Friday, 29 March 2024
รถไฟฟ้า

‘Toyota’ เปิดตัว ‘bZ4X’ รถไฟฟ้าล้วนคันแรก ชาร์จเพียง 1 ครั้ง วิ่งไกล 500 กิโลเมตร

เมื่อไม่นานมานี้โตโยต้าญี่ปุ่นเพิ่งเปิดตัวรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นรถ SUV BEV แพลตฟอร์มในชื่อรุ่น ‘bZ4X’ รถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ โดยในการชาร์จ 1 ครั้ง สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลกว่า 500 กิโลเมตร และทางโตโยต้าตั้งเป้าเตรียมขายในกลางปี 2022 นี้ 

โดยรถยนต์รุ่นนี้ถือเป็นรุ่นแรกของตระกูล ‘bZ’ หรือ ‘beyond Zero’ อันประกอบไปด้วยเทคโนโลยีและการออกแบบล้ำสมัยมากมาย ที่โตโยต้าจะนำมาใช้ครั้งแรกกับรถตระกูล bZ ภายใต้แนวคิด ‘activity hub’ ที่เป็นเสมือนสายใย ให้ผู้โดยสารทุกคนสามารถแบ่งปันช่วงเวลาและพื้นที่ ที่สนุกสนานร่วมกันได้บนรถยนต์ไฟฟ้าสุดล้ำคันนี้

นอกจากนี้ทางบริษัทยังตั้งเป้าที่จะสร้างรถยนต์ที่ท้าทายนวัตกรรมใหม่ในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นสไตล์การตกแต่งภายใน ความรู้สึกในการขับขี่ รวมไปถึงสมรรถนะในการขับขี่ เพื่อให้ผู้โดยสารได้สัมผัสประสบการณ์สุดล้ำนี้ผ่านเจ้ารถตระกูล ‘bZ’ 

‘บิ๊กตู่’ เร่งรถไฟฟ้า “โมโนเรลสายสีเทา” วงเงิน 27,500 ลบ. เปิดให้บริการปี 2573

โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” เร่งรัดความคืบหน้า โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว “โมโนเรลสายสีเทา” สนับสนุนการลงทุนรัฐ-เอกชน (PPP) เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุม พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว “โมโนเรลสายสีเทา” (Monorail) ซึ่งได้ข้อสรุปการดำเนินโครงการในช่วงแรกแล้ว โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว โมโนเรลสายสีเทาจะใช้ช่วงสถานี วัชรพล-ทองหล่อ เป็นเส้นทางนำร่องในช่วงแรก ระยะทางรวม 16.3 กม. วงเงินการก่อสร้าง 27,500 ล้านบาท 

มีสถานีทั้งหมด 15 สถานี ใช้ระยะเวลาในการเดินทางไป-กลับ ประมาณ 62 นาที คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 8,000 - 30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ใช้ระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) และมีระบบการเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (Automatic Fare Collection System) ทั้งนี้ เส้นทางการเดินรถไฟมีทั้งสิ้น 3 ระยะ ได้แก่ 

ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ 
ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง - พระราม 3 
และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3 - ท่าพระ 
รวมระยะทางประมาณ 40 กม. ซึ่งคาดว่าทั้งหมด 3 ระยะนี้จะเปิดให้บริการได้ในปี 2573 

ยกระดับรถโดยสารไทย! ใช้พลังงานไฟฟ้า-ลดคาร์บอนเป็นศูนย์!’ | Click on Clear THE TOPIC EP.162

📌มองอนาคต 'ขนส่งสาธารณะ' เมืองไทย!! ไปกับ ‘ชัยรัตน์ แสงจันทร์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด!!
📌ใน Topic : ยกระดับรถโดยสารไทย! ใช้พลังงานไฟฟ้า-ลดคาร์บอนเป็นศูนย์!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

‘อนุชา’ เผย ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย คืบ “สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง -สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เล็งทดสอบเดินรถ ต.ค.นี้ ก่อนเปิดใช้ปี 66 

เมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ในกทม.และปริมณฑล ว่า โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ดำเนินงาน งานโยธา 94.99% งานระบบรถไฟฟ้า M&E มีความก้าวหน้า 93.99% ความก้าวหน้าโดยรวม 94.56% ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ดำเนินงาน งานโยธา 91.74% งานระบบรถไฟฟ้า M&E มีความก้าวหน้า 89.39% ความก้าวหน้าโดยรวม 90.55% 

โดยทั้งสองมีแผนสำหรับการทดสอบเดินรถเสมือนจริง ภายในเดือน ต.ค.นี้ ก่อนจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบทั้งสองเส้นทางในปี 2566  ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน 95.94% เร็วกว่าแผน 0.24%

10 ปีผ่านไป!! เส้นทางรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ เปลี่ยนไปแค่ไหน?

โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นระบบขนส่งทางรางในเขตเมืองในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช) และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีสะพานตากสิน) 

นับเป็นระยะเวลากว่า 23 ปีที่ ประเทศไทยมีโครงข่ายรถไฟฟ้าฯ แต่หากย้อนกลับไปดู จะพบว่า ในช่วง 10 ปี หลังสุด เป็นช่วงที่มีการพัฒนาโครงข่ายเส้นทางอย่างก้าวกระโดด โดยในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 8 สาย 141 สถานี ครอบคลุมระยะทางกว่า 211.94 กิโลเมตร 

และในช่วงต้นปี 2566 จะเปิดให้บริการอีก 2 สาย นั่นคือสายสีชมพู และสายสีเหลือง อีกทั้งจะมีรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพ และรถไฟความเร็วสูง ในเส้นทางต่างจังหวัด ทยอยเปิดให้บริการอีกหลายสายหลังจากนี้ 

'ทิพานัน' มั่น 'บิ๊กตู่' พาไทยฮับผลิตอีวีแห่งอาเซียนได้แน่ หลังผู้ผลิตสนร่วมมาตรการส่งเสริมลงทุนเพียบ

'ทิพานัน' โชว์ยอดใช้รถอีวีเติบโต 7 เดือนแรก ปี 65 กว่า 2 หมื่นคัน ชี้ 'พล.อ.ประยุทธ์' นำไทยเป็นฐานการผลิตรถอีวีใหญ่ในภูมิภาคได้แน่นอน หลังผู้ผลิตรถอีวีสนใจเข้าร่วมมาตรการส่งเสริมลงทุนเพียบ เกิดการจ้างงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจครั้งใหญ่

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากแผนพลังงานแห่งชาติที่กำหนดกรอบให้ไทยมียานยนต์ไฟฟ้า หรือรถอีวี ที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด โดยตั้งเป้าให้ ปี 2030 ต้องมีการใช้รถอีวีเพิ่มมากกว่า 50% เพื่อให้ปี 2040 สามารถทดแทนยานยนต์ที่ใช้น้ำมันได้ 100% ในกลุ่มรถใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถลดการใช้พลังงานน้ำมัน และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการเกิดฝุ่น pm 2.5 ด้วย โดยรัฐบาลได้ออกมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมรถอีวีอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเงินอุดหนุนรถยนต์ และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาทต่อคัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาทต่อคัน ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8% เป็น 2% และรถกระบะเป็น 0% ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40% สำหรับรถยนต์ ถึงปี 2566 และยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบรถยนต์อีวี จำนวน 9 รายการ เพื่อนำมาผลิตหรือประกอบอีวีในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ ส่งผลให้แนวโน้มการใช้รถอีวีของไทยเพิ่มสูงขึ้น

'รถไฟฟ้า' มาแน่!! หลัง รฟม.เปิดรับฟังความคิดเห็น เตรียมสร้างรถไฟฟ้านครราชสีมา สายสีเขียว

รฟม. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)

วานนี้ (27 ตุลาคม 2565) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.)ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) โดยภายในงานมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่, ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ, ภาคเอกชน, องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจ รวมถึงสื่อมวลชนที่เข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน ณ ห้องสุรนารีบอลรูม โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบสรุปผลการเปรียบเทียบรูปแบบที่เหมาะสมในดำเนินงานโครงการฯ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในลำดับต่อไป

‘ชัชชาติ’ เร่งหาทางแก้ปัญหาราคา รฟฟ. สายสีเขียว หลังประชาชนโอดหนัก ‘ค่าโดยสารแพง’

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) หรือที่พวกเราเรียกสั้น ๆ ว่า รถไฟฟ้า BTS เป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแห่งแรกของประเทศไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ และ จ.ปทุมธานี โดยเปิดใช้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ในช่วงแรกได้เปิดให้บริการช่วงสถานีอ่อนนุช - สถานีหมอชิต และช่วงสถานีสะพานตากสิน - สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ 

ต่อมารถไฟฟ้า BTS มีการก่อสร้างส่วนต่อขยายออกไปเพิ่มเติมอีก 5 ระยะ แบ่งเป็น
ระยะที่ 1 จากสถานีสะพานตากสิน - สถานีวงเวียนใหญ่
ระยะที่ 2 จากสถานีวงเวียนใหญ่ - สถานีบางหว้า
ระยะที่ 3 จากสถานีแบริ่ง - สถานีเคหะฯ
ระยะที่ 4 จากสถานีหมอชิต - สถานีคูคต
ระยะที่ 5 จากสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

โดยการหาเสียงเลือกตั้งของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการ กทม. รอบที่ผ่านมา ได้มีการหาเสียงในประเด็นเรื่องรถไฟฟ้า BTS โดยมี Key message คือ ‘ไม่ต่อสัญญา BTS เปิดเผยสัญญา เข้า พ.ร.บ ร่วมทุน ค่าโดยสาร 25-30 บาท’ 

นอกจากนี้ นายชัชชาติ ยังให้คำมั่นว่าจะขอใช้เวลา 1 เดือน ตรวจสอบรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะขอดูสัญญาที่เกี่ยวข้องทุกฉบับแล้วจะให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เบื้องต้นมีเรื่องต้องสะสาง 3 ส่วน ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลโอนให้กทม. กระบวนการรับหนี้ถูกต้องหรือไม่ ใครจะรับผิดชอบ เบื้องต้นเห็นว่ารัฐบาลควรต้องรับผิดชอบเพราะได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าทุกสาย

ซึ่งนโยบายของนายชัชชาติกับรถไฟฟ้า BTS มี 5 ข้อ ได้แก่
1. ไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 อย่างแน่นอน และไม่ผ่านกระบวนการตาม พ.ร.บ ร่วมทุน ที่มีกระบวนการเรื่องความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล การขอต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 เป็นเรื่องของ ม.44 ที่เห็นว่ากรรมการพิจารณาไม่กี่คน ประชุมกัน 10 ครั้ง สามารถชี้ชีวิตของคนกทม. 1 รุ่นเลย ถ้ามีคนจบใหม่วันนี้ ต้องทนกับค่าโดยสาร BTS ไปจนถึงเกษียณอายุ 60 ปี เปลี่ยนอะไรไม่ได้ โดยหากจะทำ ต้องทำตาม พรบ. ร่วมทุน

2. กทม. ต้องเจรจากับเรื่องนี้ เพราะมีส่วนขยาย 2 ที่ ทางรฟม. โยนหนี้มาให้ กทม. ราว 60,000 ล้านบาท และมีค่าอื่น ๆ รวมหนี้เป็น 100,000 ล้านบาท ซึ่งเรื่องหนี้ผมคิดว่า เป็นการใช้เงื่อนไขในการขยายสัมปทานให้ โดยอ้างว่า กทม. ไม่มีเงินจ่ายหนี้ ดังนั้นต้องเจรจาเรื่องหนี้ไปก่อนเลย โดยให้รัฐรับผิดชอบในเรื่องการโยธาไป

3. ปัจจุบันเราให้วิ่งส่วนต่อขยายฟรีมาเกือบ 3 ปี ทำให้หนี้มันยิ่งพอกพูนขึ้นมาก มันเหมือนเป็นหนี้ที่รัดเราให้แน่นขึ้น ดังนั้นต้องรีบคุยเรื่องการเก็บค่าโดยสารส่วนนี้ เพราะสุดท้าย ผู้โดยสารส่วนขยาย 2 มันช่วยไปเติมให้ผู้โดยสารส่วนกลาง ซึ่งเป็นรายได้หลักของ BTS อยู่ จึงต้องอาศัยตรงนี้เป็นตัวต่อรอง และคิดราคาที่เหมาะสม แล้วเก็บค่าโดยสารเพิ่ม เพื่อลดหนี้ให้น้อยลง

4. ต้องเปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถจนถึง 2585 ว่าต้นทุนเป็นเท่าไหร่ โดยหลังปี 2572 เป็นต้นไป กทม. จะคิดค่าโดยสารเท่าไหร่ก็ได้ เพราะถ้ายังไม่ต่อสัญญาสัมปทาน รายได้ทั้งหมดเป็นของ กทม. อยู่แล้ว แต่ต้องรู้ว่า ต้นทุนที่ต้องจ่ายให้ BTS เป็นเท่าไหร่ เนื่องจาก กทม. ไม่สามารถแบกรับการขาดทุนได้ และยังมีเรื่องที่ไปร้องเรียน ป.ป.ช. อยู่ด้วย

5. ต้องหา ‘รายได้อื่น’ มาประกอบ คือระบบการเดินทาง จะมีรายได้ 2 ส่วน คือรายได้จากค่าโดยสารที่ปัจจุบันอยู่ที่ 44+15 = 59 และตัวใหม่จะอยู่ที่ราคา 65 บาท สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีการโฆษณา มีพื้นที่ให้เช่าที่เป็นรายได้ทั้งนั้น และหลังปี 2572 ไปแล้ว รายได้ส่วนนี้ทั้งหมด ควรจะเข้ารัฐด้วย ซึ่งหลังปี 2572 รายได้จากค่าโฆษณา ค่าเช่าที่ต่างๆ ควรจะเข้า กทม. เต็มเม็ดเต็มหน่วย หากดูงบประมาณทางเอกชน รายได้ส่วนนี้อยู่ที่ปีละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งนำมาจุนเจือค่าโดยสารได้

‘หัวรถจักรรถไฟ EV’ ตัวต้นแบบมาแน่ พ.ย.นี้ เปลี่ยนโลกขนส่ง ‘ลดใช้พลังงาน - ประหยัดค่าโดยสาร’

ไม่เพียงแค่ รถยนต์ EV, รถเมล์ EV และ เรือ EV ที่กำลังช่วยขับเคลื่อนพลังสะอาดให้สังคมไทยอยู่ในตอนนี้เท่านั้น ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยก็กำลังจะเปิดตัว ‘หัวรถจักรรถไฟ EV’ ตัวต้นแบบภายในเดือนพ.ย. นี้ด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เคยเปิดเผยไว้เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่า ได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เร่งดำเนินการศึกษาการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) เพื่อให้สามารถลดต้นทุนในการดำเนินการต่าง ๆ ลงได้ อันจะส่งผลให้ภาระที่ผลักถึงประชาชน โดยเฉพาะค่าโดยสารลดลงตามไปด้วย 

โดยรายงานเบื้องต้น เผยว่า ขณะนี้ ภาคเอกชน ได้ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และอยู่ระหว่างการพัฒนา ‘หัวรถจักรรถไฟ EV’ ต้นแบบ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการใช้พลังงานได้ถึง 40% เมื่อเทียบกับหัวรถจักรดีเซล โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 65 และจะมีการทดสอบเดินรถในระยะสั้น ๆ ภายในปลายปี 65 อีกด้วย 

นายศักดิ์สยาม ยังระบุต่ออีกว่า ตอนนี้ประเทศไทยสามารถประกอบติดตั้งระบบแบตเตอรี่สำหรับรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าได้เองแล้ว สอดคล้องกับหลากหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และกำลังดำเนินการกันอยู่ 

สำหรับ EV on Train ตัวต้นแบบของไทยนั้น เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อย จะต้องมาพิจารณาผลว่าเป็นอย่างไร หากได้ผลดี อาจต้องทบทวนแผนการจัดซื้อหัวรถจักร และรถโดยสารของ รฟท. ให้เป็นแบบ EV ต่อไป

‘Takano TTE500’ รถกระบะไฟฟ้าไซซ์มินิ ดีไซน์สวยน่ารัก - รับน้ำหนักมากถึง 300 กก.

ช่วงนี้กระแสรถ EV กำลังมาแรง อย่างที่เราได้เห็นได้ฟังอ่านหูผ่านมาตาบ้างแล้ว ว่ามีรถยนต์ไฟฟ้าเปิดตัวมากมาย วันนี้ THE STATES TIMES เลยจะพามารู้จัก ‘รถกระบะไฟฟ้า’ ขนาดมินิ เชื่อว่าใครที่เป็นสายมินิมอลจะต้องชอบและหลงรักแน่ๆ

รถกระบะไฟฟ้า Takano (ทากาโน่) TTE500 เป็นรถกระบะไฟฟ้า ‘ขนาดจิ๋ว’ รุ่นเดียวในไทย ไม่ว่าคุณจะแบกสัมภาระเยอะ จะย้ายบ้าน หรือเปิดท้ายขายของ บอกเลยว่า ‘Takano TTE500’ ตอบโจทย์สุดๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top