ผู้เล่นคนโปรดของคุณจะชนะในเกมนี้หรือไม่ รับชมพร้อมกัน วันที่ 27 มิถุนายน 2025 ทาง Netflix
Squid Game 3 เตรียมเข้า Netflix

Squid Game 3 เตรียมเข้า Netflix
(6 พ.ค. 68) เวลา 11.00 น. พล.ต.ท.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ ผบช.สตม. และคณะ ฯ เดินทางตรวจราชการ พร้อมหารือแนวทางในการติดตั้งช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Border Channel: ABC) ร่วมกับ นายมนต์ชัย ตะโหนด ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต และ นายธนพล กองบุญมา CEO บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด พร้อมคณะ ณ ด่าน ตม.ทอ.ภูเก็ต เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว
(6 พ.ค. 68) เวลา 08.30 น. พล.ต.อ.ประจวบ วงศ์สุข รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและฝึกอบรมข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โดยมี พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. , พล.ต.ท.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ รองจเรตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชาและผู้เข้ารับการฝึกอบรม ร่วมพิธี ที่โรงแรมสามพรานภิรมย์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม
สำหรับการจัดโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจสายงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทั้งระดับผู้บังคับบัญชาและระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน เข้าใจสภาพปัญหาสำคัญในการปฏิบัติงานในพื้นที่รับผิดชอบ สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดอาชญากรรม และนำไปสู่การวางแผนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่ รวมถึงการแบ่งปันความรู้ เทคนิควิธีปฏิบัติงานใหม่ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และปรับปรุงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ แบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 2 หลักสูตร โดยจะมีผู้บังคับบัญชาและข้าราชการตำรวจที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์เป็นพิเศษในงานป้องกันปราบปราบอาชญากรรม รวมถึงบุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญกับงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม ได้แก่
1. หลักสูตรการบริหารงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม รวม 72 นาย ประกอบด้วย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 ที่รับผิดชอบงานป้องกันปราบปราม พร้อมทีมงานบริหารป้องกันปราบปราม หน่วยละ 6 นาย และหน่วยงานด้านยุทธวิธีและด้านอำนวยการ หน่วยละ 1 นาย ซึ่งมีการฝึกอบรมระหว่างวันที่ 5-7 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมสามพรานภิรมย์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม
2. หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามของสถานีตำรวจ (สน./สภ.) ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล และตำรวจภูธรภาค 1-9 อย่างน้อย 1,484 นาย ฝึกอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 2 รุ่น รุ่นแรกวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2568 มีพิธีเปิดการฝึกอบรมฯ ณ ห้องประชุมศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนอีกรุ่นฝึกอบรมระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2568
'Land Aircraft Carrier' มีรูปแบบเป็นรถตู้ไฟฟ้าที่มีเครื่องบินแบบพับเก็บได้ติดตั้งอยู่ด้านหลังรถ หากต้องการใช้งานสามารถปล่อยขึ้นบินขึ้นได้ทันที เริ่มใช้จริงในจีนก่อน และมีแผนขยายสู่ต่างประเทศในอนาคต
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธานในพิธีสดุดีอนุสาวรีย์ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ผบช.ตชด.นำยกย่องเชิดชูเกียรติ “ตชด.ผู้กล้า ผู้เสียสละ”เปิดผลงาน Seal ชายแดน ปราบเข้มยาเสพติด ต่างด้าว ภัยความมั่นคงทุกมิติ
(6 พ.ค. 68) เวลา 09.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ( บช.ตชด. ) เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นประธานในพิธีสดุดีและวางพวงมาลัยสักการะอนุสาวรีย์ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และผู้ก่อตั้งตำรวจตระเวนชายแดน เนื่องในโอกาสวันสถาปนากองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ครบรอบปีที่ 72
โดยมี อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
อาทิ พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว อดีต ผบ.ตร. พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง อดีตที่ปรึกษาพิเศษ ตร. พล.ต.อ.สมศักดิ์ บุบผาสุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ร่วมพิธี
พร้อมด้วย พล.ต.ท.นิตินัย หลังยาหน่าย ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน คุณสุวรรณยา หลังยาหน่าย
ประธานชมรมแม่บ้านตำรวจตระเวนชายแดน, ข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดน, คณะแม่บ้านตำรวจตระเวนชายแดน และผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสถาปนากองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ครบรอบปีที่ 72 ซึ่งตรงกับวันนี้ 6 พฤษภาคม 2568 โดยในเวลา 06.39 น. คณะผู้บังคับบัญชาได้ร่วมประกอบพิธีบวงสรวงพระพุทธศรีประกายสิทธิ์ ศาลพระภูมิ และบวงสรวงอนุสาวรีย์ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์
จากนั้น 09.00 น. พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีสดุดี
และวางพวงมาลัยสักการะอนุสาวรีย์ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์
และในเวลา 10.00 น. พล.ต.ท. นิตินัย หลังยาหน่าย ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นประธานพิธีมอบโล่ ประกาศนียบัตร ให้แก่ข้าราชการตำรวจ และครอบครัวข้าราชการตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเป็นการสดุดียกย่อง “ตชด.ผู้กล้า” จำนวน 14 ราย มอบรางวัลให้แก่ข้าราชการตำรวจที่มีผลการปฏิบัติดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 11 รางวัล และมอบทุนการศึกษาให้แก่บุตรข้าราชการตำรวจ 50 ทุน
สำหรับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2496 ภายใต้สภาวะที่ประเทศไทยเผชิญกับภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำให้รัฐบาลและกรมตำรวจในขณะนั้น ได้จัดตั้งตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่รักษาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน โดยมี
พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนคนแรก
ตำรวจตระเวนชายแดน มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ
1.ทำการรบในระดับหน่วยขนาดเล็กได้อย่างทหาร
2.ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างตำรวจ
3.พัฒนาและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างข้าราชการพลเรือน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตำรวจตระเวนชายแดนได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ที่มีปัญหา
ความมั่นคงอย่างมืออาชีพ ด้วยความเสียสละ และอดทน ยึดถือในอุดมการณ์ของตำรวจตระเวนชายแดน
เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในชีวิตและทรัพย์สิน พัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน และเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนอย่างยั่งยืน โดยมีผลงานสำคัญในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมสำคัญ
ในพื้นที่ชายแดน เช่น การปราบปรามยาเสพติด การปราบปรามการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เป็นต้น
ดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในยามที่เกิดภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการดำเนินงานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 222 แห่ง
ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ในห้วงปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ที่ผ่านมา มีผลงานด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ดังนี้
1. การจับกุมคดียาเสพติด จำนวน 3,850 คดี ของกลาง ยาบ้า 20,910,461 เม็ด ไอซ์ประมาณ
1,260 กิโลกรัม และเฮโรอีน 21 กิโลกรัมเศษ
2. การจับกุมความผิดตาม พรบ. คนเข้าเมือง จำนวน 586 คดี ผู้ต้องหา 3,019 คน
3. การจับกุมกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 111 คดี ผู้ต้องหา 55 คน ของกลาง พื้นที่ป่าบุกรุก 487 ไร่เศษ มูลค่า 9,285,337 บาท ไม้ต่างๆ เช่น พะยูง 211 ท่อน มูลค่า 414,800 บาท, ไม้สัก 925 ท่อน มูลค่า 813,580 บาท,
4. การจับกุมความผิดตาม พรบ.อาวุธปืน จำนวน 355 คดี ผู้ต้องหา 373 คน ปืนชนิดต่างๆ รวม 396 กระบอก ระเบิดขว้าง 4 ลูก และเครื่องกระสุน 3,351 นัด
5. การจับกุมความผิดตาม พรบ.ศุลกากร จำนวน 97 คดี ผู้ต้องหา 83 คน ของกลาง ได้แก่ บุหรี่ 73,983 ซอง, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3,723 ขวด และน้ำมันดีเซล 2,513 ลิตร
6. การจับกุมความผิดเกี่ยวกับการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จำนวน 55 คดี ผู้ต้องหา 36 คน
ของกลาง รถยนต์ 69 คัน และ จักรยานยนต์ 29 คัน