Thursday, 2 May 2024
Southern

‘บิ๊กป้อม’ บินด่วน!! ลุยน้ำท่วมนราธิวาส พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ - ประชาชน 3 จังหวัดชายแดนใต้

ณ ศาลากลาง จ.นราธิวาส พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.นราธิวาส พร้อมรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ โดยมี นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวต้อนรับ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รายงานสถานการณ์น้ำและการคาดการณ์ในพื้นที่ภาคใต้

โดยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ได้รายงานการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ส่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคใต้ ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้รายงานสรุปแผนการดำเนินการโครงการพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำโก-ลก และกรมชลประทาน ได้รายงานสรุปแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ แผนการระบายน้ำและโครงการซ่อมแซมและก่อสร้างพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำโก-ลก บริเวณตำบลมูโนะ รวมถึงผู้ว่าราชการ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จ.นราธิวาส, ยะลา และปัตตานี รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่และการช่วยเหลือ และรับมอบถุงยังชีพจากรองนายกรัฐมนตรี เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่ต่อไป

ทั้งนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายแก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ในการช่วยเหลือประชาชนและเร่งลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย โดยได้สั่งการให้กรมชลประทาน วางแผนการบริหารจัดการน้ำร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อเร่งระบายน้ำให้คลี่คลายโดยเร็ว พร้อมทั้งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) บูรณาการสำรวจและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย รวมถึงมอบหมายให้กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งรัดและวางแผนการก่อสร้างพนังกั้นน้ำในจุดเสี่ยงอุทกภัยทั้ง 3 จังหวัด ให้สามารถป้องกันอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมอบหมายให้ สทนช. และ ศอ.บต. ประสานและบูรณาการ แก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปีที่วางไว้ โดยให้ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและยอมรับในการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่างๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม

จากนั้นในช่วงบ่าย รองนายกฯ พร้อมคณะได้เดินทางต่อไปยังห้องประชุมเทศบาลสวนรื่นอรุณ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เพื่อพบปะให้กำลังใจประชาชน พร้อมแจกถุงยังชีพให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ ต.มูโนะ พร้อมเน้นย้ำว่ารัฐบาลจะเร่งช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างสุดกำลัง และกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพนังกั้นน้ำมูโนะในส่วนที่ชำรุดและเสริมความมั่นคง แข็งแรงของพนังกั้นน้ำมูโนะ เพื่อป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรมชลประทาน เร่งรัดดำเนินการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างระบบพนังกั้นน้ำที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานจังหวัดนราธิวาส ประสานและสร้างการรับรู้ให้ภาคประชาชนในการก่อสร้างพนังกั้นน้ำในเเนวเขตแม่น้ำโก-ลก ให้สามารถก่อสร้างได้ตามแผนงาน และมอบหมายให้ สทนช.กำกับติดตามเร่งรัดกับหน่วยงานให้การก่อสร้างพนังกั้นน้ำที่ชำรุด เสียหายแล้วเสร็จตามแผนงาน เพื่อสามารถป้องกันอุทกภัยหากเกิดขึ้นในปีหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

‘นิพนธ์’ ร่วมเป็นสักขีพยานท้องถิ่น เพิ่มประสิทธิภาพเร่งรัดจัดเก็บภาษีรถยนต์ค้างจ่าย นำรายได้กระจายการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การพัฒนาประเทศ

(2 มี..65) ที่อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือเพื่อการดำเนินการเร่งรัดจัดเก็บภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกระหว่าง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการขนส่งทางบก อบจ.กระบี่ และ อบจ.สงขลา โดยมี นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายก อบจ.กระบี่ นายก อบจ.สงขลา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฯ และมีรองศาสตราจารย์ วีระศักดิ์ เครือเทพ ประธานอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อการพัฒนาการจัดเก็บภาษีรายได้ให้แก่ อปท. ร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้ด้วย

สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. ๒๕๔๒ กำหนดการจัดสรรรายได้จากภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ให้แก่ อปท. ซึ่งคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ได้พิจารณาเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ให้แก่ อปท. และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ปี พ.. 2543 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาการจัดเก็บรายได้ของ อปท. ได้พิจารณาเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่ค้างชำระให้แก่ อปท. ตามที่สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ได้ขอหารือแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่ค้างชำระเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่น เพราะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงาน จึงจัดการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก สมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่ค้างชำระให้แก่ อปท. และเพื่อให้การดำเนินการเร่งรัดจัดเก็บภาษีประจำปีสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่จดทะเบียนใน จ.กระบี่ และ จ.สงขลา ที่ค้างชำระได้มากขึ้นและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เจ้าของรถได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้ง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมการขนส่งทางบก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อบจ.กระบี่ และ อบจ.สงขลา สามารถปฏิบัติงานสนับสนุนการจัดเก็บภาษีประจำปีสำหรับรถที่จดทะเบียน ในจังหวัดดังกล่าว ที่ค้างชำระภาษีประจำปีสำหรับรถของกรมการขนส่งทางบก และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ เชิญชวน และอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของรถยนต์สามารถชำระภาษีประจำปีสำหรับรถและค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

‘บิ๊กป้อม’ เอาใจชาวตลาดมูโนะ โยนงบกลาง44 ล้าน สร้างพนังกั้นน้ำ

นราธิวาส-ที่ห้องประชุมพระนราภิบาล ศาลากลาง จ.นราธิวาส พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.นราธิวาส พร้อมรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ซึ่งโดยรวม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส สภาวะน้ำท่วมขังเริ่มลดลงเหลือเพียง 19 อำเภอ ที่คาดว่าไม่เกิน 1 สัปดาห์สภาวะน้ำท่วมขังจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ และในช่วงวันที่ 5 มี.. 65 ที่จะถึงนี้จะมีสภาวะฝนตกลงมาอีกละลอก แต่ไม่หนักเหมือนครั้งนี้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเตรียมพร้อมในการรับมือแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดประวัติซ้ำรอย โดยเฉพาะพื้นที่ตลาดมูโนะ ม.1 .มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก ที่มีน้ำท่วมขังหนักในรอบ 60 ปี

โดยพล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวมอบนโยบายแก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ในการช่วยเหลือประชาชนและเร่งลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย โดยได้สั่งการให้กรมชลประทาน วางแผนการบริหารจัดการน้ำร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อเร่งระบายน้ำให้คลี่คลายโดยเร็ว พร้อมทั้งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกันบูรณาการสำรวจและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย รวมถึงมอบหมายให้กรมชลประทานกรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งรัดและวางแผนการก่อสร้างพนังกั้นน้ำในจุดเสี่ยงอุทกภัยทั้ง 3 จังหวัด ให้สามารถป้องกันอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งพล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีการอนุมัติงบกลาง จำนวน 44 ล้านบาท ให้กรมชลประทานและกรมโยธาธิการและผังเมือง ทำการก่อสร้างผนังกั้นน้ำในระยะทาง 10 เมตร ที่ยังหลงเหลือให้สามารถแล้วเสร็จก่อนที่จะถึงฤดูน้ำหลากที่จะมาถึงนี้ รวมทั้งการซ่อมแซมพนังกั้นน้ำที่ชำรุดเสียหายที่ด้านหลบังตลาดมูโนะให้แล้วเสร็จ เพื่อไม้ให้เกิดประวัติซ้ำรอยเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากของแต่ละปี และยังได้มอบหมาให้ สทนช. และ ศอ.บต. ประสานและบูรณาการ แก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ที่วางไว้โดยให้ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและยอมรับในการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่างๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม

จากนั้นในช่วงบ่าย พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ พร้อมคณะได้เดินทางต่อไปยังตลาดมูโนะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังสูง โดยเฉลี่ย 50 ถึง 70 ..เพื่อพบปะให้กำลังใจประชาชน พร้อมแจกถุงยังชีพให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ ต.มูโนะ 5 หมู่บ้าน จำนวน 300 ชุด พร้อมเน้นย้ำว่ารัฐบาลจะเร่งช่วยเหลือประชาชนอย่างสุดกำลัง และกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพนังกั้นน้ำมูโนะ ในส่วนที่ชำรุดและเสริมความมั่นคง แข็งแรงของพนังกั้นน้ำมูโนะ เพื่อป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน จะเร่งรัดดำเนินการสำรวจ ออกแบบและก่อสร้างระบบพนังกั้นน้ำส่วนที่เหลือยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงาน พร้อมติดตามเร่งรัดกับหน่วยงานให้การก่อสร้างพนังกั้นน้ำที่ชำรุด เสียหายแล้วเสร็จเพื่อสามารถป้องกันอุทกภัยหากเกิดขึ้นในปีหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สตูล-ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ลงพื้นที่อำเภอควนกาหลง และอำเภอมะนัง เยี่ยมช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุวาตภัย

วันนี้ 3 มี.ค. 2565 นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยนาวาตรีหญิงโนสมา หลีเส็น นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล และส่วนราชการลงพื้นที่อำเภอควนกาหลง และอำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เยี่ยมและให้กำลังใจประชาชนที่บ้านเรือนได้รับผลกระทบจากเหตุวาตภัย 3 หลังคาเรือน หลังจังหวัดสตูลมีฝนตกลงมาอย่างหนักและมีลมพายุส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนหลายหลังคาเรือน 

โดยหลังแรกเป็นบ้านของนางสุรภา ชัยโรจน์ บ้านเลขที่ 183 ที่หมู่ที่ 3 บ้านควนล่อน ตำบลควนกาหลง ซึ่งบ้านเรือนได้รับความเสียหายหลังจากพายุฝนพัดหลังคาบ้านเรือนหลุดออกจากตัวบ้าน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 ส่งผลให้หลังคาบริเวณชั้น 2 ของตัวบ้านได้รับความเสียหาย ส่วนบ้านหลังที่ 2 ร้านอาหารตามสั่งป้าแดง บ้านเลขที่ 157 หมู่ที่ 3 บ้านควนล่อน ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านหลังแรกประมาณ 150 เมตร ได้รับความเสียหายจากพายุฝนพัดหลังคาสังกะสีหลุดออกจากบ้านเช่นกัน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลควนกาหลง ได้มอบหลังคากระเบื้องและเงินเพื่อเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่เจ้าของบ้านทั้ง 2 หลังแล้ว ในโอกาสนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล ร่วมมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ พร้อมเงินช่วยเหลือให้แก่เจ้าของบ้านทั้ง 2 หลัง และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล ร่วมมอบเงินช่วยเหลือเช่นกัน

นราธิวาส-ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาลงพื้นทีอำเภอสุไหงปาดี มอบถุงยังชีพประชาชนผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม

พล.อ.จีรัชญ์ บุญชญา ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาและคณะ เดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามสถานการณ์ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากเหตุอุทกภัย ในพื้นที่ ม.7 บ.โคกสะตอ ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส พร้อมขึ้นรถบรรทุก 6 ล้อของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 41 ลุยน้ำไปมอบถุงยังชีพและน้ำดื่มให้แก่พี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุน้ำท่วมถึงหน้าบ้านของแต่ละบุคคลเพื่อเป็นการส่งความห่วงใย ให้กำลังใจ และได้พูดคุยสอบถามความต้องการของประชาชน ในการเตรียมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเต็มกำลังโดย หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 41 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาได้จัดกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัย พร้อมยุทโธปกรณ์ในการติดตามสถานการณ์สาธารณภัยอย่างใกล้ชิด  เพื่อออกให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้พี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที

นราธิวาส-เทศบาลเมืองนราธิวาส  เปิดห้องเรียนอัจฉริยะ มิติใหม่ด้านการศึกษาของท้องถิ่นเทศบาลเมืองนราธิวาส  เดินหน้ายกระดับการจัดการศึกษาในระดับท้องถิ่น  

โดยการเปิดห้องเรียนพิเศษ (SME)  ระดับชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่  1  ในปีการศึกษา  2565  ตามนโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการศึกษา นายไพซอล  อาแว  นายกเทศมนตรีเมืองนราธิวาส  กล่าวว่า  ในปีการศึกษา  2565  นี้  เทศบาลเมืองนราธิวาส  ได้กำหนดโครงการเปิดสอนห้องเรียนพิเศษ  (SME)  ระดับชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่  1  โดยจะนำร่องเปิดห้องเรียนพิเศษ  โรงเรียนเทศบาล  1  (ถนนภูผาภักดี)  เป็นแห่งแรก  จำนวน  1  ห้อง  รับนักเรียน  จำนวน  20  คน  ทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามนโยบายส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลให้มีความโดดเด่นในทุก  ๆ  ด้าน   เช่น  ด้านคณิตศาสตร์  ด้านวิทยาศาสตร์  ด้านภาษา  ด้านกีฬา  ด้านดนตรี  ด้านศาสนาและวัฒนธรรม   

โดยเทศบาลได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อร่วมพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษากับมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  สำหรับห้องเรียนพิเศษ  (SME) นี้ จะดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดในแปดกลุ่มสาระ  โดยจะมีการเสริมทักษะเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนในด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ  ซึ่งจะมีการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการและจัดการเรียนภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษาโดยตรง  

นอกจากนั้นยังจัดให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพิ่มเติมนอกเหนือจากนักเรียนทั่วไป  ได้แก่การเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น  อุทยานการเรียนรู้นราธิวาส  มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  ศูนย์วิทยาศาสตร์  จัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ   สัปดาห์คณิตศาสตร์   สัปดาห์วิทยาศาสตร์  และกิจกรรมว่ายน้ำ เป็นต้น  ส่วนสวัสดิการที่จะจัดให้แก่นักเรียนห้องเรียนพิเศษ  ได้แก่  ค่าเล่าเรียนฟรี  อาหารกลางวันฟรี   อุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัย  เช่น  โน๊ตบุ๊ก (ยืมเรียน)  จัดห้องเรียนพิเศษปรับอากาศ (โรงเรียนเทศบาล  1  และอุทยานการเรียนรู้นราธิวาส) 

สงขลา - ศอ.บต.ยัน สภาพัฒน์อยู่ระหว่างดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย

ในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้  ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) ซึ่งมีนายประมุข ลมุน เป็นประธาน และมีนายอำนวย ศรีระแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นตัวแทนของ พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เข้าร่วมประชุม  ครั้งล่าสุด  ซึ่งคณะกรรมการที่ปรึกษาได้สอบถามความคืบหน้าในการ “ขับเคลื่อน” เมืองต้นแบบที่ 4 หรือ “ เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา เนื่องจากเป็น โครงการที่ มีประโยชน์ต่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีประชาชนสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ซึ่งเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ โครงการเมืองต้นแบบที่ 4 อ.จะนะ จ.สงขลา ได้เป็นผู้ให้รายละเอียดว่า โครงการเมืองต้นแบบที่ 4 อยู่ระหว่างการดำเนินการ รับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นไปแล้วหลายกลุ่ม และจะสิ้นสุดในเดือน มีนาคม นี้ หลังจากนั้นจะมีการดำเนินการ ศึกษาเรื่องของ สิ่งแวดล้อม ที่เป็นขบวนการทางวิชาการ เรื่องของ เมืองต้นแบบที่ 4 ยังไม่ได้หยุดชะงัก แต่ยังเดินหน้าต่อไปด้วยความรอบคอบในทุกด้าน ซึ่งอาจจะมีความล้าช้าไปบ้าง เพราะนอกจากเรื่องของการคัดค้านจากคนบางกลุ่มแล้ว เรื่องการระบาดของ”โควิด 19” ก็ทำให้มีความล่าช้าในขบวนการ

ในขณะที่ คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เสนอแนะว่า  นิคมอุตสาหกรรมจะนะ หรือ เมืองต้นแบบที่ 4 หรือ “เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” เป็นโครงการพัฒนาที่ มีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหา การว่างงาน การสร้างรายได้ และการขยายไปสู่อาชีพอื่นๆ โครงการอื่นๆ ในอนาคต  แต่ในการดำเนินการ ต้องตั้งอยู่บนพื้นที่ของการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน และ เอกชน เจ้าของ โครงการต้องมีความโปร่งใส ให้ความจริงกับคนในพื้นที่ และ สาธารณะ ในการรับรู้ข้อมูล รวมทั้งเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง โครงการอาจจะช้าไปบ้าง ก็ไม่เป็นไร แต่รัฐบาลต้อง จริงใจ ในการ ผลักดัน ให้เมืองต้นแบบที่ 4 เกิดขึ้น เพราะจะเป็นการ กระจายรายได้ กระจายการจ้างงาน รวมทั้ง สร้างความเจริญ ในพื้นที่ใกล้เคียง

นราธิวาส-ตำรวจ สภ.เมืองนราธิวาส  เร่งประชาสัมพันธ์โครงการ Smart safety 4.0 เชิงรุก ในเขตเซฟตี้โซน ตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พ.ต.อ.เจฟฟรีย์ ไศลมานกุล  ผกก.สภ.เมืองนราธิวาส นำ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองนราธิวาส  ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการ ร้านอาหาร  ร้านค้า และห้างสรรพสินค้าในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ตั้งแต่ หอนาฬิกา-แยกออมสิน-แยกท่าพระยาสาย-แยกซูซูกิ  ซึ่งอยู่ในเขตเซฟตี้โซน ของโครงการ smart safety 4.0 สภ.เมืองนราธิวาส  พร้อมถือป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ Smart safety 4.0 เชิงรุก เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบถึงการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวอย่างทั่วถึง ในการป้องกันอาชญากรรมของโครงการดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

นราธิวาส-รมว.ศึกษาเร่งจัดงบฉุกเฉินกว่า47ล้านฟื้นฟูโรงเรียนน้ำท่วม197โรง ส่วนน้ำท่วมตลาดมูโนะใกล้คลี่คลายกรมชลเร่งนำBIG BAGปิดทางน้ำ

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ นายสุทธิชัย ขรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะ ได้เดินทางมายังโรงเรียนบ้านตือระมิตรภาพที่ 172 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแก่ครูและบุคลากรทางศึกษา รวมทั้งรับฟังการบรรยายสรุปความเสียหายแก่โรงเรียนที่อยู่ในเขตตรวจราชการที่ 8 ประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำท่วมขังในช่วงวันที่ 25 ถึง 27 ก.พ. 65 ที่ผ่านมา โดยสรุป มีโรงเรียนถูกน้ำท่วมขัง จำนวน 197 โรง มีนักเรียน ครูและบุคคลากรทางการศึกษาได้รับความเดือดร้อน จากสภาวะน้ำท่วมบ้านพักอาศัย โดยแยกเป็นนักเรียน จำนวน 14,645 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 342 คน ในเบื้องต้นจากการสำรวจความเสียหายและได้ประเมินเป็นจำนวนเงิน 47,420,787 บาท โดยทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการโอนเงินเพื่อเข้าดำเนินการฟื้นฟูในเบื้องต้น จำนวน 260.000 บาท เพื่อให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนที่ได้รับความเสียหาย สามารถเปิดการเรียนการสอนชั่วคราวได้ตามปกติ

ต่อมา น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบถุงยังชีพ แก่ตัวแทนผู้อำนวยการพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 12 เขตทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งตัวแทนผู้อำนวยการพื้นที่มัธยมศึกษาทั้ง 3 เขตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมจำนวน 500 ชุด เพื่อนำไปมอบช่วยเหลืออีกทอดหนึ่งแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำท่วมในครั้งนี้

นอกจากนี้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ยังได้มอบเงิน จำนวน 30,000 บาท แก่นายอับดุลฮาลี มะ ซึ่งเป็นพ่อตาของนายนภดล มะลิลา พนักงานราชการโรงเรียนบ้านนิคมพัฒนา 10 อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ที่เสียชีวิตพร้อมครอบครัวและเครือญาติรวม 7 คน ขณะขับรถยนต์บนคอสะพานบ้านโนนสมบูรณ์ ม.5 ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส และคอสะพานได้ทรุดตัวไปพร้อมกับรถยนต์ เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 65 ที่ผ่านมา ซึ่งได้นำ ด.ญ.นูรฟาราเดีย มะลิลา อายุ 5 ปี ติดสอยห้วยตามมาด้วย โดย น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ได้แสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ต่อมา น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายและให้กำลังใจแก่ครูและบุคคลากรทางการศึกษา ที่ทุกคนเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง แต่ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ให้การอบรมเยาวชนให้เติบโตเป็นคนดี ตนจะเร่งพิจารณาดำเนินการในส่วนชองเงินงบประมาณฉุกเฉิน ในการฟื้นฟูโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมขังโดยเร็วใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้กลับมาเปิดการเรียนการสอนได้เต็มรูปแบบ

"นิพนธ์" ลงพื้นที่ มอบนโยบายเร่งรัดขจัดความยากจนภาคใต้ ชงจังหวัดจับมือ อปท.ปรับแผนดันงบประมาณ กระจายทรัพยากรแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

วันนี้ 3 มีนาคม 2565  ที่โรงแรม บุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมพิธีเปิดและมอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่  โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงมหาดไทย ข้าราชการในสังกัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ ฯลฯ เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย

โดยกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำฐานข้อมูล การบันทึกข้อมูล และการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศในทุกมิติได้อย่างแท้จริง

นายนิพนธ์ กล่าวว่า กับดักความยากจนคือกลไกซ้ำเติมที่ทำให้คนจนลืมตาอ้าปากได้ยาก ภารกิจนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณ ทั้งยังต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนเวลา ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผ่านกลไกของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ซึ่งได้บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระทรวงมหาดไทยก็มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ จนลงไปสู่ท้องที่ท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนและหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน 

ตนมองว่า ในการแก้ไขปัญหาขจัดความยากจน ลดความความเหลื่อมล้ำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น ท้องถิ่นท้องที่เป็นกลไกสำคัญของกระทรวงมหาดไทยที่ต้อง“บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชน หากมีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัด อำเภอโดยนายอำเภอ สามารถประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้ อาจจะใช้โอกาสการประชุมประจำเดือน หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นวาระพิเศษ ในการพูดคุย ปรับแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้สัดส่วนงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งสัดส่วนโครงสร้างมาดูแลในส่วนนี้ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายการขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้มีการแก้ไขกฎหมายหลายๆ ฉบับ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความคล่องตัวในการดูแลพี่น้องประชาชนมากขึ้น เชื่อว่าจะทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น

นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ตนในฐานะประธานคณะทำงานช่วยอำนวยการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการ อ.ก.บ.ภ. ภาคใต้และภาคใต้ชายแดน  ทราบดีว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลงมานั้น ได้รับการจัดสรรลงมาอย่างจำกัด ทั้งนี้ ในส่วนของงบพื้นที่หรืองบประมาณบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ งบฟังก์ชันของกระทรวงต่างๆ เชื่อว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถบริหารได้ แต่สิ่งที่อยากเน้นย้ำ คือ การประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วางแผนร่วมกันในการดึงงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกมาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด ซึ่งหากสามารถนำงบประมาณในส่วนนี้มาปรับใช้ได้อย่างทันท่วงที ก็จะเป็นนิมิตหมายใหม่ในการพัฒนาประเทศต่อไป

นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ภาคใต้ที่ควรให้ความสำคัญและเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหา หากแต่ควรเกิดขึ้นในทุกๆ ภูมิภาคของประเทศ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้แต่อย่างใด และพร้อมดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เน้นย้ำการลงพื้นที่ไปคลุกคลีกับชาวบ้านเรื่องเรื่องสำคัญ เพราะถือเป็นจุดเชื่อมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับพี่น้องประชาชน หากสามารถรับสารจากพื้นที่ขึ้นมาแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ก็จะเกิดเป็นผลรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว นอกจากจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยแล้วนั้น ยังเป็นการช่วยสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่และสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top