Tuesday, 30 April 2024
EducationNewsAgencyforAll

????คุยกับพี่อ๊อด "คุยง่ายๆ เรื่องการศึกษาใกล้ตัว" EP.5 เตรียมพร้อม เข้ามหาวิทยาลัยในไทย ต้องทำอะไรบ้าง ?

????คุยกับพี่อ๊อด "คุยง่ายๆ เรื่องการศึกษาใกล้ตัว"

EP.5 เตรียมพร้อม เข้ามหาวิทยาลัยในไทย ต้องทำอะไรบ้าง ?

????พบ (พี่อ๊อด) กิตติเชษฐ์ เกื้อมา วิทยากร

????(กันต์) ธนพัฒน์ แจ่มปรีชา ผู้ดำเนินรายการ

????น้องชมพู่ ช่วง 'ลมตะวันออก' ความรู้ดีดีและข่าวสาร จาก โลกตะวันออก

⏰วันเสาร์ที่ 4 กันยายน เวลา 2 ทุ่มตรง !

ติดตามรายการที่ช่อง THE STUDY TIMES

????Facebook : facebook.com/thestudytimes/

????YouTube : youtube.com/channel/UC2Sf0rVFuuSU2aQ5ioU34Lg

????TikTok : tiktok.com/@thestudytimes

.

.

????คุยกับพี่อ๊อด "คุยง่ายๆ เรื่องการศึกษาใกล้ตัว" EP.6 อยาก 'เรียนต่อต่างประเทศ' จะยากแค่ไหนเชียว

????คุยกับพี่อ๊อด "คุยง่ายๆ เรื่องการศึกษาใกล้ตัว"

EP.6 อยาก 'เรียนต่อต่างประเทศ' จะยากแค่ไหนเชียว

????พบ (พี่อ๊อด) กิตติเชษฐ์ เกื้อมา วิทยากร

????(กันต์) ธนพัฒน์ แจ่มปรีชา ผู้ดำเนินรายการ

????น้องน้ำฟ้า ช่วง 'Easy English with น้ำฟ้า' ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว

⏰วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน เวลา 2 ทุ่มตรง !

ติดตามรายการที่ช่อง THE STUDY TIMES

????Facebook : facebook.com/thestudytimes/

????YouTube : youtube.com/channel/UC2Sf0rVFuuSU2aQ5ioU34Lg

????TikTok : tiktok.com/@thestudytimes

.

จีนออกคำสั่งเฉียบขาด!! หั่นชั่วโมงเล่นเกมเด็กจีนเหลือเพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน เฉพาะสุดสัปดาห์ สกัดโรคติดเกม ละลายชั่วโมงครอบครัวบนโลกเสมือน

รัฐบาลจีนได้ออกคำสั่งตรงถึงผู้ให้บริการเกมออนไลน์ในจีน จำกัดการเข้าถึงของผู้เล่นเกมที่เป็นเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ให้สามารถล็อคอินเล่นเกมได้ในช่วงเวลา 20.00 - 21.00 น. เฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าเด็กจีนสามารถเล่นเกมออนไลน์ได้เพียง 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่จีนมีนโยบายจำกัดการเล่นเกมออนไลน์ของเยาวชน เมื่อปี 2019 จีนได้ออกระเบียบที่ระบุว่าเยาวชนไม่ควรเล่นเกมเกินวันละ 1 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อป้องกันปัญหาการติดเกมในเยาวชน ที่เปรียบเหมือนกับการติดยาเสพติดทางจิตใจที่จะส่งผลเสียต่อเด็กทั้งทางสุขภาพกาย และสุขภาพจิตอย่างมากในอนาคต

นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังระบุว่า ผู้สมัครใช้บริการเกมออนไลน์ จะต้องลงทะเบียนด้วยชื่อจริง และข้อมูลจริงเท่านั้น และจำกัดวงเงินในการเติมเกมสำหรับผู้เล่นเยาวชนอายุต่ำกว่า 16 ปี ใช้ได้ไม่เกิน 200 หยวนต่อเดือน หากอายุ 16-18 ปีใช้ได้ไม่เกิน 400 หยวนต่อเดือน โดยทางการจีนจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบระบบผู้ให้บริการออนไลน์อยู่เสมอเพื่อให้มั่นใจว่า มาตรการใหม่นี้จะมีการบังคับใช้จริงอย่างเคร่งครัด

มาคราวนี้มีการยกระดับให้เข้มยิ่งกว่าเดิม จำกัดช่วงเวลา เหลือเพียง 1 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า คำสั่งของรัฐบาลจีนนี้มีผลกระทบกับผู้ให้บริการเกมออนไลน์ รายใหญ่ของจีนอย่าง Tencent และ NetEase ที่มีข่าวว่าหุ้นร่วงลงทันทีที่รัฐบาลจีนออกมาตรการจำกัดการเล่นของผู้ใช้งานกลุ่มเยาวชน ที่มีมากกว่า 110 ล้านคนทั่วประเทศ และที่สำคัญ จีนมีตลาดเกมออนไลน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงแค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น

จึงไม่แปลกที่นโยบายการจำกัดชั่วโมงเล่นเกมออนไลน์ของเด็กจีน ถูกโยงไปถึงนโยบายของรัฐบาลจีน ที่ต้องการตัดตอนบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยี ที่มีเครือข่ายผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์จำนวนมหาศาลในจีน อย่าง Alibaba, Tencent, Baidu, Didi หรือ Meituan ไม่ให้มีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในจีนมากเกินไป

แต่ทั้งนี้ จีนก็ได้ออกมาตรการหลายๆ อย่าง เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพเยาวชนจีนรุ่นใหม่ อาทิ การยกเลิกระบบการสอบในชั้นเรียนของเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี เพื่อลดความกดดันในการสอบแข่งขันตั้งแต่ในวัยเด็ก

นโยบายงดการเรียน การสอนในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ห้ามธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และต้องจดทะเบียนในรูปแบบองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ที่ต้องเสียให้แก่โรงเรียนกวดวิชานอกชั่วโมงเรียน แทนที่เด็กจะเรียนอย่างเต็มที่ในชั้นเรียน และมีเวลาว่างเหลือให้ใช้ร่วมกับครอบครัวในวันหยุด

แต่สุดท้าย การพัฒนาคุณภาพของเด็กจีนจะดีขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาลหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับคนในครอบครัวเป็นสำคัญ ว่าจะสามารถดึงความสนใจของเด็กจากหน้าจอ สู่ครอบครัวได้มากน้อยเพียงใด

.

อ้างอิง

BBC

The Guardian


โดย Jeans Aroonrat

ล่าฝันคนทำเพลง จนได้เป็น ’โปรดิวเซอร์’ กับ ร้อยตรี จุฑาคุณ รังสรรค์ (คุณแบงค์) | Click on Crazy EP.4

บทสัมภาษณ์ Click on Crazy EP.4 
ร้อยตรี จุฑาคุณ รังสรรค์ (คุณแบงค์)
โปรดิวเซอร์เพลงค่าย KIT MUSIC

Q : แนะนำตัวหน่อยค่ะ
A :
ผมร้อยตรี จุฑาคุณ รังสรรค์ ชื่อเล่นชื่อแบงค์ ตอนนี้ก็เป็นผู้บังคับหมวดดุริยางค์ กองบริหารศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายภูมิพล จ.ลพบุรี ครับ และก็เป็นโปรดิวเซอร์ค่าย KIT MUSIC ครับ

Q : ในตอนเด็ก ๆ เด็กชายแบงค์มีความฝันอะไร 
A :
ตอนเด็ก ๆ ความฝันของผมคืออยากเป็นนักฟุตบอล ในตอนนั้น ไม่ได้มีดนตรีในความคิดเลย อยากติดนักฟุตบอลทีมชาติ เล่นกีฬาฟุตบอลอย่างเดียว พยายามไปคัดตัว เราก็เป็นทีมโรงเรียนสลับกันไปครับ 

Q : แล้วจุดเริ่มต้นในแวดวงดนตรีคืออะไร 
A :
จุดเริ่มต้นคือเหมือนพอเราเริ่มโตขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้น การเรียนก็เริ่มลดลง ผมสนใจในการทำกิจกรรมมากกว่า เล่นฟุตบอล เล่นดนตรี เกรดผมก็เลยตก ทางครอบครัวก็เลยมองว่าตัวผมไปทางการเรียนวิชาการไม่น่าจะรอด คุณพ่อก็วางแผนให้ไปเรียนที่ดุริยางค์โรงเรียน และรู้สึกว่าตัวเองมีพรสวรรค์ คือทางโรงเรียนก็มีให้คัดตัวไปเล่นทรัมเป็ต เราก็ได้มีโอกาสได้เล่นดนตรีกับผู้ใหญ่ และก็เริ่มมีความรู้สึกชื่นชอบ และ มีความสุขกับการเล่นดนตรี ได้สังคมด้วย มีความสุขมากขึ้นด้วย 

Q : แล้วทางครอบครัวของคุณแบงค์มีความคิดเห็นอย่างไร
A :
ทางครอบครัวก็คิดว่าผมคงเรียนไม่จบแน่ จากเด็กเรียนดี เกรด 4 มาตลอดพอขึ้นช่วงมัธยมแล้วเกรดก็ตก เคยติดศูนย์ด้วย อาจารย์ก็แปลกใจที่การเรียนตก ครอบครัวก็แปลกใจเช่นกัน และช่วงนั้นปี พ.ศ.2540 ก็มีวิกฤติต้มยำกุ้งด้วย ครอบครัวผมเลยหาที่เรียนใหม่เพื่อให้ผมเรียนจบ ก็เลยไปสอบที่ดุริยางค์ทหารบกแล้วก็สอบติดในปีถัดมา ทางครอบครัวก็คาดหวังอยากให้เรียนให้จบ ถ้าเรียนไม่จบก็อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะ ตอนที่เรียนโรงเรียนทหารบกผมก็ได้รับเงินเดือนด้วยบางส่วน และพอผมเรียนผมรู้สึกชอบและเข้าใจง่ายและสามารถทำได้ ทั้งในการเรียนวิชาการ ทฤษฎีและปฏิบัติ เกรดก็ดีขึ้นด้วย 

Q : ก่อนที่จะเป็นโปรดิวเซอร์ ต้องผ่านการเป็นนักดนตรีมาก่อนใช่ไหมคะ 
A :
ผมมองว่าทุกคนในอดีต ทุกคนต้องเป็นนักดนตรีอาชีพมาก่อน ต้องเริ่มมากจากจุดนั้น สมัยก่อนโซเชียลมีเดียยังเข้าไม่ถึงด้วย ไม่มีสื่ออะไรให้ดูเหมือนสมัยนี้ ต้องไปนั่งซื้อวิดีโอ เทคโนโลยีในปัจจุบันง่ายกว่าสมัยก่อน ห้องอัดแต่ก่อนเข้าทีก็ 2 – 3,000 บาท แต่สมัยนี้เราสามารถมีห้องอัด ห้องแต่งเพลงที่บ้าน ง่าย ๆ 

Q : เหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่ประทับใจในการทำงานดนตรี 
A :
 จริง ๆ แล้วผมประทับใจในทุกงานที่เราทำ งานที่เข้ามาแล้วเราสามารถทำได้ดี ทุกงานที่ผ่านมือเราไป ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียน ทุกงานไม่ว่าจะงานเล็ก งานใหญ่ เป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุด ทุกงานมีความพิเศษ เราไม่รู้หรอกว่าจะมีโอกาสเข้ามาทางไหนบ้าง ทุกเรื่องอาจจะเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราไม่ทำงานให้มันดีทุกงาน มันก็ไม่ดี เราควรเต็มที่กับทุก ๆ งาน

Q : มีงานไหนที่เรารู้สึกเสียใจ หรือ พลาดในบางโอกาส ที่อยากจะกลับไปแก้ไขบ้างไหม 
A :
 ถ้าพูดตรง ๆ ก็พลาดทุกงานและครับ ทุกคนเป็นมนุษย์ก็ต้องมีการพลาดกันบ้าง งานเล็ก งานน้อยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ถ้าเราแก้ไขได้ก็เป็นเรื่องที่ดี ทำอย่างไรให้มันพลาดน้อยที่สุด พยายามไม่ให้มันพลาดมากที่สุด เราจะต้องมีการเตรียมตัวอยู่แล้ว อย่างถ้าคนทำงานเดินทุกวันก็ต้องมีคนสะดุดบ้าง ฉะนั้นเรื่องนี้ยิ่งคนทำงานยิ่งเจอข้อผิดพลาด ยิ่งทำให้เรามีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น

อย่างการทำงานแต่ก่อนก็มีการร้องเพลงหลาย ๆ ชาติ เราก็อาศับประสบการณ์เข้าช่วย อย่างในอดีตผมเคยเกิดเหตุการณ์ลืมเนื้อเพลงตอนร้องเพลง แต่ด้วยความประสบการณ์ก็สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ โชคดีที่มีฟีดแบ็คที่ดีกลับมา เป็นการเรียนรู้จากความผิดพลาด ผมมองว่าข้อผิดพลาดเป็นครูของผม ผมไม่ได้รู้สึกนอยน์ เสียใจ แต่จะเก็บไว้เป็นบทเรียนในคราวหน้า พลาดบ่อย ๆ ก็สนุกดีแต่อย่าพลาดเยอะ ถ้าเกิดเหตุการณ์ก็ให้คำว่าช่างมันกับตัวเอง แล้วเริ่มใหม่ 

Q :  ความแตกต่างระหว่าง “นักดนตรี” และ “นักแต่งเพลง” คืออะไร 
A :
มีความแตกต่างกันครับ นักดนตรี จะมีหน้าที่ในการ Performance ให้ดี และต้องเล่นให้ดี เขาเรียกว่า Player จะต้องมีทักษะและสามารถถ่ายทอดออกมาให้ดี แต่นักแต่งเพลงจะต้องคิดภาพรวมทั้งหมดว่าก่อนที่จะออกมาจะเป็นอย่างไร และยิ่งนักแต่งเพลงจะต้องฟังเพลงเยอะมาก ๆ ก่อนที่ผมจะแต่งเพลง ผมก็เล่นดนตรี ฟังเพลงมาเยอะ จะต้องมีความรู้ในระดับหนึ่ง 

Q : เพลงไหนที่เมื่อแต่งแล้วมีความประทับใจที่สุด หรือมีความท้าทายมากที่สุด
A :
เพลงทุกเพลงมีความท้าทาย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแต่งเพลง ๆ หนึ่ง มันไม่มีอะไรง่ายเลย เพลงทุกเพลงพอได้ทำออกมาผมมีความประทับใจในทุก ๆ เพลง จะมีความภาคภูมิใจ เวลาเรามานั่งฟัง มันให้ความรู้สึกพิเศษในทุกเพลง ผมมองว่าเป็นเพลงทุกเพลงเป็นเหมือนลูก ๆ ของผม เพราะเราสร้างมากับมือ เวลาที่เราทำงานชิ้นหนึ่งแล้วมีคนสนใจ พอสักพักความสนใจก็จะหายไป

แต่พอเราได้นึกย้อนกลับมา จะให้ความรู้สึกคิดถึง และอารมณ์ตอนนั้นก็จะลกับมา เหมือนเป็นความทรงจำดี ๆ ให้ได้นึกถึง อย่างเพลงเชียร์ยูโร พอย้อนกลับมาก็ให้ความรู้สึกถึงช่วงเวลานั้น ทำให้เรานึกถึงตอนแต่ง อารมณ์คนฟัง ในช่วงนั้น อย่างเพลงไหนที่คนจำได้แค่ช่วงสั้น ๆ แต่ติดหูก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว

Q :  โปรดิวเซอร์จริง ๆ แล้วมีหน้าที่อะไร 
A :
โปรดิวเซอร์มีหน้าที่ดูภาพรวม ภาพรวมของพาร์ทดนตรีทั้งหมด ทิศทางของอัลบั้ม เหมือนโปรดิวเซอร์รายการที่ต้องดูภาพรวมของรายการทั้งหมด 

Q : มีช่วงเวลาที่หมดไฟบ้างหรือไหม 
A :
มีครับ มีตลอดเวลา อารมณ์คล้าย ๆ กับการเล่นละครเวที พอเราทำเพลงเสร็จ อารมณ์ก็จะดึงออกมาไม่ได้ เราเล่น เราฟังเป็นหลาย ๆ รอบ ฟังหลาย ๆ ครั้ง เอาอารมณ์ช่วงนั้นไม่ออก ก็ต้องไปนอนหรือใช้เวลาเอาอารมณ์ออก พอะเริ่มต้นใหม่ก็จุดไฟมันขึ้นมาใหม่ ลงมือทำใหม่ได้เลย แต่ก่อนช่วงหมดไฟก็หากิจกรรมอื่น ๆ ทำ พอเราทำกิจกรรมไอเดียก็จะขึ้นมาใหม่ จากการดูซีรีส์ เล่นเกม เล่นฟุตบอลก็มี 

Q : ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบอะไรบ้าง
A :
จริง ๆ ก็กระทบทุกอาชีพครับ นักดนตรีนี่ยิ่งกระทบเลย ไม่ได้เล่น ไม่ได้มีงานเข้ามาเลย เราก็อยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างประหยัด ในความคิดของผมก็อยู่ได้ ช่วงนี้ทุกอย่างก็แย่หมด กว่าจะฟื้นตัวก็อีกนาน ก็ต้องอยู่อย่างประหยัด

Q :  คุณแบงค์ชอบมีการวางแผนในการทำงานบ้างไหมคะ ทำให้เกิดประโยชน์อะไรบ้าง
A :
ส่วนตัวชอบการวางแผนครับ แต่ก่อนไม่ได้เป็นคนวางแผนอะไรเลย แต่มีอาจารย์ก็ได้มาสอนให้เราลองวางแผนล่วงหน้าว่าในวันพรุ่งนี้จะทำอะไร ทำให้เกิดประโยชน์มาก ๆ ก่อนจะนอนก็มีการวางแผนและมีเป้าหมายในชีวิต ทำให้เราเดินตามเป้าหมายที่เราวางไว้ได้ กว่าจะถึงจุดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

หลาย ๆ คนอาจจะมองคนที่ผลลัพธ์ไม่ได้มองระยะทาง ชอบมองคนที่สำเร็จแล้ว จริง ๆ แล้วไม่ได้ง่าย จริง ๆ แล้วชีวิตของคนมีความท้าทายตลอดเวลา จริง ๆ แล้วผมเป็นคนไม่ชอบอยู่นิ่งด้วย อย่างตอนโควิด-19 มาแรก ๆ ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก็เล่นเกม หากิจกรรม อย่างตอนนี้ ก็อยากเรียนเกี่ยวกับการเป็นผู้กำกับหนัง อยากรู้ว่าสายอาชีพนั้นมีอะไร การถ่ายภาพ ต่าง ๆ อยากเรียนที่เกาหลี อยากเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ถ้าอยากรู้ก็ให้ลงมือเรียนเลยดีกว่า อยากรู้ก็ต้องเริ่มเลย 

Q : อยากให้คุณแบงค์ฝากถึงผู้คนที่อยากประสบความสำเร็จในเส้นทางดนตรีหน่อยค่ะ
A :
การเป็นนักดนตรีหรือการเป็นนักแต่งเพลง มันล้มลุกคลุกคลาน เขียนมาร้อยเพลงอาจจะดีไม่กี่เพลง อย่าไปท้อ เพราะท้อเอาไว้ให้ลิงถือ อย่าท้อ ให้ลงมือทำ อันไหนที่เราทำไม่ได้ก็ไม่ต้องไปทำ ถ้าเราอยากทำอะไรให้ทำไปเลย อย่ารอ เริ่มเสียตั้งแต่ตอนนี้ อยากเขียนเพลงก็เริ่มเลย บางคนเขียนเพลงแรกก็ประสบความสำเร็จเลย 

.

.

.

กระทรวงศึกษาธิการ โอนเงินเยียวยานักเรียน 2,000 บาท เริ่ม 1-7 ก.ย. เช็กช่องทางตรวจสอบสิทธิ ผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ https://student.edudev.in.th

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีมาตรการให้ความช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนักเรียนและนักศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ขณะนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินการ โดยมีความคืบหน้าดังนี้

กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้เริ่มการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการ “อว.ลดค่าเทอม” แล้วตั้งแต่ 26 ส.ค. 64 สำหรับมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง ขณะนี้มีจำนวน 29 แห่ง รวมเป็นเงิน 2,250 ล้านบาท ซึ่งมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาจะนำไปใช้ลดค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคเรียนที่ 1/2564 ในสัดส่วนเงินสนับสนุนจากรัฐบาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้เร่งติดตามและตรวจสอบระบบการเบิกจ่ายเงินอย่างใกล้ชิด เงินทุกบาทที่รัฐบาลสนับสนุน ต้องถึงมือนิสิตนักศึกษา คืนให้กับคนที่ได้ชำระค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาไปแล้ว หรือใช้ลดค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับผู้ที่กำลังจะชำระเงิน โดยมหาวิทยาลัยไม่เก็บเงินดังกล่าวไว้แต่อย่างใด 

ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้เร่งตรวจสอบและยืนยันข้อมูลนักศึกษาส่งมาที่กระทรวงโดยเร็ว เพื่อดำเนินการอนุมัติเบิกจ่ายแก่สถาบันที่เหลือ อีกประมาณ 100 กว่าแห่ง ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาต่อไป

ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 2,000 บาท กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับงบประมาณ จำนวน 1.95 หมื่นล้านบาท สำหรับเด็กนักเรียน 9.79 ล้านคน เมื่อ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา และทำการจัดสรรไปยังหน่วยงานที่กำกับดูแลแล้ว ได้แก่

 - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รับเงินเยียวยานักเรียน คนละ 2,000 บาท ทั้งการรับเงินโอนเข้าบัญชี หรือรับเงินสดที่โรงเรียน

- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) รับเงินเยียวยานักเรียน คนละ 2,000 บาท ทั้งการรับเงินโอนเข้าบัญชี หรือรับเงินสดที่โรงเรียน

- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รับเงินเยียวยานักเรียน คนละ 2,000 บาท ทั้งการรับเงินโอนเข้าบัญชี หรือรับเงินสดที่สถานศึกษา

- สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) รับเงินเยียวยานักเรียน คนละ 2,000 บาท โดยรับเงินสดที่สถานศึกษา 

ทั้งนี้ ผู้ปกครองที่ไม่ได้รับเงินภายในเวลาดังกล่าว ขอให้ติดต่อโรงเรียนที่บุตรหลานศึกษาอยู่ หรือโทร หมายเลข 1579 / 1693

“นายกรัฐมนตรีกำชับให้ทั้งสองกระทรวง ติดตามตรวจสอบระบบการจ่ายเงินอย่างใกล้ชิด ทุกขั้นตอน ไม่ให้มีการทุจริต ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส และต้องถึงมือผู้ปกครองนักเรียน และนักศึกษาอย่างครบถ้วน ” น.ส.รัชดา กล่าว

สำหรับ ช่องทางเช็กสิทธิรับเงินเยียวยา 2,000 บาท สามารถเข้าตรวจสอบสิทธิ ได้ที่ https://student.edudev.in.th โดยระบบจะให้กรอกเลขประจำตัวประชาชนของนักเรียน เลขประจำตัวนักเรียน เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล
 

การตั้งคำถาม กระตุ้นให้พวกเขามีโอกาสแสดงความเป็นตัวตน มอบพื้นที่แห่งความสบายใจและรู้สึกปลอดภัยในการแสดงออก เพื่อให้พวกเขาได้ค้นพบคุณค่าในตัวเอง และค้นหาทางออกด้วยตัวของเขาเอง

การตั้งคำถามที่ทรงพลัง (Powerful Questioning) คือ การตั้งคําถามที่ช่วยให้คู่สนทนาสามารถจัดการความคิดยุ่งเหยิงของตนเองให้เป็นระบบระเบียบ และเมื่อความคิดความรู้สึกถูกจัดเรียงใหม่แล้ว เขาจะมีความพร้อมในการตั้งเป้าหมาย ประเมินสถานการณ์ มองหาทางเลือกต่างๆ และตัดสินใจเลือกวิธีการเดินหน้าต่อได้ชัดเจน 

การตั้งคำถามที่ทรงพลัง เป็นทักษะสำคัญที่ใช้ในการโค้ชเพื่อสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการทำโครงการ/กิจการเพื่อสังคม แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร หรือใช้สื่อสารกับผู้ที่กำลังสับสน ให้ได้ค้นพบคำตอบและแนวทางต่อด้วยตนเอง

1. คำถามกระตุ้นวิสัยทัศน์และเป้าหมาย 

วัยรุ่นค่อนข้างสับสนในตัวเอง เพราะมีข้อมูลรอบด้าน เพื่อช่วยให้วัยรุ่นได้เข้าใจตัวเอง มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนมากขึ้น จะได้มองเห็นภาพอนาคต จะได้มีความชัดเจนในตัวเอง ด้วยการตั้งคำถามกระตุ้นให้พวกเขาได้รู้จักข้อดีข้อเสีย โอกาสและอุปสรรคของตัวเอง จะได้ตั้งเป้าหมายในชีวิตที่แคบลง  เช่น

 “วันนี้เราจะคุยเรื่องอะไรกันดี” 
“คิดว่าทักษะอะไรสำคัญบ้าง”
“สุดท้ายต้องการเห็นอะไร หลังจากที่จบการคุยกัน”
“จากจุดนี้ต้องการไปให้ถึงจุดไหน”
“คิดว่านิสัยส่วนไหนของเราที่อาจเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในเป้าหมายนะ”
“คิดว่านิสัยส่วนไหนที่เป็นจุดแข็งของเรานะ”

2. คำถามชวนตระหนักถึงความจริงที่เกิดขึ้น

ในเวลาที่ข้อมูลเยอะ เกิดความสับสนในชีวิต มักทำให้คนรุ่นใหม่เกิดความลังเลสงสัย เกิดจินตนาการและการคาดการณ์ต่างๆ นานา เพื่อช่วยให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงความจริงที่อยู่ตรงหน้า ช่วยตรวจสอบมุมมองของข้อมูลให้รอบด้านมากขึ้น “ข้อมูลที่พบ มีที่มาจากแหล่งใด” (ช่วยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล) ด้วยการตั้งคำถามให้พวกเขาตระหนักและยืนอยู่บนพื้นฐานตามความจริง พร้อมช่วยประเมินสถานการณ์เบื้องต้น เช่น

“มีใครหรือหน่วยงานใดบ้างที่ทำงานในประเด็นนี้อยู่บ้างนะ”
“เกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดผลลัพธ์หรือผลกระทบกับคุณอย่างไรบ้าง”
“คิดว่ามีส่วนไหนบ้างที่ไม่จำเป็นในเบื้องต้น”
“ที่ผ่านมามีตรงจุดไหนบ้างที่เราพลาดไปไม่ได้ทำ”

3. คำถามชวนค้นหาทางเลือก

เมื่อช่วยให้วัยรุ่นมีจุดตั้งต้นอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงแล้ว ขั้นต่อไปคือการชวนคิดถึงโอกาสและทางเลือกต่างๆ โดยกลับไปเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น

– ถามเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และเปิดพื้นที่ให้เขาได้ทดลองคิดถึงความเป็นไปได้ต่างๆ เช่น 

“คิดว่ามีไอเดียหรือทางเลือกใดบ้าง ที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ปัจจุบัน”
“เราจะพัฒนาสิ่งที่เรามีได้อย่างไรนะ”
“เกี่ยวกับเรื่องนี้เลวร้ายที่สุดคือเรื่องใด”
“หากมีคนที่อยู่ในสถานการณ์เหมือนเราตอนนี้ คุณจะแนะนำเขาว่าอย่างไร”
 “คุณจะมีแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละทางเลือกอย่างไรบ้าง”

ขั้นตอนนี้จะเป็นตัวสรุปการพูดคุย โดยเราอาจช่วยให้วัยรุ่นทบทวนสิ่งที่คุยกัน ตั้งแต่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ความเป็นจริงที่ผ่านมา และทางเลือกต่างๆ เพื่อให้คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจเลือกว่าจะเลือกทางใดดี ซึ่งเราอาจเพิ่มคำถามเพื่อย้ำบทสรุปให้เห็นแผนที่ชัดเจนขึ้น เช่น “คิดว่าจะพร้อมลงมือทำตามไอเดียที่เลือกเมื่อไรดี” หรือ “สรุปว่าเราจะทำอะไรกันต่อบ้าง” เป็นต้น
 
4. ทำความเข้าใจก่อนค่อยถามต่อ 

ระหว่างการพูดคุย หากพบว่ามีข้อมูลบางอย่างที่ไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจตรงกับวัยรุ่นหรือไม่ อย่างไร ให้จัดการเคลียร์ความเข้าใจนั้นให้กระจ่างก่อน เช่น ศัพท์เฉพาะ ให้อธิบายให้เข้าใจ หรือ เรื่องนามธรรมให้เปรียบเทียบเปรียบเปรยให้เห็นได้ชัดๆ ด้วยการพูดว่า

 “ตรงนี้นิดหนึ่งนะ…ที่คุณพูดว่า….(ทวบทวนสิ่งที่เราได้ยิน)”
“ที่คุณพูดว่า……(บอกสิ่งที่เราเข้าใจ)…ว่าใช่หรือไม่”
“นิดหนึ่ง….(บอกสิ่งที่เราเข้าใจ)….ไม่ทราบว่าเข้าใจตรงกันไหมคะ”

ซึ่งหากผลออกมาว่าเราเข้าใจไม่ตรงกับเป้าหมายของวัยรุ่น ขอแนะนำให้จดบันทึกไว้ว่า ประเด็นหลักที่วัยรุ่นต้องการสื่อสารแต่แรกคือเรื่องใด และขณะนี้เราต้องหยุดพักซักครู่เพื่อทำความเข้าใจเรื่องใดก่อน เพื่อป้องกันการคุยหลุดประเด็น

เคล็ดลับอยู่ตรงที่ การตั้งคำถามกระตุ้นให้พวกเขาได้มีโอกาสแสดงความเป็นตัวตน มอบพื้นที่แห่งความสบายใจและรู้สึกปลอดภัยในการแสดงออก เพื่อให้พวกเขาได้ค้นพบคุณค่าในตัวเอง และค้นหาทางออกด้วยตัวของเขาเอง เราแค่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้เขาเข้าถึงความจริงในตัวเองให้ได้ 

เขียนโดย อ.นิธิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากร โปรเฟสชั่นนอล เทรนเนอร์
#Talktonitima


อ้างอิง
https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/11291/
https://www.hcdcoaching.com/17020389/ทักษะการถาม-questioning-skill

อว. เดินหน้าโครงการ "อว. ลดค่าเทอม" ตามนโยบายรัฐบาล เบิกจ่ายเงินส่งให้มหาวิทยาลัยที่ยืนยันข้อมูลครบถ้วนแล้ว 29 แห่ง จำนวน 2,250 ล้านบาท ย้ำเงินทุกบาทที่รัฐสนับสนุนต้องถึงมือนักศึกษา

ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ อว. ดำเนินโครงการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 นั้น ขณะนี้ ได้เริ่มการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการ "อว.ลดค่าเทอม" แล้วตั้งแต่วันที่พฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 

สำหรับมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง เสนอครบถ้วนแล้ว มีจำนวน 29 แห่ง รวมเป็นเงิน 2,250 ล้านบาท ซึ่งมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาจะนำไปใช้ลดค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคเรียนที่ 1/2564 ในสัดส่วนเงินสนับสนุนจากรัฐบาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ได้แจ้งไปแล้ว โดยเน้นย้ำให้กระบวนการอนุมัติงบประมาณมีความรวดเร็ว รอบคอบ รัดกุม ขั้นตอนจ่ายเงินขอให้ดำเนินการด้วยความโปร่งใส สามารถติดตามตรวจสอบการจ่ายเงินทุกขั้นตอน ไม่ให้เกิดการทุจริตอย่างเด็ดขาด

รมว.อว. กล่าวต่อว่า ทางอว. ได้เร่งติดตามและตรวจสอบระบบการเบิกจ่ายเงินอย่างใกล้ชิด โดยเงินทุกบาทที่รัฐบาลสนับสนุน ต้องถึงมือนิสิตนักศึกษา โดยมหาวิทยาลัยจะจ่ายเงินคืนกับนิสิตนักศึกษาที่ได้ชำระค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาไปแล้วหรือใช้ลดค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับผู้ที่กำลังจะชำระเงิน โดยทางมหาวิทยาลัยไม่เก็บเงินดังกล่าวไว้แต่อย่างใด

ด้าน ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. รายงานเพิ่มเติมว่า สำนักงานปลัด อว. ได้ตั้งศูนย์ประสานงานเรื่องดังกล่าวและทำงานร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.), ที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล( ทปอ.มทร.), สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษานอก อว. กันอย่างใกล้ชิด ใช้ระบบฐานข้อมูลการอุดมศึกษากลางของประเทศ ซึ่งดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมาก 

โดยเมื่อสภาพัฒน์ สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังได้ตรวจสอบโครงการแล้ว ส่งต่อให้กรมบัญชีกลางเพื่อโอนเงินโครงการนี้มาให้ อว. ซึ่ง อว. ได้สั่งการเบิกจ่ายไปยังมหาวิทยาลัยที่ได้จัดส่งและยืนยันข้อมูลเข้ามาครบถ้วนแล้วในสัปดาห์เดียวกันเลย

 “การดำเนินงานต่างๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยดี อย่างไรก็ตาม อว. ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ให้เร่งตรวจสอบและยืนยันข้อมูลนักศึกษาส่งมาที่กระทรวงโดยเร็ว เพื่อดำเนินการอนุมัติเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาต่อไป” ปลัด อว. สรุป


ที่มา : Facebook Page : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://www.facebook.com/184257161601372/posts/4931132673580440/

อว. ก้าวข้ามกรอบทำงานรูปแบบเดิม อนุญาตบัณฑิตทุน พสวท. ใช้ทุนด้วยการทำงานในภาคเอกชน เดินหน้าร่วมเอกชนพัฒนาไทยไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน 10 ปี

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงโครงการส่งเสริมบัณฑิตทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปปฏิบัติงานในภาคเอกชน ว่า ภาคเอกชนนับเป็นภาคส่วนที่มีสัดส่วนในการลงทุนวิจัยและพัฒนากว่า 1.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของการลงทุนวิจัยและพัฒนาทั้งหมดของประเทศ 

ซึ่งแน่นอนว่าความต้องการบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนก็ต้องเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อให้สามารถรองรับการลงทุนวิจัยและพัฒนาได้ การปลดล็อกเพื่อให้บัณฑิตทุนไปทำงานภาคเอกชน จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการกำลังคนที่มีศักยภาพสูงของภาคเอกชน 

ซึ่งขณะนี้ อว. ได้ร่วมมือกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงความต้องการของภาคเอกชน สถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยของรัฐและบัณฑิตทุนเข้าด้วยกัน ภายใต้ชื่อ Talent Thailand Platform ที่มีทั้งระบบการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังคนที่มีศักยภาพสูงที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายและงานวิจัยขั้นแนวหน้า และการพัฒนาแพลตฟอร์มการใช้ประโยชน์กำลังคนที่มีศักยภาพสูงของประเทศ 

โดยในการดำเนินงานจะมีการส่งเสริมให้บัณฑิตทุนทุกคนได้รับการบ่มเพาะเพื่อเตรียมความพร้อมในการร่วมงานกับเอกชน และ ส.อ.ท. จะนำความเชี่ยวชาญของบัณฑิตทุนแต่ละคนมาวิเคราะห์เพื่อดูความเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับสนับสนุนให้ไปทดลองงานกับภาคอุตสาหกรรมอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 3 เดือน และหากภาคอุตสาหกรรมสนใจที่จะว่าจ้างบัณฑิตทุนต่อ ก็สามารถจัดทำเป็นสัญญาเพื่อดำเนินการจ้างต่อได้ 

ถือเป็นอีกก้าวที่การอุดมศึกษาจะเข้าไปเติมเต็ม ช่วยแก้ปัญหาการทำงานของภาคเอกชน และได้ก้าวข้ามกรอบการทำงานรูปแบบเดิมที่นักเรียนทุนต้องทำงานกับภาครัฐเท่านั้น โดยมุ่งหวังที่จะสามารถนำเอาศักยภาพของบัณฑิตทุนมาช่วยพัฒนาประเทศร่วมกับภาคเอกชนและเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน 10 ปี 

ด้าน ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีพลิกโฉม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การเข้าสู่สังคมสูงวัย รวมถึงการเกิดโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด -19 ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 

ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนวิจัยและพัฒนา การพัฒนากำลังคน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากกำลังคนผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศผ่านการดำเนินงานของทั้งภาครัฐและเอกชน 

แม้ที่ผ่านมา ประเทศไทยจะมีระบบส่งเสริมการผลิตกำลังคนที่มีศักยภาพสูงผ่านการให้ทุนการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สามารถสร้างนักเรียนทุนรัฐบาลที่เป็นกำลังสำคัญที่จะใช้ความรู้และความสามารถช่วยพัฒนางานวิจัยและพัฒนาของประเทศเพื่อต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและนำไปสู่การพัฒนาสังคมได้อย่างต่อเนื่อง 

แต่นักเรียนทุนรัฐบาลส่วนใหญ่เมื่อจบการศึกษาแล้วจะมีรูปแบบการชดใช้ทุนโดยการบรรจุเข้าทำงานในหน่วยงานของภาครัฐ สถาบันวิจัยของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาตามหน่วยทุนต้นสังกัด และข้อจำกัดจากเงื่อนไขการชดใช้ทุนนี่เองที่ทำให้นักเรียนทุนบางส่วนไม่ได้ใช้ศักยภาพเต็มที่ งานที่ได้รับมอบหมายขาดความท้าทายและไม่สอดคล้องกับความรู้และทักษะที่มี ทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการใช้กำลังคนอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาประเทศ
.
ปัจจุบันประเทศไทยมีนักเรียนทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหลักของประเทศ อาทิ ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ทุนโครงการปริญญาเอกกาญนาภิเษก (คปก.) และทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย 

ซึ่งมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วรวมประมาณ 9,000 คน และกำลังศึกษาอยู่ประมาณ 6,000 คน และคาดว่าจะมีนักเรียนทุนที่สำเร็จการศึกษาประมาณปีละ 500-700 คน และจากข้อมูลของ พสวท. พบว่า จากพลวัตรที่โลกปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว บางสาขาที่บัณฑิตทุนสำเร็จการศึกษามาอาจมีความล้ำหน้าหรือเจาะลึกและใช้เครื่องมือเฉพาะทางที่มีเฉพาะในห้องปฏิบัติการต่างประเทศ ซึ่งอาจไม่ตรงกับความต้องการของงานวิจัยและการศึกษาในภาครัฐของไทยในปัจจุบัน จึงส่งผลให้บัณฑิตทุน พสวท. ยังรอเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนอยู่ถึง 53 คน โดยเป็นบัณฑิตระดับปริญญาเอก 42 คน และระดับปริญญาโท 11 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2564) 

ดังนั้น การเปิดโอกาสให้บัณฑิตทุน พสวท. สามารถไปปฏิบัติงานในภาคเอกชนที่มีกิจกรรมวิจัยและพัฒนาอย่างเข้มข้น จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการใช้ประโยชน์กลุ่มกำลังคนศักยภาพสูง 


ที่มา : https://www.nxpo.or.th/th/8759/

หัวใจของการทำพิธีกรสัมภาษณ์ คือการฟังคู่สนทนาอย่างตั้งใจ การตั้งประเด็น เป็นที่มาของการตั้งคำถามในการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง เมื่อตั้งประเด็นที่ใช่ การตั้งคำถามที่ใช่ก็จะตามมา และนำไปสู่คำตอบที่ใช่เช่นเดียวกัน

“การตั้งคำถามที่ดี จะนำไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง” คำสอนสำหรับพิธีกรสัมภาษณ์จากรุ่นพี่สู่พิธีกรรุ่นน้องเสมอๆ และทุกครั้งที่ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดคำสอนนี้ก็มักจะมีคำถามตามมาเสมอว่า แล้วคำถามที่ดี คำถามที่ถูก คือแบบไหนกันหรือ ? 

คำถามที่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกดี ?
คำถามที่ใคร่รู้สงสัย ? 
คำถามที่ทำให้ผู้ฟังได้ประโยชน์ ? 
หรือคำถามแบบไหนกัน 

แต่ทุกครั้งที่ถามและตอบ แล้วทำให้ทั้งผู้ถามและผู้ตอบรู้สึกดีในบทสนทนา อย่างน้อยที่สุดก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตามหัวใจของการทำพิธีกรสัมภาษณ์ ไม่ใช่การพูด แต่คือการฟังคู่สนทนา ฟังอย่างตั้งใจ ฟังให้ได้ยินว่าเขาต้องการจะสื่ออะไร แล้วเราก็จะได้ประเด็นที่จะสามารถต่อยอดได้ 

เหมือนจะง่ายแต่ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะการฟังจากการคุย ไม่เหมือนการฟังเพื่อจดเลคเชอร์ การควบคุมบรรยากาศ การแสดงท่าที การมีส่วนร่วมระหว่างกัน จะทำให้การพูดคุยนั้นสนุกและน่าสนใจ แต่หากพิธีกรสติไม่อยู่กับการฟังแต่ดันเพลินไปกับการพูดคุย ก็จะทำให้หลุดประเด็นในการสัมภาษณ์เช่นเดียวกัน 

การเป็นพิธีกรสัมภาษณ์จึงต้องมีการฝึกฝน ฝึกให้มาก ตั้งคำถามให้เยอะ แล้วจะตั้งคำถามจากพื้นฐานของอะไร ?

ก็ประเด็นยังไงหล่ะ ?  การตั้งประเด็น จึงเป็นที่มาของการตั้งคำถามในการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง การตั้งประเด็นจึงมีความสำคัญมาก ว่าวันนี้อยากคุยในประเด็นไหน ประเด็นนั้นมีความน่าสนใจไหม ประเด็นนั้นให้อะไรแก่ผู้รับ ซึ่งนี่ต่างหากคือที่มาของการตั้งคำถาม เมื่อตั้งประเด็นที่โดน ที่ใช่ การตั้งคำถามที่ใช่ ก็จะตามมา และนำไปสู่คำตอบที่ใช่เช่นเดียวกัน 

แล้วจะฝึกการตั้งประเด็นที่คมมากพอได้อย่างไร ? เมื่อผู้ตั้งประเด็นมีข้อมูลพื้นฐานที่มากและรอบด้านมากพอที่จะทำให้เห็นว่าประเด็นไหนมีความน่าสนใจที่จะนำเสนอให้กับผู้รับสารนั้น 

สำหรับผู้เขียนซึ่งเป็นพิธีกรสัมภาษณ์ และต้องตั้งประเด็นสัมภาษณ์เองนั้น ก็ต้องบอกตามตรงว่ายังไม่เก่งนัก และต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ความท้าทายคือ เราต้องทำสิ่งนั้นอย่างสม่ำเสมอและมากขึ้นทุกวัน ไม่หยุดพัฒนา แล้ววันหนึ่งคำถามของเราจะนำไปสู่คำตอบที่ใช่ได้แน่นอน 


เขียนโดย: ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Program Director THE STUDY TIMES 

THE STUDY TIMES STORY ⚠️ Come back ‼️ Rerun ↪️  (วันที่ 6 - 8 กันยายน) พบกับเรื่องราวชีวิตและการเรียน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

???? รายการ THE STUDY TIMES STORY ⚠️ Come back ‼️ Rerun ↪️ 

???? พบกัน 2 ทุ่มตรง

✨จันทร์ที่ 6 ก.ย. 

พบกับเรื่องราว สาวน้อยนักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ‘น้ำหวาน’ ภิรมณ กำเนิดมณี ได้ตั้งแต่

ปริญญาตรี-เอก ที่สหรัฐอเมริกา

✨อังคารที่ 7 ก.ย. 

พบกับเรื่องราว ไอดอลสาวสวย ‘ปิ่น’ ธัญชนก ปการัตน์ การเรียนรัฐศาสตร์ทำให้การมอง

โลกเป็นระบบมากขึ้น เอามาใช้กับการทำงานในวงการบันเทิงได้เป็นอย่างดี

✨พุธที่ 8 ก.ย. 

พบกับเรื่องราว ‘แองจี้’ ธนธร ศิระพัฒน์ จากคนที่ไม่ชอบภาษาจีน แต่เพราะสนใจศาสตร์

แพทย์จีน จึงก้าวข้ามอุปสรรคได้

????ติดตามรายการที่ช่อง THE STUDY TIMES

????Facebook : facebook.com/thestudytimes/

????YouTube : youtube.com/channel/UC2Sf0rVFuuSU2aQ5ioU34Lg

????TikTok : tiktok.com/@thestudytimes


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top