Thursday, 4 July 2024
Lite

วันนี้เป็นวันคล้ายวันประสูติของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ หรือที่คนไทยรู้จักกันในพระนาม ‘พระองค์จุล’ เจ้านายชั้นสูงที่ทรงมีเชื้อสายชาวต่างชาติ เป็นพระองค์แรกในพระบรมราชวงศ์จักรี

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 กับ หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก ชายาชาวรัสเซีย

เมื่อยังทรงพระเยาว์ ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ระดับประถม) จนพระชันษาครบ 13 ปี ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ จากนั้นทรงศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่วิทยาลัยตรินิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้านประวัติศาสตร์ และทรงได้รับปริญญาตรี เมื่อปี พ.ศ. 2473 และปริญญาโท ในปี พ.ศ. 2477

เมื่อสำเร็จการศึกษา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงเข้ารับราชการเป็นนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ในกรุงลอนดอน ต่อมา ทรงค้นพบว่า มีความสนพระทัยในงานประพันธ์และประวัติศาสตร์ จึงทรงพระนิพนธ์หนังสือ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 13 เล่ม โดยเล่มที่ยังถูกกล่าวถึงมาจนปัจจุบัน ได้แก่ เกิดวังปารุสก์, เจ้าชีวิต, ดาราทอง และไทยชนะ

ตลอดพระชนม์ชีพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงประกอบกิจต่าง ๆ มากมาย โดยทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายพระองค์ ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ อาทิ ทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 พระเจ้าแผ่นดินเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2477 ทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ในงานพระบรมศพพระเจ้าจอร์จที่ 5 และงานพระบรมราชาภิเษก พระเจ้าจอร์จที่ 6 รวมถึงทรงเป็นผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในงานพระบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

นอกจากนี้ ยังทรงมีกิจด้านการศุลมากมาย ตลอดจนบริจาคทรัพย์เพื่อการกุศล โดยเฉพาะในโรงพยาบาลต่าง ๆ เนื่องจากทรงเล็งเห็นในความสำคัญของงานสาธารณสุข กระทั่งช่วงท้ายพระชนมชีพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงประชวรเป็นเนื้องอกที่หลอดอาหารส่วนบน โดยพำนักรักษาพระองค์อยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อนที่ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2506 จะทรงสิ้นพระชนม์อย่างสงบ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงเป็นเจ้านายชั้นสูงที่ทรงประกอบกิจเพื่อแผ่นดิน ตลอดจนมีผลงานทรงพระนิพนธ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษามากมาย ควรค่าแก่การยกย่องเป็นอย่างสูง


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าวรวงศ์เธอ_พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

วันนี้เมื่อ 71 ปีก่อน เป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

เมื่อทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระราชชนกและสมเด็จพระราชชนนีไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งประเทศฝรั่งเศส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระราชชนกทรงเข้าทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐฯ ในระหว่างปี พ.ศ. 2469 - 2471 แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา ในระหว่างนั้นสมเด็จพระราชชนกทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ พระองค์จึงอยู่ในความดูแลของสมเด็จพระราชชนนีเพียงพระองค์เดียว

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ขณะที่มีพระชนมพรรษา 9 พรรษา และยังทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จนิวัตพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 โดยระหว่างเวลานั้น ทรงตั้งพระทัยจะทรงศึกษาปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนเรียบร้อยแล้ว จึงจะเสด็จนิวัตพระนครเป็นการถาวร และจะทรงรับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง แต่ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์ได้เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

หลังจากเสด็จสวรรคต ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และจัดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล_พระอัฐมรามาธิบดินทร

‘1 ปี 7 แบรนด์’ รวบรวมการแบนของกลุ่มราษฎรจากปีก่อนจนถึงปีนี้ มีอะไรบ้าง?

กลายเป็นกระแสให้พูดถึง สำหรับเรื่องราวการประกาศ ‘แบน’ ร้านอาหารของ ส.ส. อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล แห่งพรรคก้าวไกล ที่ออกมาประกาศ ไม่สนับสนุนให้ใช้บริการร้านอาหารสุกี้แบรนด์ MK และร้านอาหารญี่ปุ่นในเครืออย่าง Yayoi เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนหลักให้กับสถานีข่าวดังช่องหนึ่ง

ปรากฎว่า เกิดกระแสตีกลับ เพราะมีลูกค้าไปต่อคิวเข้าร้านสุกี้ดังกล่าวกันเนืองแน่น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใด เอาเป็นว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของปฏิบัติการ ‘แบน’ เนื่องจากที่ผ่านมา เคยมีการแบนสินค้า ร้านค้า สถานที่ และบุคคล กันมาแล้วหลายครั้ง จากปีก่อนถึงปีนี้ มีอะไรกันบ้าง เรารวบรวมมาให้ดูกัน

23 ส.ค. 64 กลุ่มประชาชนปลดแอก สร้างกระแสแฮชแท็ก ‘แบนเนชั่น’ และ ‘แบนสปอนเซอร์เนชั่น’ เนื่องจากไม่พอใจการนำเสนอข่าวการชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอกของเนชั่นทีวี จนเป็นที่มาของการให้แนวร่วมเลิกดูสถานีข่าวของช่องดังกล่าว

24 ส.ค. 64 ในเวลาไล่เรี่ยกัน มีกระแสการแบนพิธีกรคนดัง ม้า-อรนภา กฎษฎี เนื่องจากเจ้าตัวออกมาโพสต์ตำหนิผู้ที่ออกมาชุมนุมด้วยประโยคที่รุนแรง เป็นที่มาของกระแสการแบน ไม่ดูในทุกรายการที่พิธีกรคนดังทำหน้าที่อยู่ ต่อมา ม้า-อรนภา จึงประกาศขอหยุดทำหน้าที่พิธีกรรายการเสียเอง หลังจากนั้น เจ้าตัวและครอบครัวก็ผลิตห่อหมกออกมาขาย ปรากฎว่า ขายดีสวนกระแสมากๆ

31 ส.ค. 63 สืบเนื่องจากการแบนช่องเนชั่นทีวี เป็นที่มาของการเข้าไปสนับสนุนโฆษณาช่องของ รพ.มงกุฎวัฒนะ ที่นำโดย พล.ต.นพ. เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ไม่นานนัก กระแส ‘แบน รพ.มงกุฎวัฒนะ’ จึงเกิดขึ้น ทว่าภายหลังหมอเหรียญทอง-เจ้าของรพ. ก็ได้ออกมาประกาศว่า ต้องขยายเวลาตรวจผู้ป่วยนอกออกไป เนื่องจากมีผู้มาใช้บริการที่รพ. เพิ่มเป็นจำนวนมาก

18 พ.ย. 63 คราวนี้มาถึงคิวของสถานีโทรทัศน์อัมรินทร์ทีวี หลังจากที่รายการทุบโต๊ะข่าว รายงานข่าวการปะทะกันของม็อบราษฎรปะทะมวลชนเสื้อเหลือง จากการชุมนุมที่แยกเกียกกาย เป็นที่มาของกระแสความไม่พอใจ จนเกิดแฮชแท็ก ‘แบนช่องอัมรินทร์ทีวี’ ขึ้นมาอีกครั้ง

13 ม.ค. 64 ไมค์ ระยอง หรือ ภาณุพงศ์ จาดนอก หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎร ได้ออกมาโพสต์พาดพิงถึงมูลนิธิโครงการหลวง จนนำไปสูการไม่สนับสนุนสินค้ามูลนิธิของโครงการ ภายใต้แบรนด์ ‘ดอยคำ’ แต่ปรากฎว่า กระแสตีกลับอีกครั้ง ยอดขายของสินค้าดอยคำกลับขายดีขึ้นเป็นอย่างมาก

7 มี.ค. 64 เกิดกรณีแบรนด์เฟรนช์ฟรายส์ โปเตโต้ คอร์เนอร์ ทำโฆษณาสินค้า คล้ายว่าจะล้อเลียนการถูกจับกุมตัวของ โตโต้-ปิยรัฐ จงเทพ การ์ดของกลุ่ม WEVO จึงเป็นที่มาของแฮชแท็ก #แบนโปเตโต้คอร์เนอร์ พร้อมทั้งมีกลุ่มผู้สนับสนุน ได้ถ่ายคลิปการเทสินค้าของโปเตโต้คอร์เนอร์ทิ้งที่หน้าร้าน แต่ต่อมา เหมือนฉายหนังซ้ำ มีผู้คนมาต่อคิวซื้อสินค้าโปเตโต้คอร์เนอร์กันเนืองแน่น

22 มี.ค. 64 ล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์ กับการโพสต์ของ ส.ส. อมรัตน์ แห่งพรรคก้าวไกล ที่เชิญชวนไม่ร่วมกันสนับสนุนใช้บริการร้านอาหารในเครือ MK เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนให้กับสถานีข่าวดังแห่งหนึ่ง แต่ผลปรากฎว่า ผู้คนมากินสุกี้เอ็มเคกันแน่นกว่าเดิม เหมือนช่วยประชาสัมพันธ์ร้านกันเลยทีเดียว

ไม่รู้เข้าตำรา ยิ่งแบน ยิ่งขายดี หรืออย่างไร แต่เอาเป็นว่า ไม่ว่าจะซื้อ จะกิน จะใช้บริการสินค้าใด ๆ โปรดใช้วิจารณญาณของท่านเอง ว่าจะซื้อ หรือไม่ซื้อ ด้วยเหตุผลที่เพียงพอ เพราะทั้งหมดทั้งมวล เงินที่ซื้อนั้น มันเงินในกระเป๋าท่านนั่นเอง

States TOON ep.6

ประโยคต้องห้าม

พูดปุ๊บ แน่นปั๊บ!  > <’

พีค of the week EP.12

แบน! แบน! แบน! สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวการแบนร้านอาหารชื่อดัง งานนี้กลายเป็น Talk of the town ให้พูดถึง ทั้งในโลกออฟไลน์ ออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีคดีดัง ๆ ที่ศาลต้องฟันฉับลงมา ทั้งการหยุดปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. หญิงคนดัง และการสั่งจำคุกของร็อกเกอร์เบอร์ใหญ่ของประเทศ

แต่ที่ดูจะร้อนแรงและดราม่ากันทั้งสัปดาห์ ต้องยกให้ ดราม่าศิลปะคณะวิจิตรศิลป์ มช. กลายเป็นที่โจษจัน แบ่งมุมมองกันไป บ้างว่าเป็นงานศิลปะ บ้างว่าเป็นงานขยะ เวลานี้ พี่น้องชาวไทยคงต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมกันให้เยอะ ๆ อากาศก็ร้อน โปรดใจเย็น ๆ กันนะคร้าบ! ว่าแล้วก็ไปเก็บตกกับข่าวมันส์ ๆ ใน พีค of the week EP.12 กันได้เลย Let’s go go go!

.


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

วันนี้มีความสำคัญทางการแพทย์ และกับประชาชนทั่วไป เนื่องจากถูกยกให้เป็น ‘วันไบโพลาร์โลก’ โรคที่ผู้คนในยุคสมัยใหม่หลายราย กำลังประสบอยู่ ซึ่งนับวันจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น วันนี้จึงมีความสำคัญ เพื่อให้ผู้คนได้ตื่นรู้กับอาการผิดปกติทางอารมณ์

‘ไบโพลาร์’ จัดว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง เรียกอีกอย่างว่า ‘โรคอารมณ์สองขั้ว’ เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีการแสดงออกของความผิดปกติทางอารมณ์ กล่าวคือ ประเดี๋ยวมีอารมณ์พลุ่งพล่าน ประเดี๋ยวมีอารมณ์ซึมเศร้า เรียกว่ามีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว

มีตัวเลขรายงานผู้ป่วยในประเทศไทย นับจากปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา พบว่า มีผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ มีจำนวนที่สูงขึ้นทุกปี โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 พบมากถึงกว่า 9,000 ราย ทั้งนี้พบในเพศหญิงและชายในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน

สาเหตุสำคัญของการเกิดอาการของโรค คือ มีสารเคมีในสมองที่ผิดปกติไป จนเกิดการควบคุมอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้ และมีอาการแปรผันทางอารมณ์อย่างสุดขั้ว

อันตรายจากการเกิดโรคไบโพลาร์ อาจนำซึ่งภาวะการฆ่าตัวตายได้ ดังนั้น จึงควรดูแลผู้ที่กำลังป่วยด้วยอาการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด มากไปกว่านั้น คือการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะร้ายแรงนี้ โดยเฉพาะในยุคที่เต็มไปด้วยข่าวสาร การแข่งขัน ความรวดเร็ว ควรใช้ชีวิตให้ผ่อนคลาย เดินทางสายกลาง ไม่มากไป ไม่น้อยไป ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ พยายามหาวิธีแก้ปัญหาให้กับตัวเอง ลดความเครียดที่มีอยู่

สำหรับวันนี้ที่เป็นวันไบโพลาร์โลก คงไม่มีใครอยากมีปัญหาทางสุขภาพจิต แต่ชีวิตของแต่ละคนก็พบเจอกับปัญหาไม่เหมือนกัน สิ่งที่ทำได้ คือความเชื่อมั่นในตนเอง และรู้จักปล่อยวางกับปัญหา คิดเสียว่า ไม่มีปัญหาใดที่จะอยู่กับเราไปตลอด เริ่มต้นฝึกวิธีคิดเสียตั้งแต่วันนี้ เมื่อจิตใจดี ชีวิตก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอน

.

ที่มา: คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการและดูแลโรคอารมณ์สองขั้ว โรงพยาบาลศรีธัญญา, https://th.rajanukul.go.th/preview-3181.html


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

ทุกวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี ถูกยกให้เป็น ‘วันมหาเจษฎาบดินทร์’ หรือวันคล้ายวันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทรฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม หรือตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาลัย

แต่เดิมพระองค์มีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้า พระนามว่า หม่อมเจ้าชายทับ กระทั่งเมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

ต่อมา เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านความมั่นคง การศึกษา โดยในยุคสมัยของพระองค์ มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก รวมทั้งมีหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของประเทศ โดยหมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์รายปักษ์ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) นอกจากนี้ยังมีหนังสือบทกลอนที่ชื่อ นิราศลอนดอน ที่ถูกตีพิมพ์ขายเป็นครั้งแรกอีกด้วย

ในด้านกิจการค้า ที่ถือว่าเป็นยุคทองของประเทศ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนการค้าขาย ทั้งกับกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การค้ากับชาวจีน โดยมีการแต่งสำเภาทั้งของข้าราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีน ไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมทั้งเปิดการค้ากับมหาอำนาจตะวันตก ส่งผลให้พระคลังสินค้าตลอดรัชสมัยของพระองค์ มีรายได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงทำเพื่อประเทศชาติ ในเวลาต่อมา คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น ‘วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า’ หรือ ‘วันเจษฎาบดินทร์’ ซึ่งถือเป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ พระราชสมัญญาว่า ‘พระมหาเจษฎาราชเจ้า’ มีความหมายว่า ‘พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่’


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้เมื่อ 40 ปีก่อน มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นการพยายามก่อการรัฐประหาร รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ก่อการเป็นนายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7

หรือมีชื่อเรียกรุ่นว่า ‘ยังเติร์ก’ จนเป็นที่มาของชื่อการก่อการในครั้งนี้ว่า ‘กบฏยังเติร์ก’

‘กบฏยังเติร์ก’ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ‘กบฏเมษาฮาวาย’ เป็นการก่อรัฐประหารระหว่างวันที่ 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2524 โดยผู้ก่อการเป็นนายทหาร จปร. รุ่น 7 ได้แก่ พันเอก มนูญกฤต รูปขจร, พันเอก ชูพงศ์ มัทวพันธุ์, พันเอก ประจักษ์ สว่างจิตร, พันโท พัลลภ ปิ่นมณี, พันเอก ชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล, พันเอก แสงศักดิ์ มงคละสิริ, พันเอก บวร งามเกษม, พันเอก สาคร กิจวิริยะ โดยมีพลเอก สัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ

โดยสาเหตุของการก่อกบฏครั้งนี้ เกิดจากความไม่พอใจของพลเอกสัณห์ ที่มีต่อพลเอกเปรม นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น เนื่องจากทางกองทัพบกมีการต่ออายุราชการให้กับพลเอกเปรม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก ออกไปอีก 1 ปี ทำให้พลเอกสัณห์ในฐานะรองผู้บัญชาการทหารบก หมดสิทธิ์ที่จะขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก จึงได้รวบรวมนายทหารสาย จปร.7 ก่อการรัฐประหาร

ทางฝ่ายรัฐบาล นำโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ตั้งกองบัญชาการขึ้นมาตอบโต้ และใช้อำนาจปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร พร้อมส่งเครื่องบินเอฟ-5 อี ออกบินสังเกตการณ์ จนในที่สุดก็เคลื่อนกำลังพลเข้าปะทะกัน การกบฏยุติลงอย่างรวดเร็วในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524 เมื่อฝ่ายก่อการเข้ามอบตัวกับทางรัฐบาลรวม 155 คน นับเวลาของการทำรัฐประการครั้งนี้รวมแล้วทั้งสิน 55 ชั่วโมง

‘กบฏยังเติร์ก’ ถือเป็นการก่อการรัฐประหารที่มีจำนวนกำลังทหารเข้าร่วมมากถึง 42 กองพัน มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาภายหลัง แกนนำฝ่ายก่อการได้หลบหนีออกนอกประเทศ จนเมื่อเวลาผ่านไป นายทหารผู้ร่วมก่อการหลายคนก็ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ รวมทั้งมีหลายคนที่นำธูปเทียนไปขอขมาพลเอกเปรม ณ บ้านสี่เสาเทเวศน์ ซึ่งเป็นบ้านพักของนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา

.

ที่มา:

https://th.wikipedia.org/wiki/กบฏยังเติร์ก,

https://www.thairath.co.th/news/politic/1501676


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีพระชันษาครบ 66 ปี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ทรงเริ่มการศึกษาที่โรงเรียนจิตรลดา ก่อนจะทรงเข้าศึกษาต่อในระดับอุมดมศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาทรงสำเร็จการศึกษาและได้รับปริญญามหาบัณฑิตจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2529

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอักษรศาสตร์และดนตรีไทย พระองค์ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม และให้การอุปถัมภ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ จนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า ‘เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย’ และ ‘วิศิษฏศิลปิน’ ซึ่งต่อมา คณะรัฐมนตรียังมีมติให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็น ‘วันอนุรักษ์มรดกของชาติ’ เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยทรงมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายหลากโครงการ อาทิ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2523 ที่โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน ในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ก่อนจะขยายออกไปยัง 44 จังหวัดในพื้นที่ทุรกันดาร

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันเปี่ยมล้น ในวาระวันคล้ายวันพระราชสมภพ ประชาชนชาวไทยจึงขอน้อมถวายพระพร ขอทรงมีพลานามัยแข็งแรงยิ่งยืนนาน ทรงพระเจริญ


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า_กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ_สยามบรมราชกุมารี

เราได้ยินชื่อ ‘โรงเรียนเสนาธิการทหารบก’ กันมายาวนาน แต่รู้หรือไม่ว่า วันนี้เมื่อ 112 ปีก่อน เป็นวันแรกที่มีการก่อตั้งสถานที่แห่งนี้ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ คือผู้ที่ทรงเล็งเห็นการพัฒนาทางการทหารของประเทศ

เมื่อครั้งที่ จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเข้ารับตำแหน่งเสนาธิการทหารบก (ระหว่างปี พ.ศ. 2449 - 2452) ได้ทรงริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ทั้งนี้เพื่อให้การศึกษาแก่นายทหาร ที่จะทำหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการ โดยทรงเป็นผู้จัดการวางแนวทางหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนเสนาธิการ ตลอดจนการคัดเลือกนายทหารที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ให้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ในยุคแรกเริ่มนั้น นอกจากการวางรากฐานสำคัญให้กับโรงเรียนเสนาธิการทหารบก สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ ยังทรงเรียบเรียงตำรา เรื่อง ‘พงศาวดารยุทธศิลปะ’ และเอกสารอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นตำราศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกในช่วงเริ่มต้น ซึ่งตำราเหล่านี้ ถือเป็นแนวทางในการพัฒนาของโรงเรียนเสนาธิการทหารบกตราบถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เปิดให้การสอนด้านยุทธวิธีทางการทหาร ให้กับเหล่านายทหารระดับมันสมองของกองทัพ โดยยังมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้ามารับการศึกษา รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย และเปิดรองรับหลักสูตรมากมาย ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของโรงเรียนที่ว่า เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้หลักของกองทัพบก ที่เปี่ยมด้วยความรอบรู้ทางทหาร มีลักษณะผู้นำ มีจริยธรรม และมีวิสัยทัศน์


ที่มา:

http://www.cgsc.ac.th/,

https://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนเสนาธิการทหารบก,

https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเชษฐาธิราช_เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ_กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top