Saturday, 18 May 2024
รัสเซีย

'รัสเซีย' เย้ย ตะวันตกจ่อยิงหัวตัวเอง หลังร่วมแบนน้ำมันรัสเซีย แต่ได้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม

รัสเซียในวันพุธ (15 มิ.ย.) ระบุว่าตะวันตก "จ่อยิงศีรษะตนเอง" ด้วยการพยายามจำกัดนำเข้าพลังงานจากบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในไซบีเรีย สืบเนื่องจากความขัดแย้งในยูเครน สวนทางโดยสิ้นเชิงกับจีน ซึ่งเพิ่มนำเข้าพลังงานจากมอสโก

สงครามในยูเครน และความพยายามของตะวันตกที่หวังโดดเดี่ยวรัสเซีย ตอบโต้ปฏิบัติการรุกรานดังกล่าว ผลักให้ราคาธัญพืช น้ำมันประกอบอาหาร ปุ๋ยและราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ยุโรปประกาศลดพึ่งพิงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย

มาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ระบุว่า ความเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างรัสเซียกับจีน สามารถต้านทานความพยายามหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความไม่ลงรอยของตะวันตก ในขณะที่สหรัฐฯ และพันธมิตรยุโรปได้ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากับมอสโกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

"อุปทานพลังงานกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จีนรู้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการและไม่ยิงเท้าตัวเอง ส่วนในฝั่งตะวันตกของมอสโก พวกเขายิงตัวเองที่ศีรษะ" ซาคาโรวาบอกกับผู้สื่อข่าว "ตะวันตกโดดเดี่ยวตัวเองจากเรา"

เธอให้คำจำกัดความมาตรการของสหภาพยุโรปว่าเป็น "การวางแผนฆ่าตัวตาย" ในความพยายามกระจายหนทางปลีกตัวเองออกจากพลังงานของรัสเซีย ซึ่งป้อนอุปทานแก่เยอรมนีมาตั้งแต่ช่วงตึงเครียดสุดของสงครามเย็น

รัสเซียเป็นชาติผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก รองจากซาอุดีอาระเบีย และเป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดในโลก

ซาคาโรวา บอกว่าทรัพยากรด้านการทูตของรัสเซีย ได้เบี่ยงเส้นทางเรียบร้อยแล้ว บ่ายหน้าจากยุโรป สหรัฐฯ และแคนาดา สู่เอเชีย แอฟริกาและอดีตสหภาพโซเวียต

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างมอสโกกับจีนถือว่าดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา และยกย่องความเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายตอบโต้อิทธิพลของสหรัฐฯ

สหรัฐฯ และมหาอำนาจยุโรป กล่าวโทษการตัดสินใจรุกรานยูเครนของปูติน ว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตะวันตกดำดิ่งสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตขีปนาวุธคิวบาปี 1962 ในนั้นรวมถึงการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรหนักหน่วงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคสมัยใหม่
 

แบรนด์แทนที่ ‘แมคโดนัลด์’ ในรัสเซีย ขายเบอร์เกอร์วันเดียวทะลุ 1.2 แสนชิ้น

Vkusno & Tochka อดีตร้าน ‘แมคโดนัลด์’ ซึ่งเป็นชื่อใหม่และโลโก้ใหม่ในรัสเซีย ขายเบอร์เกอร์ได้มากกว่า 120,000 ชิ้นในวันเปิดตัวในกรุงมอสโก ทุบทุกสถิติที่เคยทำเอาไว้ก่อนหน้าที่เครือข่ายฟาสต์ฟู้ดดังสัญชาติสหรัฐฯ จะถอนตัวออกจากประเทศแห่งนี้ ตอบโต้กรณีรุกรานยูเครน

แม้ ‘บิ๊กแมค’ และ ‘แมคเฟลอร์รี’ ถูกถอดออกจากเมนูของสาขาต่าง ๆ ของ Vkusno & Tochka แต่ด้วยยอดขายที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าตื่นตะลึงในวันเปิดทำการ ทำให้กลุ่มผู้บริหารของบริษัทต้องวางเป้าหมายการเติบโตที่สูงต่อในทันที

“ปัจจุบันประชาชนแห่เข้าไปยังร้าน Vkusno & Tochka ที่ต้อนรับลูกค้าด้วยโลโก้ใหม่ เฉดสีใหม่และกระดาษห่อใหม่ที่ไม่มีตราสัญลักษณ์แมคโดนัลด์ โดยวันแรก เราสามารถขายเบอร์เกอร์ได้เกือบ 120,000 ชิ้น ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยพบเห็นจากยอดขายรายวัน ตลอดช่วงเวลาที่แมคโดนัลด์เปิดบริการในรัสเซีย” โอเลค ปาโรเยฟ ผู้จัดการใหญ่ของกิจการใหม่แห่งนี้เปิดเผย

สำหรับ แมคโดนัลด์ส คอร์ป ได้ถอนตัวออกจากรัสเซียโดยสมบูรณ์ พร้อมขายสาขาทั้งหมดที่พวกเขาเป็นเจ้าของแก่ผู้ถือใบอนุญาตท้องถิ่นอย่าง นายอเล็กซานเดอร์ โกเวอร์ (Alexander Gover) นักธุรกิจชาวรัสเซีย ในเดือนพฤษภาคม และเจ้าของกิจการใหม่ได้กลับมาเปิดร้านราว ๆ 50 สาขา ในวันที่ (12 มิ.ย. และ 13 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อภาษารัสเซียว่า Vkusno & Tochka (มีความหมายรวมๆ อร่อยและถูกใจ) ภายใต้สโลแกน ‘ชื่อเปลี่ยนไปแต่หัวใจเหมือนเดิม’ (The name changes, love stays)

ทั้งนี้ โกเวอร์ ยังตั้งเป้าขายสาขาให้ถึงระดับ 1,000 สาขาภายใน 4 ถึง 5 ปีข้างหน้า โดยครั้งอยู่ภายใต้แบรนด์เก่า แมคโดนัลด์มีสาขาอยู่ในรัสเซียราวๆ 850 สาขาเท่านั้น

รัสเซียผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินตปท.ครั้งแรกในรอบ 100 ปี ผลพวงยุโรป 'คว่ำบาตร-ปิดช่องทางการชำระหนี้'

รัสเซียผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ศตวรรษ หรือนับตั้งแต่ปี 2461 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ชาติตะวันตกประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งรวมถึงการปิดช่องทางการชำระหนี้ให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศ 

ทั้งนี้ รัสเซียมีกำหนดชำระอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในวันอาทิตย์ที่ 26 มิ.ย. และนับจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการชำระอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ซึ่งบ่งชี้ว่า รัสเซียได้ผิดนัดชำระหนี้แล้ว

เมื่อวันที่ (25 พ.ค.) ที่ผ่านมา คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้ออกคำสั่งห้ามไม่ให้รัฐบาลรัสเซียชำระหนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรผ่านทางธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐ ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลให้รัสเซียมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ และถือเป็นการคว่ำบาตรครั้งล่าสุดที่สหรัฐประกาศใช้เพื่อตอบโต้รัสเซียที่ใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า นับตั้งแต่รัสเซียบุกโจมตียูเครนเมื่อวันที่ (24 ก.พ.) ที่ผ่านมา คณะบริหารของปธน.ไบเดนได้อนุญาตให้ยกเว้นการคว่ำบาตรต่อธนาคารกลางรัสเซียเป็นการชั่วคราว เพื่อเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางสามารถชำระหนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรผ่านทางธนาคารสหรัฐและธนาคารทั่วโลกได้ แต่แถลงการณ์ชื่อ Notice on Russian Harmful Foreign Activities Sanctions General License 9C ที่ออกโดยกระทรวงการคลังสหรัฐระบุว่า ข้อยกเว้นดังกล่าวได้หมดอายุลงในวันที่ 25 พ.ค.ตามเวลาสหรัฐ

กลุ่มสาวยูเครนรวมตัว ‘ถ่ายนู้ด’ หาทุนสู้ศึกรัสเซีย ลั่น!! หยุดโปรเจกต์นี้ ต่อเมื่อ ‘ปูติน’ ตาย

กลุ่มคอนเทนต์ครีเอเตอร์สาวยูเครนแลก ‘ภาพนู้ด’ กับเงินสดเพื่อนำไปสนับสนุนทหารที่ทำสงครามต่อต้านรัสเซีย ล่าสุดระดมเงินทุนกันได้แล้วกว่า 642,000 ปอนด์ หรือเกือบ 28 ล้านบาท

ผู้หญิงกลุ่มนี้มารวมตัวกันภายใต้โครงการที่ชื่อว่า ‘TerOnlyFans’ (มาจากคำว่า ‘Territorial Defense’ กับ ‘Onlyfans’) โดยปัจจุบันมีสมาชิก 38 คนที่เสนอมอบภาพนู้ดของตัวเองให้แก่ผู้ที่บริจาคเงินแก่องค์กรการกุศลต่าง ๆ ของยูเครน

นาสตาเซีย นาสโก (Nastassia Nasko) สาวเบลารุสวัย 23 ปี ซึ่งเคยอาศัยอยู่ที่กรุงเคียฟก่อนจะเกิดสงคราม และเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม เล่าว่า จุดเริ่มต้นมันมาจากตอนที่เธอทวีตข้อความขอให้ใครสักคนช่วยเหลือเพื่อนของเธอที่ติดอยู่ในเมืองคาร์คีฟ (Kharkiv) และพูดเล่นๆ ว่าจะถ่ายนู้ดส่งให้เป็นการตอบแทน 

จากนั้นปรากฏว่าภายใน 5 นาที มีผู้ส่งข้อความตอบรับข้อเสนอของเธอมากกว่า 10 ข้อความ และเพื่อนของเธอก็ได้รับการช่วยเหลือให้ออกจากเมืองคาร์คีฟได้อย่างปลอดภัยจริง ๆ ทำให้เธอเกิดปิ๊งไอเดียถ่ายนู้ดเพื่อ ‘ช่วยชาติ’ ซะเลยดีกว่า

ปัจจุบัน นาสโก และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ร่วมอุดมการณ์อีกเกือบ 40 ชีวิตที่ทำโครงการ TerOnlyFans สามารถระดมเงินทุนได้แล้ว 642,605 ปอนด์ และมอบมันให้มูลนิธิเพื่อการกุศล 11 แห่ง โดยมีตั้งแต่สวนสัตว์กรุงมินสก์เรื่อยไปจนถึง ‘กองพันอาซอฟ’ ที่สู้รบกับรัสเซียอยู่ในยูเครนตะวันออก

‘ยูเครน’ ดี๊ด๊า!! ประกาศชัยเหนือรัสเซีย หลัง ‘ซุปบอร์ช’ กลายเป็นมรดกของยูเครน

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา องค์การ UNESCO (ยูเนสโก) แห่งสหประชาชาติ ได้ขึ้นทะเบียนซุปผัก ที่เรียกว่า ‘Borscht Soup’ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเครน ต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเหตุปัจจัยจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่อาจทำให้ ซุปบอร์ช ต้นตำรับดั้งเดิมของยูเครนสูญหายไป 

ข่าวนี้สร้างความยินดีแก่ชาวยูเครนเป็นอย่างมาก โดยนาย โอเล็กซานเดอร์ ทคาเชงโก้ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของยูเครนได้ออกมาประกาศว่า “ชัยขนะในสงครามซุปบอร์ชเป็นของพวกเราแล้ว!”

ขณะที่ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ได้ออกมาตอบโต้ว่า ซุปบอร์ชเป็นของรัสเซียและไม่จำเป็นต้องให้ใครมาปกป้อง

สำหรับ ซุปบอร์ช นั้น เป็นซุปผักชนิดหนึ่งที่ทำจากบีทรูท เคี่ยวจนได้เป็นน้ำซุปสีแดงเข้ม แต่บางครั้งก็พบซุปบอร์ชที่ทำจากมันฝรั่ง และกะหล่ำปลี ที่ทำให้น้ำซุปมีสีเขียว หรือขาวได้เช่นกัน มักนิยมบริโภคในกลุ่มประเทศฝั่งยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่เคยอยู่ในเครือสหภาพโซเวียต ที่หล่อหลอมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และอาหารการกินซึ่งกันและกัน จนยากที่จะแยกได้อย่างชัดเจนว่าถิ่นกำเนิดที่แท้จริงมาจากไหน 

อย่างไรก็ตาม ซุปบอร์ช ได้กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรงมาหลายปีระหว่างรัสเซีย และยูเครน ที่ต่างก็ต้องการอ้างสิทธิ์ว่าซุปดังกล่าวเป็นอาหารประจำชาติของตน 

โดยยูเครนเคยอ้างสิทธิ์การเป็นต้นกำเนิดของซุปบอร์ช ที่มีแพร่หลายไปทั่วทุกบ้านของชาวยูเครน ที่มีแม้แต่เมืองชื่อ ‘บอร์ช’ และยูเครนยังเป็นแหล่งปลูกบีทรูทที่ใช้เป็นวัตถุดิบพื้นฐานของการทำซุปบอร์ช และเชื่อว่าซุปบอร์ชเผยแพร่เข้าไปในรัสเซียตั้งแต่ยูเครนยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีการอ้างถึงตำราทำอาหารในยุคสมัยของผู้นำ โจเซฟ สตาลิน ยังเคยเรียกมันว่า ‘ซุปยูเครน’ 

แต่การอ้างอิงต้นกำเนิดของสิ่งใด ด้วยชื่อเมือง หรือความเป็นแหล่งปลูกวัตถุดิบอาจไม่เพียงพอเสมอไป โดยฝ่ายรัสเซียค้านว่า ซุปบอร์ช ก็มีสูตรเฉพาะของรัสเซียเหมือนกัน และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว และมีประวัติศาสตร์ย้อนไปไกลถึงสมัยยุคกลาง ที่ได้เชื่อว่าเป็นอาหารของชาวบ้านรากหญ้าทั่วไป และมีความผูกพันกับชาวรัสเซียจนสามารถยกให้เป็นอาหารประจำชาติได้ 

NASA และ Roscosmos องค์กรสำรวจอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย บรรลุข้อตกลงระยะยาวฉบับใหม่ ที่จะยังคงใช้สถานีอวกาศนานาชาติร่วมกัน แถมกำลังจะมีโครงการแลกเปลี่ยนนักบิน และแชร์ไฟลต์สู่อวกาศร่วมกันในเดือนก.ย. นี้

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 65 ที่ผ่านมา NASA และ Roscosmos องค์กรสำรวจอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย เพิ่งบรรลุข้อตกลงระยะยาวฉบับใหม่ ที่จะยังคงใช้สถานีอวกาศนานาชาติร่วมกัน แถมกำลังจะมีโครงการแลกเปลี่ยนนักบิน และแชร์ไฟลต์สู่อวกาศร่วมกันในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

Roscosmos หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านโครงการอวกาศของรัสเซียกล่าวว่า ข้อตกลงนี้ เป็นการเห็นชอบร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อพัฒนากรอบความร่วมมือของโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสำรวจอวกาศเพื่อสันติ 

จากข้อตกลงนี้ จะทำให้ทั้งสหรัฐฯ และ รัสเซีย ยังคงใช้สถานีอวกาศนานาชาติร่วมกันได้ และนักบินอวกาศสหรัฐฯ ยังสามารถเข้าถึงยานแคปซูล Suyuz ของรัสเซียได้ด้วย 

ส่วนโครงการแลกเปลี่ยนนักบินอวกาศจะเริ่มต้นในเดือนกันยายน โดยเที่ยวบินแรก สหรัฐอเมริกาจะส่ง แฟรงค์ รูบิโอ นักบินอวกาศจาก NASA ไปกับยานอวกาศของมอสโคว์ ที่ส่งจากฐานปล่อยยาน ไบโคนูร์คอสโมโดรม ในประเทศคาซัคสถาน ร่วมกับนักบินอวกาศของรัสเซียอีก 2 คน 

ในทางกลับกัน รัสเซียก็จะส่ง แอนนา คิคินา นักบินอวกาศหญิงของรัสเซีย ไปกับยาน Space X Dragon พร้อมลูกเรือชาวอเมริกัน 2 คน และจากญี่ปุ่นอีก 1 คน โดยปล่อยยานจากศูนย์อวกาศเคเนดี ในรัฐฟลอริด้า และนี่จะเป็นครั้งแรกที่นักบินอวกาศรัสเซียจะได้เดินทางสู่อวกาศไปกับยานของ Space X อีกด้วย

ในขณะที่สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย ตัดขาดความสัมพันธ์แทบทุกอย่างบนโลก เนื่องจากความขัดแย้งในกรณีข้อพิพาทรัสเซีย-ยูเครน แต่ความร่วมมือกันในโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ อาจกลายเป็นโปรเจกต์เดียวที่ยังเหลืออยู่ 

'รัสเซีย-เมียนมา' ความสัมพันธ์แบบ 'มหามิตร' แม้เวลาเปลี่ยน 'เพื่อนหมี' ยังเคียงข้างเสมอ

หลังจากที่เกิดการรัฐประหารในเมียนมา ก็เริ่มมีชื่อหลายประเทศที่เข้ามาสนับสนุนรัฐบาลทหารของเมียนมา และประเทศหนึ่งที่ในอดีตแทบจะไม่มีใครพูดถึงเลย แต่แท้จริงมีความสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมาอย่างแน่นแฟ้น นั่นก็คือ รัสเซีย

ความแน่นแฟ้นนี้สามารถย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่พม่ายังตกอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษ และช่วงหนึ่งที่มีการลุกฮือขึ้นต่อต้านอังกฤษจากผู้นำที่ชื่อ 'นายพลอองซาน' จนถึงช่วงที่ได้รับเอกราชจากอังกกฤษนั้น นายพลอองซาน ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งพม่า ถึงกับถูกจารึกไว้ในงานเขียนของ โจเซฟ ซิลเวอร์สตีน ที่เขียนไว้ใน 'มรดกทางการเมืองของอองซาน' ว่า...

"นายพลอองซาน หนี้สินทางปัญญาต่อ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต และผู้นำคอมมิวนิสต์คนอื่นๆ ได้ผลักดันให้เขาสามารถปลดแอกพม่าจากอังกฤษและนำพาพม่ามาเป็นประเทศสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งในระหว่างการต่อสู้กับจักรวรรดิอังกฤษนั้น ทางโซเวียตให้ทั้งการสนับสนุนทางศีลธรรมและความช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มนักปฏิวัติชาวพม่าที่กำลังต่อสู้กับการล่าอาณานิคมของอังกฤษด้วย"

แม้ภายหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย รัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ก็ยังดำเนินนโยบายกับทางเมียนมา ว่าไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศและยังยับยั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อช่วยเมียนมาอีกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมา กับรัสเซียยิ่งแนบแน่นมากขึ้นเมื่อรัสเซียได้มีส่วนร่วมในโครงการพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศ และได้กลายเป็นซัพพลายเออร์ด้านการป้องกันรายใหญ่ให้แก่กองทัพเมียนมา 

'เยอรมนี' ยอมรับอยู่ไม่รอดฤดูหนาว หากไม่ได้ก๊าซจากรัสเซียเพิ่มเติม

เยอรมนีจำเป็นต้องซื้อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียเพิ่มเติม เนื่องจากคลังสำรองก๊าซในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะเห็นประเทศแห่งนี้ผ่านพ้นช่วงฤดูหนาวไปได้ จากความเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเบอร์ลิน ที่รับผิดชอบงานด้านเครือข่ายไฟฟ้าและก๊าซ ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

เคลาส์ มุลเลอร์ ประธานสำนักงานเครือข่ายกลาง (Federal Network Agency) กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของเยอรมนี ให้สัมภาษณ์กับ Bild am Sonntag สื่อมวลชนท้องถิ่น ที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ (17 ก.ค.) เตือนว่าแม้คลังสำรองก๊าซขยับเข้าใกล้ 65% ของความจุและมันดีขึ้นกว่าช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มันยังคงไม่เพียงพอที่จะผ่านพ้นฤดูหนาวหากปราศจากก๊าซของรัสเซีย

มุลเลอร์ ระบุว่า เยอรมนีจำเป็นต้องซื้อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียเพิ่มเติมมากน้อยแค่ไหน เวลานี้ขึ้นอยู่กับว่างานซ่อมบำรุงท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1 จะแล้วเสร็จตามความคาดหมายในวันพฤหัสบดี (21 ก.ค.) หรือไม่

เมื่อถามว่าในกรณีที่รัสเซียหยุดส่งมอบก๊าซโดยสิ้นเชิง มันจะใช้เวลานานแค่ไหนก่อนที่ราคาพลังงานสำหรับผู้บริโภคในเยอรมนีจะปรับขึ้น มุลเลอร์ตอบว่ายังไม่มีการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม เขาพยายามสร้างความอุ่นใจ ด้วยเน้นว่า "ราคาในสัปดาห์นี้ไม่ได้ดีดตัวขึ้นมากนัก แม้มีการปิดซ่อมบำรุงนอร์ดสตรีม 1" พร้อมบอกมันอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า "ตลาดอาจซึมซับกับภาวะสูญเสียอุปทานก๊าซรัสเซียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเรามาถึงจุดสูงสุดของราคาก๊าซแล้ว"

ประธานของหน่วยงานควบคุมกฎระเบียบด้านพลังงานแห่งนี้ เน้นย้ำว่าชาวเยอรมนี ไม่ควรตื่นตระหนก และให้คำรับประกันว่าบ้านเรือนประชาชนเป็นกลุ่มที่จะมีความกังวลน้อยที่สุด โดยจะได้รับการป้อนก๊าซนานกว่าภาคอุตสาหกรรมมากๆ

ยิ่งไปกว่านั้น "จะไม่มีเหตุการณ์ที่เราต้องอยู่โดยปราศจากก๊าซโดยสิ้นเชิง" มุลเลอร์ย้ำ โดยบอกว่าหากแม้รัสเซียตัดอุปทานอย่างเด็ดขาด ประเทศอื่นๆ อย่างเช่นนอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์และเบลเยียม จะยังคงขายเชื้อเพลิงฟอสซิลให้เยอรมนี และในอนาคต สถานีก๊าซธรรมชาติเหลวของประเทศเองจะช่วยสร้างความแตกต่าง ประธานสำนักงานเครือข่ายกลางระบุ

มุลเลอร์ กล่าวว่า ถ้าภาวะปันส่วนก๊าซเกิดขึ้น หน่วยงานของเขาจะพิจารณาว่าการหยุดจ่ายก๊าซป้อนภาคธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนโดยเฉพาะจะก่อความเสียหายต่อเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ เขาเชื่อว่าแม้หากเกิดปัญหาขาดแคลน แต่มันน่าจะส่งผลกระทบเฉพาะพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ในส่วนท้ายของโครงข่ายก๊าซเท่านั้น

ขณะเดียวกัน มุลเลอร์ ได้ปฏิเสธทำตามคำแนะนำที่ชี้แนะว่า เบอร์ลิน ควรห้ามส่งออกก๊าซไปยังบรรดาประเทศเพื่อนบ้านยุโรป โดยเขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของความเป็นหนึ่งเดียวกัน "ก็เหมือนกับเราในตอนนี้ที่กำลังได้ประโยชน์จากท่าเรือก๊าซธรรมชาติเหลวในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ เยอรมนีจะให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านหากพวกเขาเผชิญปัญหาขาดแคลนก๊าซรุนแรง"

อย่างไรก็ตาม มุลเลอร์ ยอมรับว่าเยอรมนีคงต้องเผชิญกับฤดูหนาวที่ยากลำบาก 2 ปีติด จากความเสี่ยงก๊าซธรรมชาติขาดแคลน แต่พอถึงช่วงฤดูร้อนปี 2024 ประเทศของเขาจะเป็นอิสระจากก๊าซของรัสเซีย "แต่สิ่งที่เป็นความจริงเช่นกัน คือ ราคาจะไม่มีทางกลับมาอยู่ในระดับต่ำเหมือนในอดีตอีกแล้ว"

TOPIC 24 : ภารกิจเพื่อชาวโลก!! ‘สหรัฐฯ - รัสเซีย’ จับมือออกสำรวจนอกโลก สานฝันมนุษยชาติให้ได้รู้ความลับจักรวาล

ภารกิจเพื่อชาวโลก!! ‘สหรัฐฯ - รัสเซีย’ จับมือออกสำรวจนอกโลก สานฝันมนุษยชาติให้ได้รู้ความลับจักรวาล

Click on Clear Original
โดย ปริม THE STATES TIMES (กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา)

‘ยูเครน’ เล็งลงโทษหนัก ‘ชาวยูเครน’ หากขอสิทธิพลเมืองสหพันธรัฐรัสเซีย

ไม่นานมานี้ อนาโตลี สเตลมัคช์ (Anatoly Stelmakh) รัฐมนตรีช่วยว่าการด้านผนวกคืนดินแดนที่ถูกยึดครองชั่วคราว เปิดเผยเมื่อ (25 ก.ค. 65) ว่า ‘ยูเครน’ กำลังหาทางกำหนดบทลงโทษหนักหน่วงสำหรับพลเรือนที่กำลังได้รับสิทธิพลเมืองสหพันธรัฐรัสเซีย โดยเวลานี้อยู่ระหว่างพิจารณาร่างกฎหมายฉบับหนึ่ง ซึ่งเสนอโทษปรับและจำคุกเป็นเวลานาน สำหรับบุคคลที่กำลังทำเช่นนั้น 

“เวลานี้เราอยู่ระหว่างพิจารณากฎหมาย ในบางมาตรากำหนดบทลงโทษต่าง ๆ ไล่ตั้งแต่โทษปรับเงินไปจนถึงจำคุก 15 ปี” สเตลมัคช์ ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ยูเครน

แนวคิดของการกำหนดให้การได้รับสิทธิพลเมืองรัสเซียเป็น ‘อาชญากรรม’ ได้รับการสนับสนุนจาก ไอรินา เวเรสชุค (irina vereşuk) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงผนวกคืนดินแดนที่ถูกยึดครองชั่วคราว ซึ่งยอมรับอย่างเปิดเผยว่า ร่างกฎหมายนี้มีแรงจูงใจทางการเมืองมากกว่าทางกฎหมาย

โดย เวเรสชุค ได้โพสต์ข้อความบนเทเลแกรมเมื่อวันศุกร์ (22 ก.ค.) ระบุว่า “ความพยายามรับสิทธิความเป็นพลเมืองรัสเซีย อาจเป็นความผิดทางอาญาในยูเครนเร็ว ๆ นี้ เพราะถึงแม้พาสปอร์ตของผู้รุกรานจะช่วยชาวบ้านทั่วไปให้อยู่รอดระหว่างการรุกรานได้ แต่อีกด้านหนึ่ง เราจะอธิบายกับพลเมืองของเราอย่างไร พลเมืองที่สู้รบจนตัวตายในแนวหน้า? ฉะนั้นพาสปอร์ตรัสเซียจะต้องไม่มีทางเกิดขึ้นกับผู้คนในดินแดนของเรา”

เวเรสชุค เปิดเผยอีกว่า ประเด็นนี้เคยถูกหยิบยกมาหารือกันระหว่างการประชุมลับระหว่างหน่วยงานในกระทรวงฯ เพียงแต่ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการร่างกฎหมาย ที่จะมีการพูดคุยหารือกัน แต่ถึงนั้นแนวทางก็ได้ข้อสรุปแล้ว

เธอยอมรับอีกว่า การพูดคุยหารือ อาจต้องใช้เวลานานและยุ่งยากซับซ้อน ทั้งเกี่ยวกับแง่มุมทางกฎหมายของการถือครองพาสปอร์ตรัสเซีย เกี่ยวกับสิทธิมนุษชนและความจำเป็นเพื่อความอยู่รอดภายใต้การรุกราน อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า เลือดของชาวยูเครนจำนวนมากเปื้อนอยู่บนพาสปอร์ตสีแดงของรัสเซีย ทั้งเลือดของทหาร พลเรือน เลือดของผู้หญิง และเด็ก 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top