Saturday, 5 July 2025
Hard News Team

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 กับประเด็นลุ้นปลดล็อคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19

สัมภาษณ์สด คุณส้ม ภรณี วัฒนโชติ รองโฆษก พรรคกล้า

.

.

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผลการศึกษาผลิตภาพ การผลิตรวม ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง พบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.45 ต่อปี สะท้อนภาพความแข็งแกร่งภาคอุตสาหกรรมยังไปได้ดี

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผลการศึกษาผลิตภาพ การผลิตรวม ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง พบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.45 ต่อปี สะท้อนภาพความแข็งแกร่งภาคอุตสาหกรรมยังไปได้ดี

แนะต้องเพิ่มประสิทธิภาพ หรือคุณภาพอย่างต่อเนื่องผ่าน 5 กลไกสำคัญ ได้แก่ ทักษะแรงงาน เครื่องจักรอัตโนมัติ/กึ่งอัตโนมัติ การบริหารจัดการทั้งด้านต้นทุนและการเงิน การยกระดับการผลิตไปสู่รูปแบบการผลิตแบบ ODM และ OBM รวมถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีและวิจัยพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนและรักษาความสามารถในการผลิตให้สามารถแข่งขันได้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำหนดให้การเพิ่มผลิตภาพของประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580 ทั้งนี้ สศอ. ได้ทำการศึกษาผลิตภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity : TFP) ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นประจำทุกปี จากแบบแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการ ร.ง.9 เพื่อวิเคราะห์ความสามารถ ในการผลิตและการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยผลการศึกษาพบว่า ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2560-2563) ประสิทธิภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity : TFP) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.45 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคอุตสาหกรรมที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่า ผลิตภาพการผลิตที่มีการเติบโตที่สูงกว่านั้นมีความแข็งแกร่งและเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะปัจจัยเชิงคุณภาพที่เสมือนเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญของภาคการผลิตให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะต้องเผชิญกับสภาวะความผันผวนรุนแรงทางเศรษฐกิจและสังคม การแข่งขัน ที่สูงมากขึ้นทั้งในเรื่องการส่งออก และการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งข้อจำกัดด้านแรงงาน

นายสุริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก โรคระบาด หรือสงครามระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งในด้านประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนรักษาความสามารถในการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ โดยมี 5 กลไกสำคัญ คือ

1.) การพัฒนาทักษะแรงงาน

2.) การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ/กึ่งอัตโนมัติ

3.) การบริหารจัดการด้านต้นทุนและการเงิน

4.) การยกระดับการผลิตไปสู่รูปแบบการผลิตแบบรับจ้างออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ODM) และการออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้ แบรนด์ของผู้ประกอบการ (OBM) ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น และ

5.) การลงทุนด้านเทคโนโลยีและวิจัยพัฒนาในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การจัดการ และการสร้างนวัตกรรมในสินค้า มีการจดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตรต่างๆ ที่จะนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้นั้นถือว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงมากให้กับสินค้าและเศรษฐกิจของประเทศ

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สศอ. ให้ความสำคัญและติดตามผลิตภาพการผลิต (Productivity) อย่างต่อเนื่อง โดยการเผยแพร่สร้างการรับรู้ให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดการตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอผ่านการดำเนินงานในโครงการสำคัญต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงาน สนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและกระบวนการผลิต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยปี 2563 ได้ดำเนินงาน อาทิเช่น โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับสถานประกอบการแปรรูปอาหาร ด้าน IoT Solution System โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมสาขาอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกระบวนการผลิตอัจฉริยะสาขาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเพื่อรองรับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และโครงการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่ความเป็นโรงงานอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทางอุตสาหกรรม 4.0 เป็นต้น

นายทองชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาและยกระดับผลิตภาพต้องใช้เวลาและความต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างจริงจัง อย่างไรก็ดีประเทศไทยยังมีจุดแข็งในหลายเรื่อง เช่น ความพร้อมด้านการเกษตร และความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานในหลายๆ อุตสาหกรรม ซึ่งต้องช่วยกันรักษาจุดแข็งเหล่านี้ท่ามกลางความท้าทายในระยะยาวที่กำลังเกิดขึ้น โดยการช่วยกันพัฒนา 5 กลไกสำคัญที่ได้กล่าวข้างต้น ซึ่งไม่เพียงจะช่วยเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจ แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาส โดยยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

ปลดบัญชีดำ ‘Xiaomi’ | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย​ อ.ต้อม -​ กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง 

คลิปนี้ชวนคิดไปกับอีกประเด็น​น่าตาม เมื่อสหรัฐฯ​ ปลดบัญชีดำ ‘Xiaomi’ สะท้อนอะไร? 

.

.

'จุรินทร์ - อลงกรณ์'​ รุดพื้นที่เพชรบุรีให้กำลังใจบุคลากรดูแลผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมติดตามความคืบหน้าโครงการการค้าออนไลน์ของตลาดกลางสินค้าเกษตรท่ายางภายใต้ยุทธศาสตร์​ '1 เปิด 1 ปิด'​

ที่โรงพยาบาลสนามชั่วคราว​ (ศูนย์การภาพบำบัด) อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี​ และรัฐมนตรีว่าการกระทาวงพาณิชย์, นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมด้วยนายอภิชาติ สุภาแพ่ง ที่ปรึกษารมช.พาณิชย์, นายอรรถพร พลบุตร คณะที่ปรึกษารมช.สาธารณสุข​ และ​ ดร.กัมพล สุภาแพ่ง คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ​ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมาและแรงงานไทยบางส่วน ในคลัสเตอร์ของโรงงานแคลคอมฯ 

ทั้งนี้ได้มอบถุงยังชีพเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ที่เดือนร้อนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยมี นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วย นางวิพร แววศรีผ่อง นายอำเภอเขาย้อย, นายแพทย์ สุทัศน์ ไชยยศ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ร่วมให้การต้อนรับ

จากนั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะ ได้เดินทางต่อไปยัง ตลาดกลางการเกษตรหนองบ้วยของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อพบปะพี่น้องกลุ่มเกษตรกรชาวจังหวัดเพชรบุรี และกลุ่มเกษตรชาวนาเกลือ​ ​3​ จังหวัด​ (เพชรบุรี​ ​- สมุทรสงคราม​ - สมุทรสาคร)

พร้อมเดินเยี่ยมชมผลิตผลทางการเกษตรโดยเฉพาะความคืบหน้าโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์​ ซึ่งมีบริษัทไปรษณีย์ไทยร่วมดำเนินการกับคณะอนุกรรมการอีคอมเมิร์ซของกระทรวงเกษตรฯ​ และกระทรวงพาณิชย์ภายใต้ยุทธศาสตร์ '1  เปิด 1 ปิด'​ คือ เปิดเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดและปิดโควิดให้เร็วที่สุด โดยนายอลงกรณ์ได้ขอให้ทางรองนายกรัฐมนตรีช่วยประสานรัฐบาลให้ส่งวัคซีนมาเพิ่มให้เพชรบุรีโดยเร็วที่สุด

สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจังหวัดเพชรบุรี วันนี้ (30 พ.ค.64) มียอดผู้ติดเชื้อ จำนวน 754 ราย รวมยอดสะสม 5,191 ราย ยังครองแชมป์เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย

นอกจากนี้ในส่วนของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเพิ่มเติม จังหวัดเพชรบุรีมีการประกาศล็อกดาวน์ พื้นที่ใกล้เคียงซึ่งพบการแพร่ระบาดคลัสเตอร์ใหม่ เพิ่มอีก 4 ตำบล ในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย ตำบลเขาย้อย ตำบลหนองชุมพล ตำบลหนองชุมพลเหนือ และตำบลห้วยโรง อีกทั้งยังมีการเพิ่มจุดตรวจจุดสกัดทั้ง 4 ตำบล รวม 14 จุด เพื่อป้องกันการขนย้ายกลุ่มแรงงานที่มีความเสี่ยงสูงเข้า-ออก ในพื้นที่อีกด้วย

ไต้หวันเสียงแตก!! เกมการเมืองในช่วงวัคซีนขาดตลาด | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย​ อ.ต้อม -​ กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง 

คลิปนี้ชวนคิดไปกับสถานการณ์ในไต้หวัน​ ที่กำลังเสียงแตก!! แยกเป็น​ 2​ ฝั่ง​ หลังจากวัคซีนแห่งความหวังจากประเทศพันธมิตรส่งถึงล่าช้า​ จนไต้หวันกำลังเสี่ยงสู่วิกฤตโรคระบาดครั้งใหม่​ 

ยิ่งไปกว่านั้น​ ชนวนเหตุแห่งเกมการเมืองใหม่ในประเทศครั้งใหม่ ในจังหวะวัคซีนขาดตลาด​ ก็เริ่มเด่นชัด​ เมื่อพรรครัฐบาลอาจเสียงตก​ เพียงเพราะไม่ต้องการให้จีนยื่นมือมาช่วยเหลือ​ ทำให้มีโอกาสเพลี่ยงพล้ำต่อฝ่ายค้านเอาได้​ง่ายๆ​ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้

.

.

'ผู้นำคนพิการ'​ ใจปล้ำ!! เท 'หมดหน้าตัก'​ ช่วยคนพิการไทย​ มอบของยังชีพแบบจัดเต็มในช่วงโควิด

ที่ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ 'สมาคมคนพิการภาคตะวันออก'​ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 'อาจารย์ณรงค์ ไปวันเสาร์'​ นายกสมาคมคนพิการภาคตะวันออก และตำแหน่งคณะกรรมการบริหารสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย เปิดศูนย์ฝึกอบรมและสร้างอาชีพ สมาคมคนพิการภาคตะวันออก ให้ 'นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล'​ นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย และตำแหน่งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านแรงงาน เข้าชมการฝึกอาชีพการเย็บผ้า การสกรีนร้อน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่คนพิการ แต่ละประเภทสามารถนำมาเรียนรู้ และฝึกฝนเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว โดยใช้สโลแกน "นี่ไม่ใช่โรงงาน นี่ไม่ใช่โรงเรือน แต่ที่นี่ คือ ครอบครัวของคนพิการ" 

ซึ่งนอกเหนือจากการสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับคนพิการแล้ว​ ที่แห่งนี้ยังเป็นที่พักอาศัยของคนพิการมากกว่า 30 ชีวิต และใช้ชีวิตความเป็นอยู่ด้วยความอบอุ่น ฉันพี่น้อง โดยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รวมถึงยังใช้ชีวิตในการเป็นอยู่ "แบบครอบครัว" เดียวกัน อยู่ด้วยกัน กินด้วยกัน และร่วมกันส่งต่อความดีให้กับผู้อื่น เพราะคนที่ได้รับการฝึกฝน อาชีพการเย็บผ้าแล้วนั้น ยังได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานระดับชาติ เพื่อเป็น"ครูผู้สอนการเย็บผ้า" ให้กับคนพิการต่างๆในประเทศไทยมากมาย

ทั้งนี้​ ยังมีกิจกรรมเพิ่มเติม ที่ทาง "อาจารย์ณรงค์" ได้นำเสนอ​อย่าง "ผู้นำคนพิการที่ใจถึงพึ่งได้" ซึ่งเป็นการมอบข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องอุปโภค บริโภค ให้กับผู้แทน โดยเป็น "ผู้นำคนพิการจังหวัด" นำไปมอบส่งต่อให้กับ คนพิการ คนยากไร้ คนด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียง ตามบ้านเรือน ที่ไม่สามารถ ออกมาใช้ชีวิตทำมาหากินได้อย่างคนปกติ และยังเป็นการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ต่อสู้ชีวิตในช่วงสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด - 19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ด้วยความห่วงใย จากใจจริง

สุวัจน์ - ราชภัฎโคราช หนุน ช่วยชาวโคราช กู้วิกฤติ โควิด-19 ผลิตพยาบาล พัฒนาอาชีพ - ช่วยผู้ประกอบการ -กระตุ้นท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี  ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ได้กล่าวกับ ผศ. ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดี คณาอาจารย์ และเจ้าหน้าที่บุคลากรของมหาวิทยาลัย ในที่ประชุมบุคลากรของมหาวิทยาลัยประจำปีการศึกษา 2564 ในหัวข้อ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาภายหลังโควิด- 19” ผ่านการประชุมทางไกล ว่า ความสำเร็จของการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 คือ ต้องเร่งรัดการได้มาของวัคซีน ที่มีจำนวนเพียงพอจากทุกแหล่ง ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อเร่งระดมฉีดให้กับประชาชนทั้งประเทศ เพื่อเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ที่วางแผนไว้ประมาณ 100 ล้านโดสให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในปีนี้ ยิ่งวัคซีนฉีดเร็ว โควิดก็จะจบเร็ว โควิดจบเร็ว เศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวเร็ว

หลังจากนี้จะเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับภัยโควิด-19 จบ ซึ่งขณะนี้ก็มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จาก พรก.กู้เงินฉบับใหม่อีก 5 แสนล้านบาท ขณะนี้ปัญหา คือ ความเดือดร้อน และความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน การตกงาน ผู้ประกอบการขาดทุน เลิกกิจการ รวมทั้งความวิตกกังวลในเรื่องของโรคระบาด เรื่องความเจ็บป่วย การสูญเสียชีวิตต่างๆ ขอให้ ชาวราชภัฎทุกท่านร่วมกันคิด และแสวงหาทางออกในสถานการณ์วิกฤตขณะนี้ และร่วมกันออกไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาเดือนร้อนตามบทบาทหน้าที่ และเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองความต้องการและปัญหาของท้องถิ่น 

ที่ผ่านมาอธิการบดี ผู้บริหาร และนักศึกษา ได้ออกไปทำประโยชน์ช่วยเหลือสนับสนุนการแก้ปัญหาโควิด-19 ให้กับชาวโคราชเป็นอย่างดี  การออกไปช่วยเป็นจิตอาสาร่วมกับโรงพยาบาลมหาราชในการรับลงทะเบียนการฉีดวัคซีน การสนับสนุนคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ก ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ การออกไปมอบสิ่งเครื่องใช้ที่จำเป็นให้กับผู้ที่เดือดร้อน 

ในเรื่องเศรษฐกิจก็ออกไปช่วยให้คำแนะนำด้านวิชาการในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การออกไปช่วยพัฒนาแหล่งน้ำตกเหวเสมา น้ำตกหินทรายที่สีคิ้ว การจัดทำผังแม่บทของการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม ของวัดบ้านไร่ การเป็นแกนหลักรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฎในการผลักดันให้โคราชเป็น GEO PARK เพื่อสร้างโคราชให้เป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมื่อโควิดจบพวกเราต้องพร้อมกันออกไปช่วยเรื่องเศรษฐกิจกันต่อ ช่วยคนตกงาน ช่วยสร้างอาชีพให้กับพวกเขา ช่วยเสริมสร้างทักษะและขีดความสามารถให้กับ SMEs และผู้ประกอบการ ให้ยืนอยู่ต่อสู้กับวิกฤตให้ได้ 

และนอกจากนั้นมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยได้มีมติอนุมัติให้มีการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการขนาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขให้เพียงพอ เพื่อต่อสู้กับปัญหาการโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นอีก และดูแลสุขภาพให้ชาวโคราช  โดยจะเริ่มเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2565 นี้โดยจะรับรุ่นที่ 1 ได้ถึง 72 คน “ผมขอเชิญชวนชาวราชภัฎโคราช ร่วมมือร่วมใจ ผนึกกำลังกันกับคนชาวโคราชตามบทบาทหน้าที่ของการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อฟันฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน เพื่อความอยู่ดี กินดี ของชาวโคราชตลอดไปครับ”

“รมช.มนัญญา” กำชับ อ.ส.ค. และสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมเฝ้าระวังการแพร่ระบาด “โรคลัมปี สกิน” ไม่ให้กระทบอุตสาหกรรมโคนมประเทศ นำทีมผู้บริหารฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ณ ฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง อ.ส.ค. จ.สระบุรี

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิด "โครงการรณรงค์ป้องกันโรคลัมปี สกิน" (Lumpy Skin Disease) ณ ฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี  โอกาสนี้ได้มอบสิ่งของเวชภัณฑ์/ยาฆ่าแมลง พร้อมถังฉีดพ่นให้กับสหกรณ์เขตภาคกลาง 15 แห่งที่ส่งน้ำนมให้ กับ อ.ส.ค. และร่วมฉีดพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งเป็นพาหะของโรคลัมปี สกิน ณ ฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง อ.ส.ค. จากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมฟาร์มเกษตรกร พร้อมชมการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ณ ณัฎฐ์ฟาร์ม ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

รมช.มนัญญา กล่าวว่า "จากสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ที่ยังวิกฤติหนักในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือทั่วประเทศ  ตนในฐานะกำกับดูแล อ.ส.ค. มีความห่วงใยต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจึงได้สั่งการให้ อ.ส.ค. เฝ้าระวังโรคในพื้นที่พร้อมติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด และให้รายงานสถานการณ์ให้ทราบอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม หากไม่เร่งยับยั้งการระบาดในพื้นที่ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อาจส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของเกษตรกรและอุตสาหกรรมโคนมของประเทศในอนาคตได้" รมช.มนัญญา กล่าว

ประกันสังคมลดเงินสมทบช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตน กระทบโควิด-19 นายจ้าง ผู้ประกันตนม.33 ร้อยละ 2.5 - ม.39 เหลือเดือนละ 216 เริ่ม มิ.ย.- ส.ค. 64 นี้

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ลงนามในประกาศกฎกระทรวง กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่3) พ.ศ.2564 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 โดยมีผลบังคับใช้ งวดเดือนมิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ.2564 ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้าง และผู้ประกันตน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประกาศกฎกระทรวง ได้กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบ โดยให้จัดเก็บเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33 เดิมร้อยละ 5 ลดลงเหลือร้อยละ 2.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน (ค่าจ้างสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ถูกหักเงินสมทบ 375 บาท) และผู้ประกันตนมาตรา 39 เดิมร้อยละ 9 ลดลงเหลือร้อยละ 4.5 (จากเดิมที่จ่ายเดือนละ 432 บาทเหลือ 216 บาท) สำหรับรัฐบาลยังคงส่งเงินสมทบในอัตราเดิม คือร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่าการลดเงินสมทบครั้งนี้จะช่วยลดภาระ แก่นายจ้าง 4.85 แสนราย ลดค่าใช้จ่ายลงได้ 9,487 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและรักษา การจ้างงานต่อไปได้ ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับประโยชน์จำนวน 11.1 ล้านคน ลดภาระค่าใช้จ่าย ลงได้ 9,487 ล้านบาท และผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1.8 ล้านคน ลดค่าใช้จ่ายลงได้ 1,189 ล้านบาท และเมื่อรวมผู้ประกันตนทั้ง 12.9 ล้านคนแล้ว จะลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 10,676 ล้านบาท คาดว่าจะเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 20,163 ล้านบาท จึงขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในการดำเนินงาน ของสำนักงานประกันสังคม ที่พร้อมดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แก่นายจ้าง และผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ให้มากที่สุด

สตาร์ทอัพมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสัญชาติไทย 'ETRAN' ระดมทุนระดับ Serie A ได้กว่า 100 ล้านบาท

Startup สัญชาติไทย 'อีทราน' (ETRAN) สามารถระดมทุนสู่ระดับ Series A มูลค่าราว 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 100 ล้านบาท จากนักลงทุนอิสระ และ บริษัท เอ็น.ดี.รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NDR ผู้ผลิตและจำหน่ายยางล้อรถมอเตอร์ไซค์สัญชาติไทย โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนนั้น ทางอีทรานจะนําไปลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น เช่น แบตเตอรี่ และมอเตอร์สมรรถนะสูง รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตที่คํานึงถึงการเกิดลดมลภาวะในทุกขั้นตอน

ทั้งนี้ เป้าหมายของ ETRAN ได้แก่...

1.) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้เป็นแสนต้น

2.) ทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น มีเงินเหลือ ลดต้นทุนค่าน้ำมัน เพราะพลังงานไฟฟ้าสามารถผลิตได้จาก Renewable Source ได้ จะช่วยให้คนขับวินมีค่าใช้จ่ายลดลง (ค่าน้ำมัน ค่าเช่าซื้อ) ส่งผลให้มีเงินเก็บมากขึ้น และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

3.) ต้องตอบแทนสังคมได้ ทำให้โลกดีขึ้นได้ เพราะการมีรถแบรนด์ไทยดีต่อระบบเศรษฐกิจ และทำให้มีการเรียนรู้เทคโนโลยีในภาคการศึกษา คนมีคุณภาพดีสังคมก็ดีขึ้น และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน เป็นความสมดุลทุกด้านตามที่ ETRAN เป็นสตาร์ทอัพที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

โดยในปีนี้ อีทรานจะเปิดตัว 2 รุ่นแรก ได้แก่ KRAF และ MYRA โดยสําหรับ MYRA นั้น นับเป็นมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบมาเพื่อการขนส่งโดยเฉพาะ ทำความเร็วได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางวิ่งต่อ 1 การอัดประจุ ได้ 180 กิโลเมตร รองรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่ผ่าน Battery swapping staion ที่อีทรานจะทยอยติดตั้งในบริเวณกรุงเทพมหานครกว่า 100 สถานี นอกจากนี้ ตัวรถยังติดตั้ง กล่องขนส่ง ตู้เย็น อุปกรณ์ติดตาม และระบบบริหารจัดการเครือข่ายขนส่งขนาดใหญ่ รองรับตลาดกลุ่ม Delivery ที่กําลังเติบโตเป็นอย่างมากใน 1-2 ปีที่ผ่านมา

“ตามแผนการดำเนินธุรกิจ อีทรานในปี 2565 ตั้งเป้ารายได้ประมาณ 400-500 ล้านบาท และปี 2566 คาดว่ารายได้จะเติบโตถึง 1,000 ล้านบาท” นายสรณัญช์ กล่าว

 

ที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2129432910532322&id=1233859410089681


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top