Sunday, 27 April 2025
ElectionTime

'เด็กลุงตู่' งง!! 'เศรษฐา' แจก 5 แสนล้านพร่ำเพรื่อ พอมีคนแนะ กลับไม่ฟัง แถมจะ 'ขู่ฟ้อง' ปิดปาก

จากการที่นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาด้อยค่า นโยบายบัตรสวัสดิการพลัส หรือ 'บัตรลุงตู่' ที่จะเพิ่มเงินช่วยเหลือประชาชนที่ได้สิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนละ 1,000 บาท ว่า เป็นลักษณะของการหยอดน้ำข้าวต้ม และจะเติมปลาแห้งเข้าไปอีกนิด คงไม่มีอะไรไม่มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น

ล่าสุด นายอิทธิพัทธ์ เศรษฐยุกานนท์ ผู้สมัคร ส.ส. กทม. เขตเลือกตั้งที่ 32 บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย ภาษีเจริญ ตลิ่งชัน ธนบุรี เบอร์ 5 พรรครวมไทยสร้างชาติ ก็ได้ออกมากล่าวตอบโต้ว่า...

ไม่น่าเชื่อว่านักธุรกิจใหญ่อย่างนายเศรษฐา จะไม่เข้าใจเรื่องหลักการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ต้องทำเท่าที่จำเป็นในสถานการณ์ที่ เศรษฐกิจมันเดินไม่ได้อย่าง เช่นตอนโควิด19 อย่างนั้นจึงจะมีความจำเป็นต้องกระตุ้น

แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยเริ่มมีลักษณะของการฟื้นตัวอย่างชัดเจนดูจากตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ก็มีการปรับตัวดีขึ้นกำลังซื้อของคนมีมากขึ้น เงินเฟ้อลดลงการว่างงานลดลง นักท่องเที่ยวมากขึ้น...การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการ 'ใส่เงินจำนวนมากเข้าไปในระบบ' จึงไม่ใช่มาตรการที่จำเป็นในขณะนี้ และในอีกด้านอาจจะส่งผลต่อเรื่องของเงินเฟ้อที่จะพุ่งขึ้นสูง และราคาสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นตามมา เพราะผู้ประกอบการรู้ว่าจะมีการใส่เงินลงไป ราคาสินค้าก็จะขึ้นไปรอก่อนแล้ว ซึ่งคุณเศรษฐาไม่เคยพูดถึงผลกระทบในมุมแบบนี้บ้างเลย

แม้แต่นางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ยังออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย กับโครงการนี้ โดยมองว่าเป็นนโยบายที่ไร้ความรับผิดชอบ นอกจากการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็นแล้ว ยังทำให้ประชาชนขาดวินัยทางการเงินอีก และบอกว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าอีกด้วย

‘ดร.พงศ์ธร’ เทียบฟอร์มนโยบาย ‘เพื่อไทย-ก้าวไกล’ 2 พรรคประชาธิปไตย ที่อาจทำแฟนคลับลุ้นเหนื่อย

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้ติ๊กต็อก บัญชี ‘PhongThon’ โดย ‘ดร.พงศ์ธร ธาราไชย’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (PPS) ได้ออกมาวิเคราะห์นโยบายทางการเมืองของสองพรรค ระหว่างพรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล โดยกล่าวว่า...

“สำหรับคนวัยผมอย่างผมก็อยากจะเลือกพรรคเพื่อไทย เพราะเป็นแฟนคลับกันมานานถือว่าพรรคเพื่อไทยมีฐานแฟนคลับคน Gen X (เกิดช่วงปี พ.ศ. 2508-2522)”

“ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้ชูนโยบาย เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส ลักษณะของพรรคคือ มีเจ้าของพรรคคือตระกูลชินวัตร เป็นเจ้าของพรรค และส่งผู้บริหารมืออาชีพอย่าง คุณเศรษฐา ทวีสิน มาเป็น CEO ของพรรค โดยลักษณะของการดำเนินนโยบายเป็นแบบไม่ค่อยไปตีการเมืองเก่าแบบแรงๆ ทำท่าเหมือนจะไปจับมือกันก็ยังสามารถทำได้ พร้อมมีนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท/วัน กับนโยบายเงินเดือนคนจบปริญญาตรีเริ่มต้น 25,000 บาท และนโยบายจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งอาจจะมีการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร และยังมีนโยบายเด็ด แจกเงินดิจิทัลฯ 10,000 บาท ให้ประชาชนทุกคนที่มีอายุเกิน 16 ปีขึ้นไป ซึ่งนโยบายนี้สุ่มเสี่ยงต่อการเข้าข่ายสัญญาว่าจะให้ และมีสิทธิที่จะโดนกกต. เล่นงานได้หลังที่ชนะเข้าไป” 

‘มณีรัตน์’ ชี้!! สื่อนอกตีแผ่ ‘ต่างชาติ’ เที่ยวสงกรานต์ไทยหนาแน่น สะท้อน!! ความเชื่อมั่นด้านสาธารณสุขไทยที่เข้มแข็ง

เมื่อวานนี้ (14 เม.ย. 66) น.ส.มณีรัตน์ ลิมป์รัตนกาญจน์ ผู้สมัคร ส.ส.เบอร์ 6 เขต พระโขนง-บางนา พรรคภูมิใจไทย อดีตคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

“วันนี้ได้อ่านข่าวจากสำนักข่าว Reuters ก็รู้สึกชื่นใจมาก ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติหลาย ๆ คนเลือกที่จะเข้ามาเที่ยวประเทศไทยในช่วงมหาสงกรานต์ของบ้านเรา ซึ่งเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติด้านสาธารณสุขที่เข้มแข็ง หลังจากที่ประเทศไทยได้ผ่านวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ภายใต้การกำกับดูแลของคุณอนุทิน ชาญวีรกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

‘ดร.จุ๊บ’ ผู้สมัคร ส.ส.กาญจน์ เผย ยิ่งใกล้เลือกตั้ง กระแส ‘บิ๊กตู่’ ยิ่งแรง เชื่อ!! คนเมืองกาญจน์ พร้อมใจกาบัตรหนุน ‘รทสช.’ ทั้งเขต-พรรค

(15 เม.ย. 66) ดร.วรสุดา สุขารมณ์ หรือ ‘ดร.จุ๊บ’ ผู้สมัคร ส.ส.กาญจนบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เขต 1 เบอร์ 5 ให้สัมภาษณ์ว่า การลงพื้นที่หาเสียงพบปะพี่น้องประชาชน ชาวตำบลหนองกุ่ม อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี เราทำมาอย่างต่อเนื่อง และตนเดินทางเข้าพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านมานานกว่า 10 ปี จึงไม้รู้สึกเคลียดเมื่อต้องลงพื้นที่ช่วงเลือกตั้ง เมื่อตนอาสามาทำงานการเมืองให้มีความสร้างสรรค์ เราจึงต้องเข้าถึงประชาชนให้ได้มากที่สุด

วันนี้โจทย์คือ ประชาชนที่จะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อเลือกเรา เราต้องเข้าให้ถึงประชาชน ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเราเป็นคนของประชาชนให้ได้มากที่สุด เมื่อเราได้รับความไว้วางใจ ประชาชนก็จะมอบคะแนนเสียงให้กับเรา

ดังนั้น อยากจะฝากไปถึงพี่น้องประชาชนเขต 1 ทุกท่าน ช่วยสนับสนุน ตนเอง ผู้สมัคร ส.ส. กาญจนบุรี รทสช. เขต 1 เบอร์ 5 ที่ผ่านมา ตัวเองไม่เคยทอดทิ้งพี่น้องประชาชนชาวเขต 1 ทำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานานหลายปีแล้ว

“จุ๊บจึงอยากจะให้พี่น้องประชาชนมองเห็นคุณค่าทางจิตใจและจุดยืนของจุ๊บ ที่จุ๊บเข้ามาช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดกาญจนบุรีอย่างจริงจัง” ดร.จุ๊บ กล่าว

‘หมอเปรม’ คืนสังเวียน ชู ‘บัตรลุงตู่’ เรียกคะแนนนิยมท้องถิ่น ไล่เบียด ‘สจ.แม็ค’ ภูมิใจไทย หวังชิง ส.ส.เขต 11 จ.ขอนแก่น

(15 เม.ย. 66) นับว่าเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีความคึกคัก มีสีสัน และมีความสูสีมากที่สุดสนามหนึ่ง สำหรับเขต 11 จังหวัดขอนแก่น ที่มีผู้สมัคร ส.ส.ลงแข่งขัน หมายมั่นปั้นมือจะปักธงให้ได้ เนื่องจากเป็นการชิงแชมป์ว่าง

แชมป์เก่าเขตนี้ คือ นายบัลลังก์ อรรณพพร จากพรรคเพื่อไทย ที่ตอนนี้หันไปสวมเสื้อพลังประชารัฐ ลงอีกเขตของขอนแก่น กลับถิ่นเกิดอำเภอหนองสองห้อง แว่วว่าเป็นปัญหาภายในบ้าน เมื่อนายพงศกร อรรณพพร พี่ใหญ่ในครอบครัวที่เคยถูกวางเป็นขุนพลพรรคสร้างไทย จำใจทิ้งคุณหญิงหน่อย หันกลับคืนมาซบนายใหญ่ดูไบ เลือดข้นคนจางอย่างว่า เลยเอาลูกชายคือ นายพชรกร อรรณพพร ลงแทนน้องชาย คือนายบัลลังก์ ในเขตนี้

ชาวบ้านในพื้นที่แม้จะมีคะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะนโยบายแจกหัวละหมื่น แต่ยังกล้ำกลืนกับคนตระกูลอรรณพพร กระแสจึงออกมาว่า บัตรบัญชีรายชื่อ เพื่อไทยยังมาที่ 1 โดยมีก้าวไกลสอดแทรกในหมู่คนรุ่นใหม่ แต่ตัวผู้สมัคร ส.ส.เขต จะหันไปเลือกตัวบุคคล เลยเปิดโอกาสให้กับ ‘หมอเปรมศักดิ์’ ผู้สมัครจากพรรครวมไทยสร้างชาติของลุงตู่ กับ ‘สจ.แม็ค’ จากพรรคภูมิใจไทย โดยมีฮีโร่มวยโอลิมปิกอย่าง นายสมรักษ์ เป็นตัวสร้างสีสันบรรยากาศ

สจ.แม็ค องอาจ ฉัตรชัยพลรัตน์ เข้าที่ 2 เที่ยวก่อน แพ้กระแสให้พรรคเพื่อไทย ยังปักหลักกับพรรคภูมิใจไทย ด้วยหมายมั่นปั้นมือ แต่กระแสช่วงนี้โดนอิทธิฤทธิ์ของนายชูวิทย์ เอฟเฟกต์ต้านกัญชาเสรี ทำเอาแทบจะไม่อยากขึ้นโลโก้พรรคที่ฉุดแต้ม

‘สกลธี’ บุกตลาดสัมมากร นำทีมช่วย ‘นาถยา’ หาเสียง ชูนโยบาย ลดราคาก๊าซ-น้ำมัน ลั่น!! ทำทันทีหากได้เป็นรัฐบาล

(15 เม.ย. 66) ที่ตลาดสัมมากร นายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะหัวหน้าทีมผู้สมัคร ส.ส.กทม.พร้อมนางนาถยา แดงบุหงา ผู้สมัคร ส.ส.เขต 19 (มีนบุรี-สะพานสูง) หมายเลข 10 ลงพื้นที่ตลาดสัมมากร เขตสะพานสูง พบประชาชนและแนะนำนโยบายพรรค ก่อนขึ้นรถแห่หาเสียง

นายสกลธี กล่าวว่า ประชาชน ตอบรับการลงพื้นที่วันนี้ดีมาก เพราะนางนาถยา เป็น ส.ส.เจ้าของพื้นที่มา 2 สมัย มีความคุ้นเคยกับคนในพื้นที่เป็นอย่างดี ส่วนตนได้พบกับผู้สนับสนุนตั้งแต่สมัยที่ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.มีโอกาสได้พูดคุยกัน และนำเสนอนโยบายของพรรค เรื่องลดราคาก๊าซ เหลือถังละ 250 บาท โดยทำทันทีหากได้เป็นรัฐบาล เพื่อช่วยลดต้นทุนให้หับพ่อค้า แม่ค้า

‘จิ๊บ ศศิกานต์’ อัด นโยบายแจกเงินดิจิทัลของ ‘เพื่อไทย’ ชี้!! รูปแบบ-ที่มาของงบไม่ชัดเจน สะท้อนความเลื่อนลอย

(15 เม.ย. 66) ยังคงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ อย่างกว้างขวางสำหรับนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้แก่ประชาชน อายุ 16 ปีขึ้นไปในระยะเวลา 6 เดือน ภายใต้จำนวนงบประมาณมหาศาลถึง 54 หมื่นล้านบาท ด้วยความวิตกกังวลของหลายฝ่าย ว่าการใช้เงินจำนวนมากและแจกจ่ายแบบเหวี่ยงแหเช่นนี้ จะส่งผลกระทบต่อวินัยการเงิน การคลังและระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในขณะที่ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของพรรคเพื่อไทย ก็ยังคงยืนยันถึงความมั่นใจและประโยชน์ที่จะได้จากการทำโครงการนี้

ล่าสุด น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ หรือ ‘จิ๊บ’ ผู้สมัคร ส.ส. กทม. เขตบางแค ภาษีเจริญ พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เท่าที่ติดตามการชี้แจงจากแกนนำของพรรคเพื่อไทยหลายคน รวมถึงนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ก็เห็นว่านโยบายดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนในหลายประเด็น เช่น รูปแบบของเงินที่จะออกให้ประชาชนคนละ 1 หมื่นบาทนั้น จะเป็นรูปแบบอะไร มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอด อย่างตอนแรกบอกว่าจะแจกเป็นเหรียญดิจิทัล ต่อมาก็บอกจ่ายเป็นคูปองแทน ซึ่งเรื่องนี้ก็อยากจะเรียกร้องให้พูดให้ชัด ๆ เสียที อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจนคนฟังสับสน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อยากจะย้ำเตือนความจำให้นายเศรษฐารับทราบว่า ที่ผ่านมาทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลัง ได้ออกมาประกาศชัดเจนตั้งแต่ปีที่แล้ว ถึงประเด็นการใช้จ่าย ชำระสินค้าผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล ว่าไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้บริการเกี่ยวกับการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้า

เพราะมีความกังวลจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่น อาจเกิดความเสี่ยงจากการสูญมูลค่าที่เกิดจากความผันผวนของราคา ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน ฯลฯ จึงอยากจะถามถึงนายเศรษฐาว่าได้ทราบเรื่องเหล่านี้หรือไม่

น.ส.ศศิกานต์ ยังเผยอีกว่า เมื่อไม่นานมานี้ทางเพื่อไทย ได้ออกมาชี้แจงเพิ่มเติมว่า ไม่ใช่คริปโตเคอร์เรนซี ไม่ใช่เงินสกุลใหม่ แต่เป็น ‘เหรียญ (คูปอง)’

คำถามก็คือ ไม่ว่าจะแจกในรูปแบบอะไรก็ตาม ก็ต้องมีจำนวนเงินงบประมาณจริง ๆ พร้อมจะแจกจ่าย ซึ่งเป็นจำนวนเงินกว่า ห้าแสนสี่หมื่นล้านบาท ซึ่งจากการให้สัมภาษณ์ของนายเศรษฐา ได้อธิบายว่า ส่วนหนึ่งนำมาจากเงินภาษีของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สองแสนหกหมื่นล้าน

อีกส่วนหนึ่งที่เหลือ นายเศรษฐา ใช้คำว่า “คาดว่า” จะนำมาจากภาษีของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ที่จะเกิดการหมุนเวียนหลายรอบ

‘ก้าวไกล’ ลั่น!! นโยบายยกเลิกเกณฑ์ทหารมาแรง วอนขอเป็น รบ. จะ ‘ดันเร่งกระจายอำนาจ-สุราก้าวหน้า-ปฏิรูปที่ดิน’

‘โรม’ พบเครือข่ายก้าวไกลพังงา เผยนโยบายยกเลิกเกณฑ์ทหารมาแรง ขอโอกาสกาก้าวไกลเป็นรัฐบาล ดันกระจายอำนาจ-สุราก้าวหน้า-ปฏิรูปที่ดิน ให้งานและเงินอยู่ใกล้บ้าน การเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคต

(15 เม.ย. 66) นายรังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล ร่วมกับ นายธีรุตม์ สันหวัง ผู้สมัคร ส.ส.พังงา เขต 1 พบปะทีมทำงานและเครือข่ายพรรคก้าวไกล ที่ศูนย์ประสานงานพรรคก้าวไกล ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา โดยนายรังสิมันต์ได้รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมหลายคน เกี่ยวกับนโยบายของพรรคก้าวไกล หนึ่งในข้อข้องใจหลักคือ ข่าวปลอมที่ว่าพรรคก้าวไกลจะยกเลิกบำนาญข้าราชการ ซึ่งนายรังสิมันต์ยืนยันว่า พรรคก้าวไกลไม่มีนโยบายดังกล่าว และหากย้อนกลับไปฟังการอภิปรายของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ก็จะพบว่าไม่มีการสื่อสารว่า จะตัดลดหรือยกเลิกบำนาญข้าราชการตั้งแต่ต้น

นายรังสิมันต์กล่าวต่อว่า นโยบายของพรรคก้าวไกลที่ดูจะได้รับความนิยมมากที่สุด คือนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารและการปฏิรูปกองทัพ ซึ่งจะเป็นการปลดล็อกประชากรคนหนุ่มนับแสนคนต่อปีให้สามารถออกไปทำงานและใช้ชีวิตตามที่ต้องการ ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) คนหนุ่มเหล่านี้ถือเป็นกำลังสำคัญของประเทศ พรรคก้าวไกลจึงเสนอยกเลิกเกณฑ์ทหาร เปลี่ยนเป็นระบบสมัครใจทั้งหมด ลดขนาดกองทัพ และเพิ่มการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สวัสดิการ และประสิทธิภาพของกำลังพล

ผลโพลเดลินิวส์xมติชน ยก ‘เพื่อไทย’ อันดับ 1 พรรคที่ชอบ ส่วน 3 อันดับ นายกฯ ที่ใช่ ‘อุ๊งอิ๊ง’ ควง ‘เศรษฐา’ ขึ้นโพเดียม

ผลโหวต เดลินิวส์ x มติชน โพลเลือกตั้ง '66 ครั้งที่ 1 ออกแล้ว ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ เข้าป้ายอันดับ 1 นายกฯ ที่ใช่ ตามด้วย ‘อุ๊งอิ๊ง-เศรษฐา’ และ ‘บิ๊กตู่’ รั้งอันดับ 4 ส่วนพรรคที่ชอบ ‘เพื่อไทย’ เข้าวินเป็นที่ 1 ตามด้วย ‘ก้าวไกล-รวมไทยสร้างชาติ-ภูมิใจไทย’ อันดับ 2-4 ตามลำดับ

(15 เม.ย. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานผลการโหวตโพลการเมืองครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของสองสื่อสารมวลชนชั้นนำระดับประเทศ 'เดลินิวส์ x มติชน โพลเลือกตั้ง '66 ครั้งที่ 1' ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8-14 เมษายน 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ระดับอาชีพ การศึกษา และรายได้ทั่วประเทศ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 84,076 ราย และเป็นการโหวตแบบไม่ซ้ำไอพีแอดเดรส (IP Address)

จากการสำรวจโพล 'เดลินิวส์ x มติชน โพลเลือกตั้ง ’66 ครั้งที่ 1' ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ https://www.matichon.co.th/thai-election66-poll/ ของสื่อเครือมติชน ประกอบด้วย มติชน ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ มติชนสุดสัปดาห์ มติชนทีวี และ https://www.dailynews.co.th/election-2566/poll/ ของเดลินิวส์ ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 84,076 ราย พบข้อมูลดังนี้....

หัวข้อคำถามที่ 1 ท่านจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้ง 2566 พบว่า ในกลุ่ม 10 อันดับแรก ผู้ได้รับการโหวตเป็น อันดับ 1 คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล ร้อยละ 29.42, อันดับ 2 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 23.23, อันดับ 3 นายเศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 16.69, อันดับ 4 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 13.72, อันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจ (ว่าจะเลือกใคร) ร้อยละ 2.97

อันดับ 6 นายอนุทิน ชาญวีรกูล จากพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 2.94, อันดับ 7 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส จากพรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 2.25, อันดับ 8 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.90, อันดับ 9 นายกรณ์ จาติกวณิช จากพรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 1.40 และอันดับ 10 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.24

ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคเพื่อไทย จากผลการทำโพลในหัวข้อคำถามที่ 1 ดังกล่าว พบว่า เมื่อนำผลโหวตของ น.ส.แพทองธาร นายเศรษฐา และนายชัยเกษม นิติสิริ มารวมกัน จะอยู่ที่ร้อยละ 40.34

สำหรับแคนดิเดตนายกฯ คนอื่น ๆ ที่ได้รับการโหวตคะแนนลดหลั่นกันไป ประกอบด้วย อันดับ 11 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.08, อันดับ 12 นายวราวุธ ศิลปอาชา พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.96, อันดับ 13 บุคคลอื่น ๆ ร้อยละ 0.49, อันดับ 14 นายชัยเกษม นิติสิริ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 0.42, อันดับ 15 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 0.26, อันดับ 16 นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม พรรคไทยภักดี ร้อยละ 0.25

อันดับ 17 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พรรคประชาชาติ ร้อยละ 0.21, อันดับ 18 นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ พรรคไทยศรีวิไลย์ ร้อยละ 0.20, อันดับ 19 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 0.11, อันดับ 20 น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 0.10, อันดับ 21 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ร้อยละ 0.08, อันดับ 22 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง พรรคประชาชาติ ร้อยละ 0.06 และอันดับ 23 นายเทวัญ ลิปตพัลลภ พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 0.01

ต่อด้วยหัวข้อคำถามที่ 2 ท่านจะสนับสนุนพรรคการเมืองใด ในการเลือกตั้ง 2566 พบว่า ในกลุ่ม 10 อันดับแรกนั้น พรรคการเมืองได้รับการโหวตเป็นอันดับ 1 คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 38.89, อันดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 32.37, อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 12.84, อันดับ 4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.30, อันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคใด ร้อยละ 2.21, อันดับ 6 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.83, อันดับ 7 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.73, อันดับ 8 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.63, อันดับ 9 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.55 และอันดับ 10 พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 1.14

ส่วนพรรคอันดับอื่น ๆ มีผลโหวตโพลดังนี้ อันดับ 11 พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.96, อันดับ 12 พรรคไทยภักดี ร้อยละ 0.41, อันดับ 13 พรรคอื่นๆ ร้อยละ 0.36, อันดับ 14 พรรคประชาชาติ ร้อยละ 0.33, อันดับ 15 พรรคเปลี่ยน ร้อยละ 0.31 และอันดับ 16 พรรคไทยศรีวิไลย์ ร้อยละ 0.14

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ร่วมทำโพลออนไลน์ 'เดลินิวส์ x มติชน โพลเลือกตั้ง '66 ครั้งที่ 1' 84,076 ราย แยกเป็นกลุ่มช่วงอายุ 42-57 ปี หรือ 'GEN-X' มากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวนร้อยละ 35.08 ตามด้วยกลุ่มช่วงอายุ 58-76 ปี หรือ 'เบบี้บูมเมอร์' จำนวนร้อยละ 27.63, ช่วงอายุ 26-41 ปี หรือ 'GEN-Y' จำนวนร้อยละ 26.50, ช่วงอายุ 18-25 ปี หรือ 'GEN-Z' จำนวนร้อยละ 9.77 และช่วงอายุ 77 ปีขึ้นไป หรือ “Silent-GEN” จำนวนร้อยละ 1.02


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top