Sunday, 15 December 2024
Econbiz

'รมว.ปุ้ย' เผย!! 'ก.อุตฯ' รับลูกนายกฯ ดันนโยบายสอดรับแก้ไขฝุ่น PM 2.5 ชี้!! จัดเต็มแก้ไขตั้งแต่ต้นตอปัญหา 'โรงงาน-ควันรถยนต์-เผาไร่อ้อย'

(14 ธ.ค. 66) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยภายหลังติดตามนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ร่วมงาน เดลินิวส์ ทอล์ก 2023 (Dailynews Talk 2023) พร้อมฟังเสวนา หัวข้อ ‘คนไทยถาม นายกฯ เศรษฐาตอบ’ ในหลากหลายมิติ ว่า…

เมื่อวานนี้ (13 ธ.ค. 66) ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ติดตาม นายกเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร่วมงาน ‘เดลินิวส์ ทอล์ก 2023’ พร้อมฟังเสวนา ในหัวข้อ ‘คนไทยถาม นายกฯ เศรษฐาตอบ’ โดยมีพี่ ๆ น้อง ๆ ชาวเดลินิวส์ จัดขึ้นอย่างอลังการมาก คุณปารเมศ เหตระกูล กรรมการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์ เป็นหัวเรือใหญ่ มีประเด็นที่พูดคุยเสวนากันอย่างครบครันที่ล้วนแต่สอดรับกับนโยบายรัฐบาลกำลังเร่งเดินหน้าอย่างเต็มสูบ เต็มกำลัง

รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงอย่างมาก คือการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษา อัตราเงินเดือนขั้นต่ำเงินของผู้จบปริญญาตรี เงินดิจิตอล การแก้ไขหนี้นอกระบบ ปัญหาเรื่องพลังงาน ปัญหาสังคมยาเสพติด อาชญากรรม ฝุ่น PM 2.5 โดยนายกเศรษฐาได้ให้คำมั่นไว้ รัฐบาลยึดถือประชาชนเป็นหลัก ทำงานให้เต็มกำลังแก้ปัญหาให้ทุก ๆ ปัญหา

รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า ภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม เรากำลังนำนโยบายมาแก้ไขซึ่งสอดรับกับเรื่องฝุ่น เป็นนโยบายที่เร่งด่วนลดผลกระทบกับสภาพอากาศ ต้นตอปัญหาที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังเร่งแก้ไขจัดการคือ โรงงานอุตสาหกรรมต้นตอการปล่อยฝุ่นควัน ท่อไอเสียยานยนต์ชนิดต่าง ๆ และที่กำลังรอผลประเมินคือการแก้ไขปัญหาการเผาไร่อ้อย โดยมีมาตรการที่เข้าไปจัดการแก้ไขคือทั้งในรูปแบบในการสนับสนุนด้วยวงเงินสนับสนุนเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลง และการสนับสนุนและการกำกับตามกฎหมาย ยกระดับมาตรฐาน ไปจนถึงระบบการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ 

“เหล่านี้เพื่อสร้างอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและภาคอุตสาหกรรม สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ มีความสุขและความยั่งยืน ตนกำลังนำพากระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าไปหาจุดนั้น เต็มที่ เต็มกำลังแน่นอน” รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย

‘เศรษฐา’ นำ 2 ค่ายยักษ์ยานยนต์บิน ‘ญี่ปุ่น’ ช่วยเจรจาการค้า เชื่อ ฟรีวีซ่าเพิ่มความสะดวก ช่วยเศรษฐกิจไทยส่องแสงสว่าง

(14 ธ.ค. 88) ที่ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงความคาดหวังในการปฏิบัติภารกิจที่ญี่ปุ่นในครั้งนี้ ว่า เป็นการเยือนญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก มีเรื่องที่ต้องพูดคุยกันเยอะ และจะมีการพบปะกับ ‘ฮุน มาเนต’ นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และ ‘เจ้าชายอับดุล มาทีน’ มกุฏราชกุมารลำดับที่ 4 ของราชวงศ์บรูไนที่จะอภิเษกสมรสในเดือนหน้านี้ การเดินทางเป็นการไปล่วงหน้าก่อน 2 วัน ไปเจรจาเรื่องการค้าญี่ปุ่น ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับยานยนต์ที่จะมีการพูดคุยกัน จะเจอรายใหญ่หลายราย เช่น พานาโซนิค และมีอีกหลายนัด และพยายามให้บริษัทยานยนต์ของญี่ปุ่นมาพบมากขึ้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้นายกฯ ระบุว่า การเดินทางไปต่างประเทศจะชักชวนนักธุรกิจไทยไปด้วย เพื่อพูดคุยถึงการลงทุนที่จะดึงต่างประเทศเข้ามาในไทย รอบนี้มีนักธุรกิจกลุ่มไหนบ้างที่ไปด้วย นายเศรษฐา กล่าวว่า คราวนี้มี แต่เขาเดินทางไปเอง คือ นายพรวุฒิ สารสิน ประธานบริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจะไปช่วยเจรจาให้ และนายกลินท์ สารสิน ประธานบริษัทโตโยต้า ที่จะเดินทางไปด้วย และยังมีอีกหลายท่านที่จะไปช่วยเจรจาเพื่อนำผลประโยชน์กลับมาสู่ประเทศ

เมื่อถามว่า จะทำให้เกิดความมั่นใจทางด้านเศรษฐกิจ และมีแสงสว่างมากขึ้นใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า อย่างไรแสงสว่างก็มีอยู่แล้ว แต่เรื่องความหนักใจ การแบกความหวังเรื่องปากท้องของพี่น้องประชาชน 68 ล้านคน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทำต่อไป คงจะไม่เพียงพอ ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อถามว่า การเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ ซึ่งจะมีเรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นด้วย ในส่วนของไทยมีการเตรียมความพร้อมอย่างไร นายเศรษฐา กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าญี่ปุ่นมาลงทุนสูงสุดในประเทศไทยตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ฉะนั้น เราพยายามทำให้ความสัมพันธ์นี้เข้มแข็งมากขึ้นในเรื่องการลงทุนของทั้งสองฝ่าย และเราได้มีการประกาศจะให้วีซ่าฟรีกับธุรกิจญี่ปุ่นด้วยที่จะเข้ามาลงทุน ซึ่งจะทำให้การเดินทางเข้าออกทั้งสองทางสะดวกสบายยิ่งขึ้น เป็นการอำนวยความสะดวกซึ่งกันและกัน

‘รมว.ปุ้ย’ ผุดแผนยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ มุ่งส่งเสริมการลงทุนกว่า 359,000 คันต่อปี พร้อมชูรียูสแบตฯ 

'รมว.พิมพ์ภัทรา' นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ครั้งที่ 1/2566 เผยที่ประชุมรับทราบ และเห็นชอบแนวทางการดำเนินงาน หลัง สศอ. ในฐานะเลขานุการฯ นำเสนอ พร้อมเตรียมรับเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในปี 2567 ตามแผนส่งเสริมการลงทุนรวม 359,000 คันต่อปี 

(14 ธ.ค. 66) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ครั้งที่ 1/2566 เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้รับทราบ และเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ ได้แก่ ความคืบหน้าของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า, แนวทางการส่งเสริมการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ (EV Conversion), แนวทางการส่งเสริม System Integrator (SI) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงแนวทางการส่งเสริมและจัดการแบตเตอรี่ในประเทศ 

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือในรายละเอียด ข้อกฎหมาย และรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามระเบียบขั้นตอน เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภททั้งรถขนาดเล็ก เช่น รถจักรยานยนต์, รถยนต์, รถกระบะ ไปจนถึงรถขนาดใหญ่ เช่น รถโดยสาร, รถบรรทุก และการส่งเสริมการผลิตและการจัดการซากตลอดช่วงชีวิตการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า หรือ End of Life Vehicle (ELV) 

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งในส่วนของการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเครื่องจักรกลอัตโนมัติในกระบวนการผลิต และ EV Conversion อาทิ รถขนขยะมูลฝอย, รถบรรทุกน้ำ รวมถึงแนวทางการส่งเสริมกระบวนการจัดการแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อขยายความต้องการลงทุนผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ

ด้าน นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในฐานะเลขานุการฯ ได้นำเสนอความคืบหน้าของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตามแผน 30@30 เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน และ มาตการ EV3 ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2566 มียอดจดทะเบียนรถไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle : BEV) รวม 67,056 คัน ซึ่งเติบโตมากกว่าร้อยละ 690 หรือ 7.9 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 8,483 คัน ทำให้ตลาด EV ไทยเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน มีผู้เข้ามาลงทุนผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศเพิ่มขึ้น โดยมีผู้ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนผลิต BEV คิดเป็นมูลค่า 39,579 ล้านบาท กำลังผลิตรวม 359,000 คันต่อปี และผู้ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนผลิตชิ้นส่วน คิดเป็นมูลค่า 35,303 ล้านบาท 

นอกจากนี้ ได้นำเสนอแนวทางการส่งเสริมการดัดแปลงรถยนต์ (EV Conversion) โดยเป็นการสร้างต้นแบบการดัดแปลงรถขนาดใหญ่ให้เป็นยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถขนขยะมูลฝอย และรถบรรทุกน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศ ในราคาที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ โดยให้คำนึงถึงการพัฒนาต้นแบบยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย รวมไปถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างมาตรฐานในการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าให้กับผู้ประกอบการ โดยมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดำเนินการกำหนดมาตรการ และกลไกในการขับเคลื่อนการส่งเสริมยานยนต์ดัดแปลงประเภทต่างๆ ผ่านคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติต่อไป

ขณะเดียวกัน ได้นำเสนอแนวทางการส่งเสริม System Integrator (SI) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิต ครอบคลุมมาตรการทางภาษีและมิใช่ภาษี โดยมีมาตรการที่มุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ System Integrator (SI) ผ่านการดำเนินงาน เช่น พัฒนาบุคลากร System Integrator (SI) จำนวน 1,301 คน และบุคลากรในสถานประกอบการ จำนวน 3,665 คน รวมทั้งพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จำนวน 185 ต้นแบบ 

โดยปัจจุบันมี System Integrator (SI) ที่ขึ้นทะเบียนรายกิจการ จำนวน 121 กิจการ ผ่านกลไกศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ Center of Robotics Excellence (CoRE) มีผู้ประกอบการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จำนวน 271 กิจการ มูลค่ารวม 27,710 ล้านบาท 

นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการฯ ยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อแนวทางการส่งเสริม System Integrator (SI) ให้มีศักยภาพและเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีของ SI ไทยที่จะสามารถเชื่อมโยงอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทย เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนในประเทศได้

ขณะเดียวกัน ยังได้นำเสนอแนวทางการส่งเสริม และจัดการแบตเตอรี่ในประเทศ สร้างมูลค่าจากการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ตามนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ประกอบด้วย กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เนื่องจากแบตเตอรี่มีมูลค่าสูง ซึ่งจากผลการศึกษาที่ได้ประเมินว่าแบตเตอรี่จากยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ซ้ำในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรือ การผลิตอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า (Energy Storage System: ESS) และส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น Cloud Service โดยคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุม และติดตามการจัดการแบตเตอรี่ให้เหมาะสม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อศึกษารายละเอียด และกำหนดแนวทางการส่งเสริมในเรื่องดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมต่อไป 

สำหรับการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 มีนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิจาก หลายหน่วยงานเข้าร่วมการประชุม โดยมีนางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ กระทรวงอุตสาหกรรม

‘ชไนเดอร์ อิเล็คทริค’ กางแผน ‘ลดคาร์บอน’ ระยะยาว ปักหมุดปี 2050 ต้องลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 90%

(14 ธ.ค. 66) นายณัฏฐพัชร์ ชลภัทรธนัทสิริ ผู้อำนวยการกลุ่ม Digital Energy ของ ‘ชไนเดอร์ อิเล็คทริค’ บริษัทมหาชนข้ามชาติในสหภาพยุโรปผู้ผลิตอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ผู้ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา กล่าวในงาน ‘SUSTAINABILITY FORUM 2024’ ในหัวข้อ ‘Climate Tech for Business’ จัดโดย ‘กรุงเทพธุรกิจ’ วันที่ 14 ธ.ค. 2566 ว่าในภาคธุรกิจการเข้าสู่เป้าหมายสู่ Net Zero ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค นั้น ตั้งเป้าไว้ในปี 2050 บริษัทต้องเข้าใจสถานการณ์ก่อนแล้วจึงขยับเปลี่ยนแปลงมากขึ้น อย่างการใช้พลังงานสะอาด การอนุรักษ์พลังงาน โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีเป้าหมายเกี่ยวกับการจัดการองค์กรมีระยะยาวไว้ 4 ช่วง คือ...

1.) ปี 2025 เข้าสู่การดำเนินงาน ‘Carbon Neutral’ ด้วยการลดคาร์บอนในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทโดย มีส่วนร่วม และสนับสนุนผู้ให้การสนับสนุนเพื่อลดคาร์บอน การจัดหาวัสดุคาร์บอนต่ำ และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงสร้างอิทธิพลต่อการลดคาร์บอนทั่วโลก

2.) ปี 2030 ‘Net-Zero’ พร้อมในการดําเนินการ ผลิตภัณฑ์ที่ปลอยก๊าซเรือนกระจกลดลง 25% ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

3.) ปี 2040 ‘คาร์บอนที่เป็นกลาง’ ในการลดก๊าซเรือนกระจก ประมาณ 50 - 75% ของผลิตภัณฑ์ ยิ่งลดก๊าซเรือนกระจกมากเท่าไร ก็ยิ่งการละเว้นการสูญเสีย รวมถึงชดเชยตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไป ซึ่งการชดเชยคาร์บอนจะต้องเท่ากับการปล่อยห่วงโซ่มูลค่าคงเหลือ และชดเชยการปล่อยมลพิษที่เหลือด้วยการกําจัดคาร์บอนคุณภาพสูง

4.) ปี 2050 ลดก๊าซเรือนกระจกลง 90% อย่างสมบูรณ์

การก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนนั้นไม่ใช่แค่ให้ความสำคัญแก่องค์กรตนเองแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างซัพพลายเออร์ให้แข็งแกร่ง เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน อย่างการช่วยลดมลพิษในอากาศสามารถช่วยซัพพลายเออร์ ลดการใช้วัสดุต่างๆ หรือการเลือกใช้วัสดุที่เป็นสีเขียว รวมถึงบรรจุภัณฑ์หลัก และรองปราศจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และใช้กระดาษแข็งรีไซเคิลเพื่อส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น

รวมถึงการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ โดยเสริมสร้างระดับความเชื่อมั่นของพนักงานในการรายงานพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณ เพิ่มความหลากหลายทางเพศในการจ้างงาน 50% การจัดการพนักงานแนวหน้า 40% และการจัดการความเป็นผู้นํา 30%

ทั้งนี้ ยังเพิ่มโอกาสการจ้างงานสองเท่าสําหรับนักศึกษาฝึกงาน เด็กฝึกงาน และผู้สําเร็จการศึกษาใหม่ ส่งเสริมคนในการจัดการพลังงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความยั่งยืนมากขึ้น และสนับสนุนการเข้าถึงพลังงานสีเขียวให้กับประชาชนอีกด้วย

'พีระพันธุ์' ชงงบ 1.9 พันล้าน ช่วยค่าไฟกลุ่มเปราะบาง 3.99 บาทต่อหน่วย  ส่วนค่าไฟงวดใหม่ ม.ค. - เม.ย.67 มั่นใจ!! ไม่เกิน 4.20 บาทต่อหน่วย

เมื่อวานนี้ (14 ธ.ค. 66) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่จะมีเรื่องตัวเลขค่าไฟฟ้างวดใหม่ ม.ค. - เม.ย.67 เสนอต่อที่ประชุม ครม. โดยได้ข้อสรุปตัวเลขค่าไฟจะไม่เกินที่ 4.20 บาทต่อหน่วย ขณะนี้กำลังทำตัวเลขอยู่ว่าจะได้เท่าไหร่ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน 

ส่วนตัวเลข 3.99 บาทต่อหน่วยจะเป็นของครัวเรือนกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ก็ยังอยู่ที่ราคาดังกล่าว

ส่วนจะใช้เงินอุดหนุนค่าไฟ 3.99 บาทต่อหน่วยเท่าไหร่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ใช้งบประมาณ 1.9 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากเทียบกับการช่วยเหลือคนได้ 17 ล้านครัวเรือน คาดจะนำเข้า ครม.พิจารณา 19 ธ.ค.นี้

นายพีระพันธุ์ กล่าวถึงกระแสข่าวที่นายกรัฐมนตรีระบุว่ามีคนเข้าไปล็อบบี้เรื่องค่าไฟ ว่า ท่านก็เปรย ๆ แต่ก็ขอบคุณนายกรัฐมนตรี หากไม่ได้ท่านเป็นหลักในการยืนหลักการเรื่องการลดค่าไฟก็คงจะทำงานได้ลำบาก เพราะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกฝ่าย ลำพังกระทรวงพลังงานหน่วยงานเดียวคงไม่พอ

ส่วนได้มีการพูดคุยกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บ้างหรือไม่ เนื่องจากมีการแบกหนี้อยู่ 1.3 แสนล้านบาท นายพีระพันธุ์ ระบุว่า มันก็มีมานานแล้ว สิ่งที่ตนจะทำให้ตอนนี้จะตั้งกรรมการขึ้นมาแก้ไขดูแลเรื่องนี้ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีเพราะ กฟผ. ก็ดูแลตัวเองมาตลอด แต่ตนคิดว่าตอนนี้ต้องเข้าไปช่วยดูแลเขาแล้ว เพื่อที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้

ส่วนที่นายกรัฐมนตรีอยากให้ได้ค่าไฟอยู่ที่ 4.10 บาทต่อหน่วย จะทำได้หรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า เป้าหมายคืออยากจะให้ราคาต่ำที่สุด อยากให้ต่ำกว่า 4.10 บาท เสียอีก แต่อย่างที่บอกว่าไม่ได้อยู่ที่ กฟผ.อย่างเดียว แต่มีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ด้วย

นอกจากนี้ไม่ได้อยู่ที่ต้นทุนแก๊สมีคนเสนอให้ปรับโครงสร้าง แต่ตนบอกไม่พอแล้ว ซึ่งต้องรื้อทั้งระบบ​ ตนทำงานมา 3 เดือน เหนื่อยแต่เมื่ออาสามาทำงานจึงไม่ต้องบ่นเรามีหน้าที่ทำงานก็พยายามทำให้ดีที่สุดสำหรับประชาชน ทั้งเรื่องของน้ำมัน พลังงาน ไฟฟ้า ระบบอะไรที่ไม่ดีมา 30-40 ปี จะรื้อให้หมด

ส่วนรัฐบาลจะต้องประกาศตัวเลขค่าไฟสองแบบหรือไม่นั้นในส่วนของกลุ่มเปราะบาง 3.99 บาทต่อหน่วย แน่นอนอยู่แล้ว หากใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วย ส่วนใครใช้เกินก็ต้องไปเสียในราคาที่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบาง ซึ่งกำลังทำข้อมูลอยู่ว่าจะเสีย 4.10 หรือ 4.20 บาทต่อหน่วย โดยวันที่ 19 ธ.ค.นี้ น่าจะเสร็จแล้วเสนอ ครม.ได้

‘นายกฯ’ หารือ ‘รมว. METI ญี่ปุ่น’ ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุนในอุตฯ ยานยนต์ EV และพลังงานสะอาด

(15 ธ.ค. 66) ที่โรงแรม Imperial Hotel Tokyo กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 14 - 18 ธันวาคมว่า เช้าวันเดียวกันนี้นายกรัฐมนตรี พบหารือกับนายไซโต เค็น (H.E. Mr. Saito Ken) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Ministry of Economic, Trade and Industry: METI) ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น

โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง METI ต่างยินดีต่อความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยภาคเอกชนญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า ไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือทางการค้าและลงทุนกับญี่ปุ่น จึงได้จัดสัมมนา Investment Forum เพื่อนำเสนอนโยบายส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการลงทุนในไทยให้ญี่ปุ่นได้รับทราบ

นายกรัฐมนตรี ใช้โอกาสนี้ กล่าวเชิญชวนมาร่วมมือในโครงการ Landbridge เพื่อเพิ่มทางเลือกในการขนส่งให้แก่ภูมิภาค ช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค รวมถึงเชิญชวนภาคเอกชนญี่ปุ่นให้มาร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย 

จากนั้นทั้งสองฝ่าย ได้หารือถึงความร่วมมือด้านยานยนต์ โดยนายกรัฐมนตรีจะพบปะกับผู้ประกอบการยานยนต์ของญี่ปุ่น 7 ราย เพื่อให้ความมั่นใจว่า รัฐบาลพร้อมดูแลอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาปของญี่ปุ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนา EV และยานยนต์สมัยใหม่ รวมทั้งไทยออกมาตรการใหม่เพื่อส่งเสริมการลงทุนในสาขายานยนต์ หวังว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ICE ของญี่ปุ่นในไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระยะเปลี่ยนผ่าน

ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง METI ชื่นชมในนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของไทย และขอบคุณที่ไทยดูแลเอกชนญี่ปุ่นที่มาลงทุนในไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยพร้อมสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และยินดีร่วมมือกันในกรอบ Asia Zero-Emission Community (AZEC) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน รวมถึงยังได้เสนอข้อริเริ่มในการจัดตั้งกลไก energy and industrial dialogue เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งพลังงานสีเขียวกับไทย

‘ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว’ ธุรกิจแฟรนไชส์ 4 พันสาขา อายุกว่า 30 ปี เตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ ภายใต้ชื่อ ‘ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น’

(15 ธ.ค. 66) นายอนุชิต สรรพอาษา กรรมการผู้จัดการบริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้บริหารแฟรนไชส์ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์อายุกว่า 30 ปี ของบริษัทเติบโตจนมีสาขามากกว่า 4,000 สาขา

รวมถึงยังมีแบรนด์สตรีตฟู้ดในเครือ อาทิ ชายใหญ่ข้าวมันไก่ พันปีบะหมี่เป็ดย่าง อาลีหมี่ฮาลาล ไก่หมุนคุณพัน ไปจนถึงอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงภายใต้แบรนด์ชายสี่โกลด์ พร้อมด้วยเครื่องปรุงเพื่อจำหน่ายอีกกว่า 200 รายการ ซึ่งต่างได้รับการยอมรับจากทั้งผู้ขายและผู้บริโภค

จึงพร้อมเดินหน้าสร้างภาพลักษณ์ภายใต้ชื่อใหม่ ‘ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น’ เพื่อสะท้อนโพซิชั่นของธุรกิจที่เป็นผู้ให้บริการด้านอาหารที่ครบวงจร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารพร้อมปรุงและพร้อมทานเพื่อให้บริการในร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต การร่วมทุนผลิตและจำหน่ายอาหารและแฟรนไชส์สตรีตฟู้ดในต่างประเทศ เพื่อก้าวสู่การเป็น ‘สตรีตฟู้ดมหาชนของทุกคน’

ตามแผนนี้บริษัทเตรียมความพร้อมในหลายด้าน ทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการพัฒนาสินค้า นำเทคโนโลยีเข้ามาลดขั้นตอนและเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ควบคู่ไปกับบริหารต้นทุนและทรัพยากร

อีกทั้งยังมีการปรับโครงสร้างในการทำงาน โดยเปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพขึ้นเป็นผู้นำ รวมถึงจัดเตรียมสวัสดิการของพนักงานให้ทัดเทียมองค์กรชั้นนำของไทย

จึงมั่นใจว่าการทรานส์ฟอร์มครั้งใหญ่นี้จะส่งเสริมและยกระดับให้ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป็นแบรนด์แถวหน้าในธุรกิจบริการอาหารของไทย และเติบโตไปไกลเป็นครัวของทุกบ้าน อาหารของทุกคน หนึ่งในใจทุกเวลา

‘รศ.ดร.สมพงษ์’ มอง ‘แลนด์บริดจ์’ อาจเป็นได้แค่ทางผ่าน หากมองข้ามการยกระดับเป็น ‘ศูนย์กลางการค้า’ ใต้แผนนี้

จากรายการ THE TOMORROW ได้พูดคุยกับ รศ.ดร.สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ อาจารย์พิเศษหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในประเด็น 'แลนด์บริดจ์ หรือจะเป็นได้แค่ทางผ่าน?' เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.66 โดยจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันของประเทศไทย ที่ได้ศึกษาให้กับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ซึ่ง รศ.ดร.สมพงษ์ เป็นหนึ่งในทีมงานการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ด้วยนั้น ได้เปิดเผยว่า...

การศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์นี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่มีการศึกษามาแล้วอย่างน้อย 2-3 ครั้ง โดยโครงการนี้จะมีการสร้างท่าเรือในฝั่งชุมพร และระนอง ประกอบไปด้วยการสร้างรถไฟและทางมอเตอร์เวย์เชื่อมโยงกัน พร้อมกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC ควบคู่ 

ทั้งนี้โครงการแลนด์บริดจ์มีการคาดการณ์เรือที่จะมาใช้บริการ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าของไทยเรามากที่สุด คือ การถ่ายลำ (Transshipment) 78% กลุ่มสินค้าไทย 18%  กลุ่มสินค้าจีน 4% 

ถ้าพิจารณาจากข้อมูลตรงนี้ ก็ทำให้เกิดคำถามว่ากลุ่มสายเรือที่ต้องถ่ายลำที่คาดหวังสูงถึง 78% นั้น จะมาใช้แลนด์บริดจ์จริงหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่จะต้องเปลี่ยนเส้นทางมาจากช่องแคบมะละกา และถ้าเรือขนาดใหญ่ไม่เทียบท่าขนถ่าย ท่าเรือที่ออกแบบไว้ก็จะไม่คุ้มค่าในการลงทุน 

รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวอีกว่า จากงานวิจัยที่ได้ศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบเบื้องต้นและความเหมาะสมในการพัฒนาเส้นทางการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทั้งสองฝั่งทะเล อ่าวไทยกับอันดามัน ซึ่งมีด้วยกันหลักๆ 3 โครงการ คือ การขุดคลองไทย, แลนด์บริดจ์ และ การเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวายในฝั่งพม่า โดยงานวิจัยได้ศึกษา 3 ทางเลือกพร้อมกัน 

“ทว่าจากการศึกษาทั้ง 3 โครงการผลการศึกษา สะท้อนถึงความไม่คุ้มค่า ทั้งในด้านในมิติเศรษฐกิจ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม ที่จำเป็นต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะชายฝั่งทะเลหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ยังมีมิติของความมั่นคง ซึ่งน่ากังวลอยู่ ขณะเดียวกันถ้ามองในแง่การสนับสนุน ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) แน่นอนว่าเราก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพท่าเรือที่มีอยู่ได้ แต่ก็ต้องตอบให้ได้ว่ามีเป้าหมายในการพัฒนาเรื่องใด และมีความจำเป็นในการใช้ท่าเรือหรือไม่ หรือจะส่งเสริมในเชิงท่องเที่ยวสุขภาพ เน้นบริการด้านสุขภาพ ก็สามารถพัฒนาได้ในอนาคต”

เมื่อถามว่า แล้วโดยสรุปโครงการแลนด์บริดจ์จะคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไปหรือไม่? รศ.ดร.สมพงษ์ มองว่า “ด้วยงบประมาณที่มากถึง 1 ล้านล้านบาท ถ้าเกิดไม่มีลูกค้าสายเดินเรือมาถ่ายลำตามคาดการณ์จริงๆ จะทำอย่างไร ตรงนี้เป็นคำถามที่ต้องพิจารณา ซึ่งไทยเองก็ยังไม่เคยทำโครงการที่มีการลงทุนมากขนาดนี้ อีกอย่างถ้ามาดูประโยชน์จริงๆ แล้วเหมือนไทยได้เก็บเพียงค่าผ่านทางเท่านั้น อาจไม่คุ้มค่า โดยแบ่งเป็น การขนถ่ายสินค้าไทย 20% อีก 80% คือสินค้าผ่านทาง หมายความว่าเราจะได้เพียงค่าผ่านทาง กลับกันสิงค์โปร์เองไม่ได้เก็บเพียงค่าผ่านทาง แต่เขามองตนเองเป็นศูนย์กลางการค้า ขณะที่ไทยไม่ได้มองเป็นศูนย์กลางการค้า เราจะเน้นแต่การผลิตเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นไทยควรสร้างความสามารถทางการค้าเพิ่มขึ้นควบคู่ … แลนด์บริดจ์ จึงจะไม่เป็นเพียงแค่ทางผ่านเท่านั้น”

'รมว.ศก.ญี่ปุ่น' ยาหอมไทย!! พร้อมหนุน 'ความสัมพันธ์-การลงทุน' ทุกด้าน หลัง 'นายกฯ เศรษฐา' โชว์วิชัน-ชวนลงทุนไทย ต่อหน้า 500 นักธุรกิจญี่ปุ่น

(15 ธ.ค. 66) ที่โรงแรมอินพีเรียลโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายไซโต เค็น (H.E. Mr. Saito Ken) รมว.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อช่วงเย็นวันที่ 14 ธ.ค. เข้าเยี่ยมคารวะนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง 

จากนั้น นายเศรษฐา กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา 'Thailand-Japan Investment Forum' ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีนายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกฯ และรมว.การต่างประเทศ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคมเข้าร่วมงานด้วย โดยมีนายไซโต รวมถึงนักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้าร่วมงานกว่า 500 คน ซึ่งเป็นการสัมนาใหญ่ระหว่างสองประเทศด้านเศรษฐกิจครั้งแรกหลังสถานการโควิด-19 คลี่คลาย

โดยนายกฯ เศรษฐา กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งว่า ขอบคุณและถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้กล่าวถึงนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนาที่รัฐบาลไทยเร่งดําเนินการเพื่อเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก โดยไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางการทูตอันดีและยาวนานกว่า 136 ปี ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ, การค้า, การลงทุน และสังคม ได้แก่...

1.คือความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่มีกว่า 136 ปี เป็นมิตรแท้ที่มีความสัมพันธ์กันในทุกระดับ ทั้งราชวงศ์, รัฐบาลและภาคธุรกิจไปถึงภาคประชาชน มีบริษัทญี่ปุ่นลงทุนในไทยกว่า 6,000 บริษัท มีชาวญี่ปุ่นในไทย 80,000 คน

2. รัฐบาลมีแนวทางในการผลักดันเศรษฐกิจไทย วันนี้รัฐบาลมีแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งเศรษฐกิจใหม่, เศรษฐกิจดิจิทัล, เศรษฐกิจสีเขียว, อุตสาหกรรมเอไอ, การวิจัย และพัฒนาสตารท์อัปให้เติบโตในเวทีโลก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายญี่ปุ่นที่เน้นเทคโนโลยีคุณภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่บริษัทใหญ่ไปจนถึงบริษัทท้องถิ่น หวังว่าไทยจะเป็นจุดมุ่งหมายของพวกท่าน แม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว แต่รัฐบาลก็มีมาตรการกระตุ้น อัดเงินเข้าระบบ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน 

ขณะที่ด้านการค้าญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่ค้าลำดับต้นๆ เชื่อว่าจะขยายได้อีกซึ่งครอบคลุมสินค้าได้หลากหลาย ส่วนด้านการลงทุนมีโครงการบีโอไอก็มีการส่งเสริมกว่า 4,000 โครงการ โดยการลงทุนญี่ปุ่นมีส่วนผลักดันให้เศรษกิจไทยโตอย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณนักลงทุนญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญกับประเทศไทย เป็นเวลา 50 ปีที่อุตสาหกรรมญี่ปุ่นขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย 

เราไม่ลืมและสนับสนุนให้แข่งขันเติบโตได้เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีใหม่ พร้อมๆ ไปกับการส่งเสริมซอฟต์เพาเวอร์สู่ระดับสากล ด้วยการทูตเชิงวัฒนธรรม พัฒนา 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ต่อยอดภูมิปัญหา เป็นโอกาสต่อยอดของญี่ปุ่นในการพัฒนา เกมส์ ภาพยนต์ หรืออนิเมชัน ซึ่งเชื่อมั่นว่าความพร้อมด้าน Creative Industry ของไทยไม่เป็นรองใคร พิสูจน์ได้โดยรางวัลต่างๆ ทั่วโลกที่สร้างด้วยฝีมือคนไทย

ด้านอุตสาหกรรมพลังงาน ไทยมีเป้าหมายในการเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 จึงเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ขอเชิญชวนญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ไปด้วยกัน โดยประเทศไทยมีความพร้อมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy) และกำลังต่อยอดอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เช่น Green Hydrogen ที่จะกลายเป็นแหล่งพลังงานแห่งอนาคต

3. ด้านแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญของไทย รัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งทางถนน, ทางน้ำ, ทางราง และทางอากาศ ยกระดับระบบคมนาคมขนส่งของ โดยมีหลายภาคส่วนที่มีความร่วมมือกับทางญี่ปุ่น ซึ่งนอกเหนือจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอีอีซีแล้ว ขณะนี้รัฐบาลยังมุ่งมั่นที่จะผลักดันโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มูลค่าเงินลงทุนเบื้องต้นกว่า 4 ล้านล้านเยน เพื่อสร้างเส้นทางการค้าการขนส่งใหม่ของโลกที่เชื่อมโยงมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ด้วยท่าเรือ, ระบบราง และระบบถนน ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคและระดับโลก จึงขอเชิญชวนให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้าร่วมศึกษาและลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ เสริมสร้างความเชื่อมโยงและซัพพลายเซนในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“สุดท้ายนี้ ผมในนามรัฐบาลไทยให้ความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลมุ่งมั่นจะยกระดับเศรษฐกิจ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เดินหน้าขยายการเจรจาเอฟทีเอ กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และเร่งปรับปรุงบริการภาครัฐเพื่อทำให้การประกอบธุรกิจมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งวันนี้ประเทศไทยเปิดกว้างสำหรับการลงทุนจากทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่รายสำคัญของไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ไทยพร้อมสนับสนุนการลงทุนจากญี่ปุ่นทั้งรายเดิมและรายใหม่ และพร้อมร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนญี่ปุ่นในการยกระดับอุตสาหกรรม เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจใหม่ ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อความก้าวหน้าของทั้งสองประเทศต่อไป” นายกฯ เศรษฐา กล่าว

ด้านนายไซโต กล่าวปาฐกถา ตอนหนึ่งว่า ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยเป็นพันธมิตรสำคัญร่วมสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมมาโดยตลอด มีอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลักบนพื้นฐานความไว้วางใจที่สั่งสมมายาวนานของทั้งสองประเทศ ปีนี้ครบรอบ 50 ปี แห่งมิตรภาพญี่ปุ่นอาเซียน ความร่วมมือที่ผ่านมาได้สะสมความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมาโดยตลอด เพื่อสร้างอนาคตร่วมกันในอีก 50 ปีข้างหน้า โดยจะมุ่งเน้นใน 3 ประเด็น คือ...

1. การสร้างอุตสาหกรรมในอนาคต เปิดสายงานที่ญี่ปุ่นถนัด เช่น พลังงานสะดาด รถยนต์ในยุคต่อไป การบินและอวกาศ รวมถึงการแพทย์ขั้นสูง 

2. ความมั่นคงด้านพลังงาน และลดคาร์บอนไปพร้อมกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะผลักดันความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมในการลดคาบอน เพราะญี่ปุ่นกำลังดำเนินการกับไทยอยู่หลายโครงการ 

และ 3. คือการพัฒนาบุคคลที่เป็นพื้นฐานความร่วมมือเพื่อสร้างอนาคต มีการเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนนักธุรกิจรุ่นเยาว์ เพื่อให้มีความสัมพันธ์ร่วมกันเหมือนที่เรามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและความไว้วางใจซึ่งกันและกันตั้งแต่รุ่นก่อน

นายไซโต กล่าวอีกด้วยว่า อย่างไรก็ตามในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ ผู้ผลิตญี่ปุ่นได้เข้ามาไทยในช่วงปี 1960 ตั้งแต่นั้นมา 60 ปี มีการสร้างงานร่วมกันในอุตสาหกรรมนี้อย่างมั่นคง แต่วันนี้อุตสาหกรรมยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีการลงทุนของสหรัฐอเมริกาและจีนเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันระดับโลกทวีความรุนแรง ญี่ปุ่นต้องการให้อาเซียนโดยเฉพาะไทยที่ถูกขนาดนามว่าดีทรอยต์อาเซียนที่แข็งแกร่ง เป็นที่สร้างยานยนต์ในยุคต่อไปเพื่อให้แข่งขันในโลกได้ เพราะนอกเหนือจากรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังมีรถยนต์ไฮโดรเจน และเอสทานอล ที่ต้องพัฒนาในเรื่องเหล่านี้ และต้องจับตาดูการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกและพัฒนายานยนต์เชิงกลยุทธ์ และจับตาตลาดส่งออกยุโรป ที่ต้องการลดคาร์บอนในกระบวนการผลิต ซึ่งจะต้องตอบสนองในเรื่องดังกล่าว และอยากทำงานให้ครอบคลุมกับประเทศไทย โดยร่วมมือกับนายเศรษฐา และรัฐบาลไทยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของสองประเทศ และเร่งสร้างศูนย์การผลิตและการส่งออกรถยนต์อันดับหนึ่งของโลกในยุคต่อไป และไม่ใช่แค่รถยนต์แต่ยังจะทำงานแข็งขันเพื่อกระชับความสัมพันธ์การลงทุนของทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ด้วย

ถอดบทเรียน ‘ถั่วเหลืองอเมริกา’ คาร์บอนต่ำกว่าคู่แข่ง 10 เท่า ตัวแปรสำคัญสินค้าส่งออกไทย หากคิดพิชิตเวทีโลกแบบยั่งยืน

TFMA ถอดบทเรียนการผลิตถั่วเหลืองยั่งยืนจากสหรัฐอเมริกา หลังปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าประเทศคู่แข่งประมาณ 10 เท่า ตอบโจทย์ตลาดโลกต้องการสินค้าถั่วเหลืองที่ผลิตอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับการจัดหาอาหารปลอดภัย เพื่อนำมายกระดับการพัฒนาระบบจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศไทยให้ทัดเทียมสากล

(15 ธ.ค. 66) นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (TFMA) เปิดเผยในงานสัมมนา ‘เจาะลึกกลยุทธ์ปฏิบัติการที่ยั่งยืน: ระดมความคิดจากผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์’ ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และ สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (USSEC) ว่า…

ความร่วมมือครั้งนี้ ตอกย้ำว่าผู้ประกอบการอาหารสัตว์ของไทยมีความพร้อมและขานรับกระแสโลกที่ต้องการการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงภาคปศุสัตว์ ที่กำลังมุ่งสู่ปศุสัตว์สีเขียว เชื่อว่ากลยุทธ์ที่ได้จากเวทีสัมมนาไนวันนี้จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ของไทยชนิดอื่น ๆ ได้

นายพรศิลป์ กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตถั่วเหลืองของประเทศสหรัฐฯ เมื่อเทียบต่อกิโลกรัมแล้ว ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งประมาณ 10 เท่า ถั่วเหลืองของสหรัฐฯ จึงมีข้อได้เปรียบด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าคู่แข่ง ขณะที่ไทยมีการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองปีละเกือบ 6 ล้านตัน เชื่อว่าการสั่งซื้อหรือนำเข้าวัตถุดิบในอนาคต ต้องมองความเป็นมาของวัตถุดิบ ก่อนคิดถึงเรื่องราคา ถั่วเหลืองจึงเป็นต้นแบบที่ดีที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดหาวัตถุดิบชนิดอื่น ๆ ต่อไป ที่สำคัญคือ ประเทศไทยต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ และต้องทำงานร่วมกันตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต

"แม้ถั่วเหลืองจะเป็นสินค้านำเข้า ก็ถือเป็นหนึ่งในข้อต่อของห่วงโซ่ปศุสัตว์ที่ต้องให้ความสำคัญ ขณะที่วัตถุดิบหลักภายในประเทศอย่าง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, มันสำปะหลัง, ผลิตภัณฑ์ข้าว และปลาปั่น ก็อยู่ในแผนการพัฒนาสู่ความยั่งยืนเช่นกัน ทั้งหมดก็เพื่อให้อาหารส่งออกจากประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ก้าวข้ามอุปสรรคด้านการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ทันการณ์"


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top