Monday, 19 May 2025
GoodVoice

'รองนายกฯ ประเสริฐ' เผยผลสำเร็จ เข้าร่วมการประชุม WEF 2025 เดินหน้าเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัลไทย

(24 ม.ค.68) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) 2025 ร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะ ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2568 ว่า การประชุม WEF 2025 ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีม 'Collaboration for the Intelligent Age' ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพผ่านการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศในยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้นำทางการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ และผู้มีวิสัยทัศน์จากทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหารือแนวทางการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ในช่วงวันที่ 21 – 22 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Abdullah AlSwaha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ บริษัท Cisco Systems, AstraZeneca, Salesforce, META, Google และ AWS รวมทั้งได้มีการหารือกับ World Bank’s Global Director for Water ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

สำหรับประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีกับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ (1) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายมิติ , (2) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย , (3) การยกระดับทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ , (4) ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ , (5) การพัฒนาระบบไอทีของหน่วยงานภาครัฐผ่านนโยบาย Cloud First Policy , (6) การส่งเสริมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล , (7) การส่งเสริม digital literacy ของหน่วยงานรัฐและของประชาชน , (8) การพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs ไทย รวมถึงการสนับสนุน digital startups ให้เข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ , (9) การส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ของไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต , (10) การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล , (11) การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล , (12) แนวทางการทำงานเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ และ (13) มาตรฐานชุมชนและเครื่องมือความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์ม

ขณะที่ในวันที่ 23 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ Meeting of the Jobs Champion ซึ่งเป็นการประชุมเสวนาผู้นำ (Leaders Dialogue Meeting) ที่มีผู้บริหารระดับสูงจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้นำระดับสูงจาก'รองนายกฯ ประเสริฐ' เผยผลสำเร็จ เข้าร่วมการประชุม WEF 2025 เดินหน้าเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัลไทย

วันที่ 24 มกราคม 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) 2025 ร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะ ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2568 ว่า การประชุม WEF 2025 ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีม 'Collaboration for the Intelligent Age' ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพผ่านการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศในยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้นำทางการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ และผู้มีวิสัยทัศน์จากทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหารือแนวทางการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ในช่วงวันที่ 21 – 22 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Abdullah AlSwaha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ บริษัท Cisco Systems, AstraZeneca, Salesforce, META, Google และ AWS รวมทั้งได้มีการหารือกับ World Bank’s Global Director for Water ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

สำหรับประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีกับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ (1) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายมิติ , (2) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย , (3) การยกระดับทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ , (4) ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ , (5) การพัฒนาระบบไอทีของหน่วยงานภาครัฐผ่านนโยบาย Cloud First Policy , (6) การส่งเสริมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล , (7) การส่งเสริม digital literacy ของหน่วยงานรัฐและของประชาชน , (8) การพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs ไทย รวมถึงการสนับสนุน digital startups ให้เข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ , (9) การส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ของไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต , (10) การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล , (11) การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล , (12) แนวทางการทำงานเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ และ (13) มาตรฐานชุมชนและเครื่องมือความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์ม

ขณะที่ในวันที่ 23 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ Meeting of the Jobs Champion ซึ่งเป็นการประชุมเสวนาผู้นำ (Leaders Dialogue Meeting) ที่มีผู้บริหารระดับสูงจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้นำระดับสูงจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมหารือประเด็นระดับโลกที่สำคัญ โดยมีการรายงานผลการวิจัยใหม่เรื่อง 'อนาคตของงาน' ที่กล่าวถึงผลกระทบของ AI ต่องานและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อทุกคน

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมสำคัญ 'Thailand Reception' ซึ่งเป็นงานเลี้ยงต้อนรับอาหารกลางวัน ระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ และนายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยมีการนำเสนออาหารไทยและการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และการต้อนรับอันอบอุ่นของประเทศไทย ในธีม Nourishing the Future for ALL เน้นเรื่องอาหารและศักยภาพของประเทศไทย โดยนำเสนอวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านอาหารไทย เพื่อส่งเสริม Soft Power และศักยภาพของประเทศไทยในฐานะ 'ครัวของโลก'

“สำหรับในวันที่ 24 มกราคม 2568 ผมจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA และการเสวนาของนายกรัฐมนตรี ในหัวข้อ 'Not Losing Sight of Soft Power' ที่จะกล่าวถึงการสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมสมัยนิยม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับการกระตุ้นโดยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ Country Strategy Dialogue on Thailand โดยท่านนายกจะกล่าวถึงจุดแข็งของประเทศไทยโดยรวม ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การใช้เทคโนโลยีด้านเกษตร และการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” นายประเสริฐ กล่าว

ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมหารือประเด็นระดับโลกที่สำคัญ โดยมีการรายงานผลการวิจัยใหม่เรื่อง 'อนาคตของงาน' ที่กล่าวถึงผลกระทบของ AI ต่องานและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อทุกคน

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมสำคัญ 'Thailand Reception' ซึ่งเป็นงานเลี้ยงต้อนรับอาหารกลางวัน ระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ และนายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยมีการนำเสนออาหารไทยและการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และการต้อนรับอันอบอุ่นของประเทศไทย ในธีม Nourishing the Future for ALL เน้นเรื่องอาหารและศักยภาพของประเทศไทย โดยนำเสนอวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านอาหารไทย เพื่อส่งเสริม Soft Power และศักยภาพของประเทศไทยในฐานะ “ครัวของโลก” 

“สำหรับในวันที่ 24 มกราคม 2568 ผมจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA และการเสวนาของนายกรัฐมนตรี ในหัวข้อ 'Not Losing Sight of Soft Power' ที่จะกล่าวถึงการสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมสมัยนิยม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับการกระตุ้นโดยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ Country Strategy Dialogue on Thailand โดยท่านนายกจะกล่าวถึงจุดแข็งของประเทศไทยโดยรวม ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การใช้เทคโนโลยีด้านเกษตร และการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” นายประเสริฐ กล่าว

รู้เรื่อง...ค่าไฟฟ้า (1) : ความเป็นมาของกิจการพลังงานไฟฟ้า รู้จัก!! หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ‘ค่าไฟฟ้า’

(26 ม.ค. 68) การดำรงชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน นอกจากปัจจัย 4 อันได้แก่  อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคแล้ว ยังมีปัจจัยที่กลายเป็นจำเป็นในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นมาอีกหลายสิ่งหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ในสภาวะที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM 2.5 เครื่องฟอกอากาศก็กลายเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็น เครื่องซักผ้า เตารีด หม้อหุงข้าว ปั้มน้ำ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า

ดังนั้น วิถีชีวิตของชาวโลกรวมถึงคนไทยในทุกวันนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว ต้องพึ่งพาอาศัยใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งสิ้น เมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าจึงมี ‘ค่าไฟฟ้า’ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่งต้องจ่ายตามมาเป็นประจำทุกเดือน แม้ว่า ‘ค่าไฟฟ้า’ จะเป็นรายจ่ายประจำทุกเดือน จะมากหรือน้อยก็เป็นไปตามปริมาณไฟฟ้าที่มีการใช้ แต่พี่น้องประชาชนคนไทยส่วนใหญ่อาจจะไม่เข้าใจถึงความเป็นมาและความเป็นไปของกิจการพลังงานไฟฟ้า อันประกอบด้วยหลายหน่วยงานมากองค์กร ซึ่งมีบทบาทหน้าที่และภารกิจที่แตกต่างกัน รวมถึงเรื่องราวรายละเอียดต่าง ๆ ของ ‘ค่าไฟฟ้า’ จึงขอนำมาบอกเล่าให้ผู้อ่าน The States Times ได้เข้าใจพอสังเขป 

ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2427 โดยไฟฟ้าดวงแรกส่องสว่างภายในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของในหลวงรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ต่อมา พ.ศ. 2441 มีก่อตั้งบริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัด โรงไฟฟ้าเอกชนแห่งแรกของไทย โดยโอนกิจการมาจากบริษัทบางกอก อิเลกตริกไลท์ ชิกดีแคท เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2441 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยาวนานจนกลายเป็น 3 หน่วยงานหลักที่บริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยคือ (1)การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ (2)การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีหน้าที่ในการจัดหาและจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน แต่ กฟน. จะรับผิดชอบในพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ และ กฟภ. จะดูแลในพื้นที่อื่น ๆ นอกเหนือจาก 3 จังหวัดนี้ โดย (3)การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะมีหน้าที่ผลิตและจัดซื้อพลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งต่อให้กับ กฟน. กฟภ. รวมถึงจำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้าน

ปัจจุบัน ประเทศไทยมี ‘โครงสร้างกิจการไฟฟ้า’ ในรูปแบบ ‘Enhanced Single Buyer Model (ESB)’ คือ “การที่รัฐเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน โดยผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนไม่สามารถขายไฟฟ้าตรงให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าได้ จุดแข็งของระบบโครงสร้างนี้คือ ทำให้รัฐมีอำนาจในการบริหารจัดการและควบคุมสั่งการได้อย่างเด็ดขาด 100% เพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา” ซึ่งเป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ปัจจุบัน กฟผ. เป็นผู้ผลิตไฟฟ้า ส่งไฟฟ้า และเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน ได้แก่ IPP (โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดมากกว่า 90 MW) และ SPP (โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดน้อยกว่า 90 MW) รวมถึงรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ

ในขณะที่ กฟน. และ กฟภ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP (โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดน้อยกว่า 10MW) โดย กฟผ.จะจำหน่ายไฟฟ้าผ่านระบบส่งไฟฟ้า (Transmission) ให้แก่ กฟน. และ กฟภ. เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าภายในพื้นที่รับผิดชอบของ กฟน. หรือ กฟภ. นอกจากนี้ กฟผ. ยังจำหน่ายไฟฟ้าบางส่วนโดยตรงให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่บางรายที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า (System Operator : SO) ทำหน้าที่ในการควบคุม บริหารและกำกับดูแลการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ทั้งของ กฟผ. IPP SPP และโรงไฟฟ้าที่มีสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ทำให้ระบบพลังงานมีความสมดุล มั่นคง มีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ ตามความในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 โดย กฟผ. เป็นผู้รับใบอนุญาตควบคุมระบบไฟฟ้า

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2533 รัฐบาลในขณะนั้นให้การส่งเสริมเอกชนได้เข้ามามีบทบาทในการผลิตไฟฟ้า เพื่อจะเป็นการเพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงานไฟฟ้า ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและผู้บริโภคมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอในราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังจะเป็นการลดภาระการลงทุนของรัฐและลดภาระหนี้สินของประเทศ ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กรณีของโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP ซึ่งใช้ระบบพลังงานความร้อนร่วม เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับบริการและคุณภาพไฟฟ้าที่ดีขึ้น สนับสนุนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากิจการด้านพลังงานของประเทศและช่วยพัฒนาตลาดทุน

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลมีนโยบายลดภาระการลงทุนภาครัฐ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า โดยมีมติ ครม.เห็นชอบเรื่องแนวทางในการดำเนินงานในอนาคตของ กฟผ. กำหนดขั้นตอนและแนวทางให้เอกชนมีบทบาทมากขึ้นในกิจการไฟฟ้าประเทศไทย ให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนในการผลิตไฟฟ้ารูปแบบของ IPP และจะต้องขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. และให้ออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก ซึ่งใช้พลังงานนอกรูปแบบ เป็นการแบ่งเบาภาระทางด้านการลงทุนของรัฐในระบบการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าด้วย โดย กฟผ. ได้ประกาศรับซื้อไฟจากเอกชนรายใหญ่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจะอยู่ภายใต้มติเห็นชอบของ ‘คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)’ มาจนถึงปัจจุบัน

โดย ‘คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ’ มีอำนาจหน้าที่ในการ (1) เสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี (2) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ (3) ติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุนและเร่งรัดการดำเนินการของคณะกรรมการทั้งหลายที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อให้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และ (4) ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ

โดยมี ‘คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)’ ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน อันหมายถึง กิจการไฟฟ้า กิจการก๊าซธรรมชาติ และกิจการระบบโครงข่ายพลังงาน โดยมีมีอำนาจหน้าที่ใน “การอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานการกำกับดูแลอัตราค่าบริการ การกำหนดมาตรฐานการ ให้บริการพลังงาน และมาตรฐานความปลอดภัยในการประกอบกิจการพลังงาน การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้พลังงาน รวมทั้งการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประกอบการให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการสำรวจหรือ เพื่อหาสถานที่ตั้ง ระบบโครงข่ายพลังงานการใช้อสังหาริมทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการสำรวจหรือเพื่อหาสถานที่ตั้ง ระบบโครงข่ายพลังงาน และการพิจารณาข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการพลังงาน” และทำหน้าที่ในการพิจารณากำหนด “อัตราค่าไฟฟ้า”

รู้เรื่อง...ค่าไฟฟ้า (2) : ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ รายละเอียดการเรียกเก็บและวิธีการคิดคำนวณ ‘ค่าไฟฟ้า’

(28 ม.ค. 68) บทความที่แล้ว (รู้เรื่อง...ค่าไฟฟ้า (1)) ได้เล่าถึงความเป็นมาของกิจการพลังงานไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานหลายหน่วยที่มีภารกิจและความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน บทความนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดของ ‘ค่าไฟฟ้า’ ทั้งประเภทต่าง ๆ รายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของการเรียกเก็บ และวิธีการคิดคำนวณ โดยประเทศไทยมีการคิดค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนประกอบด้วย 4 ส่วน คือ

1. ‘ค่าไฟฟ้าฐาน’ ค่าการใช้ไฟฟ้าจะคิดจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า โดยวิธีการคำนวณก็จะแบ่งตามประเภทผู้ใช้งานได้แก่ [1] บ้านอยู่อาศัย [2] กิจการขนาดเล็ก [3] กิจการขนาดกลาง [4] กิจการขนาดใหญ่ [5] กิจการเฉพาะอย่าง [6] องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร [7] กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร และ [8] ไฟฟ้าชั่วคราว (โดยอัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วยของแต่ละประเภทจะไม่เท่ากัน) วิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าฐาน คือ ค่าไฟฟ้าฐาน = จำนวนยูนิต x อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย 

2. ‘ค่าบริการ’ เป็นต้นทุนค่าบริการอ่านและจดหน่วยไฟฟ้า จัดทำและส่งบิลค่าไฟฟ้า ระบบรับชำระเงินและบริการลูกค้าของการไฟฟ้าฯ โดยมีความผันแปรไปตามหน่วยไฟฟ้าที่ใช้

3. ‘ค่า Ft’ (Float time) คือ คำที่เรียกสั้น ๆ ของสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่าไฟฟ้าผันแปร ซึ่งเป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า สูตร Ft มีการปรับปรุงสูตรหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาวะการณ์ของต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ณ ขณะนั้น ๆ ล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2548 ได้มีการปรับปรุงสูตร Ft โดยให้คงเหลือเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าเท่านั้น การปรับค่าไฟฟ้า Ft เดิมดำเนินการโดย กกพ. ซึ่งเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าและค่าบริการ ซึ่งต่อมา กพช. ได้ยกเลิกคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า และคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าและค่าบริการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นชอบค่าไฟฟ้า Ft ทั้งนี้ กกพ. ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงการปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ โดยค่า Ft มีการปรับปรุงทุก ๆ 4 เดือน

4. ‘ภาษีมูลค่าเพิ่ม’ นอกจากค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft แล้ว ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) รวมกับค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft ด้วย วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ค่าบริการ) x 7%

จะเห็นได้ว่า ‘ค่า Ft’ มีผลต่อราคาค่าไฟฟ้ามากที่สุด โดยค่า Ft มีองค์ประกอบ ดังนี้ (1) ค่าเชื้อเพลิงฐาน (Base Fuel Cost : BFC) คำนวณจากค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ (2) ประมาณการค่าเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าของ กฟผ. (3) ประมาณการค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนของ กฟผ. (4) ประมาณการค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ (Policy Expense : PE) (5) Fuel Adjustment Cost : FAC คำนวณจาก ส่วนต่างระหว่าง “ประมาณการค่าใช้จ่ายในด้านเชื้อเพลิงฯ” (Estimated Fuel Cost : EFC) (6) ยอดสะสมยกมาจากงวดที่ผ่านมา (Accumulate Factor : AF) คือ ส่วนต่างระหว่าง “ค่า Ft ที่เกิดขึ้นจริง”กับ“ค่า Ft เรียกเก็บ”สะสมของงวดที่ผ่านมา (7) Ft ขายปลีก สำหรับงวดปัจจุบันคำนวณจากผลรวมของ “FAC งวดปัจจุบัน” และ (8) Ft ขายส่งประกอบด้วย Ft ขายส่ง กฟน. และ Ft ขายส่ง กฟภ. 

ค่า Ft จะถูกคำนวณด้วยโครงสร้างสูตรคำนวณค่า Ft โดย {1} จำแนกเป็น Ft ขายปลีก และ Ft ขายส่ง {2} Ft ขายปลีก เป็น Ft ที่ กฟน. และ กฟภ. เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท และกฟผ. เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นลูกค้าตรงของ กฟผ. และอื่น ๆ {3} Ft ขายส่ง เป็น Ft ที่ กฟผ. เรียกเก็บจาก กฟน. และ กฟภ. {4} Ft จะคำนวณเป็นค่าเฉลี่ย 4 เดือนและปรับเปลี่ยนทุก ๆ 4 เดือน โดยเรียกเก็บในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า และแสดงในใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าเป็นประจำทุกเดือนเป็นรายการพิเศษ และ {5} Ft เป็นอัตราต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า และเป็นค่าที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และใช้ข้อมูลในการคำนวณจากองค์ประกอบตามข้อ (1) ถึง (8) 

สำหรับหลักการคำนวณค่า Ft จะใช้ <1> ค่า Ft ขายปลีก คำนวณจากค่าใช้จ่ายในด้านค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐในงวด 4 เดือนข้างหน้า (งวดปัจจุบัน) เทียบกับ ค่าใช้จ่ายที่ใช้คำนวณในค่าไฟฟ้าฐานรวมกับ ค่า Ft ที่เกิดขึ้นจริงต่างจากที่เรียกเก็บ สะสมในงวด 4 เดือนที่ผ่านมา (AF) หารด้วยประมาณการหน่วยขายปลีกในงวดปัจจุบัน และ <2> ค่า Ft ขายส่งให้ กฟน. และ กฟภ. Ft ขายส่งให้ กฟน. คำนวณจากค่า Ft ขายปลีกคูณประมาณการหน่วยขายปลีกที่ กฟน. ขายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในงวดปัจจุบัน หักด้วยส่วนต่างของประมาณการกับค่าฐานของค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐของ กฟน. หารด้วยประมาณการหน่วยขายส่งที่ กฟผ. ขายให้ กฟน. สำหรับ Ft ขายส่งให้ โดย กฟภ. ก็ใช้วิธีการคำนวณค่า Ft เช่นเดียวกันกับ กฟน. ตามมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เมื่อวันที 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ได้กำหนดค่า Ft ที่หน่วยละ 0.3672 บาท (36.72 สตางค์) ทั้งนี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า จะมีวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าอัตโนมัติในเว็บไซต์ทั้งของ กฟน. และ กฟภ.

ในตอนต่อไปจะได้บอกเล่าถึงเรื่องของ ‘ต้นทุน’ ใน ‘ค่าไฟฟ้า’ ว่าประกอบด้วยอะไร และ ‘ผู้ใช้ไฟฟ้า’ ต้องจ่ายเป็นค่าอะไรบ้างใน ‘ค่าไฟฟ้า’ แต่ละหน่วย

งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังไม่เป็นผล!! ประชาชนเริ่ม ส่ายหน้า เสื่อมศรัทธา รัฐบาล ไทยเดินหน้า ‘คาสิโน’ แต่ ‘เวียดนาม’ เตรียมเป็นผู้ผลิต ‘เซมิคอนดักเตอร์ชิป’ รายใหญ่

(2 ก.พ. 68) ผลการเลือกตั้ง นายก อบจ. 47 จังหวัด ประกาศครบถ้วนไปแล้ว พรรคการเมืองครอบครองพื้นที่ไหน คงมีหลายๆ สื่อนำเสนอไปแล้ว แต่คงพอให้เห็นความนิยมบางอย่าง ที่เปลี่ยนแปลงจากเวทีใหญ่

ภาพใหญ่จากความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่แจกเฟส 2 ก่อนสนามการเมืองระดับท้องถิ่น เหมือนจะสร้างความเชื่อมั่นไม่ได้มาก เพราะตั้งแต่แจกเงินเฟสแรก เศรษฐกิจไทย ก็ยังไม่กระเตื้องขึ้น แถมใช้เม็ดเงินงบประมาณเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากนับรวมเฟส 3 ที่จะแจกประชาชนทั่วไปอายุ 16-60 ปี ประมาณ 16 ล้านคน จะใช้งบประมาณราว 334,500 ล้านบาท มากกว่างบประมาณรวมจากหลายๆ โครงการ ที่อาจเป็นรูปธรรมมากกว่า 

บริษัทจากประเทศญี่ปุ่น เริ่มทยอยเพลี้ยงพล้ำ ถอนธุรกิจจากประเทศไทย ล่าสุด Z.Com ยุติให้บริการโบรกเกอร์ในไทย เริ่มปิดบัญชีลูกค้า 3 มีนาคม นี้  ทั้งค่ายรถยนต์ ที่เจอคู่แข่งรถไฟฟ้าสัญชาติจีน โรงงานผลิตชิ้นส่วนอีกหลายแห่ง ที่จำเป็นต้องซาโยนาระ (ลาก่อน) จากประเทศไทย

แถมมีข่าว 7-11 ญี่ปุ่น ทาบทาม 'เครือซีพี' ของไทย ร่วมลงทุนในดีลใหญ่ ซื้อหุ้นคืน 9 ล้านล้านเยน สู้ศึกเทกโอเวอร์จากกลุ่มแคนาดา ศักยภาพผู้นำเศรษฐกิจในไทยยังคงแข็งแกร่ง ส่วนผู้นำอุตสาหกรรมโลก เห็นภาพชัดว่าจีน แข็งแกร่งมากเพียงใด 

แต่รัฐบาลไทย กลับจะปั้นเศรษฐกิจประเทศด้วย “เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์” หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘คาสิโน’ แทนที่จะเร่งต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ที่ตอนนี้ กลายเป็น ‘เวียดนาม’ เตรียมขึ้นแท่นก้าวเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชิปรายใหญ่ของโลก

กำลังซื้อยังไม่ฟื้น ถึงจะแจกเงินดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ประชาชนยังคงมีรายได้จำกัด ยังตกงานอีกเป็นจำนวนมาก เลือกตั้งการเมืองท้องถิ่น อาจเป็นภาพเล็กๆ ที่สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชน เริ่มมีความไม่เชื่อมั่นทีมการเมืองจากพรรคแกนนำรัฐบาล

ฝุ่นพิษ PM 2.5 กรุงเทพ ก็ยังไม่ลด ผู้นำที่เคยขายภาพฝัน ‘ถ้าทำไม่ได้ ก็อย่าอาสามาเป็นผู้ว่า’ ยังแก้ไขอะไรไม่ได้ ปริมาณฝุ่นลดลง 2 วัน ฝ่ายรัฐบาลเคลมทันที ว่าเป็นเพราะนโยบายขึ้นรถไฟฟ้า-รถเมลล์ ฟรี โดยใช้งบประมาณ 140 ล้านบาท ทั้งที่เป็นเพราะมีลมมรสุมพัดเข้ามา แถมเตรียมของบประมาณเพิ่มเป็น 329 ล้านบาท ดันนโยบายต่อ!!  

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เร่งศึกษาตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน มูลค่า 3 แสนล้านบาท ซื้อคืนทรัพย์สินเดินรถของเอกชน ผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย สำหรับการลงทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์การเดินรถในส่วนที่เอกชนเป็นผู้ลงทุน ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปีนี้

เม็ดเงินที่จะใช้เพื่อตรึงราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า ก็น่าจะใช้งบประมาณอุดหนุนใส่กองทุนค่อนข้างมาก เอกชนหรือประชาชน จะสนใจการลงทุนนี้ไหม เพราะหากมีเพียงโครงการรถไฟฟ้า ภาพขาดทุนแทบจะชัดเจน เพราะกว่าที่จะเพิ่มยอดผู้โดยสารได้ถึงจุดคุ้มทุน ก็น่าจะอีกหลายปี 

แต่ละนโยบาย แต่ละโครงการ ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก คงได้แต่หวังว่า งบประมาณที่จัดเก็บภาษีในแต่ละปีจะเพียงพอ หวังว่าประชาชนผู้เสียภาษีรายได้ส่วนบุคคล จะไม่ท้อไปซะก่อน 

'รัฐมนตรีเฉลิมชัย' ประสบผลสำเร็จเจรจาญี่ปุ่นขยายความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรน้ำบาดาลและเทคโนโลยีแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดิน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.)  พร้อมด้วย นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานที่ปรึกษาของ รมว. ทส. นายนริศ ขำนุรักษ์ นายธนา ชีรวินิจ คณะทำงาน รมว.ทส. นายวิชชุ เวชชาชีวะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว 

นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและคณะผู้แทนไทย เข้าพบหารือกับนายคัตสุโนริ ทาคาฮาชิ ( Mr. Katsunori Takahashi )รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism: MLIT)เพื่อขยายความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ น้ำใต้ดินและน้ำบาดาล ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 

ดร.เฉลิมชัย ได้หารือในหลากหลายประเด็นสำคัญ ตั้งแต่เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ (Integrated Water Resources Management: IWRM) การพัฒนาเทคโนโลยีแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดิน และการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพด้านทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะน้ำใต้ดินและน้ำบาดาล ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆจะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ น้ำใต้ดิน และน้ำบาดาลของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยต่อยอดการศึกษาและวิจัยเพื่อรองรับความท้าทายด้านทรัพยากรน้ำในอนาคต

ทั้งนี้ นายคัตสุโนริ ทาคาฮาชิ ( Mr. Katsunori Takahashi )รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism: MLIT) ได้นำเสนอการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ น้ำใต้ดิน น้ำพุร้อนและน้ำบาดาลของญี่ปุ่นพร้อมกับตอบรับข้อเสนอในการขยายความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นกับไทยอย่างกระตือรือร้นและมอบหมายหน่วยงานในสังกัดประสานงานกับกรมน้ำบาดาลโดยทันทีเพื่อดำเนินการตามข้อหารือของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.)

นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของการเยือนญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ในการขยายความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในด้านการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรน้ำ น้ำใต้ดินและน้ำบาดาลในภาวะที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Change)ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งเรื่องน้ำท่วมและภัยแล้งโดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจไทย 68 โตมากสุด 3.3% อานิสงส์เงิน 1 หมื่น แนะมุ่งสู่ตลาดเฉพาะกลุ่ม รับศึกการค้าทรัมป์ 2.0

(7 ก.พ.68) ธนาคาร HSBC ได้เผยแพร่รายงานวิเคราะห์เศรษฐกิจเอเชียและไทยในหัวข้อ 'Asia and Thailand Economic Outlook 2025' โดยชี้ให้เห็นถึงโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ และการปรับตัวของเศรษฐกิจจีนที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากภาคการผลิตสู่ภาคการบริโภค

เฟรดเดอริค นอยแมนน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และหัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียของ HSBC ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2025 มีโอกาสเติบโตที่ 2.7-3.3% โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก 3 ประการ ได้แก่

1. การขยายตัวของภาคการส่งออก ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะเมื่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่า
2. ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ที่ยังคงเป็นจุดแข็งของไทย โดยเฉพาะการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น โครงการเงินดิจิทัล (Digital Wallet) ที่แจกจ่ายให้ประชาชนตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา และยังคงดำเนินการต่อเนื่องในปีนี้

อย่างไรก็ตาม เฟรดเดอริคเตือนว่า ในปี 2026 การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจชะลอตัวลง หลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสิ้นสุดลง

HSBC มองว่า ไทยยังมีศักยภาพในการเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนการลงทุนจากจีนเพิ่มขึ้นถึง 50% เทียบกับ 10% เมื่อ 10 ปีที่แล้ว

นอกจากนี้ ไทยยังมีโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ EV อุปกรณ์ชิปประมวลผล (Processor) และอุตสาหกรรมเคมี ซึ่งจะช่วยสร้างความแตกต่างจากประเทศอื่นในอาเซียน เช่น มาเลเซียในด้านเซมิคอนดักเตอร์ หรือเวียดนามในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

แม้ไทยจะมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub) ของภูมิภาค แต่ HSBC ชี้ว่ายังมีข้อจำกัดหลายประการที่ต้องแก้ไข เช่น การลดกฎเกณฑ์การกำกับดูแล การพัฒนาทักษะของบุคลากร การปรับปรุงระบบ Back Office และการสร้างแรงจูงใจเพื่อดึงดูดแรงงานที่มีทักษะสูงจากต่างประเทศ รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์

เฟรดเดอริคยังเตือนถึงความท้าทายสำคัญในอีก 2-3 ปีข้างหน้า นั่นคือ ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยที่ยังน่าเป็นห่วง ซึ่งอาจส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศชะลอตัวและกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม

HSBC มองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2025 มีโอกาสเติบโตได้ถึง 3.3% จากปัจจัยสนับสนุนทั้งภาคส่งออก การท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายที่ต้องแก้ไข ทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพทางการเงินระดับภูมิภาคและการจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน

‘EBC Financial Group’ วิเคราะห์!! แนวโน้มของเศรษฐกิจประเทศไทย อัตราเงินเฟ้อในประเทศ เริ่มผ่อนคลาย แต่ยังมีความเสี่ยง ที่ยังคงต้องติดตาม

(8 ก.พ. 68) เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2568 เศรษฐกิจในไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายในด้านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และความผันผวนของตลาดทั่วโลก แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่อ่อนแอ ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ และปัญหาทางโครงสร้าง ซึ่งปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐและภาคการท่องเที่ยว EBC Financial Group (EBC) ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจในประเทศ โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภูมิทัศน์ทางการเงินที่กำลังเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งเสนอแนวโน้มและโอกาสการลงทุนในปี 2568

อัตราเงินเฟ้อและนโยบายการเงินที่มีผลต่อเศรษฐกิจในช่วงปลายปี

ในปี 2567 อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ตั้งไว้ระหว่าง 1% ถึง 3% โดยในเดือนธันวาคม ปี 2567 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยับขึ้น 1.23% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก เดือนพฤศจิกายน 0.95% ซึ่งถือเป็นการกลับเข้าสู่ช่วงเป้าหมายครั้งแรกในรอบ 7 เดือน แม้จะมีการปรับตัวขึ้นในช่วงปลายปี แต่ค่าเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2567 ยังคงอยู่ที่ 0.4% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี
.
เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อระดับต่ำและความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 2.25% ในเดือนตุลาคม 2567 ซึ่งถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 หลังจากนั้น ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวในเดือนธันวาคม โดยอ้างถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและความจำเป็นในการรักษาความยืดหยุ่นทางนโยบายเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธปท. คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ที่ 2.9% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงเป้าหมายที่ 1%-3% โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 1.1%

นักวิเคราะห์จาก EBC เตือนว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจมีข้อจำกัดจากความท้าทายเชิงโครงสร้างที่ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะภาคการส่งออกของประเทศไทยยังคงเผชิญปัญหาจากการชะลอตัวของการค้าระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันการลงทุนจากภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งทำให้การกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังคงไม่แน่นอน และเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก

นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการร่วมมือระหว่างมาตรการการเงินและการคลังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในเอเชีย แต่ตลาดการเงินของไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากปัจจัยภายนอก อาทิ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ EBC มองว่า ปัจจัยภายในประเทศไทยและแรงกดดันจากภายนอก สร้างทั้งความเสี่ยงและโอกาสสำหรับนักลงทุน เราเน้นย้ำถึงความสำคัญของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในตลาด

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฟื้นฟูและภาคการท่องเที่ยว

การฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับแรงขับเคลื่อนจากภาคการท่องเที่ยว ในปี 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 35.5 ล้านคน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

ยังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานยังต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเกิดจากความไม่สงบทางการเมืองและความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจ ความไม่สอดคล้องระหว่างการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและผลประกอบการของตลาดหุ้น สะท้อนถึงความท้าทายทางเศรษฐกิจที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งมองว่าเป็นโอกาสสำหรับการลงทุน

รัฐบาลไทยรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ โดยดำเนินมาตรการทางการคลังหลายด้าน เช่น โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 490,000 ล้านบาท ที่มุ่งเป้าไปยังประชากรประมาณ 45 ล้านคน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2.9% ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 และมาตรการภาษีที่ให้สิทธิประโยชน์สูงสุดถึง 50,000 บาท เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในภาคต่าง ๆ EBC ระบุว่า มาตรการเหล่านี้อาจช่วยสนับสนุนธุรกิจในภาคสินค้าอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน โครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ อาจเป็นโอกาสการเติบโตสำหรับนักลงทุนระยะยาว ผลสำเร็จของมาตรการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถของไทยในการดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ผลกระทบจากภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ต่อจีนและแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กำหนดแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2568 คือ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภาษีศุลกากรใหม่ของสหรัฐฯ ที่จะมีผลบังคับใช้ในปีนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีนและอาจทำให้จีนต้องเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หากการใช้จ่ายของผู้บริโภคในจีนยังคงอ่อนแอ การท่องเที่ยวออกนอกประเทศอาจชะลอตัวลง

แม้ว่าจะมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยในภาคการท่องเที่ยว แต่ประชาชนจีนยังคงเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุดในปี 2567 ความไม่แน่นอนนี้อาจสนับสนุนให้ทองคำมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมทองคำยังคงได้รับความนิยมและมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย

นักวิเคราะห์ แนะนำว่า นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์การค้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสินทรัพย์ทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ อาจมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน เพื่อตอบสนองต่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น

‘เคทีซี’ ครองตลาด!! ‘บัตรเครดิตค่ายเจซีบี’ ในไทย เผย!! ‘ยอดใช้จ่าย-ปริมาณสมาชิกใหม่’ สูงสุด!!

(8 ก.พ. 68) เคทีซีเผยยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี เจซีบี ในปี 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15% จำนวนสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น 20% ขึ้นแท่นบัตรเครดิตเจซีบีอันดับหนึ่งที่มีจำนวนทั้งสมาชิกใหม่และยอดรวมการใช้จ่ายมากที่สุดในประเทศไทย โดยสมาชิกนิยมใช้จ่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่นยอดใช้จ่ายก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 18% สอดรับกับเทรนด์นักท่องเที่ยวไทยที่ยังนิยมเดินทางไปญี่ปุ่นเป็นอันดับต้น ๆ เคทีซีจึงได้ร่วมกับเจซีบี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ออกแคมเปญ ‘JCB ลุ้นเปย์ไป JAPAN’ หวังกระตุ้นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซี เจซีบี ตลอดแคมเปญปรับตัวสูงขึ้น 15% นอกจากนี้ ยังขยายฐานสมาชิกใหม่ ด้วยแคมเปญแจกโค้ดส่วนลดค่าอาหาร GrabFood คาดผลตอบรับดี มียอดสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น 35 %

นายธศพงษ์ รังควร ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต ‘เคทีซี’ หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกที่ถือบัตรเครดิตเคทีซี เจซีบี แพลทินัม และบัตรเครดิตเคทีซี เจซีบี อัลติเมท รวมกันทั้งสิ้นกว่า 300,000 ใบ สมาชิกนิยมใช้จ่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยมียอดใช้จ่ายอยู่ 15,000 ล้านบาท สำหรับในประเทศบัตรเครดิตเคทีซี เจซีบี มีความโดดเด่นเรื่องโปรโมชันในหมวดร้านอาหารสไตล์โอมากาเซะ (Omakase) และห้างสรรพสินค้า ส่วนการใช้จ่ายที่ต่างประเทศ ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด โดยมียอดใช้จ่ายอยู่ที่กว่า 1,180 ล้านบาท ในปี 2568 นี้ เคทีซีจึงได้ร่วมมือกับเจซีบี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ออกแคมเปญ 'JCB ลุ้นเปย์ไป JAPAN' ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2568 - วันที่ 30 เมษายน 2568  สมาชิกลงทะเบียนและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี เจซีบี ทุกประเภทตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป / เซลส์สลิป รับ 1 สิทธิ์ลุ้นรับรางวัลดังนี้ 1) แพ็กเกจทัวร์ญี่ปุ่น 6 วัน 4 คืน จำนวน 2 รางวัล (รางวัลละ 2 ที่นั่ง) มูลค่ารางวัลละ 265,000 บาท รวมมูลค่า 530,000 บาท หรือ 2) จี้ทองคำรูปดอกซากุระน้ำหนัก 2 สลึง จำนวน 5 รางวัล มูลค่ารางวัลละ 22,800 บาท รวมมูลค่า 114,000 ระหว่าง ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ktc.co.th/promotion/overseas-privilege/asia/jcb-lucky-draw-x-japan

มิสเตอร์โคเฮ ฟุคามิ รองผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายออกบัตรเครดิต “เจซีบี” หรือ บริษัท เจซีบี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เคทีซีเป็นพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่ง ด้วยจำนวนสมาชิกผู้ถือบัตรใหม่และยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างยิ่ง สำหรับในปี 2568 เจซีบียังคงเดินหน้ามอบสิทธิพิเศษให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี เจซีบีอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมสิทธิพิเศษด้านการเดินทางที่ประเทศญี่ปุ่น และยังคงเน้นความพิเศษให้กับสมาชิกเมื่อใช้จ่ายในประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะหมวดห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารญี่ปุ่น และโรงภาพยนตร์ชั้นนำ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของสมาชิกที่มีความหลากหลาย นอกเหนือจากการร่วมกันออกแคมเปญ ‘JCB ลุ้นเปย์ไป JAPAN’

นายธศพงษ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2568 นี้ เคทีซียังมุ่งขยายฐานสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี เจซีบี โดยมีเป้าหมายสมาชิกเพิ่มขึ้น 35% ด้วยการมอบสิทธิพิเศษสำหรับผู้สนใจสมัครบัตรเครดิตเคทีซี เจซีบี (บัตรหลักใหม่) ซึ่งได้รับอนุมัติภายในระยะเวลาที่กำหนด และมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับอนุมัติบัตร จะได้รับโค้ดส่วนลด GrabFood มูลค่ารวม 500 บาท (โค้ดส่วนลดใบละ 100 บาท จำนวน 5 ใบ) ตั้งแต่วันที่  1 มกราคม 2568 - วันที่ 31 มีนาคม 2568 และระยะเวลาอนุมัติบัตร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 - วันที่ 30 เมษายน 2568 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ktc.co.th/promotion/online/dining/grabfood-x-ktcjcb

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือติดตามโปรโมชันของเคทีซีได้ที่ https://www.ktc.co.th สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ https://ktc.cards/apply-pop-jcb หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก ‘เคทีซี ทัช’ ทุกสาขาทั่วประเทศ

TCL ปลุกกระแสเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศ เปิดตัว TCL FreshIN 3.0 Series พร้อมโชว์ศักยภาพนวัตกรรมระดับโลก ในงาน The Future of AC : 2025 Partner Convention 

บริษัท ทีซีแอล อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ TCL ผู้นําด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของไทย จัดงาน The Future of AC : 2025 Partner Convention นำโดย คุณแกรี่ จ้าว กรรมการผู้จัดการ, คุณจีรชัย ศักดิ์สง่าวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายเครื่องปรับอากาศ, คุณเฉลิมชัย รัตนเอม ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ และ คุณดอน ถาง ผู้อำนวยการสายการตลาด พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท ทีซีแอล อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมฉายวิสัยทัศน์การดำเนินงาน สู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2025 พร้อมรักษาความเป็นผู้นำส่วนแบ่งการตลาดเครื่องปรับอากาศอันดับ 1 ของไทย โดยได้รับเกียรติจาก คุณบิล เฉิง Director of TCL APBG Air Conditioner Product Operation Department กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ และตัวแทนจำหน่ายกว่า 500 ราย ผู้ให้การสนับสนุนในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจที่ร่วมสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งให้กับ TCL โดยในงานมีเหล่าเซเลบริตี้ อินฟลูเอ็นเซอร์ชื่อดังเข้าร่วมแสดงความยินดี อาทิ ‘แมทธิว’-‘ลิเดีย-ศรัณย์รัชต์’ พร้อมด้วยครอบครัวดีน, 'ก้อย-อรัชพร', 'นัตตี้-นันทนัท' และ 'ดรีม-อภิชญา'

ทั้งนี้ ภายในงาน The Future of AC : 2025 Partner Convention ได้เปิดตัวเครื่องปรับอากาศนวัตกรรม 'TCL FreshIN 3.0 Series' ที่มาพร้อมนิยามใหม่ กับการทำความเย็นที่ผสานทั้งเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อความสะดวกสบายสูงสุด โดดเด่นด้วยระบบการสั่งงานด้วยเสียงที่รองรับภาษาไทย โดยไม่ต้องต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต มาพร้อมกับดีไซด์แบบ Slim เรียบง่ายที่สามารถเข้าได้กับการตกแต่งทุกพื้นที่ และการแสดงผลแบบ "Lunar Display" ซึ่งสามารถแสดงคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ 

'TCL FreshIN 3.0 Series' ยังมาพร้อมฟังก์ชัน ระบบประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงจากเทคโนโลยี AI ปรับอุณหภูมิแบบอัตโนมัติให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัย รวมถึงนวัตกรรมคอยล์ร้อนที่มีระบบทำความสะอาดตัวเอง กำจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกจากภายในตัวเครื่องด้วยแรงลมกลับทิศทาง ลดการสะสมของสิ่งสกปรก เพื่อสุขอนามัยที่ดี ประหยัดไฟ และ ยืดระยะเวลาการบำรุงรักษา

พร้อมทั้งฟังก์ชันอากาศบริสุทธิ์ ช่วยนำเข้าอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้าน ผ่านระบบกรองอากาศ 4 ขั้นตอน พร้อมระบบการผลักดันอากาศที่อยู่ในห้องออกไป หรือที่เรียกว่า Positive Air Pressure เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนและอากาศบริสุทธิ์ ช่วยดันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมภายในห้อง และ ดักฝุ่นขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้อากาศภายในห้องสดชื่นตลอดทั้งวัน โดยมี ‘หมอริท-นพ.เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช’ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและผิวพรรณ ร่วมให้ข้อมูลถึงนวัตกรรมดังกล่าวที่จะช่วยให้สุขภาพของผู้ใช้งานดีขึ้นจากการรับปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ เพื่อบำรุงการทำงานของร่างกาย รักษาความชุ่มชื่นของผิวหนัง รักษาสมดุลผ่านการนอนหลับที่ได้คุณภาพ รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันปัญหาด้านระบบทางเดินลมหายใจ ท่ามกลางฝุ่นละออง PM 2.5 จากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน 

ภายในงาน TCL ยังได้จัดแสดงนวัตกรรมเครื่องปรับอากาศรุ่นต่างๆ ที่ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพระดับสากล เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยแต่ละรุ่นโดดเด่นทั้งด้านดีไซน์ ฟังก์ชันอัจฉริยะ และประสิทธิภาพการทำงานที่เหนือชั้น อาทิ รางวัล 'Smart Fresh Air Technology Innovation Award' กับรุ่น FreshIN ในงาน Global Top Brands Awards Ceremony (GTB) ประจำปี 2024-2025 โดย International Data Group (IDG) ซึ่งจัดโดย Asia Digital Group และ Europe Digital Group ร่วมกับ TWICE โดยได้รับการสนับสนุนจาก IDC ถือเป็นรางวัลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์  และ ล่าสุดเครื่องปรับอากาศรุ่น 'TCL FreshIN 3.0 Series' ที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมเทคโนโลยี Smart Fresh Air ประจำปี 2025 ในฐานะ 'รางวัลออสการ์' ของชุมชนเทคโนโลยี ในงาน Consumer Electronics Show (CES 2025) จัดขึ้นที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2568 โดยการจัดทัพนำผลิตภัณฑ์มาจัดแสดงในครั้งนี้ ไม่เพียงสะท้อนถึงความก้าวหน้าของ TCL ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ แต่ยังเป็นการแสดงความพร้อมสู่การเติบโตอย่างแข็งแกร่งในตลาดประเทศไทยและระดับนานาชาติ 

นอกจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ล้ำสมัยแล้ว TCL ยังได้จัดงานเลี้ยงขอบคุณตัวแทนจำหน่ายผู้เป็นพันธมิตรสำคัญของบริษัท โดยบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความสนุกสนานและความอบอุ่น พร้อมด้วยมินิคอนเสิร์ตจาก ‘ไอซ์-ศรัณยู วินัยพานิช’ และ เซอร์ไพรส์สุดพิเศษจาก ‘ป้อง-ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์’ พรีเซ็นเตอร์ของ TCL ที่ร่วมงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยได้ขึ้นเวทีแสดงความยินดีกับความสำเร็จของบริษัท พร้อมถ่ายภาพและพบปะกับแขกผู้มีเกียรติอย่างเป็นกันเอง งานเลี้ยงในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จร่วมกันแล้ว ยังเป็นโอกาสในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง TCL และเครือข่ายพันธมิตร เพื่อเดินหน้าสู่อนาคตที่แข็งแกร่งไปด้วยกัน

สามารถชมข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.tcl.com/th/th/air-conditioners/freshin-3-0-series และ Facebook : TCL Electronics (TH)

มาสด้าทุ่ม 5,000 ล้าน!! ดันไทยขึ้นแท่นฐานผลิต B-SUV Mild Hybrid เตรียมผลิต 1 แสนคันต่อปี ส่งออกญี่ปุ่น-อาเซียน-ตลาดโลก

(13 ก.พ.68) นายมาซาฮิโร โมโร (Masahiro Moro) ประธานและซีอีโอของบริษัท มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีของไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการขยายการลงทุนในประเทศไทย โดยมาสด้าเตรียมทุ่มงบกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตหลักของรถยนต์อเนกประสงค์ B-SUV แบบ Mild Hybrid (MHEV) ตั้งเป้าการผลิตที่ 100,000 คันต่อปี เพื่อส่งออกไปยังตลาดทั่วโลก

แผนการลงทุนครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือบอร์ดอีวี ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบไปเมื่อเดือนธันวาคม 2567 โดยมาตรการดังกล่าวรวมถึงการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ Hybrid (HEV) และ Mild Hybrid (MHEV) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 7 ปี ตั้งแต่ปี 2569 ถึง 2575 นอกจากนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ยังได้ออกมาตรการส่งเสริมเพื่อกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ผลิตที่นำเทคโนโลยีอัตโนมัติและระบบหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต

นายมาซาฮิโร โมโร เปิดเผยว่า มาสด้ามีประวัติการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมายาวนานกว่า 70 ปี และได้ลงทุนสร้างฐานการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากโรงงาน AutoAlliance (AAT) ในจังหวัดระยองเมื่อปี 2538 เพื่อผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และโรงงาน Mazda Powertrain Manufacturing Thailand (MPMT) ในจังหวัดชลบุรี เมื่อปี 2558 สำหรับการผลิตเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัติ โรงงานเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตของมาสด้าและซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการลงทุนครั้งล่าสุด มาสด้ามุ่งมั่นผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์พลังงานทางเลือก (xEV) โดยเพิ่มงบลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาทเพื่อผลิต B-SUV Mild Hybrid ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเข้ามาช่วยขับเคลื่อนเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง ลดมลภาวะ และเพิ่มความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล รถยนต์รุ่นนี้จะถูกผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังญี่ปุ่น กลุ่มประเทศอาเซียน และตลาดโลก การลงทุนดังกล่าวยังครอบคลุมถึงการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ เช่น เครื่องยนต์ เกียร์ และแบตเตอรี่ โดยตั้งเป้าที่จะเริ่มกระบวนการผลิตภายในปี 2570

นอกจากการขยายฐานการผลิต มาสด้ายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายซัพพลายเชนในประเทศเพื่อรองรับเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ โดยการลงทุนนี้ถือเป็นก้าวสำคัญภายใต้แนวทาง Multi-Solution ของมาสด้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออันยาวนานระหว่างบริษัทกับประเทศไทย พร้อมทั้งมีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top