Saturday, 18 May 2024
Hard News Team

กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กชี้ความต้องการเหล็กโลกสูงขึ้นสวน “โควิด-19” เหตุจีนฟื้นตัว ทำให้ปริมาณผลิตตามไม่ทัน ส่งผลราคาเหล็กทั่วโลกพุ่ง เชียร์รัฐหนุนใช้สินค้าเหล็ก “Made in Thailand” ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ

นายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 2564 นี้ อุตสาหกรรมเหล็กโลกในภาพรวมมีการปรับตัวในทิศทางบวก โดยทั้งโลกมีผลิตเหล็กปริมาณเฉลี่ยกว่า 150 ล้านตันต่อเดือน เพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยทวีปเอเชียมีการผลิตเหล็กเพิ่มขึ้น 10.1% แต่ทวีปอเมริกาเหนือ สหภาพยุโรป มีการผลิตเหล็กถดถอย -7.1% และ -3.7% ตามลำดับ

แม้การผลิตเหล็กของโลกมีปริมาณมากขึ้น แต่ก็ไม่เพียงต่อความต้องการใช้เหล็กที่ปรับตัวขึ้นมากกว่า โดยคาดว่าทั้งปี 2564 ความต้องการใช้เหล็กของโลกจะเพิ่มเป็น 1,874 ล้านตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนซึ่งผลิตและใช้เหล็กมากที่สุดราว 55% ของโลก ในปี 2563 จีนต้องนำเข้าสินค้าเหล็กจากประเทศต่าง ๆ มากถึง 18.3 ล้านตัน เพิ่มเป็น 6 เท่าจากปี 2562 โดยสินค้าเหล็กที่จีนนำเข้าสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน 9.9 ล้านตัน เหล็กแผ่นรีดเย็น 3.8 ล้านตัน เหล็กแผ่นเคลือบ 2.4 ล้านตัน ส่งผลให้สินค้าเหล็กดังกล่าวที่จีนแย่งซื้อในตลาดโลกขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมาตลอด โดยในปีนี้จีนยังมีความต้องการใช้เหล็กเพิ่มต่อเนื่อง อย่างไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าทั้งปี 2564 จะมีความต้องการใช้เหล็กราว 1,025 ล้านตัน

 

จีนฟื้นหนุนตลาดเหล็กคึกคัก

เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งรัฐบาลจีนตั้งเป้าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ปี 2564 เติบโต 6.0% แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจของจีนสามารถเติบโตได้ถึง 8.2% - 9.5% เพราะจากข้อมูลดัชนีทางเศรษฐกิจ การลงทุนของจีนช่วงต้นปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล เช่น การลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเขตเมืองเติบโต 38.3% การลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องเติบโต 34.1% การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น 89.9% เป็นเฉลี่ยเดือนละ 1.93 ล้านคัน การลงทุนในระบบรางเพิ่มขึ้น 52.9% การลงทุนในระบบถนนเพิ่มขึ้น 30.7% การลงทุนในด้านการบินพลเรือน เพิ่มขึ้น 84.5% เป็นต้น ส่งผลให้จีนผลิตเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้

แม้จีนได้เร่งเพิ่มการผลิตเหล็กในช่วงต้นปีนี้ แต่โรงงานเหล็กในจีนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครถังซาน ซึ่งถือเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมเหล็กที่มีกำลังการผลิตเหล็กดิบมากกว่า 144 ล้านตัน จำเป็นต้องลดการผลิตลงราว 50% ระหว่างช่วงฉุกเฉิน มี.ค.-มิ.ย. และบางโรงงานต้องลดการผลิตไปจนถึงสิ้นปี 2564 ตามมาตรการของรัฐบาลจีนในการควบคุมและลดมลภาวะทางอากาศ ซึ่งจะทำให้ภาวะปริมาณเหล็กไม่พอเพียงต่อความต้องการของจีนทวีความรุนแรง มีแนวโน้มยืดเยื้อไปถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 ทำให้ราคาสินค้าเหล็กในทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เช่น ประเทศจีน ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนเมื่อกลางปี 2563 ต่ำสุดอยู่ที่ตันละ 420 ดอลลาร์ แต่ขณะนี้ราคาเสนอขายสูงขึ้นเป็น 2.2 เท่า ระหว่าง 910-925 ดอลลาร์ต่อตัน หรือในสหรัฐอเมริกา ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนขึ้นสูงสุดในโลกถึงกว่า 1,400 ดอลลาร์ต่อตัน เป็นต้น

นายนาวา กล่าวว่า อุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดในปี 2563 ซึ่งการบริโภคสินค้าลดเหลือ 16.5 ล้านตัน โดยมีอัตราการบริโภคเหล็กของคนไทย 248 กก.ต่อคนต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 229 กก.ต่อคนต่อปี แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่ 299 กก.ต่อคนต่อปี โดยรัฐบาลไทยสามารถดูแลปัญหาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างได้ดี ประกอบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่น ๆ เริ่มฟื้นตัว

ดังนั้น ปี 2564 ตลาดเหล็กของไทยจึงฟื้นและปรับตัวตามตลาดโลกด้วย คาดว่าปริมาณความต้องการใช้เหล็กของไทยจะเพิ่มขึ้น 5-7% เป็น 17.3-17.7 ล้านตัน ทั้งนี้ การใช้เหล็กภายในประเทศไทยจะเป็นภาคการก่อสร้างมากสุด 57% ตามด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ 22% อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล 9% อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า 8% และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โลหะ 5%

 

ผู้ผลิตเหล็กไทยชี้รัฐมาถูกทาง

นายนาวา กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท. มั่นใจว่านโยบายที่รัฐบาลได้ขับเคลื่อนมาแล้ว หากสามารถผลักดันให้หน่วยราชการปฏิบัติได้ผลจริงจะส่งผลบวกอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้แก่

1.) การส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตในประเทศที่ได้ขึ้นทะเบียน “Made in Thailand” กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรี 1 ก.ย.2563 และกฎกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 22 ธ.ค.2563 เรื่องกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ.2563 ให้สามารถดำเนินการได้อย่างจริงจัง จากงบประมาณรายจ่ายปีละกว่า 3.3 ล้านล้านบาท สามารถจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ผลิตในประเทศได้หลายแสนล้านบาท

ทั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า อุตสาหกรรมเหล็กมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย ทั้งในส่วนของการผลิต มูลค่าจีดีพี มูลค่าและจำนวนการจ้างงาน โดยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ในห่วงโซ่อุปทาน หากส่งเสริมการใช้สินค้าเหล็กที่ผลิตในประเทศไทยมากขึ้นจะช่วยสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนทำให้จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นได้อีก 0.66% ถึง 0.75% จากการเติบโตปกติ

2.) การออกมาตรการทางกฎหมายการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า ซึ่ง พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ ฉบับที่ 2 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ย. 2562 และใช้เวลาอีกปีกว่าจึงเพิ่งมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ และประกาศกรมการค้าต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อ มี.ค. 2564 โดยหวังให้กระทรวงพาณิชย์จะสามารถบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว และนำไปปฏิบัติได้ผลอย่างจริงจังและทันต่อเหตุการณ์

และ 3.) ขอให้รัฐบาลพิจารณาขยายผลให้โครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ต่าง ๆ เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการทางด่วน โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวมกันอีกนับล้านล้านบาท ส่งเสริมการใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพื่อก่อให้เกิดการจ้างงานและการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศไทย


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

“จุรินทร์” ไม่วิเคราะห์นายกฯ ออกคำสั่งส่ง “ธรรมนัส” คุมปักษ์ใต้ ชี้ทุกคนอ่านออก แต่ “วิษณุ” แจ้งที่ประชุม ครม.แล้วว่าจะแก้ไขให้ใหม่จึงต้องรอดู

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อ 20 เมษายนที่ผ่านมา ที่ที่ประชุมรับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้รัฐมนตรี รับผิดชอบงาน ภายใต้แนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด เพื่อให้การพัฒนา และแก้ไขปัญหาระดับจังหวัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการมอบหมายให้ร้อยเอกธรรมนัส พรมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ไปดูแลจังหวัดใหญ่ ๆ ในภาคใต้ ทั้งสงขลา ,นครศรีธรรมราช และภูเก็ต 

ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ดูแล ว่าตนไม่ขอตอบตรงนี้ และไม่ขอไปวิเคราะห์ เพราะคิดว่าทุกคนก็สามารถเข้าใจได้ไม่ต่างกัน  เพียงแต่ว่านายวิษณุ  เครืองาม  รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วว่าจะมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสม เพราะฉะนั้นก็ต้องรอตรงนั้นก่อน ซึ่งความจริงรัฐมนตรีหลายท่านก็เหมือนที่ปรากฏเป็นข่าว คือจะมีส่วนในการรับผิดชอบพื้นที่ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่

แต่ในส่วนของประชาธิปัตย์รัฐมนตรีหลายท่านก็ไม่ได้เข้าไปดูแลในพื้นที่ตรงนั้น ตัวอย่างเช่นกรณีของนายนิพนธ์ ที่เป็นอดีต ส.ส.สงขลา ดูแลพื้นที่จังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนให้ไปดูแลจังหวัดตรัง ละสตูล หรือแม้แต่นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ และส.ส.สุราษฎร์ธานี ก็ไม่ได้ดูแลพื้นที่ตนเอง แต่ได้ดูแลพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และหนองบัวลำภู หรือแม้แต่นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่เป็นอดีต ส.ส.พิษณุโลก ก็ไม่ได้ดูแลจังหวัดพิษณุโลก และไปดูแลจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร และพัทลุงแทน

“แต่ทั้งหมดนี้เมื่อนายวิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมชี้แจงว่าจะมีการปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไปก็ต้องรอว่าจะเป็นอย่างไร” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว

"เทพไท" ยกผลโพลของ สถาบันปกเกล้า และสถิติแห่งชาติ เรียกร้อง ส.ว.และพรรคการเมือง ฟังกระแสสังคม

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 22,830 ตัวอย่าง กระจายตามเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา ระหว่างวันที่ 1 - 19 เม.ย.ที่ผ่านมา และพบว่าประชาชนในสัดส่วนร้อยละ 77.5 มีความต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ขณะที่ร้อยละ 22.5 บอกว่าไม่ต้องการแก้ไข ซึ่งเป็นผลการสำรวจที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะสถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันที่ส่งเสริมประชาธิปไตย สังกัดรัฐสภาและสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นหน่วยงานราชการของรัฐบาล มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบสอบถาม และสำรวจข้อมูลมากที่สุด ซึ่งเชื่อว่าทั้ง2หน่วยงาน มีความเป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณในการสำรวจความคิดเห็น และมีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่ถูกแทรกแซง หรือรับใบสั่งจากนักการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  เมื่อเปรียบกับผลการสำรวจ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของโพลบางสำนัก ที่ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะมีการออกแบบสอบถาม และสำรวจความคิดเห็น ตามใบสั่งของฝ่ายการเมือง หรือต้องการผลสำรวจที่เชียร์กลุ่มการเมืองบางฝ่ายเท่านั้น 

สำหรับผลการสำรวจของสถาบันพระปกเกล้าร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่มีผลออกมาชัดเจนว่า ประชาชนร้อยละ 77.5 เห็นด้วยให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งน่าจะเป็นคำตอบเบื้องต้นให้กับพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ได้นำไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงสมาชิกวุฒิสภา ก็ควรจะฟังกระแสของประชาชนว่า มีความต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากน้อยแค่ไหน รวมถึงผลการสำรวจของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ควรเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ร้อยละ 39.1 รัฐสภา ร้อยละ 30.8 ซึ่งผลของทั้ง2ข้อนี้ เป็นการชี้ให้เห็นถึงเจตนารมย์ของประชาชน ที่ต้องการให้มีการแก้ ไขรัฐธรรมนูญผ่านตัวแทนของประชาชนเท่านั้น เพียงแต่จะใช้วิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) หรือจากรัฐสภาเท่านั้น 

จึงอยากให้สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้รับฟังกระแสของสังคม  และพรรคการเมืองหลายพรรค ที่หาเสียงด้วยนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรจะรักษาสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชน ในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมถึงพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ต้องรับผิดชอบ และปฎิบัติตามนโยบายเร่งด่วนข้อ12ของรัฐบาล ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย

"พล.อ.ประวิตร" ประชุม คกก.ยศ.ชาติ ติดตามความคืบหน้า กำชับหน่วยงานหลัก เร่งขับเคลื่อนนำสู่การปฏิบัติ เน้นปชช.มีส่วนร่วม มุ่งเป้า ชาติมั่นคง/ปชช.มีความสุข

เมื่อ 22 เมษายน พ.ศ.2564 พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษกประจำรอง นรม. เปิดเผยว่า วันนี้เวลา10.00น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง ครั้งที่ 1/2564   ณ  ห้องประชุม วิจิตรวาทการ  สมช.  ทำเนียบรัฐบาล

ที่ประชุม ได้รับทราบผลการดำเนินงาน ตามมติที่ประชุม คณะกรรมการบูรณาการ ยศ.ชาติ ด้านความมั่นคงเมื่อ 16 เมษายน 63 โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพหลัก รับผิดชอบประกอบด้วย กอ.รมน. ,กห. ,กต.และ สมช. ซึ่งมีความคืบหน้า อย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จะต้องให้ความสำคัญ ต่อการสร้างความเข้าใจ และการนำแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดผลสำเร็จ อย่างเป็นรูปธรรม เน้นให้มีการบูรณาการทำงาน ที่การประสานสอดคล้องกัน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ ตามเป้าหมาย ยศ.ชาติ ด้านความมั่นคง คือประเทศชาติมั่นคง/ประชาชนมีความสุข  พร้อมเน้นย้ำให้มีการทบทวน ยศ.ชาติ และแผนแม่บทฯ ให้มีความทันสมัยสอดคล้องตามบริบท สถานการณ์ของประเทศไทย ทุกๆด้าน อย่างแท้จริง

โฆษกรัฐบาล ย้ำโครงการเราชนะไม่เปิดรับลงทะเบียนเพิ่ม ผู้ได้รับสิทธิใช้จ่ายได้ถึง 30 มิ.ย 64 ใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 200,734 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงโครงการเราชนะว่า รัฐบาลไม่ได้มีการเปิดรับสมัครลงทะเบียนเพิ่ม โดยครม.นั้นได้เคยมีมติอนุมัติจำนวนกลุ่มเป้าหมายแล้วประมาณ 31.1 ล้านคน แต่เนื่องจากจำนวนผู้มีสิทธิที่เข้าร่วมโครงการจริงมีมากกว่าที่ประมาณการไว้ แยกเป็นผู้ได้รับสิทธิตามโครงการแล้ว 33.1263 ล้านคน, ผู้ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบคัดกรอง ประมาณ 86,000 คน และผู้ต้องการความช่วยเหลือ/ผู้ที่อยู่ระหว่างการทบทวนสิทธิประมาณ 284,000 คน ดังนั้นครม.จึงมีมติเห็นชอบให้ขยายกลุ่มเป้าหมายโครงการเราชนะให้เป็นประมาณ 33.5 ล้านคนเนื่องจากมีผู้รับสิทธิสูงกว่ากรอบเดิมที่วางไว้ 

กระทรวงการคลังจึงได้ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมมาใช้ให้สอดคล้องกับจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น โดยกระทรวงการคลังไม่ได้มีการเปิดรับสมัครลงทะเบียนเพิ่มในโครงการเราชนะแต่อย่างใด นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบขยายระยะเวลาที่ประชาชนผู้ได้รับสิทธิสามารถใช้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2564 จากเดิมที่ใช้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 และให้กระทรวงการคลังพิจารณาผลการทบทวนสิทธิให้เสร็จสิ้นภายใน 13 พ.ค. 64 ด้วย

ทั้งนี้ ความคืบหน้าของโครงการเราชนะ ณ วันที่ 21 เมษายน 2564 มีรายละเอียดผู้ได้รับสิทธิ และการใช้จ่าย ดังนี้

1) ประชาชนกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีจำนวน 13.7 ล้านคน ได้มีการใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา จำนวน 
73,254 ล้านบาท

2) ประชาชนกลุ่มที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในโครงการเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่ง และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและยืนยันการใช้สิทธิ์ร่วมโครงการฯ แล้ว จำนวน 16.8 ล้านคน และมีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา จำนวน 113,233 ล้านบาท

3) ประชาชนกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติแล้ว จำนวน 2.3 ล้านคน มียอดใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา จำนวน 14,247 ล้านบาท 

ทำให้มีผู้ได้รับสิทธิ์ในโครงการฯ แล้ว รวมทั้งสิ้นจำนวน 32.8 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 200,734 ล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านผู้ประกอบการร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ร้านค้าคนละครึ่งที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1.3 ล้านกิจการ โดยแยกเป็นการใช้จ่ายผ่านร้านธงฟ้า 68,671 ล้านบาท, ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 38,538 ล้านบาท, ร้าน OTOP 8,343 ล้านบาท, ร้านค้าทั่วไปและอื่นๆ 81,199 ล้านบาท, ร้านค้าบริการ 3,849 ล้านบาท, และขนส่งสาธารณะ 134 ล้านบาท

ขนส่งทางบก ออกมาตรการป้องกันโควิด-19 ขนส่งทั่วประเทศ ตรวจเข้ม ทั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารและจุด Checking point ย้ำ!!! รถโดยสารทุกประเภทปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) และสอดคล้องกับนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบและกำกับดูแลการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการขนส่งสาธารณะทุกประเภท โดยต้องมีการจัดระบบและระเบียบต่างๆ เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) กำหนด ซึ่งปัจจุบันได้มีการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ในจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุมในหลายจังหวัด 

ดังนั้น เพื่อให้สามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมการขนส่งทางบกได้ให้สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้มงวดตรวจสอบรถโดยสารสาธารณะและการให้บริการสถานีขนส่งผู้โดยสาร ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารทุกแห่ง และจุดตรวจเข้มข้นรถโดยสารสาธารณะ Checking Point ทั่วประเทศ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเคร่งครัด จนกว่าสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ และขอความร่วมมือผู้ประกอบการขนส่งพิจารณาปรับลดจำนวนเที่ยวการเดินรถระหว่างจังหวัดในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดเท่าที่สามารถจะทำได้ โดยให้สอดคล้องตามความจำเป็นและให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ ในส่วนของการเดินรถโดยสารสาธารณะในเขตเมืองขอให้ปรับลดการให้บริการในช่วงเวลา 23.00 น. จนถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 
.
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะทุกประเภทยังสามารถให้บริการได้ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด คือ เว้นระยะห่างระหว่างกันและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น (D-Distancing) สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทั้งพนักงานขับรถ ผู้ให้บริการ และผู้โดยสาร (M-Mask wearing) จัดให้มีจุดบริการเจลแอลกออฮอล์ล้างมืออย่างทั่วถึงเพียงพอ และล้างมือบ่อยๆ (H-Hand washing) ตรวจอุณหภูมิร่างกาย (T-Temperature) ตรวจหาเชื้อ (T-Testing) ใช้แอปพลิเคชันไทยชนะและหมอชนะ (A-Application) หรือกรอกข้อมูลการเดินทางตามแบบฟอร์มที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดทั้งก่อนและหลังการเดินทางทุกคน 

ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้กำชับให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้มงวดการตรวจคัดกรอง หากพบผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ผู้ประกอบการขนส่งสามารถปฏิเสธการให้บริการและให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุขทันที นอกจากนี้ให้เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสภายในรถ ภายในสถานีขนส่งผู้โดยสาร ขณะเดินทางรถโดยสารปรับอากาศต้องมีการระบายอากาศภายในรถเป็นระยะ และงดการให้บริการอาหารบนรถในระหว่างการเดินทาง รวมทั้งห้ามผู้โดยสารรับประทานอาหารบนรถโดยสารสาธารณะเว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเท่านั้น เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการแพร่หรือรับเชื้อจากการถอดหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าขณะอยู่บนรถโดยสารสาธารณะ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีเหตุจำเป็นขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทาง โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดจำนวน 18 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ ตาก นครปฐม นครราชสีมา นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต ระยอง สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระแก้ว สุพรรณบุรี และ อุดรธานี ซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรค อาจเสี่ยงหรือมีโอกาสติดโรค

หน.ศปม. ส่งรถทหาร 10 คัน ช่วยภารกิจลำเลียงผู้ป่วยประเภทสีเขียว ไปส่งรพ.สนาม สั่งแสตนบายอีก 20 คัน

เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2564 พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (หน.ศปม.) กล่าวถึงกรณีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นำรถทหาร เข้ามาช่วยในการลำเลียงผู้ป่วยโควิด-19 ว่า จะมาเข้าสนับสนุนในส่วนผู้ป่วยประเภทสีเขียว คือที่แพทย์ได้วินิจฉัยแล้วว่ามีผลเป็นบวก แต่อาการไม่มาก โดยจะเคลื่อนย้ายจากโรงพยาบาล ที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการตรวจ และเอ็กซเรย์ปอดวินิจฉัยแล้วเข้าข่ายผู้ป่วยประเภทสีเขียว ไปส่งยังโรงพยาบาลสนาม

เบื้องต้นจนถึงขณะนี้ กองทัพได้สนับสนุนรถทหาร ในภารกิจแล้ว 10 คัน ตามแผนจะใช้ประมาณ 30 คัน โดยจะเป็นรถพยาบาล ของกองพันเสนารักษ์รวมถึงรถสองตอน ที่ต้องแยกระหว่างคนขับกับผู้ป่วยออกจากกัน  ซึ่งส่วนใหญ่จะดำการในกรุงเทพมหานคร เป็นหลัก

"ปลื้มปีติน้ำพระทัย ในหลวง - พระราชินี"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน "น้ำยาตรวจ PCR COVID-19 " ให้แก่ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 10,000 ชุด มูลค่ารวม 7,200,000 บาท

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) มีประชาชน และข้าราชการทั้งในส่วนกองทัพอากาศ และนอกกองทัพอากาศ มาขอรับการตรวจเป็นจำนวนมาก และการตรวจแบบเต็มศักยภาพของโรงพยาบาล จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีประสิทธิภาพ และช่วยลดการแพร่กระจายโรคได้เป็นอย่างดี จำนวนน้ำยาตรวจ PCR COVID-19 ในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลจึงเริ่มขาดแคลน จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอรับพระมหากรุณาธิคุณขอพระราชทานน้ำยาตรวจ PCR COVID-19 เพื่อให้มีเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลประชาชนด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร 

ซึ่งมีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งเดียว ที่ดูเเลประชาชนสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เกือบ ๒ แสนคน ให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงต่อไป

ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานราชการ กรมแพทย์ทหารอากาศ ขอพระบรมราชานุญาต กราบพระบาท ด้วยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ 

นพ.ยง เผยผลตรวจภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของซิโนแวค พบผู้ฉีดมีภูมิต้านทานขึ้นได้ดีมาก เป็นที่น่าพอใจ ตรวจพบภูมิต้านทาน ต่อสไปรท์โปรตีน หรือหนามแหลม ถึง 99.4%

วันนี้ (22 เม.ย.) นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า โควิด-19 วัคซีน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีนจีน Sinovac

ทางศูนย์ได้ทำการศึกษาร่วมกับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว สมุทรสาคร การรายงานเบื้องต้น ถึงภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 Sinovac 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์

ตรวจภูมิต้านทานก่อนและหลังการให้วัคซีน พบว่าภูมิต้านทานขึ้นได้ดีมาก เป็นที่น่าพอใจ

4 สัปดาห์หลังฉีดเข็ม 2 ภูมิต้านทานที่ขึ้นได้เท่าเทียมกับภูมิต้านทานที่ตรวจพบจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติที่ 4 ถึง 8 สัปดาห์ ดังแสดงในรูป

 

ผู้ที่ฉีดวัคซีนตรวจพบภูมิต้านทาน ต่อสไปรท์โปรตีน หรือหนามแหลม ถึงร้อยละ 99.4 ในขณะผู้ที่ติดเชื้อตรวจพบภูมิต้านทาน ร้อยละ 92.4 ระดับภูมิต้านทานในกลุ่มที่ฉีดวัคซีน 2 เข็มมีค่าเฉลี่ยเรขาคณิต อยู่ที่ 89.5 u/ml

ส่วนผู้ที่ติดเชื้อในธรรมชาติจะมีระดับภูมิต้านทานค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 61 u/ml แสดงให้เห็นว่าการได้รับวัคซีนมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นได้เท่าเทียมกับภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ

ขณะนี้กำลังศึกษาระยะยาวถึงความคงอยู่ของภูมิต้านทาน เพื่อจะคาดการณ์ โอกาสที่จะเกิดการติดโรคหรือเป็นซ้ำ

เพราะเป็นที่ทราบดีแล้วว่าผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 ถึงหายแล้วก็ยังมีโอกาสที่อาจจะติดเชื้อซ้ำได้ แต่ความรุนแรงน่าจะน้อยลง

ในระยะยาว จากผลการศึกษานี้จะช่วยบอกว่าจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นด้วยวัคซีนเข็มที่ 3 หรือไม่ และถ้าจะต้องกระตุ้นจะกระตุ้นเมื่อใด

ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

“กรณ์” นำทีม บริจาคข้าวอิ่ม 2,000 กิโลกรัมผลิตข้าวกล่อง 30,000 ชุดให้ 'โรงพยาบาลสนาม'

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จนทำให้มีผู้ติดเชื้อขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ส่งผลให้โรงพยาบาลมีเตียงไม่เพียงพอต่อการรักษา รัฐบาลต้องจัดหาโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม นอกจากนี้ปัญหาที่ตามมาคือ อาหารเริ่มขาดแคลนในบางพื้นที่เนื่องจากมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และบุคลากรทางการแพทย์เองกีมีจำนวนจำกัดจำเป็นต้องมีจิตอาสามาช่วยเพิ่มเติม 

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า พร้อมด้วยนายอะตอม สัมพันธภาพ หัวหน้ากลุ่มกล้าอาสา และพ.ต.อ.ทศพล โชติคุตร์ ผู้กล้า-ชุมพร เป็นตัวแทนบริจาค “ข้าวอิ่ม” ข้าวหอมมะลิอินทรีย์จาก จ.มหาสารคาม ในรอบแรกจำนวน 2,000 กิโลกรรมให้กับ ทีม Food For Fighters เพื่อนำไปทำข้าวกล่อง ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสนาม ซึ่งคาดว่าจะผลิตได้จำนวน 30,000 ชุด 

นายกรณ์ กล่าวว่า พรรคกล้าร่วมกับโครงการเกษตรเข้มแข็งของชาวนามหาสารคาม และโครงการ Food For Fighters ของภาคเอกชน นำโดยคุณเต้-พันชนะ ตัวแทนสมาคมท่องเที่ยวและร้านอาหาร เป็นตัวกลางในการรับบริจาคเพื่อสมทบทุนจัดซื้อ “ข้าวเปอร์เซ็นต์-อินทรีย์” ให้กับโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ ซึ่งการบริจาคครั้งนี้ สามารถช่วยคนได้ 2 ต่อ ต่อแรกคือช่วยชาวนาผู้ปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ ต่อที่สองมอบอาหารดีให้แก่จิตอาสา และผู้ป่วยโรงพยาบาลสนาม บุคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัคร ที่ต้องทำงานกันอย่างหนักต่อเนื่องเป็นเวลานานผู้สนใจสามารถร่วมสมทบทุนเพื่อจัดซื้อข้าวเปอร์เซ็นต์-อินทรีย์ โดยผ่านโครงการ “เกษตรเข้มแข็ง” เลขที่บัญชี 902-7-11390-2 ธนาคารกรุงเทพ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top