Saturday, 17 May 2025
THE STATES TIMES TEAM

ร้านทุเรียน "นุช-นนท์" (ตลาดสี่มุมเมือง) ทำดีไม่มีหยุด! มอบอาหาร 300 กล่อง พร้อมทั้งมังคุด / เงาะ 300 กล่อง ร่วมสู้ภัยโควิด-19

วันที่ 3 สิงหาคม 2564 "น.ส.ชาลินี ลอยนุ้ย" เจ้าของร้านทุเรียน "นุช-นนท์" (ตลาดสี่มุมเมือง ) ประสาน "สะพานบุญ" ให้ "นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล" นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย และตำแหน่งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านแรงงาน พร้อมด้วย "นายโกสินธ์ จินาอ่อน" บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์สยามโฟกัสไทม์  และตำแหน่งที่ปรึกษาสมาคมสื่อมวลชนเพื่อสังคม" "นายณัฐวุฒิ เหมือนเพ็ชร" ผอ.ข่าวจังหวัดสมุทรปราการ (น.ส.พ.สยามโฟกัสไทม์) นำอาหารจำนวน 300 กล่อง / มังคุด เงาะ 300 กล่อง เพื่อมอบให้บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ผู้ป่วย รวมถึงคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ที่ได้รับเชื้อไวรัส covid-19 สร้างขวัญกำลังใจ ด้วยความหาวงใย ให้ได้รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และร่างกาย เป็นการตอบแทนน้ำใจ ความเสียสละ แรงกาย แรงใจ เวลาอันมีค่ามาดูแลรักษาพี่น้องประชาชนคนไทย คนพิการ ให้รอดปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปด้วยกัน

โดย "สะพานบุญ" ลงพื้นที่ไปยัง โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร เพื่อคนพิการ ซึ่งตั้งอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มอบผ่านบุคลากร กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หลังจากนั้น "สะพานบุญ" เดินทางไปยัง ศูนย์พักคอย เพื่อส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ต.ศาลาครุ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี (ชายแดนติดต่อ สระบุรี /นครนายก) มอบผ่าน "นายสมาน ดินแดง" รองปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ เป็นผู้รับมอบ

ในการนี้ "น.ส.ชาลินี ลอยนุ้ย" ได้กล่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทย เจ้าของสถานประกอบการ  ร้านค้า และภาคเอกชน ที่มีจิตเป็นกุศล ร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือ สร้างสรรค์สังคมไทยให้ปลอดภัย ร่วมกันแบ่งปันความสุข รอยยิ้ม กำลังใจ กันและกัน ในช่วงสถานการณ์เชื้อไวรัส covid-19 กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทยทั้งชาติ ให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ด้วยดีพร้อมกัน การได้มอบข้าวกล่องให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ในหลาย ๆ พื้นที่ เป็นการแบ่งเบาภาระค่าอาหารให้กับประชาชนได้บ้าง ซึ่งตนได้ทำแล้วก็รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือประชาชนคนไทยด้วยกัน และจะทำอย่างต่อเนื่อง ตามกำลังเท่าที่มี ด้วยใจจริง

 

“ILINK” ลงนามสัญญา ร่วมการไฟฟ้านครหลวง จ้างเหมาติดตั้งสายใยแก้วนำแสงใต้น้ำ มูลค่า 84.6 ล้านบาท

นายสมบัติ อนันตรัมพร และ นายธนา ตั้งสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ลงนามร่วมกับ นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อจ้างเหมาติดตั้งสายใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (Underwater Optical Fiber Cable) พร้อมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบระหว่างการไฟฟ้านครหลวงเขตยานนาวาถึงเขตราษฎร์บูรณะ มูลค่าทั้งสิ้น 84,637,000 บาท สัญญาจ้างเลขที่ ID3-4616-TGE/2564 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2564

กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 120 วัน โดยบริษัทลูก ได้แก่ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เพาเวอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญและชำนาญงานในโครงการสายใต้น้ำและใต้ทะเลมานานกว่า 20 ปี เป็นผู้ก่อสร้าง

ขอนแก่น – สั่งปิดตลาดสดศรีเมืองทอง เพิ่มอีก 7 วัน หลังพบผู้ป่วยติดเชื้อเชื่อโยงคลัสเตอร์หลายจังหวัด พร้อมสั่งปรับปรุงตลาดให้ถูกสุขอนามัยฝ่าฝืนเอาผิดตามกฎหมาย ขณะที่ อบจ.ขอนแก่น จัดซื้อวัคซีน “โมเดอร์นา” จากสภากาชาดไทยชุดแรก 30,000 โดส

เมื่อเวลา 17.30 น.วันที่ 2 ส.ค.2564 ที่สำนักงานสาธารณสุข จ.ขอนแก่น นายสมศักดิ์  จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วย นพ.สมชายโชติ  ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุข จ.ขอนแก่น ประชุมร่วมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ จ.ขอนแก่น เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

นายสมศักดิ์  จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นที่ประชุมวันนี้ได้มีข้อสรุปและมีมติร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์ในการที่จะมีประกาศคำสั่งจังหวัดเพิ่มเติมให้สอดรับกับการที่ ศบค.ปรับให้ขอนแก่น จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดสีแดง โดยเฉพาะกับการกำหนดจำนวนบุคลที่จะเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งการตั้ง รพ.สนาม ที่เรือนจำ อ.พล ภายใต้การกำกับและควบคุมของกรมราชทัณฑ์และ รพ.พล การกำหนดจุดตรวจการเข้าและออกเมือง จากเดิมกำหนดจุดตรวจที่ด่านนาโน อ.บ้านไผ่ ให้เป็น ด่านตรวจ อ.พล การผ่อนผันการเดินทางของ สส.และ สว. ที่ต้องเดินทางไปปฎิบัติงานและประชุมในพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม การขยายระยะเวลาการสอบของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยในการจัดการสอบกลุ่มข้าราชการพิเศษ จากเดิม กำหนดการสอบ ส.ค. ไปเป็นเดือน ก.ย.

“วันนี้ที่ประชุมได้มีมติให้ อบจ.ขอนแก่น จัดหาวัคซีนทางเลือกโมเดอร์นา ตามระเบียบของสภากาชาดไทย เบื้องต้น 30,000 โดส สำหรับการฉีดให้กับชาวขอนแก่นกลุ่มเป้าหมาย 15,000 คน ซึ่งจะใช้งบประมาณ 33 ล้านบาท โดยในการพิจารณารายชื่อของผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนนั้นมอบหมายให้ สสจ.ขอนแก่น ตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่ลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อมและขอนแก่นพร้อมเป็นลำดับแรก ซึ่งเมื่อมีติเป็นเอกฉันท์ก็จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อกับ อบจ.ดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบที่สภากาชาดไทยกำหนดไว้ต่อไป”

ผวจ.ขอนแก่น กล่าวต่ออีกว่า ที่ประชุมยังมีมติในการขยายระยะเวลาการปิดการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชน ไปจนกว่าสถานการฯจะคลี่คลาย รวมทั้งการมีคำสั่งปิดตลาดศรีเมืองทองออกไปอีก 7 วัน จากเดิมครบกำหนดสั่งปิดในวันที่ 5 ส.ค. เนื่องจากเป็นคลัสเตอร์ที่พบการแพร่เชื้อในกลุ่มพ่อค้า-แม่ค้า และขณะนี้การสอบสวนโรคยังคงพบว่าผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อของตลาดแห่งนี้ยังคงเชื่อมโยงไปในกลุ่มตลาดของอีกหลายจังหวัด ทำให้ที่ประชุมจึงมีคำสั่งปิดตลาดต่อไปอีกและให้มีการจัดระบบด้านสุขอนามัย ตามมาตรฐานด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด หากฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทันที อย่างไรก็ตามขณะนี้การขาดเครื่องพ่นออกชิเจนแบบไฮโฟ ในการใช้ในการรักษาผู้ป่วยในภาพรวมยังคงขาดแคลนอยู่ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าต้องใช้เครื่องดังกล่าวในการรักษาประมาณ 110 เครื่องดังนั้น นอกจากการประสานงานร่วม อบจ.ขอนแก่น,เทศบาลนครขอนแก่นแล้ว ยังคงขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาในการขอรับการสนับสนุนเครื่องพ่นออกซิเจนดังกล่าวอย่างเร่งด่วนในระยะนี้

เชียงใหม่ - เทศบาลนครเชียงใหม่ จัดกิจกรรมรณรงค์ “ล้างเมืองเชียงใหม่ สู้ภัยโควิด -19”

เทศบาลนครเชียงใหม่ จัดกิจกรรมล้างเมืองเชียงใหม่ สู้ภัยโควิด-19 ล้างถนนและทางเท้าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดเมืองเชียงใหม่ สร้างความมั่นใจให้ประชาชน

วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 20.00 น. ณ บริเวณข่วงประตูท่าแพ นายไทณ์ โรจน์รัตนจินดา รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ ล้างเมืองเชียงใหม่ สู้ภัยโควิด -19 เป็นการเดินหน้านโยบายของเทศบาลฯ ภายใต้หลักการ “สร้าง สาน เสริม” การสร้างใหม่ สานต่อ และเสริมพลังการพัฒนา ซึ่งเทศบาลนครเชียงใหม่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงได้จัดให้มีการทำความสะอาดถนนและทางเท้าในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ทั้งสี่แขวงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้แก่ประชาชนชาวเชียงใหม่

การจัดกิจกรรมดังกล่าวในช่วงเวลากลางคืนเพื่อให้กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนน้อยที่สุด โดยมี นางบงกช ตุวานนท์ ประธานสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ นางสาวรัชนี ชมชื่น รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นายพิศุทธ์ พิศุทธกุล นางสาวพรผกา ตาระกา ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ สมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ หัวหน้าแขวงทั้งสี่แขวง เจ้าหน้าที่เทศบาล และประชาชนชาวเชียงใหม่ เข้าร่วมกิจกรรม


ภาพ/ข่าว  นภาพร / เชียงใหม่

ลำปาง - รองผู้ว่าฯ ลำปาง ตรวจติดตามการดำเนินงานป้องกันโรค COVID-19 พื้นที่ กฟผ.แม่เมาะ

เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2564 ที่ จ.ลำปาง นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นำทีมตรวจเยี่ยมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ติดตามการดำเนินงานป้องกันโรค COVID-19 เข้าตรวจประเมินการปฏิบัติตามแผนมาตรการควบคุมโรคของจังหวัดลำปางโดยมีนายอดิศักดิ์  กิจเจริญธนารักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 และนายมาโนช  ชูชาติวรรณกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องมาให้การต้อนรับ พร้อมทั้งบรรยายสรุปให้รายละเอียดข้อมูล ณ ห้องประชุมมุ่งงานเลิศ อาคารประชาสัมพันธ์แม่เมาะ กฟผ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

นายจำลักษ์ กล่าวว่า “จังหวัดลำปาง ได้ประกาศกำหนดให้หน่วยงานสถานประกอบการต่าง ๆ ผู้ที่มีผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ในลักษณะเป็นกลุ่มก้อนโดยเบื้องต้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมทีมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าทำการตรวจเยี่ยมประเมินผลการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ COVID-19 สำหรับสถานประกอบการ(โรงงาน) หรือ Good Factory Practice (GFP) ของ กฟผ.แม่เมาะ ทั้งนี้เนื่องจากภายในสถานประกอบการโรงไฟฟ้ารวมถึงบริเวณพื้นที่เหมืองแม่เมาะ ถือเป็นสถานที่ประกอบการขนาดใหญ่ ที่แต่ละวันจะมีพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งของ กฟผ.แม่เมาะ และของบริษัทคู่สัญญา เข้าไปปฏิบัติหน้าที่อยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ถ้าหากเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ก็อาจเกิดการแพร่กระจายเป็นวงกว้างจนเกิดเป็นคลัสเตอร์ใหม่ของจังหวัดได้ ทั้งยังจะส่งผลต่อภารกิจหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมทั้งประเทศ”

นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า “ในมาตรการปฏิบัตินั้น กฟผ.แม่เมาะ ได้มีการนำมาตรการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ COVID-19 เข้ามาใช้อย่างเข้มข้น ภายใต้แผนปฏิบัติการ ZERO COVID โดยมีเป้าหมายกำหนดให้พื้นที่โรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ ต้องเป็นเขตพื้นที่ปลอดเชื้อ COVID-19 ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าคนไทยต้องมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ทาง กฟผ. แม่เมาะ จึงได้สั่งการให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ต้องกักตัวเองอยู่ภายในบริเวณพื้นที่ Safe Zone ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับในส่วนบุคลากรทั่วไปได้เน้นกำชับให้ทุกหน่วยทุกพื้นที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด

ส่วนในกรณีฉุกเฉินหากปรากฏว่ามีการตรวจพบพนักงานเจ้าหน้าที่ติดเชื้อโควิด-19 ทาง กฟผ.แม่เมาะได้จัดทำพื้นที่ FAI หรือ Factory Accommodation Isolation ไว้จำนวน 2 แห่ง คือ ที่อาคารถิ่นเทเวศร์ ใช้สำหรับเป็นสถานที่พักคอยของผู้ป่วยสีเขียวจำนวน 16 ห้อง และที่อาคารอเนกประสงค์ห้วยคิง ได้ทำการจัดตั้งเป็น รพ.สนาม รองรับผู้ป่วยได้จำนวน 60 เตียง ประกอบกับพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ก็ได้มีการฉีดวัคซีนโควิดไปแล้วเกินกว่าร้อยละ 90 จึงเชื่อมั่นได้ว่าพื้นที่โรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ จะเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสูงสุด และจะไม่เป็นจุดแพร่ระบาดของเชื้อโควิดอย่างแน่นอน


ภาพ/ข่าว  ภาวินันท์ บุตรหล้า รายงาน

‘บลูเทค ซิตี้’ มอบถุงยังชีพ เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19

เมื่อวันที่ (2 ส.ค.64) ที่สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทราทีมงานฝ่าย CSR ของโครงการจัดตั้งนิคมอุสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ มอบถุงยังชีพเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็น อาทิเช่น ปลากระป๋องจำนวน 1,000 กระป๋อง , มาม่า จำนวน 1,020 ซอง , หน้ากากอนามัย จำนวน 500 กล่อง

โดยมี นางจันทรรัตน์ ไตรติลานันท์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือ ผู้เฝ้าระวัง กักตัว 14 วัน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 และกักตนเองที่บ้าน ส่งผลให้ขาดรายได้ในช่วงถูกกักตัว 14 วัน รวมถึงกลุ่มรายได้น้อย และกลุ่มเปราะบาง ที่ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตและผู้ประสบวาตภัยอำเภอราชสาสน์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

กทม.ปรับแผนเปิดศูนย์พักคอย เพื่อช่วยเหลือและรองรับ 'คนพิการ กลุ่มเด็กพิเศษและครอบครัว' ที่ป่วยเป็นโควิด-19

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ณ สถาบันราชานุกูล กทม. "นายสกลธี ภัททิยกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ "สถาบันราชานุกูล" (กรมสุขภาพจิต) เขตดินแดง ตรวจความพร้อมเพื่อจัดเตรียมเป็น "ศูนย์พักคอยสำหรับคนพิการ สติปัญญา / ออทิสติก / จิตใจพฤติกรรม ที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยเปลี่ยนจาก "โรงเรียนพิบูลย์ประชาสรรค์" เขตดินแดง กทม. เป็น "สถาบันราชานุกูล"

เนื่องด้วย "กระทรวงศึกษาธิการ" เล็งเห็นความสำคัญพื้นที่ของ "โรงเรียนพิบูลย์ประชาสรรค์" เพื่อจัดทำ "bubble and seal" ของกระทรวงฯ ประกอบกับสถานที่ของสถาบันประชานุกูลมีความเหมาะสมมากกว่า ซึ่ง กทม.ส่งเจ้าหน้าที่สำนักการโยธา และสำนักงานเขตดินแดงร่วมกันสำรวจ และจัดทำแปลนเป็นที่เรียบร้อย

ทั้งนี้ "นายสกลธี  ภัททิยกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงตรวจงานพร้อมกับ "ผอ.สถาบันราชานุกูล" ได้ข้อสรุปเรียบร้อย และจะเริ่มปรับสภาพแวดล้อมทันที่ โดย"ศูนย์พักคอย"(CI) แห่งนี้จะรองรับผู้ป่วยโควิดที่พิการทางสติปัญญา / ออทิสติก / จิตใจพฤติกรรมและครอบครัวได้กว่า 100 เตียง มีการแบ่งเป็นห้องครอบครัวอย่างเป็นสัดส่วน และได้รับความอนุเคราะห์จาก "สถาบันราชานุกูล" รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยฯ โดยการช่วยเหลือในกรุงเทพ น่าจะแล้วเสร็จไม่เกิน 2 สัปดาห์ นี้

ในการนี้ "นายสกลธี ภัททิยกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โฟสต์แจ้งข่าว และเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธา สามารถร่วมบริจาคข้าวของเครื่องใช้ เครื่องอุปโภคืบริโภค หรือสิ่งของอื่น ๆ ตามอัธภาพ ได้ที่ "สถาบันราชานุกูล" ทุกวัน และอาจจะเปิดบัญชีธนาคารรับบริจาคให้ทาง รพ.ราชานุกูล โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป

สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่พิการทางร่างกายฯ กำลังจะหาพื้นที่เพื่อรองรับเป็นการเฉพาะ ซึ่ง "สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย" และ "กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" กำลังประสานงานร่วมกันหารือเพื่อดำเนินการช่วยเหลือคนพิการ ในเร็ว ๆ นี้


ขอบคุณเนื้อหาจาก Facebook : สกลธี ภัททิยกุล

ชลบุรี - สร้างความมั่นใจ "บางเสร่" ตรวจเชิงรุกหาเชื้อโควิด-19 กลุ่มประมง 78 ราย พบทุกคนปลอดเชื้อ

วันนี้ 2 ส.ค.64 ที่สะพานท่าเทียบเรือกลุ่มประมงบางเสร่ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอสัตหีบ ร่วมกับ เทศบาลตำบลบางเสร่ กลุ่มเกษตกรทำประมงบางเสร่ และฝ่ายปกครองอำเภอสัตหีบ บูรณาการร่วม การตรวจหาเชื้อโควิด-19 (ชุดคิท) ให้กับชาวประมงพื้นบ้านแบบเชิงรุก สกัดกั้นการแพร่ระบาด พื้นที่เศรษฐกิจชุมชน ย่านการค้า การท่องเที่ยว โดยมี นายชัยวัฒน์ อินอนงค์ นายกเทศมนตรี ตำบลบางเสร่ พร้อมคณะผู้บริหาร , นายสำราญ ก้องเสนาะ ประธานกลุ่มเกษตรกรทำประมงบางเสร่ , คุณภาชินี บุญเรือง ผอ. รพ.สต.ตำบลบางเสร่ , นาย วรฤทธิ์ จังบวร กำนันตำบลบางเสร่ , นางสาว วลีพร อินอนงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่4 บางเสร่ ฝ่ายปกครองในพื้นที่ประมงบางเสร่ ร่วมอำนวยความสะดวก ให้กับประชาชนชาวประมง พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์ การป้องกันโควิด-19

นาย ชัยวัฒน์ อินอนงค์ นายกเทศมนตรี ตำบลบางเสร่ กล่าวว่า สำหรับการตรวจแบบเชิงรุก ในพื้นที่กลุ่มประมงบางเสร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ เศรษฐกิจ มีประชากร กลุ่มแรงงานต่างด้าว จำนวนมาก ในวันนี้ทำการตรวจเชิงรุก โดยกลุ่มประมงบางเสร่ ร่วมกับสมาชิก จัดหาชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 (ชุดคิท) เพื่อมาตรวจสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนชาวตำบลบางเสร่ และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งถือว่าพื้นที่นี้ เป็นจุดศูนย์กลาง เส้นทางการค้า การท่องเที่ยว และในสถานการณ์ปกติ ตรงนี้จะเป็นจุดรับนักท่องเที่ยว ประชาชน มีการค้าขาย ตลอดทั้งวัน จึงจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบเชิงรุก และเราจะลงทุกพื้นที่ ในตำบลบางเสร่ เพื่อสแกนหา กลุ่มคนกลุ่มเสี่ยง  เพื่อให้ตำบลบางเสร่เป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ ปลอดโรค ปลอดภัย

 และสำหรับการ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในวันแรก แบบเชิงรุก จากชุดคิท มีผู้เข้ารับการตรวจทั้งสิ้น 78 ราย ในเบื้องต้น ไม่พบเชื้อโควิด-19 ทั้ง 78 ราย แต่ยังคงเน้นย้ำให้ทุกคนดูแลป้องกันตนเอง ในสถานวิกฤตโควิด-19 เชื่อมั่นในบางเสร่บ้านเรา เราจะผ่านและเดินหน้าไปด้วยกัน


ภาพ/ข่าว  นิราช ทิพย์ศรี / นันทพล  ทิพย์ศรี  อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

เชียงราย CAR MOB ขับไล่รัฐบาล รถร่วมขบวนกว่า 200 คัน นำโดยกลุ่ม ‘Chiangrai No เผด็จการ’

เวลา 16.40 น. วันที่ 1 ส.ค. 64 กลุ่ม Chiangrai No เผด็จการ กลุ่มคนเสื้อแดงเชียงราย เยาวชนและประชาชนชาวจังหวัดเชียงรายนำโดย นายสราวุทธิ์ กุลมธุรพจน์ แกนนำกลุ่ม Chiangrai No เผด็จการ ได้พากันมารวมตัวที่บริเวณห้าแยกมังราย ติดกำแพงดิน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดกิจกรรมCAR MOB ขับไล่รัฐบาล พร้อมกับจังหวัดอื่นทั่วประเทศ โดยได้มีมวลชนกว่า 300 คน มีรถยนต์ร่วมขบวนกว่า 100 คันและจักรยานยนต์อีกกว่า150 คัน โดยได้ตั้งขบวนก่อนจะขับรถเคลื่อนขบวนไปตามถนนสายต่าง ๆ ตั้งแต่ห้าแยกมังราย ไปตามถนนพหลโยธินสายนอกมุ่งหน้าไปแยกแม่กรณ์

โดยมีการนำป้ายมาติดที่รถเป็นข้อความวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลรวมไปถึงบีบแตรและแสดงสัญลักษณ์ชูสามนิ้วตลอดเส้นทาง จากนั้นตัดเข้าสู่ถนนพหลโนธินสายในมุ่งสู่ในเมืองเชียงราย ผ่านแยกประตูสลีผ่านหอนาฬิกา โดยมีการจำลองการเก็บศพริมถนน แยกประตูเชียงใหม่ จากนั้นมุ่งหน้าสู่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ซึ่งทางกลุ่มม็อบได้นำขบวนจักรยายนต์แวะเข้าศาลากลางส่งหนังถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย โดยมอบให้เจ้าหน้าที่ประจำศาลากลางจังหวัดเชียงราย โดยอ่านข้อความที่ส่งถึงจังหวัด

โดยมีเนื้อหาเรียกร้องให้จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพและผลการันตีรับรองคุณภาพในป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 มาช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวเชียงรายอย่างเร่งด่วน และเรียกร้องให้ทางจังหวัดอนุญาตให้ร้านอาหารหรือร้านเหล้าสามารถเปิดและจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ เพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ โดยทางจังหวัดได้ส่งผู้แทนมารับมอบหนังสือเพื่อนำไปเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

จากนั้นทางขบวนผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนต่อโดดยอ้อมผ่านถนนนอกเมืองทางชุมชนน้ำลัด ผ่านแยกตลาดบ้านใหม่ จากนั้นมุ่งหน้าสู่ตัวเมืองอีกครั้งทางสะพานขัวพญามังราย ผ่านสถานีตำรวจเมืองเชียงรายและเคลื่อนขบวนไปทำกิจกรรมที่บริเวณสวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ เขตเทศบาลนครเชียงรายเป็นพื้นที่สุดท้าย

โดยที่สวนตุงและโคม เทศบาลนครเชียงราย ได้มีการนำรถมาจอดเพื่อทำการปราศรัย โดยผลัดกันกล่าวถึงการทำงานของรัฐบาล จากนั้นได้มีการนำหุ่น มาทำการประหารตัดคอด้วยเครื่องกิโยติน ก่อนจะนำหุ่นไปใส่โลงศพ แล้วเผา จากนั้นได้มีการแสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว และบีบแตร ก่อนจะแยกย้าย


ภาพ/ข่าว  ณัฐวัตร ลาพิงค์ เชียงราย

ฉะเชิงเทรา - “นายกไก่” กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกอบจ.ฉะเชิงเทรา มอบโรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา

วันที่ 2 ส.ค. 2564 นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา รับมอบโรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา จากนายกิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายมณเฑียร คณาสวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา แพทย์หญิงสมบัติ ชุติมานุกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร หัวหน้าส่วนราชการ และบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมลงพื้นที่ ซึ่งโรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการจัดตั้งโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมนี้ได้ตรวจดูความพร้อมก่อนลำเลียงผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าดูแลรักษา ณ โรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา หมู่ที่ 6 ต.สนามจันทร์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

โดยนายกิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า อบจ.ฉะเชิงเทรา ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้งบประมาณมากกว่า 12 ล้านบาท โดยมีการดำเนินการดำเนินดังนี้

1. พื้นที่อาคารและบริเวณโดยรอบที่ปรับปรุง

2. เตียงสำหรับผู้ป่วยพร้อมเครื่องนอนและอุปกรณ์จำเป็น จำนวน 1,200 ชุด

3. ห้องพักสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 5 ห้อง พร้อมอุปกรณ์

4. ระบบบำบัดน้ำเสีย

5. ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 10 ตู้

6. พัดลมระบายอากาศ จำนวน 14 ตัว

7. เครื่องฟอกอากาศ จำนวน 5 เครื่อง

8. เครื่องผลิตไอน้ำระบายความร้อน จำนวน 3 เครื่อง

9. ระบบไฟฟ้า/แสงสว่าง ภายในและภายนอกอาคาร

10. ระบบประปาสำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์

11. ระบบสื่อสาร แนะนำ ปรึกษาสำหรับผู้ป่วย

12. ห้องสุขา จำนวน 80 ห้อง รถสุขา จำนวน 5 คัน (60 ห้อง)

ทั้งนี้มีจัดตั้งระบบบริการดูแลรักษาพยาบาล ผู้ป่วยที่เข้าข่าย PUI ในกรณีที่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาล ตั้งแต่การคัดกรองผู้ป่วย การให้การวินิจฉัยดูแลรักษาแบบ One Stop Services สามารถรับผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ได้ดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน และให้การดูแลผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ใช้เป็นสถานที่ดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการคงที่และได้รับการส่งตัวมาจากโรงพยาบาลหรือวิกฤตจนดีขึ้นแล้ว

นายกิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเตรียมรองรับผู้ป่วยไว้ 1,200 เตียง และมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเตียงกระดาษมาให้เพิ่มอีก 200 เตียง ซึ่งจะได้จัดเสริมเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อจะได้รองรับผู้ป่วยได้เพิ่มเป็น 1,400 เตียง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top