Thursday, 2 May 2024
กองทัพเรือ

ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ให้การต้อนรับผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐภาคพื้นแปซิฟิก ในโอกาส เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกองทัพเรือ

      วันที่ 20 สิงหาคม 2565 พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พร้อมด้วย พลเรือตรี สุรชัย เจริญรบ ผู้บัญชาการกองการบินทหารเรือ และคณะ ให้การต้อนรับ พลเรือเอก Samuel J. Paparo ผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐภาคพื้นแปซิฟิก (COMPACFLT) และคณะฯ ในฐานะแขกของกองทัพเรือ ณ สนามบินอู่ตะเภา กองการบินทหารเรือ จว.ระยอง และให้การรับรองคณะฯ ณ ห้องรับรองกลางอ่าว กองบัญชาการกองเรือยุทธการ และได้เข้าเยี่ยมชมการสาธิตระบบอากาศยานไร้คนขับ (RQ-21 Blackjack) ทั้งนี้ ผบ.PACFLT ยินดีที่ได้เห็นขีดความสามารถของนักบิน และทีมสนับสนุน UAV และมั่นใจว่าจะสามารถนำ UAV มาใช้งานได้อย่างเต็มความสามารถ

      ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันความเป็นพันธมิตรที่มั่นคงและยาวนาน มีการหารือในเรื่องการประสานความร่วมมือทางทหารระหว่างกัน โดย พลเรือเอก Paparo แสดงเจตนารมณ์ ที่จะมาเยือนไทยอีกในต้นปี รวมถึงเสนอทุนการศึกษาเพิ่มเติมให้กำลังพลของกองทัพเรือไทย ได้ไปศึกษาอบรม ณ มลรัฐฮาวาย พร้อมกับโครงการความช่วยเหลือทางการทหารในด้านอื่น ๆ ที่จะมีขึ้นอีกด้วย       

เราฝึกเพื่อความพร้อม เราซ้อมเพื่อช่วยชีวิต

กองทัพเรือ โดยทัพเรือภาคที่ 1 เป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ประจำปี 2565

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ร่วมสังเกตการณ์การฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (Search and Rescue Exercise ) หรือ SAREX ประจำปี 2565 บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี  โดยมี พลเรือโท พิชัย ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะประธานอนุกรรมการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ประจำปี 2565 ให้การต้อนรับตามที่ประเทศไทย เป็นรัฐภาคีขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ICAO มีพันธะตามอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติเรื่องการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ และมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ จัดให้มีการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (Search and Rescue Exercise หรือ SAREX) เป็นประจำทุกปี โดยได้เริ่มจัดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้พัฒนาจนกลายเป็นการฝึกซ้อมที่สำคัญในระดับภูมิภาคอาเซียน

โดยในปีนี้ คณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้กองทัพเรือ โดยทัพเรือภาคที่ 1 ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการฝึกซ้อม ครั้งที่ 42 จัดการฝึกซ้อมระหว่างวันที่ 2 -19  สิงหาคม 2565  มีรูปแบบและขั้นตอนในการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอากาศยาน สามารถระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานงานต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ประกอบการเดินอากาศเกิดความมั่นใจ หากอากาศยานประสบเหตุในเขตความรับผิดชอบ (SRR) ของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายแนวทางการดำเนินการที่ว่า  “เราฝึกเพื่อความพร้อม เราซ้อมเพื่อช่วยชีวิต”

การฝึกซ้อมในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการการฝึกซ้อมร่วมกับหน่วยงานในระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ทั้งภาครัฐ และเอกชน  แบ่งการฝึกซ้อมออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 

ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 2 - 3 สิงหาคม 2565 เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ได้รับความร่วมมือจากวิทยากร จากกองทัพเรือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมเจ้าท่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และกองนาวิกเวชกิจ โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์  ฐานทัพเรือสัตหีบ
       

จก.พร.เยี่ยมบำรุงขวัญกำลังพล รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และมอบใบประกาศยกย่องชมเชย ในการดูแลรักษาผู้ประสบเหตุ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้เมาน์เทน บี เป็นอย่างดี

เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ (จก.พร.) ตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญให้กำลังใจกำลังพล และมอบใบประกาศยกย่องชมเชยบุคลากร โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 พลเรือโท ชลธร สุวรรณกิตติ เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ พร้อมคณะตรวจเยี่ยมกำลังพล โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อรับทราบภารกิจ ผลการปฏิบัติงาน และมอบใบประกาศยกย่องชมเชย พร้อมมอบของที่ระลึกให้บุคลากรโรงพยาบาล โดยมี พลเรือตรี อานัน นิ่มนวล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ  ให้การต้อนรับ และบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาข้อขัดข้องและข้อเสนอแนะ โดย นาวาเอก กิตตินันท์ งามศิลป์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ฝ่ายบริหาร 

ในการนี้ พลเรือโท ชลธร สุวรรณกิตติ เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ ได้มอบใบประกาศยกย่องชมเชย พร้อมมอบของที่ระลึกให้บุคลากรโรงพยาบาล เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจกำลังพล ในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการบริหารจัดการที่ดีเป็นระบบในการดูแลรักษาผู้ประสบเหตุ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้เมาน์เทน บี สถานบันเทิงที่ตั้งอยู่ ถนนสุขุมวิท ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2565 เวลา 01.00 น. เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก และถูกส่งตัวมารักษาที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จำนวน 27 ราย ปัจจุบันยังคงรักษาเป็นผู้ป่วยใน จำนวน 1 ราย
 

'กองทัพเรือ' เร่งบรรจุกระสอบทราย รับมือน้ำท่วมในตำบลทับมา จ.ระยอง

ช่วงดึกของวันที่ 13 ก.ย. 65 เวลา 21.00 น. กองทัพเรือ โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ 1 ได้จัดกำลังพลจาก กองพันทหารราบที่ 6 กรมทหารราบที่ 2 และกองพันทหารราบที่ 7 กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน สนับสนุนเทศบาลตำบลทับมา จ.ระยอง เร่งช่วยเหลือประชาชนในการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลทับมา โดยการบรรจุกระสอบทราย และการลำเลียงวางแนวป้องกันตามบ้านเรือนของประชาชนร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลทับมา อาสาสมัครกู้ภัย และประชาชนจิตอาสา ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านหนองมะหาด ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง

จากสถานการณ์ฝนที่ตกลงมา และมีน้ำหลากในคลองมาบข่า อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง ซึ่งจะทำให้มวลน้ำได้ไหลมาสมทบกับน้ำในคลองทับมา ซึ่งทำให้น้ำในคลองทับมามีปริมาณที่สูงขึ้นถึงชั่วโมงละ 25 ซม. และอาจจะสูงขึ้นมากกว่าเดิม ทำให้พื้นที่ตอนล่างบริเวณตำบลทับมา จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าครั้งที่ผ่านมา เทศบาลตำบลทับมาจึงได้ประกาศให้ประชาชนอพยพ และวางแนวกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ำที่จะท่วมในครั้งนี้ และขอรับการสนับสนุนกำลังพลจากศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ 1 ในการให้ความช่วยเหลือประชาชน

กองทัพเรือจัดงานวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบรอบ 169 ปี

วันที่ (20 กันยายน 2565) เวลา 10.00 น. พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในการจัดงานวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบรอบ 169 ปี ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ป้อมพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยภายในงานได้มีพิธีบวงสรวงและถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิธียิงปืนเสือหมอบ และพิธีสงฆ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” พระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 สิริพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงครองสิริราชสมบัติ 42 ปี

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น กองทัพเรือจึงได้จัดงานเนื่องในวันคล้าย
วันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบรอบ 169 ปี เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทย พระองค์ทรงประกาศเลิกทาสโดยไม่สูญเสียเลือดเนื้อของประชาชน ทรงปฏิรูประเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ทรงโปรดให้สร้างถนน สะพานและทางรถไฟ ทรงริเริ่มกิจการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า การประปา การสุขาภิบาล อีกทั้งยังทรงระงับข้อพิพาท
กับต่างประเทศ ทำให้ประเทศชาติรอดพ้นภัยมาได้

ในปี พ.ศ. 2422 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภว่า ป้อมคูประตูหอรบที่เมืองสมุทรปราการ ซึ่งเคยทำหน้าที่ป้องกันอริราชศัตรูและเคยเป็นสง่าสำหรับพระนครมาแต่ก่อนนั้น ล้วนแต่ชำรุดทรุดโทรมและรกร้าง ไม่มีทหารอยู่ประจำรักษาการมาช้านานแล้ว สมควรจะซ่อมแซมก็ยังไม่ลุล่วง เนื่องจากเงินรายได้ของแผ่นดินมีจำกัด ในช่วงเวลานั้น ฝรั่งเศสกำลังหาเมืองขึ้นในเอเชียอาคเนย์อยู่ ภายหลังที่ฝรั่งเศสยึดญวนเขมร และลาวได้แล้ว ฝรั่งเศสก็คิดจะยึดพื้นที่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (พระตะบอง เสียมราฐศรีโสภณ) อันเป็นของไทยมาตั้งแต่เดิม

ในขณะที่มีเหตุการณ์อันอันไม่น่าไว้วางใจเกิดขึ้นเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีไปทอดพระเนตรภูมิฐาน ตลอดจนทดลองยิงปืน ที่ป้อมแหลมฟ้าผ่า จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ร.ศ.112 ทรงพระราชดำริว่าป้อมนี้อยู่ในทำเลที่ตั้งมั่นคง สามารถใช้ป้องกันประเทศได้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้นได้มีพระราชหัตถเลขาซึ่งสะท้อนแนวพระราชดำริไว้ว่า “ฉันรู้ตัวชัดอยู่ว่า ถ้าความเปนเอกราชของกรุงสยามได้สิ้นสุดไปเมื่อใด ชีวิตรฉันก็คงสิ้นสุดไปเมื่อนั้น มิได้อยู่ปกครองทรัพย์สมบัตินี้เลย ซึ่งจะทนอยู่อย่างที่ขอไม่ได้เลยเปนอันขาด”

จึงโปรดให้ปรับปรุงป้อมดังกล่าวอย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งจัดหาอาวุธที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาติดตั้งประจำไว้ให้ครบถ้วน โดยได้พระราชทานเงินพระคลังข้างที่ (เงินส่วนพระองค์) มาเพิ่มเติมอีกจำนวน 10,000 ชั่ง (ประมาณ 800,000 บาท) เพื่อสมทบการก่อสร้าง ป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยเริ่มการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2435 จนแล้วเสร็จในต้นปี พ.ศ.2436 ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ ร.ศ.112 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อป้อมปืนแห่งนี้ว่า “ป้อมพระจุลจอมเกล้า” ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2436 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรี ไปทอดพระเนตรป้อมฯ ทรงทดลองยิงปืนเสือหมอบด้วยพระองค์เอง โดยปืนเสือหมอบนั้นเป็นปืนใหญ่ขนาด 6 นิ้วบรรจุท้าย และเป็นรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือ ซึ่งสั่งมาจาก บริษัท เซอร์ ดับบลิว จี อาร์มสตรอง จำกัด ประเทศอังกฤษ โดยปืนชนิดนี้ถูกติดตั้งอยู่ภายในหลุมที่ขุดลึกลงไปในดิน จำนวน 7 หลุม หลุมละ 1 กระบอก ซึ่งภายในหลุมได้ก่อเป็นกำแพงกว้างพอที่พลประจำปืน จำนวน 10 นาย จะปฏิบัติงานได้ ปืนนี้เวลายิงจะโผล่กระบอกปืนขึ้นมาจากหลุมด้วยแรงไฮดรอลิคส์ และเมื่อทำการยิงแล้วปืนจะถอยลงมา อยู่ในหลุมตามเดิม อันเป็นที่มาของชื่อปืนเสือหมอบ

'กองทัพเรือ' แถลงข่าวเตรียมกิจกรรมครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพื่อเทิดพระเกียรติ 'องค์บิดาของทหารเรือไทย'

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. กองทัพเรือจัดงานแถลงข่าว เตรียมจัดกิจกรรมครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพื่อเทิดพระเกียรติ โดยมี พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในการแถลงข่าว ร่วมด้วย นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร, หม่อมราชวงศ์ จิยากร อาภากร เสสะเวช ประธานมูลนิธิราชสกุลอาภากร , พลเรือเอก จุมพล ลุมพิกานนท์ ประธานมูลนิธิกรมหลวงชุมพรหาดทรายรี และ พลเรือโท ชาติชาย ทองสะอาด รองเสนาธิการทหารเรือ ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องชมวัง อาคารราชนาวิกสภา ถ.อรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 

ด้วยวันที่ 19 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กองทัพเรือได้เทิดพระเกียรติและขนานนามพระองค์เป็น 'องค์บิดาของทหารเรือไทย' และกำหนดให้วันที่ 19 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น 'วันอาภากร' โดยในวันที่19 พฤษภาคม 2566 นี้ จะเป็นวันครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี กองทัพเรือ จึงกำหนดจัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระองค์ท่านในส่วนของกองทัพเรือ ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2565 ถึง 19 พฤษภาคม 2566 ประกอบด้วย

1. กิจกรรมร่วมร้องเพลงพระนิพนธ์นำเข้าสู่การจัดกิจกรรม 100 ปี วันสิ้นพระชนม์ ในวันที่ 19 ธันวาคม 2565 โดยมีการจัดพิธีเปลี่ยนธงราชนาวี เปลี่ยนธงพระยศ การติดตราสัญลักษณ์ '100 ปี วันสิ้นพระชนม์ฯ' กิจกรรมแปรขบวน และถ่ายภาพกำลังทางเรือ และกิจกรรมร่วมร้องเพลงพระนิพนธ์ ในพื้นที่หลัก ณ เขาแหลมปู่เจ้า อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ร่วมกับพื้นที่อื่น ๆ ของ ทร. และพื้นที่ ศรชล.จังหวัดทั้ง 23 จังหวัด พื้นที่ที่มีศาล พระรูป และพระอนุสาวรีย์ ตั้งอยู่ 

2. กิจกรรมเทิดพระเกียรติวันคล้ายวันประสูติ ในวันที่ 19 ธันวาคม 2565 โดยมีการทำบุญตักบาตร กิจกรรมจิตอาสาบูรณะศาล พระรูป และพระอนุสาวรีย์ กิจกรรมบริจาคโลหิต กิจกรรมบริการประชาชน กิจกรรมหน่วยแพทย์หมอพรเคลื่อนที่ กิจกรรมแสดงดนตรี กิจกรรมแสดงแสงสีเสียง โดยจัดขึ้น ณ บริเวณหนองตะเคียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

3. กิจกรรมกองทัพเรือเพื่อประชาชน (CSR) ในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพเรือ จำนวน 5 ครั้ง ใน 5 พื้นที่ ได้แก่ ทัพเรือภาคที่ 1 ทัพเรือภาคที่ 2 ทัพเรือภาคที่ 3 กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด และหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง โดยจัดหน่วยแพทย์หมอพรเคลื่อนที่ทั้งทางบกและทางน้ำ การแสดงดนตรีจากวงดุริยางค์ทหารเรือ และการจัดนิทรรศการแสดงพระประวัติฯ 

4. การปรับปรุงบูรณะศาล พระรูป และพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เปลี่ยนธงราชนาวี และธงพระยศ 270 ศาล ทั่วประเทศ

‘บิ๊กป้อม’ สั่ง ผบ.ทร. จัดทีมนักประดาน้ำกองทัพเรือ ช่วยค้นหาร่างน้องมาวิน หลังเจ้าหน้าที่ค้นพบร่างจมใต้ท้องน้ำลึกกว่า 70 เมตร แต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์พิเศษ

เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2565 พล.ร.อ. ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์นายมาวิน  เนตร์เดชา อายุ 18 ปี ได้พลัดตกน้ำขณะนั่งซ้อนท้ายเจ็ตสกี กลางอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และจมสูญหายตั้งแต่เวลา 15.00 น. ของวันที่ 24 ต.ค. 2565  ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จากหลายฝ่ายได้ระดมสรรพกำลังในการค้นหาทั้งบนผิวน้ำ และใต้น้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดในช่วงบ่ายของวันที่ 19 พ.ย. โดรนสำรวจใต้น้ำของทีมกู้ภัย ได้พบร่างน้องมาวิน ลอยสูงจากผิวดินประมาณ 1-2 เมตร ที่ระดับความลึกกว่า 70 เมตร  ซึ่งเป็นระดับที่ลึกมาก ยากแก่การกู้ร่างขึ้นมา จำเป็นต้องใช้นักประดาน้ำที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง  

ในการนี้ พล.อ.ประวิตร  วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ติดตามข่าวดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ได้ประสานมายัง กองทัพเรือ จัดกำลังพลเข้าร่วมปฏิบัติการ  โดยพล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ได้สั่งการให้จัดกำลังจากหน่วยของกองทัพเรือ ที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานใต้น้ำสนับสนุนการกู้ร่างน้องมาวิน ดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ประดาน้ำจากกรมสรรพาวุธทหารเรือ จำนวน 2 ชุดปฏิบัติการ พร้อมอุปกรณ์ในการกู้ร่างผู้เสียชีวิต 

2. นายแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำพร้อมอุปกรณ์สนับสนุนนักประดาน้ำที่ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัย

และ3. ชุดต่อต้านทุ่นระเบิดเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์ Side Scan Sonar ของกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการสำหรับใช้ในการค้นหาตำแหน่งที่แน่นอนของร่างผู้เสียชีวิต  ซึ่งกำลังของกองทัพเรือชุดแรกจะเข้าพื้นที่ตั้งแต่เวลา 09.00 น. โดยจะมีการประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนกว่าการดำเนินการจะบรรลุภารกิจ

กองทัพเรือจัดพิธีเปิดการแข่งขันสัปดาห์กีฬานาวี ประจำปี 2565 เพื่อให้กำลังพลตระหนักถึงความสำคัญในการเล่นกีฬา สร้างความสามัคคี และร่วมกันพัฒนาการกีฬาของกองทัพเรือไปสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล

วันที่ 23 พ.ย. 2565 พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ มอบหมายให้ พล.ร.อ.สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันสัปดาห์กีฬานาวี ประจำปี 2565 ณ สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ กิโลเมตร 5 อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พล.ร.ต.ธีรยุทธ ดาวมุกดา รองผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ ในฐานะหน่วยเจ้าภาพจัดการแข่งขัน พร้อมด้วย นายทหารชั้นผู้ใหญ่ กำลังพลพร้อมครอบครัวและประชาชนในพื้นที่สัตหีบ เข้าร่วมในพิธีเปิด

กองทัพเรือกำหนดจัดแข่งขันกีฬาภายในกองทัพเรือ ภายใต้ชื่อ 'สัปดาห์กีฬานาวี' เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังพลของกองทัพเรือ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเล่นกีฬา ซึ่งนอกจากจะได้พัฒนาขีดความสามารถทางด้านการกีฬาและเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เสริมสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานในกองทัพเรือ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่จะสนับสนุนผู้ที่มีความสามารถในกีฬาแต่ละประเภทให้เป็นนักกีฬาระดับชาติ สร้างชื่อเสียงให้แก่กองทัพเรือและประเทศชาติอีกด้วย 

กองทัพเรือ จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565

(2 ธันวาคม 2565) พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในการจัดกิจกรรม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ในส่วนของกองทัพเรือ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายเป็นพระราชกุศล โดยมี นางอรัญญา ศิริสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมภริยาทหารเรือ คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ของกองทัพเรือ พร้อมภริยา ตลอดจนหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ และหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกรมอู่ทหารเรือ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข้าร่วมในพิธี โดยในเวลา 07.10 น.รองผู้บัญชาการทหารเรือ ได้นำผู้เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้และกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร จำนวน 89 รูป จากวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดชิโนรสารามวรวิหาร วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร วัดนาคกลางวรวิหาร ณ บริเวณลานหน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม

ต่อมาในเวลา 09.00 น. รองผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน ถวายเป็นพระราชกุศล ณ ท้องพระโรง พระราชวังเดิม โดยมี อุปนายกสมาคมภริยาทหารเรือ พร้อมคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ พร้อมภริยา ตลอดจนหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ และหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกรมอู่ทหารเรือ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร่วมในพิธี โดยนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอรุณราชวราราม โดยมี พระพรหมวัชรเมธี เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ 

‘ก้าวไกล’ อัด ทร.ฟอกขาวเรือดำน้ำเครื่องยนต์จีน ชี้ รุ่นนี้ยังไม่เคยใช้ที่ไหนในโลก แม้แต่จีนเอง

‘ก้าวไกล’ ห่วง กองทัพเรือปล่อยคลิปฟอกขาวเรือดำน้ำเครื่องยนต์จีน แถมเห็นภาษากาย ‘บิ๊กตู่’ ต่อ ‘สีจิ้นผิง’ ยิ่งไม่น่าวางใจ ชี้ รุ่นนี้ยังไม่เคยใช้ที่ไหนในโลกแม้แต่จีนเอง ขอรอรัฐบาลใหม่ที่มีความชอบธรรม เข้ามาจัดการ

วันที่ 13 ธันวาคม 2565 พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่กองทัพเรือเผยแพร่คลิปวิดีโออธิบายการขับเคลื่อนเรือดำน้ำด้วยเครื่องยนต์จากจีน (CHD 620) แทนที่เครื่องยนต์จากเยอรมัน (MTU 396) ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ตามข้อตกลงระหว่างกองทัพเรือกับบริษัท CSOC ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนว่า ตนไม่ทราบว่าเหตุใดกองทัพเรือต้องพยายามชี้แจง ดูเหมือนเป็นความพยายามอย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่จะนำไปสู่การแก้ไขสัญญาและยอมรับเครื่องยนต์ดีเซล CHD620 ที่ผลิตจากจีน แทนเครื่องยนต์ MTU396 ของเยอรมันใช่หรือไม่ ซึ่งหากในการเจรจาวันที่ 13-14 ธันวาคมนี้ กองทัพเรือยอมแก้ไขสัญญา ไทยจะกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล CHD 620 ของจีนในเรือดำน้ำ เพราะที่ผ่านมา ไม่เคยมีประเทศใช้งานเครื่องยนต์ดังกล่าวมาก่อน แม้แต่ประเทศจีนเอง

พิจารณ์ กล่าวต่อไปว่า ขอเรียกร้องไปยังกองทัพเรือ อย่าอ้างกับประชาชนว่าถ้าไม่ยอมรับเครื่องยนต์ดีเซล CHD 620 จากจีนแล้วจะทำให้เงินที่จ่ายไปแล้วกว่า 7 พันล้านบาทไม่ได้คืน เพราะเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองและสัญญาที่กองทัพทำกับฝ่ายจีน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top