Friday, 19 April 2024
สิ่งแวดล้อม

How to ทิ้ง "แยกขยะก่อนทิ้ง" กับ 8 ทางแยก(ขยะ)วัดใจ แยกให้ถูกถัง...เพิ่มพลังรักษ์โลก!!

หยุด!! การทิ้งขยะรวมกันในถังเดียวได้แล้ว เพราะ “การแยกขยะก่อนทิ้ง” เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยสิ่งแวดล้อม แล้วสามารถเริ่มได้จากตัวเราเอง ถ้าหากสิ่งแวดล้อมดี เราทุกคนก็จะดำเนินชีวิตได้อย่างสบายใจ และสูดลมหายใจได้อย่างเต็มปอด วันนี้ทาง THE STATES TIMES เลยขอชวนทุกคนมา “แยกขยะก่อนทิ้ง” แบบง่าย ๆ และถูกวิธีไปด้วยกันเลยยย...  

สามารถรับชมเพิ่มเติมได้ทาง >> https://youtu.be/gwJRhvCwy9k

 

‘ศรีสุวรรณ จรรยา’ รับหนังสือคัดค้าน ต่อต้านการก่อสร้างคอนโดยักษ์ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ตัวแทนชาวประชานุกูล ซอยรัชดาภิเษก 66-68 ที่ใด้รับความเดือดร้อนจากการสร้างคอนโดยักษ์ ยื่นหนังสือถึงสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ผ่านนายศรีสุวรรณ จรรยา คัดค้านต่อกต่อต้านการก่อสร้างคอนโดของบริษัทชื่อดังแห่งหนึ่งจำนวน 1 อาคาร 3 ทาวเวอร์ สูง 18 ชั้น ยาวติดกันเกือบ 300 เมตร บนเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 66.8 ตร.ว. ภายในซอยรัชดา 66 กับ 68 ซึ่งเป็นซอยแคบ.จำนวนหัองพักทั้งสิ้น 1302 ห้อง

พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่พักอาศัยของชาวชุมชน ที่อยู่กันมานาน 40-50 ปี การที่คณะกรรมการ คชก. เห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการ ชาวชุมชนไม่เห็นด้วยเพราะส่งผลกระบบต่อมลพิษเสียง ฝุ่นละออง และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฏกระทรวง ฉบับที่ 33 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกตาม พรบ. ควมคุมอาคาร 2522 และ 2544

นายศรีสุวรรณ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ของโครงการดังกล่าวปรากฏว่าข้อมูลไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ เช่น ไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535)  และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกตามความ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 และไม่เป็นไป ตามข้อบัญญัติ กทม.เรื่องควบคุมอาคาร 2544 และเป็นอาคารสูงที่บังแดด บังลมบ้านเรือนที่พักอาศัย รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละออง เสียงดัง จากการจราจร จากการก่อสร้าง จากยานยนต์และปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ที่จะตามมาอีกมากมายจากผู้ที่จะเข้ามาพักอาศัยอีกนับพันคนด้วย

คุณศิริ เหมือนศรี กล่าวว่า โครงการคอนโดที่จะเกิดขึ้นจะทำให้ตนเดือดร้อน และทรมานแน่นอน เคยเสนอให้สร้างแบบ 3ชั้น เขาก็ทำกันได้ แต่นี้ 30 ชั้น อีไอเอก็ไม่ผ่าน มติชาวบ้านก็ไม่เห็นด้วย จะลดมาเหลือ18ชั้นก็เดือดร้อนเช่นเดิม บ้านฉันห่างแค่8เมตร ถ้าเริ่มสร้างจะเกิดผลกระทบกับความเป็นอยู่มาก ที่กลัวมากเรื่องเครนใครรับผิดชอบถ้าหล่นพังลงมา เรื่องเสียงตอกเสาเข็ม ฝุ่นละออง ฉันเองเป็นโรคปอดอยู่ด้วยถูกตัดไปข้างหนึ่ง จะอยู่กันไม่ได้แน่นอน แล้วใครจะรับผิดชอบ

ด้านนายสมศักดิ์ พร้อมเชื้อแก้ว ผู้อาศัยติดโครงการ กล่าวว่า ร่วมประชุมมีคำถาม 3 อย่าง ไม่เคยตอบได้เลย อย่างแรก เรื่องการจราจร ที่จอดรถรับได้เพียงร้อยละ 60 เท่านั้น แล้วที่เหลือ ไปจอดที่ไหน ซอย 66 ที่เป็นซอยใหญ่สุดและคนอยู่มากที่สุด ต่อไปนี้จะมีรถมาจอดตามหน้าบ้านเต็มไปหมด แล้วจะเกิดปัญหาจราจรติดขัดแน่นอน

 

'ก้าวไกล' ซัด!! สิ่งแวดล้อมพังทลายครั้งใหญ่ ผลงาน 8 ปี ของรัฐบาล 'ประยุทธ์' ที่ทิ้งไว้

นิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สัดส่วนสิ่งแวดล้อม พรรคก้าวไกล กล่าวว่า แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จะถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไปแล้ว แต่ต้องบอกว่า 8 ปีที่ผ่านมาได้ทิ้งมรดกความชั่วร้ายไว้มากมายซึ่งยังคงยากจะฟื้นได้ นอกจากจะมีรัฐบาลที่มาจากประชาชนโดยแท้จริงมาบริหารเท่านั้น ไม่ใช่ลูกครึ่งแต่งตั้งมาช่วยเลือกรัฐบาลอย่างทุกวันนี้

สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งตนติดตามมาตลอด ต้องถือว่าเป็น 8 ปีแห่งความพังทลายเช่นกัน ในขณะที่ปัญหาโลกร้อนและความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้นทุกที แต่รัฐบาลนี้กลับมีแต่การสร้างเศรษฐกิจสีเขียวแบบลวงหลอก ปากอ้างปกป้อง แต่แท้จริงทำลายและหาประโยชน์ครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่าง EEC ที่มีแต่ขายฝัน กระจุกผลประโยชน์เพื่อนายทุนใหญ่และกองทัพเท่านั้น ส่วนพี่น้องประชาชนถูกไล่ที่ มีการเปลี่ยนสีผังเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์จากราคาที่พุ่งสูงในที่ดินพวกพ้อง ซ้ำยังจะมีโครงการถมทะเลมาบตาพุด 1000 ไร่ ที่ส่งผลกระทบกับวีถีชีวิตผู้คน แย่งชิงฐานทรัพยากรทางทะเล ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติมากมายมหาศาล โดยไม่มีการจัดสรรงบ เพื่อเยียวยาและชดเชยให้ประชาชน และดีไม่ดี หากแลกกับทรัพยากรที่ถูกทำลาย การฟื้นฟูกลับมาอาจยากและต้องเสียเงินในการดูแลผลกระทบมากกว่าเศษกำไรที่ตกลงมาเสียอีก

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายนโยบายที่ทำให้กลไกการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมอ่อนแอลงด้วย เช่น คำสั่ง คสช.4/2559 และ 9/2559 ที่ยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายผังเมือง และการทำ EIA นำไปสู่การปล่อยผีโรงงานสร้างมลพิษ สะสมสารเคมีอันตรายใกล้ชุมชนได้ ดังที่เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานหมิงตี้จนต้องมีการอพยพประชาชน รวมถึงการหาประโยชน์จากการสร้างโรงงานขยะจนทำให้ไทยกำลังกลายเป็นบ่อขยะโลก เป็นต้น

"ยังมีอีกหลายกรณีที่นโยบายของรัฐบาลนี้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่กลับปัดตกหรือดองเค็มกฎหมายที่มีประโยชน์ที่จะมาช่วยสร้างเครื่องมือและกลไกดูแลประชาชนให้เข้มแข็งขึ้น เช่น กฎหมาย PRTR ที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล

'บิ๊กป้อม' ปลื้ม!! คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวัง 'ของเสีย-สารพิษ-ขยะพลาสติก' ต่อเนื่อง

(28 ต.ค. 65) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนรม. ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 5 / 65 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี รมว.ทส ปล.ทส.และ ปล.กห.ร่วมประชุม ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ

ที่ประชุมรับทราบ รายงานภาพรวมสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ปี 65 ดีขึ้น โดยมีพื้นที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงเพิ่มขึ้น และการใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สถานการณ์ที่ควรติดตามเฝ้าระวัง เช่น ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีและวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปริมาณขยะพลาสติก ของเสียอันตราย มูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น และธรณีภัยพิบัติเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งรับทราบผลการดำเนินงานบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ ตามแผนการปฏิรูปประเทศ พบว่า เขตควบคุมมลพิษ 18 พื้นที่ ใน 13 จว. ไม่มีพื้นที่ใด มีความพร้อมในการยกเลิกเขตควบคุมมลพิษในปี 65 โดยมีพื้นที่หมู่เกาะพีพี จว.กระบี่ เป็นที่เดียวที่มีความพร้อมยกเลิกในระยะไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ ต.หน้าพระลาน จว.สระบุรี และ จว.ระยอง ยังอยู่ในสถานะมีความพร้อมน้อย ปัญหาภาพรวมจากข้อจำกัดงบประมาณ รวมทั้งการกำกับดูแลไม่ทั่วถึงและเข้มงวดพอ

พบ 'โลมาอิรวดี' ตายเกยตื้นที่บางขุนเทียน ด้าน จนท. เข้าตรวจสอบ แต่ระบุสาเหตุการตายไม่ได้

เมื่อไม่นานมานี้ เพจ 'กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง' ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการพบซากโลมาอิรวดีตายเกยตื้น บริเวณคลองสะพานรักษ์ทะเล บางขุนเทียน แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุการตายได้เนื่องจากสภาพเน่ามาก โดยระบุว่า...

วันที่ 17 มกราคม 2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก (ศวบอ.) ได้รับการประสานจากสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 กรณีเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก คุณโสภิณ จินดาโฉม พบซากโลมาเกยตื้น บริเวณคลองสะพานรักษ์ทะเล บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 

‘พิธา’ ตั้งโพเดียมกลางน้ำ เปิดนโยบายสิ่งแวดล้อม ลั่น!! เอาจริง แก้ปัญหาโลกร้อน ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

(24 ก.พ. 66) ที่ชุมชนปากคลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงเปิดนโยบาย 'สิ่งแวดล้อมไทยก้าวหน้า' ซึ่งเป็นชุดนโยบายที่ 7 จากทั้งหมด 9 ชุดนโยบาย

การเปิดนโยบายครั้งนี้ มีจุดเด่นคือ การตั้งโพเดียมกลางน้ำ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการกล่าวถ้อยแถลงของรัฐมนตรีการต่างประเทศ ของประเทศตูวาลู ในช่วงการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 26) โดยพิธากล่าวว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่า ปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนมากกว่าที่คิด และส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตประชาชน เช่น ปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงและถี่ขึ้น

จากตัวอย่างพื้นที่ปทุมธานี ที่เป็นสถานที่แถลงนโยบาย คนในชุมชนนี้บอกว่าในอดีตน้ำท่วม 2-3 เดือนต่อปี แต่ปัจจุบันน้ำท่วม 5-6 เดือนต่อปี หรือเมื่อ พ.ศ. 2549 พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากมี 10 ล้านไร่ ตอนนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเป็น 27 ล้านไร่ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของธนาคารโลกที่ระบุว่าปี 2011-2045 (พ.ศ. 2554-2588) โลกร้อนจะสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรไทยราว 3 ล้านล้านบาท ผลิตพืชต่าง ๆ ได้น้อยลง เช่น ข้าวน้อยลง 13% มันลดลง 21% อ้อยลดลง 35%

หัวหน้าพรรคก้าวไกลระบุว่า รัฐบาลอาจบอกว่าเราสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับสหประชาชาติ แต่ตัวเลขเหล่านั้น เราเก็บเอง เขียนรายงานเอง ต่างจากการประเมินโดยองค์กรระหว่างประเทศ ที่บอกว่าการรับมือในเรื่องนี้ของไทยอยู่ในระดับ ’ไม่เพียงพอขั้นวิกฤติ’ (Critically Insufficient) และหากทำตามนโยบายปัจจุบันของรัฐบาลต่อไป จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 4 องศา ในขณะที่ความพยายามของทั้งโลก ต้องการให้ต่ำกว่า 2 องศา

“ปัญหาโลกร้อนเป็นภัยความมั่นคงของยุคปัจจุบัน นี่คือศัตรูตัวจริงของรัฐบาล ไม่ใช่ความมั่นคงทางทหารแบบเดิมอีกต่อไป ดังนั้น พรรคก้าวไกลต้องการประกาศศึกกับภาวะโลกร้อน โดยมีนโยบายที่ชัดเจน ทั้งในเชิง ‘รับ’ เพื่อรับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และในเชิง ‘รุก’ ที่รุกไปที่ต้นตอของปัญหา เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้จริง ควบคู่กับสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม” พิธากล่าว

สำหรับชุดนโยบาย ’สิ่งแวดล้อมไทยก้าวหน้า’ ของพรรคก้าวไกล ต้องการเอาจริงกับปัญหาโลกร้อน ผ่านนโยบายเชิงรุกและเชิงรับ ต่อไปนี้

(A) เชิงรุก : เร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593)

ด้านการผลิตไฟฟ้า = เปิดตลาดเสรี ส่งเสริมไฟฟ้าสะอาดพลังงาน :
1.) หลังคาสร้างรายได้ เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ครัวเรือน
2.) ปลดล็อกระเบียบ สร้างตลาดซื้อ-ขายไฟฟ้าเสรีของประชาชน
3.) ประกันราคา ไฟฟ้าพลังงานสะอาด สำหรับครัวเรือน
4.) ปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด ภายใน 2035 (พ.ศ.2578)

ด้านการเกษตร = ป้องกันการเผา เปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกเป็นรายได้ :
5.) กำจัดการเผาภายใน 3 ปี งบปรับตัวตำบลละ 3 ล้านบาท 1,000 ตำบล
6.) เปลี่ยนการเผาเป็นเงินในกระเป๋าเกษตรกร งบอุดหนุนปลูกข้าว ’เปียกสลับแห้ง’ แทนการเผา สร้างอุตสาหกรรมแปรรูปฟางข้าว-ซังข้าวโพดแทนการเผา
7.) 1 ฟาร์มปศุสัตว์ 1 บ่อหมักก๊าซชีวภาพ (เป็นอย่างน้อย) เปลี่ยนมีเทนเหลือทิ้งให้เป็นพลังงาน

ด้านอุตสาหกรรม = จำกัดการปล่อยมลพิษอุตสาหกรรม :
8.) กำหนดเพดานและเปิดตลาด (Cap & Trade) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม เปิดตลาดค้าขายแลกเปลี่ยนโควตา
9.) PRTR – กฎหมายเปิดข้อมูล บังคับให้ทุกโรงงานเปิดข้อมูล สารพิษอันตรายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ด้านการขนส่ง = ปรับปรุงการขนส่งให้สะอาดที่สุด :
10.) รถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด ภายใน 7 ปี
11.) วันขนส่งฟรี รณรงค์ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว
12.) เปลี่ยนรถไฟดีเซลเก่าเป็นไฟฟ้า
13.) ตรวจสภาพรถยนต์ฟรี! ปีละครั้ง
14.) ควบคุมปริมาณรถบรรทุกในเขตเมือง

‘บิ๊กป้อม’ นั่งหัวโต๊ะ ร่วมประชุมด้านสิ่งแวดล้อม 10 โครงการ จี้!! ทุกหน่วย เร่งแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปกป้องสุขภาพ ปชช.

(15 มี.ค. 66) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

คณะกรรมการฯ ได้รับทราบ รายงานผลการประชุม สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วย พื้นที่ชุมน้ำสมัยที่ 14 จัดขึ้นภายใต้ หัวข้อ ‘Wetlands Action for People and Nature’ โดยมีพิธีมอบรางวัล Wetland City Accreditation ซึ่งประเทศไทยได้รับมอบรางวัล การรับรอง อำเภอศรีสงคราม จีงหวัดนครพนม ให้เป็นเมืองแห่งพื้นที่ชุมน้ำภายใต้อนุสัญญาว่าด้วย พื้นที่ชุมน้ำ

จากนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) 10 โครงการสำคัญ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่
1.) โครงการประตูระบายน้ำกรงปินัง จ.ยะลา ของกรมชลประทาน
2.) โครงการบ้านเคหะกตัญญู คลองหลวง 2 จ.ปทุมธานี ของการเคหะแห่งชาติ
3.) โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองน่าน ของกรมทางหลวง

4.) โครงการทางเลี่ยงเมืองสกลนคร (ด้านทิศตะวันออก) ของกรมทางหลวง
5.) โครงการทางหลวงหมายเลข 103 อ.ร้องกวาง-อ.งาว ของกรมทางหลวง.
6.) โครงการทางขนานสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ของกรมทางหลวง
7.) แผนงานขยายเขตไฟฟ้าให้หมู่บ้านในโครงการหมู่บ้านพัฒนาเพื่อความมั่นคง พื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ปาย และอ.บางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน (กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

‘บิ๊กป้อม’ สั่งคุมเข้ม ‘มาตรการทำเหมืองแร่’ ย้ำหลักใช้แร่อย่างยั่งยืน - เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

(15 มี.ค.66) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับรายงาน แนวทางการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมเมืองแร่ โดยจะมีการพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการที่เข้าร่วมรับสมัคร เพื่อรับรางวัลเหมืองแร่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีธรรมาภิบาล พร้อมทั้งจัดให้มีกิจกรรมเหมืองแร่ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีธรรมาภิบาล ประจำปี พ.ศ.2566 และรับทราบ รมว.ทส. ได้เข้าร่วมการประชุมเสวนาโต๊ะกลม ระดับรัฐมนตรี ณ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ในหัวข้อบทบาทของรัฐบาลในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานแร่ธาตุที่สำคัญ และการพัฒนาอุตสาหกรรม อย่างยั่งยืน 

พร้อมทั้งได้กล่าวปาฐกถาแสดงบทบาทของไทย ในเวทีระดับโลกต่อการพัฒนาแร่ โดยใช้หลักการใช้ทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลัก BCG Model และแนวทางการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์แร่ อย่างคุ้มค่าเพื่อให้ เป็นสมบัติของคนรุ่นต่อไป โดยเน้นกระบวนการรีไซเคิล และอัปไซเคิล เพื่อลดการใช้ทรัพยากรแร่ และได้มีการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความร่วมมือในการสร้างศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการพัฒนาแร่ธาตุที่สำคัญ ระหว่างภูมิภาค แอฟริกา-เอเชียตะวันตก-เอเชียกลาง

‘พระปัญญาวชิรโมลี’ สุดยินดี แนวคิด ‘โรงเรียนเสียดายแดด’ ถูกนักวิจัยมหิดลนำไปทำวิทยานิพนธ์ เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง

(9 มิ.ย. 66) พระปัญญาวชิรโมลี (นพพร ธีรปญฺโญ) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการ เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่รู้จักในวงกว้างว่าเป็น ‘พระนักพัฒนา’ จากการที่เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม หรือ ‘โรงเรียนเสียดายแดด’ ได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาโซลาร์เซลล์มาต่อยอดเป็นพลังงานทดแทนไว้ใช้ในโรงเรียน และสร้างระบบ Smart Farm, รถเข็นนอนนา (สถานีไฟฟ้าเคลื่อน), บ้านกินแดด, รถไฟฟ้า Ev Car จากแผงโซลาร์เซลล์ เป็นต้น จนทำให้ลูกศิษย์บางคนตั้งฉายาให้ท่านทั้ง ‘พระเสียดายแดด’ และ ‘เจ้าคุณโซลาร์เซลล์’

ล่าสุด พระปัญญาวชิรโมลี ได้โพสต์บอกเล่าผ่านเฟซบุ๊ก ชื่อ ‘พระปัญญาวชิรโมลี นพพร’ ถึงนักวิจัยที่ได้นำเรื่องราวการทำงานของพระปัญญาวชิรโมลี ที่นำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาพัฒนาคน พัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศชาติ ไปจัดทำเป็นวิทยานิพนธ์ โดยระบุว่า…

“2 นักวิจัย มาทำวิทยานิพนธ์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับแนวคิดการทำงานของพระปัญญาวชิรโมลี ที่นำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาพัฒนาคน พัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศชาติ จนเป็นที่รู้จักในนาม ‘โรงเรียนเสียดายแดด’ ที่นำโซลาร์เซลล์มาจัดการเรียนการสอน จนสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้นักเรียนและชุมชนสามารถรับงานติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ทั่วประเทศ และการทำเกษตรอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ณ แปลงพระราชทานโคก หนอง นา พุทธอารยเกษตร

ทราบว่าวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ถ้าเสร็จจะเป็นเล่มที่ 2 ของประเทศไทย เล่มแรกเป็นของเราเอง ทางเจ้าของจะพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ แต่หลายคนอยากให้ทำเป็นภาษาไทย เผื่อรุ่นต่อไปจะได้อ้างอิงง่าย”
 

สอท. เผย ซาอุฯ เตรียมนำเข้าต้นไม้ 5 หมื่นล้านต้น ชี้!! เป็นโอกาสทองของไทยเพิ่มรายได้เข้าประเทศ

(15 มิ.ย. 66) นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมคณะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย กับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยคณะภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือทวิภาคี และส่งเสริมการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ในการเร่งผลักดันการค้า การลงทุน โดยหนึ่งที่น่าสนคือ โครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้น ในกลุ่มประเทศอาหรับตามเป้าหมายของ Vision 2030 ของซาอุดีอาระเบีย

“โครงการนี้ มีแผนที่จะนำเข้าต้นไม้จากทั่วโลกเพื่อให้บรรลุตามนโยบายซาอุดีอาระเบียสีเขียว (The Saudi Green Initiative) เพื่อเปลี่ยนพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีชีวิตชีวา โดยการปลูกต้นไม้ 10,000 ล้านต้น และร่วมสนับสนุนผลักดันโครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้นทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง”

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยได้ส่งต้นไม้ไปยังซาอุฯ แล้วกว่า 200,000 ต้น และถือว่ายังมีโอกาสให้ไทยส่งออกต้นไม้ไปยังซาอุฯ ได้อีกมาก ซึ่งซาอุดีฯ จะร่วมมือกับประเทศสมาชิก GCC และประเทศหุ้นส่วนอื่น ๆ ในการปลูกต้นไม้ในเอเชียตะวันตกเพิ่มอีก 4 หมื่นล้านต้น

นายกำแหง กล้าสุคนธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มิ.ย. 2566) มีผู้ขอนำไม้ยืนต้นมาจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว จำนวน 146,860 ต้น มูลค่ารวม 138,048,597.02 บาท ล่าสุด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จับมือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แสดงออกเชิงสัญลักษณ์… ตั้งมั่นรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการนำไม้ยืนต้นที่มีค่ามาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ และโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) ส่งเสริมเกษตรกรรังสรรค์ประเทศให้เป็นพื้นที่สีเขียว เพิ่มออกซิเจนและโอโซนช่วยให้อากาศสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

พร้อมผลักดันประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตคาร์บอนเครดิตระดับโลก โอกาสนี้ มอบวงเงินสินเชื่อให้เกษตรกร 5 ราย จากการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ ยอดรวม 623,885 บาท และมอบประกาศเกียรติคุณแก่ธนาคารต้นไม้ 3 ชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการ LESS มั่นใจ!! โลกใบนี้จะสวยงามและน่าอยู่ หากเราร่วมแรงร่วมใจรักษาสิ่งแวดล้อม ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการปลูกไม้ยืนต้นที่มีค่า สร้างความมั่นคงให้ลูกหลาน อนาคตได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ยาวๆ พร้อมยึดเจตคติ… มีต้นไม้… มีป่าไม้… มีเรา… จรรโลงโลกให้น่าอยู่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top