่อาจมีความหลงใหลคลั่งไคล้กีฬาไทยชนิดนี้เป็นทุนเดิม โดยเฉพาะคีดิส ซึ่งแกเองก็ถอดเสื้อเล่นคอนเสิร์ตเป็นกิจวัตรประจำวันอยู่แล้ว ภาพลักษณ์ในการถอดเสื้อของเขาจึงเหมาะสมกับชุดกีฬา หรือกางเกงมวยไทยเป็นที่สุด” ผู้สันทัดกรณีเรื่องเพลงและมวยไทยท่านหนึ่งให้ความเห็น

ไทยรอดได้ยังไง? วิเคราะห์ 8 ประเด็นที่ทำให้ไทย รอดพ้นจาก ‘COVID-19’ | THE STATES TIMES Y WORLD EP.63

สรุปบทเรียนจาก 'COVID-19' สาเหตุอะไรที่ทำให้ประเทศไทยของเรารอดพ้นจากไวรัสร้ายมาได้
THE STATES TIMES Y World วิเคราะห์และสรุปมาให้เหลือเพียงแค่ 8 ประเด็น
จะมีประเด็นอะไรน่าสนใจบ้าง ไปชมกันได้เลย....

ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World 
และสามารถรับชมคลิปอื่น ๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PLvNTQ_fOAFugvfiWfiUXJ8JJYho1ADnG8

#THESTATESTIMES
#THESTATESTIMESYWORLD
#โควิด19
#ไทยรอดโควิด
#ไทยชนะ

อยู่มา 8 ปี ทำอะไรกันนักหนา!!

ผลงานรัฐบาลลุงตู่ : ภาคอีสาน

ภายหลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาบริหารประเทศ ก็เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ขึ้นถ้วนทั่วทุกภาคของไทย โดยหนึ่งในภูมิภาคที่บังเกิดผลงานอันเป็นรูปธรรมและเอื้อประโยชน์มากมายนั้น คือ 'ภาคอีสาน' ผ่านหลากหลายโครงการ ที่จะขอยกตัวอย่างมาให้เห็นคร่าว ๆ ดังนี้...

1. โครงการคนละครึ่ง
2.  บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
3. มารดาประชารัฐ
4. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  
5. โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
6. โครงการชิมช้อปใช้
7. พัฒนาสนามบินในอีสาน เช่น สนามบินอุบลราชธานี และสนามบินขอนแก่น
8. บริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ตามโครงการเพิ่มน้ำต้นทุนโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี
9. โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรใหญ่ที่สุดในโลก ที่ จ.อุบลราชธานี
10. ต่อรางสร้างรถไฟฟ้า 9 สาย และโครงการรถไฟทางคู่ อ.หัวหิน, จ.ขอนแก่น, จ.สระบุรี และ จ.ลพบุรี
11. สร้างทางหลวงหมายเลข 12 จ.กาฬสินธุ์ เชื่อมไปประเทศลาว 
12. สร้างอุโมงค์ทางลอดยาวที่สุดในภาคอิสานที่ จ.อุดรธานี

การยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ จากประกาศ ‘คณะราษฎร’ สู่ความย้อนแย้งยุคนี้ | THE STATES TIMES STORY EP.106

 วันนี้ THE STATES TIMES Story จะพาคุณไปรับฟัง

จุดเริ่มต้นของบทเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’

ตั้งแต่สมัย ‘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 4

ในการบรรเลงถวายความเคารพ จนต่อมามีการยืนเคารพ ‘เพลงสรรเสริญพระบารมี’

จากประกาศของ ‘คณะราษฎร’  สู่ความย้อนแย้งแห่ง ‘เยาวรุ่น’ ในยุคปัจจุบันที่ดันไม่ทำตาม 

 

ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย 

 

รับชม THE STATES TIMES STORY ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLbSZPZIUmXvd6NiToeX5qW

 

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST TikTok:

THE STATES TIMES PODCAST

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top