Monday, 26 May 2025
SPECIAL

‘พี่จีน’ และ ‘น้องไทย’ ความสัมพันธ์แบบ ‘ถ้าไม่รักก็ชัง’

เป็นที่รู้กันดีครับ ว่าหากไม่มีสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยเราก็ถือว่าเป็นจุดหมายอันดับต้น ๆ สำหรับนักเดินทางชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนที่เราต่างก็รู้ดีว่าการเดินทางมาท่องเที่ยวของพวกเขานั้นสร้างรายได้ให้กับประเทศเราอย่างมหาศาล

ในปีพ.ศ. 2559 (ช่วงก่อนโควิดระบาด) เพียงปีเดียว รายได้ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวจีนมีมูลค่าสูงกว่า 400,000 ล้านบาท แถมการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เที่ยวไทยยังเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมูลค่าต่อคนที่สูงมาก ๆ ทั้งค่าใช้จ่ายโดยการท่องเที่ยว และการซื้อของฝาก

โดยสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าชาวจีนค่อนข้างที่จะกรี๊ดกร๊าดกับแบรนดิ้งความเป็นไทยนั้นมีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการแห่มาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างกรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต และเชียงใหม่ ฯลฯ หรือการที่ชาวจีนกว้านซื้อผลไม้ไทยส่งกลับไปที่แผ่นดินใหญ่ การที่ชาวจีน “คลั่งไคล้” ในทุเรียนไทย รวมถึงความนิยมในดารานักแสดงชาวไทย และละครไทยซึ่งหลายเรื่องที่เราคนไทยไม่รู้จัก แต่กลับดังพลุแตกอยู่ในจีน ซึ่งที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในหมู่ “แม่จีน” ตอนนี้เห็นจะเป็น ‘ซีรี่ส์วาย’ หรือแม้กระทั่งล่าสุดคือกระแสเรื่อง ‘แนนโน๊ะ’ จากซีซั่นใหม่ของซีรี่ส์ ‘เด็กใหม่’ โดย Netflix

ความรักในความเป็นไทยของชาวจีนนั้นเป็นที่ประจักษ์ในตัวเลขสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว ตัวผมและเพื่อน ๆ ชาวไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองจีนเองก็สัมผัสได้อย่างชัดเจนในทุกครั้งที่ผมแนะนำตัวกับเพื่อนใหม่ชาวจีนว่าเราเป็นคนไทย มาจากไท่กั๋ว (泰国) ก็จะได้เห็นแววตาแห่งความตื่นเต้นในเกือบทุกครั้ง ซึ่งบทสนทนาต่อจากนั้นก็จะเป็นไปในทิศทางประมาณว่า

“โอ้ว,我去过泰国 ฉันเคยไปเที่ยวที่ไทย”

“我真的喜欢泰国的水果,特别是泰国的榴莲。ฉันชอบผลไม้ไทยมาก โดยเฉพาะทุเรียน”

“哦,你有没有看过爱在暹罗吗?หนี่เคยดูหนังเรื่อง ‘รักแห่งสยาม’ หรือเปล่า ? ”

ซึ่งผมที่เป็นคนไทยก็จะได้โอกาสโม้เรื่องราวและโอ้อวดความเป็นไทยอย่างภาคภูมิใจอยู่บ้าง แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ผมได้สะท้อนและมองมุมกลับ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็คือเหตุการณ์ “ดราม่าแนนโน๊ะ” นี่แหละครับ ที่หลังจากกลายเป็นกระแสทำให้คนจีนมากมายแต่งคอสเพลย์ชุดนักเรียนไทยตามแนนโน๊ะ

โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มต้นในวันที่ทีมงานซีรี่ส์เด็กใหม่ออกมาโพสต์ขอบคุณแฟนคลับจากทั่วโลกเป็นภาษาต่าง ๆ โดยมีการใช้คำยกฮ่องกงและไต้หวันว่าเป็น “ประเทศ” โดยวางสัญลักษณ์ธงชาติตามหลังชื่อ ซึ่งสำหรับคนจีนนั้น เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องซีเรียส เพราะประชาชนจีนเกือบทุกคนถูกปลูกฝังมาโดยตลอดว่าไต้หวันและฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของจีน จนทำให้มีคนจีนจำนวนไม่น้อยออกมาเรียกร้องบนโลกอินเทอร์เน็ตโดยติดแอชแท็ก #禁忌女孩辱华 หรือ #ซีรี่ย์เด็กใหม่ดูถูกประเทศจีน โดยเรียกร้องให้ #เด็กใหม่2 ออกมาขอโทษในกรณีดังกล่าว

ซึ่งก็เรียกได้ว่าจากรักกลายเป็นชังได้ภายในพริบตาเดียวจริง ๆ ครับ…

อีกหนึ่งกรณีที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือประเด็นเดือดในทวิตเตอร์เมื่อกลางปีที่แล้ว (2020) จากแฮชแท็ก #nnevvy ของเหล่าแฟน ๆ นักแสดงซีรีส์วายอันเป็นชนวนที่ทำให้แฟนคลับชาวจีนทะเลาะกับแฟนคลับชาวไทยในโลกออนไลน์ จากกรณีนักแสดงหนุ่มดาวรุ่งหน้าใส ไบร์ท วชิรวิชญ์ ชีวอารี รีทวีตโพสต์หนึ่งบนทวิตเตอร์ ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นภาพของฮ่องกง และเรียกฮ่องกงว่าเป็นประเทศ ซึ่งก็เป็นกรณีคล้ายกับดราม่าแนนโน๊ะเลยครับ กลายเป็นเหตุที่ทำให้ตัวนักแสดงต้องพบกับแฟนกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักโดยแฟนคลับชาวจีน ก่อนที่นักแสดงหนุ่มจะโพสต์ขอโทษ

จะเห็นได้ว่าประเด็นเรื่องคำว่า “ชาติ” เป็นหนึ่งในประเด็นที่อ่อนไหวมาก ๆ สำหรับคนจีน

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2018 ในช่วงขาขึ้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่คำพูดของผู้นำระดับสูงของประเทศไทยที่วิจารย์กรณีชาวจีน 41 รายที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเรือล่มใกล้กับเกาะภูเก็ต และยังตั้งข้อสงสัยด้วยว่าเหตุเกิดเนื่องจาก "บริษัทจีนเข้ามาทำธุรกิจในไทย โดยใช้นอมินีของไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังดำเนินคดีอยู่ โดยเรื่องนี้จะต้องดำเนินการแก้ไขและไทยก็มีกฎหมายของไทยอยู่” ซึ่งก็คือการกล่าวโทษไปที่ระบบ ‘ทัวร์ 0 เหรียญ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นใหญ่ที่คนพูดถึงกันในปีนั้น

คำพูดดังกล่าวถูกนำไปรายงานตามสื่อต่าง ๆ ของจีน ก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากในหมู่ชาวจีน ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง คนจีนมากมายมองว่าปัญหาก็ส่วนปัญหา แต่การตายของคนจีน 41 คนที่อุบัติขึ้นในประเทศของคุณ ที่คุณเป็นผู้นำ การกล่าวแสดงความอาลัยมันยากนักหรือ การกล่าวโทษคนจีนด้วยสีหน้าที่เพิกเฉยมันผิดเวลาไปหน่อยหรือไม่ ? 

ซึ่งก็กลายเป็นเหตุให้เกิดกระแสแบนภูเก็ต จนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนในภูเก็ตในปีนั้นและปีต่อมาลดฮวบไปอย่างน่าตกใจ เพื่อนของผมที่เปิดร้านอาหารรองรับทัวร์จีนเล่าให้ผมฟังว่าเหตุการณ์นี้ส่งผลให้กิจการร้านอาหารต้องเจ๊งไปเลยทีเดียว

จากสามกรณีที่ผมยกตัวอย่างมานี้คือลักษณะของความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘ถ้าไม่รักก็ชัง’ คือรักกันอยู่ดี ๆ ก็เกลียดกันเสียอย่างนั้น ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากคำว่า “รัก” จนกลายมาเป็นคำว่า “เกลียด” หรือคำว่า “แบน” เนี่ย มันเกิดขึ้นจากประเด็นหลัก ๆ อยู่ที่ประเด็นคำว่า “ชาติ”

ด้วยลักษณะของคนจีนที่ยอมเสียได้ทุกอย่างแต่จะไม่มีวันยอมเสียหน้านั้น ทำให้ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับกรณีฮ่องกงและไต้หวันนั้นเป็นเรื่องที่ทำให้พวกเขาหัวร้อนอยู่บ่อย ๆ เพราะหากมองในมุมรัฐบาลจีนที่พยายามอย่างหนักในการโปรโมทนโยบายที่มีชื่อว่า “จีนเดียว” (One China) และด้วยความที่กำลังแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา ทำให้ถูกโจมตีด้วยประเด็นเหล่านี้ รวมถึงการที่โลกฝั่งตะวันตกเข้ามามีบทบาทการเมืองระหว่างจีนและไต้หวัน/ฮ่องกง ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่รัฐจะต้องคอยปลูกฝังแนวคิดชาตินิยมลงไปในดีเอ็นเอของคนในชาติ

การกระทำอันใดที่เป็นการดูถูกประเทศจีนนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เป็นอันขาด ในกรณีอย่างดราม่าแนนโน๊ะนั้น ไม่ว่าจะตั้งใจก็ดี หรือว่าไม่ได้ตั้งใจก็ดี แต่การจะทำการค้าขาย หรือตีตลาดในประเทศจีนอย่างมีประสิทธิผลนั้น จำเป็นจะต้องเข้าใจในประเด็นนี้ เพราะหากเราเผลอทำตัวไม่น่ารัก เราอาจถูกเกลียดชังได้ภายในพริบตาเดียว


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

ผลไม้ไทยธรรมดากับการส่งออกแบบราชา จนกลายเป็น “ผลไม้เศรษฐี” ในอินเดีย 

ถ้าใครไม่เคยเดินทางไปอินเดียจะนึกไม่ออกเลยว่าผลไม้พื้น ๆ ราคาธรรมดา ๆ ในประเทศไทยจะกลายเป็นผลไม้ราคาแพงลิบลิ่วสำหรับเศรษฐีอินเดียไปได้ยังไง แต่ก็ไม่ใช่ว่าผลไม้ทุกชนิดของไทยจะได้รับความนิยมในอินเดียนะครับ หลัก ๆ ก็จะมีลำไย เงาะ มังคุด ฝรั่ง มะพร้าวอ่อน ลิ้นจี่ แก้วมังกร และช่วงหลัง ๆ ทุเรียนก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นด้วย แต่ถ้าพูดถึงผลไม้ไทยยอดนิยมที่สุดในอินเดียก็ต้องยกให้ลำไยเพราะเป็นผลไม้ที่ถูกโฉลกกับคนอินเดียมาก เนื่องจากคนอินเดียชอบรับประทานรสหวาน ลำไยไทยก็เลยตอบโจทย์ได้ดีที่สุด

เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ตอนที่ผมไปประจำการอยู่ที่เมืองมุมไบใหม่ ๆ พอเห็นราคาผลไม้ไทยที่สูงลิบลิ่วก็ตื่นเต้นดีใจมาก แต่พอพิจารณาอีกด้านหนึ่งก็พบว่าราคาผลไม้ของไทยที่สูงลิบลิ่วนั้น จริง ๆ แล้วพี่น้องเกษตรกรและผู้ส่งออกของไทยเราก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากราคาขายปลีกที่สูงมากในอินเดียเลย พูดง่าย ๆ ก็คือ เกษตรกรและผู้ส่งออกไทยก็ขายได้ในราคาปกติ แถมราคาที่สูงลิ่วนั้น ก็ทำให้เป็นการจำกัดเฉพาะลูกค้าระดับเศรษฐีเท่านั้นที่จะสามารถซื้อได้ ก็เลยทำให้ตลาดสำหรับผลไม้ไทยในอินเดียขยายตัวยาก

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาผลไม้ไทยที่อินเดียพุ่งขึ้นไปสูงมากขนาดนั้น ก็เพราะต้นทุนค่าขนส่งที่สูงมากเนื่องจากผู้นำเข้าอินเดียมักจะนำเข้าแต่ละครั้งในปริมาณไม่มาก ประกอบกับระบบห้องเย็นของอินเดียยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอและมีอยู่จำกัด จึงต้องนำเข้าผลไม้ไทยไปทางอากาศเพื่อเป็นการรักษาความสดของผลไม้ และช่วยยืดอายุผลไม้ซึ่งเป็นสินค้าเน่าเสียง่ายให้มีอายุในการจำหน่ายยาวขึ้น และอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลไม้ไทยมีราคาพุ่งสูงไปอีกก็คือ ประเด็นเกี่ยวกับการตั้งราคาที่ร้านค้าปลีกจะต้องตั้งราคาไว้สูงมากเผื่อการเน่าเสียของผลไม้

เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดามากในประเทศอินเดียเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ที่เราจะพบว่าราคาลำไยจากประเทศไทยที่ขายปลีกอยู่ตามซูเปอร์มาร์เก็ตในอินเดียจะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 600 รูปีขึ้นไปหรือ 300 บาทเลยทีเดียว (อัตราแลกเปลี่ยนในสมัยนั้น 1 รูปี = 0.50 บาท) แต่ภายหลังได้มีความพยายามของผู้นำเข้าอินเดียที่จะเปลี่ยนจากการขนส่งทางอากาศมาเป็นการขนส่งทางเรือด้วยตู้คอนเทนเนอร์เย็นซึ่งถือเป็นพัฒนาการด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญในการนำเข้าลำไยครั้งละมาก ๆ ได้ เลยส่งผลทำให้ราคาลำไยไทยในอินเดียในช่วงหลังมีราคาถูกลง จนล่าสุดจากการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครมุมไบ ประเทศอินเดีย พบว่าราคาลำไยไทยลดลงเหลือกิโลกรัมละ 199-249 รูปี หรือ 85-107 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 รูปี = 0.43 บาท) ซึ่งการที่สามารถทำราคาได้ต่ำลง ก็จะทำให้ลำไยไทยสามารถขยายไปยังตลาดส่วนอื่นได้เพิ่มขึ้นอีกมากนอกเหนือจากกลุ่มลูกค้าเศรษฐีของอินเดีย เพราะฉะนั้นตอนนี้ลำไยไทยก็อาจจะไม่ใช่ “ผลไม้เศรษฐี” ในอินเดียอีกต่อไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม ผลไม้ไทยยอดนิยมอื่น ๆ ก็ยังคงมีราคาสูงมากหรือหนักกว่าเดิม และยังคงความเป็น “ผลไม้เศรษฐี” ในอินเดียอยู่เหมือนเดิม อย่างฝรั่งกิมจูจากประเทศไทยปัจจุบันวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตที่อินเดียกิโลกรัมละ 499-600 รูปีหรือ 215-258 บาท ลิ้นจี่สด ราคา 625 รูปีต่อ 250 กรัมหรือกิโลกรัมละ 2,500 รูปีหรือ 1,075 บาท มังคุด ราคากิโลกรัมละ 750 รูปี หรือประมาณ 320 บาท เสาวรสสด ราคา 300 รูปีต่อ 250 กรัมหรือกิโลกรัมละ 1,200 รูปีหรือ 516 บาท มะพร้าวอ่อน ราคาลูกละ 550 รูปีหรือ 236 บาท (มะพร้าวอ่อนอินเดีย ราคาลูกละ 29-32 รูปีหรือประมาณ 12-14 บาท) เงาะ ราคากิโลกรัมละ 900 รูปี หรือ 387 บาท แก้วมังกร ราคา 100 รูปีต่อ 250 กรัมหรือกิโลกรัมละ 400 รูปีหรือ 172 บาท และมาแรงสุดตอนนี้ก็คือ ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ของไทยนั่นเอง วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตราคากิโลกรัมละ 1,500 รูปีหรือ 645 บาท

สำหรับทุเรียนซึ่งเป็นผลไม้ที่คนอินเดียไม่รู้จักคุ้นเคยสักเท่าไหร่ เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วแทบจะไม่เห็นมีวางขายในอินเดียเลย จะพบก็แต่ในอินเดียทางตอนใต้โดยเฉพาะที่รัฐเกรละ ที่มีทุเรียนวางขายอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว สืบสาวราวเรื่องก็ได้ทราบว่าคนอินเดียจากรัฐเกรละไปทำงานอยู่ต่างประเทศมากที่สุด โดยบางส่วนก็จะทำงานอยู่ในตะวันออกกลาง สิงคโปร์ และมาเลเซีย เพราะฉะนั้นคนอินเดียในรัฐนี้ก็จะรู้จักและรับประทานทุเรียนเป็น แต่ในปัจจุบันพบว่าซูเปอร์มาร์เก็ตที่เมืองมุมไบมีการนำทุเรียนไปขายแล้ว ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าส่งเสริมให้คนอินเดียรับประทานทุเรียนให้มากขึ้น สาเหตุสำคัญที่คนอินเดียรับประทานทุเรียนเป็น นอกเหนือจากการที่เคยไปทำงานในต่างประเทศโดยเฉพาะที่สิงคโปร์และมาเลเซียแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งก็น่าจะมาจากการที่คนอินเดียนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยกันมากขึ้นทุกปี โดยในปี 2562 ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็พบว่ามีคนอินเดียเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยสูงถึง 1.98 ล้านคนเลยทีเดียว คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยในแต่ละปี 

จริง ๆ แล้ว อินเดียเป็นประเทศที่สามารถผลิตผักและผลไม้ได้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยสามารถผลิตผลไม้ได้ประมาณปีละ 80 ล้านตัน อาทิ กล้วย มะม่วง องุ่น ส้ม ทับทิม ฝรั่ง มะละกอ แตงโม และ สับปะรด โดยรัฐที่มีพื้นที่เพาะปลูกผลไม้มาก (มีสัดส่วนรวมกัน 60% ของพื้นที่ปลูกผลไม้ทั้งหมด) ได้แก่ อานธรประเทศ มหาราษฏระ คุชราต ทมิฬนาฑู กรณาฏกะ มัธยประเทศ และ เกรละ ตามลำดับ โดยรัฐบาลมีแผนที่จะผลักดันให้มีการส่งออกด้วย โดยเฉพาะองุ่นและมะม่วง โดยตลาดส่งออกสำคัญของอินเดีย ได้แก่ UAE อิหร่าน โอมาน ซาอุดิอารเบีย การ์ต้า คูเวต และ อิรัก รวมถึงอีกหลายประเทศในยุโรป

ทั้งนี้ จากการศึกษาของ Food and Agribusiness Strategic Advisory & Research และธนาคาร YES BANK ของอินเดียพบว่าผลไม้หลายชนิดประสบภาวะขาดตลาดซึ่งรัฐบาลอินเดียกำลังพยายามเชื่อมโยงการค้าระหว่างรัฐที่มีสินค้าขาดและเกินเพื่อแลกเปลี่ยนผลผลิตซึ่งกันและกัน อาทิ รัฐคุชราตมีมะละกอ กล้วยและส้ม แต่ยังขาดแคลนฝรั่ง รัฐมหาราชฏระมีองุ่น ทับทิม มะม่วงและส้ม แต่ยังขาดสับปะรด ในขณะที่ รัฐกัวขาดแคลนส้ม รัฐทมิฬนาฑูและรัฐเกรละขาดแคลนองุ่น เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันรัฐบาลอินเดียกำลังเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการจัดเก็บสินค้าเน่าเสียง่าย และการขนส่งทางรางเพื่อสินค้าเกษตร (Kisan Rail) ที่ได้เริ่มโครงการดังกล่าวตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เพื่อลดความสูญเสียและรักษาความสดของสินค้าในราคาที่ SMEs สามารถใช้บริการได้ โดยจะไม่จำกัดปริมาณขั้นต่ำในการจัดส่งและหากมีการเน่าเสียก็มีการจ่ายชดเชยให้ด้วย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการนำผลไม้ที่ผลิตได้มหาศาลนี้ไปแปรรูปด้วย ทั้งนี้ ระบบการจัดเก็บและแปรรูปผลไม้ในอินเดียยังคงต้องมีการพัฒนาอีกมากซึ่งถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งของนักลงทุนต่างชาติเช่นกัน โดยเฉพาะการสูญเสียของผักและผลไม้ที่มีสูงสุดถึง 18% ของผลผลิตและมีสัดส่วนในการนำไปแปรรูปเพียง 2% เท่านั้น

ในขณะเดียวกัน อินเดียก็กำลังส่งเสริมให้มีการผลิตผลไม้ทดแทนการนำเข้าเพื่อลดราคาในตลาดและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยในขณะนี้ได้มีการทดลองปลูกแล้วในรัฐเกรละ (Kerala) โดยเฉพาะในเขตอำเภอ Wayanad และ Idukki ได้แก่ ผลไม้ประเภทเงาะ มังคุด ลิ้นจี่ ขนุน อโวคาโด และ โกโก้ รวมถึงสตรอเบอรรี่ โดยรัฐบาลมีงบประมาณมาอุดหนุนให้ประมาณ 1,800 บาทต่อไร่ และในปี 2564 คาดว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกที่จะเข้าร่วมโครงการประมาณ 4,375 ไร่ ซึ่งรัฐบาลจะจัดหาต้นพันธุ์และวัสดุต่าง ๆ ที่มีคุณภาพให้แก่เกษตรกรด้วย นอกจากรัฐเกรละแล้ว รัฐบาลจะส่งเสริมการเพาะปลูกผลไม้เหล่านี้ในรัฐกรณาฏกะ มหาราชฎระ และทมิฬนาฑู ทั้งนี้ มีบางพื้นที่ที่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยเฉพาะเงาะ ซึ่งปัจจุบันมีราคาขายปลีกอยู่ที่ 65 บาท/กก. โดยเป็นเงาะสายพันธุ์จากมาเลเซีย (ปูลาซัน) ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้นานกว่าเงาะสายพันธุ์อื่น

แต่อินเดียยังคงมีความต้องการนำเข้าผลไม้ต่างชาติที่มีความแปลกใหม่ (Exotic Fruits) โดยในปัจจุบันมีแอปเปิ้ลและสตรอเบอรี่เป็นผลไม้นำเข้าหลักในสัดส่วนประมาณ 60% นอกจากนี้จะเป็นผลไม้ประเภทลูกแพร์ บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ แบล็คเบอรี่ เชอรี่ กีวี อโวคาโด และผลไม้เมืองร้อนต่าง ๆ โดยแหล่งนำเข้าหลักได้แก่ อิหร่าน ชิลี นิวซีแลนด์ เวียดนาม ไทย UAE บังกลาเทศ กรีซ อิตาลี และ เนเธอร์แลนด์

สำหรับการนำเข้าผลไม้สดจากประเทศไทยในปี 2563 คิดเป็นมูลค่า 98.29 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 26.61% เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยผลไม้ไทยที่อินเดียนำเข้า โดยเฉพาะเงาะ มีการขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าแม้จะประสบกับวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ตาม เช่นเดียวกับทับทิมและมะขาม อย่างไรก็ตามการส่งออกลำไย ทุเรียน ส้ม มังคุด และ มะม่วง ลดลงจากปีก่อนหน้า ในขณะเดียวกันพบว่าปัจจุบันอินเดียเริ่มนำเข้าผลไม้จากเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ผู้ส่งออกไทยสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีได้ โดยภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA) มีผลไม้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจำนวน 8 ชนิด คือ มังคุด มะม่วง องุ่น แอปเปิ้ล ทุเรียน เงาะ ลำไย และทับทิม และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ที่มีผลไม้ได้รับการยกเว้นภาษีมากกว่า 20 ชนิด เช่น กล้วย สับปะรด ฝรั่ง ส้ม แตงโม มะละกอ มะนาว เชอร์รี่ อินทผลัม ลูกพีช ลูกแพร และน้อยหน่า

มาถึงจุดนี้ก็คงจะพอเห็นภาพนะครับว่าอินเดียเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้สด แต่ที่ยังคงมีการนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยก็เพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคอินเดียระดับเศรษฐีที่ต้องการบริโภคผลไม้ต่างชาติที่มีความแปลกใหม่หรือ Exotic Fruits แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าผลไม้ที่ผลิตภายในประเทศหลายเท่าตัวก็ตาม ซึ่งการที่ผลไม้ไทยถูกนำเข้าไปและขายในราคาที่สูงเกินไปก็ไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะดีอกดีใจ เพราะราคาขายปลีกที่สูงขนาดนั้นเป็นผลมาจากต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์และระบบห้องเย็นที่ยังไม่มีประสิทธิภาพของอินเดีย ในขณะที่เกษตรกรและผู้ส่งออกไทยก็ยังคงส่งออกผลไม้ไทยไปอินเดียในราคาปกติโดยไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากราคาขายปลีกที่สูงเกินไปขนาดนั้น แถมยังทำให้ตลาดสำหรับผลไม้ไทยในอินเดียกระจุกตัวอยู่แต่ในกลุ่มเศรษฐีอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นถ้าสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์และระบบห้องเย็นในอินเดียได้ ก็น่าจะทำให้ผลไม้ไทยค่อย ๆ ปลดตัวเองจากตำแหน่ง “ผลไม้เศรษฐี” มาเป็นผลไม้สำหรับทุกคนในอินเดียได้ ซึ่งก็น่าจะทำให้ตลาดผลไม้ไทยในอินเดียขยายตัวได้มากกว่านี้อีกหลายเท่า


ข้อมูลอ้างอิง 
ขอขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครมุมไบ ประเทศอินเดีย


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

Operation Ranch Hand ปฏิบัติการ ‘ฝนเหลือง’ อาวุธเคมีของกองทัพสหรัฐฯ สู่สมรภูมิในเวียดนามใต้ ที่มากที่สุดในโลก    

สงครามเวียดนาม แม้จะจบลงไปแล้ว 46 ปีก็ตาม แต่เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ได้จบตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่นเรื่องที่จะเล่าในครั้งนี้ คือ เรื่องของ “ฝนเหลือง (Agent Orange)” ซึ่งเป็นสารเคมีที่กองทัพสหรัฐฯ นำมาใช้ในสงครามเวียดนามด้วย และยังคงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของเวียดนามจนทุกวันนี้ ด้วยมีผู้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับฝนเหลืองมากมาย จึงขอเขียนเรื่องราวโดยรวมและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบ้านเราครับ

ฝนเหลือง (Agent Orange) เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีความเข้มข้นสูงที่กองกำลังสหรัฐฯ ใช้ในช่วงสงครามเวียดนามเพื่อกำจัด ต้นไม้ และวัชพืช ซึ่งปกคลุมป่า อันเป็นที่ซ่อนและซ่องสุมกำลังของกองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกง โดยมีชื่อรหัสปฏิบัติการว่า Operation Ranch Hand กองกำลังสหรัฐฯ ได้โปรยพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชหลายชนิดมากกว่า 20 ล้านแกลลอนทางอากาศใน เวียดนามใต้ กัมพูชา และลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2514

Agent Orange ซึ่งมีสารเคมีประเภท Dioxin ซึ่งมีความร้ายแรง และเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ใช้กันมากที่สุด ในเวลาต่อมาได้รับการพิสูจน์แล้วว่าก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ซึ่งรวมถึง โรคมะเร็ง ความพิการ และปัญหาทางด้านจิตใจและระบบประสาทที่รุนแรงในหมู่ชาวเวียดนาม รวมถึงในกลุ่มทหารที่กลับมาสหรัฐฯ รวมถึงครอบครัวของทหารเหล่านั้นด้วย

ถังบรรจุ Agent Orange

สารกำจัดวัชพืชที่ใช้โปรยพ่น มีความเข้มข้นสูงกว่าที่ใช้ในการเกษตรทั่วไปถึงราว 50 เท่า สารกำจัดวัชพืชที่ใช้บ่อยที่สุดคือ Herbicide Orange หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Agent Orange เป็นส่วนผสม 50 : 50 ของสารเคมีกำจัดวัชพืช 2 ชนิด 2,4 -D (2,4-Dichlorophenoxyacetic acid) และ 2,4,5-T (2,4,5-Trichlorophenoxyacetic acid) ผลิตตามคำสั่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา โดย Monsanto Corporation และ Dow Chemical เป็นหลัก สารกำจัดวัชพืชใน Operation Ranch Hand ใช้การกำหนดด้วยรหัสสี และที่พบมากที่สุดคือ Agent Blue (กรด Cacodylic) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับพืชอาหาร และ Agent White ซึ่งมักใช้เมื่อ Agent Orange ไม่พร้อมใช้งาน

แผนที่แสดงเส้นทางการบินโปรยพ่น Agent Orange

Operation Ranch Hand เป็นปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯโดยการโปรยสารกำจัดวัชพืชทางอากาศในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) ถึง พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยได้รับแนวคิดจากการที่กองทัพอังกฤษใช้สาร 2,4,5-T และ 2,4-D (Agent Orange) ในช่วงภาวะฉุกเฉินในมาลายาในปี พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสงครามกำจัดวัชพืชโดยรวมในช่วงสงครามที่เรียกว่า "Operation Trail Dust" เป็นการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชประมาณ 20 ล้านแกลลอน (76,000 ลบ.ม.) ในพื้นที่ชนบทของเวียดนามใต้ เพื่อพยายามกำจัดแหล่งอาหารและพืชผลของเวียดกง รวมทั้งพื้นที่ในลาว และกัมพูชา ก็ถูกพ่นด้วยในปริมาณที่น้อยกว่า มีการบินโปรยสารเกือบ 20,000 เที่ยว ในช่วงสิบปีของการบินโปรยพ่นในพื้นที่ป่ากว่า 5 ล้านเอเคอร์ (20,000 ตร.กม.) และไร่นาอีก 500,000 เอเคอร์ (2,000 ตร.กม. ) ซึ่งได้รับความเสียหาย หรือถูกทำลายอย่างหนัก ป่าไม้ของเวียดนามใต้ราว 20% ถูกโปรยพ่นอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

หมู่บินของเครื่องบินลำเลียงแบบ C-123 นามเรียกขานว่า "Hades" ขณะทำการบินโปรยพ่น Agent Orange

สารเคมีกำจัดวัชพืชถูกโปรยพ่นโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่ด้วยเครื่องบินลำเลียงแบบ C-123 โดยใช้นามเรียกขานว่า "Hades" เครื่องบินจะติดตั้งถังสเปรย์ที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีความจุสารเคมีกำจัดวัชพืช 1,000 แกลลอน (4 ลบ.ม.) เครื่องบินลำหนึ่งพ่นพื้นที่กว้าง 80 เมตร และยาว 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) ในเวลาประมาณ 4½ นาทีในอัตรา 3 แกลลอนสหรัฐฯ (3.785 ลิตร) ต่อเอเคอร์ (3 ลบ.ม. / ตร.กม. ) การบินเรียงลำดับประกอบด้วยเครื่องบินสามถึงห้าลำที่บินเคียงกัน 95% ของสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ในสงครามถูกฉีดพ่นโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Operation Ranch Hand ส่วนที่เหลืออีก 5% ได้รับการฉีดพ่นโดย US Chemical Corps และกองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม โดยใช้เครื่องพ่นสารเคมี รถสเปรย์ เฮลิคอปเตอร์ และเรือ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปฏิบัติงานทางทหารของสหรัฐฯ

หมู่บินของเครื่องบินลำเลียงแบบ C-123 นามเรียกขานว่า "Hades" ขณะทำการบินโปรยพ่น Agent Orange

Operation Ranch Hand หน่วยปฏิบัติตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Bien Hoa (พ.ศ. 2509-2513) สำหรับปฏิบัติการในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงบริเวณที่เรือลาดตระเวนของกองทัพเรือสหรัฐฯ เสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากพื้นที่พงป่าริมฝั่งน้ำ พื้นที่จัดเก็บ การผสม การบรรทุก และการล้างทำความสะอาด และทางลาดจอดรถตั้งอยู่ไม่ไกลจากฐานด้านในของทางเดินระหว่างทางระบายสินค้าและหอบังคับการบิน 

สำหรับการปฏิบัติการตามชายฝั่งตอนกลาง และพื้นที่เส้นทางโฮจิมินห์ (Ho Chin Minh Trail) Operation Ranch Hand ได้ปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศ Da Nang (พ.ศ. 2507–2514) ส่วนฐานปฏิบัติการอื่น ๆ ได้แก่ ฐานทัพอากาศ PhùCát (พ.ศ. 2511-2513) ฐานทัพอากาศ Tan Son Nhut (พ.ศ. 2505–2509) ฐานทัพอากาศ Nha Trang (พ.ศ. 2511–2512) ฐานทัพอากาศ Phan Rang (พ.ศ. 2513–2515) และฐานทัพอากาศ Tuy Hoa (พ.ศ. 2514–2515) ฐานทัพอากาศอื่น ๆ ยังใช้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการชั่วคราว สำหรับ Operation Ranch Hand ฐานทัพอากาศ Da Nang, Bien Hoa และ Phu Cat ยังคงมีการปนเปื้อนสารเคมีประเภท Dioxin จากสารเคมีกำจัดวัชพืชอย่างมาก และได้รับการจัดให้อยู่ในลำดับความสำคัญในการกันเขต และการทำความสะอาดโดยรัฐบาลเวียดนามจนปัจจุบัน

การโปรยพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชทางอากาศครั้งแรก เป็นการทดลองในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ในหมู่บ้านทางเหนือของอำเภอ Đắk Tô (เขตชนบทของจังหวัด Kon Tum ในภาคกลางของเวียดนาม) ด้วยสารเคมีกำจัดใบไม้ การทดสอบยังคงดำเนินต่อไปในปีต่อมา และแม้ว่าจะมีข้อสงสัยของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม และทำเนียบขาวเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดวัชพืช แต่ Operation Ranch Hand ก็เริ่มขึ้นในต้นปี พ.ศ. 2505 การบินโปรยพ่นจะต้องได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดี John F. Kennedy จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2505 เมื่อประธานาธิบดี Kennedy ให้อำนาจในการอนุมัติการโปรยพ่นส่วนใหญ่ไปยังหน่วยความช่วยเหลือทางทหาร กองบัญชาการทหารสหรัฐฯในเวียดนาม และเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเวียดนามใต้ Operation Ranch Hand ได้รับการอนุมัติขั้นสุดท้ายให้ทำการบินโปรยพ่นเป้าหมายในลาวทางตะวันออกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2508 

Dean Rusk รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กับประธานาธิบดี John F. Kennedy

ประเด็นที่จะอนุญาตให้ทำลายพืชผลได้หรือไม่นั้น มีการถกเถียงกันอย่างหนักเนื่องจากอาจละเมิดพิธีสารเจนีวา (Geneva Protocol) อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่อเมริกันชี้ให้เห็นว่า ก่อนหน้านี้อังกฤษเคยใช้ 2,4,5-T และ 2,4-D (แทบจะเหมือนกับที่กองทัพอเมริกันใช้ในเวียดนาม) ในปริมาณมากตลอดช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินมาลายาในทศวรรษ 1950 เพื่อทำลายพุ่มไม้, พืชผล, และต้นไม้ เพื่อพยายามที่จะปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบคอมมิวนิสต์ด้วยการทำลายที่กำบังที่ใช้ซุ่มโจมตีขบวนรถที่ผ่านมา 

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ Dean Rusk กล่าวกับประธานาธิบดี Kennedy เมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ว่า “การใช้ยาละลายน้ำแข็งไม่ได้ละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทำสงครามเคมี และเป็นยุทธวิธีในการทำสงครามที่ได้รับการยอมรับ โดยอังกฤษในช่วงภาวะฉุกเฉินในแหลมมลายูโดยการใช้เครื่องบินด้วยการโปรยพ่นสารเคมีทำลายพืชผล

Ngo Dinh Diem ประธานาธิบดีเวียดนามใต้ เริ่มผลักดันให้เหล่าที่ปรึกษาทางทหารสหรัฐฯประจำเวียดนามใต้และทำเนียบขาว เริ่มทำการทำลายล้างการเพาะปลูกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2504 แต่ยังไม่ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2505 ทำเนียบขาวให้การอนุมัติสำหรับการทดสอบ Agent Blue กับพืชผลในพื้นที่ซึ่งเชื่อว่าถูกควบคุมโดยเวียดกง หลังจากนั้นไม่นานการโปรยพ่นสารเคมีทำลายพืชผลก็กลายเป็นส่วนสำคัญของ Operation Ranch Hand

เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธขณะโปรยพ่น Agent Orange

เป้าหมายสำหรับการฉีดพ่น ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดีเพื่อตอบสนองเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และปฏิบัติการทางจิตวิทยาของกองทัพสหรัฐฯ และเวียดนามใต้ มีการสำรวจเพื่อระบุพื้นที่เป้าหมาย จากนั้นจัดวางรายการลำดับความสำคัญ เนื่องจากระดับความสูงที่ต่ำ (150 ฟุต (46 ม.) จำเป็นสำหรับการบินโปรยพ่นของเครื่องบินลำเลียงแบบ C-123 จึงถูกนำมาโปรยพ่นโดยเครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธ เพื่อที่จะกราดยิงหรือทิ้งระเบิดในพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้เกิดการทำลายเป้าหมายบนภาคพื้นดิน หากพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งเชื่อกันว่า เป็น 'เป้าหมายที่มีความเร่งด่วน' มีการวางแผนการบินโปรยพ่นเพื่อให้สามารถบินเป็นเส้นตรงได้มากที่สุด เพื่อจำกัดระยะเวลาที่เครื่องบินซึ่งต้องบินในระดับความต่ำ ข้อมูลเกี่ยวกับการบินโปรยพ่น เป้าหมาย สารกำจัดวัชพืชที่ใช้ และปริมาณที่ใช้ สภาพอากาศ และรายละเอียดอื่น ๆ ได้รับการบันทึก และนำไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่เรียกว่า แถบบันทึก Herbicide Reporting System (HERBS)

สภาพป่าโกงกางที่ถูกโปรยพ่นด้วย Agent Orange

ประสิทธิผลของการบินโปรยพ่นมาจากองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมทั้ง สภาพอากาศ และภูมิประเทศ การบินโปรยพ่นเกิดขึ้นในช่วงเช้าตรู่ก่อนที่อุณหภูมิจะสูงกว่า 85 องศา และลมพัดแรง ป่าโกงกางในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำต้องการการบินโปรยพ่นเพียงครั้งเดียว และไม่สามารถอยู่รอดได้เมื่อมีการผลัดใบ ในขณะที่ป่าทึบในพื้นที่สูงต้องใช้การบินโปรยพ่นอย่างน้อยสองครั้ง ภายในสองถึงสามสัปดาห์ของการบินโปรยพ่น ใบจะร่วงหล่นจากต้นไม้ ซึ่งจะยังคงไร้ใบจนถึงฤดูฝนถัดไป เพื่อที่จะทำให้ป่าไม้ลดลง จำเป็นต้องมีการบินโปรยพ่น และติดตามผลอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ต้นไม้ที่ถูกโปรยพ่นประมาณร้อยละ 10 ตายจากการบินโปรยพ่นเพียงครั้งเดียว การบินโปรยพ่นหลาย ๆ ครั้ง ส่งผลให้ต้นไม้ตายเพิ่มขึ้น ดังที่การติดตามภารกิจกำจัดวัชพืชด้วยการทิ้งระเบิดนาปาล์ม (ระเบิดเพลิง) หรือการวางระเบิดทำลาย

ปฏิกิริยาของชุมชนทางวิทยาศาสตร์ การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในสงครามเวียดนามเป็นที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการโปรยพ่นสารเคมีทำลายพืช ชุมชนวิทยาศาสตร์เริ่มประท้วงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในเวียดนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 เมื่อสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกันคัดค้านการใช้สารกำจัดวัชพืช หรือ American Association for the Advancement of Science (AAAS) ได้ออกมติในปี พ.ศ. 2509 เรียกร้องให้มีการตรวจสอบโครงการกำจัดวัชพืชในเวียดนามใต้ในภาคสนาม ในปี พ.ศ. 2510 ผู้ได้รับรางวัลโนเบล 17 คน และนักวิทยาศาสตร์อีก 5,000 คนลงนามในคำร้องเพื่อขอให้ยุติการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในเวียดนามใต้โดยทันที มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960

สหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน

ในปี 1970 AAAS ได้ส่งทีมนักวิทยาศาสตร์ - คณะกรรมการประเมินสารกำจัดวัชพืช (HAC) ซึ่งประกอบด้วย Matthew Meselson, Arthur Westing, John Constable และ Robert Cook ไปทำการทดสอบภาคสนามเกี่ยวกับผลกระทบทางนิเวศวิทยาของโครงการกำจัดวัชพืชในเวียดนาม รายงานในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) ที่เขียนโดย K. Diane Courtney และคณะพบว่า 2,4,5-T อาจทำให้เกิดความผิดปกติและข้อบกพร่องของการคลอดในหนูได้ การศึกษาและการติดตามผลนี้ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ จำกัด การใช้ 2,4,5-T ในสหรัฐอเมริกาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ตามด้วยกระทรวงกลาโหมฯระงับการใช้ Agent Orange ในเวียดนามใต้เป็นการชั่วคราว แม้ว่าพวกเขาจะยังคงพึ่งพา Agent White จนกระทั่งอุปกรณ์หมด และการฉีดพ่นสำหรับการกำจัดใบครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 การทำลายพืชผลแบบประปรายโดยใช้ Agent Blue และ Agent White ดำเนินต่อไปตลอดปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) จนกระทั่งครั้งสุดท้ายของ Operation Ranch Hand เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2514 

ชาวเวียดนามราว 150,000 คน ที่พิการแต่กำเนิด ต้องเผชิญและทนทุกข์ทรมาน จากผลกระทบของสารเคมีต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้

ผลกระทบต่อมนุษย์ การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมีผลในการทำลายล้างในระยะยาวต่อผู้คนในเวียดนามรวมถึงดินแดนและระบบนิเวศ รวมถึงผู้ที่อพยพจากพื้นที่ที่มีการโปรยพ่น Agent Orange จำนวนมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ตามรายงานของรัฐบาลเวียดนามเปิดเผยว่า ชาวเวียดนามราว 4.8 ล้านคนได้รับผลจาก Agent Orange ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 400,000 คน เนื่องจากโรคมะเร็ง และโรคอื่น ๆ 

การศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในภายหลังระบุว่า การประมาณการก่อนหน้านี้ของการได้รับสาร Agent Orange มีความเอนเอียงจากการแทรกแซงของรัฐบาล และการคาดเดาที่ต่ำเกินไป ซึ่งทำให้การประมาณการในปัจจุบันสำหรับการล่อยสาร Dioxin นั้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เกือบสองเท่า ข้อมูลการจากสำรวจสำมะโนประชากรระบุว่า กองทัพสหรัฐฯ ได้โปรยพ่นใส่ชาวเวียดนามหลายล้านคนโดยตรงระหว่างการใช้งาน Agent Orange ประชาชนเวียดนามได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคต่าง ๆ 

ผลกระทบต่อมนุษย์ การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมีผลต่อการทำลายล้างในระยะยาว และต่อผู้คนในเวียดนามรวมถึงพื้นดินและระบบนิเวศน์ รวมถึงผู้ที่อพยพจากพื้นที่ที่มีการโปรยพ่น Agent Orange จำนวนมาก ตามรายงานของรัฐบาลเวียดนามเปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ชาวเวียดนามราว 4.8 ล้านคนได้รับผลจาก Agent Orange ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 400,000 คน อันเนื่องมาจากโรคมะเร็ง และโรคอื่น ๆ การศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในภายหลังระบุว่า การประมาณการก่อนหน้านี้ของการได้รับสาร Agent Orange มีความเอนเอียงจากการแทรกแซงของรัฐบาลฯ และการคาดเดาที่ต่ำเกินไป ซึ่งทำให้การประมาณการในปัจจุบันสำหรับการล่อยสาร Dioxin นั้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เกือบสองเท่า ข้อมูลการจากสำรวจสำมะโนประชากรระบุว่า กองทัพสหรัฐฯได้โปรยพ่นใส่ชาวเวียดนามโดยตรงระหว่างการใช้งาน Agent Orange เป็นจำนวนหลายล้านคน ประชาชนเวียดนามได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคต่าง ๆ โดยมีชาวเวียดนามราว 3  ล้านคนที่ประสบปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วย และพิการ ฯลฯ อันเกิดจากการสัมผัสกับ Agent Orange โดยตรง และ 24% ของพื้นที่ของประเทศเวียดนามถูกทำลาย นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯในการจัดการสารเคมีดังกล่าวข้างต้น รวมถึงผู้ที่เกิดในและรอบ ๆ พื้นที่โปรยพ่น Agent Orange เป้าหมายจำนวนมากตลอดช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งทำให้มีผลต่อประชาชนเวียดนามอย่างน้อย 2.8 ล้านคน  และเด็ก ๆ ลูกหลานของพวกเขาอีกราว 150,000 คนต้องพิการแต่กำเนิด ต้องเผชิญ และทนทุกข์ทรมานจากผลกระทบของสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งถูกนำมาใช้ใน Operation Ranch Hand


ชาวเวียดนามราว 150,000 คนที่พิการแต่กำเนิด ต้องเผชิญ และทนทุกข์ทรมานจากผลกระทบของสารเคมีต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้

โครงการกำจัด Agent Orange ปนเปื้อนที่สนามบิน Da Nang

United States Agency for International Development หรือ USAID แถลงว่า โครงการกำจัด Agent Orange ปนเปื้อนที่สนามบิน Da Nang เสร็จสิ้นเมื่อเดือน พ.ย. พ.ศ. 2561 ต่อเนื่องตามด้วยโครงการกำจัด  Agent Orange ที่สนามบิน Bien Hoa เวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ปนเปื้อน Agent Orange มากที่สุดในประเทศเวียดนาม โดยเป็นโครงการระยะ 10 ปี งบประมาณ 183 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5,700 ล้านบาท สนามบิน Bien Hoa อยู่นอกนครโฮจิมินห์ เป็นพื้นที่ที่มีสาร Agent Orange ปนเปื้อนมากที่สุดในประเทศเวียดนาม ปนเปื้อนดิน และไหลซึมลงแม่น้ำใกล้เคียงหลายแห่งตรวจพบ Agent Orange ปนเปื้อนมากกว่า 4 เท่าของปริมาณที่พบที่สนามบิน Da Nang 

ส่วนในสหรัฐฯ นั้น ทบวงกิจการทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ ประมาณการว่า ทหารอเมริกัน จำนวน 2.8 ล้านคน ที่เคยไปปฏิบัติการ หรือ เหยียบแผ่นดินเวียดนาม ระหว่างปี พ.ศ. 2505-2518 ล้วนมีโอกาสได้สัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดใบไม้ กระทรวงฯ ได้ระบุอาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการได้รับผลกระทบเอาไว้ส่วนหนึ่ง และถ้าหากทหารผ่านศึกคนใดมีอาการต่าง ๆ เหล่านั้น ก็จะสามารถขอรับการรักษาพยาบาลเป็นสวัสดิการจากรัฐได้ ซึ่งจำนวนผู้ที่เข้าขอรับการช่วยเหลือมีเพิ่มขึ้นทุกปี ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ ได้จ่ายชดเชยให้ทหารผ่านศึกชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมี แต่ไม่ได้จ่ายชดเชยให้กับฝ่ายเวียดนามแต่อย่างใด

ป้ายแสดงที่ระลึกโครงการกำจัด Agent Orange ปนเปื้อนที่สนามบิน Da Nang

Agent Orange ได้รับการทดสอบโดยหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยในช่วงสงครามเวียตนาม ในปี พ.ศ. 2542 คลองที่ถูกกลบได้ถูกขุดออก และพบถังบรรจุสารเคมี ซึ่งได้รับการยืนยันว่าเป็น Agent Orange คนงานที่ขุดเปิดคลองนั้นล้มป่วยขณะปรับปรุงพื้นที่สนามบินบ่อฝ้ายใกล้อำเภอหัวหินทางใต้ของกรุงเทพฯราว 100 กม. ทหารผ่านศึกชาวไทยที่เข้าร่วมสงครามเวียตนามระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ถึง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 อาจได้รับสารเคมีกำจัดวัชพืช และอาจมีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์จากทบวงกิจการทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ รายงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่ไม่ได้รับการจัดประเภทชั้นความลับ ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2516 ชี้ให้เห็นว่ามีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอย่างมีนัยสำคัญรอบ ๆ ฐานทัพที่มีรั้วรอบขอบชิดในประเทศไทยเพื่อกำจัดใบไม้ที่อาจปิดบังการตรวจหากองกำลังฝ่ายศัตรู ในปี พ.ศ. 2556 ทบวงกิจการทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ ระบุว่า สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ในพื้นที่ฐานทัพในประเทศไทยอาจเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเชิงพาณิชย์ที่มีฤทธิ์คล้ายสารเคมีกำจัดวัชพืชทางยุทธวิธีที่ใช้ในสงครามเวียดนาม ทุกวันนี้ยังมีหลาย ๆ ประเทศสะสมอาวุธเคมีชีวะเพื่อใช้ทำสงครามอยู่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทเรียนจากเรื่องราวที่ผ่านมาจะทำให้โลกใบนี้ไม่ต้องประสบพบเจอกับเรื่องราวที่สุดจะเลวร้ายเช่นนี้อีก


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

ประจวบคีรีขันธ์ - ตำรวจประจวบฯ วางกำลังอุดช่องทางธรรมชาติ หลังพม่าหลายร้อยคนจ่อทะลักเข้าประเทศ

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ต.อ.นิรันดร ศิริสังข์ไชย รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด( รอง ผบก.)ประจวบคีรีขันธ์ นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองประจวบฯ สภ.คลองวาฬ สภ.อ่าวน้อย ร่วมกับเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานลาดตระเวนที่ช่องทางธรรมชาติชายแดนไทยพม่า พร้อมตั้งจุดตรวจสกัดบริเวณช่องทางเข้าออกจากแนวชายแดน ที่หมู่ 9 ต.เกาะหลัก อ.เมืองฯ สกัดกั้นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง หลังจากมีรายงานทางการข่าว ระบุว่า มีนายทุนพร้อมนำชาวพม่าหลายร้อยคนจากบ้านมูด่องตรงข้ามชายนแดนด่านสิงขร เดินเท้าผ่านช่องทางธรรมชาติเข้าประเทศ เพื่อไปขายแรงงานตามใบสั่งของนายทุนในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งใน จ.ประจวบฯและหลายจังหวัดทั่วประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรได้วางกำลังคุมเข้มช่องทางธรรมชาติที่ช่อง 10 ศพ หมู่ 3 บ้านหนองขาม ช่องทางธรรมชาติหุบตาหลี หมู่ 9 บ้านมะขามโพรง ต.เกาะหลัก อำเภอเมืองฯ หลังจากจับแรงงานเถื่อนหนีเข้าเมือง 11 ราย โดยใช้เส้นทางธรรมชาติเดินเท้าข้ามแดน ขณะเดียวกันพบว่าที่ช่องทางธรรมชาติมีเส้นทางหลบหลีกได้หลายเส้นทางและมีการขยายเส้นทางใหม่ ขณะที่การวางรั้วลวดหนาม 3 ชั้น การติดตั้งกล้องวงจรปิด การติดตั้งไฟส่องสว่างจากระบบโซล่าเซลล์ หรือมีการติดตั้งสัญญาณกันขโมย ไม่สามารถป้องกันปัญหาได้จริง

พ.ต.อ.นิรันดร กล่าวว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีความห่วงใยพื้นที่ตามแนวชายแดนจากปัญหาหลบหนีเข้า จึงเข้มงวดกวดขันเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจค้นจับกุมแรงงานต่างด้าวและกำชับห้ามเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือเรียกรับผลประโยชน์โดยเด็ดขาด ขณะนี้ได้มอบหมายให้ชุดสืบสวนภูธรจังหวัด สืบสวนหาข่าวกลุ่มนายหน้าขบวนการลักลอบขนแรงงานต่างด้าว อยู่ในระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน แต่ยอมรับว่ามีกลุ่มนายหน้าค้าแรงงานเถื่อนข้ามชาติเป็นขบวนการใหญ่ทั้งฝั่งไทย และพม่า สำหรับจุดหมายปลายทางที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม หากจะตัดตอนเพื่อแก้ไขปัญหา ต้องเป็นนโยบายของผู้บริหารในระดับสูง เนื่องจากโรงงานยังมีความต้องการใช้แรงงาน


ภาพ/ข่าว  นายนิพล ทองเก่า ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสยามโฟกัสไทม์ / 4เหล่าทัพ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อยุธยา - เร่งฉีดวัคซีนโควิด เข็มที่ 2 ให้บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ปฏิบัติงานด่านหน้า

วันที่ 28 พฤษภาคม 64 ที่ รพ.พระนครศรีอยุธยา บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้า เจ้าหน้าที่ตำรวจ และสื่อมวลชน ร่วมเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 รวมทั้ง 298 ราย ในภาคเช้า และในภาคบ่ายจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 152 นาย จะเข้ารับวัคซีนสำหรับเข็มที่ 1

สำหรับประชาชนกลุ่มผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 โรคเรื้อรัง จะเริ่มฉีดในวันที่ 7 มิย 64 กำหนดจะเริ่มฉีดวัคซีน (Astrazeneca) จำนวน 38,000 โดส ให้กับประชาชนที่ลงทะเบียนผ่าน “หมอพร้อม” และลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ฯแล้ว จำนวน 32,942 คนอย่างแน่นอน สำหรับส่วนเกินจากกลุ่มดังกล่าว จะพิจารณาจัดสรรให้กับกลุ่มองค์กรภาครัฐและภาคธุรกิจยุทธศาสตร์ ทั้งใน 16 อำเภอ เพื่อจะได้รับวัคซีนได้ครบตามเป้าหมาย พร้อมทั้งขอให้ทุกหน่วยเชิญชวนประชาชน ร่วมลงทะเบียนจองฉีดวัคซีน โดยการสแกน QR Code “อยุธยาพร้อม”

นายแพทย์พีระ อารีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวถึง ข้อห้ามสำหรับผู้ที่ไม่ควรรับวัคซีนคือ 1.ผู้ที่รับวัคซีนแล้วเกิดแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง ถึงขั้นช็อก แต่วัคซีนนี้เป็นวัคซีนใหม่ทุกคนจึงไม่อยู่ในข้อนี้ แต่ถ้าให้เข็มแรกแล้วแพ้รุนแรง เข็ม 2 ให้ไม่ได้แน่นอน ต้องเปลี่ยนชนิดวัคซีน รวมถึงผู้ที่รู้ว่าแพ้ส่วนประกอบในวัคซีน ก็ไม่สมควรให้ 2. ผู้ที่เจ็บป่วย มีไข้ หรือเป็นโรคปัจจุบันที่ต้องการการรักษา ผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรค และผู้ป่วยที่รักษา โดยเฉพาะนอนในโรงพยาบาล ก็ให้เลื่อนการฉีดไปก่อน จนกว่าทุกอย่างอยู่ในสภาพคงที่และกลับบ้านแล้ว จะเห็นว่าจะมีข้อห้ามเด็ดขาดน้อยมาก ดังนั้น ผู้ที่มีโรคประจำตัวและดูแลรักษาอยู่มีภาวะคงที่ ถึงจะกินยาประจำอยู่ ก็สามารถให้วัคซีนได้ เบาหวาน ความดัน ก็สามารถฉีดวัคซีนได้ ถ้ารักษาและดูแลอยู่ตลอดอยู่แล้ว ยกเว้นเสียแต่ความดันที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือเบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้มีน้ำตาลสูงมาก ขนาดมีอาการที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลก็ให้เลื่อนการฉีดไปก่อน


ภาพ/ข่าว  สุจินดา  อุ่นขาว รายงานจากอยุธยา

กระบี่ - ปชช.ต่อคิวยาว แห่รับของบริจาค สุดเศร้าของบริจาค มีจำกัด บางคนกลับด้วยความผิดหวัง

วันที่ 28 พ.ค.64 การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบการระบาดของไวรัสโควิด 19 ยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ ออนเซน แอนสปา ถ.นาเตย ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่ นายกฤชกร ศิลปวิสุทธิ์ปธ.กรรมการ บ.เอทีโคโค่ ฟรุ๊ต จำกัด พร้อมด้วยนายทวัฒพงษ์ หรือครูเดช บุญชิน ผู้บริหารออนเซนกระบี่ และกลุ่มเพื่อน ๆ ได้ร่วมกันแจกถุงยังชีพ สู้ภัยโควิด-19 ให้แก่ประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 235 ชุด โดยมีชาวบ้านที่ทราบข่าวมายืนเข้าแถวรอ ยาว กว่า 200 เมตร โดยมี จนท.มูลนิธิประชาสันติสุขกระบี่ มาช่วยเหลือตรวจวัดอุณภูมิ และแจกเจลล้างมือ ก่อนเข้ารับสิ่งของบริจาคทุกคน

นายทวัฒพงษ์ หรือครูเดช กล่าวว่า ทาง ออนเซนกระบี่ และเพื่อน ๆ ได้ร่วมกันเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิด 19 ขึ้น ตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่าน โดยทำข้าวกล่องบริจาค ซึ่งก็มีบรรดาผู้ใจบุญ และเพื่อน ๆ ได้ร่วมกันบริจาคสิ่งของและเงิน สมทุน จำนวนหนึ่ง โดยมีการทำขอ้าวกล่องแจกไปทั้งสิ้นกว่า 1 หมื่นกล่อง และในวันนี้ 28 พ.ค.ครบ 1 เดือนเศษ ทางออนเซนและกลุ่มเพื่อน ๆ ได้จัดชุดยังชีพแจก จำนวน 235 ชุด พร้อมกับปิดศูนย์ฯชั่วคราว และขอขอบคุณผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน จนทำให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นไปด้วยดี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีผู้ที่มารับของบริจาคบางคน ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ แต่มารับของบริจาคด้วย ทาง จนท.ไม่สามารถให้ได้ เนื่องจากของบริจาคมีจำนวนจำกัด จนท.ต้องจัดให้กับผู้ที่ลงทะเบียนไว้ก่อนทำให้ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ ต้องกลับไปด้วยความผิดหวัง เป็นภาพที่เห็นแล้วสุดที่จะน่าสงสาร


ภาพ/ข่าว  ณัฏฐพงษ์ ศรีปล้อง รายงาน

กก.1 บก.สส.สตม. รวบไอวอรี่โคสต์ หลบ Blacklist ค้าแข้งสโมสรดัง

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร.

มอบหมายให้ สตม.ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทย  หรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม. พร้อมด้วย พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชาติชาย ตันติวุฒิวร ผกก.1 บก.สส.สตม. ร่วมแถลงข่าวการจับกุม ดังนี้

เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.สส.สตม. ได้รับแจ้งจากสายลับว่า นายดิกโก้  (MR.DICKO ABOU) สัญชาติไอวอรี่โคสต์ หนังสือเดินทางไอวอรี่โคสต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นนักฟุตบอลอาชีพตำแหน่งศูนย์หน้าของสโมสรดังในไทยลีก 3 มีพฤติกรรมน่าสงสัยว่าเข้ามาในประเทศไทยโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522  กก.1 บก.สส.สตม. จึงได้นำข้อมูลดังกล่าวตรวจสอบในระบบ Biometrics จนทราบว่าบุคคลดังกล่าวพักอาศัยอยู่ที่คอนโดมิเนียมย่าน ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จว.นนทบุรี จึงได้ไปตรวจสอบยังสถานที่ดังกล่าวและเชิญตัวมาที่ กก.1 บก.สส.สตม. จากนั้นจึงได้นำตัวนายดิกโก้ อะบู (MR.DICKO ABOU) มาพิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบในระบบ E-Fingerprint และ BIOMETRICS ผลปรากฏว่าลายพิมพ์นิ้วมือตรงกับนายดิกโก้ (MR.DICKO) ซึ่งเคยถูก ตม.จว.สงขลา จับกุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2561 ในความผิดฐานเป็นบุคคลต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด (จำนวน 774 วัน) และเป็นบุคคลห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2561 จนถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2571

และจากการสอบถาม  นายดิกโก้ อะบู (MR.DICKO ABOU) ได้ให้การยอมรับว่า ตนเองเป็นบุคคลเดียวกับนายดิกโก้ (MR.DICKO) จริง โดยสาเหตุที่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้ เนื่องจากหลังจากถูกผลักดันกลับไปยังประเทศไอวอรี่โคสต์ แล้วได้ไปเพิ่มชื่อจากเดิม และเปลี่ยนปีเกิดจาก “ค.ศ.1992” เป็น “ค.ศ.1998” จากนั้นได้ไปขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่เพื่อหลบเลี่ยง Blacklist เข้ามาเป็นนักฟุตบอลอาชีพในสโมสรไทยลีก 3 โดยได้รับเงินเดือน 50,000 บาท กก.1 บก.สส.สตม. จึงได้ขออนุมัติ ผบก.สส.สตม. เพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยของนายดิกโก้ อะบู (MR.DICKO ABOU) เนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 12 (10) รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้เข้ามาในราอาณาจักร ตามมาตรา 16 นำตัวส่ง กก.3 บก.สส.สตม. เพื่อควบคุมรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายต่อไป

สตม. ขอเรียนให้ท่านทราบว่า สตม.มีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามการกระทำความผิดในด้านต่าง ๆ รวมถึงการเฝ้าระวังบุคคลทั้งสัญชาติไทยและสัญชาติอื่น ๆ ที่มีหมายจับและมีเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย หากประชาชนท่านใดพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด กรุณาแจ้งมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1178  หรือที่ www.immigration.go.th  จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

รวบหนุ่มจีน หลอกชาวสวนไทย ความเสียหายกว่า 3 ล้านบาท

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักในประเทศไทยกระทำความผิดกฎหมายและก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศหรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวกับคนไทยหรือต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด

ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.สมพงษ์  ชิงดวง ผบช.สตม., ,พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน  ไกรทอง รอง ผบช.สตม. , พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ ผบก.สส.สตม. , พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย รอง ผบก.สส.สตม. , พ.ต.อ.อภิมุข  กานตยากร รอง ผบก.สส.สตม. , พ.ต.อ.ณภัทรพงศ สุภาพร ผกก.ปอพ.บก.สส.สตม. ได้สั่งการให้ ว่าที่ พ.ต.ต.สิทธิมณ สร้อยภู่ระย้า เจ้าหน้าที่ ศปชก.สตม., ร.ต.อ.อดิศร บุญชุ่ม รอง สว.กก.ปอพ.บก.สส.สตม., ส.ต.ต.รดิศ สิทธิประศาสน์ ผบ.หมู่ กก.4.บก.สส.สตม.,ส.ต.ต.สืบสกุล สุขเสนีย์ ผบ.หมู่ กก.4.บก.สส.สตม. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศปชก.สตม. ร่วมทำการสืบสวนกรณีที่มีประชาชนที่ทำอาชีพเกษตรกรในภาคใต้ ได้ร้องเรียนมาที่กองบังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และศูนย์ปราบปรามคนร้ายข้ามชาติและเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ว่าได้มีชายชาวจีน ไม่ทราบชื่อนามสกุลที่แท้จริง ทราบเพียงแค่ชื่อ อาหม่า ได้เข้ามาทำการติดต่อชาวสวนในเขคพื้นที่ภาคใต้ โดยทำการติดต่อขอซื้อผลไม้และวัสดุที่ใช้ห่อหุ้มผลไม้สำหรับส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยอ้างว่าตนเป็นพ่อค้าจะนำผลไม้ส่งออกไปยังต่างประเทศต้องการจำนวนมาก ต่อมาได้มีชาวสวนได้หลงเชื่อและตกลงที่จะขายผลไม้และวัสดุในการห่อหุ้มผลไม้ ให้แก่คนร้ายที่ทราบชื่อเพียงว่าอาหม่า แต่ต่อมาปรากฏว่าเมื่อคนร้ายได้รับสินค้าแล้วกลับหายตัวไป ไม่สามารถติดต่อได้อีก จนทำให้มีชาวสวนหลายรายเดือนร้อน ซึ่งต่อมาทางเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้ทำการสืบสวนจนทราบว่า อาหม่า คือ MR.MA (ปกปิดชื่อนามสกุลจริง) และได้ทำการสืบสวนจนสามารถออกหมายจับคนร้ายได้ ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนทราบว่าคนร้ายได้ทำการหลบหนีจากพื้นที่ภาคใต้มาพักอยู่ในคอนโดแห่งหนึ่งย่านปทุมวัน กรุงเทพมหานคร จึงได้เข้าทำการตรวจสอบและทำการจับกุม

MR.MA (ปกปิดชื่อนามสกุลจริง) อายุ 56 ปี สัญชาติจีน  ตามหมายจับศาลแขวงนครศรีธรรมราชที่ จ. 46/2564 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2564 ข้อหา ฉ้อโกง

โดยจากการสืบสวนขยายผลทราบว่าผู้ต้องหารายนี้จะเข้าไปติดต่อทำการขอซื้อผลไม้จากชาวสวน โดยอ้างว่าจะนำส่งออกไปยังปะเทศจีน ซึ่งเมื่อได้รับสินค้าที่เป็นผลไม้และวัสดุที่นำมาใช้ในการห่อหุ้มผลไม้แล้ว ก็จะหลบหนีไป ซึ่งเบื้องต้นจากการตรวจสอบพบว่ามีผู้เสียหายหลายรายและความเสียหายกว่า 3 ล้านบาท

สตม. จึงขอเรียนให้ท่านทราบว่า สตม. มีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามการกระทำความผิดต่าง ๆ รวมทั้งการดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือ ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติ หากประชาชนท่านใดพบเบาะแสในการกระทำความผิด กรุณาแจ้งมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1178 หรือที่ www.immigration.go.th จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

เชียงใหม่ - สวพส. เผยแนวทางที่เหมาะสม ในการปลูกพืชผักคุณภาพบนพื้นที่สูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยว่า นางสาวเพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการสถาบัน ด้านการพัฒนา และ นายอิทธิพล โพธิ์ศรี นักวิชาการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืชของเกษตรกรบนพื้นที่สูง พบว่าพื้นที่สูงของประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคเหนือนั้นมีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศต่างจากพื้นที่ราบเป็นอย่างมาก โดยเป็นเทือกเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 500 ถึงมากกว่า 1,000 เมตร ทำให้มีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นและมีฝนตกชุก นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลและอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ประชาชนที่อยู่อาศัยบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ จึงมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก โดยในอดีตดำรงชีวิตอยู่ด้วยการทำไร่เลื่อนลอย และปลูกพืชเพียงไม่กี่ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพด และพืชผักท้องถิ่น เพื่อเป็นพืชอาหารเป็นหลัก ส่วนพืชรายได้มีน้อยมาก จึงเกิดปัญหาการปลูกฝิ่น ซึ่งเป็นพืชเสพติดที่สร้างปัญหาให้กับคนทั้งโลก

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงก่อตั้ง“โครงการหลวง” เพื่อส่งเสริมให้คนบนพื้นที่สูงปลูกพืชทดแทนฝิ่น โดยพืชส่วนใหญ่ที่ปลูกทดแทนฝิ่นเป็นพืชเมืองหนาว หากปลูกพืชผักเขตร้อนจะไม่สามารถแข่งขันทางการตลาดกับพื้นที่ราบได้ แต่ในอดีตพืชผักเขตหนาวเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทย เราขาดองค์ความรู้ว่าจะปลูกพืชผักอะไร วิธีการเพาะปลูกอย่างไร และยังไม่มีตลาด โครงการหลวงเป็นหน่วยงานหลักที่ได้วิจัย ส่งเสริม และสร้างตลาด จนทุกวันนี้เป็นที่รู้จัก มีการปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ต่อมารัฐบาลได้ตั้ง สวพส. ขึ้นเพื่อสนับสนุนงานโครงการหลวง และขยายผลสำเร็จไปพัฒนาพื้นที่สูงต่าง ๆ ปัจจุบันพืชพันธุ์ใหม่ ๆ และวิธีการเพาะปลูกที่ประณีตและปลอดภัย ได้รับการวิจัยและพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมแก่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง 

พืชผักกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง

พื้นที่สูงเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศ แม้ว่ามีความจำเป็นต้องส่งเสริมอาชีพ เพื่อพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งอาศัยอยู่มากกว่า 4,000 ชุมชน มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน ยังต้องคำนึงถึงการไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยและคุ้มค่าที่สุด และได้ผลตอบแทนเพียงพอต่อการดำรงชีวิต แต่ที่ผ่านมาพืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ใช้พื้นที่และแรงงานจำนวนมาก ถึงจะมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จึงเป็นสาเหตุของการบุกรุกป่า เกิดการเผาและปัญหาหมอกควัน พืชผักจึงสามารถตอบโจทย์ได้ดี เพราะมีความต้องการของตลาดสูง จึงสามารถสร้างอาชีพให้กับประชาชนได้กว้างขวาง การเพาะปลูกไม่มีปัญหาการเผา สามารถให้ผลตอบแทนสูงในพื้นที่จำกัดและได้ตลอดปี โดยเฉพาะเมื่อปลูกในระบบที่ประณีต จะยิ่งใช้พื้นที่และน้ำน้อยมาก ดังจะเห็นได้ชัดเจนในพื้นที่ดำเนินงานของ สวพส. หลายแห่ง เช่น น่าน เชียงใหม่ ตาก และแม่ฮ่องสอน ที่ปรับระบบเกษตรเป็นพืชผักและพืชอื่น ๆ ที่เหมาะสมแล้ว สามารถลดการบุกรุกป่า และการเผาได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งทำให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การผลิตพืชผักคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ความยั่งยืนของการประกอบอาชีพปลูกพืชผักนั้น คุณภาพของผลผลิต และวิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจากการที่โครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงจำนวนมาก ปลูกพืชผักเป็นอาชีพมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยในปีหนึ่ง ๆ มีผลิตผลที่ผ่านระบบบริหารจัดการด้านการตลาดรวมมากกว่า 25,552 ตัน มูลค่า ประมาณ  646 ล้านบาท โดยมีหลักการและแนวทางที่เหมาะสมในการปลูกพืชผักบนพื้นที่สูง ดังนี้ 

1. การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแปลงของเกษตรกร บนพื้นที่สูงพื้นที่ของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชัน ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ จึงต้องวางแผนการใช้พื้นที่ให้มีการทำการเกษตรที่หลากหลาย ตามความเหมาะสมและศักยภาพของพื้นที่ ควบคู่ไปกับการทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

2. การวางแผนการผลิตและตลาด ความสำเร็จของการทำการเกษตรคือเกษตรกรจะต้องสามารถขายผลผลิตได้และราคาเป็นธรรม การส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรในพื้นที่ดำเนินงานของสวพส. จะยึดหลักตลาดนำการผลิต หรือเป็นพืชหรือพันธุ์ใหม่ จะเริ่มส่งเสริมจากจำนวนที่ไม่มาก ควบคู่กับการสร้างตลาด สำหรับพืชผักเป็นพืชที่มีช่วงเวลาปลูกสั้น และต้องมีการวางแผนการผลิตและการตลาดให้สัมพันธ์กัน 

3. การเพาะปลูกภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย หรือ พืชผักที่ปลูกภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดี (GAP) หรือเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นจุดแข็งและเพิ่มโอกาสทางการตลาด โดยเฉพาะความตระหนักเรื่องสุขภาพ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน

4. การเลือกพันธุ์และผลิตต้นกล้าแบบประณีต ความแม่นยำของปริมาณผลิตผลและช่วงเวลาที่ตลาดต้องการ มาจากพื้นฐานสำคัญ คือ การผลิตต้นกล้าให้ได้ตรงตามพันธุ์ ปริมาณ และช่วงเวลา ซึ่งการผลิตต้นกล้าแบบประณีตในโรงเรือนเพาะกล้าโดยใช้วัสดุปลูกที่ดี ช่วยให้ได้ต้นกล้าที่มีคุณภาพ มีจำนวน และระยะเวลาที่แน่นอน รวมทั้งยังช่วยให้ใช้เมล็ดพืชผักพันธุ์ดีซึ่งมีราคาสูงได้อย่างคุ้มค่า 

5. โรงเรือน คือ หัวใจของคุณภาพและความปลอดภัย การปลูกผักในโรงเรือนช่วยลดผลกระทบจากสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนโดยเฉพาะบนพื้นที่สูง และยังใช้พื้นที่น้อยแต่ให้ผลตอบแทนที่สูงมากกว่าการปลูกนอกโรงเรือนประมาณ 2-5 เท่า สามารถควบคุมการผลิตได้ค่อนข้างแม่นยำและผลผลิตมีคุณภาพดี ช่วยลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตมากถึง 30-50 % ลดการใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชได้ร้อยละ 100 ควบคุมการใช้น้ำและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาเรื่องของสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้

6. การปลูกและดูแลรักษาอย่างประณีต โดยเริ่มจากการปลูกในโรงเรือน ใช้ต้นกล้าที่คุณภาพดีสม่ำเสมอ ปลูกอย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ทุกต้นมีพื้นที่และได้รับสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน ให้น้ำและปุ๋ยอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอด้วยการให้ปุ๋ยทางระบบการน้ำ และการดูแลและป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างใกล้ชิด สำหรับพืชผักใบส่วนใหญ่จะปลูกลงแปลง (ดิน) โดยตรง สำหรับผักผลบางชนิด เช่น พริกหวาน และมะเขือเทศ นิยมที่จะปลูกในวัสดุปลูก (Substrate culture)

7. การจัดการหลังเก็บเกี่ยวและการตลาดที่ดี นอกจากการผลิตในแปลงปลูกอย่างประณีตและปลอดภัยแล้ว ต้องมีการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังเก็บเกี่ยวที่ดี ทั้งการรวบรวมและการคัดคุณภาพของผลิตผลให้เป็นไปตามที่กำหนด การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งไปสู่ตลาด ซึ่งกระบวนการทั้งหมดต้องทำอย่างประณีตและรวดเร็ว เพื่อให้ผลิตผลถึงตลาดและผู้บริโภคด้วยคุณภาพดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยของผลผลิต โดยตรวจสารเคมีตกค้างทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เป็นระบบแบบนี้จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ เช่น โรงคัดบรรจุ ห้องเย็น ห้องวิเคราะห์สารเคมี หรือรถขนส่งผลผลิต ซึ่งเกษตรกรควรรวมกันเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ เพื่อให้รัฐสามารถให้สนับสนุนได้ง่าย รวมถึงการขอรับรองมาตรฐาน

“การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความใส่ใจและห่วงใยสุขภาพของผู้บริโภคในปัจุบันนี้  พืชผักจะเป็นอาหารอันดับแรก ๆ ที่มีความสำคัญ แต่เกษตรกรจะสามารถปลูกพืชผักเป็นอาชีพอย่างมั่นคงได้ ความปลอดภัยของผลิตผล และการเพาะปลูกแบบประณีต เป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด และความพร้อมสำหรับรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมและจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของกฏและกติกาการค้าต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ กล่าวส่งท้าย


ภาพ/ข่าว  นภาพร / เชียงใหม่

กรุงเทพฯ - ด้วยความห่วงใย ศาลเยาวชนฯ มอบเครื่องอุปโภคบริโภคและอุปกรณ์ป้องกันโรค ให้แก่กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 นางอโนชา ชีวิตโสภณ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง นางอุไรรัตน์ น้อยสุวรรณ นางวิรา ยากะจิ ณ พิกุล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง และคณะผู้พิพากษาสมทบ (โครงการติดตามด้วยความห่วงใย โดย ดร.นิลุบล ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานโครงการฯ และโครงการติดตามด้วยใจ

โดยนางณัฐา อินทวงศ์ คณะทำงานและผู้ประสานงาน) เป็นตัวแทนมอบเครื่องอุปโภคบริโภคและอุปกรณ์ป้องกันโรค ให้แก่กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยมี พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นผู้รับมอบ เพื่อส่งต่อให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนราธิวาส บ้านกรุณา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา บ้านปรานี บ้านสิรินธร และบ้านกาญจนา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด19 ณ โถงกลาง ชั้น 2 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง จตุจักร กรุงเทพฯ

ชลบุรี – สัตหีบพายุฝนพัดถล่ม หลังคาตลาดปลิว เสาไฟพังเสียหาย แม่ค้าลูกค้าวิ่งหนีตาย

จากกรณีช่วงเช้าของวันที่ 28 พ.ค. 64 ที่ผ่านมาได้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และคลื่นลมแรงครอบคลุมทุกพื้นที่ใน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ส่งผลให้หลังคาร้านค้าขายของสด ในตลาดเช้า อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ถูกแรงลมพัดจนหลังคาปลิวได้รับความเสียหาย และยังพบมีเสาไฟฟ้าหักโค่น 1 ต้น 

โดยล่าสุดนายสิทธิชัย เกียรติมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสัตหีบ ได้เข้ามาตรวจสอบและประสานให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมกับแจ้งไปยังเจ้าของพื้นที่ ฐานทัพเรือสัตหีบ กองทัพเรือ เข้ามาดูแลและซ่อมแซมเสาไฟฟ้าที่หักโค่น เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนที่จับจ่ายซื้อสินค้าภายในตลาดต่อไป ซึ่งชาวบ้านได้เล่าเหตุการณ์ว่า ขณะกำลังยืนขายของได้มีลมพายุมาจากทางทะเล ก่อนจะพัดหลังคาร้านค้าในตลาด หลายร้านปลิวไปทั่ว ก่อนที่จะไปเกี่ยวสายทำให้เสาไฟในตลาดหักโค่นอีก ซึ่งตอนนั้นแม่ค้าต่างพากันวิ่งหนีตาย

ซึ่งหลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศจะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในระยะนี้  สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรงดการเดินเรือ ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง อนึ่ง พายุไซโคลน “ยาอาส” (YAAS) บริเวณรัฐกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในระยะต่อไป


ภาพ/ข่าว  นิราช ทิพย์ศรี /นันทพล  ทิพย์ศรี  อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

สุโขทัย - ส.อบต หญิงน้ำใจงามควักงบส่วนตัวซื้อหน้ากากอนามัยแจกชาวบ้าน 2 หมู่บ้าน

ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่าที่ตำบลบ้านแก่งมีสมาชิก อบต ใจดีใช้งบประมาณส่วนตัวซื้อหน้ากากอนามัยมาแจกให้กับชาวบ้านถึงสองหมู่บ้านในตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จึงเดินทางไปยังสองหมู่บ้านดังกล่าว พบนางปัทมา สอนโต อายุ 57 ปี ซึ่งเป็นสมาชิก อบต. มา 8 ปีถึง 2 สมัย กำลังแจกหน้ากากอนามัยให้กับชาวบ้าน จากการสอบถามนางปัทมา สอนโต ทราบว่าตนเองเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง มาหลายสมัย จนเป็นที่รู้จักมักคุ้นและเป็นที่รักของพี่น้องในตำบลบ้านแก่ง

เนื่องจากตนเป็นคนที่ใส่ใจในการพัฒนาชุมชนและชอบช่วยเหลือชาวบ้าน สำหรับเรื่องการแจกหน้ากากอนามัยตนเองมองเห็นว่าขณะนี้จังหวัดสุโขทัยมีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019(โควิด19)เพิ่มขึ้น ตนจึงมีความคิดว่าอยากมีส่วนร่วมในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคดังกล่าวตนจึงใช้งบประมาณส่วนตัวซื้อหน้ากากอนามัยมาแจกให้ชาวบ้านสองหมู่บ้านคือหมู่บ้านป่าคาและหมู่บ้านห้วยหยวก ที่ตนเองเลือก 2 หมู่บ้านเนื่องจากอยู่ห่างไกลตัวเมืองประกอบกับชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ทำสวนไม่ค่อยได้มีเวลาเดินทางไปตัวเมืองบ่อยนักที่สำคัญไม่อยากให้ชาวบ้านออกเดินทางไปต่างพื้นที่เพื่อป้องกันตัวเองในเรื่องโรคโควิด-19 ด้วย โดยมีหน้ากากอนามัยที่ตนนำมาแจกมีจำนวน 350 กล่อง หรือจำนวน 17,500 ชิ้น ซึ่งเพียงพอต่อพี่น้องประชาชนแน่นอน


ภาพ/ข่าว  พงศ์เทพ สาคร สุโขทัย

ขอนแก่น - กกต.รับรอง “ธีระศักดิ์-พงศ์ธร-โกเมศ” นั่งนายกเล็กขอนแก่นแล้ว หลังมติรับรองเพิ่มเติมภายในระยะเวลา 60 วัน ตามกฎหมาย คาดสัปดาห์หน้าแถลงนโยบายต่อสภาพ และเดินหน้าทำงานเพื่อประชาชนทันที

เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่  28 พ.ค.2564ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มีหนังสือด่วนที่สุดแจ้งถึง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดขอนแก่น เรื่องการประกาศผลการเลือกตั้งเพิ่มเติมตามกรอบระยะเวลาการพิจาณาภายใน 60 วัน หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง เพื่อให้ กกต.ขอนแก่น ดำเนินการแจ้งทางจังหวัดและเทศบาลต่าง ๆ ได้รับทราบและดำเนินการตามระเบียบและข้อบังคับในด่านต่าง ๆ ต่อไปท่ามกลางความสนใจจากนักการเมือง ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นอย่างมาก เนื่องจากการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งเพิ่มเติมในรอบที่ 2 เป็นที่น่าจะตามองอย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ที่ต่างติดตามความคืบหน้าในการประกาศรับรองจาก กกต.มาอย่างต่อเนื่อง

โดยประกาศรับรองครั้งนี้มีการประกาศรับรอง นายกและสมาชิกสภาเทศบาลฯ ในส่วนที่เหลือ อาทิ นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธ์ เป็นนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น,นายพงศ์ธร  พิศาพิทักษ์กุล เป็นนายกเทศมนตรีตำบลพระลับ,นายโกเมศ  ฑีฆธนานนท์ เป็นนายกเทศมนตรีตำบลเมืองเก่า,นายชัชวาล ธีรภานุ เป็นนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเป็ด,นายบุญแสง พรนิคม เป็นนายกเทศมนตรีตำบลโนนสะอาด,นายพนม เย็นสบาย เป็นนายกเทศมนตรีตำบลม่วงหวาน,นายชัยดี  รัตนปรีดา เป็นนายกเทศมนตรีตำบลบ้านฝาง,นายฉิน วรปัญญาสถิต เป็นนายกเทศมนตรีตำบลภูเวียง และ นายเสาวฤทธิ์ คามกะสก เป็นนายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์ไชย

นายอภินันท์  จันทร์อุปละ ผอ.กกต.ขอนแก่น กล่าวว่า กกต.จะทำหนังสือแจ้งถึงจังหวัดและเทศบาลฯ ที่เกี่ยวข้องในการประกาศรับทราบถึงมติจาก กกต.กลาง ในการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามกรอบระยะเลา 60 วัน หลังเสร็จสิ้นวันเลือกตั้ง โดยที่เทศบาลฯแต่ละแห่งจะทำหนังสือถึงจังหวัดเพื่อจัดประชุมสภาครั้งแรกภายใน 15 วัน เพื่อเลือกประธานสภาเทศบาลและตำแหน่งอื่น ๆ สำหรับเทศบาลฯที่มีการรับรองครั้งแรกและไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ ส่วนเทศบาลฯที่มีการรับรองเพิ่มเติม โดยเฉพาะเทศบาลฯที่มีการรับรองนายกเทศมนตรีฯ สภาเทศบาลฯจะจัดกาประชุมเพื่อให้นายกเทศมนตรีได้แถลงนโยบายเพื่อรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน

สมุทรสงคราม - ศรชล.รับเรื่องร้องเรียนแจกจ่ายวัคซีนไม่เป็นธรรม จากชาวประมง

วันที่ 27 พ.ค.64 ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสมุทรสงคราม (ศรชล.จว.สส.) โดย นายชรัส บุญณสะ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสมุทรสงคราม/ผวจ.สมุทรสงคราม

(ผอ.ศรชล.จว.สส./ผวจ.สส.) พร้อมด้วย น.อ.นิคม  แจ่มยิ่ง รอง ผอ.ศรชล.จว.สส. และคณกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับเรื่องร้องเรียน จากสมาคมประสมุทรสงคราม, สมาคมประมงเรือลากคู่สมุทรสงคราม และสหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด กรณีไม่พอใจการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากกรมควบคุมโรคติดต่อ เพื่อจ่ายให้กับ จว.สส. ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงมาก เพราะอยู่ท่ามกลางระหว่างจังหวัดพื้นที่สีแดงและพื้นที่สีแดงเข้ม ทำให้โอกาสแพร่ระบาดโรคโควิด-19 มีโอกาสสูงมาก โดยตลาดปลาสหกรณ์แม่กลองเป็นตลาดกลางซื้อสัตว์น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ เปิดทำการซื้อขายสัตว์น้ำทุกวันจากชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด ซึ่ง จว.สส. ตามแผนที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จะได้รับวัคซีนมากสุดช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.64 โดยเกรงว่าจะไม่ทันกับการระบาดของโรคโควิด-19      

ผอ.ศรชล.จว.สส./ผวจ.สส. ได้ชี้แจง พร้อมนำหนังสือที่ได้ทำเรื่องเสนอกรมควบคุมโรคติดต่อ ด่วนที่สุด ที่ สส.0017.1/7098 ลง 26 พ.ค.64 เรื่องขอรับการสนับสนุนการปรับแผนการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับจังหวัดสมุทรสงคราม ให้ผู้ที่มาร้องเรียนได้ดูและรับทราบ ทำให้ผู้ที่มาร้องเรียนเข้าใจและพึงพอใจ จึงได้สลายการรวมตัวในครั้งนี้

 


ภาพ/ข่าว ปชส.ศรชล.ภาค 1 / นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน

ประจวบคีรีขันธ์ - ศนชล.บูรณาการหน่วยงาน ตรวจแรงงานต่างด้าว สถานประกอบการ โรงงาน ที่พัก แคมป์คนงาน คัดกรองโควิด-19

วันที่ 27 พ.ค.64 ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 (ศรชล.ภาค 1) โดย น.อ.ไกรพิชญ์ กรวีร์ปภาวิทย์ หน.ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ศคท.จว.ปข.)

ร่วมบูรณาการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย กอ.รมน. ฉก.จงอางศึก ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง แรงงานจังหวัด จัดหางานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด จนท.ฝ่ายปกครอง ลงตรวจสถานประกอบการ โรงงาน หอพัก บ้านพัก ที่มีแรงงานต่างด้าว

เพื่อตอบสนองมาตรการของจังหวัดในการตรวจค้นหาแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ให้เข้ากระบวนการตรวจคัดกรองโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่อำเภอปราณบุรี โดยเข้าทำการตรวจโรงงาน จำนวน 2 แห่ง ท่าเรือแพปลา 1 แห่ง และเรือประมง 1 ลำโดย มีรายละเอียดดังนี้

   1.โรงงานแปรรูปสัปรด บจก.เนเชอรัล ฟรุต ตรวจแรงงานเมียนมาร์ จำนวน 300 คน

   2.โรงงานแปรรูปสัปรด บจก.(มหาชน)สยามอุตสาหกรรม เกษตรอาหาร ตรวจแรงงานเมียนมาร์ จำนวน 303 คน

   3.แพปลาสมนึก ตรวจแรงงานเมียนมาร์ 3 คน

   4.เรือ ส.เลิศสมุทร 111 ตรวจแรงงานเมียนมาร์ 3 คน กัมพูชา 21 คน

ผลการตรวจไม่พบการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่อย่างใด


ภาพ/ข่าว ปชส.ศรชล.ภาค 1 / นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top