Tuesday, 29 April 2025
TheStatesTimes

แบงก์ชาติ (ไทย) ยืนหนึ่ง!! ซื้อทองคำมากที่สุดในโลก

ก่อนหน้านี้ สภาทองคำโลก (World Gold Council) วิเคราะห์แนวทางป้องกันความเสี่ยงจากภัยคุกคามเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ยังถือเป็นการเตรียมพร้อมต่อการไหลออกของเงินทุนที่อาจจะเกิดขึ้น จากทิศทางนโยบายทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อาทิ สหรัฐฯ 

อย่างไรก็ตาม พอย่างเข้าปี 2565 สถานการณ์ที่เลวร้ายจากสมรภูมิ 'รัสเซีย-ยูเครน' ได้ ปะทุความรุนแรง และดันราคาน้ำมันถีบตัวขึ้นสูงราว 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซ้ำเติมระดับเงินเฟ้อทั่วโลกให้เข้าใกล้ระดับวิกฤติมากไปกว่าเดิม

สถานการณ์ข้างต้นส่งผลให้ 'ราคาทองคำ' สินทรัพย์ที่นับว่าสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ดีที่สุด ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และวันพุธที่ผ่านมา (9 มี.ค.) ราคาทองคำในประเทศไทยได้พุ่งทะลุบาทละ 31,000 บาทไปเป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่ได้มีคาดการณ์ตัวเลขดังกล่าวไว้ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา (ก.พ. 65)

รู้จัก THE RED CARBON จุดแข็งใหม่ด้านครีเอทีฟของ CJ WORX ภายใต้ Data + Creative ที่ผสมผสานอย่างลงตัว

ปี 2022 Creative Agency หลายๆ ที่ อาจจะเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่า ‘โลกใหม่’ หรือโลกที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป มันคืออะไร? แล้วจะมีวิธีไหนไหม? ที่ทำให้จักรวาลของเอเจนซี่โฆษณา พุ่งตัวไปยังโลกนั้น แล้วรังสรรค์งานสร้างสรรค์ให้ลูกค้าได้อย่างทันท่วงที

‘ขี่จรวดไป…จะได้เร็ว’ นั่นคือ คำตอบที่ง่ายที่สุด!! 

แต่ ‘จรวด’ ที่ว่ามันคืออะไรกันล่ะ? แล้วใครจะเป็นคนสร้าง?

ตลอดระยะเวลากว่า 12 ปี CJ WORX ถือเป็นอีกเอเจนซี่ที่โดดเด่นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และยังคงเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับ Creative Agency คือ ความสามารถที่จะ ‘คิดสร้างสรรค์’ สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา ซึ่งรวมไปถึงการ ‘สรรค์สร้าง’ ให้ Data เข้ามาทำงานร่วมกับ Creative ได้อย่าง ‘สร้างสรรค์’ 

นั่นจึงทำให้ CJ WORX ไม่เคยคิดว่า จะถูก Disrupt จากยุคของ Data แม้แต่น้อย!!

เพียงแต่จะต้องตั้งคำถามว่า Data จะมอบ ‘พลัง’ ในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้แก่ CJ WORX ได้อย่างไร และในขณะเดียวกัน ความคิดสร้างสรรค์ของ CJ WORX จะแปรเปลี่ยนกลับมาเป็น Data ได้อย่างไรด้วย 

เมื่อเข้าใจเช่นนั้นแล้ว พวกเขาจึงให้คำตอบกับตัวเองว่า “จรวดที่จะนำพาให้เราไปยังโลกใหม่...ก็คือ Data” แต่ด้วยความครีเอทีฟในแบบของ CJ WORX การนำ Data มาสร้างเป็นจรวด ก็ต้องไม่ใช่จรวดธรรมดา!!

CJ WORX ใช้เวลาตามหาผู้ที่จะช่วยเราสร้างจรวดลำนี้ ซึ่งก็ใช้เวลาไม่นานนัก ก็เจอ!! 

จรวดลำนี้ มีชื่อว่า Data-Driven Creativity เป็นจรวดที่จะทำให้พุ่งทะยาน ไปยังโลกใหม่ได้เร็ว และสร้างความสนุกสนานใหม่ๆ ให้กับลูกค้าของ CJ WORX ภายใต้บริษัทใหม่ที่ชื่อว่า ‘THE RED CARBON’ ซึ่งเกิดขึ้นบนความเชื่อที่ว่า Data คือ จรวดที่จะพาพวกเขาออกสู่อวกาศอย่างรวดเร็ว และจะช่วยให้ลูกค้าไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างแม่นยำ 

โดย ‘RED’ ย่อมาจาก RICH ENGAGEMENT DATA เกิดจากความเชื่อที่ว่า Data ที่ Rich จะต้องมาจาก Engagement ที่แข็งแรง ซึ่ง CJ WORX เองมีความสามารถในการผลิตเนื้อหาที่สร้าง ENGAGEMENT ได้อย่างแข็งแรงจาก Campaign ต่างๆ ที่ปล่อยออกมา ส่งผลให้ Data ที่ได้นั้น ‘มีความหมาย’ ในขณะเดียวกัน THE RED CARBON จะเป็นผู้ที่นำ Data เหล่านั้นไปต่อยอดให้มีความหมายที่ลึกซึ้งขึ้นไปอีก ทั้งในเชิงของ Campaign, Performance และ Business Result

หนึ่งใน Founder ของ THE RED CARBON ที่ CJ WORX ตามหามานาน คือ ‘ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์ป๊อป’ อดีตอาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ที่ขลุกอยู่กับ Data มากว่า 15 ปี และมีประสบการณ์มากมายทางด้าน Data Science และ Behavioral Economics โดยอาจารย์ป๊อบเชื่อว่า Creativity มีความสำคัญมากในงาน Data Science 

“หลายคนอาจจะคิดว่า Data Science กับ Creativity มันอยู่คนละโลก แต่ในความเป็นจริง เวลาที่เราต้องทำงานกับข้อมูลต่างๆ มันคือกระบวนการคิดสร้างสรรค์ มันคือการตอบคำถามแบบ Out of the box ดังนั้นเรามักจะเห็นว่า บริษัทที่ Innovative มากๆ จะมีการผสมผสาน Data กับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์อย่างลงตัว” อาจารย์ป๊อบกล่าวพร้อมเสริมว่า “จริงๆ แล้วเราใช้ความคิดสร้างสรรค์เยอะมาก ในการวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล หรือแม้กระทั่งการสร้างแบบจำลองต่างๆ ล้วนแล้วใช้ความคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น ดังนั้น เส้นแบ่งระหว่างงานด้าน Data Science กับ Creativity จึงเริ่มจางหายไป และเกิดเป็น Data-Driven Creativity ขึ้นมา”

'บิ๊กป้อง' ผู้บัญชาการทหารอากาศ เปิดห้องรับรอง ZEUS GROUP

วันที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่ห้องรับรอง 1 กองทัพอากาศ  พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ตท.21) พร้อมฝ่ายเสนาธิการฯ ได้กรุณาเปิดห้องรับรองต้อนรับคณะของบริษัท ZEUS TECHNOLOGY CORPORATION 

ตร. เตือน รถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autopilot) หากเกิดอุบัติเหตุ คนขับยังต้องรับผิดชอบ

วันที่ 17 มิ.ย. 65 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ในปัจจุบัน ได้เริ่มมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ได้นำเอาระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่มาติดตั้งในรถยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ขับขี่เป็นจำนวนมาก อาทิ ระบบเตือนการชนด้านหน้าและหยุดรถอัตโนมัติ ระบบควบคุมรถให้อยู่ในช่องทางการเดินรถ ระบบควบคุมความเร็วแปรผันตามรถคันหน้า รวมไปถึงระบบที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า เช่น ระบบขับขี่อัตโนมัติ หรือที่เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่าระบบ Autopilot ซึ่งระบบทั้งหมดที่กล่าวมา มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสะดวกสบายกับผู้ขับขี่ และลดจำนวนการเกิดอุบัติบนท้องถนน แต่ก็มีข้อคำถามของพี่น้องประชาชนว่า หากรถยนต์ที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติ เกิดอุบัติเหตุ ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนว่า สำหรับกฎหมายของประเทศไทย ได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง” 

ดังนั้นผู้ที่ควบคุมยานพาหนะ ไม่ว่าจะมีระบบควบคุมอัตโนมัติหรือไม่ ก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น หากอุบัติเหตุดังกล่าวมีต้นเหตุมาจากการขับขี่ของยานพาหนะคันที่ตนขับขี่หรือควบคุมอยู่

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร จัดโครงการสัมมนาเชิงวิชาการ “แนวทางการบูรณาการโครงการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ”

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 61 ที่เห็นชอบในหลักการกำหนดเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติเลขหมายเดียว (Nation Single Emergency Number) ซึ่งมอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ โดยให้บูรณาการความร่วมมือกันระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในการใช้หมายเลข 191 เป็นหมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติเพียงเลขหมายเดียว ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน  

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงกำหนดให้จัดการสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “แนวทางการบูรณาการโครงการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” ในวันที่ 17 มิ.ย. 65 ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00 น. ณ สโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด การสัมมนาฯ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายให้ พล.ต.ท.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บังคับระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมพิธีฯ 

สตูล กอ.รมน. ออกสร้างมวลชน สร้างชาวบ้านตามเกาะแก่งร่วมเป็นเครือข่ายสอดส่องดูเรือแปลกปลอมเข้ามาในพื้นที่น่านน้ำชายแดน ป้องกันยาลักลอบขนแรงงานต่างด้าวเข้ามาในพื้นที่และยาเสพติด 

วันที่ 17 มิ.ย. 65 หลังจากมาตารการการเปิดเมืองเริ่มขึ้น สิ่งหนึ่งที่ทาง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสตูล ต้องเร่งประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน โดยเฉพาะ 2 สิ่งหลักๆ ที่ต้องเร่งปราบปรามกวาดล้าง คือปัญหาเรื่องของยาเสพติดที่เล็ดลอดเข้ามาจากพื้นที่ต่างประเทศ และปัญหาการลักลอบเข้าในประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย ทั้งเรื่องกลุ่มแรงงานต่างด้าว ชาวเมียนมา และชาวโรฮิงญา แอบแฝงเข้ามาได้หลากหลายวิธี ทั้งมีคนนำพาเข้ามาได้ อาจจะเชื่อมโยงในเครือข่ายค้ามนุษย์ หรือแม้กระทั้ง ถูกนำมาทิ้งไว้ตามแนวเขตตะเข็บชายแดนทั้งทางบก และทางทะเล ร่วมทั้งล่าสุด 59 คน ที่เป็นบุคคลคล้ายลักษณะชาวเมียนมา จึงต้องเร่งเดินหน้าสร้างเครือข่ายตาสับปะรด สร้างชาวบ้าน ชาวประมง ช่วยสอดส่องดูเรือที่ผิดปกติ เข้ามาในฝั่งไทย หรือจังหวัดสตูล 

'รังสรรค์' แนะรัฐบาลเร่งหาตลาดใหม่ส่งออกสินค้าเกษตร ชาวสวนลำใย 33 จังหวัดพร้อมบุกทำเนียบทวงเงินเยียวยา 2,000 บาทต่อไร่

นายรังสรรค์ มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ปี 2564 เกษตรกรผู้ปลูกลำใย ประสบปัญหาหนักมาก ส่วนหนึ่งมาจากราคาลำใยตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ราคาลำใยเกรดดีราคาไม่เกิน 3 บาทต่อกิโลกรัม ที่ผ่านมาเกษตรกรได้มา ยื่นหนังสือเพื่อทวงถามเงินเยียวยาต้นทุนการผลิตจำนวน 2,000 บาทไม่เกินคนล่ะ 25 ไร่ ที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รับปากกับเกษตรกรเมื่อครั้งไปตรวจราชการในพื้นที่ไว้ว่าไม่มีปัญหา จนถึงวันนี้ผ่านมาครึ่งปีแล้วยังไร้วี่แวว ว่าเกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาตามที่พลเอกประวิตรรับปากไว้แต่อย่างใด 

เมื่อต้นปี 2565 เกษตรกรผู้ปลูกลำใย 33 จังหวัดทั่วประเทศ เดินทางมายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม เพื่อทวงถามจนถึงเวลานี้ผ่านมาครึ่งปีไม่มีความคืบหน้า หากไม่มีความคืบหน้าเกษตรผู้ปลูกลำใย ทั้ง 33 จังหวัดจะยกขบวนมาทวงถามถึงกรณีดังกล่าว ต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีถึงทำเนียบรัฐบาลอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลทอดทิ้งเกษตรกรผู้ปลูกลำใยโดยไม่ใยดี

Interstate Charging Station ‘สถานีชาร์จไฟฟ้าระหว่างเมือง’ อีกตัวแปร ‘สำคัญ’ ในการเลือกใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ต้องยอมรับว่าในหลายๆ ประเทศการขนส่งหลักจะใช้ยานยนต์เป็นหลัก ซึ่งการที่จะช่วยให้มีการเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาป ต้องคำนึงถึงเรื่องแบตเตอรี่ที่รอบรับการชาร์จได้รวดเร็ว 

ฉะนั้นนอกเหนือจากการมียานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบสนองผู้บริโภคแล้ว สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV Charger ก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการใช้งานไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น

สำหรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV Charging Station เปรียบเทียบได้กับสถานีปั๊มน้ำมัน แต่เปลี่ยนจากเติมน้ำมันเป็นเติมประจุพลังงานไฟฟ้าแทน ซึ่งการชาร์จพลังงานให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั่น จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีได้แก่...

1.) Normal Charge เป็นการชาร์จแบบปกติ เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC โดยขนาดของ On Board Charger นั่นจะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละคันก็มีขนาดไม่เท่ากัน

และ 2.) Quick Charge ซึ่งเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charging Station (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่จะทำการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ไม่ผ่าน On Board Charger เหมือนกับ Normal Charge ซึ่งวิธีการชาร์จไฟฟ้า จะส่งผลให้ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จลงน้อยลง
 

‘กองทัพบก’ เลี้ยงอาหารมื้อพิเศษ สั่ง ‘ไก่ทอด KFC’ ให้ทหารที่เพิ่งฝึกจบใหม่

ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 จัดเลี้ยงอาหารพิเศษไก่ทอด (KFC) ให้ทหารที่เพิ่งฝึกจบใหม่ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และสร้างความเชื่อมั่นว่าทหารใหม่จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี

เมื่อวันที่ (15 มิ.ย.) เพจ "กองทัพบก Royal Thai Army" เผยภาพบรรยากาศการเลี้ยงอาหารมื้อพิเศษ "ไก่ทอด KFC" ให้กับทหารที่เพิ่งฝึกจบใหม่ ทางเพจระบุข้อความว่า "ขวัญและกำลังใจจากผู้บังคับบัญชา #น้องเล็กสุดท้อง

'อุตตม' ชี้!! ขีดแข่งขันไทยลดฮวบ สะท้อนอนาคตประเทศเสี่ยงสูง

หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย ชี้ ตัวเลขขีดความสามารถทางการแข่งขันไทยตก สะท้อนอนาคตประเทศมีความเสี่ยงสูง แนะเร่งยกระดับสินค้าส่งออก แก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน และจัดหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการ

17 มิ.ย. 65 นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังจะเผชิญกับมรสุมเศรษฐกิจถึง 3 ลูก โดยลูกแรกคือโควิด แม้จะทุเลาลงแต่ก็ได้สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง ลูกที่ 2 คือราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นจากสงครามยูเครน และลูกที่ 3 ซึ่งกำลังก่อตัวรุนแรงขึ้น คือภาวะเงินเฟ้อ ที่ส่งผลทำให้สินค้าราคาแพง กระทบกับการทำธุรกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน

“เรากำลังเผชิญกับปัญหาทั้งต้นทุนพลังงาน ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก สหรัฐอเมริกากำลังห่วงว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย จีนก็ยังไม่เปิดประเทศ ขณะที่ไทยต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ จึงมีคำถามว่าเราจะบริหารจัดการกับภาวะท้าทายที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร ไม่ใช่เพียงการจัดการระยะสั้น แต่ต้องมองไปถึงความยั่งยืนในอนาคตด้วย”

นายอุตตม กล่าวต่ออีกว่า ความกังวลประการหนึ่ง คือตัวเลขผลสำรวจขีดความสามารถทางการแข่งขันจากมุมมองของนักบริหารทั่วโลก ที่เพิ่งเผยแพร่โดยสถาบัน TMA ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่าปี 2565 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 33 จากปีก่อนที่อยู่ในอันดับที่ 28 เป็นการลดลงถึง 5 อันดับ ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยพบว่าประเทศไทยจะมีอันดับลดลงมากขนาดนี้

โดยสมรรถนะทางเศรษฐกิจที่ลดลงมีผลมาจากปัจจัยหลักในเรื่องการค้า ทั้งการบริโภคภายในประเทศที่ลดลงจากโควิด ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกแม้ที่ผ่านมาจะมีตัวเลขที่สูงขึ้น แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนทั่วโลก ทำให้เราไม่สามารถไว้วางใจได้ ที่สำคัญประเทศไทยจำเป็นต้องยกระดับสินค้าส่งออกให้สู้กับคู่แข่ง และตรงความต้องการของตลาดโลกในปัจจุบัน รวมทั้งพัฒนาระบบเศรษฐกิจจากฐานราก เพื่อความยั่งยืนในอนาคต 

ส่วนประสิทธิภาพภาครัฐ อันดับที่ตกลงมาเกิดจากการบริหารการคลัง ที่รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อบริหารจัดการผลกระทบโควิด ซึ่งผลการจัดอันดับนี้เป็นสัญญาณที่ชี้ว่า คนภายนอกหรือผู้บริหารทั่วโลกมองประเทศไทยอย่างไร มีความสามารถควบคุมความเสี่ยงด้านการคลังแค่ไหน เราจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อมาดูแลยามวิกฤตเป็นเรื่องถูกต้อง แต่ต้องดูว่ากู้มาแล้วเอาไปทำอะไร แก้ไขปัญหาถูกจุดหรือไม่ วันนี้เรากู้เต็มเพดานแล้วจะมีผลกระทบกับการคลังในอนาคตอย่างไร

สำหรับประสิทธิภาพภาคเอกชนที่ลดลง ต้องยอมรับว่าเป็นผลสะท้อนจากสมรรถนะเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพภาครัฐมีผลต่อประสิทธิภาพของเอกชน เนื่องจากรัฐบาลคือผู้ขับเคลื่อนนโยบายที่จะสนับสนุนภาคเอกชน วันนี้ต้องดูว่านโยบายของภาครัฐนั้นถูกทิศทางและทันต่อสถานการณ์หรือไม่ ยุทธศาสตร์ที่วางไว้ตอบโจทย์กับความเสี่ยงในอนาคตหรือไม่


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top