Sunday, 11 May 2025
World

รู้จัก ‘ริชชี่ สุนัค’ นายกฯอังกฤษคนใหม่ หลังก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม

อนุดี เซียสกุล

นายริชชี่ สุนัคได้รับเลือกจากส.ส.พรรคคอนเซอเวทีฟด้วยคะแนนเสียงเกือบ ๒๐๐เสียงให้เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ในวันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายนนี้และเขาจะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนางเอลิซาเบธ ทรัสส์ที่ลาออกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลังจากที่เข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓

ในตอนบ่ายสองโมงของวันจันทร์ตามเวลาในลอนดอนซึ่งเป็นเส้นตายของการเสนอชื่อผู้เข้าชิงชัยตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอนเซอเวทีฟ (อนุรักษ์นิยม)คนใหม่ นายริชชี่ได้คะแนนเสียงจากส.ส.ร่วมพรรคของเขา ๑๙๓ คนจากจำนวนส.ส.ทั้งหมด ๓๕๗ คนจำนวนนี้จากการสอบถามของบีบีซีและจากกการประกาศของส.ส.เหล่านั้นด้วยตนเอง ส่วนผู้สมัครอีกคนหนึ่งคือนางเพนนี มอร์ด้อน ได้เพียง ๒๖ เสียงเท่านั้น

ตามกฎของการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ในครั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องได้เสียงจากส.ส. พรรค ๑๐๐ คน ด้วยเหตุนี้จึงจะมีผู้สมัครได้เพียงสามคนเท่านั้น ก่อนหน้าที่นายริชชี่จะประกาศลงชิง ฝ่ายทีมของเขาได้เปิดเผยรายชื่อส.ส.ที่หนุนเขาว่ามีอยู่เกิน ๑๐๐ คนแล้ว และนางเพนนีมีอยู่ราว ๒๐ กว่าคน ส่วนค่ายนายบอริส จอนห์สันก็อ้างว่าตนมีอยู่ ๕๐ กว่าคน แต่ในที่สุดนายบอริสก็ประกาศไม่ลงชิงตำแหน่ง

เมื่อนางเพนนีได้เสียงไม่ถึง ๑๐๐ ตามกำหนดเธอได้ประกาศถอนตัวและหันมาสนับสนุนนายริชชี่ ตามกฎของพรรคเมื่อเหลือผู้สมัครอยู่เพียงคนเดียวเขาก็คือผู้ชนะ  คือนายริชชี่ สุนัค

นายริชชี่ไม่ใช่ผู้ชิงชัยหน้าใหม่ ก่อนหน้านั้น ๔๕ วันเขาคือผู้ลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอนเซอเวทีฟกับนางลิซ ทรัสส์ แต่นางทรัสส์ชนะจากการเลือกของสมาชิกพรรคคอนเซอเวทีฟที่อยู่ราว ๑๖๐,๐๐๐ คน( อย่างไรก็ดีก่อนที่จะให้สมาชิกพรรคออกเสียงเลือกนั้น นายริชชี่ ชนะได้เสียงจากส.ส.ในพรรคมากกว่านางทรัสส์) การส่งมอบอำนาจให้กับนายกรัฐมนตรีคนใหม่อ่าจจะใช้เวลาระยะหนึ่งเมื่อโฆษกทำเนียบนายกฯแถลงว่าอาจจะไม่ใช่ในวันจันทร์นี้เพราะอดีตนายกฯ นางทรัสส์ต้องเข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ ก่อน

ริชชี่ สุนัค คือใคร

บิดาของเขาเป็นหมอและมารดาเปิดร้านขายยาทั้งคู่ย้ายมาจากอัฟริกาตะวันออกเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษและเป็นคนอินเดีย ริชชี่เกิดที่เซ้าท์แฮมตัน, เรียนจบจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด,สหรัฐอเมริกา สมรสกับนักธุรกิจหญิงชาวอินเดียชื่อ Akshata Murthy  และมีบุตรสองคน ครอบครัวภรรยาของเขามีธุรกิจซอฟท์แวร์(Infosys ให้บริการในกว่า ๕๐ ประเทศ)ที่รำรวยอย่างมหาศาลในอินเดียและนี่เป็นจุดอ่อนที่เขามักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าภรรยาของเขาไม่เสียภาษีให้กับประเทศอังกฤษซึ่งที่จริงสามารถทำได้ และเพื่อกลบเสียงวิจารณ์นั้นต่อมาเธอได้ยอมเสียภาษีบางส่วนให้กับอังกฤษ เดอะซันเดย์ไทม์ลงรายชื่อของสามีภรรยาคู่นี้ว่ารำรวยโดยมีทรัพย์สินราว  ๗๓๐ ล้านปอนด์ 

ก่อนที่จะมาเล่นการเมือง ริชชี่ สุนัค เคยทำงานให้กับบริษัท โกลด์แมน แซค และบริษัทกองทุนรวมอื่นอีกสองแห่ง  นอกจากจะถือสัญชาติอังกฤษแล้ว เขายังมีกรีนการ์ดของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

เส้นทางการเมืองของริชชี่ สุนัค ก้าวหน้ารวดเร็วที่เดียวเขาได้รับเลือกเป็นส.ส. ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๘ ในเขตริชมอนด์,ยอร์คเชียร์เหนือ  แลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลังในสมัยนายบอริส จอนห์สันเป็นนายกฯ และในปลายเดือนตุลาคมปีนี้เขาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่มีเชื้อสายอินเดีย

ในคำแถลงครั้งแรกหลังจากประกาศผลว่าเขาชนะการเลือกหัวหน้าพรรคทอรี่ นายริชชี่บอกว่า

"It is the greatest privilege of my life to be able to serve the party I love and give back to the country I owe so much to."  นับว่าเป็นเกียร์ติอย่างยิ่งในชีวิตของข้าพเจ้าที่ได้ทำงานให้กับพรรคที่ข้าพเจ้ารักและได้ตอบแทนประเทศที่มีบุญคุณอย่างเหลือล้น (ส่วนหนึ่งของคำปราศรัย)

"We now need stability and unity and I will make it my utmost priority to bring our party and our country together." ขณะนี้เราต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเสถียรภาพ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอันดับแรกข้าพเจ้าที่จะนำพรรคของเราและประเทศของเราให้ไปด้วยกัน

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่านายริชชี่ สุนัค ขณะนี้อาจจะดูว่าเป็นผู้ที่จะเข้ามาประสานรอยร้าวภายในพรรคคอนเซอเวทีฟและด้วยความหวังที่จะอุดรอยรั่วของเรือเศรษฐกิจของประเทศ จากนโยบายทางด้านภาษีที่เขายืนหยัดในระหว่างที่ต่อสู้กับนางทรัสส์เมื่อสองเดือนที่แล้ว แต่สิ่งที่จะพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่านายริชชี่จะสามารถนำประเทศให้ไปถูกทิศทางได้จริงเพียงใดก็ต้องคอยดูในนโยบายงบประมาณ mini-budget ที่รมต. คลังจะประกาศในวันที่ ๓๑ ตุลาคมนี้ ซึ่งถ้านโยบายนี้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย นายริชชี่ก็คงจะรอดพ้นสามารถทำงานต่อไปได้ แต่ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น มาฟังพรรคฝ่ายค้านเขาให้ความคิดว่าอย่างไรกับการเข้ารับตำแหน่งของเขา

รู้ทัน 'กฎหมายศาสนา' ในเมียนมา เรื่องอ่อนไหว ที่ไม่ควรล่วงเกิน

จากประเด็นล่าสุดที่เกิดขึ้นในเมียนมา คือมีคนนำตุ๊กตายางที่ชายหนุ่มกลัดมันซื้อมาเป็นเพื่อนคลายเหงามาทำเป็นองค์สักการะนัตสุรัสสตีและนัตสิริเทวีประดิษฐานไว้บริเวณด้านล่างของเจดีย์ชเวดากองทางทิศใต้ ซึ่งหากประดิษฐานไว้ที่อื่น เอย่าเชื่อว่าคงไม่มีประเด็นอะไร แต่เนื่องจากเป็นที่เจดีย์ชเวดากอง ดังนั้นดราม่าจึงเกิดขึ้น

ชาวโซเชียลของเมียนมาเริ่มมีการพูดถึงความไม่เหมาะสมในการนำตุ๊กตายางมาสวมชุดเป็นนัตมากขึ้นจนลามไปถึงเรื่องของเจ้าหน้าที่บริหารสถานที่เจดีย์ชเวดากองว่า ทำไมถึงยอมให้มีการนำหุ่นแบบนี้มาใช้เป็นนัตให้คนสักการะ (นัต: ผีบรรพบุรุษ ลักษณะกึ่งผีกึ่งเทวดาคล้ายเทพารักษ์)

แต่ความจริงเรื่องราวทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นขึ้นถ้าชายหนุ่มผู้บริจาคนัตนี้ให้เป็นองค์สักการะ ไม่โพสต์ใบเสร็จที่ระบุสเป็กของหุ่นว่า ตุ๊กตายางสูง...เซนติเมตร หน้าอกไซส์ใหญ่ 1 และหน้าอกไซส์ธรรมดา 1 ผมสี...ตาสี... ซึ่งแน่นอนเมื่อเขาโพสต์ลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์กและเปิดสถานะเป็นสาธารณะแบบนี้ จึงเป็นประเด็นทันที เพราะหากเขาไม่โพสต์ใบเสร็จใบนี้ ชาวเน็ตเมียนมาอาจจะคิดว่าเป็นตุ๊กตาทั่วไปไม่ใช่ตุ๊กตายางสำหรับใช้งานในเรื่องอย่างว่า

สุดท้ายกระทรวงกิจการศาสนาและวัฒนธรรมของเมียนมา จึงดำเนินคดีข้อหาดูหมิ่นพุทธศาสนาต่อผู้ที่นำตุ๊กตายางแต่งเป็นนัตไปให้ประชาชนกราบไหว้บูชาที่ลานจอดรถพระเจดีย์ชเวดากอง รวมถึงดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตโดยพลการด้วย สรุปงานเข้าไปตาม ๆ กัน

ประเด็นศาสนาเป็นเหตุแบบนี้ นี่ไม่ใช่เคสแรกในเมียนมา หากสืบค้นไปแล้วในเมียนมามีกฎหมายประหลาด ๆ หลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่นเมื่อหลายปีก่อนมีชาวแคนาดาและชาวสเปนถูกเนรเทศออกจากเมียนมา เพราะสักรูปพระพุทธรูปบนร่างกาย อีกทั้งยังมีเคสอื่น ๆ อีกเช่น มีชาวต่างชาติตะโกนด่าเนื่องจากชุมชนใกล้โรงแรมมีกิจกรรมเทศนาตอนค่ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปีหลังฝน สุดท้ายชาวต่างชาติคนนั้นถูกจับและดำเนินคดี หรืออย่างอีกเคสหนึ่งเป็นไนท์คลับที่เอารูปพระพุทธรูปมาประดับสุดท้ายก็โดนตำรวจจับและปิดไปตามระเบียบ

จะเห็นได้ว่าประเด็นทางศาสนาเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากสำหรับคนเมียนมาถึงขั้นมีการตราเป็นกฎหมายสรุปคร่าว ๆ ว่า...

เปิดคำ 'อิงฟ้า' ถึง 'ปูติน' คำตอบเชิงภาพลักษณ์ ที่อาจสะเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

จากเวทีประกวด Miss Grand International 2022 ที่จบไป พร้อมกับการคว้ารองชนะเลิศอันดับหนึ่งของ 'อิงฟ้า' ก็มีควันหลงเกี่ยวกับคำตอบมากมายของเธอหลั่งไหลอยู่บนโลกโซเชียล

โดยหนึ่งในผู้ใช้เฟซบุ๊กในชื่อ Kawin Kankeow ได้มีการโพสต์ติงคำตอบของอิงฟ้า พร้อมทวนให้ฟังดังนี้ว่า...

"Dear President Putin, everything you do is not different from a beast."
(ประธานาธิบดีปูติน ทุกสิ่งที่คุณทำไม่แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉาน)

แรงไปมั้ยครับ การประกวดนางงามจะตอบเอามันอย่างเดียวไม่ได้ ควรคำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศที่ตนเองเป็นตัวแทน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน การเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นมากครับ

5 ความท้าทาย พิสูจน์กึ๋นนายกฯ หนุ่ม 'ริชี ซูนัค' ภายใต้รัฐบาลใหม่ ความหวังใหม่ที่ประชาชนรอชม

"I will place economic stability and confidence at the heart of this government's agenda.
“เสถียรภาพและความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจคือหัวใจของนโยบายของรัฐบาลชุดนี้”

นี่เป็นส่วนหนึ่งของคำปราศัยยาวหกนาทีของนายกรัฐมนตรีคนใหม่หมาด ๆ ของอังกฤษอย่าง นายริชี ซูนัค หน้าบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวท์นิ่ง ซึ่งจะเป็นที่พักของเขาหลังจากนี้

นายริชีแถลงต่อสื่อมวลชนหลังจากที่เข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในตอนเช้าของวันอังคารที่ 25 กันยายนที่มีรับสั่งให้เขาจัดตั้งรัฐบาล นายริชีรู้ดีว่าการล่มสลายภายใน 45 วันของรัฐบาลของนางลิซ ทรัสส์มาจากอะไร เขาจึงบอกกับคนอังกฤษว่า รัฐบาลของเขาจะมีความซื่อสัตย์, เป็นมืออาชีพและรับผิดชอบในทุกระดับ และชาวอังกฤษจะได้รับความเชื่อมั่นนี้

พร้อมกันนี้นายริชียังให้คำมั่นสัญญาต่อไปว่า การบริการทางสาธารณะสุขจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น, โรงเรียนจะดีกว่าเดิม, ถนนหนทางจะปลอดภัย, การควบคุมชายแดนของประเทศจะรัดกุมยิ่งขึ้น, คุ้มครองรักษาสิ่งแวดล้อม, ให้การสนับสนุนกองทัพ,ยกระดับและเสริมสร้างเศรษฐกิจที่จะก่อให้เกิดโอกาสของการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป อันจะนำไปสู่การลงทุนทางธุรกิจ, การคิดค้นสิ่งใหม่และการสร้างงาน

สิ่งที่นายริชีกล่าวมา ตามภาษาอังกฤษที่ว่า it’s too good to be true มันดูจะดีเกินจริงไปหน่อยมั้ย ซึ่งเขาก็ดูจะรู้ดี จึงย้ำว่า...

"ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่อหน้าท่านขณะนี้และพร้อมที่จะนำประเทศของเราไปสู่อนาคต จะทำให้ความต้องการของท่าน (ให้ความสำคัญของประชาชน) อยู่เหนือการเมือง, และสร้างรัฐบาลที่แสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพพรรคการเมืองดังเช่นพรรคของข้าพเจ้า"

"So I stand here before you, ready to lead our country into the future, to put your needs above politics, to reach out and build a government that represents the very best traditions of my party.”

นี่ถือเป็นคำมั่นสัญญาของนายกรัฐมนตรีหนุ่มวัย 42 ปีเชื้อสายอินเดียต่อประเทศที่เขาบอกว่ามีบุญคุณที่ต้องตอบแทน

ว่าแต่รัฐบาลของนายริชีจะมีหน้าตาอย่างไร?

บีบีซีภาษาอังกฤษได้รวบรวมมาให้ดู ซึ่งก็ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นายเจเรมี่ ฮันท์ยังคงเป็นรมต.คลังต่อไป, นายโดมินิค ลัปป์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ รมต.ยุติธรรม, นางซูเอลล่า บลาเวอแมน กลับมาเป็นรมต. มหาดไทย หลังจากประกาศลาออกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเธอยอมรับผิดว่าใช้อีเมล์ส่วนตัวส่งเอกสารราชการให้คนรู้จัก ข่าวบอกว่าเธออาจเป็นเป้าของพรรคฝ่ายค้านที่จะโจมตีรัฐบาล, รมต.ต่างประเทศ และ รมต.กลาโหมคนเดิมไม่เปลี่ยน เช่นเดียวกับนางเพนนี มอร์ด้อนน์ ผู้ที่ลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกับนายริชชี่ แต่ต้องถอนตัวออกเพราะคะแนนเสียงไม่พอ เธอยังคงได้ตำแหน่งประธานสภาสามัญเช่นเดิม 

แต่มีตำแหน่งหนึ่งที่คนค่อนข้างแปลกใจคือ นายไมเคิล โกรฟ  Michael Gove กลับมาเป็นรมต. ที่เรียกว่า The Levelling Up Secretary โดยตำแหน่งนี้ พรรคคอนเซอร์เวทีฟตั้งขึ้นมาไม่นานนักและนายโกรฟ เคยเป็นมาก่อนและถูกนายบอริส จอนห์สันไล่ออกเพราะความขัดแย้งที่นายโกรฟขอให้นายบอริสลาออกหลังจากความผิดพลาดหลายอย่าง ซึ่งหน้าที่ของ รมต.นี้ คือ ทำหน้าที่ที่จะลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนในประเทศ

เหล่านี้ ก็เป็นไปตามกฎที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ 22 คน

อย่างไรเสีย พรรคเลเบอร์ก็วิจารณ์คณะรัฐมนตรีชุดใหม่นี้ว่าส่วนใหญ่ก็หน้าเดิมๆ ที่หน้าเดิมนี้อาจตีความหมายได้ว่า นายริชีต้องการประนีประนอมภายในพรรคให้เกิดความสามัคคี แต่รมต.ที่จะทำให้รัฐบาลอยู่รอดปลอดภัยก็คือ นายเจเนมี่ ฮันต์ ผู้ที่จะต้องเสนอแผนงบประมาณชุดเล็ก Mini-budget ต่อสภาในวันที่ 31 ต.ค. นี้

'ไบเดน' เรียกชื่อนายกฯ ใหม่อังกฤษผิด จาก 'ริชี ซูนัค' เป็น 'ราชี ซานุก'

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เอ่ยชื่อ ริชี ซูนัค นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษผิดพลาดในวันจันทร์ (24 ต.ค.) ระหว่างแสดงความคิดเห็นกรณีที่เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้ เหตุเลอะเลือนล่าสุดที่พบเห็นบ่อยครั้งขึ้นของผู้นำสหรัฐฯ

ระหว่างกล่าวปราศรัยในวาระเทศกาลดิวาลี หรือเทศกาลแห่งแสงสว่างของอินเดีย ไบเดน ยกย่องการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรของ ซูนัค นักการเมืองเชื้อสายอินเดีย ว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง

"เราได้รับข่าวว่า ราชี ซานุก (Rashee Sanook) ตอนนี้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี" ผู้นำสหรัฐฯกล่าว "อย่างที่พี่น้องผมมักพูดว่า ไม่น่าเชื่อเลย"

ในวันอังคาร (25 ต.ค. 65) ซูนัค กล่าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ หลังเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 หลังจากพระองค์ทรงตอบรับการลาออกของอดีตนายกรัฐมนตรี ลิส ทรัสส์ อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ทรัสส์ มีเวลาอยู่ในตำแหน่งเพียงแค่ 44 วัน กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่ครองตำแหน่งสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ

ซูนัค อดีตรัฐมนตรีคลังวัย 42 ปีและผู้จัดการกองทุนเฮลจ์ฟัน เป็นบุคคลผิวสีและชาวฮินดูรายแรกที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของสหราชอาณาจักร เขาคว้าชัยในศึกชิงตำแหน่งผู้นำพรรคอนุรักษนิยมหลัง เพนนี มอร์ดันท์ คู่แข่งคนสำคัญ รวบรวมคะแนนเสียงจากบรรดาส.ส.ของพรรคอนุรักษ์นิยมได้ไม่มากพอ ในขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน อีกหนึ่งคู่แข่ง เลือกที่จะถอนตัวไปก่อนหน้านี้

ขณะที่ ไบเดน กำลังขบคิดว่าจะลงสมัครกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยหรือไม่ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดี 2024 ตัวเขาเองกลับถูกวิพากษ์วิจารณ์เหน็บแนมอย่างกว้างขวาง จากอาการหลงลืมต่างๆนานา ที่ตอกย้ำความกังวลเกี่ยวกับสภาพร่างกายและสุขภาพจิตของเขา

ในวันจันทร์ (24 ต.ค. 65) เช่นกัน ไบเดน มีท่าทีเหมือนคนหลงทิศ เดินกลับอาคารหลักไม่ถูก หลังออกมาร่วมพิธีปลูกต้นไม้ที่สนามหญ้าทางทิศใต้ของทำเนียบขาว จนเจ้าหน้าที่ต้องชี้ทาง แนะให้เขาเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง

เมื่อเดือนที่แล้ว ไบเดน ก็เพิ่งแสดงอาการหลงและสับสน หลังจากเสร็จสิ้นการกล่าวสุนทรพจน์ในนิวยอร์ก

ประธานาธิบดีรายนี้ ซึ่งจะอายุครบ 80 ปีในเดือนหน้า หันรีหันขวางอยู่บนเวที ดูเหมือนกำลังมึนงงว่าจะลงจากเวทีอย่างไร ระหว่างนั้นพิธีกรได้กล่าวขอบคุณ ซึ่งดึงดูดความสนใจของ ไบเดน กลับไปยังพิธีการบนเวทีแทน

ในเดือนกันยายน ไบเดน สร้างความสับสนแก่สักขีพยานและเจ้าหน้าที่อีกครั้ง หลังจู่ๆเขาก็เดินออกจากโพเดียม ขณะกำลังกล่าวปราศรัยเกี่ยวกับหายนะภัยจากเฮอร์ริเคนเอียน ที่สำนักงานใหญ่ของสำนักงานจัดการภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลกลาง(FEMA)

'จีน' ผงาด!! มหาวิทยาลัยจีนอันดับที่ดีที่สุดโลก แซงหน้า 'มหาวิทยาลัยสหรัฐฯ' เป็นครั้งแรก

เว็บไซต์ข่าวมาร์เก็ตวอทช์รายงานว่า รายงานการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 2,000 แห่งจากมากกว่า 90 ประเทศทั่วโลกโดยนิตยสารยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต (U.S. News & World Report) พบว่า มีมหาวิทยาลัยของจีนถึง 338 แห่งติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยของสหรัฐจำนวน 280 แห่ง โดยนับเป็นครั้งแรกที่จำนวนมหาวิทยาลัยของจีนติดอันดับดังกล่าวแซงหน้ามหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2565-2566 (The 2022-2023 Best Global Universities rankings) ที่เปิดเผยในวันอังคาร (25 ต.ค.) แสดงให้เห็นว่า จีนมีจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกมากกว่าสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก โดยมหาวิทยาลัยของจีนและสหรัฐติดอันดับจำนวนมากที่สุด ตามด้วยญี่ปุ่น (105 แห่ง), สหราชอาณาจักร (92 แห่ง) และอินเดีย (81 แห่ง)

การจัดอันดับดังกล่าวนั้นเริ่มขึ้นในปี 2557 เนื่องจากมหาวิทยาลัยจำนวนมากขึ้นเริ่มแข่งขันกันในการแย่งชิงนักศึกษา ตลอดจนการลงทุนด้านคณาจารย์และการวิจัยด้วย โดยการจัดอันดับจะวัดจากปัจจัยจำนวนมาก รวมถึงชื่อเสียงด้านงานวิจัย การตีพิมพ์งานวิจัย การจัดประชุม และการถูกนำไปอ้างถึง แต่จะไม่รวมผลการเรียนของนักศึกษาและโปรแกรมการเรียนรายบุคคล

แม้จีนจะมีมหาวิทยาลัยติดอันดับมากกว่าสหรัฐฯ 58 แห่ง แต่มหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ยังคงติดอันดับบน รวมถึงติด 10 อันดับแรกได้ถึง 8 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (อันดับ 1), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (อันดับ 2), มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (อันดับ 3), มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กลีย์ (อันดับ 4), มหาวิทยาลัยวอชิงตัน-ซีแอตเทิล(อันดับ 6), มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (อันดับ 7), สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (อันดับ 9) และมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ (อันดับ 10) โดยใน 10 อันดับแรกมีมหาวิทยาลัยจากสหราชอาณาจักรติดอันดับ 2 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (อันดับ 5) และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (อันดับ 8)

อย่างไรก็ตาม ในการจัดอันดับดังกล่าวนั้นได้เพิ่ม 4 สาขาวิชาใหม่ในการพิจารณาได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การศึกษาและการวิจัยทางการศึกษา, อุตุนิยมวิทยาและบรรยากาศศาสตร์ และทรัพยากรน้ำ โดยนายโรเบิร์ต มอร์ส หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ข้อมูลของยูเอส นิวส์ เปิดเผยกับมาร์เก็ตวอทช์ว่า “สาขาวิชาดังกล่าวกำลังได้รับความสนใจอย่างมากในหลายระดับ”

ทั้งนี้ AI เป็นหนึ่งในไม่กี่สาขาที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนถือว่ามีความสำคัญทางด้านกลยุทธ์ระดับประเทศ โดยคณะทำงานของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ได้ลงนามในร่างกฎหมายการริเริ่ม AI แห่งชาติ (National AI Initiative Act) ให้เป็นกฎหมายในปี 2564 โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้สหรัฐฯ ขึ้นเป็นผู้นำในด้านดังกล่าว

ส.ส.หัวเสรีนิยมจากพรรคเดโมแครตโดนถล่มเละ หลังเรียกร้องยุติสงครามยูเครนด้วยการเจรจา

รอยเตอร์ส - เมื่อ (25 ต.ค.) ที่ผ่านมากลุ่มส.ส.หัวเสรีนิยมจากพรรคเดโมแครต ตัดสินใจถอนหนังสือฉบับหนึ่งที่ส่งถึงทำเนียบขาว เรียกร้องให้หาทางคลี่คลายวิกฤตสงครามในยูเครนด้วยการเจรจา หลังจากความเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนในพรรคของพวกเขาเอง

พรามิลา จายาปาล ส.ส.จากพรรคเดโมเครต ประธานกลุ่ม ส.ส.หัวก้าวหน้าในสภาคองเกรสของสหรัฐฯ (Congressional Progressive Caucus) กล่าวว่า "ทางกลุ่มได้ถอนหนังสือในเรื่องเกี่ยวกับยูเครน ที่ส่งถึงทำเนียบขาวเมื่อเร็ว ๆ นี้" พร้อมระบุว่า "หนังสือฉบับนี้ร่างไว้ตั้งแต่หลายเดือนก่อน เคราะห์ร้ายที่มันถูกเผยแพร่โดยเจ้าหน้าที่โดยไม่ผ่านการตรวจสอบ"

หนังสือฉบับนี้ที่ลงนามโดยสมาชิกหัวก้าวหน้า 30 คน ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อวันจันทร์ (24 ต.ค.) และทำให้ส.ส.ของพรรคเดโมแครตคนอื่น ๆ รู้สึกเหมือนถูกเล่นงานโดยไม่ทันตั้งตัว ราว 2 สัปดาห์ ก่อนถึงศึกเลือกตั้งกลางเทอมในวันที่ 8 พฤศจิกายน ซึ่งจะเป็นตัวตัดสินว่าพรรคจะยังคงครองเสียงข้างมากในสภาคองเกสไว้ได้หรือไม่

ขณะเดียวกันหนังสือฉบับนี้ได้ถูกเผยแพร่ออกมา ในช่วงเวลาที่สมาชิกรีพับลิกันก็มีเรื่องให้กังวลเช่นกัน หลังมีข่าวว่าทางพรรคอาจปรับลดเงินช่วยเหลือทางทหารและมนุษยธรรม ที่มอบให้แก่ยูเครนนับตั้งแต่ถูกรัสเซียเปิดฉากรุกรานในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมันก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

หลังถูกวิจารณ์อย่างหนัก สมาชิกของกลุ่มส.ส.หัวก้าวหน้าในสภาคองเกรสหลายคน เผยแพร่ถ้อยแถลงแสดงจุดยืนสนุบสนุนยูเครน เน้นย้ำว่าที่ผ่านมา พวกเขาก็ให้ความร่วมมือกับสมาชิกเดโมแครตคนอื่นๆ ในการลงมติเห็นชอบมอบเงินช่วยเหลือหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ยูเครน

บางส่วนในนั้นอ้างว่าพวกเขาลงนามในหนังสือดังกล่าวตั้งแต่หลายเดือนก่อน และตอนนี้สิ่งต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปแล้ว 

"จังหวะเวลาของการเจรจาคือทุก ๆ อย่าง ฉันลงนามในหนังสือนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน แต่หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนไปแล้วนับตั้งแต่นั้น ถ้าเป็นวันนี้ ฉันจะไม่ลงนามมัน" ส.ส.ซารา จาค็อบส เขียนบนทวิเตอร์

ส.ส.เจมี ราสคิน ซึ่งลงนามในหนังสือดังกล่าวเช่นกัน ระบุในถ้อยแถลงว่า เขารู้สึกยินดีที่ได้ทราบว่ามันถูกถอนออกมาแล้ว

ถอดเนื้อหา FARCRY 6 สู่บริบททึ่คล้ายคลึง 'เมียนมา' สันติภาพไม่มีอยู่จริง หากทุกฝ่ายยังชิงชังไม่จบสิ้น

หากใครเป็นคอเกม ย่อมรู้จักเกม FAR CRY เป็นอย่างดี เพราะเป็นซีรีส์เกมที่ออกมาเมื่อไหร่ก็ฮิตเป็นพลุแตกทุกครั้ง โดยในภาคที่ 6 นี้เนื้อเรื่องของภาคนี้เข้มข้นเหมือนกับชีวิตจริงในเมียนมาเสียจนเอย่าต้องขอยกเรื่องนี้มาเขียนเป็นบทความกันเลยทีเดียว

ในเกม FAR CRY 6 นี้จะเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นบนประเทศที่เป็นหมู่เกาะในคาบสมุทรแคริเบียนที่ชื่อว่า 'ยาร่า' เรื่องราวมีอยู่ว่า ในปี 1967 คณะกองโจรปฏิวัติ 'เกอริญ่า' ได้โค่นล้มระบอบการปกครองเผด็จการของประธานาธิบดี เกเบรียล คาสติโญ่ ลงได้สำเร็จ แต่มันก็นำไปสู่วิกฤติการล่มสลายทางเศรษฐกิจของประเทศยาร่า เวลาผ่านไปในปี 2014 ลูกชายของเขา อันตน คาสติโญ่ ได้ขึ้นมารับตำแหน่งประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง และให้คำมั่นสัญญาว่าจะฟื้นฟูประเทศใหม่ โดยคิดค้นสิ่งที่เรียกว่า 'วิวิโร่' ซึ่งเป็นยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากใบยาสูบในประเทศยาร่า และใช้ชื่อโปรเจกต์การฟื้นฟูยาร่าว่า 'บูรณะแดนสวรรค์'

เมื่อเวลาผ่านไป 7 ปี การปกครองของอันตนก็เป็นระบอบเผด็จการเต็มรูปแบบ เขาใช้แรงงานประชาชนเยี่ยงทาส ปกครองประชาชนด้วยเผด็จการเพื่อเกณฑ์กำลังคนมาเป็นกองทัพ และร่วมมือกับหลากหลายหน่วยงานในการสร้างวิวิโร่ขึ้นมา รวมไปถึงสร้างกองกำลังติดอาวุธ Fuerzas Nacionales de Defensa (FND) ขึ้นมา ประชาชนทุกหย่อมหญ้าเดือดร้อนจากการปกครองด้วยระบอบนี้ แดนี่ โรฮาส ตัวเอกในเกมส์ของเราและเพื่อนอีกสองคนคือ ลิต้า ตอร์เรส และอเลโฮ รูอิซ ตัดสินใจที่จะหนีออกจากขุมนรกแห่งนี้ไปยังอเมริกา  

ก่อนการหลบหนี อเลโฮทนไม่ไหวกับการทำตัวป่าเถื่อนของเหล่าทหาร จึงโผล่หน้าออกไปตะโกนด่าทอ ก่อนจะโดนสวนกลับมาด้วยลูกปืนที่ปลิดชีวิตของเขา ลิต้าและแดนี่จึงรีบหลบหนีออกจากเมืองไปยังเรือที่กำลังจะพาผู้คนหนีออกนอกประเทศ แต่เรื่องราวกลับเลวร้ายเมื่อบนเรือนั้น กลับมี ดิเอโก้ ลูกชายของอันตนอยู่ด้วย อันตนจึงนำกองกำลังมาสกัดและพาตัวดิเอโก้กลับไป พร้อมกับสั่งฆ่าประชาชนทุกคนที่อยู่บนเรือ เรือจมลงสู่ใต้ทะเลและแดนี่กับลิต้าก็ถูกพัดมาเกยตื้นบนชายหาดเกาะซานตัวริโอ้ ส่วนลิต้าที่ทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตไปอีกคน  

จากการรอดตายครั้งนี้ทำให้แดนี่ได้พบกับคลาร่า การ์เซียผู้นำกองโจรปฏิวัติ ลิเบอร์ตาด เพื่อต่อต้านระบอบการปกครองของคาสสิโญ่ และฮวน คอร์เตซ อดีตสายลับและผู้ผลิตอาวุธที่คอยขัดขวางระบบการผลิตวิวิโร่บนเกาะซานตัวริโอ้ จากนั้นแผนการโค่นล้มระบอบเผด็จการจึงได้เริ่มต้นขึ้น 

และนี่คือเรื่องราวทั้งหมดก่อนจะเริ่มเกม โดยหากใครเล่นเกมจะพบว่ากองทัพปฎิวัตินั้น แยกเป็นหลายกลุ่มซึ่งมีแดนี่เป็นคนดึงให้ทุกกลุ่มมมาอยู่ด้วยกันจนสามารถโค่นล้มประธานาธิบดี อัลตน คาสติโญ่ได้สำเร็จ  

จากเนื้อหาในเกม หากเปรียบเทียบกับสิ่งที่เมียนมาเป็น มีอะไรเหมือนหรือแตกต่างจากเกมบ้าง?

ในเกมประธานาธิบดีอัลตน พยายามแยกชาวยาร่าว่ามี 2 กลุ่มคือชาวยาร่าแท้ ๆ กับอีกกลุ่มที่ในเกมระบุว่าเป็นพวกชายขอบ ซึ่งเนื้อหาจุดนี้คล้ายกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา ตรงที่มีปัญหาจากความแตกต่างของชาติพันธุ์เป็นทุนเดิม แต่ในเมียนมานั้น ทางรัฐบาลทุกรัฐบาลแม้กระทั่งรัฐบาลทหารก็มีท่าทีที่จะรวบชาติพันธุ์ให้เป็นหนึ่งเดียวกับชาติพันธุ์เมียนมา ไม่ได้แบ่งแยกเหมือนในเกม

กลุ่มผู้ต่อต้านกระจายกันอยู่ต่างฝ่ายต่างมีแนวทางของตัวเอง มีเพียงในเกมเท่านั้นที่มีสถานการณ์ที่ทำให้ทุกฝ่ายรวมกันเป็นกลุ่มเดียว แต่ในความเป็นจริงนั้นทำได้ยากมาก

เพราะเรื่องจริงนั้นมักจะมีมือที่สามให้การสนับสนุนทั้งฝ่ายรัฐบาลของอัลตนและฝ่ายเกอริญา โดยในเกมระบุว่าฝ่ายรัฐบาลนั้นมีแยงกี้เป็นผู้สนับสนุนในการลงทุนการทำฟาร์มยาสูบวิวิโร่ ส่วนฝ่ายต่อต้านได้เงินและการสนับสนุนอาวุธจากการค้าของเถื่อน

นอกจากนี้ ผู้ทรยศก็ล้วนมีอยู่ทุกฝ่าย หากใครเล่นเกมจะเห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีผู้ทรยศต่อฝ่ายตัวเอง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งสถานการณ์ในเมียนมาก็มีไม่น้อยที่ทหารหลายคนแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับฝั่งของมินอ่องหล่ายและฝ่ายต่อต้านก็มีหลายคนที่เลือกที่จะหยุดไม่สนับสนุนการต่อต้านอีกต่อไปด้วยเหตุผลส่วนตัวของเขาเช่นกัน

อย่างไรซะ ไม่ว่าจะในเกมหรือชีวิตจริง ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงบาดเจ็บและสียชีวิตก็คือชาวบ้านที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ที่อยู่ในเขตสู้รบ

การทำโฆษณาชวนเชื่อ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดึงมวลชนมาเป็นพวกของตน ไม่ว่าจะเป็นทั้งฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายต่อต้านไม่ว่าจะในเกมหรือในชีวิตจริงเรื่องนี้เป็นจริงเสมอ

แม้แม่ทัพใหญ่จะตาย เกมจะจบ แต่สงครามของความขัดแย้งไม่มีวันจบ เพราะจะมีคนมาแทนเสมอ  เฉกเช่นเดียวกันกับที่แม้ฝั่งกองทัพเมียนมาจะสังหารหัวกะทิแม่ทัพตายไปมากมายเท่าไรก็ตาม ก็จะมีคนใหม่มาแทนเสมอ

แม้ประธานาธิบดีอัลตนจะตายไปแต่ยาร่า ก็ไม่ได้มีเสรีภาพตามที่เกอริญาคาดหวังไว้อยู่ดี เพราะสุดท้ายก็จะมีกลุ่มที่เคยให้การสนับสนุนประธานาธิบดีอัลตนกำเนิดขึ้นมาเป็นกลุ่มต่อต้านพวกเกอริญา ซึ่งเป็นบทสรุปว่าสงครามไม่เคยนำพาสันติภาพไม่ว่าจะในรูปแบบใด แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้แสวงหาประโยชน์จากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในสงครามเท่านั้น

บริษัทญี่ปุ่นผุดไอเดีย ‘เครื่องซักคน’ แค่นอนเฉย ๆ ไม่ต้องเหนื่อยถู

บริษัทเทคโนโลยีญี่ปุ่น ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมห้องน้ำและห้องครัว ออกมาเผยแผนการผลิต ‘เครื่องซักคน’ เพิ่มความสะดวกสบายเอาใจผู้บริโภคที่ขี้เกียจถูตัว ต่อจากนี้แค่นอนเฉย ๆ ไม่ต้องลำบาก เดี๋ยว AI อาบให้!

อันที่จริงคอนเซปต์เครื่องซักคนไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อหลายสิบปีก่อนนี้บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่อย่าง ‘ซันโย อิเล็กทริก’ เคยนำเครื่องซักคนตัวต้นแบบที่เรียกว่า ‘Ultrasonic Bath’ ออกมาเปิดตัวในงาน Osaka Expo เมื่อปี 1970 มาแล้ว พร้อมโฆษณาว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วย ‘ล้างทำความสะอาด นวดตัว และเป่าแห้งโดยอัตโนมัติ เสร็จสรรพภายใน 15 นาที’

อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังไม่เคยถูกพัฒนาจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายในท้องตลาดมาก่อน

ล่าสุด บริษัท ไซเอนซ์ จำกัด (Sciences Co. Ltd.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครโอซากา ได้ประกาศแผนสร้างและผลิตเครื่องซักคนรุ่นใหม่ที่ใช้งานได้จริงภายใต้ชื่อ ‘Project Usoyaro’ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้ภายในปี 2025

เปิด 10 ทิศทางของ ‘สาธารณรัฐประชาชนจีน’ ภายใต้ผู้นำที่ชื่อ ‘สี จิ้นผิง’ ตลอดทศวรรษ

การประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 ปิดม่านไปเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสี จิ้นผิง ครองอำนาจสูงสุดของพรรคเป็นสมัยที่ 3 พร้อมกับคัดเลือกทีมผู้นำระดับสูงสุดในคณะกรรมการประจำของกรมการเมืองมาร่วมปกครองประเทศ โดยทั้งหมดล้วนเป็นผู้ใกล้ชิดจงรักภักดีต่อสีจิ้นผิง ดังนั้น อำนาจใหญ่ของผู้นำสีในสมัยที่ 3 จึงทรงพลังที่สุดนับจากท่านประธานเหมาเจ๋อตง ผู้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

ระหว่างช่วง 10 ปีที่สีครองอำนาจสูงสุดในพรรคนับจากสมัยแรกของการนำเมื่อปี 2012 จีนได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างลึกล้ำทั้งภายในประเทศและกระจายไปทั่วโลก

สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้นำเสนอ 10 เรื่อง หรือ 10 ทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปของจีนภายใต้การนำของสี ดังต่อไปนี้

1.) โลกตะวันตกและเหล่าพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา มีความเข้าใจจีนในทางที่แย่ลง

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ เสื่อมถอยลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยรัฐบาลพญาเหยี่ยวของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เร่งสปีดความเสื่อมถอยดังกล่าว ความเข้าใจของโลกตะวันตกยิ่งแย่ลง ๆ จากความขัดแย้งในประเด็นสิทธิมนุษยชน และการที่จีนทวีความแข็งกร้าวต่อไต้หวัน

2.) แคมเปญปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของสี จิ้นผิง

หลังจากที่สีได้นั่งบัลลังก์อำนาจสูงสุดของพรรค ก็บุกตะลุยกวาดล้างการทุจริตคอร์รัปชันภายในพรรค ซึ่งเรียกคะแนนนิยมจากสาธารณชนได้เป็นกอบเป็นกำ แต่นักวิเคราะห์บางคนมองว่า แคมเปญปราบคอร์รัปชันของสี ยังเป็นเครื่องมือขจัดปฏิปักษ์การเมืองไปด้วย

3.) สร้างระเบียบความสงบเรียบร้อยตามชายแดนที่เคยเป็นเขตมีปัญหาวุ่นวาย

ภูมิภาคทิเบต ซินเจียง ฮ่องกง ซึ่งเป็นเขตปกครองตัวเองและเขตบริหารพิเศษภายใต้อธิปไตยจีน เคยสร้างความปวดเศียรหนักให้พรรคคอมมิวนิสต์จีน

สี ได้จัดปฏิบัติการปราบปรามที่เด็ดขาดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน กวาดล้างเสี้ยนหนามที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของแผ่นดิน และคุมภูมิภาคชายแดนได้อยู่หมัด

ในซินเจียง ชาติส่วนน้อยมุสลิมอุยกูร์ราวหนึ่งล้าน เข้ามาฝึกฝนอาชีพในค่ายอาชีวศึกษา

ในฮ่องกง ทางการจีนได้จัดกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติมาปราบกลุ่มที่ออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลในปี 2019 จนดินแดนเข้าสู่ภาวะสงบเรียบร้อยโรงเรียนจีน

4.) อุณหภูมิขัดแย้งไต้หวันสูงขึ้น

กลุ่มผู้นำสูงสุดของจีนทุกคนจากยุคเหมาเจ๋อตง ล้วนย้ำนักย้ำหนาถึงความสำคัญของการ “รวมชาติจีน” กับเกาะที่จัดตั้งรัฐบาลปกครองตัวเองแห่งไต้หวัน

ความตึงเครียดในช่องแคบไต้หวันร้อนกระฉูดภายใต้การนำของสี กองทัพปลอดแอกประชาชนจีนเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวรอบ ๆ เกาะในไม่กี่ปีมานี้ ทั้งหมั่นซ้อมรบ ไปยันรุกล้ำเข้าไปท้าทายในเขตป้องกันภัยทางอากาศ

ในเดือนสิงหาคม ประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ นางแนนซี โพโลซี ยังมาเยือนไทเป กระตุ้นหนวดพญามังกรอย่างย่ามใจยิ่ง และจีนก็ตอบสนองโดยจัดการซ้อมรบครั้งใหญ่ปิดล้อมเกาะไต้หวัน 3 วัน อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top