Wednesday, 7 May 2025
THE STATES TIMES TEAM

ชลบุรี - ทีมสัตว์แพทย์เคลื่อนย้าย 'พลายขุนแผน' แห่งปางช้างสยาม กระทิงลาย จากพัทยากลับบ้านเกิดจังหวัดสุรินทร์ เผยอาการยังทรงพร้อมเดินทางไกล

โรงพยาบาลสัตว์เนินพลับหวาน เมืองพัทยา โดย นายสัตวแพทย์ เผด็จ ศิริดำรง จะเข้าช่วยเหลือด้วยการให้นำเกลือและยารักษา นโยเบื้องต้นพบว่าสาเหตุมาจากช้างพลายขุนแผนเคยเป็นโรคเบาหวาน จึงส่งผลกระทบให้เกิดภาวะเลือกเป็นกรดจากคีโตน เพราะอินซูลินในร่างกายเกิดความบกพร่องทำให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้นั้น

ล่าสุด ในวันที่ 14 ต.ค.64 นายสัตวแพทย์ เผด็จ ศิริดำรง นายสัตวแพทย์ โรงพยาบาลสัตว์เนินพลับหวาน เมืองพัทยา เปิดเผยว่า ช่วงค่ำที่ผ่านมาได้ทำการเคลื่อนย้ายพลายขุนแผนขึ้นรถบรรทุก รถกู้ภัยช่วยช้าง เพื่อเดินทางไปยังจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพลายขุนแผน เพื่อนำส่งสถาบันสุขภาพช้างแห่งประเทศไทย เพื่อทำการรักษาจนแข็งแรงก่อนส่งกลับบ้าน

ปทุมธานี - “บิ๊กแจ๊ส” นายก อบจ.ปทุมฯ ลงสั่งการรถดับเพลิง เข้าช่วยดับเพลิงไฟไหม้ ร้านขายต้นไม้ดอกไม้ประดับวอดทั้งหลัง

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 เวลา 12.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองปทุมธานี ได้รับแจ้งมีเหตุไฟไหม้บ้านเรือนประชาชนบริเวณริมถนนปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว (ติดกับการประปาส่วนภูมิภาคสาขาปทุมธานี) ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี จึงประสานรถดับเพลิงจาก ทม.ปทุมธานีและ อบจ.ปทุมธานี จำนวน 2 คัน ก่อนรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุร่วมกับ อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งในที่เกิดเหตุ พบว่าเพลิงกำลังโหมลุกไหม้บ้านเลขที่ 1 ซึ่งเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง ซึ่งปลูกอยู่หลังร้านขายต้นไม้ดอกไม้ประดับ โดยเปลวเพลิงได้ไหม้ลุกลามอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีลมแรง เจ้าหน้าที่ดับเพลิง จึงได้พยายามเร่งระดมฉีดน้ำโดยมี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี และ พล.ต.ต.พงษ์สวัสดิ์ หาญสวัสดิ์ นายก ทม.ปทุมธานีเดินทางมาสั่งการในการดับเพลิงด้วยตัวเอง ซึ่งใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็สามารถดับไฟได้ทั้งหมดแต่บ้านก็ถูกไฟไหม้เสียหายหมดทั้งหลัง แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการสอบถามนายวิรัตน์ ลายลักษณ์ อายุ 64 ปี เจ้าของบ้าน อดีต จนท.เวรเปล รพ.ปทุมธานี ซึ่งมีโรคประจำตัวและนั่งเหม่อมองไฟไหม้บ้านตัวเองจนวอดหมดทั้งหลังต่อหน้าต่อตา

โดยมีญาติ ๆ และเพื่อนบ้านต่างมาคอยปลอบให้กำลังใจไม่ให้คิดมาก โดยกล่าวว่า บ้านหลังดังกล่าวตนจะอยู่กับภรรยา อายุ 62 ปี และหลานสาว แต่ช่วงก่อนเกิดเหตุทุกคนมานั่งขายต้นไม้ ดอกไม้ประดับที่หน้าร้าน ส่วนตนกำลังเก็บกวาดหน้าร้าน จู่ ๆ ก็เห็นว่ามีเปลวไฟลุกไหม้มาจากทางหลังบ้านและช่วงเวลานั้นมีลมแรงทำให้ไฟลุกลามมาทางหน้าบ้านอย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกคนไม่สามารถเข้าไปขนข้าวของและทรัพย์ออกมาได้เลยแม้แต่ชิ้นเดียว แม้จะมีรถดับเพลิงจากทั้ง 2 หน่วยงานมาช่วยดับอย่างรวดเร็วแต่ก็ไม่ทัน สำหรับทรัพย์ที่ไหม้ไปกับกองเพลิงนอกจากจะเป็นข้าวของเครื่องใช้แล้ว ยังมีเงินสดร่วม 5 หมื่นและทองรูปพรรณอีกจำนวนหนึ่ง ตอนนี้ทุกคนก็เหลือแต่เพียงเสือผ้าที่สวมใส่ในวันนี้เท่านั้น

 

“เฉลิมชัย” ปธ.ฟรุ้ทบอร์ด ปฏิรูปผลไม้ครั้งใหญ่!! วาง 3 กระทรวง ‘เกษตร-อุตสาหกรรม-พาณิชย์’ เห็นชอบงบประมาณปี 65 ตั้งทีมขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการมหานครผลไม้และสนามบินจันทบุรี มอบ”อลงกรณ์”เป็นปธ.

วันนี้ (14 ต.ค. 64) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (หรุ้ทบอร์ด)ครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) Application ZOOM Cloud Meetings พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัด กษ. นายประยูร อินสกุล รองปลัด กษ. ดร.สมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร  นายอนันต์ แก้วกำเนิด รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนผู้ประกอบการ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนผลไม้ และนายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกันหารือประชุมขับเคลื่อนโดยมีประเด็นผลการดำเนินงานการบริหารจัดการผลไม้ในรอบฤดูกาลผลิตที่ 2/2564 ทั่วประเทศ

ผลการจัดประชุมกลุ่มย่อย Focus group เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ มาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 โดย กระทรวงพาณิชย์ และร่วมกันพิจารณาโครงการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 ที่เสนอโดยสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” และนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ต่อไป

การบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 ของภาคเหนือ (ลำไย) และภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ในภาพรวมสอดคล้องกับแนวทางบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 - 2566 โดยจังหวัดสามารถบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง โดยผ่านกลไกของคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2558 - 2564 และในเชิงปริมาณที่เน้นการจัดสมดุลอุปสงค์และอุปทาน โดยผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปริมาณ 671,308 ตัน และผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปริมาณ 785,459 ตัน มีการกระจายผลผลิตผ่านกลไกตลาดปกติ โดย คพจ. และเกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตในราคาไม่ต่ำกว่าราคาต้นทุนการผลิต และราคาเฉลี่ยของผลผลิตตลอดฤดูกาลสูงกว่าราคาต้นทุนการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ได้กระทบต่อแผนการบริหารจัดการผลไม้ทำให้ทั้งการส่งออก การแปรรูป และการกระจายในประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน นั้น ได้มีการจัด Focus group วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ โดยร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกตถึง “ปัญหาและอุปสรรค” (Pain Point) ใน ประเด็นโครงสร้าง ระบบ และการบริหารจัดการ Fruit Board ประเด็นกลไกการทำงานในภาวะวิกฤต ประเด็นแผนงาน โครงการ และงบประมาณ รวมไปถึงแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มและแบรนดิ้ง (Branding) ผลไม้ การพัฒนากลไกการค้าผลไม้และการตลาดเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ การบริหารจัดการล้ง การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคตะวันออก-ใต้-ใต้ชายแดน การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคเหนือ การจัดการปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้รายสินค้า (ทุเรียน, ลำไย, มังคุด, เงาะ, ลองกอง และมะม่วง) โดยข้อมูลดังกล่าวได้ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รับทราบและพิจารณาใช้ประโยชน์ และนำมาวางแผนเพื่อรับมือวิกฤติการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ในอนาคต คณะกรรมการฯ รับทราบคำสั่งของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานฟรุ้ทบอร์ดในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ครอบคลุมทั้งระบบ ประกอบด้วย

1. คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้

 1) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลิต

 2) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า

 3) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการตลาด

 4) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 5) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคอื่นๆ

2. คณะทำงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้

 1) คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์

 2) คณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลำไย

 3) คณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าทุเรียน

 4) คณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ

ในด้านการรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นประกอบกับภาพรวมผลไม้ไทยจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3,500,000 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 8% โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนด 17 มาตรการรองรับผลไม้ ปี 2565 ล่วงหน้า 6 เดือน ประกอบด้วย

1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง

2.มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน

3.มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3 และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน

4. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตร สนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฏหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน

5.มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ประสานงานกับสายการบินต่าง ๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2565 เป็นต้นไป

6.มาตรการช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรงโดยสนับสนุนกล่องมากขึ้นกว่าปี 2564 ที่สนับสนุน 200,000 กล่อง ปี 2565 จะสนับสนุนถึง 300,000 กล่อง

7.ในช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยปี 2557 จะสนับสนุนที่15,000 ตัน

 8.ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันต่าง ๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกรโดยเพิ่มปริมาณจากปี 2564 ที่ช่วย 1,500 ตัน ปี 2565 จะเพิ่มเป็น 5,000 ตัน

 9.จะทำเซลล์โปรโมชั่นในการส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศซึ่งใช้ชื่อโครงการ Thai Fruits Golden Months ดำเนินการในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ 12 เมือง เช่นเดียวกับปี 2564 ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลดีมาก

 10.จะจัดการเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า OBM มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดียและรัสเซียเป็นต้น

กาฬสินธุ์ - กลุ่มแม่บ้านผลิตร่มผ้าขาวม้า ‘ผ้าแพรวางานแฮนด์เมด’ สร้างรายได้เดือนละแสน

กศน.ตำบลแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับกลุ่มแม่บ้าน นักเรียน กศน.แปรรูปผ้าขาวม้าเป็น “ร่มผ้าขาวม้า และร่มผ้าแพรวากาฬสินธุ์” ผลิตภัณฑ์ร่มกันฝน กันแดด สุดยอดไอเดียงานแฮนด์เมดขายดี พร้อมพัฒนายกระดับสู่สินค้าพรีเมี่ยม สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ยั่งยืน รายได้เข้ากลุ่มเดือนละ 1 แสนบาท ล่าสุดได้รับรางวัล Onie Brand กศน.จากกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 ที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ต.แจนแลน อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ นางพานธิวา ผิวอุดม ครูผู้ช่วย กศน.อ.กุฉินารายณ์ นางดรุณี โกมาร  ครู กศน.ต.แจนแลน และบุคลากร เจ้าหน้าที่ จัดอบรมกลุ่มแม่บ้าน และสาธิตในการแปรรูปผ้าขาวม้าและผ้าลายแพรวา เป็น “ร่มผ้าขาวม้า และร่มผ้าแพรวากาฬสินธุ์” สำหรับกันแดด กันฝน โดยมีนางเกสร เพิ่มขึ้น ประธานกลุ่มร่มผ้าขาวม้าแจนแลน และสมาชิกกลุ่มทั้งผู้สูงอายุ วัยทำงาน เยาวชน ร่วมเข้ารับการอบรม โดยทุกคนที่เข้าร่วมอบรม ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

นางพานธิวา ผิวอุดม ครูผู้ช่วย กศน.อ.กุฉินารายณ์ กล่าวว่า ภารกิจของ กศน.ที่นอกจากจะให้ความรู้ทางวิชาการแก่นักเรียน กศน. ที่ต้องการความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงในชีวิตแล้ว  สิ่งที่ดำเนินการภารกิจควบคู่กัน คือการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะการส่งเสริมอาชีพที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน อย่างเช่น การอบรมกลุ่มแม่บ้านและนักเรียน กศน.แปรรูปผ้าขาวม้าเป็นร่มกันฝนกันแดด โดยใช้ผ้าขาวม้าที่ทอจากผ้าฝ้าย ผ้าไหม และฝ้ายประดิษฐ์ มาตัดเย็บ ให้เข้ารูปกับร่มสำเร็จรูป ที่ซื้อจากท้องตลาดทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มมูลค่า และเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค เป็นผลิตภัณฑ์ร่ม ภายใต้ชื่อ “ร่มผ้าขาวม้า ร่มผ้าแพรวากาฬสินธุ์” โดยดำเนินการมาประมาณ 1 ปี ได้รับการตอบรับดีมาก

นางพานธิวากล่าวอีกว่า จากผลตอบรับทั้งในส่วนของแม่บ้าน นักเรียน กศน.ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ แก้ไขปัญหาการว่างงาน โดยเฉพาะในช่วงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์ร่มผ้าขาวม้าและร่มผ้าแพรวากาฬสินธุ์ เดิมจำหน่ายในชุมชน ต่อมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จึงเปิดช่องทางขายออนไลน์ อย่างไรก็ตาม จากการส่งเสริมของ กศน.กุฉินารายณ์และกศน.ต.แจนแลน ที่สร้างงาน สร้างอาชีพดังกล่าว ล่าสุด ผลิตภัณฑ์ร่มผ้าขาวม้าและผ้าแพรวา งานแฮนด์เมดของแม่บ้าน และนักเรียน กศน. ได้รับรางวัล Onie Brand กศน.จากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นการการันตีคุณภาพและเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ที่สร้างอาชีพ รายได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยในอนาคตจะมีการพัฒนายกระดับสู่สินค้าพรีเมี่ยมต่อไป

สุรินทร์ - ‘มทบ.25 ร่วมกิจกรรมจิตอาสา’ พัฒนาปรับภูมิทัศน์ - ทำความสะอาดลำน้ำ เนื่องในโอกาสวันคล้ายสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พลตรีสาธิต เกิดโภค ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 มอบหมายให้ พันเอก สุดใจ แพงพรมมา หัวหน้าฝ่ายสรรพกำลัง มณฑลทหารบกที่ 25 เป็นผู้แทนผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 นำกำลังพลจิตอาสา มณฑลทหารบกที่ 25 รวมจำนวน 25 คน ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ทำความสะอาดลำน้ำ คู คลอง ณ ฝายโคกเพชร ตำบลตระแสง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

สระบุรี - ‘รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง’ ตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์อุทกภัย และมอบถุงยังชีพในพื้นที่จังหวัดสระบุรี

วันที่ 14 ตุลาคม 2564 ที่วัดสมุหประดิษฐาราม ตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี นายพลพีร์ สุวรรณฉวี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และนายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์อุทกภัยและมอบถุงยังชีพแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัยและนำสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค มามอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในเขตอำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ โดยมีนายพลวรรธณ์ เทียนชัยมงคล ปลัดจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ และประชาชนชาวจังหวัดสระบุรี ต้อนรับ

สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ในห้วงที่ผ่านมาประเทศไทย มีฝนตกชุกหนาแน่น จากเหตุการณ์ พายุดีเปรสชั่น "เตี้ยนหมู่" เมื่อวันที่ 25 - 26 กันยายน2564 ทำให้เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ประกอบกับผลกระทบจากการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักฯ สูงสุดเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำลันตลิ่งท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ และมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 13 อำเภอ มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน จำนวน 52ตำบล 263 หมู่บ้าน 15 ชุมชน 8,027ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ได้รับความเสียหายจำนวน 39,003ไร่ และด้านประมง จำนวน 422 ไร่ 67 ตารางวา ซึ่งอยู่ในช่วงการช่วยเหลือเยียวยา

 

กรุงเทพฯ - “นิพนธ์” ร่วมวางพวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9 พร้อมร่วมทอดผ้าป่าทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 13 ตุลาคม 2564 ที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2564 โดยมี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  พร้อมด้วย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เข้าร่วมพิธี

โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้ร่วมพิธีถวายความเคารพหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรแล้ว วางพวงมาลาหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากนั้น ร่วมยืนสงบนิ่ง เป็นเวลา 89 วินาที เพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันหาที่สุดมิได้ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า

 

พิจิตร - “สส.ภูดิท อินสุวรรณ์” พลังประชารัฐ พิจิตร เขต 2 ลงพื้นที่เข้ามอบถุงปันน้ำใจให้กับพี่น้องที่ประสบภัยทั้ง 5 ตำบลของอำเภอดงเจริญ

สืบเนื่องจากสส.ภูดิทฯได้ลงพื้นที่สำรวจบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย จากภัยน้ำท่วมใหญ่ในเขตพื้นที่อำเภอดงเจริญที่ผ่านมา รวมทั้งจังหวัดพิจิตรได้ประกาศให้อำเภอดงเจริญเป็นพื้นที่ประสบสาธารณภัยภุกเฉิน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น สส.ภูดิท อินสุวรรณ์ พร้อมทีมงานได้ เข้าช่วยเหลือมอบถุงปันน้ำใจ จำนวน 1,575 ชุด เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พี่น้องประชาชนที่ประสบภัยในครั้งนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากพล.ต.ต.กำธร จันที ผบก.ภ.จว พิจิตรมอบหมายให้พ.ต.อ.ฐิติภัทร อินทรรักษ์ ผกก.สภ.ทับคล้อและพ.ต.อ.นิเวศน์ เพชรดี ผกก.สภ.ดงเจริญ สนับสนุนการขนส่ง ร่วมกับ สมาคมกู้ภัยสรรเพชญ ในการเข้าช่วยเหลือมอบถุงปันน้ำใจ ตามจุดต่าง ๆ ทั้ง 5 ตำบลของอำเภอดงเจริญ ดังนี้

จุดที่ 1 ตำบลวังงิ้ว                 442 ชุด

จุดที่ 2 ตำบลวังงิ้วใต้             314 ชุด

จุดที่ 3 ตำบลห้วยพุก             304 ชุด

จุดที่ 4 ตำบลห้วยร่วม            330 ชุด

จุดที่ 5 ตำบลสำนักขุนเณร     185 ชุด

 

ประจวบคีรีขันธ์ - “หัวหิน” ผู้ว่าฯ ประกาศปิดตลาด บิ๊กคลีนนิ่งตลาดฉัตร์ไชย รอลุ้นเปิดให้บริการ

เมื่อวันที่ 13 ต.ค. นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฯผ่านระบบซูม โดยมีการรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของ จ.ประจวบฯ ประจำวันที่ 12 ต.ค.พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่จำนวน 47 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดผู้ป่วยสะสม 10,888 คน อยู่ระหว่างการรักษา 1,240 คน ใส่เครื่องช่วยหายใจ 5 คน มีคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือคลัสเตอร์ตลาดฉัตร์ไชย เขตเทศบาลเมืองหัวหิน พบผู้ป่วยสะสม 47 คน เป็นผู้ค้า 24 คน ที่เหลือเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน มีจุดเริ่มต้นจากแรงงานต่างด้าวติดเชื้อที่จำหน่ายน้ำแข็งอยู่ในตลาดจากนั้นแพร่เชื้อไปสู่ผู้ค้าแผงขายปลา แผงขายน้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร

เบื้องต้นเทศบาลเมืองหัวหินได้ประกาศให้ปิดตลาดฉัตร์ไชยชั่วคราวเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-13 ต.ค.64 เพื่อระดมทำความสะอาดฆ่าเชื้อในตลาด พร้อมเร่งตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR กลุ่มผู้ค้าในตลาดซึ่งมีจำนวนประมาณ 340 ราย และตรวจหาเชื้อกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพื่อผู้นำตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและกักตัวกลุ่มเสี่ยงเป็นเวลา 14 วัน หลังจากนั้นคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฯจะมีการพิจารณาสถานการณ์อีกครั้ง โดยในวันพรุ่งนี้ทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะลงพื้นที่เพื่อสำรวจประเมินมาตรการความปลอดภัยในตลาดก่อนอนุญาตให้เปิดการค้าขายได้อีกครั้ง

ขณะที่นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน พร้อมด้วย นายมนตรี ชูภู่ รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล ปลัดเทศบาล ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นำเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พร้อมรถบรรทุกน้ำ-น้ำยาฆ่าเชื้อดำเนินการฉีดล้างตลาดฉัตร์ไชย เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดและประชาชนที่มาใช้บริการในพื้นที่ พร้อมเน้นย้ำการปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า จมูก ตา ปาก และการเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่และรับเชื้อโรค

ปทุมธานี - น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม 2564

ณ อาคารศาลารักษ์ปทุม ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ จ.ปทุมธานี เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม 2564 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

โดยมี นายปรีชา พรหมเพชร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดปทุมธานี นางจินจณา โอสถธนากร นายกเหล่ากาชาด จ.ปทุมธานี นายจรูญศักดิ์ สิงหเดช รองผู้ว่าฯ จ.ปทุมธานี นายพงศธร กาญจนะจิตรา รอง ผู้ว่าฯ จ.ปทุมธานี นายดรณ์ สมิตะเกษตริน ปลัดจังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี พล.ต.ต.ชุมพล ชาญชนะโยธิน ผบก.ภ.จว.ปทุมธานี นายพิษณุ ประภาธนานันท์ นอภ.เมืองปทุมธานี นางสาวธนียา นัยพินิจ หน.สนง.จ.ปทุมธานีและ หน.ส่วนราชการ ร่วมพิธีฯ

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top