Monday, 6 May 2024
น้ำท่วม

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ ย้ำ! พร้อมดูแล - ปราบปรามอาชญากรรม จัดตำรวจลงพื้นที่ ป้องกันผู้ก่อเหตุซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน จากสถานการณ์น้ำท่วม

จากสถานการณ์น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งคงยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ตามที่ปรากฏข่าวผ่านสื่อมวลชน

วันที่ 5 ต.ค. 64 พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล  กฤตพิทยบูรณ์ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อน และห่วงใยพี่น้องประชาชน จึงกำชับสั่งให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะกองบังคับการตำรวจน้ำ ที่เร่งจัดกำลังพล พร้อมเรือยาง และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อรองรับภารกิจในการช่วยเหลือ และส่งมอบสิ่งของเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น อีกทั้งยังได้บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน

สำหรับกรณีการก่อเหตุซ้ำเติมความเดือนร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมขัง ที่อาจจะมีผู้ที่ฉวยโอกาสก่อเหตุโจรกรรมสิ่งของภายในบ้านเรือนที่ไม่มีผู้พักอาศัย หรือที่รู้จักกันนี้ว่า “ขบวนการโจรแมวน้ำ” รวมถึงการก่อเหตุใช้กลอุบายในการหลอกลวงต่าง ๆ จนสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน

 

โฆษกรัฐบาล มั่นใจสถานการณ์น้ำ ไม่ซ้ำรอยปี 54 โว เทียบอดีตสถิติความเสียหาย 'ภัยแล้ง-อุทกภัย' ลดลงชัดเจน เผย บิ๊กตู่ สั่งเฝ้าระวังตั้งแต่ต้นปี

วันที่ 7 ต.ค. 64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม สั่งการทุกหน่วยเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตั้งแต่ต้นปี และวางแผนบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันภัยพิบัติจากสถานการณ์อุทกภัย และปัญหาน้ำแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้สถิติความเสียหายจากน้ำลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินถึง 65 จังหวัด เสียหาย 69 ล้านไร่

นายธนกร กล่าวต่อว่า ขณะที่ในปี 2564 ครบรอบ 10 ปี ข้อมูลจากจิสด้าพบว่า ปีนี้น้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง 21 จังหวัด มีพื้นที่เสียหาย 1.33 ล้านไร่ ส่วนสถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของไทย ปี 2564 น้ำมีระดับน้ำน้อยและมีพื้นที่เพียงพอรองรับปริมาณน้ำฝนอีกมาก รวมทั้งได้พัฒนารูปแบบการจัดการน้ำโดยใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ รับน้ำนอง บรรเทาความเสียหาย ขณะที่ปริมาณฝนที่ตกในกทม.ยังไม่มาก ทำให้สามารถบริหารจัดการระบายน้ำได้ และประเมินได้ว่ากทม.น้ำจะไม่ท่วมหรือรุนแรงเท่ากับปี 2554

พท.เหน็บ “ประยุทธ์” ไปเอาความมั่นใจจากไหนมา ถึงกล้าบอกเป็นนายกฯ อีกสมัย ซัดบริหารล้มเหลวทุกด้าน

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวในขณะลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จ.ลพบุรีว่า ประชาชนเดือดร้อนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในวงกว้าง ขณะที่รัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาภายในพรรคร่วมรัฐบาลปมยึดคืนหน่วยงาน-ทวงคืนหน่วยงานกันไปมาจนวุ่นวาย น้ำท่วมมาเกือบเดือนยังไม่เห็นรัฐบาลออกมาตรการเยียวยาประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ข้าวหอมมะลิที่กำลังจะออกต้องจมน้ำ ส่วนที่พอขายได้ก็ขายในราคาถูก ไม่พอต้นทุนการผลิต วิกฤตเศรษฐกิจลามถึงโรงสีขาดสภาพคล่องจนต้องปิดกิจการ กระทบในห่วงโซ่การผลิตทั้งหมด รัฐบาลเห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชน แต่ไม่ยอมแก้ไข เพราะสาละวนอยู่แต่กับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ ต้องช่วยเหลือเกษตรกรอย่างทันท่วงที ไม่ใช่ว่าพอทวงคืน 4 หน่วยงานกลับมาได้ ก็กระหยิ่มยิ้มย่องกอดคอกันต่อไป ละทิ้งและไม่สนใจแก้ปัญหา ทอดทิ้งประชาชน 

“โฆษกรัฐบาลฯ” มั่นใจสถานการณ์น้ำ ไม่ซ้ำรอยปี 54 โว! เทียบอดีตสถิติความเสียหายภัยแล้ง-อุทกภัย ลดลงชัดเจน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม สั่งการทุกหน่วยเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตั้งแต่ต้นปี และวางแผนบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันภัยพิบัติจากสถานการณ์อุกทกภัย และปัญหาน้ำแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้สถิติความเสียหายภัยจากน้ำลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับปี 2554  ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินถึง 65 จังหวัด เสียหาย 69 ล้านไร่  ขณะที่ในปี 2564 ครบรอบ 10 ปี ข้อมูลจากจิสด้าพบว่า ปีนี้น้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง  21 จังหวัด มีพื้นที่เสียหาย 1.33 ล้านไร่ ส่วนสถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของไทย ปี 2564 น้ำมีระดับน้ำน้อยและมีพื้นที่เพียงพอรองรับปริมาณน้ำฝนอีกมาก  รวมทั้งได้พัฒนารูปแบบการจัดการน้ำโดยใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ รับน้ำนอง บรรเทาความเสียหาย ขขณะที่ปริมาณฝนที่ตกในกทม.ยังไม่มาก ทำให้สามารถบริหารจัดการระบายน้ำได้ และประเมินได้ว่ากทม.น้ำจะไม่ท่วมหรือรุนแรงเท่ากับปี 2554 

นายธนกร กล่าวว่า เปรียบเทียบสถานการณ์อุทกภัยในปี 2554 กับ 2564 ปริมาณฝนสะสม ทั้งประเทศ ในปี 2554 มีปริมาณฝนสะสม  1,948 มม. ปี 2564 ตั้งแต่ม.ค. - ปัจจุบัน มีปริมาณ 1,360 มม. น้อยกว่า อยู่ 588 มม. สำหรับปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปี 2554 รวม 23,605 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 95%  แต่ในปีนี้รวม 11,969 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 48% ปี ทำให้ปริมาณน้ำรวม 4 เขื่อนน้อยกว่าปี 2554 อยู่ 11,636 ล้าน ลบ.ม. ส่วนปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2554 อยู่ที่ 3,903 ล้าน ลบ.ม.ปี 2564  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,561 ล้าน ลบ.ม.  น้อยกว่า ปี 2554 อยู่ 1,342 ลบ.ม.ต่อวินาที

นายธนกร กล่าวว่า นอกจากนั้น มีการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี พ.ศ.2561 – 2580 มีผลงานที่เป็นรูปธรรมในช่วงปี 61-64  สามารถขยายเขตประปาเมืองพื้นที่เศรษฐกิจ 559 แห่ง ปริมาณน้ำใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 1,203.92 ล้านลบ.ม. เขื่อนป้องกันตลิ่ง 59 กม. ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 135,17 ไร่  มีโครงการจัดทำแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยเจ้าพระยาตอนล่าง อาทิ คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร การปรับปรุงระบบชลประทานเดิม การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ เป็นต้น ปัจจุบันขับเคลื่อนแล้ว 32%  ซึ่งการดำเนินการแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วมแบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่ผ่านมามีความก้าวหน้า

สมุทรปราการ - กองทัพเรือ ลำเลียงเรือผลักดันน้ำลงจุดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ เสริมกำลังเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเล

เมื่อวันที่ 7 ต.ค.64 เวลา 10.00 น. พลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ พร้อมคณะ ให้การต้อนรับ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในการเดินทางมาตรวจเยี่ยมการติดตั้งเรือผลักดันน้ำ ของกองทัพเรือ พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำ บริเวณคลองลัดโพธิ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 

กองทัพเรือ โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ สั่งการให้กรมอู่ทหารเรือ จัดชุดเฉพาะกิจผลักดันน้ำ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า สนับสนุนเรือผลักดันน้ำ จำนวน 12 ลำ พร้อมกำลังพล อุปกรณ์ และยุทโธปกรณ์ เพื่อปฏิบัติภารกิจผลักดันน้ำคลองลัดโพธิ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ  จากแนวโน้มสถาการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีปริมาณจากน้ำเหนือที่ไหลมาสูงขึ้น กอรปกับผลกระทบจากพายุที่จะเข้ามา กรุงเทพฯ ได้ร้องขอรับการสนับสนุนเรือผลักดันน้ำ จากกองทัพเรือ เพื่อเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่อ่าวไทยนั้น ฝ่ายกิจการพลเรือน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ กรมอู่ทหารเรือ และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมพิจารณาแล้ว กำหนดจุดวางเรือผลักดันน้ำ ที่จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการเร่งระบายน้ำสูงสุด คือบริเวณคลองลัดโพธิ์ จะสามารถระบายน้ำได้ 100,000 ลบ.ม./เครื่อง/วัน  ซึ่งถ้าเดินเครื่องเต็มที่ในช่วงน้ำลงจะสามารถเร่งระบายน้ำได้ 1,200,000 ลบ.ม./วัน

โดยในช่วงเช้า เวลา 10.00 น. พลเรือตรี สุทธิศักดิ์ บุตรนาค รองผู้อำนวยการอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ ในฐานะ หัวหน้าชุดเฉพาะกิจผลักดันน้ำ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนลำเลียงเรือผลักดันน้ำ จำนวน 12 ลำ จากอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ  มาปฏิบัติภารกิจผลักดันน้ำที่คลองลัดโพธิ์

คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมมีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้จัดสร้างเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักการ "เบี่ยงน้ำ" ภายใต้การดูแลของหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ กรมชลประทานกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการคือ จากสภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมที่มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่บริเวณบางกะเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร นั้นทำให้การระบายน้ำที่ท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า ไม่ทันเวลาน้ำทะเลหนุน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงมีพระราชดำริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์ ซึ่งเดิมมีความตื้นเขินมีความยาวราว 600 เมตร ให้ใช้ระบายน้ำที่หลากและน้ำที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลทันทีในช่วงก่อนที่น้ำทะเลหนุน และปิดคลองลัดโพธิ์เมื่อน้ำทะเลหนุน เพื่อหน่วงน้ำทะเลไม่ให้ขึ้นลัดเลาะไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดโค้งถึง 18 กิโลเมตรก่อนซึ่งใช้เวลามากจนถึงเวลาน้ำลง ทำให้ไม่สามารถขึ้นไปท่วมตัวเมืองได้

คลองลัดโพธิ์ เป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีกระแสพระราชดำรัสถึง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ว่าเป็นสถานที่ตัวอย่างของการบริหารจัดการน้ำ ที่ต้องการความรู้เรื่องเกี่ยวกับเวลาน้ำขึ้นน้ำลง หากบริหารจัดการให้ถูกต้องจะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ และทรงเปิดสะพานภูมิพล 1 ภูมิพล 2 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

'พิธา' แนะ!! รับมือโลกร้อนต้องเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ปรับพฤติกรรมอย่างเดียว ไม่พอ!!

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

เศรษฐกิจสีเขียว: การรับมือสภาวะโลกร้อนต้องใช้การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเท่านั้น

ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมาที่ผมได้ทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมได้เห็นกับตาตัวเองถึงผลกระทบของความผันผวนในสภาพภูมิอากาศต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนในภาคการเกษตร และพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม 

ปี 2563 เป็นปีที่แล้งที่สุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรติดลบ 6% และ GDP ภาคเกษตรติดลบ 1.5% ในปี 2564 ที่จังหวัดชัยภูมิซึ่งผมเดินทางไปเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา เพิ่งประสบภัยน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 50 ปี เหตุการณ์น้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหาในระดับโลก เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายุโรปก็เพิ่งเผชิญกับน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 400 ปี และในเดือนกันยายนที่ผ่านมานครนิวยอร์กก็เพิ่งเผชิญกับวิกฤติน้ำท่วมฉับพลันครั้งแรกในประวัติศาสตร์

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมาในช่วงระหว่างที่ผมกำลังเดินทางลงพื้นที่ติดตามปัญหา ที่ดิน การเกษตร และน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมในหัวข้อ Green Economic Recovery หรือการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดโดยกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR - ASEAN Parliamentarians for Human Rights)

ผมได้ย้ำต่อที่ประชุมว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิดบนฐานของเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นเรื่องที่จำเป็นต่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ยกตัวอย่างกรณีของประเทศไทยในปี 2563 GDP ของเราติดลบจากโควิด 6% แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรกับภาวะโลกร้อน วิกฤติเศรษฐกิจที่จะตามมาจะเลวร้ายกว่าในปัจจุบันอีกมาก 

จากการประเมินของบริษัท Swiss Reinsurance Company บริษัทประกันภัยต่อที่ใหญ่ที่สุดในโลก การปล่อยให้โลกร้อนขึ้นบนเส้นทางของการร้อนขึ้น 3.2 องศาเซลเซียสในปี 2643 GDP ของประเทศไทยจะติดลบสะสม 48% ในปี พ.ศ. 2591 ซึ่งจะเป็นความพังพินาศทางเศรษฐกิจที่มากมายมหาศาลกว่าวิกฤติโควิดมาก แต่ถ้าโลกสามารถจำกัดภาวะโลกร้อนได้ต่ำกว่า 2 องศาตามเป้าหมายของ Paris Agreement แล้ว GDP ของไทยจะติดลบสะสมจากโลกร้อนเพียง 5% ในปี พ.ศ. 2591

แล้วในตอนนี้ประเทศไทยอยู่บนเส้นทางไหนในการรับมือภาวะโลกร้อน? จากการประเมินของ Climate Action Tracker ซึ่งเป็น Consortium ระหว่าง 3 สถาบันวิจัยระดับโลกด้านภูมิอากาศนั้น นโยบายของประเทศไทยในด้านภาวะโลกร้อนอยู่ในระดับ “ไม่เพียงพออย่างร้ายแรง” (Critically insufficient) และจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในระดับ 4 องศา 

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือวิกฤติโควิดในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออย่างยิ่งต่อการรับมือกับสภาวะโลกร้อน การล็อกดาวน์จากโควิดนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนอย่างสุดขั้วให้คนเดินทางไปไหนไม่ได้เลยแล้วก็เป็นการลดการบริโภคของประชาชนจน GDP โลกตกอย่างมหาศาล ถึงกระนั้นทั้งโลกก็ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 6% เท่านั้นจากวิกฤติโควิด

การจะทำได้ตามเป้าหมายของ Paris Agreement ที่จำกัดสภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 - 2 องศา นั้น ทั้งโลกต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่งในปี 2573 และลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากระบบเศรษฐกิจให้เหลือศูนย์ หรือเป้าหมาย “Net-Zero Emission” ให้ได้ภายในปี 2593 

“สัณหพจน์” ขอบคุณ นายกฯ สั่งเร่งแก้น้ำท่วม-เพิ่มศูนย์ดิจิทัลชุมชน เมืองคอน

ส.ส.พปชร. นครศรีฯ ขอบคุณ “บิ๊กตู่” ลงพื้นที่ติดตามเร่งรัดการก่อสร้างโครงการบริหารจัดการน้ำเมืองนคร สั่งการดูแลพื้นที่เสี่ยงรับมือฤดูมรสุม พร้อมเพิ่มศูนย์ดิจิทัลชุมชน 4 แห่ง หวังเพิ่มโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยี สร้างคุณภาพชีวิต ให้คนลุ่มน้ำปากพนัง

ดร.สัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.เขต 2 จ.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ตนขอขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ซึ่งได้ลงพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช วานนี้ (7 ต.ค.64) เพื่อติดตามเร่งรัดโครงการบริหารจัดการน้ำ จ.นครศรีธรรมราช อย่างยั่งยืน ที่พบว่ามีปัญหาติดขัดอยู่หลายประการ และกำลังได้รับการแก้ไข เช่น การเวนคืนที่ดิน ปัญหาของผู้รับเหมาก่อสร้าง 

โดยขณะนี้ประชาชนเจ้าของพื้นที่บริเวณจุดเริ่มต้นโครงการได้ยินยอมให้มีการดำเนินการเวนคืนที่ดินแล้ว และปัจจุบันโครงการมีความคืบหน้าไปแล้ว 14.74% 

ขณะเดียวกันในส่วนของการเตรียมการระยะสั้น กรมชลประทาน โดยสำนักงานชลประทานที่ 15 จ.นครศรีธรรมราช คาดการณ์ว่าในเดือน ต.ค.-ธ.ค. ที่จะถึงนี้จะมีปริมาณฝนประมาณ 1,200 ม.ม. ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ 

ดังนั้นจึงได้เตรียมการรับมือประกอบด้วย การขุดลอกคูคลองเพื่อเป็นขยายเส้นทางไหลของน้ำ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองปากนคร บรรเทาน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองนครศรีฯ และจัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องสูบน้ำ เพื่อรับเหตุหากเกิดน้ำท่วมขัง

ด้านพื้นที่ 3 อำเภอลุ่มน้ำปากพนังซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำส่วนปลาย ขณะนี้ กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่า ในความดูแลของ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ  รมช.คมนาคม ได้มีการขุดลอกและบำรุงร่องน้ำ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง (ร่องน้ำคลองบางจาก) 550,000  ลบ.ม. ร่องน้ำปากพนัง / คลองปากพญา  และร่องน้ำอื่นๆอีก 8 แห่งรวม 6,650,000  ลบ.ม.

พร้อมกับโครงการปรับปรุงเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะเวลาปี 63-65 บริเวณ บ้านหน้าโกฏิ ถึง บ้านหน้าสตน อ.หัวไทร ขณะนี้มีคืบหน้า 29.36 % คาดว่าแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 65  

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดีอีเอส เพิ่มจากจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน จำนวน 4 แห่งในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ได้แก่ 1.เทศบาลตำบลชะเมา อ.ปากพนัง 2.อบต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง 3.โรงเรียนวัดสระโพธิ์ ต.เสือหึง อ.เชียรใหญ่ และ4.โรงเรียนเขาพังไกร ต.เขาพังไกร อ.เชียรใหญ่ 

อยุธยา - PEA ร่วมส่งกำลังใจและมอบถุงยังชีพให้ประชาชน ที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นางสาวนุชนาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายก อบจ.พระนครศรีอยุธยา นายบดินทร์ เกษมศานติ์ นายอำเภอพระนครศรีอยุธยา นายสุวัฒน์ สรรพโกศลกุล รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับ นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมคณะ ที่ได้เดินทางมาให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ตำบลวาสุกรี บริเวณวัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้จัดกิจกรรม PEA ขอร่วมส่งกำลังใจให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัย จากพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” โดยมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 600 ครัวเรือน ที่ผ่านมา PEA  ได้ส่งพนักงานลงพื้นที่ยกระดับมิเตอร์ไฟฟ้าให้พ้นน้ำท่วม แก้ไขระบบไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหาย จำนวนกว่า 8,000 เครื่อง เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งแนะนำประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยหลังน้ำลดให้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

 

‘สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย’ ส่งมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ ต.บางอ้อ อ.บ้านนา จ.นครนายก จำนวน 239 ราย

12 ตุลาคม 2564 ที่วัดเลขธรรมกิตติ์ ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้ส่งมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน 239 ราย

โดยมีนายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก และนางสุวจี ศิริปัญโญ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครนายก พร้อมคณะกรรมการและสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดนครนายก นายอำนาจ แย้มศิริ ปลัดจังหวัดนครนายก นางวจิราพร อมาตยกุล นายอำเภอบ้านนา ให้การต้อนรับและกล่าวขอบคุณ สำนักงานบรรเทาทุกข์ และทีมงานในการลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในหลายหมู่บ้านของตำบลบางอ้อโดยทั่วหน้ากัน

 

ตำรวจภูธรภาค 1 ระดมสิ่งของช่วยบรรเทาทุกข์ ครอบครัวตำรวจ - ประชาชน ที่น้ำท่วมจมใต้บาดาล ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง

วันที่ 12 ตุลาคม ที่ลานด้านหน้าอาคารอเนกประสงค์ ตำรวจภูธรภาค 1 พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผบช.ภ.1 พร้อมด้วย พล.ต.ต.พีระพงศ์ วงษ์สมาน พล.ต.ต.อุดร ยอมเจริญ รอง ผบช. ร่วมปล่อยขบวนคาราวานรถยนต์บรรทุกสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในพื้นที่รับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1

พล.ต.ท.จิรพัฒน์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 1 ได้สร้างความเสียหาย สร้างความเดือดร้อน และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพี่น้องประชาชน ตำรวจภูธรภาค 1 จึงเป็นศูนย์กลางในการรับบริจาคสิ่งของ จากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อนำไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน รวมทั้งครอบครัวข้าราชการตำรวจที่ได้รับผลกระทบ

พล.ต.ท.จิรพัฒน์ เปิดเผยต่อว่า การปล่อยขบวนคาราวานรถยนต์ที่บรรทุกสิ่งของ ทั้ง ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ผักกาดดอง นมกล่อง UHT น้ำดื่ม หน้ากากอนามัย และกระดาษชำระ ที่รวบรวมได้ ส่งไปช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน พี่น้องประชาชนและครอบครัวข้าราชการตำรวจ ในพื้นที่ทั้ง 8 จังหวัด ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี และสระบุรี ซึ่งประชาชน 69,833 คน และข้าราชการตำรวจ 194 นาย ได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อน 

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top