Friday, 17 May 2024
Southern

ยะลา – นายอำเภอเบตง ตรวจเข้มจุดคัดกรองสกัดโควิด-19 เข้าพื้นที่หลังผู้ติดเชื้อเสียชีวิตลงภายใต้ “ร่วมใจเบตงสู้ไปด้วยกัน”

นายอำเภอเบตงตรวจเข้มจุดคัดกรองเดินทางข้ามอำเภอ ตำบล  พื้นที่รอยต่อระหว่างพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ตามมาตรการของจังหวัดยะลาภายใต้ “ร่วมใจเบตงสู้ไปด้วยกัน” หลังผู้ติดเชื้อเสียชีวิตรายแรกของอำเภอเบตง

เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2564 นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง  จ.ยะลาพร้อมด้วย พ.ต.ท.ทศพล พลอยงาม รองผกก.ป.สภ.เบตง พร้อมด้วย สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยอำเภอเบตง  พัฒนาการอำเภอ  สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเบตง  ผู้นำชุมชนและประชาชนจิตอาสา ออกเยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ จุดคัดกรองการเดินทางข้ามอำเภอ ตำบล  พื้นที่รอยต่อระหว่างพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ตามมาตรการของทางราชการ พร้อมทั้งมอบน้ำดื่มและแอลกอฮอล์  เจลล้างมือ หน้ากากอนามัย ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ณ จุดตรวจ/จุดคัดกรอง เข้าพื้นที่ อ.เบตง  พร้อมกันนี้ นายอำเภอเบตงยังได้ตรวจเยี่ยมบ้านผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงโดยให้คำแนะนำ ตามมาตรการป้องกันโรคโควิด - 19 และให้ อสม.ประจำตำบล ติดตามในการปฏิบัติตัวให้เป็นตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง  เปิดเผยว่า มาตรการของจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการเข้มทุกมาตรการ ประชาชนโดยส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ยังมีชาวบ้านบางส่วน ที่อาจมีความจำเป็นต้องทำภารกิจในพื้นที่เสี่ยงพื้นที่ระบาด ส่งผลให้การตรวจหาเชื้อบุคคลกลุ่มเสี่ยง ในเชิงรุกโดยในพื้นที่มีผู้เดินทางกลับมาในพื้นที่จำนวน 240 คนโดยมี อสม.ประจำตำบลติดตามในการปฏิบัติตัวให้เป็นตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงทางอำเภอเบตงได้ขอความร่วมมือ หากหลีกเลี่ยงไม่ไปไม่ได้ในการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงกลับมา ก็ต้องป้องกันตัวเอง และเมื่อกลับมาต้องกักตัวเองอยู่บ้าน 14 วัน และรีบเข้ารับการตรวจเชื้อเพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้ นายอำเภอเบตง พร้อมด้วย สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยอำเภอเบตง  พัฒนาการอำเภอ  สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเบตง  ผู้นำชุมชนและประชาชนจิตอาสา ลงพื้นที่เยี่ยมเยียน และมอบถุงยังชีพของอำเภอเบตง  ให้กับญาตผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 รายแรกของอำเภอเบตงและ มอบถุงยังชีพของอำเภอเบตง  ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีฐานะยากจน ยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง มีความยากลำบากในการดำรงชีวิต ในพื้นที่ หมู่ที่ 1และ หมู่ 2 ตำบลตาเนาะแมเราะ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ประชาชนและ ขอเป็นกำลังใจให้ อสม.และเจ้าหน้าที่ทุกคน  ช่วยกันฝ่าวิกฤตโรคติดต่อโควิด 19 ไปให้ได้ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยให้ยึดหลัก D-M-H-T-T  D : Distancing คือ เว้นระยะห่างระหว่างกัน M : Mask Wearing คือ สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยตลอดเวลา H : Hand Washing คือ ล้างมือบ่อย ๆ T : Testing คือ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้างาน T : Thai Cha Na คือ เช็กอินผ่านแอปพลิเคชัน "ไทยชนะ" ทุกครั้ง เมื่อเข้าไปในสถานที่ต่าง ๆโดยในพื้นที่อำเภอเบตงจะไม่มีการสูญเสียเพิ่มขึ้นอีก ภายใต้ “ร่วมใจเบตงสู้ไปด้วยกัน”


ภาพ/ข่าว  ธานินทร์  โพธิทัพพะ / ปื๊ด เบตง

ตาก - ฝ่ายปกครองอำเภอแม่สอด บูรณาการร่วมหลายหน่วยงาน ลงพื้นที่ตรวจร้านอาหาร เน้นย้ำตามมาตรการคำสั่งของจังหวัดตาก

นายชัยพฤกติ์ เชียรธานรักษ์ นายอำเภอแม่สอด ได้มอบหมายให้ นายสัญญา เพชรเศษ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นายภัทรดนัย อุทัยรัตน์ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานความมั่นคง นายธวัชชัย  อ่อนสาร ปลัดอำเภองานป้องกัน พร้อมด้วยสมาชิก อส.อ.แม่สอด ที่ 3  ร่วมกับสาธารณสุขอำเภอแม่สอด และเทศบาลนครแม่สอด ได้ร่วมกันตรวจร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มตามร้านอาหาร ร้านบุฟเฟต์ ชาบู หมูกระทะ จำนวน 5 ร้าน ดังนี้

         1.ร้านหมูกระทะ 2 in 1

         2.ร้านฅนเก็บฟืน

         3.ร้านชาบูหมูตอน

         4.ร้านชาบูบ้านเพื่อน

         5.ร้านย่างเนย@แม่สอด

โดยได้เน้นย้ำประชาสัมพันธ์กับเจ้าของร้านให้ดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกิน 21.00 น. และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มได้จนถึงเวลา 23.00 น. ในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่น กรณี ร้านอาหารที่ ต้องให้ลูกค้าบริการตนเอง เช่น บุฟเฟต์ ชาบู หมูกระทะ หรือ ร้านที่มีลักษณะคล้ายกัน ห้ามลูกค้าลุกเดินไปตักอาหารเองโดยให้พนักงานบริการเสริฟอาหารตามโต๊ะ และจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด และห้ามมีการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในบริเวณดังกล่าว


ภาพ/ข่าว  วรภา พันลุตัน

ชุมพร - ระดมรับบริจาคเลือด แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ขาดแคลนเลือดเข้าขั้นวิกฤต

วันที่ 27 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น. พล.ต.เสนีย์ ศรีหิรัญ ผบ.มทบ.44มอบหมายให้คุณพิไลพรรณ ศรีหิรัญ ประธานสมาคมแม่บ้าน ทบ. สาขา มทบ.44 พร้อมด้วยสมาชิกแม่บ้าน สม.ทบ. สาขา มทบ.44 ร่วมกับ เหล่ากาชาดจังหวัดชุมพร

ดำเนินโครงการจิตอาสาร่วมบริจาคโลหิตเพื่อชาติ ตามนโยบายของ ผบ.ทบ. ซึ่งเนื่องมาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ขาดแคลนเลือดเข้าขั้นวิกฤตทั่วประเทศ ด้วยศูนย์ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนให้คนไทยที่มีสุขภาพดี ช่วยกันบริจาคโลหิต ครั้งนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์ สืบเนื่องมาจาก การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19  ระลอกใหม่ ทำให้ผู้บริจาคเลือดมีจำนวนลดลง ถึง 50 % 

  

ผบ.ทบ.มีแนวความคิดให้กำลังพล ทำการบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง ทุก 3 เดือนตามวงรอบของตัวเอง เพื่อให้โรงพยาบาลต่าง ๆ มีโลหิตสำรองอย่างต่อเนื่อง และจัดให้รับบริจาคโลหิตขึ้น 2วัน ในวันที่ 27 -28 เมษายน 2564  ณ สโมสรนายทหารค่ายเขตอุดมศักดิ์ ต.วังใหม่ อ.เมือง จ.ชุมพร

ในวันนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก และมีน้องกำลังพล มทบ.44 และนักศึกษาวิชาทหาร.มทบ.44 เข้าจำนวนมาก ขอแจ้งให้ทราบจะทำการรับบริจาคโลหิตในวันที่ 28 เมษายน 2564 อีก 1วัน


ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร

สงขลา - วางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์ ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ เชื่อว่าอานิสงส์ จะช่วยให้คนไทยผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19

วันนี้ 27 เม.ย. 64 ที่วัดมัชฌิมเขต (วัดนาปรือ) ตำบลคู อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา นาย ไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์ใหญ่ที่สุดในภาคใต้  โดยมี คุณจีรณัฐ. ศรีสนิท เจ้าของกิจการบ้านดอกไม้พรหมจักร์สงขลา คุณแม่พักตร์พิมล วิภาตะไวทยะ เจ้าของธุรกิจส่วนตัวรายใหญ่เมืองสงขลา ร้านดอกไม้พรหมจักร์สงขลาได้เป็นสะพานบุญใหญ่นำทีมงานพร้อมคณะสายบุญจากเจ้ากิจการร้านดังในภาคใต้ อาทิเช่น ร้าน Theprincess wedding studio hatyai , ร้านเฝอหม้อเงิน 66 หาดใหญ่ , ร้านสูทอู๊วลั๊ลลา สงขลา , ร้าน once eatery by ประเทือง ยะลา , ร้านราดหน้าพารวย สงขลา , ร้านดอกไม้บานไม่รู้โรย สงขลา , พร้อมคณะสายบุญทั่วสงขลามาร่วมบุญปฐมฤกษ์หอบเงินมาประเดิมวางศิลาฤกษ์มหาเจดีย์  1.8 ล้านบาท ร่วมสร้างมหาเจดีย์ 2 ชั้น ณ วัดมัชฌิมเขต (นาปรือ) อำเภอจะน จังหวัดสงขลา โดยมี พระเดชพระคุณ พระราชวรเวที เจ้าคณะจังหวัดสงขลาประธานฝ่ายสงฆ์ และพระครูเกษมโชติวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดมัชฌิมเขต (วัดนาปรือ) พระใบฏีกาภูวนนท์  ยสินุธโร  รองเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมเขต ( วัดนาปรือ )

ผู้ประสานงานในการจัดงานในครั้งนี้ พระใบฏีกาภูวนนท์ ยสินุธโร รองเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมเขต (วัดนาปรือ)  กล่าวว่า การสร้างเจดีย์ในครั้งนี้ โดยจะใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป พระไตรปิฎก และพระโชคดีประจำวัดที่อายุ 157 ปี พระประจำวัด ที่ประชาชนทั้วไปให้ความศรัทธา ขณะเดียวกันต้องการให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในอำเภอจะนะและคนไทย และเชื่อว่าอานิสงส์ ผลบุญที่ได้จากการร่วมสร้างพระมหาเจดีย์จะช่วยให้คนไทยผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นได้ โดยจะใช้งบฯในการจัดสร้างประมาณ 30 ล้านบาท ผู้มีจิตศรัทธา สามารถเข้านมัสการที่วัดได้แต่ขอให้เว้นระยะห่างแต่ทางวัดได้มีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโควิด-19 ทุกวันและมี่การคัดกรองก่อนเข้าวัด

สงขลา – บรรยากาศคืนแรก งดออกจากเคหะสถานตั้งแต่ 4 ทุ่ม ถึงตี 4 ที่อำเภอหาดใหญ่ เจ้าหน้าที่ขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามคำสั่ง

ในส่วนของ อ.หาดใหญ่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอหาดใหญ่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบตามตลาดต่าง ๆ เช่น ตลาดหาดใหญ่ใน พบว่าในช่วงเวลา 20 นาฬิกา บรรดาร้านค้าแผงลอยริมถนนยังคงเปิดให้บริการ ตามปกติบางร้านก็มีลูกค้าเข้าไปนั่งเนื่องจากเข้าใจว่าต้องปิดตอน 22 นาฬิกา 

เจ้าหน้าที่จึงได้ชี้แจงทำความเข้าใจขอความร่วมมือเจ้าของร้านให้ปฏิบัติตามคำสั่งให้ปิดตอน 20 นาฬิกาเพื่อร่วมกันการระบาดของโควิด ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่เข้าใจสถานการณ์และให้ความร่วมมือและพร้อมปฏิบัติตาม

ส่วนบรรยากาศในเมืองหาดใหญ่หลังจากที่ย่างเข้าเวลา 22 นาฬิกา ปรากฏว่าตามถนนสายต่างๆในตัวเมืองหาดใหญ่เงียบเหงาลงทันที โดยเฉพาะถนนสายหลักที่เป็นสายเศรษฐกิจ ย่านบันเทิง เช่นถนนราษฎร์อุทิศ หรือเขต 8 ถนนเพชรเกษมวงเวียนน้ำพุ , ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 , ถนนเสน่หานุสรณ์ ซึ่งเป็นถนนคนเดินย่านโรงแรมลีการ์เด้นพลาซ่า เริ่มว่างเปล่าแทบไม่มีรถวิ่งผ่านไปมา และทั้งเมืองเงียบสงบลงทันที

ชาวเมืองหาดใหญ่พร้อมให้ความร่วมมือเป็นผลมาจากพื้นที่ อ.หาดใหญ่ มียอดผู้ป่วยโควิดมากที่สุดใน จ.สงขลา จำนวน 447 คน จากผู้ป่วยทั้งหมดของ จ.สงขลา 567 คน


ภาพ/ข่าว  นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

นราธิวาส - ผอ.ศปพร. ตรวจเยี่ยม พร้อมปรับภูมิทัศน์ โดยรอบต้นไม้ทรงปลูก ในพื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

พลตรีไพศาล หนูสังข์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 /ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เดินทางลงพื้นเข้าตรวจเยี่ยม ต้นไม้ทรงปลูก  ณ วัดชลธาราสิงเห ซึ่งตั้งอยู่ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้พลตรีไพศาล หนูสังข์ ได้จัดชุดทหารช่างดำเนินการจัดทำรั้วรอบต้นไม้ทรงปลูก เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์รอบต้นไม้ทรงปลูกให้เป็นระเบียบ สง่างามและสมพระเกียรติโดยศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตระหนักเห็นความสำคัญของต้นไม้ทรงปลูก จึงจัดโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบต้นไม้ทรงปลูกขึ้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ได้ทรงเสด็จปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และได้ทรงปลูกต้นไม้ในสถานที่ต่าง ๆ ที่ได้ทรงเสด็จปฎิบัติพระราชกรณียกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาต้นไม้ทรงปลูกไม่ให้เสื่อมโทรม ให้เจริญเติบโตงอกงามอย่างสมพระเกียรติ

พลตรีไพศาล หนูสังข์ ได้กำชับและเน้นย้ำหน่วยกำลังในพื้นที่ให้ดูแล รักษา ต้นไม้ทรงปลูกให้เป็นอย่างดี โดยกล่าวว่าการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ตลอดจน พระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ทรงปลูกต้นไม้ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงงาน หรือทรงเยี่ยมราษฎรในที่ต่างๆนั้น ไว้เป็นที่ระลึกและให้แบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์ป่าไม้ไว้เสมอ ด้วยทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่น ๆ ไม่เฉพาะเรื่องดินและน้ำ หากแต่โยงถึงปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรม และระบบนิเวศบางอย่างอีกด้วย เราซึ่งในฐานะทหารที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ควรจะ “สืบสาน รักษา ต่อยอด” ต้นไม้ทรงปลูกให้อยู่คู่กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

สำหรับต้นไม้ทรงปลูก ภายในวัดชลธาราสิงเห ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีจำนวน 2 ต้นได้แก่ 1. ต้นสาละ โดยสมเด็จพระเจ้าพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงปลูกเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ไปเยี่ยมราษฎรในพื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไว้เป็นที่ระลึก บริเวณวัดชลธาราสิงเห ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยทรงปลูกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2540 และ 2. ต้นพิกุลทอง โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ไปเยี่ยมราษฎรในพื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไว้เป็นที่ระลึก บริเวณวัดชลธาราสิงเห ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยทรงปลูกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2534


ภาพ/ข่าว  แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

นราธิวาส - ประธานรัฐสภา ลงพื้นที่มอบหน้ากากอนามัยให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นำไปแจกจ่ายให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในพื้นที่

 

วันนี้ 29 เม.ย.64 นายชวน  หลีกภัย ประธานรัฐสภา เดินทางลงพื้นที่เพื่อส่งมอบหน้ากากอนามัย จำนวน 5,000 ชิ้น ให้กับนายเจษฎา  จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ที่ห้องรับรองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส พร้อมกล่าวว่า ในวันนี้ถือโอกาสในช่วงปิดประชุมรัฐสภา ประกอบกับรัฐบาลได้กำชับให้ทุกคนสวมหน้ากากป้องกันโรคโควิด-19 และในฐานะมูลนิธิเพื่อการศึกษาและสังคม ได้รับการสนับสนุนหน้ากากอนามัย จำนวน 120,000 ชิ้น เพื่อนำแจกจ่ายให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้

ประธานรัฐสภา กล่าวด้วยว่า จะเป็นประโยชน์ในแง่อุดช่องว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับกรณีของชาวบ้านที่ไม่มีหน้ากากอนามัย นำมามอบให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส จำนวน 5,000 ชิ้น หลังจากนี้จะไปมอบที่จังหวัดปัตตานีและยะลา ซึ่งแล้วแต่ทางจังหวัดจะพิจารณามอบต่อให้ อสม. หรือเจ้าหน้าที่ หรือประชาชน และคิดว่าต้องร่วมมือกัน ขอพี่น้องทั้งหลายได้ร่วมมือกันเพื่อสะกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อโดยการที่เราป้องกัน ไม่ว่าที่ตัวเราเอง ไปถึงส่วนรวมด้วย ในแง่สวมหน้ากากอนามัย แพทย์ใหญ่ก็ยืนยันว่า สามารถป้องกันได้ถึงร้อยละ 90 เราต้องให้ความร่วมมือและไม่ยากเกินไป คิดว่าหน้ากากอนามัยช่วยได้มากถือโอกาสนำมามอบให้

โอกาสนี้นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยนายแพทย์วิเศษ  สิรินทรโสภณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้สรุปรายงานสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ ซึ่งการระบาดในระลอกที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นมา มีผู้ป่วยสะสม 512 ราย กำลังรักษา 82 ราย รักษาหายแล้ว 429 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยการดูแลรักษาผู้ป่วยทั้ง 82 ราย รักษาในโรงพยาบาลภาครัฐ 38 ราย และรักษาในโรงพยาบาลสนามที่เรือนจำจังหวัดนราธิวาส 28 ราย และที่ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพยาเสพติดจังหวัดนราธิวาส 16 ราย

ทั้งนี้ทางจังหวัดนราธิวาส ได้ออกมาตรการควบคุมทางสาธารณสุข อาทิ การปิดสถานบริการ สถานบันเทิง การห้ามใช้อาคารหรือสถานที่โรงเรียน ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคล และมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกำหนดบทลงโทษกรณีประชาชนไม่ใส่หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย เมื่ออยู่นอกเคหะสถาน/สถานที่สาธารณะ


ภาพ/ข่าว  แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

ตราด - พ่อค้าแม่ค้าครวญพิษโควิด-19 รายได้หด ไม่พอเลี้ยงชีพ

พ่อค้าแม่ค้าโอดครวญโควิด-19 กระทบรายได้หด ไม่พอเลี้ยงชีพ ด้านลูกค้าที่ใช้บริการสั่งอาหารทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่รายได้พุ่งผลกระทบจากโควิด-19 นอกเหนือจากสุขภาพแล้วยังส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจด้วย ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจตลาดสดเทศบาลตําบลคลองใหญ่และร้านขายของชําพร้อมด้วยแม่ค้าขายเสื้อผ้าทั่วไปเขตเทศบาลตําบลคลองใหญ่พบว่า บรรยากาศแตกต่างจากช่วงปกติที่จะมีคนมาเดินจับจ่ายใช้สอยกันในยามเช้า

“เงียบมาก คนเดินน้อยช่วงนี้” หนึ่งเสียงจากแม่ค้านางเขมปภาสร มยุรมาศ แม่ค้าวัย 65 ปี ค้าขายเสื้อผ้ามา 38 ปีแล้วบอกกับผู้สื่อข่าวว่า รายได้ลดลงมาก จากเดิมที่เคยขายได้วันละ 2,000 บาท เหลือเพียงวันละไม่ถึง 1,000 บาท ผู้คนเริ่มลดน้อยลงตั้งแต่ต้นปีที่ไวรัสยังไม่ระบาดหนัก จนกระทั่งช่วงนี้ที่ระบาดระลอกใหม่หนักมาก คนก็ยิ่งน้อยลงไปเรื่อย ๆ แต่ยังดีที่ต้นทุนในการขายของเท่าเดิมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังไม่ขึ้นราคาขณะที่แม่ค้าขาย บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ช่วงนี้คนเข้ามาซื้อเสื้อผ้าน้อยมากๆเดินตลาดก็น้อยเพราะกลัวไวรัสระบาด หลังเวลา 09.00 น.ของทุกเช้าตลาดเงียบเหงามาก

พ่อค้าขายขนมหวานขนมเบื้อง บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ตั้งแต่ไวรัสระบาดขายของเงียบมาก ขายของไม่ดี ยอดลดลงไปเยอะมาก จากเดิมที่ขายได้วันละ 500 บาท แต่ช่วงนี้ขายได้เพียง 200 -300 บาทเท่านั้นก็พออยู่รอดแม้จะขายของได้น้อยแต่ก็ต้องทำเพื่อเลี้ยงชีพ ขณะที่ต้นทุนในการขายของก็ยังอยู่ในราคาเดิมลงไปก่อนดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ส่วนทางวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง บอกว่าช่วงนี้ นายณรงค์ อนัน อายุ 75 ปี วิ่งวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างมานานกว่า 25 ปีแล้วรู้สึกว่าแย่มากๆในปีนี้ เมื่อก่อนเคยวิ่งได้วันละ 400-500 บาท พอมีโควิดระลอกใหม่เกิดขึ้นมาตอนนี้วิ่งได้วันละสูงสุด 150 บาท บางวันก็ไม่ได้ถึงตอนนี้ก็เหลือวิ่งวินแค่ 3 คันเท่านั้นเมื่อก่อนมีอยู่มากกว่า 10 คัน แย่ไปหมดแต่ก็ไม่รู้จะทําอาชีพอะไรแล้วแก่ลงทุกวันแล้วทั่วไปก็เหมือนกันหมดสภาพซบเซาปิดร้านอยู่แต่ในบ้านไม่กล้าออกจากบ้าน


ภาพ/ข่าว วิเชียร ม่วงสี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตราด รายงาน

ตราด - วางแหล่งปะการังเทียม สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่

น.อ.นฤพนธิ วิไลธัญญา รอง ผอ.ศรชล.จังหวัดตราด และ ศคท.จังหวัดตราด ได้รับรายงานจาก นายผจงศักดิ์ วงษ์สง่า ประมงจังหวัดตราด ว่า จังหวัดตราด โดยสำนักงานประมงจังหวัดตราด ได้ดำเนินการจัดวางแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ ในจังหวัดตราด (ปะการังเทียม)  จำนวน 2 แห่ง  ประกอบด้วย

1.) บริเวณ บ้านสลักอวน หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ครอบคลุมพื้นที่ 1.0 ตารางกิโลเมตร ใช้แท่งคอนกรีต จำนวน 490 แท่ง ทุ่นลอยแสดงตำแหน่งที่หมาย จำนวน  6 ทุ่น จัดวางห่างฝั่ง 3.3-3.5 กิโลเมตร พิกัด

จุด A. 11 องศา 43.020 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 28.020 ลิปดาตะวันออก  จุด B. 11 องศา 43.020 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 29.100 ลิปดาตะวันออก จุด C. 11 องศา 42.780 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 29.100 ลิปดาตะวันออก จุด D. 11 องศา 42.780 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 28.020 ลิปดาตะวันออก

โดยได้ดำเนินการจัดวางในวันที่ 26 ก.พ.64 ถึงวันที่  27 ก.พ.64

   

2.) บริเวณชายฝั่งทะเล บ้านบางเบ้า หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ครอบคลุมพื้นที่ 1.0 ตารางกิโลเมตร ใช้แท่งคอนกรีต จำนวน 580 แท่ง ทุ่นลอยแสดงตำแหน่งที่หมาย จำนวน 6 ทุ่น จัดวางห่างฝั่ง 2.5 -  2.7 กิโลเมตร พิกัด

จุด A. 11 องศา 54.000 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 18.230 ลิปดาตะวันออก จุด B. 11 องศา 54.000 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 19.310 ลิปดาตะวันออก จุด C. 11 องศา 53.760 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 19.310 ลิปดาตะวันออก จุด D. 11 องศา 53.760 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 18.230 ลิปดาตะวันออก

โดยได้ดำเนินการจัดวางในวันที่ 7 มี.ค64 ถึงวันที่ 8 มี.ค.64

     

ซึ่งในจังหวัดตราด มีเรือชาวประมงพื้นบ้าน จำนวน 3,063 ลำ  ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดเล็ก ดังนั้นการดำเนินการจัดทำปะการังเทียม เพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัย เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจะยังประโยชน์ต่อกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี 

ทั้งนี้ ปัจจุบันจังหวัดตราด มีปะการังเทียมแล้ว จำนวน 21 แห่ง ซึ่งจากการสำรวจแนวปะการังเทียมต่าง ๆ พบว่ามีปลาใหญ่ อาทิ ปลากะรัง ปลาโฉมงาม ปลาเก๋า รวมทั้งฝูงปลาขนาดเล็ก เข้าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งนอกจาจากจะยังประโยชน์ให้กับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านแล้ว ปะการังเทียมยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในกลุ่มนักตกปลาได้อีกด้วย


ภาพ/ข่าว ศรชล.ภาค 1

นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน

ภูเก็ต - ศรชล.ภาค 3 ”ลาดตระเวนทางทะเล ตรวจเข้ม !! เรือประมงในทะเล

ศรชล.ภาค 3 โดย น.อ.เกรียงไกร ลายเงิน หัวหน้าศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดภูเก็ต และ น.อ.ปุณณรัตน์ เลาวัณศิริ รอง ผบ.หมวดเรือเฉพาะกิจ ศรชล.ภาค 3ร่วมกับ เรือ ต.994 ร่วมบูรณาการตรวจเรือประมงในทะเล ตรวจเครื่องมือและสัตว์น้ำจากการทำการประมง ตรวจสภาพการจ้างสภาพการทำงาน และการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมงทะเล ตรวจการลักลอบเข้าเมืองของบุคคลจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ในภาคประมง และแจ้งให้ลูกเรือประมง และผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการทำการประมง และการป้องกันโรคตามมาตรฐานสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด


ภาพ/ข่าว  นิตยา แสงมณี / ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top