ตราด - วางแหล่งปะการังเทียม สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่

น.อ.นฤพนธิ วิไลธัญญา รอง ผอ.ศรชล.จังหวัดตราด และ ศคท.จังหวัดตราด ได้รับรายงานจาก นายผจงศักดิ์ วงษ์สง่า ประมงจังหวัดตราด ว่า จังหวัดตราด โดยสำนักงานประมงจังหวัดตราด ได้ดำเนินการจัดวางแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ ในจังหวัดตราด (ปะการังเทียม)  จำนวน 2 แห่ง  ประกอบด้วย

1.) บริเวณ บ้านสลักอวน หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ครอบคลุมพื้นที่ 1.0 ตารางกิโลเมตร ใช้แท่งคอนกรีต จำนวน 490 แท่ง ทุ่นลอยแสดงตำแหน่งที่หมาย จำนวน  6 ทุ่น จัดวางห่างฝั่ง 3.3-3.5 กิโลเมตร พิกัด

จุด A. 11 องศา 43.020 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 28.020 ลิปดาตะวันออก  จุด B. 11 องศา 43.020 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 29.100 ลิปดาตะวันออก จุด C. 11 องศา 42.780 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 29.100 ลิปดาตะวันออก จุด D. 11 องศา 42.780 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 28.020 ลิปดาตะวันออก

โดยได้ดำเนินการจัดวางในวันที่ 26 ก.พ.64 ถึงวันที่  27 ก.พ.64

   

2.) บริเวณชายฝั่งทะเล บ้านบางเบ้า หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ครอบคลุมพื้นที่ 1.0 ตารางกิโลเมตร ใช้แท่งคอนกรีต จำนวน 580 แท่ง ทุ่นลอยแสดงตำแหน่งที่หมาย จำนวน 6 ทุ่น จัดวางห่างฝั่ง 2.5 -  2.7 กิโลเมตร พิกัด

จุด A. 11 องศา 54.000 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 18.230 ลิปดาตะวันออก จุด B. 11 องศา 54.000 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 19.310 ลิปดาตะวันออก จุด C. 11 องศา 53.760 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 19.310 ลิปดาตะวันออก จุด D. 11 องศา 53.760 ลิปดาเหนือ , 102 องศา 18.230 ลิปดาตะวันออก

โดยได้ดำเนินการจัดวางในวันที่ 7 มี.ค64 ถึงวันที่ 8 มี.ค.64

     

ซึ่งในจังหวัดตราด มีเรือชาวประมงพื้นบ้าน จำนวน 3,063 ลำ  ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดเล็ก ดังนั้นการดำเนินการจัดทำปะการังเทียม เพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัย เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจะยังประโยชน์ต่อกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี 

ทั้งนี้ ปัจจุบันจังหวัดตราด มีปะการังเทียมแล้ว จำนวน 21 แห่ง ซึ่งจากการสำรวจแนวปะการังเทียมต่าง ๆ พบว่ามีปลาใหญ่ อาทิ ปลากะรัง ปลาโฉมงาม ปลาเก๋า รวมทั้งฝูงปลาขนาดเล็ก เข้าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งนอกจาจากจะยังประโยชน์ให้กับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านแล้ว ปะการังเทียมยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในกลุ่มนักตกปลาได้อีกด้วย


ภาพ/ข่าว ศรชล.ภาค 1

นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน