Wednesday, 14 May 2025
THE STATES TIMES TEAM

กาฬสินธุ์ - เตรียมรับมือมวลน้ำชีเพิ่มระดับสูงขึ้น เข้มป้องกันน้ำท่วม ผู้ว่าฯ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนระบายน้ำวังยาง พร้อมสั่งเฝ้าระวัง รับมวลน้ำจากจ.ชัยภูมิ และขอนแก่น คาดอีก 6 วันถึงพื้นที่!

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ผู้สื่อขาวรายงานว่า จากอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ซึ่งพื้นที่พื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำชี ทำให้พื้นที่หลายจังหวัด ซึ่งอยู่พื้นที่ท้ายน้ำและมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำชีต้องเฝ้าระวัง และเตรียมรับมวลน้ำที่จะไหลมา

ล่าสุดนายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ นายเอกรัตน์ วิสา นายอำเภออำเภอฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำที่เขื่อนระบายน้ำวังยาง ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย  จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับปริมาณน้ำที่จะไหลมา โดยระดับน้ำในลำน้ำชีบริเวณเขื่อนระบายน้ำวังยาง ขณะนี้ประตูระบายน้ำของเขื่อนได้ทำการเปิดบานประตูทั้ง 6 บานในระดับสูงสุด เพื่อระบายน้ำในลำน้ำชี และลดผลกระทบที่จะได้รับจากการที่ลำน้ำชีมีปริมาณสูงขึ้น ซึ่งคาดว่ามวลน้ำจาก จ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น และจ.มหาสารคาม จะเดินทางมาถึงบริเวณเขื่อนระบายน้ำวังยางในอีกประมาณ 6 วันข้างหน้า ทั้งนี้ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ ได้สั่งการให้ในอำเภอที่มีพื้นที่ติดกับลำชีให้แจ้งเตือนประชาชนระมัดระวังและเตรียมรับมือกับปริมาณน้ำที่จะสูงขึ้น

“มูลนิธิอะมีรุลมุอ์มินีน” เพื่อเด็กกำพร้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปิดเคสเป็นทางการเด็กกำพร้า 11 คน ผู้นำจังหวัดและคนในพื้นที่ร่วมเป็นสักขีพยาน

ณ บ้านเลขที่ 75 หมู่ 4 บ้านเจ๊าะตาแม ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา มูลนิธิอะมีรุลมุอ์มินีน เพื่อเด็กกำพร้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย ท่านฟาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา / ท่านระเด่น สะมะแอ รองนายกอบจ.ยะลา / ท่านวิรุต ตรียวง ปลัดอาวุโสอำเภอยะหา / ท่านอาหามะ สะนอ ส.อบจ.ยะลา   / ท่านนิรันดาร์ ชุมประเวศ ผอ. รพสต.บ้านกาตอง / ท่านมาหะมะ แสแลแม สมาคมผู้นำอิสลามชายแดนใต้ / ท่านดร.ฮาฟิส หิเล ประธานมูลนิธิลุกมานูฮากีม / ผู้ใหญ่เลาะ อดิศร สาและ และผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.กาตอง ร่วมประชุมจัดสรรเงินบริจาคเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กกำพร้าในครั้งนี้ 

ทางครอบครัวเด็กกำพร้าได้กล่าวขอบคุณทุกท่านที่ได้ส่งความรัก ความห่วงใย และช่วยเหลือครอบครัวจนได้รับเงินบริจาคกว่า 891,883.17 บาท นับเป็นเงินมหาศาล อีกทั้งยังได้สัญญาว่าจะใช้จ่ายเงินนี้อย่างประหยัด และต่อยอดเพื่ออนาคตของน้อง ๆ อีกหลายชีวิต ครอบครัวนากอหม๊ะ พี่น้องที่มีกว่า 11 คน และหลาน 1 คน กำพร้าทั้งพ่อและแม่ อาศัยในบ้านพุพังของญาติ พี่ ๆ ต้องหยุดเรียนเพื่อหาเงิน เลี้ยงดูน้องตัวเล็ก ๆ ไร้เดียงสาอายุตั้งแต่ 6 ,7 ,10 ขวบ     

นางสาว สุไลดา นากอหม๊ะ พี่สาวคนโต วัย 24 ปี เล่าถึงความลำบากที่ประสบอยู่ ต้องหยุดเรียนเพื่อช่วยเลี้ยงน้อง ๆ อีกทั้งน้องที่ทำงานมีอยู่ 3 คน รับจ้างขนน้ำยางบ้าง ทำงานในโรงงานปลากระป๋องบ้าง และยังมีน้อง 2 คนอายุ 17 และ18 ปี ที่เพิ่งหยุดเรียนเช่นกัน เนื่องจากโรงเรียนอยู่ไกลบ้านมาก ๆ และรถมอเตอร์ไซค์มีแค่ 1 คัน ทั้งพี่ชายจำเป็นต้องใช้รถเพื่อทำงาน และค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่จะรับไหว จึงทำให้ตัดสินใจหยุดพักการเรียนโดยสิ้นเชิง 

สตม. มอบข้าวสารและอาหารแห้ง 650 ชุด ให้แก่ชุมชนแฟลต19-22 คลองเตย ตามโครงการ "ตำรวจห่วงใย ใส่ใจประชาชน"

ตามนโยบายของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19  ให้หน่วยงานในสังกัดช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และยึดมั่นในหน้าที่ “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” อยู่เคียงข้างไม่ทอดทิ้งประชาชน และปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถให้ประชาชนรู้สึกว่าตำรวจสามารถพึ่งพาได้

วันนี้ (28 ก.ย.64) เวลา 10.30 น. พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ รอง ผบช.สตม. มอบหมายให้ ชมรมแม่บ้านตำรวจ สตม. โดย คุณสุขุมาล ชิงดวง ประธานชมรมแม่บ้านตำรวจ สตม. ร่วมกับ พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ ผบก.น.5 และ สน.ท่าเรือ โดย พ.ต.อ.ดนุภัทร ขวัญพสุมนต์ผกก.สน.ท่าเรือ, พ.ต.ท.ประพล มงคลกุล สวป.สน.ท่าเรือ มอบข้าวสารและอาหารแห้งจำนวน  650 ชุด

โดยทั้งหมดได้ร่วมกันมอบสิ่งของดังกล่าวให้แก่ ชุมชมแฟลต19-22 คลองเตย กทม. โดยมีคุณสมพิศ ผอบเพชร ตัวแทนชุมชนมาเป็นผู้รับมอบ ซึ่งจะนำไปแจกจ่ายให้แก่สมาชิกในชุมชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อไป

สานพลัง! ‘พันธมิตรเพื่อจิตอาสา’ ปันน้ำใจห่วงใย ชาวชุมชนบ้านพักรถไฟ กม.11 - ริมบึงพระราม 9 ช่วยอิ่มท้องในยามวิกฤติ

วันที่ 27 กันยายน ที่ชุมชนริมบึงพระราม 9 นายสมชาย จรรยา อุปนายก สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย พร้อมตัวแทนกลุ่มพันธมิตรจิตอาสา มูลนิธิสหชาติ ส่งมอบข้าวอุ่นร้อนพร้อมทาน โครงการ “ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจสู้ภัยโควิด-19” จากเครือบริษัท ซีพี มอบให้ชาวบ้านที่อาศัยภายในชุมชนริมบึงพระราม 9 มีทั้ง ผู้สูงอายุ คนตกงาน แม่บ้าน รวมทั้งอาชีพรักษาความปลอดภัย นอกจากนั้นยังได้แบ่งปันให้กับพนักงานทำความสะอาด กรุงเทพมหานคร และวินจักรยานยนต์รับจ้าง

ส่วนอีกจุด นำไปจ่ายแก่ชาวชุมชนบ้านพักรถไฟ กม.11 เขตจตุจักร ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ผู้มีอาชีพเก็บของเก่า ผู้ที่ขาดรายได้ คนว่างงาน กลุ่มเปราะบาง กลุ่มที่กักตัวดูอาการ และผู้ที่รักษาตัวที่บ้าน

ปทุมธานี - บิ๊กแจ๊สไม่ยอม! ให้ปทุมธานีเป็นแก้มลิง เพื่อรับน้ำป้องกันน้ำท่วมเต็มที่!

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว 24 ชั่วโมง เตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง และลงเรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเก็บของขึ้นที่สูง หลังผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานีเตือนประชาชนให้ระมัดระวังและให้ทุกอำเภอ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ฝนตกหนักหรืออาจเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ จ. ปทุมธานี ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เกษตรกร ที่ประกอบอาชีพประมง เพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริษัทห้างร้าน ที่ประกอบกิจการ ในแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น ร่วมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ประกาศส่งผลให้ระดับน้ำเจ้าพระยาจะสูงขึ้น 30 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เนื่องจากเมื่อวานฝนตกหนักจนถึงวันนี้ก็ยังตกอยู่ ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีได้ออกคำสั่งแล้วว่า ให้แจ้งเตือนพี่น้องชาวปทุมธานีที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ให้เตรียมยกของขึ้นที่สูง วันนี้ได้เอาเรือออกและเตือนพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งให้เตรียมขนของขึ้นที่สูง ซึ่งพี่น้องประชาชนทั้งสองฝั่งเจ้าพระยา เขาใช้ชีวิตปกติอยู่แล้ว ในฤดูน้ำหลากเขาจะมีการเตรียมตัวของเขาอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็ต้องแจ้งเตือน เพราะอาจจะมีหลายคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารทางโซเซียล อาจไม่ทราบข้อมูลข่าวสาร จึงได้จัดเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นการเตรียมการ

โดยให้นายชัยวัฒน์ อินทร์เลิศ ประธานสภาสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี นายสมร แตงอ่อนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ให้ไปดูเขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท เพื่อดูปริมาณน้ำที่แท้จริง ที่ได้ปล่อยน้ำลงมา เพื่อที่จะวางแผนให้พี่น้องประชาชนถูก เพราะจังหวัดปทุมธานีต้องแบ่งออกเป็นสองส่วน 1.พี่น้องที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 2. ประชาชนที่อาศัยอยู่ในช่วงคลองระบายน้ำ รังสิตเหนือและรังสิตใต้ ซึ่งจังหวัดปทุมธานีจะไม่ใช้แกมลิงอีกต่อไป หากคิดว่าจังหวัดปทุมธานีเป็นแกมลิง พี่น้องชาวปทุมธานีที่อยู่หมู่บ้านจัดสรรอีกหลายร้อยหลายพันหมู่บ้านจะต้องเดือดร้อนหากผันน้ำเข้ามาท่วมทุ่งรังสิต 

2 เดือนที่ผ่านมาเราได้เตรียมการไว้แล้ว

1.เอารถดูดโคลนเข้าไปตามหมู่บ้านจัดสรร เพื่อล้างท่อระบายน้ำ ทั้งหมด ซึ่งได้ทำไปเยอะแล้ว

2.ได้นำเรือโป๊ะแบคโฮขุดลอกคลองทุกคลอง คลองส่งน้ำต้องเป็นคลองส่งน้ำ จะมีแต่สิ่งปริกูลมีแต่ขยะเต็มคลองอย่างนั้นไม่ได้ เราไล่ดำเนินการตั้งแต่คลองระพีพัฒน์ไปจนถึงคลองรังสิตประยูศักดิ์ระยะทาง 22 กิโลเมตร ทุกคลองต้องไม่มีผักตบชวาและไม่มีหญ้าขึ้นอีกต่อไป

 

เดินหน้า! “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ปฏิรูปภาคเกษตร “อลงกรณ์” ขับเคลื่อน 16 วาระคานงัด (Transformation Agenda)สร้างจุดเปลี่ยนด้วยเทคโนโลยีหวังพลิกโฉมเกษตรประเทศไทย 77 จังหวัด!!

วันนี้ 27 ก.ย. 64 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมแห่งชาติ (Agritech and Innovation Center : AIC)

พร้อมด้วย นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ประธานอนุกรรมการ ประธานศูนย์ AIC ทั้ง 77 จังหวัด หน่วยงานภาครัฐ หอการค้าและภาคีเครือข่ายเกษตรกร ที่เกี่ยวข้อง กว่า 300 ราย ร่วมกันประชุมหารือขับเคลื่อนคณะกรรมการ ซึ่งในที่ประชุมได้มีประเด็นสำคัญในการติดตามผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ ด้านการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech อนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ อนุกรรมการขับเคลื่อนด้าน E-Commerce อนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness)

การจัดทำแผนเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2564 และ 2565 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือโดยศูนย์ AIC เชียงใหม่ แผนจังหวัดชลบุรี การขับเคลื่อนโครงการตลาดกลางสินค้าเกษตรเพชรบุรีโมเดล การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ การนำเสนองานวิจัยด้านการเกษตรของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ที่เชื่อมโยงสู่ศูนย์ AIC และนำไปใช้ประโยชน์ สรุปผลการดำเนินงานขับเคลื่อนศูนย์ AIC ผลการสำรวจการรวบรวมข้อมูลปุ๋ย ข้าว สมุนไพร และโปรตีนทางเลือก ผลการสำรวจการคัดเลือกนวัตกรรมที่มีศักยภาพและความพร้อมที่จะดำเนินการทางด้านธุรกิจ

ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้เน้นย้ำถึง การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 4 คณะภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ให้เกิดความชัดเจนเชิงโครงสร้างระบบ ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด เน้นการทำงานที่รวดเร็ว และการนำไปใช้ประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ให้แก่ เกษตรกร ภาครัฐ ภาคเอกชน เชื่อมโยงกลไกการขับเคลื่อนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ขยายผลจากโครงการนำร่องสู่แพลตฟอร์มทั่วประเทศ(Pilot 2 Platform)ในการดำเนินงานต่อไป

พร้อมทั้งมอบ แนวทางการขับเคลื่อนฯ ตามยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินการบริการประชาชนและการพัฒนาภาคเกษตรกรรมโดยการใช้เทคโนโลยีตลอดห่วงโซ่อุปทานและมูลค่า(Supply-Value Chain) ตั้งแต่การผลิต การแปรรูปจนถึงการตลาดตาม5ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร

นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังได้มอบหมายการทำงานในปีที่2ของศูนย์ AIC โดยมี 16 วาระสำคัญที่เรียกว่า”วาระคานงัด(Transformation Agenda)สร้างจุดเปลี่ยนมุ่งถ่ายทอด ต่อยอด เชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม เพื่อดำเนินการดังนี้

 1. คุณภาพและมาตรฐานเกษตร GAP GMP Organic Fair Trade

 2. ระบบตรวจสอบย้อนกลับ

 3. ระบบคิวอาร์โค้ดเกษตรกรและฟาร์มQR code Farm & Farmer

 4. ระบบศูนย์ข้อมูลและรัฐบาลเทคโนโลยี(Big Data & GovTech)จังหวัด & กลุ่มจังหวัด บริหาร&บริการ

 5. ตลาดกลางสินค้าเกษตรออนไลน์และออฟไลน์(Online Offline)

 6. โครงการ 1 จังหวัด 1 Startup & SMEเกษตร (อย่างน้อย) > Hachkaton

 7. โครงการ1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร(ศูนย์เกษตรอุตสาหกรรมอาหารครบวงจร)

 8. โครงการเกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่ เฟส 3 ผลไม้

 9. โครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Farming)และโครงการธนาคารสีเขียว(Green Bank)

 10. โครงการชลประทานชุมชน

 11.  3 Zero Zero Kilometer Zero Waste Zero Food

 12. อาหารแห่งอนาคต เกษตรแห่งอนาคต(Future Food Future Crop)เช่นโปรตีนทางเลือกใหม่ สมุนไพร ไข่น้ำ

 13. โครงการวิจัย & พัฒนาในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

 14. แผนเกษตรอัจฉริยะปี 65-70 และแผนงานตามงบประมาณปี 2566

 15. โครงการเครื่องจักรกลเกษตร(Machinelization Policy)แปลงใหญ่

 16. การถ่ายทอด ต่อยอด เชื่อมโยง ร่วมมือ พัฒนา โดยการขับเคลื่อนภายใต้กลไกต่าง ๆ 

 

ตม.ศรีสะเกษ ร่วมกับ กก.สส.บก.ตม.4 และจัดหางานจังหวัด บุกรวบกัมพูชา ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี  เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม.ดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีหมายจับตำรวจสากล หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือเป็นลักษณะการกระทำผิดเข้าข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์ ผบก.ตม.4 , พ.ต.อ.เอกกมนต์ พรชูเกียรติ รอง ผบก.ตม.4 ,พ.ต.อ.วีรยศ การุณยธร รอง ผบก.ตม.4, พ.ต.อ.ปรีชา กองแก้ว รอง ผบก.ตม.4และ พ.ต.อ.อาทิตย์ ซึมดอน ผกก.ตม.จว.ศรีสะเกษ ร่วมแถลงข่าวจับกุมผู้ต้องหา

กก.สส.บก.ตม.4 ร่วมกับ ตม.จว.ศรีสะเกษ จับกุมบุคคลต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา จำนวน  5 ราย กระทำผิดฐาน “เป็นคนต่างด้าว ทำงานโดยไม่มีในอนุญาตทำงาน หรือนอกเหนือจากสิทธิที่จำทำได้ ตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2561 โดยในจำนวนนั้น มีคนต่างด้าวจำนวน 4 ราย กระทำผิดฐาน “เป็นคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด (OVERSTAY)” โดยจับกุมได้บริเวณ ริมถนนสาธารณะหน้าโรงเรียนเทศบาล 6 (โรงเรียนโนนสำนัก) ต.หนองหญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ

สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้มีคำสั่งจัดตั้งชุดปฏิบัติการ ลงพื้นที่ตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวในพื้นที่รับผิดชอบ ต่อมาเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนสืบทราบว่ามีคนต่างด้าวมาเร่ขายไอศกรีมในพื้นที่ อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้บูรณาการร่วมกับจัดหางานจังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยงานข้างเคียง วางแผนเข้าตรวจสอบและจับกุม

ต่อมาพบรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง เป็นรถขายไอศกรีมมีลักษะตรงตามที่ได้สืบทราบมา จึงเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลดังกล่าว จนทราบว่า มีการรวมตัวกันบริเวณใกล้โรงเรียนเทศบาล 6 (โรงเรียนโนนสำนัก) ต.หนองหญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งขณะนั้นพบรถขายไอศกรีมอีกรวม 5 คัน โดยมีบุคคล ไม่ทราบสัญชาติกำลังจัดไอศกรีมและอุปกรณ์เตรียมออกไปเร่ขาย จึงได้แสดงตัวเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ พบเป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา จำนวน 5 คน ทราบชื่อคือ MRS.OEM อายุ 29 ปี, MRS.CHOEURN อายุ 25 ปี,MR.THORN อายุ 34 ปี,MR.KAO อายุ 27 ปี และMR.BORA อายุ 29 ปี จากการตรวจสอบโดยใช้ระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมือง (Biometrics) พบว่า

 1. MR.KAO อายุ 27 ปี หนังสือเดินทางเลขที่ T040xxxx Over Stay จำนวน 532 วัน

 2. MRS.CHOEURN อายุ 25 ปี หนังสือเดินทางเลขที่ T040 xxxx Over Stay จำนวน 532 วัน

 3. MR.THORN อายุ 34 ปี หนังสือเดินทางเลขที่ N0124 xxxx Over Stay จำนวน 335 วัน

 4. MRS.OEM อายุ 29 ปี หนังสือเดินทางเลขที่ T008 xxxx Over Stay จำนวน 335 วัน

 5. MR.BORA อายุ 29 ปี หนังสือเดินทางเลขที่ N0109 xxxx

บก.สส.สตม.ทจับกุมชาวเมียนมา อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูต จัดหางานให้นายจ้างไทย

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิดนั้น

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.สมพงษ์  ชิงดวง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน  ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ  นุชนารถ ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.อาภากร โกมลสุทธิ รอง ผบก.สส.สตม. และ พ.ต.อ.ปฏิญญา จีรชนาสิน ผกก.๒ บก.สส.สตม. ร่วมแถลงข่าวจับกุม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

จับกุม นายแสน วิ มอญ อายุ 36 ปี สัญชาติเมียนมา ตามหมายจับ  ศาลอาญา ที่ 614/2564 ลง 30 มี.ค.2564 ในข้อหา จัดหาให้คนทำงานในประเทศ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน,เป็นคนต่างด้าวทำงานไม่มีใบอนุญาตทำงาน,โฆษณาจัดหางานไม่เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด,นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และฉ้อโกงประชาชน”

สืบเนื่องจาก เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.สส.สตม. สืบสวนถึงกลุ่มขบวนการ ลักลอบขนคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ในขั้นตอนรองรับผู้หลบหนีเข้าเมืองโดย การจัดส่งให้กับนายหน้าในพื้นที่เพื่อกระจายแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้าสู่ระบบแรงงาน  ได้รับแจ้งจากมีผู้เสียหายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ร้องเรียนถึงพฤติกรรมฉ้อโกง ทำเอกสารปลอมและใช้เอกสารปลอม ของชายชาวเมียนมา โดยถูกหลอกลวงจากประกาศทาง FACEBOOK ของนาย SAN โดยอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสถานทูตพม่า ว่าสามารถจัดส่งแรงงานเมียนมาให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการได้ หรือหากผู้ใดที่มีแรงงานอยู่แล้วแต่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นาย SAN ก็จะรับจัดการดูแลเรื่องเอกสารให้กับผู้ประกอบการ โดยจะเรียกเก็บเงินจากผู้ประกอบการในการทำเอกสารคนต่างด้าว รายละ 15,000 บาท จากนั้นก็จะออกเอกสารที่ไม่ถูกต้องให้กับแรงงานต่างด้าว ไปใช้เพื่อแสดงกับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ทำการจับกุมผู้ประกอบการจึงได้รับความเดือดร้อน ถูกดำเนินคดีในข้อหารับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน จึงทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบการและคนต่างด้าว เป็นอย่างมาก จึงมีหนังสือร้องเรียนมายัง กก.2 บก.สส.สตม. ต่อมาได้สืบสวนและติดตามพฤติกรรมของนาย SAN จนสืบทราบว่า บุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรมตามร้องเรียนจริง อยู่ในพื้นที่ จว.สมุทรสาคร โดยเปิดบ้านที่เป็นอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นเป็นสำนักงานรับจัดหางานให้กับแรงงานต่างด้าว เจ้าหน้าที่ฯ จึงได้เข้าทำการตรวจสอบสำนักงาน พบนาย SAN อายุ 36 ปี สัญชาติเมียนมา และถูกจับกุมในข้อหา “เป็นบุคคลต่างด้าวทำงานนอกเหนือสิทธิที่ทำได้” ส่ง พงส.สภ.กระทุ่มแบน

 

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ ห่วงใยประชาชน - ครอบครัวตำรวจ - ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ในหลายจังหวัด พร้อมสำรวจความเสียหายของสถานีตำรวจ บ้านพักราชการ

ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องพายุดีเปรสชั่น ฉบับที่ 1 ลง 23 ก.ย. 64 จะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง เคลื่อนตามแนวร่องมรสุม เข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางในช่วงวันที่ 24-25 ก.ย. 64 ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนที่พักอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจก่อให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมเฉียบพลัน น้ำป่าไหลหลาก อาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างสร้างความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชน

พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล กฤตพิทยบูรณ์ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตระหนักถึงความสำคัญ และมีความห่วงใยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน รวมถึงข้าราชการตำรวจ และครอบครัวของข้าราชการตำรวจ ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยเช่นเดียวกัน โดยกำชับให้ผู้บังคับบัญชาทุกหน่วยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา

 

‘นิพนธ์’ ห่วงประชาชน 3 จชต.เดือดร้อน ลุยติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนบางลาง-เขื่อนปัตตานี เร่งเตรียมการภาคใต้เข้าฤดูมรสุม

ที่เขื่อนบางลาง หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจติดตามการควบคุมระดับน้ำและการระบายน้ำของเขื่อนบางลาง เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดยะลาและพื้นที่ใกล้เคียง

โดยมีรองผวจ.ยะลา  ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 17 หน.สนง.ปภ.ยะลา โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดยะลา นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมรายงานสถานการณ์ในพื้นที่

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำของเขื่อนบางลาง ซึ่งในปีที่แล้วบริเวณนี้ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่มากกว่าปกติ วันนี้จึงลงมาเพื่อเตรียมความพร้อมซึ่งคาดการณ์ว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะเยอะกว่าปีที่แล้ว ซึ่งขณะนี้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมพาดผ่าน ดั้งนั้น พื้นที่ภาคใต้ในช่วงปลายตุลาคม - ธันวาคม จะเข้าสู่ช่วงมรสุม จึงต้องวางแผนเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ก่อนน้ำมา ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ บูรณาการร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประกอบด้วย กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการวางแผนร่วมกันในการรับมวลน้ำที่จะเข้ามาในช่วงฤดูการมรสุม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุดไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิต ซึ่งการเตรียมความพร้อมที่ดีจะเป็นการยับยั้งการสูญเสียและบรรเทาความเสียหายได้

นอกจากนี้ ได้ประสานไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองให้เร่งรัดจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างคันเขื่อนอีกฝั่ง(ชุมชนหมู่ที่2)ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากปีมาณน้ำจากต้นปีนี้มีการเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยสร้างความเสียหายให้แก่พี่น้องประชาชนอีกด้วย

ทั้งนี้ จังหวัดยะลามีเขื่อนบางลางที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ให้เน้นย้ำหลักคิด"สร้างที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้น้ำไหล" ถ้าทำควบคู่กันก็จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอย่างเป็นระบบและยั่งยืน  การสร้างที่ให้น้ำอยู่ ที่มาของน้ำหลัก ๆคือน้ำฝนในช่วงมรสุมหรือเข้าสู่ฤดูฝนต้องกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด พร้อมจัดทำทางให้น้ำไหล เพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ ลงสู่ทะเล อย่าให้กระทบต่อประชาชน บริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร มุ่งคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการวางแผนป้องกันน้ำหลากน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงนี้อย่างเคร่งครัด  รวมทั้งเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือและกำลังคนที่พร้อมจะเข้าไปให้การช่วยเหลือบรรเทาภัยอย่างเต็มศักยภาพ ส่วนสถานการณ์น้ำในเขื่อนบางลาง (ข้อมูลวันที่ 25 ก.ย. 64) มีปริมาตรน้ำอ่าง 5,341 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุที่ระดับเก็บกัก

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top