Tuesday, 20 May 2025
เศรษฐกิจไทย

‘รัฐบาล’ จะเอาเศรษฐกิจอยู่ไหม ?? คำถาม ที่ต้องการคำตอบ อย่างเร่งด่วน

(2 มี.ค. 68) เศรษฐกิจโลก น่าจะไม่สงบไปอีกพักใหญ่ หลังการเจรจาระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ กับประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีแห่งยูเครน ประสบความล้มเหลว ล่มไม่เป็นท่า สองผู้นำปะทะคารมดุเดือด ฟากสหรัฐ อยากให้ยุติสงคราม พร้อมให้ยูเครน รับภาระเป็นลูกหนี้ กว่า 500,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ ฝ่ายยูเครน ต้องการให้สหรัฐสนับสนุน เพื่อต่อสู้กับรัฐเซีย ต่อ... เมื่อสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยังไม่สงบ ราคาพลังงาน ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เหลือ 2.00% ถือเป็นข่าวดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ อย่างน้อยการลดดอกเบี้ยนโยบาบ ก็สามารถเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจและประชาชน โดยเฉพาะ SMEs ที่มีหนี้สะสมกว่า 3.15 ล้านล้านบาท จะได้รับผลดีจากการลดดอกเบี้ย ช่วยลดภาระต้นทุนทางการเงินและเพิ่มโอกาสในการขยายกิจการ 

การปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณบวกที่ภาคธุรกิจรอคอยอย่างมาก เนื่องจากจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อในตลาดและส่งผลดีต่อการส่งออก ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังต้องการการฟื้นตัวและการสนับสนุนจากภาครัฐ

ซึ่งปัจจุบัน สินค้าเกษตรส่งออก โดยเฉพาะข้าวไทย ประสบปัญหา ยอดส่งออกลดลงกว่า 32% ในช่วง 2 เดือนแรกปี 2568 อินเดียกลับมาเป็นผู้นำในการส่งออกข้าว ประสิทธิภาพในเชิงผลผลิตต่อไร่ ไทยสู้เวียดนามไม่ได้แล้ว 

ตลาดโลกแข่งขันสูง ผลผลิตข้าวไทยลดลงเรื่อยๆ จนสู้คู่แข่งอย่างเวียดนามไม่ได้แล้ว ศักยภาพการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำเวียดนามแซงหน้าไทยไปมากถึง 1.6 เท่า ที่สำคัญประสิทธิภาพในเชิงผลผลิตต่อไร่ เวียดนามก็สร้างผลผลิตต่อไร่ได้ดีกว่า พร้อมกับเตรียมตัวเจออุปสรรคการส่งออก สหรัฐอเมริกา จ่อขึ้นภาษีนำเข้าข้าว และสินค้าเกษตร อีก 10% 

ส่งออกได้ลดลง เพราะ ‘ข้าวไทย ราคาแพงขึ้น’ เหมือนจะเป็นข่าวดี สำหรับ เกษตรกรชาวนาไทย ที่จะลืมตาอ้าปาก มีกิน มีใช้ แต่กลไกข้าวไทยในปัจจุบัน ชาวนาขายข้าวได้ราคาสูง จริงหรือ? หรือแพงขึ้น จากอะไร? และใคร? ที่ได้ประโยชน์จากข้าวแพง กันแน่ !! 

สถานการณ์ตลาดหุ้นไทย (SET) ปรับลงอีก 22 จุด หลุด 1,200 จุด โดยหุ้นใน SET100 แดงเกือบยกแผง นับจากต้นปี SET ร่วงลงมาแล้วเกือบ 190 จุด หรือเศรษฐกิจไทย จะกู่ไม่กลับแล้ว นักลงทุนไม่เชื่อมั่นต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่มี กังวลการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ที่จะกระทบต่อการส่งออกสินค้า

‘รัฐบาล’ จะเอาเศรษฐกิจอยู่ไหม ? เป็นคำถาม ที่ต้องการคำตอบอย่างเร่งด่วน ก่อนที่เศรษฐกิจไทย จะพังทลายมากไปกว่านี้.. 

‘ดร.กอบศักดิ์’ แนะไทยปรับ 3 ยุทธศาสตร์ ฝ่าวิกฤตศรัทธาหลัง Moody’s ลดแนวโน้มเครดิต

เมื่อวานนี้ (29 เม.ย. 68) บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s Investors Service ประกาศปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของประเทศไทยจาก 'มีเสถียรภาพ' (Stable) เป็น 'เชิงลบ' (Negative) สะท้อนความกังวลว่าเศรษฐกิจและฐานะการคลังของไทยอาจอ่อนแอลงในระยะข้างหน้า ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและภาระหนี้ภาครัฐที่สูงขึ้น

ด้าน ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกมาโพสต์เตือนผ่านเฟซบุ๊กว่า การเปลี่ยนมุมมองของมูดีส์ถือเป็นสัญญาณเตือนสำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่การลดอันดับเครดิตของไทยในอนาคต หากไม่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหรือจัดการภาระหนี้อย่างจริงจัง

มูดีส์ระบุสาเหตุหลักมาจากความเสี่ยงที่ศักยภาพการเติบโตของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์โลกยังผันผวน โดยเฉพาะนโยบายภาษีของสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและห่วงโซ่อุปทานที่ไทยมีบทบาทสำคัญ รวมถึงความเปราะบางของการคลังที่ยังคงมีอยู่ตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19

แม้ Outlook เชิงลบจะยังไม่เท่ากับการลดอันดับเครดิต แต่ถือเป็น “คำเตือนอย่างเป็นทางการ” โดยในอดีตก็เคยเกิดขึ้นช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2008 ก่อนที่มูดีส์จะกลับมาปรับมุมมองเป็นเสถียรภาพอีกครั้งในภายหลัง หากไทยสามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแรง

มูดีส์ชี้ว่า หากไทยสามารถรักษาการเติบโตของ GDP ได้ในระดับ 3–4% อย่างต่อเนื่อง และลดสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP ลงได้ ก็อาจกลับไปสู่มุมมอง 'เสถียรภาพ' ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจยังชะลอตัว หรือการเมืองไร้เสถียรภาพจนกระทบต่อการดำเนินนโยบาย ก็มีโอกาสที่อันดับเครดิตจะถูกลดลงจริง

ทั้งนี้ ดร.กอบศักดิ์เสนอแนวทางว่า 1) หลีกเลี่ยงนโยบายหรือพฤติกรรมที่สร้างความกังวลแก่ตลาดและสถาบันจัดอันดับ 2) เตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้ทรัมป์ 3) เร่งสร้างศักยภาพการเติบโตอย่างยั่งยืน 3–4% ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมใหม่ การพัฒนาคน และปฏิรูปกฎหมายที่เป็นอุปสรรค


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top