Friday, 9 May 2025
Hard News Team

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว สมาชิกวุฒิสภา ประธานกรรมาธิการการแรงงานวุฒิสภามอบอุปกรณ์ป้องกันไวรัส Covid 19 ให้ รพ.ตร.

วันพฤหัสบดีที่ 15 ก.ค. 64​ เวลา 09.00 น. ณ มูลนิธิ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว สมาชิกวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานวุฒิสภา ในนามโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) มูลนิธิ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว และครอบครัวแสงสิงแก้ว ได้มอบอุปกรณ์ป้องกันไวรัส Covid 19 ให้ รพ.ตร.เพื่อแจกจ่ายให้กับอดีตข้าราชการตำรวจที่เกษียณอายุราชการ ประกอบด้วย

หน้ากากอนามัย จำนวน 100,000 ชิ้น และแอลกอฮอล์เจล จำนวน 1,000 ขวด มูลค่ากว่า 300,000 บาท (สามแสนบาท) ที่มูลนิธิ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว โดยมี พล.ต.อ.ปิยะ อุทาโย รอง ผบ.ตร., พล.ต.ต.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ รองนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้แทนรับมอบเพื่อแจกจ่ายตามวัตถุประสงค์ต่อไป

กสม.แนะ รัฐบาลคุ้มครองสิทธิปชช.ในสถานการณ์โควิด-19 เน้นจัดสรรวัคซีนอย่างโปร่งใสให้ผู้ป่วยหนัก-บุคลากรทางการแพทย์

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) เผยแพร่เอกสารข่าวระบุว่า ตามที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มีความรุนแรงและขยายตัวเป็นวงกว้าง ทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุข การดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป นั้น กสม. รับทราบถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลผ่านมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคและมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดยังมีแนวโน้มขยายวงกว้างและดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง กสม. มีความห่วงใยในสถานการณ์ดังกล่าว จึงขอเสนอแนะต่อรัฐบาลในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ดังนี้

1.ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนด้วยการเร่งกระจายการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนให้มากและเร็วที่สุด

2. การจัดสรรและจัดลำดับความสำคัญของวัคซีนควรทำโดยกระบวนการที่โปร่งใสตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก โดยเน้นให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยหนักและเสียชีวิต บุคลากรด่านหน้าด้านสาธารณสุข รวมถึงกลุ่มเปราะบางทั้งหลาย เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้บ้าน คนไร้รัฐ และแรงงานนอกระบบ 3. ให้ปรับแผนการจัดหาวัคซีนให้ทันต่อสายพันธุ์ของโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเตรียมความพร้อมแผนการจัดสรรวัคซีนสำหรับการฉีดกระตุ้น (booster dose) ด้วย

4. จัดบริการตรวจเชิงรุกให้ครอบคลุมและทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มประชากรในพื้นที่เสี่ยง อาทิ ชุมชนแออัดใน กทม. และเขตปริมณฑล  และ 5.ให้ติดตามว่าประชาชนที่เดือดร้อนจากมาตรการควบคุมโรคได้รับการเยียวยาจากรัฐอย่างทั่วถึงหรือไม่ โดยอาจพิจารณากำหนดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่สะดวกและเข้าถึงได้ง่าย และเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ประชาชนโดยเร็วต่อไป

ทั้งนี้ กสม. ตระหนักดีถึงความท้าทายในการบริหารจัดการเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 และขอให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องที่ทำงานหนักมาอย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างเต็มความสามารถ รวมทั้งขอให้กำลังใจประชาชนที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันเลวร้ายและยากลำบากในครั้งนี้

เพจ เยอรมันอินไซต์ - Germany Insights โดย ‘อินทรีล่าสาร’ โพสต์ข้อมูลเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการเจรจาจัดซื้อวัคซีน BioNTech/Pfizer ระหว่างเครือ Healthcare เอกชนไทยกับบริษัท ‘ไบออนเทค เซาท์อีสต์เอเชีย’ ในรายละเอียดระบุถึงคำตอบจากทางบริษัท BioNTech ด้วย

เพจเฟซบุ๊ก เยอรมันอินไซต์ - Germany Insights โดย ‘อินทรีล่าสาร’ ได้โพสต์ข้อมูลเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการเจรจาจัดซื้อวัคซีน BioNTech/Pfizer ระหว่างเครือ Healthcare เอกชนไทยกับบริษัท ‘ไบออนเทค เซาท์อีสต์เอเชีย’ ซึ่งในรายละเอียดมีการระบุถึงคำตอบตรงที่ได้รับจากทางบริษัท BioNTech ด้วยว่า...

ตามล่าหาความจริง - มีการเจรจาเรื่องจัดซื้อวัคซีน BioNTech/Pfizer ระหว่างเครือ Healthcare เอกชนไทยกับบริษัท ‘ไบออนเทค เซาท์อีสต์เอเชีย’ จริงหรือ? แล้วทางบริษัท BioNTech ว่าอย่างไรในเรื่องนี้?

รอบนี้ไม่มีลูกเพจมาถามหรอก มีแต่แอดมินแบบผมเนี่ยสงสัยเอง จากการที่เห็นข่าวที่แชร์กันมาว่า มีเครือ Healthcare ที่ไทย กำลังทำการเจรจากับ “ไบออนเทค เซาท์อีสต์เอเชีย” โดยอ้างว่า เยอรมันกับจีนทำอยู่ >> “จะซื้อ 2 ยี่ห้อคือ ‘BioNTech ของเยอรมัน’ ชนิด mRNA เป็นตัวเดียวกับ ‘ไฟเซอร์’ อีกตัวคือ โนวาแวกซ์ของอเมริกา”

ตอนที่อ่านเนี่ย ก็ทำให้ผมสงสัยเองเป็นอันมาก เพราะผมทราบว่า BioNTech เค้ามีการทำสัญญากับ Pfizer ว่า...

>> BioNTech will hold the regulatory authorization in the U.K., and, if granted, in the U.S., the EU, Canada and other countries. Pfizer will have the commercialization right worldwide with the exception of China, Germany and Turkey.

แปลได้ว่า…

>> BioNTech เป็นเจ้าของการอนุมัติวัคซีนในประเทศสหราชอาณาจักร และได้รับอนุญาตในสหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, แคนาดา และประเทศอื่น ๆ

>> ส่วนบริษัทไฟเซอร์จะมีสิทธิ์ในเชิงพาณิชย์ทั่วโลก ยกเว้น 3 ประเทศ คือ จีน, เยอรมนี และตุรกี ซึ่งจากข่าวของเยอรมันเองนั้นเคยเขียนไว้ชัดเจนว่า BioNTech ได้สงวนลิขสิทธิ์ทางการตลาดไว้เองสำหรับประเทศเยอรมนี และประเทศตุรกี ส่วนจีนนั้น BioNTech ได้ร่วมมือกับบริษัทจีน Fosun Pharma ที่พึ่งจะขายวัคซีนให้กับ 2 บริษัทไต้หวัน เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลไต้หวันต่อไป

>> Link ซึ่งนี่เป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการของ Pfizer และ Biontech เอง

https://www.pfizer.com/news/press-release/press-release-detail/pfizer-and-biontech-receive-authorization-european-union

https://investors.biontech.de/news-releases/news-release-details/pfizer-and-biontech-receive-authorization-european-union-covid/

>> Link ส่วนนี่เป็นการร่วมมือกับ Fosun Pharma :

https://investors.biontech.de/news-releases/news-release-details/biontech-and-fosun-pharma-form-covid-19-vaccine-strategic/

สรุปง่าย ๆ ก็คือ แบ่งการรับผิดชอบการขายวัคซีนกันรอบโลกดังนี้...

BioNTech - เยอรมนี, ตุรกี

Fosun Pharma - จีน (ซึ่งสำหรับจีน รวมฮ่องกง, มาเก๊า และไต้หวันเข้าไปด้วย)

Pfizer - ทุกประเทศนอกเหนือจาก 3 ประเทศบนที่ว่ามา

และผมก็แวะไปดูของเว็บไซต์ BioNTech มาอีก สาขาที่จะเปิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สิงคโปร์ ยังอยู่ในระยะวางแผนอยู่เลยนะครับ ยังไม่ได้เปิดเลย แถม BioNTech เขียนในเว็บเองด้วยว่า วางแผนจะเริ่มเปิดออฟฟิศในปี 2021 และค่อยเริ่มสร้างโรงงานผลิตในปีเดียวกัน และขึ้นอยู่กับขั้นตอนการอนุมัติของทางการ และโรงงานจะเปิดตัวได้เร็วสุดในปี 2023 ตามนี้เลย...

????????????????????????????ℎ ???????????????????? ???????? ???????????????? ???????????? ???????????????????????????????????? ???????????????????????? ???????????? ???????????????????????????????? ???????????????????????????????????????????????? ???????? ????ℎ???? ???????????????????????????????????????????????????? ???????????????????????????????? ???????? 2021, ???????????????????????????? ???????? ???????????????????????????????? ????????????????????????????????. ????ℎ???? ???????????????????????????? ???????????????????????????????????????????? ????ℎ???????? ????ℎ???? ???????????????? ???????????????????? ???????? ???????????????????????????????????????????? ???????? ???????????????????? ???????? 2023 ???????????? ???????????????? ???????????????????????? ???????? ???????? 80 ???????????????? ???????? ????????????????????????????????????.

>> Link ประกาศข่าวเป็นทางการในเรื่องนี้ของ BioNTech:

https://investors.biontech.de/news-releases/news-release-details/biontech-establish-regional-headquarters-south-east-asia-and/

***เพิ่มเติมอีกว่า ในเว็บทางการของ BioNTech ที่บอกถึงสาขาบริษัทต่าง ๆ ในโลก ไม่มี ‘BioNTech Southeast Asia’ นะครับ สาขา BioNTech ที่อยู่นอกยุโรปมี 2 แห่ง คือ ใน Cambridge และ San Diego เข้าไปดูได้ที่เว็บทางการของบริษัทได้เช่นเคย >> https://biontech.de/our-dna/locations

แต่ผมก็ยังคิดว่า เอาน่ะ!! มันอาจจะมีการตกลงใหม่แบบที่เราไม่รู้ก็เป็นได้ (ถึงจะเป็นไปได้น้อยมาก เพราะ BioNTech เป็นบริษัทเยอรมัน ข่าวจาก BioNTech ก็ออกจาก HQ ที่อยู่ในเมือง Mainz และแน่นอนว่า ออกสื่อเยอรมันก่อนสื่อรอบโลกเสมอ) ผมก็เลยลองทดลองอะไรบางอย่างดู….

>> ผมเมล์หาบริษัท BioNTech ด้วยตัวเอง ซึ่งเนื้อหาที่ผมเขียนไปโดยสรุปก็คือ...

“ผมทำเพจเฟซบุ๊กให้ข้อมูลคนไทย และอยากจะเช็กข่าวว่า ‘จริง’ หรือ ‘Fake news’ ที่ตอนนี้มีข่าวที่ไทยออกเต็มไปหมดว่า มีเครือ Healthcare กำลังเจรจากับ ‘ BioNTech Southeast Asia’ โดยอ้างว่า อาจจะสามารถได้รับวัคซีนล็อตแรกภายในเดือนนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่? และอ้างไปอีกว่า เท่าที่ผมทราบทาง Pfizer ได้มีการทำสัญญากับรัฐบาลไทยไปแล้ว และวัคซีนล็อตแรกควรจะถูกนำส่งภายในสิ้นปีนี้ รวมถึงผมก็ก๊อปจากในแผนกข่าวของ BioNTech ด้านบนไปนั่นแหละ แล้วจึงต่อไปว่า ผมเองก็คิดว่า Pfizer เป็นผู้เดียวที่มีสิทธิ์ในการขายวัคซีนในทุกประเทศทั่วโลก ยกเว้นเยอรมนี, จีน และตุรกี อยากจะไขข้อสงสัยนี้เป็นอันมาก ขอความกรุณาบริษัทช่วยไขข้อข้องใจผมหน่อย เนื่องจากตอนนี้ประเทศไทย Fake News สะพัดมาก ๆ ผมจึงอยากจะขอยืนยันข้อมูลหน่อย”

โดยตอนที่ผมส่งเมล์ไป ผมไม่ได้คาดคิดว่าจะได้คำตอบกลับมาหรอกครับ ก็คิดว่าเสี่ยงดวงเล่น ๆ ดู ไม่มีอะไรเสียหาย มากสุดก็แค่ไม่ได้คำตอบ...ปรากฏว่า ไม่ถึง 2 ชั่วโมง BioNTech ตอบครับ และเป็นการตอบที่ชาญฉลาดเป็นอันมาก โดยตอบผมมาว่า...

“เรียน คุณ xx

ขอบคุณสำหรับคำถามของคุณเกี่ยวกับภูมิภาคประเทศไทย

BioNTech ไม่สามารถช่วยคุณตามคำขอของคุณได้

ประเทศที่คุณเรียกร้องขอข้อมูลถึงนั้นให้บริการโดย Pfizer, Inc. ซึ่งเป็นพันธมิตรของเรา

เราขอแนะนำให้คุณติดต่อสำนักงานของ Pfizer, Inc. ในประเทศของคุณหรือโทรติดต่อสำนักงานใหญ่ของ Pfizer Global ในนิวยอร์กซิตี้ที่ +1 (212) 733-2323

สามารถดูข้อมูลการติดต่อได้ที่: Pfizer.com/contact

นอกจากนี้ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราที่จะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเป็นประจำที่ www.biontech.de เพื่อติดตามข่าวสารล่าสุด

We wish you all the best! (ไม่รู้จะแปลให้ยังไง)

หากคุณมีคำถามใด ๆ โปรดติดต่อ [email protected] พร้อมหมายเลขตั๋ว # xxxxxx

ด้วยความนับถือ,

ทีมงาน BioNTech ของคุณ”

อ่านแวบแรกเหมือนจะไม่ให้คำตอบ อ่านต่อไปก็ชัดเจนว่า >> “คำตอบชัดเจนกว่านี้ไม่มีแล้ว” เพราะ BioNTech เค้าก็ยืนยันที่ผมถามนั่นแหละว่า วัคซีน Comirnaty ของบริษัท BioNTech / Pfizer สำหรับประเทศไทยนั้น เฉพาะบริษัท Pfizer, Inc. เท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการขาย ซึ่งรัฐบาลไทยก็ทำสัญญาไปแล้วไม่ใช่หรือเท่าที่ผมทราบ

ด้วยเหตุนี้รบกวนลูกเพจที่ไทยและสื่อไทยที่ตามเพจช่วยไปหาคำตอบแทนหน่อยนะครับว่า

ใครคือ ‘BioNTech Southeast Asia’ ที่ว่ามาเอ่ย? ในเมื่อ BioNTech ใน South East Asia จะยังไม่เปิดทำการ โรงงานก็ยังไม่เสร็จ จนกว่าจะปี 2023 ที่สิงคโปร์ ในเว็บทางการของ BioNTech ก็ไม่มีบริษัทนี้

วัคซีนที่ว่าของ mRNA จาก BioNTech คือของใคร? ที่บอกเจรจาตั้งแต่ตุลาคมนี่กับบริษัทไหน เพราะไม่ใช่ BioNTech แน่ ๆ ล่ะ?

และต่อให้บอกว่า ร่วมมืออะไรกับจีนนั่น ก็จะบอกว่า บริษัทจีน ชื่อ Fosun Pharma บริษัทนี้ก็มีสิทธิ์ขายเพียงแค่ในขอบเขตแถวจีนเท่านั้น แล้ววัคซีนที่ว่าจะมาในเดือนนี้ให้ไทย งั้นจะมาจากไหนครับ?

>> ก๊อป Quote มาตรง ๆ เลย (บทสัมภาษณ์)

--“วัคซีนทางเลือกที่ผมเป็นกรรมการ จริง ๆ เราติดต่อทั้ง ‘โมเดอร์นา’ และ ‘ไบออนเทค เซาท์อีสต์เอเชีย’ ซึ่งเยอรมันกับจีน เขาทำอยู่

เตรียมนำเข้าวัคซีนอีก 2 ยี่ห้อ!!

ต่อมา พิธีกร ได้สอบถามว่า อยากให้ช่วยขยายความการซื้อวัคซีน ที่จะทำคล้าย ๆ กับ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์นำเข้าซิโนฟาร์มนั้น นพ.บุญ กล่าวว่า จะซื้อ 2 ยี่ห้อ คือ ไบออนเทค ของเยอรมัน ชนิด mRNA เป็นตัวเดียวกับไฟเซอร์ อีกตัวคือ โนวาแวกซ์ของอเมริกา แต่ยังไม่ผ่าน FDA ในอเมริกา แต่ตอนนั้นเราจดซิโนแวค โดยยังไม่มีใครรับรองเลย ก็คิดว่าน่าจะทำได้” (ที่มา : https://www.matichon.co.th/local/news_2824988)

เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่บอกผมว่า นายแพทย์ผู้พูดอาจจะเข้าใจผิด ขอให้เข้าไปอ่านดูที่สัมภาษณ์กับทางหนังสือพิมพ์มติชนครับ เอ่ยเองชัดเจนว่า “เป็นตัวเดียวกับไฟเซอร์” เพราะฉะนั้นก็ไม่เข้าใจผิดสิครับ ก็แสดงว่า รู้ว่า ทั้ง 2 บริษัท ไม่ใช่บริษัทเดียวกัน แต่เป็นวัคซีนตัวเดียวกัน จริงหรือไม่?

อีกอย่างที่ผมติดต่อถามไปที่ BioNTech ส่วนตัวผมก็มองว่า สมเหตุสมผลไม่ใช่หรือ? ในเมื่อเอาชื่อ BioNTech เค้ามาอ้างอิงโดยที่บริษัทไม่ทราบ ซึ่งคำตอบที่ BioNTech ตอบผมกลับมาก็เขียนชัดเจน ผมเลยไม่เห็นความจำเป็นจะต้องติดต่อถามยืนยันกับทาง Pfizer อีกครั้งครับ ในเมื่อทาง Pfizer ไม่ได้ถูกยกมาอ้างอิงถึงว่ามีการติดต่อแต่อย่างใด

ผมไม่ใช่สื่อไทยนะ ผมเป็นแค่ประชาชนธรรมดาคนหนึ่งในเยอรมนี หน้าที่ต้องพิสูจน์ข้อมูลก่อนจะลงข่าว คือ หน้าที่ของสื่อครับ ไม่ว่าจะประเทศใด เพราะฉะนั้นอย่าขอให้ผมต้องไปติดต่อถาม Pfizer อีกรอบเลย เชิญสื่อไทยจัดการกันต่อเองตามสมควรครับ ผมชี้แจงในส่วนบริษัทในประเทศผม ก็เพราะผมไม่อยากให้ BioNTech เค้าต้องด่างพร้อยโดยที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรครับ

ปล. : ต้องขออภัยในความอยากรู้อยากเห็นของผมด้วย ไม่ได้อยากจะดราม่าแต่อย่างใด แต่ไม่อยากให้คนไทยต้องมานั่งหวังลม ๆ แล้ง ๆ แล้วอกหักกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ข้อมูลก็อยากจะให้ได้ข้อมูลจริงที่มันถูก ๆ กัน Fake News ปลิวว่อนเหลือเกิน

อีกอย่างผมในฐานะประชาชนเยอรมัน ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เข้าใจผิด หากวันนึงไม่ได้วัคซีนกันที่ไทย แล้วกลับกลายเป็นคนไทยจะมาด่าบริษัท BioNTech เอาได้ เพราะชัด ๆ ว่า บริษัทเจ้าตัวไม่ได้รู้เรื่องเลยแต่อย่างใด ตามอีเมล์ที่ตอบผมลงรูปมานั่นแหละเป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดแล้ว

ส่วนเมล์ผมที่เขียนไปหา BioNTech เพื่อความโปร่งใส ผมก็ได้ก๊อปมาลงให้ในคอมเมนท์แล้ว ส่วนรูปที่ผมแนบเป็นรูปจากอีเมล์ส่วนตัวผมนะครับ ซึ่งผมไปใส่ลายน้ำมา แล้วก็ใส่โลโก้ ใส่ชื่อผมอีกรอบ และลงอีกที สรุปแล้ว ก็คือ ลิขสิทธิ์ส่วนตัวของผม ใครที่อยากจะเอารูปผมไปใช้ ขอให้ติดต่อมาขอผมก่อน ขอความกรุณาอย่าขโมยรูปผมไปใช้โดยไม่ได้รับคำอนุญาตจากผม ขอบคุณครับ >> (Link ภาพ : https://www.facebook.com/GermanyInsights)


ที่มา : https://www.facebook.com/GermanyInsights


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รองโฆษกอัยการเผย ยื่นฟ้อง 11 ผตห.เยาวชนปลดเเอก ผิด 116 ศาลอาญา ส่วนอีก 3 รายที่ไม่มาศาลเเยกฟ้องเตรียมประสาน ตร.ตามภานุมาศ-ทัดเทพ หลังเบี้ยวนัด

นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า วันนี้พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง14 ราย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ,ฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉินฯเเบะความผิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เเต่วันนี้มีผู้ต้องหาไม่ได้เดินทางมาตามนัดอัยการ 5 รายประกอบด้วย นายพริษฐ์ ,นายณัฐวุฒิ  ซึ่งอยู่ระหว่างกักตัวโควิด

เเละนายภาณุพงศ์ ติดรายงานตัวรับทราบคำสั่งอัยการที่ จ.ระยอง ส่วน นายภานุมาศ  เเละ นายทัตเทพ ไม่สามารถติดต่อได้จากนี้ก็จะประสานพนักงานสอบสวนเพื่อติดตามมายื่นฟ้องต่อศาลต่อไป โดยวันนี้ทางพนักงานจะยื่นฟ้อง ผู้ต้องหาจำนวน 11 คนก่อนประกอบด้วยผู้ต้องหาที่มารายงานตัวกับ นายพริษฐ์เเละนายภาณุพงศ์ เนื่องจากตัวอยู่ในอำนาจศาลในคดีอื่น ส่วนอีก3 คนจะเเยกฟ้องในวันอื่นต่อไป

'เทศบาลแพรกษา'​ สืบสานพระปณิธานช่วยเหลือคนแพรกษา ประสานความร่วมมือ เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19

ที่บริเวณอาคารชั้น 1 สำนักงานเทศบาลตำบลแพรกษา ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร สส.สมุทรปราการ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย นางอรัญญา สุวรรณบุตร นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา, นายเมธากุล สุวรรณบุตร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เขต 14 ร่วมเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 พร้อมเดินตรวจเยี่ยมการให้บริการและให้กำลังใจประชาชนที่เดินทางมารับการฉีดวัคซีนที่อาคารสำนักงานเทศบาลตำบลแพรกษา

โดย นางอรัญญา สุวรรณบุตร นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา นำคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ สมาชิก เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลแพรกษา เดินตรวจเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตำบลแพรกษา และประชาชนที่เดินทางมารับการฉีดวัคซีนในวันนี้ และเป็นวันแรกที่ทางเทศบาลตำบลแพรกษาได้จัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนให้กับประชาชน เนื่องจากพื้นที่โดยรอบมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก เทศบาลตำบลแพรกษามีความห่วงใยประชาชนในเขตพื้นที่แพรกษา รวมถึงประชาชนพื้นที่โดยรอบของจังหวัดสมุทรปราการจึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนแห่งนี้  

อีกทั้ง เพื่อลดความแออัดและเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน จึงได้ประสานความร่วมมือไปยังอบจ.สมุทรปราการ และสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ สาธารณสุขอำเภอเมืองสมุทรปราการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางมารับการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19 โดยการเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก หม่อมหลวงสกุล มาลากุล  สมาชิกวุฒิสภา เดินทางมาร่วมเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนในครั้งนี้

สำหรับศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19  เทศบาลตำบลแพรกษาจะเปิดให้บริการฉีดวัคซีนในวันจันทร์-วันศุกร์ รอบแรกตั้งแต่เวลา 8.30 น. เป็นต้นไป และในส่วนของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแพรกษาและพื้นที่ใกล้เคียงที่มีความประสงค์ที่จะรับการฉีดวัคซีน สามารถติดต่อขอลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเทศบาลตำบลแพรกษา วันจันทร์-วันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ หลังทำการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วทางสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ จะส่ง sms แจ้งเตือนวันและเวลาในการรับการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้ทราบ

ที่มา: คิว-ข่าวสมุทรปราการ  รายงาน

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Chalermchai Boonyaleepun เกี่ยวกับสัดส่วนการส่งออกวัคซีนของไทย เพื่อให้เพียงพอที่จะใช้ภายในประเทศว่า...

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Chalermchai Boonyaleepun เกี่ยวกับสัดส่วนการส่งออกวัคซีนของไทย เพื่อให้เพียงพอที่จะใช้ภายในประเทศว่า...

ไทยเตรียมกำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีน เพื่อให้มีวัคซีนเพียงพอที่จะใช้ภายในประเทศ

จากกรณีที่ประเทศไทย มีข้อตกลงเบื้องต้นที่จะได้รับวัคซีนจากบริษัทแอสตร้า (ประเทศไทย) จำนวน 61 ล้านโดส จากกำลังการผลิตทั้งสิ้น 180 ล้านโดสต่อปี คิดเป็น 1/3 ของกำลังการผลิต ที่เหลืออีก 2/3 จัดส่งให้กับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน

โดยมีการวางแผนที่จะได้รับวัคซีน...

- มิ.ย. 6 ล้านโดส

- ก.ค.-พ.ย. เดือนละ 10 ล้านโดส

- ธ.ค. 5 ล้านโดส

ซึ่งเมื่อรวมกับวัคซีน Sinovac / Pfizer / Moderna / Sinopharm ก็จะทำให้ไทยมีปริมาณวัคซีน 105 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้

แต่เมื่อทาง บริษัทแอสตร้า (ประเทศไทย) เดินเครื่องการผลิตภายในประเทศ

เริ่มเดือนมิถุนายน ก็มีเหตุขลุกขลักเล็กน้อย แต่ในที่สุดไทย ก็ได้รับวัคซีนมาจำนวน 6 ล้านโดส

โดยที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนถูกเลื่อนการส่งวัคซีนออกไป

และในขณะนี้ มีข่าวว่า บริษัทแอสตร้า (ประเทศไทย) กำหนดจะส่งวัคซีนให้กับประเทศไทยเฉลี่ยเดือนละ 5-6 ล้านโดส ซึ่งเป็นสัดส่วนหนึ่งในสามของกำลังการผลิต ที่ได้เดือนละ 15 ล้านโดส

นั่นก็หมายความว่าวัคซีนที่ไทยจะได้รับในหกเดือนแรกจำนวน 61 ล้านโดส จะถูกกระจายออกไปเป็นได้รับเดือนละ 5 ล้านโดสเป็นเวลา 12 เดือนแทน

ซึ่งก็จะไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ ทางรัฐบาล จึงได้เตรียมการแก้ปัญหาดังกล่าวสองแนวทางด้วยกัน

>> แนวทางที่หนึ่ง การเจรจา โดยความเข้าอกเข้าใจ และชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็นที่ไทยจะต้องได้รับวัคซีนในสิ้นปีนี้จำนวน 61 ล้านโดส แทนที่จะเป็นเฉลี่ย 12 เดือน

>> แนวทางที่สอง ถ้าการเจรจานั้นไม่สามารถตกลงกันได้ ก็จะเป็นการดำเนินการเหมือนที่สหภาพยุโรปและประเทศอินเดีย ได้ดำเนินการแล้ว คือ ใช้กฎหมายในสถานการณ์ที่มีโรคระบาด

ประเทศไทยเอง ก็ได้มีการเตรียมการกฎหมายดังกล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2561 คือ พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561

โดยในมาตรา 18 ระบุว่า…

ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อป้องกัน ควบคุม รักษา หรือลดความรุนแรงของโรค หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ

ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอำนาจประกาศกำหนดเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้

>> (2) สัดส่วนการส่งออกวัคซีนไปนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งต้องเหมาะสมกับสัดส่วนการใช้วัคซีนภายในประเทศ เมื่อเหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็นสิ้นสุดลงแล้ว ให้รัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศนั้น

ทั้งนี้รัฐมนตรีในพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

และคณะกรรมการ หมายถึงคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธาน และมีผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนเป็นกรรมการและเลขานุการ

มติของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติวันนี้ ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติร่วมกับอธิบดีกรมควบคุมโรค ไปทำการพิจารณาทบทวนเนื้อหาร่างประกาศดังกล่าว โดยให้พิจารณา…

1.) ผลกระทบซึ่งจะเกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านและบริษัทแอสตร้า (ประเทศไทย)

2.) ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติและประชาชน

โดยขอให้เน้นการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตอย่างเต็มที่เป็นลำดับแรก แล้วกลับมารายงานถึงผลการเจรจา รวมทั้งร่างประกาศที่จะพิจารณาต่อไป

หวังว่าบริษัทผู้ผลิตคงจะเข้าใจและพยายามยืดหยุ่นการส่งวัคซีนให้ เช่นเดียวกับกรณีของสหภาพยุโรปและอินเดีย ก็ได้ใช้มาตรการเดียวกันนี้ เพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาดของประเทศเอาไว้ให้ได้


ที่มา :

https://www.facebook.com/237959479586026/posts/4017685858280017/

https://www.blockdit.com/posts/60eee08194f99a0c8365034f

อ้างอิง:

https://www.prachachat.net/marketing/news-713812

https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2140230

http://www.nvi.go.th/index.php/files/large/ad4b0a607855cf0


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

“บิ๊กตู่” ย้ำการจัดทำแผนพัฒนาภาคกลุ่มจังหวัดและจังหวัด เน้นสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างเท่าเทียมเป็นธรรม ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน  

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) และคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ครั้งที่ 2/2564 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดย นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำความสำคัญของการจัดทำแผนพัฒนาภาค แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาจังหวัด โดยการจัดทำแผนงานโครงการต้องคำนึงถึงศักยภาพของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และมาจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ทั้งนี้ แผนงานโครงการต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และมีการบูรณาการเชื่อมโยงการพัฒนาจากระดับบน (Top Down) สู่ระดับล่าง (Bottom Up) รวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยมุ่งเน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างเท่าเทียม และเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน  นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อที่ประชุมถึงนโยบายของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ในการจัดทำแผนพัฒนาภาค แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาจังหวัด ต้องปรับให้เข้ากับเกณฑ์ของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งการจะทำให้ประสบความสำเร็จ ต้องขึ้นอยู่กับแผนปฏิบัติการที่ต้องลงไปยังพื้นที่ ทุกอย่างต้องสอดคล้องกัน และการพัฒนาต้องเป็นการพัฒนาอย่างพุ่งเป้า เป็นไปตามศักยภาพของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ต้องมีการจัดเตรียมแผน จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนให้ดี ในการใช้งบประมาณต้องมีแผนการใช้งบประมาณในแผนเร่งด่วนตามกรอบระยะเวลา ที่ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า และปรับให้ตรงกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสถานการณ์โลก สถานการณ์ภายในประเทศ ที่สำคัญคือต้องทำให้สอดคล้องกับห้วงระยะเวลา โดยต้องมุ่งเป้าหมายไปที่การฟื้นฟูของประเทศจากสถานการณ์โควิด-19 ให้ได้โดยเร็วที่สุด รวมทั้งจะต้องมีเป้าหมายตัวชี้วัดการพัฒนาระดับความแตกต่างของรายได้ของประชาชน ของจังหวัด จีดีพีรายหัว ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า ในวันนี้ต้องทำงานแนวเชิงรุกให้มากยิ่งขึ้น การจัดทำแผนงาน/โครงการต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลรายละเอียดที่เพียงพอ แผนปฏิบัติการต้องผ่านความเห็นชอบ ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ผ่านคณะกรรมการจังหวัด เสนอขึ้นมาผ่านคณะกรรมการตรวจสอบ คัดกรอง ให้ได้ข้อยุติเป็นแผนที่สมบูรณ์ โดยรัฐบาลจะไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดใดก็ตาม ทุกจังหวัดจะต้องได้รับความเท่าเทียมและเป็นธรรม เท่าเทียมในเรื่องของโอกาส เป็นธรรมก็คือจะต้องดูแลผู้มีรายได้น้อยให้มากขึ้น ซึ่งในการจัดทำโครงการขอให้ทำให้ดีที่สุด เมื่อเสนอโครงการมาแล้วหากต้องส่งกลับไปใหม่ จะทำให้ล่าช้าไม่ทันการณ์ ฉะนั้น ท้องถิ่นและจังหวัดต้องตรวจสอบในเรื่องการจัดทำแผนงานโครงการให้สมบูรณ์ ทั้งนี้ การทำงานใดก็ตามที่มีลักษณะการทำงานแบบเดิม ๆ จะต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นการทำงานเชิงรุก ต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ รวมทั้งในโครงการจะต้องมีแผนหลัก แผนรอง แผนเผชิญเหตุ ให้พร้อมสำหรับการอนุมัติโครงการ ทุกจังหวัด ทุกกลุ่มจังหวัดต้องเตรียมการให้พร้อม กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนตามห้วงระยะเวลา รัฐบาลเน้นให้ทุกอย่างต้องเป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพ  

นายอนุชา กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ (1) นโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566 - 2570 (2) หลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 (3) แนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 ภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดปีละ 28,000 ล้านบาท (4) หลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2570 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (5) ร่างกรอบแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566 - 2570 ทั้ง 6 ภาค และหลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติการภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นกรอบในการจัดทำและเสนอขอโครงการที่สนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (6) ปฏิทินการดำเนินงานภายใต้กลไก ก.บ.ภ.ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 (7) แนวปฏิบัติสำหรับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กรณีการชำระเงินประกันค่าธรรมเนียมให้สถาบันอนุญาโตตุลาการในการฟ้องคดีโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยใช้เงินเหลือจ่าย และ (8) การขอโอนเปลี่ยนแปลงโครงการเพื่อชดเชยเงินถูกพับไปของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 โดยจังหวัดเสนอคำขอเปลี่ยนแปลงเพื่อขอความเห็นจากคณะกรรมการบริหารงานจังหวัด/กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการและจัดส่งคำขอเปลี่ยนแปลงโครงการภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2564

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบการปรับปรุงตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ชุดใหม่ ที่ยึดโยงกรอบมิติการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ประกอบด้วย ตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัด (32 ตัวชี้วัด) ตัวชี้วัดการพัฒนาระดับกลุ่มจังหวัด (15 ตัวชี้วัด) ทั้งนี้ จังหวัด กลุ่มจังหวัด และส่วนราชการ สามารถใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการวัดสถานะการพัฒนาพื้นที่เชิงเปรียบเทียบ จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้ รวมทั้งชี้พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้กับส่วนราชการเพื่อนำไปกำหนดแผนงานโครงการได้อย่างชัดเจน 

 

เริ่มแล้วจัดตั้งสถาบันวิจัยฯ พัฒนาระบบรางของประเทศ

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 แล้ว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค.64 เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง สร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง  รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการสนับสนุนอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศอย่างแท้จริง มีเป้าหมายเร่งด่วนคือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ 

ทั้งนี้ยังมีการวิจัยเพื่อสร้างรถไฟที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ต้นแบบครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมกับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการอื่นๆ ในอนาคต ส่วนเรื่องทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการจะมีเงินประเดิม เงินอุดหนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนจากการให้บริการของสถาบันวิจัยฯ และดอกผลรายได้จากทรัพย์สิน 

โดยสถาบันวิจัยฯ จะมีแนวทางในการจัดองค์การในแบบศูนย์ความเป็นเลิศในแต่ละด้าน เช่น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟความเร็วสูง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟขนส่งสินค้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าในเมือง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาบุคลากรระบบราง และศูนย์ความเป็นเลิศด้านข้อมูลระบบราง ซึ่งแต่ละศูนย์จะเน้นการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และหน่วยงานผู้ใช้เทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมระบบรางให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมต่อไป

“ศักดิ์สยาม” ประชุมคณะกรรมการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ เตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุประสบภัย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานคณะกรรมการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ ประชุมคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 ด้วยระบบ Video Conference โดยมี ปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยาน และเรือที่ประสบภัย ในฐานะกรรมการเข้าร่วมการประชุม การประชุมครั้งนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ประจำปี 2564 – 2565 ครั้งที่ 41 – 42 (SAREX 2021 - 2022) ซึ่งได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 

โดยมีสำนักงานคณะกรรมการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยาน และเรือที่ประสบภัย ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน ค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน ประสบภัยของประเทศ และประสานงานในการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลืออากาศยานที่อยู่ในภาวะอันตราย หรืออากาศยานที่สูญหายหรือขาดการติดต่อ และต้องการ การค้นหา และช่วยชีวิตผู้ที่ประสบภัยจากอากาศยานได้อย่างทันท่วงที คณะกรรมการฯ ได้รับทราบการเตรียมความพร้อมฯ ดังกล่าว และมีมติที่ประชุม ดังนี้ 

1.เห็นชอบในหลักการของแผนการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ พ.ศ. ... พร้อมมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย กับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หารือในรายละเอียดร่วมกัน เพื่อให้มีความครอบคลุม ครบถ้วนยิ่งขึ้น 

2. อนุมัติการจัดการฝึกซ้อมการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ประจำปี 2564 – 2565 ครั้งที่ 41 - 42 (SAREX 2021 - 2022) โดยมอบหมายให้

2.1 สำนักงานคณะกรรมการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยาน และเรือที่ประสบภัย ทำหน้าที่เป็นแกนกลาง และเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปแบบการฝึกซ้อม ณ ที่ตั้งหน่วย ในปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วย การฝึกซ้อมการติดต่อสื่อสาร (Communication Exercise), การฝึกซ้อมการประสานงาน (Coordination Exercise) และการอบรมสัมมนาหน่วยงานในระบบค้นหา และช่วยเหลือฯ ในเรื่องของแผนการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ

2.2 กองทัพเรือ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการฝึกซ้อมการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ในปีงบประมาณ 2565 เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลาย

3.  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดเขตความรับผิดชอบในการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของไทย ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการ จำนวน 13 หน่วย โดยมี รองปลัดกระทรวงคมนาคม ด้านอำนวยการ เป็นประธานอนุกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดเขตความรับผิดชอบในการค้นหา และช่วยเหลือฯ ของประเทศไทย ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ต่อไป 

4. มอบหมายให้เชิญผู้แทนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (ศรชล.) เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ เพื่อช่วยให้คำปรึกษาและแนะนำในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรณีที่เกิดเหตุอากาศยานประสบภัยทางทะเล

'สมุทรปราการ' ร่วมหารือ​ ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุโรงงานระเบิด

'สมุทรปราการ' ร่วมหารือ​ ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุโรงงานระเบิด

จังหวัดสมุทรปราการ บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุระเบิดโรงงานผลิตโฟมและเม็ดพลาสติกของบริษัท หมิงตี้ จำกัด จากบริษัทประกันภัย
โดยมี​ นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมเพื่อร่วมหารือกำหนดแนวทางการดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชน ในการเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุระเบิดโรงงานผลิตโฟมและเม็ดพลาสติกของบริษัท หมิงตี้ จำกัด จากบริษัทประกันภัย ณ ห้องประชุมชั้น 1​สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ (สคช. สป.) และสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานอัยการสูงสุด ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการได้ประชุมหารือกับสำนักงาน คปภ. จังหวัดสมุทรปราการ บริษัท คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยและบริษัท แม็คลาเรนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจมูลค่าความเสียหาย ได้กำหนดแนวทางการรับคำร้องขอรับค่าสินไหมทดแทนจากประชาชนที่ได้รับความเสียหาย พร้อมกรอบเวลาการดำเนินการเบื้องต้นไปแล้วนั้น ที่ประชุมเห็นว่า เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการได้มอบหมายให้ทางอำเภอบางพลีรวบรวมรายชื่อผู้เสียหายและความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงเห็นควรให้บริษัทประกันภัยและบริษัทสำรวจมูลค่าความเสียหายประสานขอข้อมูลจากอำเภอบางพลี
เพื่อดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อไป

โดยในวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 น.สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการและสำนักงาน คปภ. จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยบริษัทประกันภัยและบริษัทสำรวจมูลค่าความเสียหายจะเดินทางไปร่วมหารือกับอำเภอบางพลีเกี่ยวกับการทำงานให้มีความชัดเจน และเป็นรูปธรรมต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top