Saturday, 5 July 2025
Hard News Team

ครม.เตรียมเคาะมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ 1.4 แสนล้าน

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบ Video Conference วันที่ 1 มิถุนายน 2564 มีวาระน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเศรษฐกิจเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา โดยกระทรวงการคลังเสนอมาตรการเพื่อดูแลประชาชนจากผลกระทบของโควิด-19 ระยะที่ 2 รวมทั้งหมด 4 มาตรการ ภายใต้กรอบวงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท โดยจะเริ่มใช้ในเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2564 ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ยอมรับก่อนหน้านี้ว่า ด้วยมาตรการทั้งหมด จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยปีนี้ให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 1.5-2.5%

สำหรับมาตรการทั้ง 4 ประกอบด้วย

1.) มาตรการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 วงเงิน 9.3 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 31 ล้านคน ให้สิทธิ์ใช้จ่ายไม่เกิน 150 บาท วงเงิน 3,000 บาทต่อคน 

2.) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โดยโครงการนี้รัฐบาลคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ 4 ล้านคน (จากกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อประมาณ 6 ล้านคน) โดยภาครัฐจะสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voucher) สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยผู้เข้าโครงการจะได้รับการสนับสนุน E-Voucher จากภาครัฐในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. 2564 เพื่อไปใช้จ่ายในเดือน ส.ค.-ธ.ค.2564 โดยใช้เงินในโครงการนี้ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท 

3.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ธ.ค.2564 ครอบคลุมประชาชนประมาณ 13.6 ล้านคน โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน วงเงินประมาณ 1.64 หมื่นล้านบาท 

4.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ รวมทั้งกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุด้วย จำนวน 2.5 ล้านคน เดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน วงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท 

“เสี่ยแฮ้งค์” ยัน พปชร. ไม่ถูกโดดเดี่ยว 

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนาสยกฯ ในฐานะเลขจาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้สัมภาษณ์ กรณีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่พรรคร่วมรัฐบาลทั้งประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย อภิปนายโจมตีการจัดทำงบประมาณเหมือนพรรคพลังประชารัฐถูกโดดเดี่ยวหรือไม่ว่า ไม่มีอะไรหรอกก็ธรรมดา พรรคร่วมรัฐบาลยังเหนียวแน่นอยู่แล้ว ส่วนการอภิปรายนั้นมองว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้ถล่มก็พูดกันถึงเรื่องที่ต้องทำร่วมกันไม่มีอะไรขัดแย้ง เมื่อถามย้ำกรณี นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อภิปรายบอกหัวหน้าพรรคถ้าเขาไม่รักกลับบ้านดีกว่า นายอนุชา หัวเราะ แต่ไม่ตอบคำถามก่อนโบกมือให้สื่อ

"วิษณุ" ยืนยันไม่วาระขยายสัมปทานสายสีเขียวเข้าครม.วันนี้​ แจง​ ปมอปท.ซื้อวัคซีนเอง​ ต้องให้ศบค.เคาะ เผย รัฐบาลส่งพรก.กู้5แสนล้านให้สภาแล้ว รอสภาบรรจุวันอภิปราย

ที่ทำเนียบรัฐบาล​ นายวิษณุ​ เครืองาม​ รองนายกรัฐมนตรี​ ให้สัมภาษณ์​ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี​ (ครม.)​ ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าในที่ประชุมครม. วันนี้จะมีการพิจารณาวาระการขอขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า เรื่องดังกล่าวไม่มีการบรรจุในวาระครม. ตั้งแต่แรก

เมื่อถามว่า​ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเข้าเป็นวาระจร นายวิษณุ​ กล่าวว่า​ เป็นไปไม่ได้​ ถ้าจะเข้าต้องเข้าเป็นวาระปกติ เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และมีทางออกแล้วหรือไม่​ นายวิษณุ​ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ต้องไปถามเจ้าของเรื่อง และไม่มีรายงานมาถึงตนแต่อย่างใด

เมื่อถามถึงความชัดเจนถึงกรณีที่รัฐบาลส่ง​ พ.ร.ก. กู้เงิน​ 5​ แสนล้านบาทไปให้สภาพิจารณา​ จะเข้าสู่การพิจารณาเมื่อใด นายวิษณุกล่าวว่า ตนไม่ทราบ​ แต่ได้ส่งให้สภาไปแล้ว คงต้องแล้วแต่ทางสภาเป็นผู้บรรจุวาระ

เมื่อถามถึงกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น​ (อปท.) ​หลายแห่งแสดงความประสงค์ต้องการจัดซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม​ ที่ขณะนี้ยังสับสนกันอยู่ว่าทำได้หรือไม่ นายวิษณุ​ กล่าวว่า ไม่สับสนแล้ว​ ให้ไปถามกระทรวงมหาดไทย เมื่อถามย้ำว่า​ คำตอบจากกระทรวงมหาดไทยยิ่งทำให้สับสน นายวิษณุ​ กล่าวว่า​ ก็รอศบค.​ เพราะสุดท้ายกระทรวงมหาดไทยก็ต้องถามศบค.

ดรุณวรรณ รองโฆษก ปชป. แนะ “รัฐ” คุยกันให้จบก่อนสื่อสาร หยุดสร้างความสับสน

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่าจากกรณีที่เมื่อวานนี้ (31 พฤษภาคม 2564) คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครได้มีประกาศครั้งที่ 15/2564 มีมติให้ผ่อนปรนมาตรการสำหรับสถานประกอบการ 5 ประเภท มีผลวันที่ 1 มิ.ย. เป็นต้นไป ในส่วนของสถานประกอบการบางประเภทไม่พบคลัสเตอร์การระบาดแต่อย่างใด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของภาคธุรกิจ และให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้ ภายใต้มาตรการของรัฐที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในช่วงเย็นของเมื่อวานนี้

แต่ในช่วงค่ำของวันเดียวกัน ศบค. ได้ออกมาประกาศให้ใช้ประกาศกรุงเทพมหานครขยายการปิดกิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงทั้งหมด ตามประกาศฉบับที่ 29 ออกไปอีก 14 วัน ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.64 เป็นต้นไป จากกรณีดังกล่าวได้สร้างความสับสนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการตรวจสอบและพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นการให้ข่าวในประเด็นเดียวกันแต่สื่อสารกันคนละเรื่อง 

นางดรุณวรรณ กล่าวต่อด้วยว่า ทุกวันนี้วิกฤตสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมก็มากพออยู่แล้ว จึงไม่ควรทำให้เกิดวิกฤตการสื่อสารขึ้นมาอีก โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่การสื่อสารของภาครัฐในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกัน พูดเรื่องเดียวกัน แต่ไปคนละทิศคนละทาง สร้างความสับสนให้ประชาชน และส่งผลต่อการดำเนินชีวิต รวมถึงการวางแผนในการประกอบธุรกิจด้วยเช่นกัน เพราะบางธุรกิจต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งคนและของ การให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกันยิ่งเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการหลายคนที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่แล้วจากสถานการณ์โควิด-19

การสื่อสารในภาะวิกฤต ด้วยการใช้ Single Message คือใช้ข้อความชุดเดียวกันในการแจ้งข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ในกรณที่ต้องสื่อสารหลายหน่วยงานร่วมกัน ในประเด็นเดียวกัน เพื่อให้สื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน

“อยากให้ผู้เกี่ยวข้อง คุยกันมากขึ้น สื่อสารกันภายในมากขึ้น ก่อนสื่อสารออกมายังสาธารณะ เพราะการสื่อสารบางประเด็นส่งผลกระทบต่อคนในวงกว้าง ต้องพิจารณาและทบทวนให้ดีก่อนสื่อสาร โดยเฉพาะในยุคโซเชียลมีเดียที่สามารถเผยแพร่ออกไปได้รวดเร็ว การรีบสื่อสารในขณะที่ข้อมูลยังไม่ชัดเจน เพียงต้องการให้ได้พื้นทื่สื่อ แต่ไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะตามมา”

นางดรุณวรรณ กล่าวเสริมในตอนท้ายด้วยว่า ในฐานะที่ตนเองเป็นนักสื่อสาร การออกมานำเสนอความเห็นในครั้งนี้ ไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างอื่น ส่วนตัวเอาใจช่วยทุกฝ่ายมาโดยตลอด และเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังทำงานอย่างหนัก ซึ่งก็มีโอกาสที่จะพบกับความผิดพลาดได้บ้าง แต่ไม่ควรเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งที่สามารถบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพได้

กระทรวงอุตสาหกรรม ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ฝ่าวิกฤต COVID-19 ระลอกใหม่ ผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยการพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด ไม่เกิน 6 เดือนและไม่เกินสิ้นปี 2564 ผ่าน SME D BANK เริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2564

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนา เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ ได้เข้ามาซ้ำเติมผลกระทบ จากสถานการณ์ในรอบแรกที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SME) ส่วนใหญ่ของประเทศ ยังไม่สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ ให้กลับสู่ภาวะปกติได้ และสร้างความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ กระทรวงอุตสาหกรรม เล็งเห็นถึงสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปแล้ว 2 ครั้งด้วยการพักชำระหนี้ และให้บริการความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีในเรื่องการตลาด การเงิน และระบบบัญชี ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมในโครงการดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 3,300 ราย

แต่เนื่องจากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้ให้มีสภาพคล่อง และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงภาววะวิกฤต รวมทั้งยังเป็นการลดแนวโน้มการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จึงมีมติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (Non NPL) หรือไม่อยู่ในระหว่างที่ถูกกองทุนดำเนินคดี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้สามารถยื่นความประสงค์ขอพักชำระหนี้เงินต้นกับทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) โดยสามารถพักชำระหนี้ได้สูงสุด ไม่เกิน 6 เดือน และไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2564

“จากภาระที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทางกองทุนฯ มองเห็นความพยายามช่วยเหลือตัวเองอย่างสุดกำลังของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาโดยตลอด จึงต้องการเป็นอีกพลังช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีสามารถก้าวผ่านวิกฤตไปได้อีกครั้ง โดยออกมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 3 นี้ เป็นมาตรการต่อเนื่องจากการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้า ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายเล็กที่ประสบปัญหาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และคาดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงานได้ไปจนถึงสิ้นปีนี้” นายกอบชัยฯ กล่าว

ทั้งนี้ ลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้น พร้อมขอรับการส่งเสริมพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การตลาด การผลิต การเงินและบัญชี ได้ที่ SME D BANK ทุกสาขาทั่วประเทศในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ได้ตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร 1357


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2564 มีระดับอยู่ที่ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2564 มีระดับอยู่ที่ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจของโลกมีแนวโน้มดีขึ้นจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะคู่ค้าหลักของไทย ประกอบกับมาตรการภาครัฐที่ออกมากระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความเชื่อมั่นในภาคการผลิตการบริโภค ส่งผลให้การส่งออกเดือน เม.ย. มีมูลค่าเหนือระดับ 2 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยรวม 4 เดือนแรกปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.38 และมีอัตราการใช้กำลังผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมมีสัญญาณดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยในเดือนเมษายน 2564 MPI อยู่ที่ระดับ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดผลกระทบจากการระบาดรอบแรกของไวรัสโควิด-19 มากที่สุด

เหตุผลมาจากทิศทางเศรษฐกิจของโลกที่ดีขึ้นสะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวโน้มภาคการผลิตของประเทศเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่ไม่ได้ส่งผลต่อการผลิตในภาพรวมและกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างภาคการผลิตอุตสาหกรรม ยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นตามทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมาย

"ในช่วงเวลานี้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ถือได้ว่าเป็นกลจักรสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้" นายสุริยะกล่าว

ด้านนายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI ในเดือนเมษายน 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ รถยนต์ที่ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล โดยตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 4 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.38 อัตราใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48 เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตหลายราย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19

ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 75.61 จากความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเนื่องจาก Work From Home เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เริ่มดีขึ้นจึงมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ส่วนเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 29.2 ขยายตัวเกือบทุกรายการสินค้า เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณเหล็กในตลาดโลกลดลงโดยจีน ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศให้ดีขึ้น จึงสั่งปิดโรงงานเหล็กที่ผลิตไม่ได้ตามมาตรฐานส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง ประกอบกับในช่วงนี้สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเริ่มมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของโลกปรับตัวสูงขึ้น จากทั้งสองปัจจัยหลักข้างต้นจึงทำให้การผลิตเหล็กของไทยเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาเหล็กและความต้องการที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

นายทองชัย กล่าวต่อว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 16,178.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 45.69 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2563 และขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 13.09 เป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 36 เดือน โดยกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้น 1.46 และสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เป็นต้น การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 26.82 สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งจากตัวเลขทั้งภาคการส่งออกและการนำเข้าสะท้อนให้เห็นถึงภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ได้ว่าตัวเลข MPI ในเดือนถัดไปจะมีทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน

***สรุปอุตสาหกรรมหลักที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัวในเดือนเมษายน 2564...

>> รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก จากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตหลายราย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19

>> เบียร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 515.18 เนื่องจากสงกรานต์ปีนี้ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ แม้ว่าจะมีการควบคุมในบางพื้นที่

>> เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 57.38 ผู้ผลิตมีการพัฒนาสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการและจัดรายการส่งเสริมการขายกระตุ้นการจำหน่ายในประเทศให้เพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ของประเทศคู่ค้าหลักเริ่มคลี่คลายทำให้การดำเนินการส่งออกกลับมาเป็นปกติหลังจากการปิดช่องทางขนส่ง

>> เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.23 จากเหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กเคลือบสังกะสี และเหล็กเส้นข้ออ้อยเป็นหลัก จากที่ปีก่อนลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อตามความต้องการใช้หดตัว รวมทั้งมีผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราวในปีก่อน

>> ยางรถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.74 จากยางนอกรถยนต์นั่งยางนอกรถบรรทุกรถโดยสาร และยางนอกรถกระบะ


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยความคืบหน้าตรวจตัวอย่างวัคซีนโควิด 'แอสตราเซเนกา' ของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เพิ่มอีก 5 ล็อต ล่าสุดผ่านมาตรฐานแล้ว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยความคืบหน้าตรวจตัวอย่างวัคซีนโควิด 'แอสตราเซเนกา' ของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เพิ่มอีก 5 ล็อต ล่าสุดผ่านมาตรฐานแล้ว รวมกับของเดิมที่ผ่านการตรวจมาก่อนหน้านี้ 9 ล็อต รวมผ่านมาตรฐานทั้งหมด 14 ล็อต ส่วนจะนำวัคซีนออกไปใช้ต้องรอเอกสารสรุปการผลิตและควบคุมคุณภาพจากผู้ผลิต

.นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับตัวอย่างวัคซีนของแอสตราเซนเนกา เพิ่มเติมจาก 5 ล็อตการผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด นั้น ล่าสุดผลการตรวจออกมาผ่านมาตรฐานทุกตัวอย่าง เพราะฉะนั้นเมื่อรวมกับของเดิมอีก 9 ล็อตที่ตรวจผ่านไปก่อนหน้านี้ เท่ากับว่าวัคซีนแอสตราเซนเนกาฯ ที่ผลิตในไทย ตรวจผ่านคุณภาพ มาตรฐานทั้งหมด 14 ล็อต

อย่างไรก็ตาม การจะออกล็อตรีลีสต์ เพื่อนำวัคซีนออกไปใช้ได้ ต้องรอเอกสารข้อมูลสรุปการผลิตและการควบคุมคุณภาพของผู้ผลิต (Summary Production Protocol) ซึ่งตรงนี้อยู่ที่บริษัทผู้ผลิต แต่ก็อย่างที่ชี้แจงไปว่า เนื่องจากการผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซฯ นั้นเป็นการผลิตล็อตแรกๆ ทางแอสตราฯ โอบอลเลยต้องมีการตรวจสอบเอกสารต่างๆ อย่างละเอียด

 

ที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4717965628230555&id=189995197694310


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

บางที ยาที่ดีที่สุด ก็ไม่ใช่ ‘ยากิน หรือ ยาฉีด’ เสมอไป

บางที ยาที่ดีที่สุด ก็ไม่ใช่ ‘ยากิน หรือ ยาฉีด’ เสมอไป


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

คลายล็อกเล็ก ๆ กทม. ให้เปิด 5 กิจการ ดีเดย์ เริ่มตั้งแต่ 1 มิ.ย.นี้

กทม. คลายล็อกสถานประกอบการ 5 ประเภท ‘พิพิธภัณฑ์-ร้านสัก-ร้านนวดสปา-คลินิกเสริมความงาม-สวนสาธารณะ’ เริ่ม 1 มิ.ย.นี้

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 15/2564 ประชุมพิจารณาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครส่วนใหญ่พบในชุมชน ตลาด แคมป์คนงาน ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้าควบคุมโรค และสถานการณ์การระบาดยังคงทรงตัวอยู่ในคลัสเตอร์เฉพาะกลุ่มดังกล่าว ในส่วนของสถานประกอบการบางประเภทไม่พบคลัสเตอร์การระบาดแต่อย่างใด

ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ผ่อนปรนเปิดสถานประกอบการบางประเภทเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของภาคธุรกิจ และให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้ ภายใต้มาตรการของรัฐที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

สำหรับสถานประกอบการที่ได้รับการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการให้เปิดได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.64 เป็นต้นไปมีดังนี้

1.) พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะทำนองเดียวกัน ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แหล่งประวัติศาสตร์โบราณสถาน และหอศิลป์ ทั้งนี้ให้เปิดได้ภายใต้มาตรการที่เข้มงวด เช่น ห้ามเข้าเยี่ยมชมเป็นกลุ่มคณะที่มีการรวมตัวกันจำนวนมาก

2.) สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร้านทำเล็บ ทั้งนี้ให้เปิดได้ภายใต้มาตรการที่เข้มงวด เช่น หากพบการติดเชื้อในสถานบริการจำพวกนี้ ให้ปิด 14 วัน

3.) สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกเสริมความงาม สถานเสริมความงามและคลินิกเวชกรรมเสริมความงาม

4.) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อเสริมความงาม) สถานประกอบการนวดแผนไทย (งดเว้นการอบตัว อบสมุนไพร หรืออบไอน้ำ และการนวดบริเวณใบหน้า) นวดฝ่าเท้า

5.) สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ และสวนดอกไม้ ทั้งนี้ให้เปิดภายใต้มาตรการที่เข้มงวด เช่น ห้ามไม่ให้มีการนั่งร่วมกลุ่ม และไม่ให้นำอาหารเข้ามารับประทาน ยกเว้นน้ำดื่ม

สำหรับสถานประกอบการประเภทอื่นๆ ยังคงให้ปิดตามประกาศปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 29) ต่อไปจนถึงวันที่ 14 มิ.ย.64


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top