Thursday, 15 May 2025
Crimes

"ผอ.ศพดส.ตร." จับมือ อธิบดีกรมสตรีฯ ร่วมกำหนด 6 มาตรการป้องกันความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

(21 เม.ย.65) ที่สำนักตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร.และ ผอ.ศพดส.ตร. เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. มอบหมายให้ เป็นผู้แทน ตร. ร่วมต้อนรับและประชุมหารือกับ นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวพร้อมคณะ เกี่ยวกับการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อเด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัว 

โดยการประชุมหารือในครั้งนี้เป็นการบูรณาการเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวร่วมกันอีกทั้งมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการปฏิบัติระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 

โดยมี พล.ต.ท.ปัญญา ปิ่นสุข ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.และหน.ชป.TATIP, พล.ต.ต.ม.ล.สันธิกร วรวรรณ ผบก.ผอ.และผู้ช่วย หน.ฝอ.ศพดส.ตร.  พร้อมด้วย ผู้แทนจาก บช.น., สทส., รพ.ตร., กมค.,  รร.นรต., บก.ปคม. และเจ้าหน้าที่จาก กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เข้าร่วมประชุมมีประเด็นความร่วมมือหลักดังนี้...

(1.) สนับสนุนและช่วยเหลือให้เกิดมาตรการต่างๆ ในการดำเนินงานเพื่อยุติความรุนแรงในครอบครัว

(2.) สนับสนุนให้มีการประนีประนอม ช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ย และให้คำปรึกษาในการยอมความในการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว   

(3.) ร่วมมือดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กสตรี และบุคคลในครอบครัว

'รอง ผบ.ตร.' เปิดแถลงผลระดมกวาดล้างคดีออนไลน์ช่วงสงกรานต์ จับผู้กระทำผิด 6,933 ราย พร้อมเตือนภัยออนไลน์ 9 อันดับที่ถูกหลอกมากที่สุด

(21 เม.ย. 65) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ 
รอง ผบ.ตร. ผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) หรือ PCT: Police Cyber Taskforce , พล.ต.อ.ปรีชา เจริญสหายานนท์ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร., พล.ต.อ.ชยพล ฉัตรชัยเดช ที่ปรึกษาพิเศษ ตร., พล.ต.ท.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้ช่วย ผบ.ตร./ รอง ผอ.ศปอส.ตร. แถลงผลการระดมกวาดล้างอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ถึง 6,933 ราย พร้อมเตือนภัยออนไลน์ 9 ลำดับที่ประชาชนถูกหลอกมากที่สุด 

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ เปิดเผยว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ทุกหน่วยเร่งระดมกวาดล้างอาชญากรรมทุกประเภท โดยเฉพาะอาชญากรรมทางออนไลน์ ในช่วงสงกรานต์ ตั้งแต่ 8 - 17 เม.ย.65 เพราะเป็นช่วงที่พี่น้องประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น เกรงว่าจะตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพได้ 

จากผลการระดมกวาดล้างของ ศปอส.ตร. และ ศปอส. บช.น.,ภ.1-9 สามารถจับกุมความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ทั้งสิ้น 6,933 ราย  แบ่งเป็น การพนันออนไลน์ 4,302 ราย แชร์ข่าวปลอมและความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 1,303 ราย คดีล่วงละเมิดเพศต่อเด็ก และสตรี ทางอินเตอร์เน็ต และค้ามนุษย์ 473 ราย คดีหลอกลวงจำหน่ายสินค้าออนไลน์ 461 ราย และคดีหลอกลงทุน 394 ราย โดยในคดีทั้งหมดนี้ สามารถจับกุมผู้ต้องหารับจ้างเปิดบัญชีม้า อีกจำนวน 216 คน 

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า มีคดีที่น่าสนใจอยู่หลายคดี โดยเฉพาะคดีที่ ชุดปฏิบัติการที่ 1 PCT นำโดย พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.ภ.8, พล.ต.ต.ธนิต ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.สุรศักดิ์ สุรินทร์แก้ว ผกก.3 บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ผกก.สภ.ฉิมพลี และทีมงาน สืบสวนจนสามารถ "จับกุมแก็งหลอกลงทุน ในแอพพลิเคชั่น Digital Alliance กลุ่มคนร้ายชักชวนให้ร่วมลงทุนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยหาเหยื่อจากโซเชียลมีเดีย จากนั้นเมื่อหลงเชื่อก็จะหลอกให้ลงทุนบนแอปพลิเคชันฯ"

ที่น่าสังเกตุคือ กลุ่มคนร้ายมีการแบ่งหน้าที่กันทำ คือ...
กลุ่มที่ 1: ทำหน้าที่ชักชวนผู้เสียหายโดยหาเหยื่อจากแพลทฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ
กลุ่มที่ 2: ทำหน้าที่เป็นเทรนเนอร์ส่วนตัวสร้างความสนิทสนมกับผู้เสียหาย  
กลุ่มที่ 3: ทำหน้าที่เทรดนำการลงทุน 
กลุ่มที่ 4: ทำหน้าที่เป็นเจ้าของบัญชีธนาคารที่ใช้กระทำความผิด 
กลุ่มที่ 5: ทำหน้าที่ฟอกเงินโดยเปลี่ยนเงินที่หลอกลวงมาได้ เป็นเงินสกุลดิจิทัล

จากคำให้การพบว่า ผู้เสียหายหลงเชื่อและร่วมลงทุนหลายครั้ง โดยช่วงแรกๆ คนร้ายจะจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้เสียหายจริง ทำให้มั่นใจและหลงเชื่อ ยอมเพิ่มเงินลงทุนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ 

คดีนี้มีผู้เสียหาย 6 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 3 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่าง  ติดตามตัวผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์อีกหลายราย มูลค่าความเสียหายคาดไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

"เราสืบทราบว่าคนร้ายใช้กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นสถานที่ในการกระทำความผิด จึงขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิดจำนวน 32 ราย และได้ทำการจับกุมแล้ว 29 ราย ที่กรุงพนมเปญ โดยการประสานความร่วมมือกับตำรวจกัมพูชา จำนวน 2 ราย และที่ประเทศไทย อีก 27 ราย โดยทั้ง 29 รายนี้ แบ่งเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ จำนวน 2 ราย และคนทำหน้าที่เปิดบัญชีม้า อีก 27 ราย เพื่อใช้ในการรับโอนเงิน ส่งต่อไปบัญชีอื่นๆ ในเครือข่าย รอง ผบ.ตร. กล่าว" 

รอง ผบ.ตร. กล่าวอีกว่า ตั้งแต่เปิดศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ ตร. เมื่อวันที่ 1 มี.ค. เป็นต้นมา มียอดผู้เสียหายแจ้งความคดีออนไลน์แล้ว 14,436 เรื่อง แบ่งเป็นคดีที่รับแจ้งมากที่สุด 9 อันดับ ได้แก่...

อันดับ 1: ซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า 4,847 เรื่อง 
อันดับ 2: หลอกให้ทำภารกิจ เช่น กดไลค์ในติ๊กต๊อก กดไลค์ ชอปปี้  1,673 เรื่อง
อันดับ 3: หลอกให้กู้เงิน 1,492 เรื่อง
อันดับ 4: หลอกให้รักแล้วหลอกให้ลงทุน 1,207 เรื่อง
อันดับ 5: Call center 1,155 เรื่อง
อันดับ 6: แชร์ลูกโซ่ 536 เรื่อง
อันดับ 7: หลอกยืมเงิน 524 เรื่อง
อันดับ 8: ซื้อสินค้าได้ไม่ตรงปก 208 เรื่อง
อันดับ 9: หลอกให้รักแล้วให้โอนเงิน 182 เรื่อง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับมือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เปิดสายด่วนแจ้งเบอร์แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ เพื่อปิดกั้นการใช้งานและดำคดีตามกฏหมาย

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) หรือ PCT: Police Cyber Taskforce เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน อาชญากรรมทางออนไลน์ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะสูงขึ้น พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงมีนโยบาย ให้ทำความร่วมมือกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หาแนวทางตัดการทำงานของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยทุกครั้งที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหรือส่งข้อความเข้ามาให้ประชาชนแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวเข้าระบบเครือข่ายมือถือทั้ง 3 ค่าย เพื่อตรวจสอบพร้อมบล็อคเบอร์ดังกล่าว จากนั้นเบอร์โทรศัพท์จะถูกส่งต่อให้กับศูนย์ PCT เพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 72 ชม. เพียงเท่านี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ก็จะใช้เบอร์โทรศัพท์นั้นหลอกลวงประชาชนไม่ได้และถูกดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ซึ่งช่องทางการแจ้งมีดังนี้
📞Ais 🟢 1185
📞True🔴 9777
📞Dtac🔵 1678

รอง ผบ.ตร.กล่าวต่อว่า จากสถิติคดีทางออนไลน์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่เปิดศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ (1 มี.ค.65) ถึงปัจจุบัน พบว่า มีผู้เสียหายแจ้งความคดีออนไลน์แล้ว 15,557 ราย โดยอาชญากรรม 9 ลำดับ ที่ประชาชนถูกหลอกมากที่สุด ได้แก่ 1.ความผิดเกี่ยวกับการซื้อสินค้าที่ไม่ได้รับสินค้า 5,311 คดี 2.หลอกทำภารกิจ (เช่น ให้รีวิวสินค้า,กดไลท์ Tiktok, กดไลท์สินค้า) 1,884 คดี 3.หลอกให้กู้เงิน 1,573 คดี 4.ทำให้รักแล้วหลอกลงทุน (Hybrid scam) 1,296 คดี 5.Call center 1,206คดี 6.แชร์ลูกโซ่ 554 คดี 7.หลอกยืมเงิน 553 คดี 8.ซื้อสินค้าแต่ได้ไม่ตรงปก 227 คดี และ 9.หลอกลวงรูปแบบอื่นๆ อีก 1,889 คดี 

‘ผบ.ตร.’ ไลฟ์เฟซบุ๊ก เปิดรายการ ‘ปั๊ดอยากเล่า น้องอยากแชร์’ เล่าที่มาโครงการ Smart Safety Zone 4.0 สร้างชุมชนปลอดภัย ลดความหวาดกลัวอาชญากรรม ปลุกตำรวจทั่วประเทศปรับตัว ฝากข้อคิด เรียนรู้ มุ่งมั่นทำสิ่งใหม่ในยุคเปลี่ยนผ่าน เพื่อสร้างสังคมที่ดี

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร. ) ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในรายการ "ปั๊ดอยากเล่า น้องอยากแชร์" รายการสดเผยแพร่ผ่านเพจเฟซบุ๊กแฟนเพจ Smart Safety Zone และ คลับเฮ้าส์ : ปั๊ดอยากเล่าน้องอยากแชร์ เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 22 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งรายการ "ปั๊ดอยากเล่า น้องอยากแชร์" เป็นรายการสด ที่ผบ.ตร.พูดคุยกับตำรวจและประชาชน เกี่ยวกับโครงการ Smart Safety Zone 4.0 โครงการที่นำเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย อาทิ กล้องวงจรปิด, ศูนย์ควบคุม CCOC, ระบบ AI และแอปพลิเคชัน ต่างๆ เป็นกลไกหลักในการดูแลความปลอดภัยของชุมชน จนได้รับรางวัลจากการประชุมสุดยอดตำรวจโลก World Police Summit 2022 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

โดยรายการในตอนแรก พูดคุยในประเด็น ที่มาของโครงการ Smart Safety Zone 4.0 มี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผบ.ตร. , ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ และ ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ร่วมรายงาน มีข้าราชการตำรวจและประชาชนที่สนใจ ร่วมรับฟัง
 
พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ กล่าวถึงที่มาของ Smart Safety Zone 4.0 ว่า การดูแลความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะภัยอันตรายบนพื้นที่สาธารณะ เป็นภารกิจแรกๆ ของตำรวจ การจะทำให้สำเร็จต้องอาศัยทรัพยากรทุกอย่าง ทั้งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภาคประชาชน ส่วนราชการอื่นๆ ระดมสรรพกำลังเพื่อภารกิจนี้ ซึ่งการวัดผลของโครงการคือการที่ประชาชนรู้สึกปลอดภัย ไม่หวาดกลัวอาชญากรรม
 
“จะมีสักซอยไหม ที่เดินกลางคืน คนไม่กลัวอะไร โดยเฉพาะสุภาพสตรี นี่คือเป้าหมายของโครงการนี้ ที่ต้องไปให้ถึง ตำรวจทั่วประเทศต้องเข้าใจว่าเรามีหลักชัยเดียวกัน ทำอย่างไรให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย” ผบ.ตร. กล่าว
 
ผบ.ตร. ระบุว่า โครงการ Smart Safety Zone 4.0 เริ่มต้นจากการทำแซนด์บ็อกซ์ ในพื้นที่ทดลองก่อน เนื่องมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และกำลังคน ดังนั้นจึงเริ่มทำในพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ ใส่เทคโนโลยีเข้าไป ใส่คนเข้าไป และที่สำคัญใส่ความร่วมมือเข้าไป ทั้งความร่วมมือจากส่วนราชการและประชาชน ใช้หลักการคอมมูนิตี้ โพลิซซิ่ง หรือตำรวจชุมชน ผสมผสานกับการสร้างเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ที่กำลังเป็นเทรนด์ของโลก หัวใจสำคัญคือการแสวงหาความร่วมมือ โดยช่วงเริ่มต้นได้รับความมือจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว.ให้งบประมาณเริ่มต้น จากเดิมพื้นที่นำร่อง ตอนนี้ขยายไปหลายจุดทั่วประเทศ และจะทำต่อไป
 
ในตอนหนึ่ง ผบ.ตร.ตอบคำถามถึงการหลอกลวง ฉ้อโกงทางออนไลน์ ว่า หากถูกหลอกลวง ทางออนไลน์ ได้รับความเสียหาย ประชาชน สามารถแจ้งความออนไลน์ ได้ที่ www.Thaipoliceonline.com ซึ่งเปิดรับแจ้งความทางออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังแจ้งได้ที่สายด่วน 1441 ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)

พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ กล่าวว่า ถ้าคุณถูกหลอกออนไลน์ได้ คุณก็ต้องแจ้งความทางออนไลน์ได้เหมือนกัน รับประกัน 4 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ตอบกลับ และดำเนินการต่อหากพบว่าเป็นคดีเกี่ยวโยงต่อเนื่อง ตำรวจ บช.สอท.จะดำเนินการต่อ หากเป็นคดีเสียหายไม่มาก ไม่เกี่ยวโยงกันเป็นเครือข่าย ระดับสถานีตำรวจจะรับไปดำเนินการสืบสวนสอบสวน อย่างไรก็ตามการรับแจ้งความออนไลน์ยังเป็นเรื่องใหม่ ตำรวจยอมรับว่ายังมีจุดที่ต้องปรับปรุง แก้ไขตลอดเวลา โดยจะปรับปรุง พัฒนาอย่างเต็มที่จนลงตัว ตนให้กำลังใจทีมที่คิดทำระบบรับแจ้งความออนไลน์ ให้ทิศทางในการพัฒนา ขณะนี้ปรับแก้ตลอดเวลา

นอกจากนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังได้ทำความตกลง (MOU) กับสถาบันการเงิน 21 แห่ง มีความร่วมมือในการประสานงานอายัดบัญชีธนาคาร แต่ยังต้องปรับปรุงเพื่อให้การอายัดบัญชีทำได้รวดเร็วที่สุด ขณะเดียวกันมีความร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ในการระงับ ตรวจสอบ หมายเลขโทรศัพท์จากต่างประเทศที่โทรเข้ามาหลอกลวง ทั้งนี้หากมีเบอร์ไม่พึงประสงค์โทรเข้ามา ประชาชนสามารถแจ้งได้ที่หมายเลขสายด่วน 1200 ของกสทช. หรือ Call Center ของผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือต่างๆ

ผบ.ตร. กล่าวย้ำว่า สิ่งสำคัญที่ฝากพี่น้องประชาชนคือการมีไซเบอร์วัคซีน ที่จะป้องกันจากโรคนี้ สร้างการรับรู้ภัยอาชญากรรมประเภทนี้ ตนดีใจมากที่เห็นคลิป TikTok ต่างๆ ที่ประชาชนนำแผนประทุษกรรมของคนร้ายออกมาเตือนภัยให้คนอื่นเห็น คนอื่นๆจะได้ไม่ถูกหลอก แต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่ทราบ ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลเตือนภัยเหล่านี้ ขอให้ช่วยกันกระจาย เผยแพร่เตือนภัยอาชญากรรมออนไลน์ รูปแบบการหลอกลวงให้เข้าถึงทุกครัวเรือนโดยเฉพาะเด็กๆและเยาวชน ขณะเดียวกันมีแนวคิดสังคยานากฎหมายให้สามารถเป็นเครื่องมือที่เท่าทันอาชญากรรมออนไลน์

พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ กล่าวในตอนหนึ่ง ฝากถึงเพื่อนข้าราชการตำรวจในยุคเปลี่ยนผ่าน เปลี่ยนจากการทำงานแบบเดิมๆ ไปสู่การทำงานแบบใหม่ที่ไม่คุ้นชิน โดยเฉพาะคดีฉ้อโกงออนไลน์ต่างๆ ต้องเรียนรู้การไล่ตามจับคนร้ายจาก IP address จนบางทีรู้สึกเป็นภาระกดดัน

“ผมอยากจะเรียนว่า ถ้าเราทำไป มีพลาดบ้าง ผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่ถ้าเรามุ่งมั่น วันหนึ่งมันจะประสบความสำเร็จ และความยากจะกลายเป็นนิวนอร์มอลของเรา มันจะเป็นสิ่งที่เราทำได้ง่ายต่อไป เรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน หลายคนบ่นกับผมทำไมโครงการเยอะจังเลย แต่ทั้งหมดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ถ้าเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงว่าสิ่งที่เราทำวนไปวนมาแล้วไม่เกิดประโยชน์มันจะลดลง เราเชื่อว่ามันจะทำให้เราทำงานอย่างชาญฉลาด คือทำงานจำนวนหนึ่ง แต่ได้ผลมากกว่าเดิม อยากให้ทุกคนตั้งใจ ผมจะเป็นกำลังใจให้”

ผบ.ตร. ย้ำด้วยว่า เรากำลังอยู่บนโลกใบนี้ โลกที่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นมา “ผมพยายามพูดหลายครั้ง สิ่งสำคัญในยุคนี้ คนที่อยู่รอดไม่ใช่คนที่แข็งแรงที่สุด หรือคนอ่อนแอไม่รอด แต่คนที่อยู่รอดไม่ใช่เพียงต้องแข็งแรง แต่คือคนที่ปรับตัวได้ดีที่สุด เราอยู่ในช่วงของการปรับตัว” ผบ.ตร.กล่าว

พล.ต.อ.สุวัฒน์ กล่าวฝากถึงประชาชนว่า ต้องเข้าใจและเรียนรู้สังคมใหม่ๆ เทคโนโลยี ความรู้ใหม่ๆและอาชญากรรมใหม่ๆ อาชญากรรมเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมเราต้องเรียนรู้ ปรับตัวให้อยู่รอด ในส่วนของตำรวจนั้นมีความตั้งใจจริง หวังว่าสิ่งที่เราทำ ต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพื่อสังคมที่ดีขึ้น

ตร. เตือน เผลอ กดลิงก์คนร้ายอย่าตกใจ เงินไม่หาย ยังปลอดภัยถ้าไม่กรอกข้อมูลหรือรหัสผ่าน

วันที่ 26เม.ย.2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพบว่าในสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการแชร์ข้อมูลในลักษณะเตือนภัยประชาชนอ้างว่า แค่เพียงกดลิงก์ที่มาพร้อมข้อความที่ได้รับจากคนร้ายจะทำให้ท่านถูกถอนเงินไปจนหมดบัญชีธนาคาร หรือถูกแฮกบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ได้ ส่งผลให้พี่น้องประชาชนเกิดความตื่นตระหนก และเกิดความหวาดกลัวในการใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะการกดลิงก์ดังกล่าว ยังไม่ทำให้ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลบัญชีธนาคารของท่าน ถูกส่งไปให้กับคนร้าย หรือเงินฝากในบัญชีธนาคารของท่านจะถูกถอนออกไปจนหมดบัญชีแต่อย่างใด แต่คนร้ายจะได้ข้อมูลดังกล่าวก็ต่อเมื่อหลังท่านกดลิงก์ที่ได้รับแล้วท่านหลงเชื่อกรอก

"รองฯรอย"สั่งการ ทีม ปส. เปิดปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้น ทำลาย 3 เครือข่ายยาเสพติด 9 จังหวัด ตรวจค้น 38 จุด ยึดทรัพย์กว่าร้อยล้านบาท

ที่จังหวัดสระบุรี พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ผอ.ศอ.ปส.ตร. เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้หน่วยปฏิบัติ เร่งสืบสวนขยายผลผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ เพื่อทำลายเครือข่ายยาเสพติดและยึดทรัพย์ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่ง พล.ต.ท.ธนา ชูวงศ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะ รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร., พล.ต.ท.สรายุทธ สงวนโภคัย ผบช.ปส. จึงได้สั่งการให้ บช.ปส. เปิดปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้น ขบวนการค้ายาเสพติดในพื้นที่ 9 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ,สระบุรี, ลพบุรี, สมุทรปราการ, นนทบุรี, ชลบุรี, อยุธยา, นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี รวม 38 จุด โดยให้กวาดล้างจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดรายใหญ่และกวาดล้างยาเสพติดที่แพร่ระบาดในแหล่งชุมชน รวมทั้งพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูง และยึดทรัพย์ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมาดำเนินการตามมาตรการยึดทรัพย์ตามกฎหมายต่อไป

ซึ่งกรณีนี้ พล.ต.ต.ธนรัชน์ สอนกล้า ผบก.ปส.2, พล.ต.ต.วิวัฒน์ สีลาเขต ผบก.ขส. และพล.ต.ต.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผบก.ปส.4 ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด บก.ปส.2 , บก.ขส. และ บก.ปส.4ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. และหน่วยข่าวกรองทหาร ศูนย์ปฏิบัติการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้ร่วมกันปิดล้อม ตรวจค้น ใน 9 จังหวัด รวม 38 จุด โดยจับกุมผู้ต้องหาได้ 3 คน ดังนี้(1) น.ส.สุทธิตา สิงห์เคน อายุ 32 ปี บ้านเลขที่ 58 ม.5 ต.เขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 242/2565 ลง 4 เม.ย.65 ข้อหา สนับสนุนช่วยเหลือ , สมคบฟอกเงิน(2) น.ส.กมล ไชยฤกษ์ อายุ 28 ปี อยู่บ้านเลขที่ 27/3 ม.3 ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นบุคคลตามหมายจับศาลจังหวัดเวียงสระ ที่ 26/2565 ลง 10 ก.พ.65 ข้อหาสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน(3) นายพงษ์พันธ์ ทิพย์เกิด อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 19/8 ม.2 ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นบุคคลตามหมายจับศาลจังหวัดเวียงสระ ที่ 25/2565 ลงวันที่ 10 ก.พ.65 ข้อหาสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน

พร้อมด้วยยาเสพติดของกลาง ยาบ้า 5 กระสอบ ประมาณ 1,900,000 เม็ด , ยาอี ประมาณ 50,000 เม็ดและยึดทรัพย์สินไว้ตรวจสอบ ได้แก่ บ้านและสิ่งปลูกสร้าง 6 หลัง , รถยนต์ 25 คัน , จยย. 17 คัน , อาวุธปั่น 2กระบอก , กระเป๋าแบรนด์เนม , เงินสดในบัญชีธนาคาร , เครื่องประดับ รวมทั้งสิ้นมูลค่าประมาณ 108 ล้านบาท

การจับกุมนางสุทธิตา(ผู้ต้องหาลำดับที่ 1) บก.ปส.2 ได้สืบสวนติดตามเครือข่ายขนยาเสพติดจากแนวชายแดนโดยขนผ่าน จ.เลย เข้าสู่พื้นที่ส่วนกลาง โดยมีการจับกุม น.ส.สุทธิตา สิงห์เคน (ผู้ต้องหา ลำดับที่ 1) สืบเนื่องจาก บก.ปส.2 บช.ปส. ได้จับกุมขบวนการขนยาบ้ารายใหญ่ ซึ่งขนยาบ้าจากชายแดนประเทศเพื่อนบ้านมุ่งหน้าสู่พื้นที่ชั้นใน โดยจับกุมผู้ต้องหาพร้อมของกลางยาบ้า 12 ล้านเม็ด ได้ที่ อ.ภูกระดึง จ.เลย และขยายผลจับกุมเคตามีน 51 กก. ไอซ์ 516 กก. และรวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติออกหมายจับ น.ส.สุทธิตา กับพวกซึ่งเป็นผู้ร่วมขบวนการนี้ ต่อมาวันที่ 28 เม.ย.65 บช.ปส. ได้เปิดปฏิบัติการปิดล้อมตรวจคันกวาดล้างจับกุมขบวนการยาเสพติด และสามารถจับกุม สุทธิตา สิงห์เคน ได้ขณะปิดล้อมตรวจคันที่บ้านเลขที่ 32/3 ต.พระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี จากนั้น ได้ติดตามไปตรวจค้นและยึดทรัพย์ผูเกี่ยวข้องในเครือข่ายนี้หลายรายการ ได้แก่ บ้านและสิ่งปลูกสร้าง ร้านค้ารถยนต์ รถจักรยานยนต์เงินสดในบัญชี กระเป๋าแบรนด์เนม เครื่องประดับ รวมมูลค่าประมาณ 90.9 ล้านบาท

จากการสืบสวนหาข่าวเพื่อเปิดปฏิบัติการในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พบความเคลื่อนไหวของขบวนการขนยาเสพติดจากแนวชายแดน ผ่าน จ.เลย จะขนยาเสพติดล็อตใหญ่เข้าสู่ส่วนกลางอีก โดยสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 3 เม.ย.65เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปส.2 และ บก.ขส. ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหา พร้อมยาบ้าจำนวน 6 ล้านเม็ด ที่บริเวณตลาดไท อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นเครือข่ายเดียวกันกับที่ขนยาเสพติดจากแนวชายแดน ผ่านมาทาง จ.เลย การจับกุมดังกล่าวทำให้กลุ่มผู้รับจ้างขนยาเสพติดไม่ได้ค่าจ้างในครั้งก่อน จึงจะทำการ "ซ่อมงาน" คือขนลงมาใหม่ อีกครั้ง โดยจะมีการขนยาเสพติดจากแนวชายแดน ผ่าน จ.เลย ลงมาสู่ส่วนกลางเหมือนเคย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้วางแผนจับกุม 

จนต่อมา เมื่อวันที่ 26 เม.ย.65 เวลาประมาณ 08.15 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก. ปส.2 และ บก.ขส. ได้ร่วมกันจับกุม นายไตรภพ ยอโง้กับพวกรวม 5 คน ได้พร้อมยาบ้า 5 กระสอบ (จำนวน 1.9 ล้านเม็ด) ยาอี 50,000 เม็ด และรถยนต์ 3 คัน ได้ที่ ม.6 ต.โพสะ อ.เมือง จ.อ่างทอง นำส่งพนักงานสอบสวน บก.ปส.2 ดำเนินคดี

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยแก๊งมิจฉาชีพหลอกลวงสมัครเป็นสมาชิกสำนักงานแห่งหนึ่ง อ้างมีสิทธิพิเศษต่างๆ หลอกลวงเรียกค่าสมัครและค่าอื่นๆ ในหลายพื้นที่

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเตือนภัยตามกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ได้นำเสนอ แก๊งมิจฉาชีพหลอกลวงสมัครเป็นสมาชิกสำนักงานแห่งหนึ่งซึ่งตั้งขึ้นมาเอง อ้างมีสิทธิพิเศษต่างๆ โดยเรียกเก็บค่าสมัครและค่าอื่นๆ มีประชาชนที่ได้รับความเสียหาย มูลค่าเกือบ 1 ล้านบาท

จากกรณีดังกล่าวมีประชาชนในพื้นที่ จว.บุรีรัมย์ ได้เข้าแจ้งความกับ พนักงานสอบสวน สภ.พุทไธสง จว.บุรีรัมย์ เมื่อเดือน ธ.ค.64 เพื่อดำเนินคดีกับแก๊งมิจฉาชีพที่ได้หลอกลวงให้ได้รับความเสียหายรวมมูลค่าเกือบ 1 ล้านบาท จากนั้นพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ต้องหาในคดีทราบจำนวน 3 ราย ในข้อหา ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน  และได้ส่งสำนวนการสอบสวนคดีและผู้ต้องหาไปยัง พนักงานอัยการ จว.บุรีรัมย์ ในช่วงปลายเดือน ธ.ค.64 เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว โดยมีพฤติการณ์แห่งคดีมิจฉาชีพได้หลอกลวงให้ผู้เสียหายสมัครสมาชิกสำนักงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.ชัยบาดาล จว.ลพบุรี ซึ่งตั้งขึ้นมาเอง พร้อมอ้างว่าจะได้รับการช่วยเหลือ มีสิทธิพิเศษต่างๆ ซึ่งผู้สมัครจะต้องเสียค่าสมัครรายละ 1,500 บาท ค่าตัดชุดประจำตำแหน่งชุดละ 1,800 บาท ค่าบัตรสมาชิก 200 บาท รวมถึงอ้างว่าจะได้เงินเดือนๆละ 5,000 บาท หากเสียชีวิตก็จะมีค่าปลงศพให้สมาชิกอีกรายละ 60,000 บาท  ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อไปสมัครเป็นจำนวนหลายราย สร้างความเสียหายห้วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส 

ในทางคดีขณะนี้ทางสำนักงานอัยการ จว.บุรีรัมย์ ได้มีหนังสือให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนประเด็นในคดีเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาของทางอัยการ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้เร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยถึงปัญหาและภัยจากการหลอกลวงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกลวงผ่านรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเกิดเสียหายได้อย่างรวดเร็ว เป็นวงกว้าง จึงกำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนถึงแนวทางป้องกัน หากมีการกระทำความผิดให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  พร้อมดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลโดยได้สั่งการและกำชับไปยังหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ให้สร้างการรับรู้ถึงภัยการหลอกลวงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกลวงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ให้ทำการสืบสวนสอบสวน ปราบปรามอาชญากรรม กลุ่มมิจฉาชีพที่หลอกลวงขยายผลไปยังเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างเด็ดขาด จริงจัง เห็นผลเป็นรูปธรรม การหลอกลวงลักษณะดังกล่าวนอกจากจะเป็นการตอกย้ำพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน หากมีการชักชวนผ่าน  สื่อสังคมออนไลน์ยังเข้าข่ายความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

รองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอฝากเตือนภัยประชาชน ขอให้ตรวจสอบข้อมูลลักษณะดังกล่าวให้ดี โดยปกติแล้วจะไม่มีองค์กรที่ดำเนินการในลักษณะนี้ ที่อ้างว่าจะให้ความช่วยเหลือไม่ให้ถูกจับกุมเมื่อกระทำความผิดตามกฎหมาย ซึ่งไม่มีอยู่จริง รวมถึงขอฝากแนวทางการหลีกเลี่ยงป้องกันการถูกหลอกลวงจากแก๊งมิจฉาชีพในทุกรูปแบบ อาทิ การฉ้อโกง การหลอกลวงให้ลงทุน โดยเฉพาะกรณีที่หลอกลวงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ขอให้ตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ดี หลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ฟังดูดีเกินกว่าจะเป็นไปได้หรือมีเงื่อนไขในลักษณะที่ได้ผลตอบแทนสูง ง่าย ไม่ซับซ้อน  หากได้รับความเสียหายให้รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง สลิปการโอนเงิน ข้อมูลการติดต่อ ทั้งภาพนิ่งหรือคลิปวีดีโอ เพื่อแจ้งความกับพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประชาสัมพันธ์การบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เริ่มใช้ 1 มิถุนายน 2565 รวมถึงการรักษาสิทธิของประชาชนที่เป็นเจ้าข้องข้อมูลตามกฎหมาย

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนประชาสัมพันธ์ถึงการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หากผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลพบการกระทำผิด การละเมิด หรือกระทบสิทธิตามกฎหมายก็สามารถดำเนินการทั้งในทางอาญา ทางแพ่ง หรือทางปกครองตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 นี้ 

เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก จนสร้างความเดือดร้อนหรือความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ทำได้ โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม จึงกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไปขึ้นมา

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เล็งเห็นถึงความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมกำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรมและเกิดประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอาชญากรรมและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล

พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้กำชับให้หน่วยงานต่างๆ ในสังกัดที่เกี่ยวข้องเร่งทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงสาระสำคัญของกฎหมาย  โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็พร้อมที่จะบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม เกิดประสิทธิภาพ สมกับเจตนารมณ์ที่มีการประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้นมา

โดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ย่อมาจาก คำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) กฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล การสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้อย่างถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต สำหรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ซึ่งได้เลื่อนให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 
กฎหมายฉบับนี้จะมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงได้สร้างมาตรฐานให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลในการเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามนั้น มีโทษทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และโทษทางปกครองหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้  มี 3 ประเด็นหลัก ดังนี้...
1.เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอม (Consent) ในการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ผู้เก็บรวบรวม ผู้ใช้ แจ้งไว้ตั้งแต่แรกแล้วเท่านั้น กล่าวคือ ต้องขออนุมัติจากเจ้าของข้อมูลก่อน เช่น หากแอปพลิชันหนึ่งจะเก็บข้อมูลบัตรเครดิตของเราไว้ในระบบ ก็ต้องมีข้อความให้เรากดยืนยันเพื่อยินยอม พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม และการใช้ หากเราไม่ยินยอมให้ใช้ข้อมูลบัตรเครดิต ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันนั้นก็ไม่สามารถ  ใช้ข้อมูลบัตรเครดิตของเราได้ เป็นต้น

2.ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลต้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือถูกเข้าถึงโดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เช่น สถานพยาบาลจะต้องเก็บข้อมูลของผู้ป่วยให้เป็นความลับและไม่เปิดเผยให้กับผู้อื่น ธนาคารต้องเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น

3.เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์การขอเข้าถึง การโอน การแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลหรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตน เป็นต้น

หากมีการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบฯ ก็จะมีความผิดตาม มาตรา 79 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรโดยมิชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตามมาตรา 79 วรรคสอง ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  อีกทั้งหากล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้ ถ้าผู้นั้นนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น ตามมาตรา 80 วรรคหนึ่ง  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงมีความผิดในทางปกครอง ตามมาตรา 82-90 โดยมีโทษปรับทางปกครอง 500,000 – 5,000,000 บาท อีกทั้งผู้เสียหายอาจใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งหรือความผิดตามกฎหมายอื่นได้อีกด้วย

รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ส.ค.ส.) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงให้ความรู้และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน และบุคคลทั่วไปให้มีความเข้าใจและสามารถรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างปลอดภัย อีกส่วนคือ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องเรียนเมื่อมีการละเมิด ตรวจสอบผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่าง ๆ  

ขอฝากให้ประชาชนศึกษาข้อกฎหมายดังกล่าว เพื่อประโยชน์และสิทธิของตัวท่านในฐานะบุคคลทั่วไปหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนจะให้ข้อมูลสำคัญ ควรมีการเก็บบันทึกเป็นหลักฐานไว้ หรือมีการขอสำเนาของเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์จะได้ใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องเรียนตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ หรือใช้ในการดำเนินคดีตามขั้นตอนกฎหมาย 

รวมถึงฝากเตือนการให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่เว็บไซต์/แอปพลิเคชัน ที่มีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เช่น การทำงานของเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน จะเชื่อมต่อระบบสมาชิกกับเฟซบุ๊ก มีการขอชื่ออีเมลและรายชื่อเพื่อนในเฟซบุ๊กของเรา หากเห็นว่าไม่จำเป็นที่ต้องให้ข้อมูลก็สามารถคลิกเพื่อไม่ยินยอม  ซึ่งถือเป็นการคุ้มครองข้อมูลของตนเองด้วยอีกส่วนหนึ่ง ไม่ควรรีบยินยอมหรือให้เข้าถึงข้อมูลโดยที่ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดของขอบเขตการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ชัดเจนเสียก่อน

'ศพดส.ตร.' เปิดยุทธการ 'เรือมนุษย์' ค้น 6 จุด ทลายขบวนการค้ามนุษย์ เรือประมงนรก บังคับเสพยา-ทารุณ

(5 พ.ค.65)  พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. และผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผอ.ศพดส.ตร.)

พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร.,รอง ผอ.ศพดส.ตร.,พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชไนาญ ผบก.ปคม. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคม. บก.ป. บก.รน. และ หน่วยงานอื่นๆในสังกัด บช.ก. เปิดยุทธการ “เรือมนุษย์” กระจายกำลังเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย 6 จุดในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ จ.นนทบุรี จ.จันทบุรี เพื่อกวาดล้างจับกุมผู้ต้องหาขบวนการค้ามนุษย์บังคับใช้แรงงานบนเรือประมง

สำหรับยุทธการดังกล่าวสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 ประเทศมาเลเซียได้ส่งกลับแรงงานไทย จำนวน 44 คน จากการตรวจสอบ พบในจำนวนนี้มี 3 ราย ถูกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์แรงงานประมง จึงสืบสวนขยายผล จนพบว่ามีการทำกันเป็นกลุ่มขบวนการ โดยเริ่มตั้งแต่ กลุ่มนายหน้า จัดหาเหยื่อที่ส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างจังหวัดนั่งรถไฟเข้ามาหางานทำในกรุงเทพ อ้างว่าจะพาไปทำงานได้รับค่าตอบแทนสูง ก่อนพาไปส่งต่อให้กับเจ้าของเรือประมงแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสาคร โดยกลุ่มนายหน้าจะได้ค่าตอบแทน คิดเป็นเงิน 50,000 บาท ต่อแรงงาน 1 คน

ต่อมาเจ้าของเรือประมง ก็จะนำแรงงานเหล่านี้ลงเรือประมงล่องออกสู่อ่าวไทย ก่อนแอบลักลอบออกนอกเขตน่านนำไทย เพื่อไปทำประมงในเขตน่านน้ำประเทศมาเลเซีย โดยระหว่างที่อยู่บนเรือก็จะมีไต๋ก๋งเรือ คอยควบคุมและบังคับให้แรงงานเหล่านี้ทำงานหนักเป็นเวลาต่อเนื่องติดต่อกัน ได้พักวันละไม่เกิน 4 ชม. พร้อมกับ นำยาเสพติดมาให้เสพจนติด เพื่อใช้เป็นข้อต่อรองให้ยอมอยู่ในความควบคุม หากคนใดไม่ยอมทำตามก็จะถูกทำร้ายทุบตี ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวเหล่านี้ถือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายค้ามนุษย์ จึงรวบรวมพยานหลักฐานขออำนาจศาลออกหมายจับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จนนำมาสู่การเปิดยุทธการดังกล่าว

สำหรับการตรวจค้นจุดแรก ที่ จ.จันทบุรี ตำรวจ นำหมายค้นของ ศาลอาญา ที่ 327/2565 ลงวันที่ 3 พ.ค.2565  เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่ง ที่ อ.แหลมสิงห์  จ.จันทบุรี  และจับกุมตัว  “ เสี่ย ส ”  อายุ  56 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 826/2565 ลงวันที่ 27 เม.ย. 2565  ความผิดฐาน “ร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปและสมคบกันโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์โดยแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการบังคับใช้แรงงานหรือให้บริการหรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะ ยินยอมหรือไม่ก็ตาม”สำหรับเสี่ย ส. เป็นญาติของนักการเมืองคนหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี

จุดต่อมา ที่ จ.สมุทรปราการ ตำรวจนำหมายค้นของศาลอาญา  เข้าตรวจค้น ท่าเทียบเรือ แห่งหนึ่งภายใน ซอย   8   (หลวงสุข)   ถนนท้ายบ้าน ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ        

จุดที่ 3 เข้าตรวจค้น บ้านหลังหนึ่ง หมู่ บ้านพนาสนธิ์ซิตี้   ถนนศรีนครินทร์   ต.บางเมือง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ , จุดที่ 4 ที่บริษัทแห่งหนึ่ง ต.บางหญ้าแพรก อ.เมืองสมุทรปราการ ,จุดที่ 5 ที่บ้านหลังหนึ่ง ต.บางเมือง อ.เมืองสมุทรปราการ เพื่อค้นหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์บนเรือประมง

จุดสุดท้าย ที่ จ.นนทบุรี ตำรวจนำหมายค้นของศาลอาญา  เข้าตรวจค้น บ้านหลังหนึ่ง ภายในหมู่บ้านนันทิชา 3 ต.บางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
และจับกุมตัว นางสาวเพ็ญศิริ  (สงวนนามสกุล)  อายุ43 ปี  ตามหมายจับของศาลอาญาที่815/2565  ลงวันที่ 27 เม.ย.2565  ในความผิดฐาน “ร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปและ สมคบกันโดยการตกลงกันตั้งแต่ สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ โดยแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จากการบังคับใช้แรงงานหรือให้บริการหรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามและได้กระทำผิดตามที่ตกลงกันไว้ ”

'ผู้ช่วยฯ สุรเชษฐ์' เปิดปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้น 409 จุดกวาดล้างอาวุธในพื้นที่ภาค 8 พร้อมเปิดประเทศรอรับนักท่องเที่ยว

(6 พ.ค.65) ที่จังหวัดภูเก็ต พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยมีจำนวนลดน้อยลงมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของไทยในภาพรวม แต่ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดมีแนวโน้มคลี่คลายลง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลกที่หลายประเทศได้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรค และเปิดประเทศควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งตามพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยล้วนเป็นพื้นที่ที่ชาวต่างชาติและชาวไทยนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก เช่น จ.ภูเก็ต จ.พัทลุง และ จ.กระบี่ เป็นต้น  

ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้กำหนดและวางมาตรการในการดูแลนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.65 โดย พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รอง ผบ.ตร.(สส.)ได้สั่งการให้ ให้ดำเนินการตามมาตรการการลดอาชญากรรมในพื้นที่ที่กำหนดโดยเร่งด่วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในภาพรวม

จึงได้สั่งการให้ พล.ต.ท.อำพล บัวรับพร ผบช.ภ.8, พล.ต.ต.วันไชย เอกพรพิชญ์ รอง ผบช.ภ.8 และ พล.ต.ต.นภันต์วุฒิ เลี่ยมสงวน ผบก.สส.ภ.8 ดำเนินการตามข้อสั่งการอย่างเร่งด่วน จึงได้มีการวางแผนในการดำเนินการปิดล้อมตรวจค้นเพื่อลดเหตุอาชญากรรม ผู้มีอิทธิพล อาวุธปืน ยาเสพติด วัตถุระเบิด ค้าประเวณี โจรกรรมรถ โดยให้ทุกหน่วยในสังกัด ภ.8 รวบรวมพยานหลักฐานในการขออนุมัติหมายค้นต่อศาลเข้าทำการตรวจค้นเป้าหมายทั้งห้องเช่า เกสต์เฮ้าส์ บ้านพัก รีสอร์ท แหล่งมั่วสุมอาชญากรรมทุกรูปแบบที่อาจส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว หรือพื้นที่ท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 25-29 เม.ย.65 กว่า 409 เป้าหมายใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย
- ภ.จว.กระบี่ จำนวน 47 เป้าหมาย
- ภ.จว.ชุมพร จำนวน 45 เป้าหมาย
- ภ.จว.นครศรีธรรมราช จำนวน 77 เป้าหมาย 
- ภ.จว. พังงา จำนวน 54 เป้าหมาย
- ภ.จว.ภูเก็ต จำนวน 75 เป้าหมาย
- ภ.จว.ระนอง จำนวน 43  เป้าหมาย
- ภ.จว.สุราษฎร์ธานี จำนวน 68 เป้าหมาย  

ผลการปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นในห้วงเวลาดังกล่าว สามารถตรวจเก็บ DNA บุคคลพ้นโทษ 305 ราย จับกุมอาวุธปืนสงคราม 1 กระบอก อาวุธปืน 66 กระบอก ระเบิดทำเอง 3 ลูก ยาเสพติด 267 ราย (ยาบ้า 127,471 เม็ด และยาไอซ์ 9,433 กรัม) โดยมีการจับกุมอาวุธปืนมากสุดในจังหวัดชุมพร จำนวน 16 กระบอก ตามมาด้วยจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 14 กระบอก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top