Thursday, 15 May 2025
ค้นหา พบ 48101 ที่เกี่ยวข้อง

23 ธันวาคม 2484 ‘ปรีดี พนมยงค์’ ปฏิญาณตนต่อสภาฯ รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัชกาลที่ 8

วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2484 นายปรีดี พนมยงค์ ได้ปฏิญาณตนต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อรับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ระหว่าง พ.ศ. 2484 ถึง 2488 หลังจากที่เจ้าพระยายมราช ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ในฐานะหนึ่งในสามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ถึงแก่อสัญกรรม โดยที่ยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน  จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้กล่าวเสนอเรื่องต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ว่า  

“เนื่องจากเจ้าพระยายมราช ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ถึงแก่อสัญกรรม สภาผู้แทนราษฎรยังมิได้แต่งตั้งผู้ใดแทน คณะรัฐมนตรีเห็นว่าการดำเนินงานของรัฐควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ อีกทั้งในขณะนี้ นายพลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินก็ชราภาพและสุขภาพไม่สมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมควรแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณวุฒิเพิ่มเติม ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เหมาะสม หากสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบ นายปรีดี พนมยงค์ จะต้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทันที”  

สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ส่งผลให้นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พร้อมกับลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  

การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของนายปรีดี พนมยงค์ เกิดขึ้นภายหลังจากที่รัฐบาลไทยร่วมมือกับญี่ปุ่นให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทางผ่านประเทศไทย ซึ่งผู้นำบางส่วนรวมถึงนายปรีดี พนมยงค์ ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังร้องขอเงินกู้จากรัฐบาลไทยเพื่อใช้จ่ายสำหรับกองทัพญี่ปุ่น แต่ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายปรีดี พนมยงค์ ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีจึงแต่งตั้งคุณพระบริภัณฑ์ยุทธกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และอนุมัติเงินกู้ตามที่ญี่ปุ่นร้องขอ  

ในขณะนั้น คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประกอบด้วย พล.ต.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พล.อ.พิชเยนทรโยธิน และนายปรีดี พนมยงค์ ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2485 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 และไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเพิ่ม จึงมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียว

ส่องแนวคิดขึ้น VAT ‘คิดถูก’ หรือ ‘คิดผิด’ เก็บภาษีได้เพิ่ม แต่ต้องแลกกับผลกระทบคนรายได้น้อย

จากการที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีแนวคิดในการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็น 15% โดยอ้างว่า “แค่บอกว่าแนวโน้มโลกเขาทำกันอย่างไร แค่ขอไปศึกษาเท่านั้นเอง พร้อมย้ำอีกว่า เป็นแค่การศึกษา” พี่น้องประชาชนคนไทยส่วนใหญ่คงไม่ทราบว่า อันที่จริงแล้วกฎหมายกำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงของไทยนั้นอยู่ที่ 10% แต่มีการผ่อนผันโดยเรียกเก็บจริงที่ 7% โดยนับแต่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มในปี พ.ศ. 2535 ในปี พ.ศ. 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จึงมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในระยะเวลาสั้น ๆ เป็น 10% ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2540 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงเหลือ 7% อีกครั้งมีอายุการใช้งาน 2 ปี และคณะรัฐมนตรีจะออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือ 7% เป็นประจำทุกปี โดยที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 ใน 9 ที่เก็บได้ จะถูกโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่เหลืออีก 8 ส่วนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาลกลาง การต่ออายุการผ่อนผันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% ได้ดำเนินการมาต่อเนื่องยาวนานจนปัจจุบัน 27 ปี จึงทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ต่างพากันเข้าใจว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% เรื่อยมา

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรก จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการยังสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากรได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในโลกส่วนมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเกือบทั้งสิ้น โดยเดนมาร์กเป็นประเทศที่มีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุดและเรียกเก็บจริงที่ 25% สำหรับประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปแม้จะมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มระหว่าง 15-25% แต่มีการผ่อนผันโดยเรียกเก็บจริงแล้วไม่มีประเทศไหนเก็บถึง 15% เลย เช่นเดียวกับประเทศในทวีปอื่น ๆ ซึ่งมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มระหว่าง 5-24.5% แต่มีการผ่อนผันโดยเรียกเก็บจริงแล้วไม่มีประเทศไหนเก็บถึง 15% เช่นเดียวกับการปฏิบัติในทวีปยุโรป โดยประเทศที่มีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ที่ 15% คือ  นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ มอลตา (ภาษีมูลค่าเพิ่ม 15% สำหรับบางบริการ เช่น การท่องเที่ยว) และ เซเชลส์ สำหรับประเทศในทวีปอเมริกาเหนือเฉพาะแคนาดาที่มีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มแตกต่างกันไปตามมณฑลต่าง ๆ ที่ 5%(Alberta, British Columbia, Manitoba, Northwest Territories, Nunavut, Quebec, Saskatchewan และ Yukon) 13%(Ontario) และ 15%(New Brunswick, Newfoundland and Labrador, Nova Scotia และ Prince Edward Island) ในสหรัฐอเมริกาทั้ง 50 มลรัฐก็มีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกว่าภาษีขาย (Sales Tax) โดยประกอบด้วยภาษีในส่วนของรัฐบาลมลรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เมืองหรือเทศมณฑล (City หรือ County)) แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 0%(Alaska, Delaware, Montana, New Hampshire และ Oregon) จนกระทั่ง 10.350%(Seattle, Washington) และเม็กซิโกมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 16%

ในส่วนของประเทศไทยที่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ในปี พ.ศ. 2566 สามารถเก็บได้ 913,550.89ล้านบาท เป็นภาษีที่จัดเก็บได้สูงสุด หากเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 15% เมื่อคิดคำนวณแบบง่าย ๆ แล้วรัฐจะสามารถเก็บภาษีส่วนนี้ได้ร่วม 2ล้านล้านบาทเลยทีเดียว แต่อันที่จริงแล้วการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นวงกว้างอย่างแน่นอน และน่าจะเป็นผลกระทบในทางลบต่อพี่น้องประชาชนคนไทยมากกว่าที่จะเป็นผลกระทบในทางบวก ทั้งนี้ ด้วยเพราะ ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีถดถอย การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้มีรายได้น้อยในสัดส่วนที่มากกว่าผู้มีรายได้สูง ซึ่งจะทำให้บรรดามนุษย์เงินเดือนและผู้ที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนคนไทยที่เป็นรากหญ้ามีเงินเดือนน้อยจะเข้าถึงสินค้าต่าง ๆ ได้ยากขึ้น และได้รับผลกระทบมากสุด เพราะอาจจะไม่สามารถเข้าถึงสินค้าที่มีความจำเป็นบางอย่างที่เดิมสามารถเข้าถึงได้ เมื่อรายได้คงเดิมโดยไม่ได้ปรับตามฐานภาษีที่เพิ่มขึ้น เงิน 100 บาทในกระเป๋าหักภาษี 7% จะเหลือเงิน 93 บาท แต่ถ้าขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 15% แล้วจะเหลือเงินเพียง 85 บาทเท่านั้น ซึ่งหมายถึงว่าเงินที่มีอยู่ลดลงแต่รายจ่ายกลับเพิ่มมากขึ้น และย่อมต้องส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนคนไทยทำให้การบริโภคภายในประเทศลดลง จะส่งผลกระทบทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลง จนธุรกิจบางส่วนอาจจะต้องปิดตัวลงหรือลดขนาดกิจการ และเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเพิ่มมากขึ้น และเรื่องสำคัญที่สุดในการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มคือ “เหตุผลที่ต้องปรับขึ้นต่อพี่น้องประชาชนคนไทย ซึ่งรัฐบาลต้องสามารถอธิบายอย่างเป็นเหตุและเป็นผลจนเป็นที่เข้าใจของสังคมไทยโดยรวม” สำหรับแนวทางที่น่าจะมีความเหมาะสมที่สุดคือ การปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มให้กลับไปสู่อัตราปกติที่ 10% อย่างค่อยเป็นค่อยไป อาทิ การปรับขึ้น 1% ในเวลา 3-5 ปี โดยการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 3% ในระยะเวลา 9-15 ปี จะทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมพอดี และจะเป็นการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

‘จักรภพ’ ไม่แปลกใจ ‘อันวาร์’ ตั้ง ‘ทักษิณ’ เป็นที่ปรึกษาปธ. อาเซียน เชื่อรวมชาติอาเซียนได้ด้วยใจไม่ใช่กลไกราชการ เหตุรู้จักผู้นำทุกคน

‘จักรภพ’ เผย ผู้นำอาเซียนรู้จัก ‘ทักษิณ’ หมด ไม่แปลกใจ อันวาร์ ตั้งเป็นที่ปรึกษาปธ. อาเซียน เชื่อ อดีตนายกฯ รวมชาติอาเซียนได้ด้วยใจ ไม่ใช่กลไกราชการ

(20 ธ.ค.67) นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตโฆษกรัฐบาล และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี ดาโตะ เซอรี อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แต่งตั้ง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน ในปี 2025 ที่รัฐบาลมาเลเซียจะเป็นประธานอาเซียน เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการประชุมระดับนานาชาติ ว่า ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะผู้นำอาเซียนรู้จัก นายกฯ ทักษิณ กันหมด โดยตำแหน่งนี้ก็ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ไม่มีเงินเดือน ไม่ได้มีตำแหน่งอยู่ในโครงสร้างอาเซียน เป็นตำแหน่งไม่เป็นทางการ นายอันวาร์เชื่อว่า นายกฯ ทักษิณ สามารถรวมชาติอาเซียนได้ด้วยใจ ไม่ใช่กลไกราชการ 

นายจักรภพ กล่าวว่า นายอันวาร์ มองไปล่วงหน้าว่า การแต่งตั้งครั้งนี้ มันน่าจะตรงกับประสบการณ์ของ นายกฯ ทักษิณโดยเฉพาะปัญหาความไม่สงบในประเทศเมียนมาในขณะนี้ อย่าลืมว่า นายกฯ ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี 6 ปี มีเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ในเมียนมาหลายครั้ง จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงศูนย์อำนาจในเมียนมา ชนกลุ่มน้อยก็เข้มแข็งขึ้น และนายกฯ ทักษิณ ก็สามารถเจรจาชนกลุ่มน้อยที่อยู่ตามชายแดนได้ เหมือนที่กำลังมีประเด็นว้าแดงอยู่ในขณะนี้  

นอกจากนี้ นายจักรภพ ยังได้ยกเรื่องของความขัดแย้ง ระหว่างอินโดนีเซีย กับฟิลิปปินส์ ที่เห็นไม่ตรงกันในเรื่องน่านน้ำ ก็ต้องให้อาเซียนช่วย เวียดนามเองก็มีปัญหาเรื่องของเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากเวียดนาม แล้วก็เป็นที่แย่งชิงของบรรดาอาเซียน นายกฯ ทักษิณ ผ่านเรื่องเหล่านี้มาโดยส่วนตัวคิดว่านายอันวาร์ ก็คงหวังจะได้ประโยชน์จากตรงนี้

“ผมเดาใจท่านอันวาร์ ท่านน่าจะมองว่าคุณทักษิณ เป็นคนที่เก่งในการสร้างงานที่ใหญ่ขึ้น มาเลเซียได้ประโยชน์ ประเทศในอาเซียนได้ประโยชน์ และแน่นอนว่าประเทศไทยก็ได้ประโยชน์ด้วย พูดง่าย ๆ คือคุณทักษิณมองใหญ่เป็น เขาคงรู้ว่าคบกับไทยดีกว่าแข่งกับไทย” นายจักรภพ กล่าว 

นายจักรภพ กล่าวถึงกรณี นายอันวาร์ เรียกนายทักษิณว่าเป็นรัฐบุรุษ ว่า ต่างชาติเขาคิดไม่เหมือนเรา ที่อาจจะมอง นายกฯ ทักษิณ แบบมีอคติ แต่เขามองแบบผู้นำนับถือกัน และที่สำคัญเขามีหน่วยงานข่าวกรองที่รู้มากกว่าเรา เขารู้ว่า นายกฯทักษิณ เป็นอย่างไร อาจมีผิดพลาดบ้าง แต่สำคัญคือเดบิตต้องสูงกว่าเครดิต รายได้สูงกว่ารายจ่าย กิจการนั้นก็จะประสบความสำเร็จ จะมานั่งวัดกันเหมือนส่องกล้องจุลทรรศน์ ก็คงไม่ได้

รางวัล 'Oscar' พิจารณาอย่างไร หลัง 'หลานม่า' เข้าลุ้นภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม

(20 ธ.ค.67) ภาพยนตร์ไทยเรื่อง 'หลานม่า' จากค่าย GDH สร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญด้วยการเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับคัดเลือกเข้าสู่รอบ 15 เรื่องสุดท้าย ในสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best International Feature Film) ของรางวัลออสการ์ครั้งที่ 97 โดยสามารถฝ่าด่านภาพยนตร์จากทั่วโลกถึง 85 เรื่องได้สำเร็จ การประกาศรายชื่อภาพยนตร์ที่ผ่านเข้าสู่รอบ 5 เรื่องสุดท้ายจะมีขึ้นในวันที่ 17 มกราคม 2568 ส่วนพิธีมอบรางวัลออสการ์จะจัดขึ้นในวันที่ 2 มีนาคม 2568

การตัดสินรางวัลออสการ์ดำเนินการโดยสมาชิกสถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences - AMPAS) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ จากข้อมูลของสถาบันออสการ์ ในปี 2024 ปัจจุบันมีสมาชิกที่มีสิทธิ์โหวตรวมทั้งสิ้น 9,934 คน แต่ละคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับ นักเขียนบท ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด หรือผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ในวงการภาพยนตร์ทั้งสิ้น

สำหรับขั้นตอนการลงคะแนน สมาชิก AMPAS ทุกคนสามารถลงคะแนนในหมวดนี้ได้ โดยใช้ระบบโหวตแบบเรียงลำดับความชอบ (Preferential Voting System) สมาชิกจะจัดอันดับภาพยนตร์ที่ตนชื่นชอบจากมากไปน้อย หากภาพยนตร์ใดได้รับคะแนนอันดับหนึ่งเกิน 50% จะถือเป็นผู้ชนะทันที แต่หากไม่มีภาพยนตร์ใดได้คะแนนเกินครึ่ง ระบบจะคัดภาพยนตร์ที่ได้คะแนนอันดับหนึ่งน้อยที่สุดออก และโอนคะแนนของผู้ที่โหวตภาพยนตร์นั้นไปยังตัวเลือกถัดไปในลำดับ กระบวนการนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าภาพยนตร์หนึ่งจะได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่

สำหรับรางวัลอื่น ๆ เช่น นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม หรือผู้กำกับยอดเยี่ยม การลงคะแนนจะใช้ระบบเสียงข้างมาก (Plurality Voting) สมาชิกของสาขาที่เกี่ยวข้องจะลงคะแนนให้กับผู้เข้าชิงที่ชื่นชอบมากที่สุด ผู้ที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ การคัดเลือกผู้เข้าชิง 5 อันดับแรกจะใช้ระบบการคัดรอบแรก ก่อนลงคะแนนรอบสุดท้ายเพื่อหาผู้ชนะ

การนับคะแนนรางวัลออสการ์ดำเนินการโดยบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก PricewaterhouseCoopers (PwC) ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมและตรวจสอบผลคะแนนทั้งหมดอย่างเคร่งครัด ผลคะแนนจะถูกเก็บเป็นความลับจนกว่าจะมีการประกาศบนเวทีในคืนงานมอบรางวัล เพื่อรักษาความโปร่งใสและความยุติธรรมในกระบวนการทั้งหมด

‘ไทยออยล์’ อัดงบเพิ่ม พร้อมจ่ายดอกเบี้ย 8 หมื่นล้าน หวังเดินหน้าโครงการพลังงานสะอาดให้เสร็จสมบูรณ์

‘บอร์ดไทยออยล์’ ไฟเขียวเพิ่มงบประมาณโครงการพลังงานสะอาด (CFP) วงเงิน 63,028 ล้านบาท พร้อมเตรียมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น 21 ก.พ. ปีหน้า ยืนยันผู้ถือหุ้นและบริษัทฯ ได้ประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเพิ่มความแข็งแกร่งและมั่นคงด้านพลังงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

(20 ธ.ค.67) นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ นัดพิเศษ ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบเพิ่มงบประมาณในโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project หรือ CFP) ประมาณ 63,028 ล้านบาท และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 17,922 ล้านบาท การเพิ่มเงินลงทุนในโครงการ CFP ครั้งนี้ จะนำไปใช้เพื่อการก่อสร้าง การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ส่วนที่เหลือ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าที่ปรึกษาต่างๆ เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการ CFP ให้แล้วเสร็จ และสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น 

ทั้งนี้ บริษัทฯ เตรียมจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.00 น. เพื่อขอมติจากผู้ถือหุ้นในการอนุมัติการเพิ่มงบประมาณในโครงการ CFP ดังกล่าว

“โครงการ CFP จะทำให้ไทยออยล์มีกำลังการกลั่นน้ำมันดิบ 400,000 บาร์เรลต่อวัน และสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการขนาดใหญ่ ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วกว่า 90% เมื่อโครงการสำเร็จจะสามารถตอบโจทย์การเติบโตทางกลยุทธ์ในระยะยาว ทำให้บริษัทฯ เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) ทำให้ไทยออยล์สามารถแข่งขันได้ และเป็นผู้นำ ในภูมิภาคซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและบริษัทฯ ในระยะยาว หากโครงการเดินหน้าต่อจะทำให้ซัพพลายเชน รวมถึงบริษัทรับเหมาก่อสร้างและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีงานทำ มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง” นายบัณฑิตฯ กล่าว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top