Sunday, 25 May 2025
TheStatesTimes

เชียงใหม่ - ‘คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช’ เปิดการประชุมวิชาการ อกท.ภาคเหนือ ครั้งที่ 42 ที่จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564 คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานการประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับภาค ภาคเหนือ ประจำปีการศึกษา 2564

โดยมีนายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายประพัฒน์ วงค์ชมพู ปลัดอาวุโสอำเภอสันป่าตอง นายวันชัย โตมี ประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับภาค ภาคเหนือ / นายณรงค์ชัย เจริญรุจิทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ผู้มีเกียรติ และสมาชิก อกท.ร่วมพิธี ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อ พัฒนาคุณภาพ และความเป็นเลิศทางวิชาชีพของสมาชิก อกท. และยังได้จัดให้มีการเชิดชูเกียรติสมาชิก อกท. ศิษย์เก่า ตลอดจนผู้ทำคุณประโยชน์แก่ อกท.รวมทั้งได้จัด เผยแพร่ผลงานกิจกรรมของสมาชิกและหน่วย อกท.และการอนุรักษ์และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทยทำให้สมาชิก อกท. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาชีพเกษตร และสามารถปฏิบัติตน เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณค่าต่อสังคมในอนาคต

ขอเป็นกำลังใจให้สมาชิก อกท.ทุกคน ขอให้สมาชิกทุกคน ได้ยึดถือคติพจน์ของ อกท. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน และช่วยเหลือสังคม ตลอดไปและในฐานะที่ ทุกคนเป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาในภาคการเกษตร ท่านต้องพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ ความสามารถอย่างกว้างขวาง ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้มีความพร้อมและมีความเชื่อมั่นที่จะออกไปประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ  

การประชุมวิชาการครั้งนี้ จะเป็นเวทีให้ทุกคนได้แสดงออก ถึงความรู้ ความสามารถและทักษะสำคัญที่จะนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ  รวมถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะและประสบการณ์ สามารถนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปพัฒนาตนเองในงานอาชีพให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ประเทศชาติของเรา มีความมั่งคั่ง  เป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงมวลมนุษยชาติต่อไปขอให้สมาชิก อกท. ทุกคน มีความมานะ วิริยะ อุตสาหะ ขยัน หมั่นเพียร ตั้งใจศึกษา หาความรู้และประสบการณ์ เพื่อนำพาตนเอง สังคม และประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

นายวันชัย โตมี ประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ภาคเหนือ กล่าวว่า องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์การสากลของสมาชิก ดำเนินงานโดยสมาชิก และเพื่อสมาชิก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ระหว่างองค์การเกษตรกรในอนาคตทั้งในและต่างประเทศ อย่างสม่ำเสมอ กิจกรรมขององค์การนี้มุ่งเน้นฝึกฝนความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ ฝึกคุณลักษณะการเป็นผู้นำที่ดี ส่งเสริมการมีคุณธรรมความเป็นพลเมืองดีให้แก่สมาชิกขององค์การ โดยมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา เปิดโอกาสและส่งเสริมให้เยาวชนอาชีวะเกษตร ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ในสถานการณ์จริง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่หลากหลายเหมาะสมกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันและอนาคต องค์การนี้มีชื่อย่อว่า "อกท." โดยมีคติพจน์ขององค์การที่ว่า

“เราเรียนรู้ด้วยงานการฝึกหัด เราปฏิบัติเพื่อหวังทางศึกษา หาเลี้ยงชีพเพื่อชีวิตพัฒนา ใช้วิชาเพื่อบริการงานสังคม”

การจัดการประชุมวิชาการครั้งนี้ จัดในระหว่างวันที่  25-28  ธันวาคม 2564  ณ  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ โดยมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรกลุ่มภาคเหนือ เดินทางมาร่วมงาน  ประกอบด้วย  สมาชิกซึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษา ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในภาคเหนือรวม 12 สถานศึกษา ส่งสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการ ประกอบไปด้วย/กิจกรรมการสัมมนา การประกวด การแสดง การแข่งขัน และการเชิดชูเกียรติ หน่วยและสมาชิก อกท. จำนวนรวมทั้งสิ้น  500 คน ในการจัดการประชุมวิชาการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ ด้านวิชาการของสมาชิก เพื่อเชิดชูเกียรติสมาชิก และ หน่วยที่ประสบผลสำเร็จ ในการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนผู้ทำคุณประโยชน์แก่ อกท.เพื่อเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมต่าง ๆ ของสมาชิกและหน่วย อกท.และเพื่อคัดเลือกตัวแทนสมาชิก อกท.ภาคเหนือ ไปร่วมการประชุมวิชาการ อกท. ระดับชาติ ครั้งที่ 42 ในระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์  2564 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีองค์อุปถัมภ์ขององค์การ เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงาน ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่จัดขึ้นในการประชุมวิชาการ อกท. ภาคเหนือ ครั้งนี้ เป็นปีที่พิเศษกว่าปีก่อน เพราะเนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้น เพื่อลดการรวมกลุ่ม การแข่งขันทักษะจึงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่  แบบ Online และแบบ onsite ทักษะที่จัดการแข่งขันแบบ Online ได้แก่ การสัมมนาผลงานทางวิชาการของสมาชิก โดยมีวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย รับเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขัน ลดจำนวนคนเข้าร่วมได้ 192 คน ทักษะสาขาพืชศาสตร์  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูนเป็นเจ้าภาพ ลดจำนวนผู้เข้าร่วม 50 คน นอกจากนี้ ยังมีทักษะที่จัด onsite ก่อนการจัดงานวันนี้ ได้แก่ ทักษะสาขาช่างกลเกษตร และทักษะสาขาสัตวศาสตร์  ลดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน ได้ไม่ต่ำกว่า 200 คน จึงเหลือทักษะที่ทำการแข่งขัน จำนวน 4 สาขา 20 ทักษะ การจัดนิทรรศการแสดงผลงานทางวิชาการของสมาชิก การประกวด และการแสดง สิ่งประดิษฐ์ทางการเกษตร  

  

 

‘4 แกนนำสามนิ้ว’ ลั่นไม่ขอยื่นประกันตัวอีก ชี้! มติศาลไม่ให้ประกันตัว=ปิดโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์!

(28 ธ.ค. 64) นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ถึงกรณีการคุมขังผู้ต้องขังทางการเมือง โดยระบุว่า...

ผมในฐานะทนายความของผู้ต้องขังทางการเมือง 4 คน อันประกอบด้วย ทนายอานนท์ นำภา, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน, นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง และ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ได้เข้าเยี่ยมพวกเขาทั้งสี่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และได้รับการร้องขอจากพวกเขาทั้งสี่ ให้แจ้งข้อความดังต่อไปนี้ให้แก่พ่อแม่ญาติพี่น้อง และบรรดามิตรสหายเพื่อนฝูงรวมทั้งสื่อมวลชนให้ทราบว่า

1.) ภายหลังจากที่ผู้บริหารของศาลอาญาได้มีมติไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) พวกเขาในระหว่างการพิจารณาคดีตามคำร้องขอของทนายความเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 นั้น พวกเขาเห็นว่าเหตุผลของศาลอาญาไม่ชอบด้วยหลักกฎหมาย หลักยุติธรรม และไม่เป็นไปตามกติการะหว่างประเทศที่ไทยได้ให้สัตยาบันรับรองไว้ พวกเขาทั้งสี่เชื่อว่าการไม่อนุญาตให้เขาได้รับการประกันตัวไปสู้คดีอย่างเต็มที่นั้น เป็นการปิดโอกาสที่เขาจะสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเขาและเป็นการพิพากษาเสียล่วงหน้าแล้วว่าพวกเขาเป็นผู้กระทำความผิด

ด้วยเหตุผลข้างต้น พวกเขาทั้งสี่จึงขอประกาศว่า นับจากนี้พวกเขาจะไม่ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) ในระหว่างพิจารณาคดีต่อศาลอาญาอีก และจะไม่อนุญาตให้ทนายความและบุคคลใดไปดำเนินการดังกล่าวทั้งสิ้น

“เอ้ สุชัชวีร์” ระดมสมองร่วมชาวบ้านบางขุนเทียน แก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะ  เชื่อ! กรุงเทพฯ แก้ได้ ด้วยหลักวิศวกรรม 

“เอ้ สุชัชวีร์” สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย พร้อมด้วย นายสารัช ม่วงศิริ ผู้สมัคร ส.ก. เขตบางขุนเทียน และนายสากล ม่วงศิริ อดีต ส.ส. 4 สมัย พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันลงพื้นที่บริเวณชายทะเลบางขุนเทียน เพื่อรับฟังปัญหาของเขตบางขุนเทียน ซึ่งกำลังประสบปัญหาอย่างหนักจากน้ำทะเลหนุนสูง และในอนาคตเมื่อปัญหาโลกร้อนหนักขึ้น ก็จะยิ่งทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น ปัจจุบันเขตบางขุนเทียนสูญเสียที่ดินจากการถูกน้ำทะเลกัดเซาะลึกเข้ามากว่า 2 กม. สร้างความเสียหายให้บ้านเรือนและที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชน 

“เอ้ สุชัชวีร์” พบว่าปัจจุบันเขื่อนป้องกันน้ำทะเลหนุนของ กทม. มีลักษณะเป็นไม้ไผ่ซึ่งไม่ใช่วัสดุทำเขื่อนป้องกันทะเลได้ เพราะไม่มีความแข็งแรง เมื่อติดตั้งเพียง 1-2 ปี เจอแดดและความชื้นไม่นานก็เสื่อมสภาพ กลายเป็นขยะไหลเข้าไปในวังเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอยของชาวบ้าน 

ส่วนการไฟฟ้านครหลวงบริจาคเสาไฟฟ้าที่ไม่ใช้แล้ว มาปักเป็นแนวเขื่อนป้องกันทะเล แม้มีคุณภาพดีกว่าต้นไผ่ แต่ก็ยังไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาได้ เพราะเสาไฟฟ้าจะเอียงตามสภาพของแรงคลื่นที่กระทบตลอดเวลา ถือเป็นการช่วยเหลือเพียงชั่วคราว รวมทั้งการปลูกป่าโกงกางเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำทะเลก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากน้ำทะเลซัดจนต้นโกงกางไม่สามารถหยั่งรากได้

ในต่างประเทศที่ประสบปัญหาน้ำทะเลหนุน อย่างญี่ปุ่น มาเลเซีย หรือยุโรป จะนิยมใช้วิธีถมด้วยหินเทียม จากการหล่อคอนกรีต มีลักษณะสามขา โดยไม่ใช้หินจริงที่ต้องระเบิดจากภูเขา ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งการถมด้วยหินเทียมมีข้อดีคือมีน้ำหนักมาก นอกจากนั้นจะมีช่องให้สัตว์น้ำสามารถเข้าไปวางไข่ได้ ไม่กระทบกับการทำประมงชายฝั่ง อีกทั้งปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการหล่อคอนกรีตที่บริษัทของไทยสามารถทำได้

ป.ป.ช. เปิดบัญชี "วินท์" อดีตส.ส.ก้าวไกล 678 ล้าน ครองที่ดิน 453 โฉนด บ้าน-คอนโดหรู 6 หลัง มูลค่า 138 ล้าน

ที่สำนักงานป.ป.ช.  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เปิดเผยบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ของ นายวินท์ สุธีรชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.พรรคก้าวไกล) พ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่  6 ตุลาคม 2564 พร้อม น.ส.สุภรัตน์ ห่วงสกุล คู่สมรส ซึ่งปัจจุบันเป็นกรรมการในบจ. วิน วิน โฮลดิ้ง บจ.แก่นศิริ สตาร์ซ บจ.ไพร์ม สตาร์ซ อินดีสทรี บจ.ไพร์ม เพาเวอร์ แพลนท์ และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 3 ราย โดยระบุว่ามีทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 678,463,119 บาท หนี้สินรวมทั้งสิ้น 105,349,219 บาท 

เป็นทรัพย์สินของนายวินท์ 609,570,780 บาท ประกอบด้วย เงินฝาก 15,412,938 บาท เงินลงทุน 351,092,443 บาท เงินให้กู้ยืม 63,180,000 บาท ที่ดิน 39,793,088 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 138,451,591 บาท สิทธิและสัมปทาน 1,170,719 บาท ทรัพย์สินอื่น 470,000 บาท

เป็นทรัพย์สินของคู่สมรส 68,717,884 บาท ประกอบด้วย เงินฝาก 3,310,312 บาท เงินลงทุน 44,702,807 บาท ที่ดิน 6,462,667 บาท สิทธิและสัมปทาน 2,700,997 บาท ทรัพย์สินอื่น 11,541,100 บาท 

และทรัพย์สินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นเงินฝากจำนวน 174,454 บาท 

“วันเบกกิ้งโซดา” (Bicarbonate of Soda Day) เพื่อรำลึกถึงคุโณปการของเบกกิ้งโซดา ซึ่งเริ่มต้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา

วันเบกกิ้งโซดา ตรงกับวันที่ 30 ธันวาคม ของทุกปี เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา เพื่อรำลึกถึงคุโณปการของเบกกิ้งโซดา ที่มีชื่อทางการค้าที่เรียกกันทั่วไปหลายชื่อด้วยกัน เช่น คุ๊กกิ้งโซดา (Cooking Soda), เบรดโซดา (Bread Soda), โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate), ไบคาร์บอเนตโซดา (Bicarbonate of Soda) เป็นต้น

นอกจากเบกกิ้งโซดาจะมีประโยชน์ในการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมเบเกอรี่ประเภทต่างๆ แล้ว เบกกิ้งโซดา ก็ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ด้วย เช่น

>> ทำความสะอาดและดับกลิ่นที่นอน
หลังใช้เครื่องดูดฝุ่นกำจัดเศษฝุ่นบนที่นอนแล้ว ให้นำเบกกิ้งโซดากับน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบมาผสมกัน แล้วนำไปโรยบนที่นอน ใช้แปรงหัวอ่อนนุ่มขัดเบาๆ ทิ้งไว้ 10 นาที จากนั้นนำเครื่องดูดทำความสะอาดผงเบกกิ้งโซดาออกอีกครั้ง

>> ทำความสะอาดอุปกรณ์เสริมสวย
โดยการผสมน้ำอุ่น 1 กะละมังเล็กกับเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาให้เข้ากัน จากนั้นนำอุปกรณ์เสริมสวยอย่างหวีหรือแปรงแต่งหน้าลงไปแช่ทิ้งไว้ เมื่อคราบน้ำมันและสิ่งสกปรกหลุดออก ให้นำออกมาล้างและเช็ดให้แห้งก็เรียบร้อยแล้ว

31 ธันวาคม 2492 ครบรอบวันเกิด ‘สืบ นาคะเสถียร’ ตำนานคนป่าไม้ รักษาผืนป่าไทยด้วยชีวิต!!

“สืบ นาคะเสถียร” เกิดเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2492 ที่ จ.ปราจีนบุรี หลังสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และโท จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็เข้ารับราชการเป็น พนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ประจำอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จ.ชลบุรี

ต่อมาในปี 2522 สืบได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาอนุรักษวิทยา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากบริติชเคาน์ซิล หลังสำเร็จการศึกษาในปี 2524 เขาก็ได้รับตำแหน่ง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ ก่อนขอย้ายไปเป็นนักวิชาการประจำกองอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อทำงานด้านวิจัย และมีผลงานการวิจัยออกมาจำนวนมาก ที่เป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ธรรมชาติจนถึงทุกวันนี้

โดยเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เขาเข้าใจว่า ลำพังการทำงานด้านวิจัยเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรักษาผืนป่าและชีวิตสัตว์ป่าได้ ก็คือการที่สืบได้รับมอบหมายให้เป็น หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จ.สุราษฎร์ธานี สืบและคณะต้องช่วยกันอพยพสัตว์ป่าในพื้นที่กว่าแสนไร่ โดยไม่ได้รับการอนุมัติอุปกรณ์ช่วยชีวิตสัตว์ป่า และมีงบประมาณเริ่มต้นเพียง 8 แสนบาทเท่านั้น แม้สืบและคณะสามารถช่วยเหลือสัตว์ป่าไม่ให้ถูกน้ำท่วมได้กว่าพันตัว แต่สัตว์เหล่านั้นก็ต้องตายลงเป็นส่วนใหญ่หลังจากนั้นไม่นานนัก

2 มกราคม พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ สิ้นพระชนม์ ด้วยพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี (ท้อง)

‘ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์’ เป็นพระธิดาพระองค์เดียวในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี (พี่สาว) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉา (ป้า) ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

‘สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์’ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของในหลวงรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่นๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ

“บิ๊กตู่” อวยพรสื่อมวลชนเนื่องในโอกาสปีใหม่ ในฐานะสื่อกลางที่มีคุณภาพ และรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณของสื่อมวลชน เพื่อความรักสามัคคีของคนไทย” 

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อวยพรเนื่องในโอกาสเทศกาลวันขึ้นปีใหม่แทนการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2565 ที่จะมาถึงนี้ ผมขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้อำนวยพรให้สื่อมวลชนทุกท่าน ทุกแขนง มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่แข็งแรง ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งไว้ และเป็นส่วนสำคัญในการนำพาประเทศชาติ และประชาชน เดินไปข้างหน้า อย่างมั่นคง และยั่งยืน ในฐานะสื่อกลางที่มีคุณภาพ และรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณของสื่อมวลชน เพื่อความรักสามัคคีของคนไทย” 

107 ปี พระราชพิธีก่อพระฤกษ์ ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือน

เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปัจจุบัน คืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

โดย ‘ศิลาพระฤกษ์’ มีลักษณะเป็นกล่องศิลา ภายในมีกล่องโลหะอีกสองชั้น บรรจุสิ่งของ แบบอาคาร เอกสาร หนังสือพิมพ์ ที่เป็นเครื่องบ่งบอกยุคสมัยของเหตุการณ์ในวันสำคัญนั้น รวมถึง ‘หนังสือสำคัญอันเป็นเล่มสมุด’ จำนวน 15 เล่ม ที่สะท้อนถึงความสำคัญของการอ่าน การเขียน และการเรียนรู้ ในช่วงแรกแห่งการอุดมศึกษาในสยาม หนังสือเหล่านี้ให้ความรู้ในหลากหลายสาขา ทั้งการศึกษา การปกครอง การบริหารรัฐกิจ โบราณคดี วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ตลอดจนข่าวสารบ้านเมืองเมื่อร้อยกว่าปีล่วงแล้ว

18 ปี ไฟใต้ปะทุ จากเหตุ ‘ปล้นปืน’ ที่ค่ายปิเหล็ง จังหวัดนราธิวาส

เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 เกิดเหตุการณ์ปล้นปืน จากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ค่ายปิเหล็ง" ในตำบลปิเหล็ง อำเภอเจาะไอร้อง โดยเหตุการณ์ครั้งนี้นับได้ว่าเป็นจุดปะทุของความรุนแรงในสถานการณ์ไฟใต้ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้มีทหารเสียชีวิต 4 นาย ทางด้านกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุว่า คนร้ายได้อาวุธปืนไปทั้งสิ้น 413 กระบอก ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ยึดคืนมาได้ 94 กระบอก

ส่วนผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับคดี ป.วิอาญา ร่วมกันบุกปล้นปืน โดยมีจำนวน 11 คน ถูกจับได้ 2 คน คือ นายมะซูกี เซ้ง และนายซาอีซูน อับดุลรอฮะ พร้อมอาวุธปืนของกองพันพัฒนาที่ 4 ถูกนำไปใช้ก่อเหตุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปี พ.ศ. 2555

โดยในระหว่างปี 2547 - 2554 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่สงบนี้กว่า 4,500 คน และได้รับบาดเจ็บกว่า 9,000 คน นับเป็นความขัดแย้งที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปี 2554 สถานการณ์กลายเป็นการคุมเชิงระดับต่ำ ส่วนใหญ่ลักษณะการก่อเหตุเป็นการประกบยิง แต่มีเหตุระเบิดแสวงเครื่อง เฉลี่ย 12 ครั้งต่อเดือน มีเหตุการณ์ความรุนแรงกว่า 11,000 ครั้ง และการวางระเบิดกว่า 2,000 ครั้ง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top