Thursday, 4 July 2024
Lite

วันนี้เป็นพิเศษของผู้นำทางการเมืองของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 67 ปี ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเมืองไทย

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือในชื่อเล่นที่คนไทยคุ้นเคยว่า ‘ตู่’ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา แต่มาเรียนหนังสือในระดับประถมศึกษาที่จังหวัดลพบุรี กระทั่งเมื่อเข้าสู่ชั้นมัธยม จึงย้ายมาเรียนที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร

ในวัยเยาว์ พลเอกประยุทธ์เป็นนักเรียนเรียนดี จนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เจ้าตัวจึงได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร และเป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 ในเวลาต่อมา

พลเอกประยุทธ์เข้ารับราชการทหารที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ โดยเริ่มจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม ต่อมาจึงได้ย้ายไปอยู่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 ก่อนจะได้รับการเลื่อนขั้นดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น และได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ.2553

พลเอกประยุทธ์ เริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 โดยเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลรักษาการในขณะนั้น ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. และเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2557

ต่อมาได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 ภายหลังการประชุมร่วมรัฐสภา มีการนำเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้พลเอกประยุทธ์ ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน

จากอดีตนักเรียนวิทยาศาสตร์การเรียนดี สู่การเป็นนายทหารมากความสามารถ วันนี้ ‘บิ๊กตู่’ ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ในวัย 67 ปีบริบูรณ์ ขอให้สุขภาพแข็งแรง และทำหน้าที่บริหารประเทศอย่างเต็มความสามารถตลอดไป


ที่มา:

https://th.wikipedia.org/wiki/ประยุทธ์_จันทร์โอชา,

https://siamrath.co.th/n/83202

วันนี้เมื่อกว่า 237 ปีมาแล้ว ถูกบันทึกว่าเป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงทำพิธีอัญเชิญ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต มาประดิษฐานในพระอุโบสถ วันพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นครั้งแรก

กล่าวถึงพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญที่สุดของประเทศไทย ถูกจารึกว่าปรากฎเมื่อราวปี พ.ศ.1977 และได้ถูกอัญเชิญไปยังดินแดนต่าง ๆ มากมาย โดยในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงเป็นแม่ทัพตีได้เมืองเวียงจันทน์ และได้เชิญพระแก้วมรกตลงมายังกรุงธนบุรี โดยพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ยังวัดอรุณราชวราราม และมีพิธีสมโพช 3 วัน

ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 จึงได้ทรงสร้างพระบรมมหาราชวัง รวมทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 2 ปี เมื่อพระอุโบสถสร้างเสร็จ จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระแก้วมรกต ที่ประดิษฐานอยู่วัดอรุณฯ ในเวลานั้น มาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2327

พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองไทย และมีความสำคัญ โดยเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร ได้พระราชทานนามพระนครใหม่ให้ต้องกับพระแก้วมรกตว่า ‘กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์’ ซึ่งแปลโดยย่อได้ว่า เป็น ‘เมืองเทวดาที่มีพระแก้วมรกตเป็นหลักชัย’

นอกจากนี้ ที่มาของคำว่า กรุงรัตนโกสินทร์ เกิดจากคำว่า รัตน์+โกสินทร์ โดย รัตนะ แปลว่า แก้ว ส่วน โกสินทร์ แปลว่า สีเขียว กรุงรัตนโกสินทร์ ก็คือ กรุงแก้วสีเขียว ซึ่งก็คือ เมืองแห่งพระแก้วมรกต นั่นเอง

กว่า 237 ปี นับจากอดีตสู่ปัจจุบัน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ยังคงประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองไทยมายาวนาน เสมือนเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว และสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ที่คนไทยทุกหมู่เหล่า เดินทางมากราบไหว้สักการะกันอยู่เสมอ


ที่มา: https://lanpothai.blogspot.com/2019/03/blog-post.html

เราได้เรียนรู้อะไรจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด–19 ของ ‘ลุงตู่’ กันบ้าง?

ฉีดแล้วจ้า!! ลุงตู่ฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้วจ้า หลังจากเจอ ‘โรคเลื่อน’ เพราะมีข่าวว่า พบผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาแล้วเสียชีวิต! เดี๋ยว ๆๆๆ โปรดใจเย็น ล่าสุดยังไม่มีรายงานแบบบ่งชี้ชัดว่า ผู้ที่เสียชีวิตมีต้นเหตุมาจากการฉีดวัคซีนนี้หรือไม่ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก ก็ยังยืนยันว่า การฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา ยังทำได้ต่อไป

ว่าแล้ว ลุงตู่ ของเราจึงหย่อนตัวบนเก้าอี้ ถลกแขนเสื้อแล้วจัดการให้คุณหมอยง ‘แทงจึ๊ก!’ เข้าหัวไหล่ เรียกว่าเป็นแข็มแรกของแอสตราเซเนกากับคนไทย ประเทศไทย และกำลังทยอยฉีดกันไปอย่างต่อเนื่อง ทางแอสตราเซเนกายังยืนยันต่อมาอีกว่า ความเสี่ยงในการฉีด มีน้อยกว่าประโยชน์ที่ได้รับอย่างแน่นอน

3 วันมาแล้วที่ลุงตู่ฉีดวัคซีนไป ยังสุขภาพแข็งแรงดี ปึ้ก ๆ !! งั้นไปดูกันหน่อยว่า การฉีดครั้งนี้ เราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมกันอีกบ้าง?

States TOON EP.5

เหตุเกิดจากความวังเวง > <’

ม็อบหรือป่าช้า

ร่วมแชร์ประโยคดีต่อใจ เมื่อวันที่ ‘ผู้ว่าฯ ปู’ นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี แถลงข่าวออกจากโรงพยาบาล เพื่อเตรียมเดินทางกลับบ้าน หลังหายจากโรคโควิด – 19 เป็นที่เรียบร้อย

กว่า 82 วัน นับตั้งแต่ตรวจพบว่า ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือโรคโควิด-19 หลังจากนั้น นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ก็เข้าสู่กระบวนการรักษา โดยเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลายครั้งมีข่าวไม่สู้ดี แต่ด้วยหัวใจที่ฮึดสู้ ตลอดจนความสามารถของทีมแพทย์ศิริราชพยาบาล จึงทำให้มีวันนี้ วันที่ได้ #คืนปูสู่สาคร

เช้าของวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564 ผู้ว่าฯ ปู รวมทั้งทีมแพทย์ศิริราช ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องอาการป่วยที่ผ่านมา และการเตรียมการออกจากโรงพยาบาล เรียกรอยยิ้มให้กับผู้เกี่ยวข้องกันทุก ๆ คน THE STATES TIMES จึงขอนำ ‘ประโยคดี ๆ’ ที่ผู้ว่าฯ สมุทรสาครได้เอ่ยออกมาจากใจ มาส่งต่อให้ได้อ่านร่วมกัน...

วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย และถูกบันทึกกันมากว่า 115 ปี โดยเป็นวันที่ชาติฝรั่งเศส ได้ทำสัญญาคืน ‘จังหวัดตราด’ รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในอาณาบริเวณ ให้กับประเทศไทย หลังจากที่ยึดไว้ในการครอบครองกว่า 3 ปี

ย้อนกลับไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน โดยครอบครองญวนและเขมรส่วนนอกไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งอ้างสิทธิดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเดิม ว่าเป็นของญวนและเขมร ดังนั้น ฝรั่งเศสจึงมีสิทธิครองครองดินแดนส่วนนี้ด้วย ซึ่งในเวลานั้น พื้นที่ดังกล่าว อยู่ในการครอบครองของอาณาจักรสยาม

จึงเป็นที่มาของการการปะทะกันของกำลังทหารไทยและฝรั่งเศส กระทั่งไทยยอมทำสัญญาสงบศึกในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 โดยถอนทหารจากชายแดนทั้งหมด รวมทั้งเสียค่าปรับ ค่าทำขวัญแก่ฝรั่งเศส และให้ยอมรับว่า ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดทั้งเกาะต่าง ๆ เป็นของฝรั่งเศส ประการที่สำคัญ รัฐบาลฝรั่งเศสยังได้ยึดครองจังหวัดจันทบุรีไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนอีกด้วย

เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันท์เอาไว้ กระทั่งเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 รัฐบาลไทยจึงได้ทำสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกเมืองตราดและเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปถึงเกาะกูด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ฝ่ายฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากจังหวัดจันทบุรี จนต่อมาภายหลัง ฝรั่งเศสยินยอม และเข้าปกครองดินแดนตราดและเกาะกง ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2447 เป็นต้นมา

แต่แล้วเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ไทยก็ได้ทำสัญญากับฝรั่งเศสอีกครั้ง โดยยอมยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราดคืนมา โดยเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ฝรั่งเศสได้ทำพิธีมอบเมืองตราดอย่างเป็นทางการให้กับประเทศไทยตามเดิม รวมเวลาที่จังหวัดตราดตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน 7 วัน

ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ จนในที่สุด ฝรั่งเศสยอมทำสัญญายกเมืองตราดคืนให้แก่ประเทศไทย จึงตั้งให้วันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี เป็น ‘วันตราดรำลึก’ ทั้งนี้เพื่อน้อมถวาย และระลึกถึงวันสู่อิสรภาพของเมืองสำคัญแห่งนี้


ที่มา: http://www.trat.go.th/trat100/trat_100/trat50.htm, http://oknation.nationtv.tv/blog/buraphadialysis/2008/07/19/entry-1

วันนี้เมื่อราว 71 ปีก่อน เป็นวันที่ประชาชนชาวไทยต่างรอคอย เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัตประเทศไทย พร้อมด้วยพระคู่หมั้น ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร (พระนาม ณ ขณะนั้น) โดยเสด็จพระราชดำเนินจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาสู่พระนคร

โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตลอดระยะเวลานั้น ทรงเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2488 พร้อมกับพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 หลังการสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ในสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประกอบพิธีหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ณ โรงแรมวินเซอร์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

กระทั่งในปี พ.ศ. 2493 จึงเสด็จนิวัตประเทศไทยอีกครั้ง ร่วมกับ ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น โดยการเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยพระคู่หมั้น เสด็จออกจากพระตำหนักวิลล่าวัฒนา ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังท่าเรือวิลล์ฟรังซ์ ประเทศฝรั่งเศส เพื่อประทับเรือเดินสมุทรซีแลนเดีย ออกจากฝรั่งเศส ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนลัดคลองสุเอซ สู่มหาสมุทรอินเดีย จนมาถึงสิงคโปร์

เมื่อเรือซีแลนเดียเทียบท่าที่ท่าเรือเกาะสีชัง จึงเปลี่ยนเรือพระที่นั่งเป็นเรือรบหลวงรัตนโกสินทร์ เพื่อเสด็จฯ มายังป้อมพระจุลจอมเกล้า แล้วประทับเรือหลวงศรีอยุธยา เทียบที่ท่าราชวรดิฐ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย กรุงเทพมหานคร

การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งนั้น ทรงมีพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับ ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร จากนั้นในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามลำดับ


ที่มา:

https://www.hii.or.th/wiki84/

https://www.blockdit.com/posts/5ea770bcb0cefd12268089e7

http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/TheNationalArchives/index.php/exhibitions-narama9/34-building3/floor2.html

หนึ่งในหน่วยงานที่ดำเนินการคู่กับกระบวนการทางกฎหมาย นั่นคือ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งในวันนี้ ถือเป็นวันสำคัญทางกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันก่อตั้ง กระทรวงยุติธรรม ที่มีอายุมากว่า 130 ปี

กระทรวงยุติธรรมของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยการสถาปนากระทรวงยุติธรรมขึ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นงานปฏิรูปกฎหมายชิ้นแรกของยุคสมัยก็ว่าได้ ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง

แต่เดิมมีการใช้ชื่อว่า กระทรวงยุตติธรรม และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 โดยในระยะแรกเริ่ม ในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ว่าจ้างเนติบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายการต่างประเทศ เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา ได้แก่ นายกุสตาฟ โรแลง แยกแมงส์ ชาวเบลเยี่ยม ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยราชา สยามนุกูลกิจ

เมื่อเวลาผ่านไป กระทรวงยุติธรรม ในปัจจุบัน ถูกพัฒนาเป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง ประเภทกระทรวงของไทย มีภารกิจเป็นหน่วยงานหลักของกระบวนการยุติธรรม ในการดำเนินการเพื่อพัฒนากฎหมาย และระบบบริหารจัดการของกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นเอกภาพ โปร่งใส คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ช่วยเหลือและให้ความรู้แก่ประชาชนทางกฎหมาย ป้องกัน ปราบปราม แก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคมและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การบังคับคดีแพ่ง บังคับคดีล้มละลาย บังคับคดีทางอาญา รวมทั้งบำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด

จากวันแรกจนมาสู่วันนี้ เป็นเวลากว่า 130 ปี ที่กระทรวงยุติธรรมดำเนินการด้วยหลักแห่งความเที่ยงธรรมตลอดมา ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีความสำคัญ และรักษาความเสมอภาคให้กับประชาชนทุกคนในประเทศ


ที่มา:

https://www.lib.ru.ac.th/journal/oct/oct23_ck_index_6.html

https://th.wikipedia.org/wiki/กระทรวงยุติธรรม

ย้อนกลับไปราว 105 ปี วันนี้ถือเป็นวันสถาปนา ‘จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน ‘โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ขึ้นเป็น ‘จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก ‘โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน’ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 โดยมี ‘พระเกี้ยว’ เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามของโรงเรียน ไปเป็น ‘โรงเรียนมหาดเล็ก’ เพื่อใช้เป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาขั้นสูง

จวบจนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ใหม่ว่า ‘โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’

และในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย พร้อมพระราชทานนามว่า ‘จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ จึงถือเป็นวันสถาปนาของมหาวิทยาลัย นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยมีคณะวิชาที่เปิดสอน 19 คณะ ครอบคลุมสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัย สำนักวิชา รวมทั้งบัณฑิตวิทยาลัย ที่แตกแยกย่อยออกไปอีกมากมาย โดยมีหลักสูตรทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติรวมกว่า 506 หลักสูตร

ตลอดระยะเวลากว่า 105 ปี ที่มหาวิทยาลัยได้ถูกสร้างสรรค์พัฒนา จนเรียกได้ว่า เป็นสถาบันการศึกษาสำคัญแห่งหนึ่งของชาติ และจะดำรงคุณภาพ เพื่อยกระดับความรู้ให้กับประชาชนของชาติสืบไป


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอ่ยชื่อ ‘สนามบินดอนเมือง’ สำหรับคนไทยถือเป็นชื่ออันคุ้นเคย ซึ่งวันนี้เมื่อ 107 ปีก่อน เป็นวันที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้เปิดดำเนินการเป็นครั้งแรก

ท่าอากาศยานดอนเมือง หรือ สนามบินดอนเมือง ในความคุ้นเคยของคนไทย เป็นท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือราว 24 กิโลเมตร โดยก่อนหน้าที่จะมีสนามบินแห่งนี้ แต่เดิมเคยมีสนามบินแห่งแรกของประเทศ นั่นคือ สนามบินสระปทุม

แต่เนื่องด้วยมีพื้นที่จำกัด และมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสม ทางราชการจึงได้คิดหาสถานที่ใหม่ที่มีบริเวณกว้างขวาง และจากการบินสำรวจทางอากาศ จึงได้พบเห็นผืนนาที่อยู่ทางตอนเหนือของอำเภอบางเขน ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม

ต่อมา กรมเกียกกายทหารบกได้เริ่มดำเนินการปรับพื้นที่ให้เป็นสนามหญ้า ที่เครื่องบินสามารถวิ่งและบินขึ้น-ลงได้ พร้อมทั้งสร้างโรงเก็บเครื่องบิน และอาคารสถานที่ทำการตามความจำเป็น การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 กรมเกียกกายทหารบกจึงส่งมอบให้กรมจเรการช่างทหารบกรับช่วงดูแลต่อ และเรียกชื่อสนามบินนี้ว่า ‘สนามบินดอนเมือง’

กระทั่งวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2457 กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งตั้งกองบินทหารบกขึ้น และย้ายเข้าที่ตั้งถาวรที่สนามบินดอนเมือง จึงนับเป็นวันเปิดดำเนินการ และเป็นการเริ่มต้นกิจการการบินของเมืองไทยอย่างเป็นรูปธรรม ต่อมาภายหลัง กองทัพอากาศก็ได้ถือเอาวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกของกองทัพอากาศด้วยเช่นกัน

ท่าอากาศยานดอนเมือง เคยปิดตัวลงเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549 พร้อมกับการเปิดใช้งานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยถูกปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ แต่ต่อมาก็กลับมาเปิดทำการใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2550 กระทั่งปัจจุบัน สนามบินดอนเมืองได้ชื่อว่า เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 2 ของประเทศ เปิดรับเที่ยวบินจากต่างประเทศกว่า 16 ประเทศ และเที่ยวบินภายในประเทศอีกมากมาย

.

ที่มา:

https://th.wikipedia.org/wiki/ท่าอากาศยานดอนเมือง

https://www.trueplookpanya.com/blog/content/51392/-timhis-tim-


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top