Tuesday, 2 July 2024
Lite

พีค of the week EP.6

ข่าวพีค ๆ มาอีกแล้วจ้า! วนกลับมาเจอกันตอนต้นสัปดาห์ เมื่อสัปดาห์ก่อนมีเหตุบ้านการเมืองร้อน ๆ เกิดขึ้นหลายเรื่องราว มาทั้งเรื่องการฟ้องร้อง การถูกถอดถอน การยุติบทบาท และไฮไลท์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ‘ม็อบตีหม้อ’ งานนี้พกหม้อมาจากบ้าน

ทั้งหม้อเล็ก หม้อใหญ่ หม้อบุบ หม้อดำ พกอาวุธ เอ้ย! พกอุปกรณ์มาซะขนาดนี้ เราเลยขอตั้งชื่ออีพีนี้เพิ่มเติมด้วยว่า ‘พีคแบบหนังจีน’ ตามไปดูว่าจะมีเรื่องอะไรได้จากคลิปนี้กันเลย Let’s go!!

.

วัคซีน Sinovac มาแล้ว ไปดูกันว่า ใคร? ที่ไหน? จะได้ฉีดวัคซีน 200,000 โด๊สแรกกันบ้าง?

เป็นภาพข่าวที่ชิงพื้นที่สื่อทุกสำนักไปเมื่อวาน สำหรับการรับมอบ ‘วัคซีน Sinovac’ จากประเทศจีน ที่ขนส่งมาถึงประเทศไทยเมื่อสายวานนี้ สเต็ปต่อไป คงไม่ต้องถามกันอีกแล้วว่า ‘เมื่อไรจะมีวัคซีน’ แต่จุดนี้ สิ่งที่ควรรู้ต่อไปคือ จะแจกจ่ายทำการฉีดเมื่อไร กระจายไปที่ไหน ใครได้ฉีดกันบ้าง เราสรุปมาให้อ่านกันดังนี้

1. วัคซีนป้องกันโควิด -19 ของบริษัท Sinovac ล็อตแรกนี้ จะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพวัคซีนเสียก่อน คาดว่าไม่เกินวันที่ 27 ก.พ. จะเสร็จสิ้นในกระบวนการ

2. วัคซีนจำนวน 2 แสนโด๊สนี้ จะกระจายไปตามพื้นที่ 13 จังหวัด แบ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด 1 จังหวัด พื้นที่ควบคุม 8 จังหวัด และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอีก 4 จังหวัด

3. พื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ จ.สมุทรสาคร ได้รับวัคซีน 70,000 โด๊ส โดยมี 4 กลุ่มที่จะได้รับการฉีด คือ

    - กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 8,000 โด๊ส

    - กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 6,000 โด๊ส

   - ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว 46,000 โด๊ส

   - ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 10,000 โด๊ส

4. พื้นที่ควบคุม 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก) ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ตาก (อ. แม่สอด) นครปฐม สมุทรสงคราม และราชบุรี ทั้งหมดจะได้รับวัคซีน 99,000 โด๊ส จัดแบ่งการฉีดออกเป็น

   - กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก) 66,000 โด๊ส

     12,400 โด๊ส ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

     1,600 โด๊ส ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย

     47,000 โด๊ส ฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว

     5,000 โด๊ส ฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน

  - ปทุมธานี 8,000 โด๊ส

    3,000 โด๊ส ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

    2,000 โด๊ส ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย

    2,000 โด๊ส ฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว

    1,000 โด๊ส ฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน

  - นนทบุรี 6,000 โด๊ส

    2,000 โด๊ส ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

   1,000 โด๊ส ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย

   2,000 โด๊ส ฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว

   1,000 โด๊ส ฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน

 - สมุทรปราการ 6,000 โด๊ส

   2,000 โด๊ส ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

   1,000 โด๊ส ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย

   2,000 โด๊ส ฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว

  1,000 โด๊ส ฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน

 - ตาก (อ. แม่สอด) 5,000 โด๊ส

   3,000 โด๊ส ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

   2,000 โด๊ส ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย

- นครปฐม 3,500 โด๊ส

  2,500 โด๊ส ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

  1,000 โด๊ส ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย

 - สมุทรสงคราม 2,000 โด๊ส

   1,500 โด๊ส ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

   500 โด๊ส ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย

 - ราชบุรี 2,500 โด๊ส

    2,000 โด๊ส ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

   500 โด๊ส ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย

5. พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม มีทั้งสิ้น 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) และเชียงใหม่ จะได้รับวัคซีนทั้งหมด 14,700 โด๊ส โดยแบ่งฉีดให้ตามกลุ่มประชาชนต่าง ๆ โดยทางคณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด จะพิจารณาจัดสรรจำนวนวัคซีนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมาย ตามสถานการณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่เอง ทั้งนี้แต่ละจังหวัดจะได้รับจำนวนวัคซีนที่แตกต่างกัน เช่น

  - ชลบุรี 4,700 โด๊ส

  - ภูเก็ต 4,000 โด๊ส

  - สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) 2,500 โด๊ส

  - เชียงใหม่ 3,500 โด๊ส

สรุปวัคซีน Sinovac ที่ถูกแจกจ่ายในครั้งนี้ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 183,700 โด๊ส ส่วนที่เหลือจำนวนอีกกว่า 16,300 โด๊ส จะถูกเก็บสำรองเอาไว้ เพื่อกรณีการควบคุมการระบาด และฉีดให้บุคลากรในโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วย COVID-19 ต่อไป

ส่วนการฉีดวัคซีน จะถูกใช้ 2 โด๊ส ต่อประชาชน 1 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ถูกฉีด จะได้รับวัคซีนเข็มแรกกับเข็มที่สอง ห่างกันเป็นเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์

โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม ต้นเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป...

นักท่องเที่ยวบ่ย่านอากาศร้อนขึ้นบันได 1,049 ชั้น กราบนมัสการหลวงปู่ขาว และรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาภูพานคำขอนแก่น พร้อมชมทิวทัศน์บนยอดเขาที่มองเห็นทัศนียภาพของเขื่อนอุบลรัตน์ที่สวยงาม

นักท่องเที่ยวบ่ย่านอากาศร้อนขึ้นบันได 1,049 ชั้น กราบนมัสการหลวงปู่ขาวและรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาภูพานคำขอนแก่น พร้อมชมทิวทัศน์บนยอดเขาที่มองเห็นทัศนียภาพของเขื่อนอุบลรัตน์ที่สวยงาม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักท่องเที่ยวจำนวนมากจากทั้ง จ.ขอนแก่น และ จากจังหวัดใกล้เคียง ต่างพากันเดินทางมาที่วัดพระพุทธบาทภูพานคำ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เพื่อกราบนมัสการหลวงปู่ขาวและรอยพระพุทธบาท เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับตัวเองและครอบครัวในช่วงวันหยุดติดต่อกันหลายวัน โดยทุกคนต่างพากันเดินขึ้นบันไดที่สูงถึง 1,049 ขั้น เพื่อทดสอบกำลังร่างกาย แม้สภาพอากาศวันนี้จะร้อนจัดก็ตาม แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาไม่ขาดสาย

ซึ่งบนยอดเขาภูพานคำ ภายในวัดพระพุทธบาทภูพานคำนั้น มีพระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ตั้งตระหง่าน โดยภายใต้ฐานพระพุทธรูปเป็นพระอุโบสถสำหรับการให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปทำบุญ ถวายสังฆทานและกราบสักการะพระพุทธรูปเพื่อขอพรและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ภายใต้การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด

ขณะเดียวกันนอกจากจะได้กราบสักการะขอพรสิ่งศักดิ์แล้ว หลายคนอดไม่ได้ที่จะเก็บภาพทิวทัศน์ที่สวยงามบนยอดเขาซึ่งเมื่อมองลงมาจะเห็นเขื่อนอุบลรัตน์อย่างสวยงามอีกด้วย

สำหรับพระพุทธบาทภูพานคำตั้งอยู่บริเวณไหล่เขาภูพานคำ อ.อุบลรัตน์ เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองในมณฑป และ หลวงพ่อพระใหญ่ หรือพระพุทธอุตรมหามงคลอุบลรัตน์เป็นองค์พระคอนกรีต เสริมเหล็ก สีขาว อยู่บนฐานดอกบัวสีชมพู ความสูงขององค์พระ 14 เมตร โดยสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พศ. 2514 ปัจจุบันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวขอนแก่นให้ความเคารพนับถือและกราบขอพรทุกวัน

พีค of the week EP.8

มาแล้วจ้า! กำลังพูดถึง ‘วัคซีนป้องกันโควิด - 19’ ที่เดินทางมาถึงเมืองไทยเรียบร้อยเมื่อสัปดาห์ก่อน ข่าวนี้สร้างแรงกระเพื่อมให้ผู้คนในสังคมไม่น้อย ยังไม่นับว่า หากใครติดตามการรายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด - 19 มาตลอด จะทราบดีว่า สัปดาห์ก่อน ตัวเลขยอดการติดเชื้อลดลงเป็นลำดับ ซึ่งจัดว่าน่ายินดี

เรียกว่าตลอดทั้งสัปดาห์ มีเรื่องน่ายินดี และเรื่องให้พูดถึงกันมากมาย The States Times สรุปหัวข้อเด่นๆ ประเภทที่สร้างแรงกระเพื่อมในสังคม จับรวมมาไว้ให้ชมกันในคลิปนี้ ตามไปชม! Let’s go!! 

.

 

วันนี้ในอดีต เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเทศไทย และถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ตลอดระยะเวลากว่า 87 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ รวมเวลาในการครองราชย์ 9 ปี

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ที่นำโดย นายปรีดี พนมยงค์ และพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ไปประทับยังประเทศอังกฤษ โดยทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงติดต่อราชการกับรัฐบาล ที่มีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งปรากฏข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถหาข้อยุติกันได้ กระทั่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 จึงทรงมีพระราชหัตถเลขา ประกาศสละราชสมบัติ ส่งมายัง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐบาล มีใจความส่วนหนึ่งว่า...

“...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร...บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียง ในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ

และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าในฐานที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมาก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์…”

ภายหลังจากมีพระราชหัตเลขาสละราชสมบัติ คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร จึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระราชนัดดาในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป


ที่มา: https://www.matichonacademy.com/content/culture/article_38342

https://th.wikipedia.org/wiki, https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_1746

‘กองทัพอากาศ’ เป็นหนึ่งในกองทัพไทย ที่คอยปกป้องดูแลประเทศชาติ วันนี้ถือเป็นวันสำคัญ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘บิดาแห่งกองทัพอากาศไทย’

สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หรือ ‘ทูลกระหม่อมเล็ก’ ประสูติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2425 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 23 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีพระชนมพรรษา 16 ปี ทรงเข้าศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก Corps de Pages ประเทศรัสเซีย ก่อนที่จะทรงสำเร็จการศึกษาด้านเสนาธิการทหารขั้นสูง และถูกแต่งตั้งยศเป็นพันเอกพิเศษในกองทัพบกรัสเซีย

ครั้นเมื่อเสด็จกลับเมืองไทย ทูลกระหม่อมเล็กทรงได้รับตำแหน่งทางการทหารสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2449 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยหนึ่งในพระภารกิจของพระองค์คือการเผยแพร่ความรู้ทางการทหารชั้นสูงให้กับนักเรียนนายทหาร รวมถึงทรงจัดการโรงเรียนนายร้อยให้มีระเบียบแบบแผน และมีความทันสมัย เทียบเท่าตะวันตก

ในช่วงปี พ.ศ.2454 ขณะทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้น พร้อมให้มีการคัดเลือกนายทหาร 3 นายไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาทรงทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบินมาที่อำเภอดอนเมือง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2457 และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็นกองบินทหารบก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่การเป็น ‘กองทัพอากาศไทย’ ในเวลาต่อมา

ตลอดพระชนชีพ สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการบิน ทั้งในกิจการทหารและกิจการพลเรือน ทรงวางรากฐานแนวทางเสริมสร้างกำลังทางอากาศของประเทศไทยอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้มาเป็นกองทัพอากาศไทยดังเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้ กองทัพอากาศไทยจึงได้ยกย่องพระองค์ว่าเป็น ‘พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย’ เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในการส่งเสริมกิจการของกองทัพ ให้เจริญก้าวหน้ามาจนถึงวันนี้


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเชษฐาธิราช_เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ_กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

วันนี้ถูกยกให้เป็น ‘วันไทยอาสาป้องกันชาติ’ เป็นวันที่คนไทยรุ่นหลัง จะได้ร่วมรำลึกถึงเกียรติยศและความเด็ดเดี่ยวของ ‘ท้าวสุรนารีและนางสาวบุญเหลือ’ สองวีรสตรีที่ร่วมกันปกป้องอธิปไตยของชาติ ให้พ้นจากการรุกรานของข้าศึกศัตรู

ย้อนกลับไปเมื่อราวปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ ได้ยกกองทัพเข้าแผ่นดินไทย จนมาถึงเมืองนครราชสีมา เจ้าอนุวงศ์สามารถกวาดต้อนผู้คนมาเป็นเชลยขึ้นไปยังเวียงจันทน์มากมาย ซึ่งในจำนวนเชลยนั้น มีคุณหญิงโม และนางสาวบุญเหลือ รวมอยู่ด้วย

ในช่วงเวลาดังกล่าว คุณหญิงโม ร่วมกับ นางสาวบุญเหลือ และหลวงณรงค์สงคราม หัวหน้าชาวเมือง ได้สร้างวีรกรรม ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ โดยได้ออกกลอุบายเลี้ยงสุราอาหารแก่ทหารลาว จนเมื่อเมามาย จึงแย่งอาวุธโจมตีเหล่าทหารลาวเป็นการตลบหลัง

ทางด้านนางสาวบุญเหลือ ที่ต้องต่อสู้กับ เพี้ยรามพิชัย ขณะที่กำลังเสียท่าและวิ่งหนี นางสาวบุญเหลือตรงเข้าไปคว้าฟืนในกองไฟ แล้วตัดสินใจวิ่งเข้าไปบริเวณกองเกวียนที่บรรทุกกระสุนดินดำ ชั่ววินาทีที่เพี้ยรามพิชัยจะถึงตัว นางสาวบุญเหลือก็เอาฟืนจุดเข้าไปที่ถุงดินปืน เกิดระเบิดกองใหญ่ ส่งผลให้เพี้ยรามพิชัย และทหารลาวมากมาย รวมทั้งตัวนางสาวบุญเหลือ เสียชีวิตในทันที

เรื่องเล่าแห่งความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวในวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือ ถูกถ่ายทอดและอยู่ในความทรงจำของลูกหลานชาวนครราชสีมาตลอดมา ต่อมาทางราชการ จึงได้ถือเอาวันที่ 4 มีนาคมของทุกปี เป็นวันไทยอาสาป้องกันชาติ ทั้งนี้ถือเป็นการร่วมสดุดีคุณหญิงโม นางสาวบุญเหลือ ตลอดจนบรรพชนที่ได้ร่วมกันเสียสละชีวิต ปกป้องแผ่นดินของชาติในอดีต

โดยปัจจุบัน นอกจากอนุสาวรีย์ย่าโม ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรีคนแรกของประเทศ ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโคราชแล้ว ยังมีอนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ ที่ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยเช่นกัน โดยวันนี้ของทุก ๆ ปี ประชาชนจะมาร่วมกันสักการะ วางพวงมาลา และเปลี่ยนผ้าตะเบงมานตามสีแห่งปี ให้กับเหล่าวีรสตรีผู้กล้า เพื่อเป็นการสดุดีในวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่ได้ทำเพื่อชาติบ้านเมือง


ที่มา: https://www.dailynews.co.th/regional/785630, https://th.wikipedia.org/wiki

ในวงการพุทธศาสนาไทยในอดีต มีสมณสงฆ์ชื่อดังอยู่มากมาย และหนึ่งในนั้น คือ พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม ‘หลวงปู่โต๊ะ’ ซึ่งวันนี้เมื่อ 40 ปีก่อน เป็นวันที่พระครูผู้มีลูกศิษย์ลูกหามากมายท่านนี้ ได้ละสังขารลง

พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือ หลวงปู่โต๊ะ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยท่านเป็นพระคณาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ด้วยวัตรปฏิบัตอันงดงาม และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทุกชนชั้น

หลวงปู่โต๊ะ เกิดเมื่อ 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 บวชเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2447 กระทั่งเมื่ออายุครบ 20 ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ณ วัดประดู่ฉิมพลี นอกจากนี้ ท่านยังได้ศึกษาปฏิบัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรี จนต่อมาเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 จึงได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี

หลวงปู่โต๊ะ ถือเป็นพระสงฆ์ที่มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม รวมถึงมีกริยามารยาทงดงาม และมีความเมตตากรุณาต่อทุกสรรพสิ่งมีชีวิต แต่อีกชื่อเสียงหนึ่งที่เป็นที่ร่ำลือ คือท่านสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้

เมื่อครั้งที่หลวงปู่โต๊ะยังมีชีวิตอยู่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาและจริยาวัตรของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง

กระทั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 หลวงปู่โต๊ะถึงแก่มรณภาพลง รวมสิริอายุได้ 93 ปี 73 พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษ เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด

นับถึงวันนี้ กว่า 40 ปีมาแล้ว แต่ชื่อเสียงของหลวงปู่โต๊ะ ก็ยังคงถูกเอ่ยถึง ในฐานะของพระคณาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ที่มีวัตรปฏิบัติอันงดงาม ควรค่าและเป็นตัวอย่างอันดีแก่ภิกษุสงฆ์รุ่นหลัง ให้ได้ยึดถือ และประพฤติปฏิบัติในศีลวัตรอันงดงามเหล่านี้


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/พระราชสังวราภิมณฑ์_(โต๊ะ_อินทสุวณโณ)

 

วันนี้เมื่อ 339 ปีก่อน ซึ่งตรงกับวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225 คือวันที่ ‘หลวงปู่ทวด’ หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม ‘หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด’ มรณภาพลง ขณะพำนักที่ ไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย

สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ หรือ หลวงปู่ทวด เป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวด มีความเชื่อกันว่า พระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่าน จะมีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองผู้ที่บูชาได้

ตามประวัติที่เผยแพร่สืบต่อกันมายาวนาน หลวงปู่ทวด มีนามเดิมว่า ปู เป็นชาวสงขลา เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัด ’วัดกุฎีหลวง’ หรือ ‘วัดดีหลวง’ ด้วยความที่เป็นผู้ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ ท่านสมภารจึงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้น จนเมื่ออายุครบอุปสมบท ท่านจึงได้บรรพชาเป็นพระสงฆ์ จากนั้นก็ได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก เคยแสดงปาฏิหาริย์หลายครั้งจนเป็นที่เลื่องลือ

โดยเฉพาะปาฏิหาริย์ ‘เหยียบน้ำทะเลจืด’ เป็นเหตุการณ์ขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ จ.สงขลา ท่านถูกโจรสลัดจีนที่แล่นเรือเลียบชายฝั่ง จับขึ้นเรือไป แต่ปรากฎว่า เรือลำดังกล่าวแล่นต่อไปไม่ได้ และต้องจอดอยู่อย่างนั้นหลายวันหลายคืน เวลาผ่านไป โจรสลัดจีนบนเรือขาดน้ำจืดในการบริโภคอย่างหนัก

เมื่อถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงแสดงปาฏิหาริย์เหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลง แล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล เมื่อยกเท้าขึ้นมา ท่านก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำมาดื่ม แม้จะไม่เชื่อ แต่สุดท้ายโจรก็ตักขึ้นมา ปรากฎว่า น้ำทะเลเค็มจัดกลับกลายเป็นรสชาติจืดอย่างน่าอัศจรรย์!

ภายหลังกลุ่มโจรพากันกราบไหว้ขอขมา แล้วนำท่านล่องเรือกลับขึ้นฝั่งทันที ตำนานนี้ถูกเล่าสืบต่อกันมายาวนาน ซึ่งต่อมามีการเผยแพร่สถานที่ดังกล่าวด้วยว่า เป็นบ่อน้ำจืดกลางทะเล บริเวณเกาะนุ้ย จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

กระทั่งเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225 หลวงปู่ทวดมรณภาพลงเมื่ออายุครบ 100 ปี ที่เมืองไทรบุรี ซึ่งเดิมเคยเป็นหัวเมืองทางใต้ของไทย ภายหลังการมรณภาพ ลูกศิษย์ลูกหาได้ทำตามสิ่งที่หลวงปู่ได้สั่งเสียไว้ โดยเคลื่อนย้ายสังขารกลับมาจนถึง จ.ปัตตานี โดยผ่านเส้นทางพักการเคลื่อนย้าย จากมาเลเซียถึงปัตตานีเป็นจำนวน 18 จุด

ซึ่งจุดที่ 18 เป็นสถานที่ฌาปนกิจศพ นั่นคือ วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี โดยปัจจุบัน วัดช้างให้ หรือวัดราษฎร์บูรณะ ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ที่ประชาชนมักเดินทางมากราบไหว้ สักการะ รวมไปถึง วัดห้วยมงคล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่มีรูปปั้นหลวงปู่องค์ใหญ่ ก็เป็นอีกแห่งที่มีประชาชนเดินทางมากราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต


ที่มา: https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/364626

เปิดไทม์ไลน์ ‘นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี’ ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร จากวันแรกของการติดโควิด -19 สู่วันที่กำลังจะหายเป็นปกติ ได้เวลา #คืนปูสู่สาคร

ในความวุ่นวาย ยุ่งเหยิง ของบ้านเมืองเวลานี้ ใครรักใคร ใครไม่รักใคร ใครรบกับใคร ใครฉี่ใส่ใคร แต่เชื่อเหลือเกินว่า คนไทย #รักและส่งกำลังใจให้ ‘ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร’ อย่างแน่นอน เพราะนับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ในการแถลงสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 ระลอกใหม่ ที่ ต.มหาชัย จ.สมุทรสาคร คนไทยก็ได้ทำความรู้จักกับนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ในฐานะผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ที่เป็นหนึ่งในผู้ร่วมแถลงการณ์ในวันนั้น

แต่ผ่านไปแค่สัปดาห์เดียว จาก ‘ผู้แถลงการณ์’ กลับกลายเป็น ‘ผู้ป่วย’ หลังจากลุยงานหนัก ลงพื้นที่เสี่ยง จนกลายเป็นผู้ติดโรคโควิด -19 เสียเอง และนั่นคือวันแรกที่ผู้คนต่างส่งแรงใจ ให้ ‘ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร’ หายป่วยกลับมาโดยไว แต่เรื่องกลับไม่ง่ายอย่างนั้น ด้วยวัยและร่างกาย ทำให้โควิด – 19 เข้าไปทำร้ายปอด จนทำให้เกิดอาการวิกฤติอยู่หลายครั้งหลายครา

แต่จากวันที่สิ้นหวัง ผู้คนต่างสวดมนต์ให้กำลังใจกับพ่อเมืองสมุทรสาคร ปาฏิหาริย์ก็มีจริง เมื่อทีมแพทย์สามารถรักษาร่างกายของผู้ว่าฯ ให้ค่อย ๆ กลับคืนมาอีกครั้ง และเมื่อไม่กี่วันมานี้ ข่าวดีก็เกิดขึ้นจนได้ ผู้ว่าฯ วีระศักดิ์ กลับมาเดินได้เอง พูดคุยสื่อสารได้เป็นปกติ อาการป่วยหายไปกว่า 90% ถึงตรงนี้ คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่า การกล่าวคำว่า ขอแสดงความยินดี และขอขอบคุณทีมงานแพทย์ทุก ๆ ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ตอกย้ำให้รู้ว่า #ทีมแพทย์ไทยเก่งไม่น้อยกว่าใครในโลก

เพราะมีชื่อเล่นว่า ปู จึงเป็นที่มาของภารกิจ #คืนปูสู่สาคร แต่ก่อนที่ภารกิจนี้จะเกิดขึ้น THE STATES TIMES รวบรวมไทม์ไลน์ เพื่อย้อนกลับไปดูถึงช่วงเวลาที่ผ่านมา กว่า 2 เดือนเศษที่ต้องต่อสู้ วันนี้ใกล้ถึงเวลา #คืนปูสู่สาคร พร้อมกล่าวคำว่า ขอแสดงความยินดี อีกครั้ง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top