Thursday, 2 May 2024
สหภาพยุโรป

ติวเข้ม!! ชุดปฏิบัติการต้าน IUU ลุยทันที แยกน้ำดี - น้ำเสีย ไร้ Double Standard ไม่เว้นเจ้าหน้าที่รัฐ

หลังจากสหภาพยุโรปประกาศปลดใบเหลือง IUU ให้กับประเทศไทย รัฐบาลได้ดำเนินนโยบาย

ในการยกระดับให้ประเทศไทยเป็นผู้นำต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated Fishing : IUU) ในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นประเทศปลอดการประมง IUU ทั้งระบบ(IUU-Free) ซึ่งสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานบังคับ รวมถึงการค้ามนุษย์ในภาคประมง ตามที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว นั้น

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำประมงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายข้างต้นให้บรรลุเป้าหมาย โดยบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร และกระทรวงแรงงาน

ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการ              ตำรวจแห่งชาติ/ผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/รองผู้อำนวยการ ศพดส.ตร./รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการตรวจสอบและปราบปรามกรณีดังกล่าว รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาการประมง สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในวันที่ 7 มกราคม 2565 นี้ จึงได้ร่วมกับนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง จัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงกฎหมายเกี่ยวกับการประมง และการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการด้านการประมงฯ และเจ้าหน้าที่สืบสวน ศพดส.ตร. ได้มีความรู้ความเข้าใจถึงตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเป็นมาของปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU) ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขปัญหา เพื่อยกระดับการต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย

การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) เป็นปัญหาระดับโลกซึ่งรัฐบาลได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยออกพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ประเทศไทยในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมโลกจึงมีความรับผิดชอบ 4 ด้าน ประกอบด้วย

1) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของธงเรือ (Flag State)

2) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของท่าเทียบเรือ (Port State)

3) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐชายฝั่ง (Coastal State)

4) ความรับผิดชอบในฐานะรัฐเจ้าของตลาด (Market State)

ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการประชุมเพิ่มความเชี่ยวชาญให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ เช่น ที่มาและเนื้อหาของกฎหมาย กระบวนการทำงานควบคุมตรวจสอบเรือประมง ขนถ่ายสัตว์น้ำ และการนำเข้าส่งออกสินค้าประมงตลอดจนกระบวนการดำเนินคดีต่าง ๆ

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า “การทำงานครั้งนี้เป็นการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานด้านการตรวจติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการต่อต้านประมง IUU ในภูมิภาคและปลอดการทำประมง IUU ทั้งระบบ นอกจากนั้นยังมีความเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีความสลับซับซ้อน มีเครือข่ายข้ามชาติ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีความรอบรู้ในกฎหมายต่าง ๆ อย่างสัมพันธ์กัน เพราะการกระทำความผิดในปัจจุบันไม่อาจบังคับใช้ได้โดยกฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง และเพื่อให้เห็นผลการทำงานเป็นรูปธรรมในระยะเวลาอันรวดเร็ว จึงได้แบ่งการทำงานเป็น 4 ชุดปฏิบัติการ ประกอบด้วย

1) ชุดปฏิบัติการด้านการตรวจสอบเพิ่มประสิทธิภาพด่านตรวจประมง มี รศ.ธนพร ศรียากูล กรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการ และมีพล.ต.ต.ไพโรจน์ กุจิรพันธ์ ผบก.อธ. เป็นรองหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมาย และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจติดตาม ควบคุมเฝ้าระวัง ของด่านตรวจประมงทุกแห่ง

2) ชุดปฏิบัติการด้านการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์แจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) มี พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภาค ๑ เป็นหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมาย และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง ของศูนย์แจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) ทุกแห่ง

3) ชุดปฏิบัติการด้านการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจกลางทะเล มี ผู้แทนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เป็นหัวหน้าชุด และ พ.ต.อ.ชณพล วันขวัญ รอง ผบก.รน. เป็นรองหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมายในพื้นที่ทะเลทั้งเขตชายฝั่งและนอกเขตชายฝั่ง

4) ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว มี พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม. เป็นหัวหน้าชุด และ พล.ต.ต.สุทธิพงษ์เพชรรัตน์ ผบก.บ.ตร. เป็นรองหัวหน้าชุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำความผิดตามกฎหมายกรณีเร่งด่วน และสนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับชุดปฏิบัติการที่ 1 - 3

'อียู' ประกาศคว่ำบาตร 'รัสเซีย' ทันที หลังลงนามยอมรับดินแดนกบฏยูเครน

22 ก.พ. 65 การลงนามรับรองอิสรภาพของดินแดนโดเนตสค์และลูฮานสค์โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทำให้พันธมิตรชาติตะวันตกซึ่งนำโดยสหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียทันที แม้ว่ากองทัพรัสเซียจะยังไม่ได้เคลื่อนไหวใดๆ หลังปูตินมีคำสั่งให้กองทัพธำรงไว้ซึ่งสันติภาพในยูเครนตะวันออก ที่ถูกมองว่าเป็นการปูทางไปสู่การรุกรานยูเครนในเร็ววัน

นางอัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ ARD ของเยอรมนีว่า ถ้าในที่สุดรัสเซียตัดสินใจรุกรานยูเครน โดยหลักการ รัสเซียจะถูกตัดออกจากตลาดการเงินระหว่างประเทศ ระบุว่ามาตรการคว่ำบาตรเช่นนี้จะกระทบต่อสินค้าทั้งหมดที่รัสเซียต้องการนำเข้าจากกลุ่มอียู เพื่อช่วยให้ประชาชนในประเทศดำเนินชีวิตอย่างสะดวกสบาย ทั้งจะช่วยให้รัสเซียกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่กลุ่มอียูส่งออกไปทั่วโลก และไม่สามารถผลิตได้ในภูมิภาคอื่น

กำลังเสริมมาแล้ว!! ‘อียู’ เปลี่ยนนโยบายครั้งประวัติศาสตร์ เปิดทางชาติสมาชิกส่งอาวุธช่วยยูเครน

สหภาพยุโรป (EU) เตรียมมอบเงิน 450 ล้านยูโรเพื่อซื้ออาวุธให้ยูเครน และเปิดทางให้ประเทศสมาชิกส่งอาวุธไปช่วยยูเครนได้ เช่นเดียวกับสวีเดนที่เปลี่ยนจุดยืนครั้งประวัติศาสตร์

โจเซป บอร์เรลล์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรปกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น (3.16 . ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ตามเวลาไทย) ว่าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปตกลงที่จะปลดบล็อคงบประมาณ 450 ล้านยูโร ให้รัฐสมาชิกซื้ออาวุธให้ยูเครน

มาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดการสนับสนุนและการคว่ำบาตรที่หลากหลายซึ่งตกลงกันโดย 27 รัฐในสหภาพยุโรป บอร์เรลล์ กล่าวว่า พวกเขายังอนุมัติอย่างเป็นทางการในการห้ามการทำธุรกรรมใดๆ กับธนาคารกลางรัสเซียด้วย

ทั้งนี้ สนธิสัญญาของสหภาพยุโรปห้ามไม่ให้กลุ่มใช้งบประมาณปกติเพื่อเป็นทุนในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทหารหรือการป้องกัน แต่นี่คือครั้งแรกที่สหภาพยุโรปจะใช้เครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่า “สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสันติภาพแห่งยุโรป” นอกงบประมาณ โดยมีเพดานงบประมาณ 5,000 ล้านยูโร ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือทางทหารได้

เป็นครั้งแรกที่สหภาพยุโรปจะให้เงินทุนในการซื้อและส่งมอบอาวุธและอุปกรณ์อื่นๆ ให้กับประเทศที่ถูกโจมตี” อูร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าว “นี่เป็นช่วงเวลาแห่งจุดเปลี่ยน”

โจเซป บอร์เรลล์ ยังกล่าวว่า กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปจะส่ง "เครื่องบินขับไล่" ไปยังยูเครนตามคำร้องขอของรัฐบาลยูเครนเพื่อช่วยต่อต้านการโจมตีทางอากาศและทางบกของรัสเซีย

เราจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ เราไม่ได้หมายถึงแค่กระสุน เรากำลังจัดหาอาวุธที่สำคัญกว่าเพื่อไปทำสงคราม” เขากล่าวในการแถลงข่าว

รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน ‘ดมีโทร คูเลบา’ บอกกับสหภาพยุโรปว่า “พวกเขาต้องการเครื่องบินรบแบบที่กองทัพยูเครนสามารถปฏิบัติการได้...ประเทศสมาชิกบางประเทศมีเครื่องบินประเภทนี้” โจเซป บอร์เรลล์ กล่าว

คณะกรรมาธิการยุโรป กล่าว!! จีนแสดงให้โลกเห็น 'ประชาธิปไตย' ไม่ใช่กุญแจสำหรับการเติบโต

กลายเป็นข่าวเด่นในแวดวงเศรษฐกิจโลกกันขึ้นมาเลยทีเดียว หลังจากล่าสุด 1 ในคณะกรรมาธิการทางด้านเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปอย่าง Paolo Gentiloni เริ่มส่อแววแปรพักตร์ไปหาจีน 

โดยเขาได้กล่าวว่าตอนนี้ 'จีน' แสดงให้โลกเห็นแล้วว่า "ประชาธิปไตย" นั้นไม่ใช่กุญแจสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ?? ซึ่งคำพูดนี้ถือเป็นการหักหน้าสหรัฐฯ อย่างไม่ต้องถามหมอกันเลยทีเดียว !

Paolo Gentiloni กล่าวในงานที่สถาบันปีเตอร์สันในวอชิงตัน ดี.ซี. ว่า...

“การเติบโตของจีนแสดงให้เห็นแล้วว่าประชาธิปไตยนั้นไม่จำเป็นต่อการบรรลุความสำเร็จทางเศรษฐกิจเลย และนั่นคือการเปลี่ยนแปลงวิถีที่เราได้เห็นและมีการหารือกันกับอีกหลายประเทศ ผมคิดว่าภาพลวงตาแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ผ่านด้านการค้า การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ส่วนบุคคล กำลังจางหายไป”

(China’s growth shows that democracy is not necessary to achieve economic success and that is changing the way we see and interact with such countries, I think the illusion of changing an autocratic regime through trade, cultural exchanges, personal relations, is fading,)

'อียู' เสียงแตก!! ร่างแซงก์ชันรัสเซียรอบใหม่ สมาชิกบางชาติขอยกเว้นคว่ำบาตรน้ำมัน

ฝ่ายบริหารของอียูเสนอร่างมาตรการแซงก์ชันรัสเซียรอบใหม่ให้ชาติสมาชิกพิจารณาเมื่อคืนวันอังคาร (3 พ.ค.) ทว่า ยังมีบางชาติไม่ต้องการร่วมวงคว่ำบาตรน้ำมันมอสโก หรือขอเวลาดำเนินการนานเป็นปี ขณะที่นักการทูตยุโรปเตือนว่า การยอมยกเว้นให้บางประเทศจะบ่อนทำลายมาตรการลงโทษนี้

เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) ตลอดจนถึงนักการทูตยุโรปหลายคนในบรัสเซลส์เผยว่า ชาติสมาชิกมีความเห็นแตกแยกกันในประเด็นการคว่ำบาตรน้ำมันเพื่อลงโทษที่รัสเซียรุกรานยูเครน และเพิ่งจะตกลงกันได้ในช่วงดึกวันอังคาร เนื่องจากสมาชิกชาติหนึ่งไม่เห็นด้วย

ตามกำหนดนั้น เอกอัครราชทูต 27 ชาติอียูจะประชุมกันในวันพุธ (4 พ.ค.) เพื่อตรวจสอบแผนการนี้อย่างรวดเร็ว โดยจะต้องมีการอนุมัติเป็นเอกฉันท์จึงจะสามารถบังคับใช้ได้

เจ้าหน้าที่อียูเผยว่า ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรปคือแบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 6-8 เดือน โดยฮังการีและสโลวะเกียได้รับอนุญาตให้ยืดเวลาออกไปได้ 2-3 เดือน

ทว่า สโลวะเกีย ซึ่งพึ่งพิงน้ำมันดิบรัสเซียที่ส่งผ่านท่อลำเลียงดรูซบาเกือบ 100% เช่นเดียวกับฮังการี ระบุว่า จำเป็นต้องใช้เวลาหลายปีจึงจะร่วมคว่ำบาตรได้

ทั้งนี้ โรงกลั่นน้ำมันของสโลวะเกียออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานกับน้ำมันรัสเซีย และจำเป็นต้องปรับปรุงทั้งหมดหรือเปลี่ยนข้อตกลงด้วยการนำเข้าจากประเทศอื่น ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทั้งยาวนานและมีต้นทุนสูง

อียู ไฟเขียว สมาชิกซื้อแก๊สตามกลไกรัสเซีย ชี้ ไม่ละเมิดมาตรการคว่ำบาตร แค่ปรับท่าที

สหภาพยุโรป (อียู) ระบุบริษัทต่างๆ สามารถซื้อแก๊สรัสเซียโดยไม่ละเมิดมาตรการคว่ำบาตร ถือเป็นการปรับท่าทีโอนอ่อนลงในการเผชิญหน้ากับรัสเซียเกี่ยวกับอุปทานทางพลังงาน

คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกคำแนะนำที่ปรับใหม่ แล้วส่งไปยังชาติสมาชิกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 พ.ค.) โดยเนื้อหาที่ปรับปรุงใหม่ระบุไว้ว่าบริษัทต่างๆ ต้องทำให้ชัดเจนว่าพวกเขามีเจตนาในการปฏิบัติตามข้อบังคับภายใต้สัญญาที่มีอยู่ และถือว่าได้ทำตามข้อกำหนดครบแล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งชำระค่าก๊าซด้วยเงินสกุลยูโร หรือดอลลาร์สหรัฐ

คำแนะนำของคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า "มาตรการคว่ำบาตรของอียู ไม่ได้ขัดขวางผู้ประกอบการจากการเปิดบัญชีธนาคารหนึ่งในธนาคารที่กำหนดไว้ เพื่อชำระเงินภายใต้สัญญาณต่างๆ สำหรับจัดหาก๊าซธรรมชาติ ด้วยสกุลเงินที่ระบุในในสัญญา" คณะกรรมาธิการกล่าว "พวกผู้ประกอบการควรแสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่าพวกเขามีความตั้งใจทำตามเงื่อนไขของสัญญาต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และพิจารณาว่าได้ทำตามภาระผูกพันในเรื่องของการชำระหนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ด้วยการจ่ายเงินเป็นยูโรหรือดอลลาร์ ตามกรอบของสัญญาที่มีอยู่"

ในคำแนะนำใหม่นี้ไม่ได้ห้ามบริษัทต่างๆ เปิดบัญชีธนาคารกับก๊าซพรอมแบงก์ และจะช่วยให้พวกเขาซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียตามกรอบมาตรการคว่ำบาตรที่อียูกำหนดเล่นงานรัสเซียต่อกรณีรุกรานยูเครน แต่มันไม่ได้พูดถึงข้อบังคับของมอสโกที่ขอให้เปิดบัญชีที่ 2 ในสกุลเงินรูเบิล ซึ่งมันมีความจำเป็นตามคำสั่งฉบับหนึ่งของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพื่อให้การชำระเงินนั้นเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้คำแนะนำดังกล่าวเป็นไปตามที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันเสาร์ (14 พ.ค.)

พลังงานโลก เร่งอียูเตรียมแผนรับมือ หวั่นรัสเซียตัดก๊าซป้อนยุโรปโดยสิ้นเชิง

ทบวงพลังงานสากล (ไอเออี) เตือนชาติยุโรปเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตพลังงานด่วน หลังรัสเซียส่อตัดอุปทานก๊าซธรรมชาติที่ป้อนแก่ยุโรปโดยสิ้นเชิง 

ฟาตีห์ ไบรอล ผู้อำนวยการบริหารของทบวงพลังงานสากล กล่าวในถ้อยแถลงที่ส่งถึงสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า "ผมไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะหาประเด็นถกเถียงอีก และเดินหน้าหาข้ออ้างสำหรับลดการส่งมอบก๊าซสู่ยุโรป และบางทีอาจถึงขั้นตัดอุปทานก๊าซโดยสิ้นเชิง"

"นี่คือเหตุผลว่าทำไมยุโรปถึงจำเป็นต้องมีแผนฉุกเฉิน" ไบรอล ระบุ พร้อมบอกว่าการปรับลดจ่ายอุปทานก๊าซเมื่อเร็วๆ นี้ อาจเป็นความพยายามให้ได้มาซึ่งอิทธิพลทางการเมือง ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวที่ลากยาวนานหลายเดือน

อย่างไรก็ตาม ฟาตีห์ ระบุว่า ในข้อสันนิษฐานของทบวงพลังงานสากล การตัดป้อนก๊าซโดยสิ้นเชิงไม่น่าจะเป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด

สหภาพยุโรปกำหนดมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันและถ่านหินของรัสเซีย แต่ไม่ห้ามนำเข้าก๊าซธรรมชาติ สืบเนื่องจากอียูพึ่งพิงอุปทานจากมอสโกสูงลิ่ว

ในแง่ภาพรวมของการลงทุนทางพลังงานสำหรับปี 2022 ทบวงพลังงานสากลระบุในรายงานฉบับหนึ่งว่า มีการเตรียมลงทุนในภาคดังกล่าวในปีนี้ 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ ในนั้นรวมถึงใช้จ่ายในด้านพลังงานหมุนเวียนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ทบวงพลังงานสากลชี้ว่ามันยังไม่เพียงพอสำหรับเติมช่องว่างทางอุปทานและจัดการกับภาวะโลกร้อน

อิสรภาพแห่งการเดินทาง!! สหภาพยุโรป ยอมรับ 'หมอพร้อม' เดินทางเข้า 72 ประเทศ/ดินแดน ที่เชื่อมต่อระบบกับ EU

เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง!! ล่าสุด เกาหลีใต้, คอซอวอ, บาห์เรน, มาดากัสการ์ และ เอกวอดอร์ กลายเป็น 5 ประเทศใหม่ที่เข้าร่วม EU Digital COVID Certificate หรือ EU DCC ใน Digital Health Pass บน ‘หมอพร้อม’ ซึ่งเป็นเอกสารรับรองเกี่ยวกับโควิด-19 สำหรับใช้ในการเดินทางเข้าประเทศหรือดินแดนที่เชื่อมต่อกับระบบของสหภาพยุโรป (EU) EU DCC 

ซึ่งประชาชนคนไทย สามารถใช้งาน EU DCC ได้ที่เมนู Digital Health Pass บนหมอพร้อม LINE OA และ Application เพื่อแสดงสถานะเกี่ยวกับโควิด-19 ก่อนการเดินทางเข้าประเทศ/ดินแดน หรือก่อนเข้าใช้บริการ/ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในประเทศ/ดินแดน ที่ปัจจุบันเข้าร่วมแล้ว จำนวน 77 ประเทศ/ดินแดน (อัปเดต 1 สิงหาคม 2565) 

'สหภาพยุโรป' จัดงาน Asean-Eu Cultural Festival 2022 ชวนคนรักงานศิลปะทุกแขนงเข้าชมฟรี ตลอดเดือนกันยายน

ครั้งแรกในประเทศไทยกับเทศกาล ASEAN-EU CULTURAL FESTIVAL 2022

สหภาพยุโรป ฉลองครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์สหภาพยุโรปและอาเซียน จัดงานเทศกาล 'ASEAN-EU CULTURAL FESTIVAL 2022' ภายใต้คอนเซ็ปต์ Youth Voices เชิญชวนคนรุ่นใหม่ที่รักงานศิลปะทุกแขนงร่วมชมภาพยนตร์ ดนตรี และศิลปะ โดยผู้กำกับ ศิลปิน นักดนตรีชื่อดังจากยุโรปและอาเซียน ผ่านช่องทางออนไซน์และออนไลน์ ตลอดเดือนกันยายน 2565 ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยการแสดงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 

- CINEMA การจัดแสดงภาพยนตร์ ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชาและประเทศไทย โดยประเทศไทยจัดแสดงภาพยนตร์ 2 เรื่อง ได้แก่ Barbarian Invasions ภาพยนตร์ประเทศมาเลเซีย ที่คว้ารางวัล Jury Grand Prix จาก Shanghai International Film Festival 2021 โดยการกำกับของ TAN Chui Mui สะท้อนเรื่องราวการต่อสู้ดิ้นรนของผู้หญิงคนหนึ่งในโลกที่ผู้ชายมีอิทธิพล ลงทะเบียนเข้าชมได้ที่ https://www.aseaneuculturalfestival.com/programme-2022/event-08/

‘อียู’ สั่ง ‘แอปเปิล’ เปลี่ยนที่ชาร์จไอโฟนเป็น USB-C ‘ลดความยุ่งยาก-ขยะอิเล็กทรอนิกส์’ เส้นตาย 2024

‘แอปเปิล’ บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยี จำเป็นต้องเปลี่ยนช่องเสียบชาร์จไฟฟ้าของอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือที่วางจำหน่ายตามมติของสหภาพยุโรป หรือ EU ซึ่งเพิ่งประกาศออกมาเมื่อไม่กี่วันก่อน

มติของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเพิ่งประกาศออกมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ระบุว่า โทรศัพท์ไอโฟนทุกรุ่นจะต้องเปลี่ยนจากการใช้พอร์ตชาร์จแบบ Lighting เป็นพอร์ตแบบ USB-C นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า EU ไม่เพียงต้องการให้แอปเปิลเปลี่ยนพอร์ตชาร์จของผลิตภัณฑ์ไอโฟนเท่านั้น แต่ยังต้องการให้เปลี่ยนพอร์ตของอุปกรณ์ทุกชนิดของบริษัทที่จำหน่ายในยุโรป ตั้งแต่แท็บเล็ตไปจนถึงคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป ให้เป็นแบบ USB-C ทั้งหมด แต่เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านั้น มีพอร์ตแบบ USB-C ติดตั้งมากับตัวเครื่องอยู่แล้ว จึงมีเพียงไอโฟนเท่านั้น ที่ต้องเปลี่ยนพอร์ตใหม่

ขณะที่แม้ว่าแอปเปิลจะมีท่าทีไม่เต็มใจนัก แต่ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายใหม่นี้ ซึ่งทางอียูระบุว่า ได้ออกกฎหมายนี้มาเพื่อลดความยุ่งยากของผู้บริโภคและลดการเกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากพอร์ต USB-C สามารถใช้งานร่วมกันได้ ระหว่างสายชาร์จรุ่นเก่ากับอุปกรณ์รุ่นใหม่ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top