Saturday, 18 May 2024
รัสเซีย

ยกเลิกการคว่ำบาตรรัสเซีย!! นายกฯ ฮังการี ชี้!! ยุโรปล้มเหลว ควรหันไปใช้แผนสันติภาพแทน| NEWS GEN TIMES EP.61

✨ เป็นเรื่องแล้ว!! สิ่งที่ควรรู้หลัง องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเตือน ‘ฝีดาษลิง’ เข้าสู่ภาวะฉุกเฉิน!!

✨ ยกเลิกการคว่ำบาตรรัสเซีย!! นายกฯ ฮังการี ชี้!! ยุโรปล้มเหลว ควรหันไปใช้แผนสันติภาพแทน

✨ เอากลับมาเป็นของรัฐ!! ฝรั่งเศสเตรียมซื้อบริษัทการไฟฟ้าคืน หวังควบคุมเบ็ดเสร็จ เพื่อลดภาระประชาชน

✨ ห้ามซื้อบริการทางเพศต่างแดน!! กองทัพอังกฤษออกกฎเข้ม หวังลดแรงกดดัน คดีล่วงละเมิดทางเพศ ท่ามกลางความสงสัยว่า “จะทำได้จริงหรือ?”

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

‘ก.ต่างประเทศรัสเซีย’ ซุ่มเงียบเยือนอาเซียน กระชับมิตรไมตรี คู่ขนานทริป ‘เพโลซี’

(4 สิงหาคม 2565) นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ได้เดินทางมาถึงกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ครั้งที่ 55 โดยจะมีตัวแทนรัฐมนตรีจาก 10 ชาติในอาเซียนข้าร่วมประชุมด้วย และจะมีการประชุมระดับทวิภาคี กัมพูชา-รัสเซีย กับ นาย ปรัก สุคน รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา ในช่วงวันที่ 4-5 สิงหาคม

ก่อนหน้านี้ เซอร์เก ลาฟรอฟ ได้ไปเยือนกรุงเนปิดอว์ ประเทศพม่า เพื่อเข้าพบนาย วันนา เมือง รวิน รัฐมนตรีต่างประเทศของฝ่ายรัฐบาลทหารพม่าโดยเฉพาะ อันเนื่องจากรัฐมนตรีของพม่าไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม รมต. อาเซียนน ในกรุงพนมเปญ ด้วยเหตุสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพม่า 

โดย เซอร์เก ลาฟรอฟ ให้คำมั่นสัญญาว่ารัสเซียจะในการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ และสร้างเสถียรภาพให้กับพม่าที่ตอนนี้แตกยับเพราะปัญหาการเมืองภายในประเทศ

ภูมิภาคอาเซียนเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลัก ของทริปเดินสายเยือนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกของรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย หลังจากที่มีการคว่ำบาตรของพันธมิตรชาติตะวันตกต่อรัสเซีย จากกรณีข้อพิพาทในยูเครน โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา เซอร์เก ลาฟรอฟ เดินทางไปแอฟริกา เพื่อเยี่ยมเยือนผู้นำของอียิปต์ คองโก อูกานดา และเอธิโอเปีย มาแล้ว

การมาเยือนอาเซียนของรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียหนนี้ จึงถือเป็นการรักษาระดับสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังเป็นการเดินทางที่คู่ขนานไปกับกำหนดการเยือนประเทศพันธมิตรในแถบเอเชียของ แนนซี เพโลซี ประธานสภาของสหรัฐอเมริกา 

อย่างไรก็ตาม การมาถึงของ เซอร์เก ลาฟรอฟ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากสื่อตะวันตกว่า เป็นเหมือนการสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่าในด้านอาวุธ ที่ถูกนำไปใช้ในการปราบปรามประชาชน อีกทั้ง ทั้งพม่า และ รัสเซีย ก็เป็น 2 ประเทศหลักที่ถูกคว่ำบาตรอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตร

หากย้อนกลับไปในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ที่มีการประชุมผู้นำอาเซียน-สหรัฐฯ ที่จัดขึ้นในทำเนียบขาว โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ได้เคยกล่าวย้ำให้ผู้นำชาติอาเซียนรวมพลังคว่ำบาตรรัสเซียจากกรณีรุกรานยูเครน แต่ทั้งนี้หลายชาติในอาเซียนยังคงวางตัวเป็นกลาง โดยเฉพาะ พม่า, เวียดนาม และ ลาว ซึ่งถือเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับรัสเซียมานาน 

'เซเลนสกี' เผย อยากคุยกับ 'สี จิ้นผิง' หวังให้ช่วยเจรจากับ 'รัสเซีย' ยุติสงคราม

(4 ส.ค. 65) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องให้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีนเปิดโอกาสในการเจรจาโดยตรง พร้อมทั้งระบุว่า จีนไม่เคยตอบรับคำขอดังกล่าวมาตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากบุกยูเครนเมื่อ 5 เดือนก่อน

ประธานาธิบดีเซเลนสกี ให้สัมภาษณ์พิเศษหนังสือพิมพ์เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์ในฮ่องกงผ่านแอปพลิเคชันซูมเป็นเวลา 40 นาที ซึ่งเป็นการให้สัมภาษณ์สื่อเอเชียเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดสงครามว่า จีนเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลมาก สามารถมีอิทธิพลทางการเมืองและทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย นอกจากนี้จีนยังเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย เขาจึงอยากสนทนาโดยตรงกับประธานาธิบดีสี หลังจากที่เคยสนทนากัน 1 ครั้งเมื่อหนึ่งปีก่อน เพราะยูเครนได้แจ้งอย่างเป็นทางการกับจีนแล้วตั้งแต่รัสเซียเริ่มการรุกรานครั้งใหญ่ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ แต่ยังไม่มีโอกาสจนถึงขณะนี้ทั้งที่น่าจะเป็นประโยชน์

สื่อรัสเซียตีข่าว!! 'ผู้นำเกาหลีเหนือ' เสนอส่งทหาร 1 แสนนาย ช่วย 'ปูติน' ทำสงครามในยูเครน

สถานีโทรทัศน์แห่งชาติรัสเซีย เผยรัฐบาลเกาหลีเหนือเสนอที่จะส่งทหารอาสา 100,000 นาย เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครน

แม้ข้อเสนอที่ว่านี้จะยังไม่มีการพิสูจน์ยืนยันว่าจริงหรือไม่ แต่ อิกอร์ โกร็อตเชนโก (Igor Korotchenko) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารในมอสโก ได้ออกมายุผ่านสื่อโทรทัศน์ว่า “เราไม่ควรเก้อเขินที่จะยอมรับน้ำใจของ คิม จองอึน”

“มีรายงานว่า อาสาสมัครชาวเกาหลีเหนือ 100,000 นาย พร้อมที่จะเข้าร่วมในการสู้รบครั้งนี้” เขาบอกผ่านสถานีโทรทัศน์ Channel One

โกร็อตเชนโก ยังเอ่ยชมกองทัพเกาหลีเหนือว่า “มีประสบการณ์เหลือล้นในด้านการยิงตอบโต้ (counter-battery warfare)” ซึ่งเป็นคำพูดที่มีนัยสำคัญพอควร ท่ามกลางกระแสข่าวว่ายูเครนเริ่มที่จะเป็นฝ่ายได้เปรียบในการรบ หลังได้ระบบจรวดหลายลำกล้อง HIMARS ของสหรัฐฯ มาใช้ตั้งแต่เดือน มิ.ย.

“หากเกาหลีเหนือแสดงความปรารถนาที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้วยการต่อสู้กับระบอบฟาสซิสต์ในยูเครน เราก็ควรอนุญาตให้พวกเขาทำ” โกร็อตเชนโก กล่าว

คำกล่าวอ้างเรื่องทหารอาสาเกาหลีเหนือมีขึ้น ในขณะที่บรรดาชาติพันธมิตรรัสเซียเริ่มมีการส่ง 'กองกำลังอาสาสมัคร' ไปช่วยเสริมทัพมอสโกมากขึ้นเรื่อยๆ

นักวิเคราะห์ข่าวกรองตะวันตกมองว่า นี่คือสัญญาณบ่งชี้ว่าประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน อาจไม่มีต้นทุนทางการเมืองมากพอที่จะเรียกระดมพลชาวรัสเซียครั้งใหญ่ให้มาเป็นทหารต่อสู้เพื่อชาติ

รัสเซีย จัดทำประชามติผนวกดินแดน 'ซาปอริซห์เซีย' เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียในเร็วๆ นี้

ผู้ว่าการแคว้นซาปอริซห์เซียของยูเครน เตรียมจัดประชามติ ผนวกดินแดนกับรัสเซีย

รัสเซียเตรียมเดินเกมสุดซอยอีกครั้ง เมื่อเยฟเกนี บาลิทสกี ผู้ว่าการแคว้นซาปอริซห์เซีย (Zaporizhzhia) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลรัสเซีย ได้ออกกฎหมายให้จัดทำประชามติในการผนวกดินแดนเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียในเร็ว ๆ นี้

ซาปอริซห์เซีย เป็นหนึ่งในแคว้นทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน อยู่ระหว่างแคว้นโดเนสค์ และเคอร์ชอน และยังติดกับทะเลอาซอฟด้วย เศรษฐกิจหลักของเมืองนี้ คือการผลิตอลูมิเนียม เหล็ก เครื่องจักร รถยนต์ เครื่องยนต์อากาศยาน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ซาปอริซห์เซีย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป 

และเช่นเดียวกันกับแคว้นโดเนสค์ และเคอร์ชอน ซาปอริซห์เซียเป็นพื้นที่แรก ๆ ที่อยู่ในแผนการบุกของรัสเซียตั้งแต่เริ่มเปิดศึก และยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองไว้ได้ รวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซห์เซีย และทางรัสเซียก็ได้จัดตั้งองค์กรบริหารท้องถิ่นของตนเข้าไปดูแลแทน ซึ่ง เยฟเกนี บาลิทสกี ได้รับเลือกให้ดูแลพื้นที่ส่วนยึดครองของรัสเซีย

แต่ทั้งนี้การตัดสินใจที่จะเร่งให้มีการผนวกดินแดน ซาปอริซห์เซีย เกิดขึ้นหลังจากที่มีการโจมตีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซห์เซีย ซึ่งทั้งฝ่ายยูเครน และรัสเซีย ต่างกล่าวโทษกันและกันว่าเป็นฝีมือของอีกฝ่ายเป็นผู้โจมตี 

เรื่องร้อนถึง อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้ส่งหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบให้ และหลังจากมีข่าวว่าทาง UN จะส่งคนเข้ามา จึงมีข่าวลือว่าฝ่ายรัสเซียจะทำประชามติเพื่อผนวกดินแดนโดยเร็ว

ด้านโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ ผู้นำยูเครน จึงออกมาแถลงออกสื่อว่า หากรัสเซียจะทำประชามติเพื่อผนวกดินแดนในพื้นที่ยึดครองของกองกำลังรัสเซียเมื่อใด ก็จะไม่มีการเจรจาเพื่อยุติสงครามใดๆ อีก ซึ่งเซเลนสกี้ย้ำว่า ยูเครนจะไม่ยอมยกดินแดนที่เป็นของเราให้ใครเป็นอันขาด  

'ตะวันตก' หวั่น!! รัสเซียส่งดาวเทียมอิหร่านขึ้นสู่อวกาศ คาด!! อาจใช้เล็งเป้าหมายทางทหารในยูเครน

กลายเป็นประเด็นถกเถียงว่ามอสโกอาจใช้ดาวเทียมสอดแนมเป้าหมายทางทหารต่างๆ ในยูเครน หลังจากที่ไม่นานมานี้ รัสเซีย ได้ส่งดาวเทียม Khayyam (คัยยาม) ของอิหร่าน ทะยานขึ้นจากคาซัคสถานเมื่อวันอังคาร (9 ส.ค. 65) ที่ผ่านมา

ยูริ โบริซอฟ หัวหน้าขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (Roscosmos) กล่าวที่ศูนย์ปล่อยอวกาศยานไบโคนูร์ คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน ซึ่งบริหารงานโดยมอสโก ยกย่องว่า "นี่คือหลักชัยแห่งประวัติศาสตร์ในความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน เปิดทางสู่การเกิดโครงการใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งโครงการที่ใหญ่กว่านี้"

ขณะที่ อิสซา ซาเรปูร์ รัฐมนตรีคมนาคมของอิหร่าน ซึ่งร่วมเป็นสักขีพยานการปล่อยดาวเทียม Khayyam เรียกมันว่าเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และจุดเปลี่ยนสำหรับการเริ่มต้นการปฏิสัมพันธ์ใหม่ ๆ ในขอบเขตทางอวกาศระหว่าง 2 ประเทศ

ด้าน นาสเซอร์ คานานิ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่าน ได้เขียนบนทวิตเตอร์ว่า "มันคือเส้นทางอันน่าอัศจรรย์แห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน แม้เผชิญมาตรการคว่ำบาตรและแรงกดดันขั้นสูงสุดของศัตรู" ซึ่งข้อความนี้แสดงถึงความสัมพันธ์กับมอสโก ที่เลือกละเว้นวิพากษ์วิจารณ์รัสเซียต่อกรณีรุกรานยูเครน พร้อมกลบความสงสัยต่าง ๆ หลังจากมีหลายฝ่ายกังวลว่ามอสโกอาจใช้ Khayyam สอดแนมยูเครนด้วย

อย่างไรก็ตาม ในฟากของ วอชิงตัน พูดถึงการปล่อยจรวดครั้งนี้ว่า ความร่วมมือที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน สามารถถูกมองในฐานะเป็นภัยคุกคาม "เราทราบรายงานข่าวเกี่ยวกับการที่รัสเซียปล่อยดาวเทียมลูกหนึ่ง ซึ่งมีศักยภาพอันสำคัญในการสอดแนมในนามของอิหร่าน" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รายหนึ่งกล่าวและว่า "ความเป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน เป็นสิ่งที่ทั่วทั้งโลกต้องจับตามองและมองมันในฐานะภัยคุกคาม"

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วอชิงตันโพสต์รายงานโดยอ้างบรรดาเจ้าหน้าที่ข่าวกรองตะวันตกที่ไม่ประสงค์เอ่ยนาม ระบุว่า รัสเซียมีแผนใช้ดาวเทียมดวงนี้เป็นเวลานานหลายเดือนหรือนานกว่านั้น เพื่อช่วยทำสงครามในยูเครน ก่อนส่งมอบการควบคุมให้แก่อิหร่าน พร้อมระบุอ้างว่า ไม่ถึง 2 ชั่วโมง หลังดาวเทียมถูกส่งขึ้นสู่อากาศด้วยจรวด Soyuz-2.1b ทางหน่วยงานอวกาศของอิหร่าน (ไอเอสเอ) เผยว่าทางสถานีภาคพื้นของหน่วยงานอวกาศอิหร่านได้รับข้อมูลเทเลเมติกส์ชุดแรกมาแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อวันอาทิตย์ (7 ส.ค.) พวกเขาเน้นย้ำว่าอิหร่านจะเป็นผู้ควบคุมดาวเทียม "ตั้งแต่วันแรก" ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการตอบโต้รายงานข่าวของวอชิงตันโพสต์

"ไม่มีประเทศที่ 3 ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ส่งมาโดยดาวเทียม สืบเนื่องจากใช้อัลกอริทึมในการเข้ารหัส" หน่วยงานอวกาศของอิหร่านกล่าว พร้อมระบุว่าจุดประสงค์ของ Khayyam คือเฝ้าระวังชายแดนของประเทศ เพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร สังเกตการณ์ทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ทั้งนี้ Khayyam ไม่ใช่ดาวเทียมดวงแรกของอิหร่านที่รัสเซียเป็นผู้ดำเนินการส่งขึ้นสู่อวกาศ โดยในปี 2005 ดาวเทียม Sina-1 ของอิหร่าน ถูกส่งขึ้นวงโคจรจากศูนย์ปล่อยอวกาศยานเพลเซ็ตสก์ คอสโมโดรม ของรัสเซีย

'รัสเซีย' ชวนชาติพันธมิตร SCO ร่วมวง SPFS ระบบเทียบเท่า SWIFT แบ่งขั้วการเงินโลก

หลังจากการรุกรานยูเครนโดยกองทัพรัสเซีย ทำให้พันธมิตรตะวันตกมีหลายมาตรการออกมาตอบโต้การกระทำครั้งนี้ และหนึ่งในนั้นคือ การตัดธนาคารบางแห่งของรัสเซียออกจาก SWIFT (The Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication) ระบบการชำระ-โอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นเครือข่ายการเงินระดับโลกที่ช่วยให้การโอนเงินข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ตั้งอยู่ในประเทศเบลเยียม เชื่อมร้อยสถาบันการเงินกว่า 11,000 แห่ง จาก 200 กว่าประเทศเอาไว้ด้วยกัน สามารถส่งข้อความได้กว่า 42 ข้อความต่อวัน ข้องเกี่ยวกับธุรกรรมจำนวนหลายล้านล้านเหรียญต่อวัน

ที่สำคัญ คือ รัสเซีย มีส่วนในธุรกรรมประมาณ 1.5% หากดูจากตัวเลขของปี 2020 ด้วย

ทว่า ล่าสุด วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ก็ได้เดินหน้าประกาศข้อเสนอต่อทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของ Shanghai Cooperation Organization (SCO) ซึ่งมีทั้งหมด 8 ประเทศคือ จีน, อินเดีย, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน, รัสเซีย, ทาจิกิสถาน, ปากีสถาน และอุซเบกิสถาน ให้เข้าร่วมระบบ SPFS (System for Transfer of Financial Messages) ซึ่งเป็นระบบเทียบเท่ากับ SWIFT ที่รัสเซียเป็นคนผลิตเอง ไม่ใช่ของตะวันตก

โดยทางสื่อของรัสเซียกล่าวชัดเจนว่าต้องการ 'เพิ่มปริมาณการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินประจำชาติ' ในขณะที่พันธมิตรอื่นๆ ยังรวมถึงอัฟกานิสถาน, เบลารุส, อิหร่าน, มองโกเลีย, อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, กัมพูชา, เนปาล, ตุรกี และศรีลังกา. รวมทั้งสิ้นแล้ว 18 ประเทศ !!! โดยกล่าวว่าเป้าหมายของความร่วมมือครั้งนี้จะ 'มุ่งเน้นไปที่ประเด็นด้านความปลอดภัยเป็นหลัก' และยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระดับภูมิภาคด้วย

โดยแถลงการณ์ได้ระบุเอาไว้ว่า “เพื่อให้มั่นใจถึงความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างธนาคารของเรา เราแนะนำให้สมาชิกขององค์กรเข้าร่วมระบบ SPFS ของรัสเซีย”

แผนตะวันตกโดดเดี่ยว 'รัสเซีย' ใน UN เริ่มกร่อย หลายชาติถอดใจไม่อยากเป็นศัตรูกับรัสเซีย

นับวันความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียในยูเอ็นก็อยู่ในอาการกร่อยลงเรื่อย ๆ หลายประเทศกำลังตั้งคำถามว่า การร่วมมือต่อต้านรัสเซียเป็นการกระทำที่ฉลาดจริงหรือ รวมทั้งยังสงสัยว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีสาระสำคัญอย่างแท้จริงถึงขั้นที่ต้องให้การสนับสนุนแบบไม่มีที่สิ้นสุด โดยที่ตะวันตกจัดหาอาวุธให้เคียฟ ขณะที่ไม่มีการเจรจาอย่างสันติที่แท้จริงเพื่อยุติความขัดแย้งกระนั้นหรือ

รอยเตอร์รายงานว่า คืนหนึ่งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ภายใต้โคมระย้าของรัสเซียในที่ประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในนิวยอร์ก เอกอัครราชทูตนับสิบคนจากแอฟริกา ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และเอเชีย ร่วมงานสังสรรค์เนื่องในโอกาสวันชาติของรัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากกองทัพแดนหมีขาวบุกยูเครนไม่ถึง 4 เดือน

วาสสิลี เนเบนเซีย เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำยูเอ็น กล่าวขอบคุณทูตเหล่านั้นสำหรับการสนับสนุนและจุดยืนในการคัดค้านสงครามที่มุ่งต่อต้านรัสเซีย หลังจากกล่าวหาหลายประเทศโดยไม่เอ่ยชื่อว่าพยายาม 'ล้มล้าง' รัสเซียและวัฒนธรรมรัสเซีย

การไปร่วมงานเลี้ยงคราวนี้ของเอกอัครราชทูตเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นความยากลำบากที่พวกนักการทูตตะวันตกต้องเผชิญ ในการพยายามธำรงรักษามาตรการแข็งกร้าวของนานาชาติมุ่งโดดเดี่ยวรัสเซียเอาไว้ หลังจากที่ระยะแรก ๆ สามารถผลักดันยูเอ็นออกมาประณามการรุกรานยูเครนได้หลายครั้ง

ขณะที่รับรู้ถึงความสับสนและความกังวลของบางชาติที่ว่า สงครามยูเครนเรียกร้องต้องการความสนใจของทั่วโลกมากเกินไป เป็นระยะเวลาเกือบ 6 เดือนแล้ว โดยยังไม่มีแนวโน้มว่ายูเอ็นจะทำอะไรได้นั้น พวกนักการทูตตะวันตกก็ยอมรับว่า นอกเหนือจากการพยายยามเรียกประชุมนานาชาติแล้ว วิธีการอื่น ๆ ซึ่งสามารถพุ่งเป้าจัดการกับรัสเซียก็ดูจำกัดเหลือเกิน

ริชาร์ด โกแวน ผู้อำนวยการฝ่ายยูเอ็นของกลุ่มคลังสมอง อินเตอร์เนชันแนล ไครซิส กรุ๊ป เป็นผู้หนึ่งซึ่งยอมรับว่า การหาวิธีที่มีความหมายในการลงโทษรัสเซีย กำลังทำได้ยากขึ้นทุกที ขณะที่สงครามยังคงยืดเยื้อต่อไป

พวกนักการทูตและผู้สังเกตการณ์หลายคนสำทับว่า ในบางกรณีชาติตะวันตกต้องหลีกเลี่ยงการดำเนินการเฉพาะเจาะจงบางอย่าง เนื่องจากกลัวว่า จะได้รับการตอบรับอย่างเฉยชา ขณะที่มีประเทศมากขึ้นงดออกเสียงในการลงมติซึ่งส่งสัญญาณถึงความไม่ยินดีต่อต้านมอสโกอย่างเปิดเผย

เมื่อเดือนมิถุนายน สหภาพยุโรป (อียู) ต้องพิจารณาทบทวนแผนการที่จะให้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นทำหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัสเซีย และสุดท้ายก็ตัดสินใจระงับเพราะกลัวว่า สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเกือบครึ่งจากทั้งหมด 47 ชาติอาจคัดค้าน

โอลาฟ วินต์เซค ผู้อำนวยการมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ของเยอรมนีประจำเจนีวา ชี้ว่า หลายประเทศกำลังตั้งคำถามว่า การร่วมมือกันต่อต้านรัสเซียเป็นการกระทำที่ฉลาดจริงหรือ

ด้านนักการทูตรัสเซียประจำยูเอ็นในเจนีวา สำทับว่า ประเทศตะวันตกรู้ดีว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะโดดเดี่ยวรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลก

'บัลแกเรีย' หวนเจรจาขอซื้อก๊าซจาก 'รัสเซีย' หลังต้านวิกฤตขาดแคลนพลังงานไม่ไหวแล้ว

รอสเซน ฮริสตอฟ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของบัลแกเรีย ยอมรับว่าประเทศของเขาอาจต้องยอมเจรจากับรัสเซียเพื่อขอให้รัฐวิสาหกิจก๊าซพรอม (Gazprom) จัดส่งก๊าซธรรมชาติให้อีกครั้ง หลังเผชิญวิกฤตขาดแคลนพลังงานจนยากจะรับไหว

ก๊าซพรอมเคยจัดส่งก๊าซธรรมชาติป้อนความต้องการของบัลแกเรียมากถึง 90% จนกระทั่งมีการ “ตัดก๊าซ” ไปเมื่อเดือน เม.ย. เนื่องจากรัฐบาลบัลแกเรียปฏิเสธที่จะจ่ายค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิล

“ด้วยอุปสงค์ของภาคธุรกิจและสหภาพแรงงานต่างๆ การเจรจากับก๊าซพรอมเพื่อขอให้ส่งก๊าซอีกครั้งจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในความเป็นจริง”

ฮริสตอฟ ระบุในงานแถลงข่าวรัฐมนตรีพลังงานบัลแกเรียไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะคุยเรื่องก๊าซกับรัสเซียเมื่อใด แต่จากคำพูดของเขาก็บ่งบอกเป็นนัยๆ ว่าการเจรจาคงจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า

“เราคงต้องหันกลับไปหาพวกเขาแล้วในตอนนี้ และการเจรจาก็คงจะยากลำบากมาก” ฮริสตอฟ กล่าว

'อินเดีย-รัสเซีย' ไม่สนใจ 'ดอลลาร์' เน้นใช้ 'รูปี-รูเบิล' ค้าขายระหว่างกัน

‘รัสเซีย’ และ ‘อินเดีย’ คงไม่จำเป็นต้องพึ่งดอลลาร์อีกต่อไป หลังจากทั้ง 2 ฝ่าย กำลังหันไปใช้สกุลเงินของแต่ละชาติในค้าขายระหว่างกัน 

เปอร์นิมา อานันท์ (Purnima Anand) ประธานฟอรัมนานาชาติของกลุ่ม BRICS ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวอาร์ทีนิวส์ เมื่อวันที่ 25 ส.ค.65 ระบุว่า...

“เราประสบความสำเร็จในการจัดตั้งกลไกการชำระเงินร่วมใน ‘สกุลเงินรูเบิล’ และ ‘รูปี’ โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้สกุลเงินดอลลาร์ในการชำระเงินกันและกัน ขณะเดียวกันในวันนี้กลไกการของชำระเงินร่วมในรูปแบบรูเบิลและหยวน ก็กำลังริเริ่มขึ้นโดยจีน” เธอกล่าวและว่า “นั่นหมายความว่าประเทศต่างๆ ในกลุ่ม BRICS เปิดกว้างแก่รัสเซีย มอบโอกาสให้ประเทศแห่งนี้ ได้ก้าวผ่านผลกระทบของมาตรการคว่ำบาตร”

ประธานฟอรัมนานาชาติ BRICS บอกอีกว่า การค้าร่วมระหว่างอินเดียและรัสเซียเติบโตขึ้น 5 เท่าในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมอสโก ป้อนอุปทานการผลิตน้ำมันแก่อินเดียในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร, สิ่งทอ ยาและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในปริมาณมาก เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน

อานันท์ เน้นด้วยว่า นิวเดลีมองตนเองในฐานะ ‘เป็นกลาง’ ภายใต้สงครามมาตรการคว่ำบาตรในปัจจุบันระหว่างตะวันตกกับรัสเซีย และแม้ต้องเผชิญแรงกดดันให้คว่ำบาตรมอสโก แต่ อินเดีย ก็ยังคงสานต่อความร่วมมือในทุกขอบเขตที่จำเป็น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top