Saturday, 10 May 2025
Hard News Team

‘เลขาฯ สมช.’ รับ ‘บิ๊กตู่’ เบรก กทม.คลาย 5 กิจการ ชี้ รอฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงก่อน เผย เตรียมชง นายกฯ วางแนวก่อนให้อปท.ซื้อวัคซีน

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ณัฏฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฎิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (ศปก.ศบค.) กล่าวกรณีที่ศบค.ให้ชะลอการเปิด 5 สถานที่ของกทม.ไว้ก่อน ว่า ไม่มีอะไร คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกรุงเทพมหานคร ได้พิจารณาผ่อนคลายมาตรการตามที่ภาพเอกชนขอมา ซึ่งคณะกรรมการฯพิจารณาแล้วไม่ขัดแย้งกับข้อกำหนดของศบค.ชุดใหญ่ แต่ทุกเรื่องพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมในฐานะผอ.ศบค.มีนโยบายหรือข้อกำหนดที่แตกต่างออกไปได้ ซึ่งมองในภาพรวมถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร โดยกรณีดังกล่าวคณะกรรมการฯ หารือในชั้นต้นยังไม่มีประกาศอะไรออกมา

ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่ากทม. เสนอ แต่ทางศบค.เบรกไว้ใช่หรือไม่ พล.อ.ณัฏฐพล กล่าวว่า ไม่ใช่ ยังไม่มีการเสนออะไรมา ข่าวที่ออกมาเป็นเพียงแค่การประชุม ยังไม่มีประกาศออกมาแต่ให้ข่าวออกมาก่อน เมื่อนายกฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อในกทม.ยังสูงและมีการแพร่ระบาดอยู่จำนวนมาก ก็เป็นห่วงในภาพรวมจึงให้ชะลอไว้ก่อน ทั้งนี้นายกฯ เข้าใจ กทม.และผู้ประกอบการ จึงสั่งการให้ตนไปคุยกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเร่งฉีดวัคซีนให้กลุ่มอาชีพที่กทม.ก่อนผ่อนคลายอาทิ พนักงานนวดแผนโบราณ พนักงานเสริ์ฟอาหาร ช่างตัดผม ให้เตรียมการไว้ให้เรียบร้อยเมื่อสถานการณ์ดีขึ้นก็จะผ่อนคลายต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามถึงการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีนทางเลือกได้เอง มีแนวโน้มอย่างไร พล.อ.ณัฏฐพล กล่าวว่า วันนี้ตนจะรับข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุข และหารือกับนพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ประธานกรรมการในการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม จากนั้นจะเสนอแนวทางให้นายกฯพิจารณาต่อไป อยากทำความเข้าใจว่าการจัดซื้อวัคซีนมี 2 รูปแบบ คือ การสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร และการซื้อภายในจากหน่วยงาน ซึ่งประชาชนเกิดความสับสนว่าอปท.จัดซื้อจากภายนอกได้เองซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น 

เมื่อถามว่าอปท.จะต้องซื้อจากหน่วยงานภายในของรัฐ มีแนวโน้มอย่างไร เลขาฯสมช.กล่าวว่า ก็ต้องดูอีกที เพราะตอนนี้มีเงื่อนไขทางกฎหมาย และทางนโยบาย ที่ต้องรอนโยบายจากนายกฯ ขณะที่ศบค.ต้องคุยกับหน่วยงานเกี่ยวข้องและเสนอเรื่องมาให้นายกฯพิจารณา

ครม.เตรียมเคาะมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ 1.4 แสนล้าน

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบ Video Conference วันที่ 1 มิถุนายน 2564 มีวาระน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเศรษฐกิจเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา โดยกระทรวงการคลังเสนอมาตรการเพื่อดูแลประชาชนจากผลกระทบของโควิด-19 ระยะที่ 2 รวมทั้งหมด 4 มาตรการ ภายใต้กรอบวงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท โดยจะเริ่มใช้ในเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2564 ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ยอมรับก่อนหน้านี้ว่า ด้วยมาตรการทั้งหมด จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยปีนี้ให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 1.5-2.5%

สำหรับมาตรการทั้ง 4 ประกอบด้วย

1.) มาตรการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 วงเงิน 9.3 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 31 ล้านคน ให้สิทธิ์ใช้จ่ายไม่เกิน 150 บาท วงเงิน 3,000 บาทต่อคน 

2.) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โดยโครงการนี้รัฐบาลคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ 4 ล้านคน (จากกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อประมาณ 6 ล้านคน) โดยภาครัฐจะสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voucher) สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยผู้เข้าโครงการจะได้รับการสนับสนุน E-Voucher จากภาครัฐในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. 2564 เพื่อไปใช้จ่ายในเดือน ส.ค.-ธ.ค.2564 โดยใช้เงินในโครงการนี้ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท 

3.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ธ.ค.2564 ครอบคลุมประชาชนประมาณ 13.6 ล้านคน โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน วงเงินประมาณ 1.64 หมื่นล้านบาท 

4.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ รวมทั้งกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุด้วย จำนวน 2.5 ล้านคน เดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน วงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท 

“เสี่ยแฮ้งค์” ยัน พปชร. ไม่ถูกโดดเดี่ยว 

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนาสยกฯ ในฐานะเลขจาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้สัมภาษณ์ กรณีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่พรรคร่วมรัฐบาลทั้งประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย อภิปนายโจมตีการจัดทำงบประมาณเหมือนพรรคพลังประชารัฐถูกโดดเดี่ยวหรือไม่ว่า ไม่มีอะไรหรอกก็ธรรมดา พรรคร่วมรัฐบาลยังเหนียวแน่นอยู่แล้ว ส่วนการอภิปรายนั้นมองว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้ถล่มก็พูดกันถึงเรื่องที่ต้องทำร่วมกันไม่มีอะไรขัดแย้ง เมื่อถามย้ำกรณี นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อภิปรายบอกหัวหน้าพรรคถ้าเขาไม่รักกลับบ้านดีกว่า นายอนุชา หัวเราะ แต่ไม่ตอบคำถามก่อนโบกมือให้สื่อ

"วิษณุ" ยืนยันไม่วาระขยายสัมปทานสายสีเขียวเข้าครม.วันนี้​ แจง​ ปมอปท.ซื้อวัคซีนเอง​ ต้องให้ศบค.เคาะ เผย รัฐบาลส่งพรก.กู้5แสนล้านให้สภาแล้ว รอสภาบรรจุวันอภิปราย

ที่ทำเนียบรัฐบาล​ นายวิษณุ​ เครืองาม​ รองนายกรัฐมนตรี​ ให้สัมภาษณ์​ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี​ (ครม.)​ ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าในที่ประชุมครม. วันนี้จะมีการพิจารณาวาระการขอขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า เรื่องดังกล่าวไม่มีการบรรจุในวาระครม. ตั้งแต่แรก

เมื่อถามว่า​ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเข้าเป็นวาระจร นายวิษณุ​ กล่าวว่า​ เป็นไปไม่ได้​ ถ้าจะเข้าต้องเข้าเป็นวาระปกติ เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และมีทางออกแล้วหรือไม่​ นายวิษณุ​ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ต้องไปถามเจ้าของเรื่อง และไม่มีรายงานมาถึงตนแต่อย่างใด

เมื่อถามถึงความชัดเจนถึงกรณีที่รัฐบาลส่ง​ พ.ร.ก. กู้เงิน​ 5​ แสนล้านบาทไปให้สภาพิจารณา​ จะเข้าสู่การพิจารณาเมื่อใด นายวิษณุกล่าวว่า ตนไม่ทราบ​ แต่ได้ส่งให้สภาไปแล้ว คงต้องแล้วแต่ทางสภาเป็นผู้บรรจุวาระ

เมื่อถามถึงกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น​ (อปท.) ​หลายแห่งแสดงความประสงค์ต้องการจัดซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม​ ที่ขณะนี้ยังสับสนกันอยู่ว่าทำได้หรือไม่ นายวิษณุ​ กล่าวว่า ไม่สับสนแล้ว​ ให้ไปถามกระทรวงมหาดไทย เมื่อถามย้ำว่า​ คำตอบจากกระทรวงมหาดไทยยิ่งทำให้สับสน นายวิษณุ​ กล่าวว่า​ ก็รอศบค.​ เพราะสุดท้ายกระทรวงมหาดไทยก็ต้องถามศบค.

ดรุณวรรณ รองโฆษก ปชป. แนะ “รัฐ” คุยกันให้จบก่อนสื่อสาร หยุดสร้างความสับสน

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่าจากกรณีที่เมื่อวานนี้ (31 พฤษภาคม 2564) คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครได้มีประกาศครั้งที่ 15/2564 มีมติให้ผ่อนปรนมาตรการสำหรับสถานประกอบการ 5 ประเภท มีผลวันที่ 1 มิ.ย. เป็นต้นไป ในส่วนของสถานประกอบการบางประเภทไม่พบคลัสเตอร์การระบาดแต่อย่างใด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของภาคธุรกิจ และให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้ ภายใต้มาตรการของรัฐที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในช่วงเย็นของเมื่อวานนี้

แต่ในช่วงค่ำของวันเดียวกัน ศบค. ได้ออกมาประกาศให้ใช้ประกาศกรุงเทพมหานครขยายการปิดกิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงทั้งหมด ตามประกาศฉบับที่ 29 ออกไปอีก 14 วัน ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.64 เป็นต้นไป จากกรณีดังกล่าวได้สร้างความสับสนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการตรวจสอบและพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นการให้ข่าวในประเด็นเดียวกันแต่สื่อสารกันคนละเรื่อง 

นางดรุณวรรณ กล่าวต่อด้วยว่า ทุกวันนี้วิกฤตสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมก็มากพออยู่แล้ว จึงไม่ควรทำให้เกิดวิกฤตการสื่อสารขึ้นมาอีก โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่การสื่อสารของภาครัฐในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกัน พูดเรื่องเดียวกัน แต่ไปคนละทิศคนละทาง สร้างความสับสนให้ประชาชน และส่งผลต่อการดำเนินชีวิต รวมถึงการวางแผนในการประกอบธุรกิจด้วยเช่นกัน เพราะบางธุรกิจต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งคนและของ การให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกันยิ่งเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการหลายคนที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่แล้วจากสถานการณ์โควิด-19

การสื่อสารในภาะวิกฤต ด้วยการใช้ Single Message คือใช้ข้อความชุดเดียวกันในการแจ้งข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ในกรณที่ต้องสื่อสารหลายหน่วยงานร่วมกัน ในประเด็นเดียวกัน เพื่อให้สื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน

“อยากให้ผู้เกี่ยวข้อง คุยกันมากขึ้น สื่อสารกันภายในมากขึ้น ก่อนสื่อสารออกมายังสาธารณะ เพราะการสื่อสารบางประเด็นส่งผลกระทบต่อคนในวงกว้าง ต้องพิจารณาและทบทวนให้ดีก่อนสื่อสาร โดยเฉพาะในยุคโซเชียลมีเดียที่สามารถเผยแพร่ออกไปได้รวดเร็ว การรีบสื่อสารในขณะที่ข้อมูลยังไม่ชัดเจน เพียงต้องการให้ได้พื้นทื่สื่อ แต่ไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะตามมา”

นางดรุณวรรณ กล่าวเสริมในตอนท้ายด้วยว่า ในฐานะที่ตนเองเป็นนักสื่อสาร การออกมานำเสนอความเห็นในครั้งนี้ ไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างอื่น ส่วนตัวเอาใจช่วยทุกฝ่ายมาโดยตลอด และเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังทำงานอย่างหนัก ซึ่งก็มีโอกาสที่จะพบกับความผิดพลาดได้บ้าง แต่ไม่ควรเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งที่สามารถบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพได้

กระทรวงอุตสาหกรรม ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ฝ่าวิกฤต COVID-19 ระลอกใหม่ ผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยการพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด ไม่เกิน 6 เดือนและไม่เกินสิ้นปี 2564 ผ่าน SME D BANK เริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2564

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนา เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ ได้เข้ามาซ้ำเติมผลกระทบ จากสถานการณ์ในรอบแรกที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SME) ส่วนใหญ่ของประเทศ ยังไม่สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ ให้กลับสู่ภาวะปกติได้ และสร้างความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ กระทรวงอุตสาหกรรม เล็งเห็นถึงสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปแล้ว 2 ครั้งด้วยการพักชำระหนี้ และให้บริการความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีในเรื่องการตลาด การเงิน และระบบบัญชี ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมในโครงการดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 3,300 ราย

แต่เนื่องจากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้ให้มีสภาพคล่อง และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงภาววะวิกฤต รวมทั้งยังเป็นการลดแนวโน้มการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จึงมีมติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (Non NPL) หรือไม่อยู่ในระหว่างที่ถูกกองทุนดำเนินคดี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้สามารถยื่นความประสงค์ขอพักชำระหนี้เงินต้นกับทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) โดยสามารถพักชำระหนี้ได้สูงสุด ไม่เกิน 6 เดือน และไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2564

“จากภาระที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทางกองทุนฯ มองเห็นความพยายามช่วยเหลือตัวเองอย่างสุดกำลังของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาโดยตลอด จึงต้องการเป็นอีกพลังช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีสามารถก้าวผ่านวิกฤตไปได้อีกครั้ง โดยออกมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 3 นี้ เป็นมาตรการต่อเนื่องจากการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้า ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายเล็กที่ประสบปัญหาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และคาดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงานได้ไปจนถึงสิ้นปีนี้” นายกอบชัยฯ กล่าว

ทั้งนี้ ลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้น พร้อมขอรับการส่งเสริมพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การตลาด การผลิต การเงินและบัญชี ได้ที่ SME D BANK ทุกสาขาทั่วประเทศในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ได้ตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร 1357


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2564 มีระดับอยู่ที่ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2564 มีระดับอยู่ที่ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจของโลกมีแนวโน้มดีขึ้นจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะคู่ค้าหลักของไทย ประกอบกับมาตรการภาครัฐที่ออกมากระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความเชื่อมั่นในภาคการผลิตการบริโภค ส่งผลให้การส่งออกเดือน เม.ย. มีมูลค่าเหนือระดับ 2 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยรวม 4 เดือนแรกปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.38 และมีอัตราการใช้กำลังผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมมีสัญญาณดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยในเดือนเมษายน 2564 MPI อยู่ที่ระดับ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดผลกระทบจากการระบาดรอบแรกของไวรัสโควิด-19 มากที่สุด

เหตุผลมาจากทิศทางเศรษฐกิจของโลกที่ดีขึ้นสะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวโน้มภาคการผลิตของประเทศเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่ไม่ได้ส่งผลต่อการผลิตในภาพรวมและกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างภาคการผลิตอุตสาหกรรม ยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นตามทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมาย

"ในช่วงเวลานี้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ถือได้ว่าเป็นกลจักรสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้" นายสุริยะกล่าว

ด้านนายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI ในเดือนเมษายน 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ รถยนต์ที่ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล โดยตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 4 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.38 อัตราใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48 เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตหลายราย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19

ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 75.61 จากความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเนื่องจาก Work From Home เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เริ่มดีขึ้นจึงมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ส่วนเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 29.2 ขยายตัวเกือบทุกรายการสินค้า เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณเหล็กในตลาดโลกลดลงโดยจีน ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศให้ดีขึ้น จึงสั่งปิดโรงงานเหล็กที่ผลิตไม่ได้ตามมาตรฐานส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง ประกอบกับในช่วงนี้สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเริ่มมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของโลกปรับตัวสูงขึ้น จากทั้งสองปัจจัยหลักข้างต้นจึงทำให้การผลิตเหล็กของไทยเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาเหล็กและความต้องการที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

นายทองชัย กล่าวต่อว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 16,178.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 45.69 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2563 และขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 13.09 เป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 36 เดือน โดยกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้น 1.46 และสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เป็นต้น การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 26.82 สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งจากตัวเลขทั้งภาคการส่งออกและการนำเข้าสะท้อนให้เห็นถึงภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ได้ว่าตัวเลข MPI ในเดือนถัดไปจะมีทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน

***สรุปอุตสาหกรรมหลักที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัวในเดือนเมษายน 2564...

>> รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก จากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตหลายราย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19

>> เบียร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 515.18 เนื่องจากสงกรานต์ปีนี้ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ แม้ว่าจะมีการควบคุมในบางพื้นที่

>> เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 57.38 ผู้ผลิตมีการพัฒนาสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการและจัดรายการส่งเสริมการขายกระตุ้นการจำหน่ายในประเทศให้เพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ของประเทศคู่ค้าหลักเริ่มคลี่คลายทำให้การดำเนินการส่งออกกลับมาเป็นปกติหลังจากการปิดช่องทางขนส่ง

>> เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.23 จากเหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กเคลือบสังกะสี และเหล็กเส้นข้ออ้อยเป็นหลัก จากที่ปีก่อนลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อตามความต้องการใช้หดตัว รวมทั้งมีผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราวในปีก่อน

>> ยางรถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.74 จากยางนอกรถยนต์นั่งยางนอกรถบรรทุกรถโดยสาร และยางนอกรถกระบะ


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยความคืบหน้าตรวจตัวอย่างวัคซีนโควิด 'แอสตราเซเนกา' ของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เพิ่มอีก 5 ล็อต ล่าสุดผ่านมาตรฐานแล้ว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยความคืบหน้าตรวจตัวอย่างวัคซีนโควิด 'แอสตราเซเนกา' ของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เพิ่มอีก 5 ล็อต ล่าสุดผ่านมาตรฐานแล้ว รวมกับของเดิมที่ผ่านการตรวจมาก่อนหน้านี้ 9 ล็อต รวมผ่านมาตรฐานทั้งหมด 14 ล็อต ส่วนจะนำวัคซีนออกไปใช้ต้องรอเอกสารสรุปการผลิตและควบคุมคุณภาพจากผู้ผลิต

.นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับตัวอย่างวัคซีนของแอสตราเซนเนกา เพิ่มเติมจาก 5 ล็อตการผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด นั้น ล่าสุดผลการตรวจออกมาผ่านมาตรฐานทุกตัวอย่าง เพราะฉะนั้นเมื่อรวมกับของเดิมอีก 9 ล็อตที่ตรวจผ่านไปก่อนหน้านี้ เท่ากับว่าวัคซีนแอสตราเซนเนกาฯ ที่ผลิตในไทย ตรวจผ่านคุณภาพ มาตรฐานทั้งหมด 14 ล็อต

อย่างไรก็ตาม การจะออกล็อตรีลีสต์ เพื่อนำวัคซีนออกไปใช้ได้ ต้องรอเอกสารข้อมูลสรุปการผลิตและการควบคุมคุณภาพของผู้ผลิต (Summary Production Protocol) ซึ่งตรงนี้อยู่ที่บริษัทผู้ผลิต แต่ก็อย่างที่ชี้แจงไปว่า เนื่องจากการผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซฯ นั้นเป็นการผลิตล็อตแรกๆ ทางแอสตราฯ โอบอลเลยต้องมีการตรวจสอบเอกสารต่างๆ อย่างละเอียด

 

ที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4717965628230555&id=189995197694310


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

บางที ยาที่ดีที่สุด ก็ไม่ใช่ ‘ยากิน หรือ ยาฉีด’ เสมอไป

บางที ยาที่ดีที่สุด ก็ไม่ใช่ ‘ยากิน หรือ ยาฉีด’ เสมอไป


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top