Tuesday, 13 May 2025
SPECIAL

'ก้าวไกล' ลงพื้นที่ฟังปัญหาที่ดินปชช. จ.ขอนแก่น 'โรม' ลั่น!! ถ้าเป็นรบ. จะแก้ปัญหาที่ดินทั่วประเทศ

พรรคก้าวไกล นำโดยรังสิมันต์ โรม โฆษกพรรค, อภิชาติ ศิริสุนทร ประธาน กมธ. ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมด้วย ส.ส.และทีมโฆษกพรรคก้าวไกล เข้าไปรับฟังปัญหาชาวบ้านชุมชนมิตรภาพ ริมทางรถไฟ อ.เมือง จ.ขอนแก่น พบคุณภาพชีวิตประชาชนถูกทอดทิ้ง อนาคตในที่อยู่อาศัยยังไม่แน่นอนจากการไล่รื้อก่อสร้างรถไฟทางคู่ เตรียมนำเรื่องแก้ปัญหาผ่านกรรมาธิการที่ดิน

ตัวแทนประชาชนชุมชนมิตรภาพได้กล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนว่า ชุมชนมิตรภาพริมทางรถไฟ จ.ขอนแก่น เป็นชุมชนยาว มีประมาณ 160 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 500 คน ชาวบ้านอยู่บนที่ดินการรถไฟมาแล้ว 30-40 ปี แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นแรงงานนอกระบบในเมือง

“ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ที่ชาวบ้านต้องเจอมีมากมายอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมซ้ำซากจากการอยู่ในที่ดินริมคลองประตูระบายน้ำ การตกงานและขาดรายได้ในช่วงโควิด ต้องจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟแพงกว่าที่ควรจะเป็นเพราะต้องต่อหม้อแปลงข้างนอกเข้ามา และในตอนนี้ยังมีความไม่แน่นอนในสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากความเสี่ยงถูกไล่รื้อเพื่อนำที่ดินไปก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง”

“ปัญหาสิทธิเหนือที่ดินคือหัวใจสำคัญที่จุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตประชาชนในด้านอื่นๆ เราต้องเลิกมองว่าประชาชนที่อยู่อาศัยตามแนวที่ดินรถไฟเป็นผู้บุกรุก แต่ควรพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันให้ชาวบ้านโดยเฉพาะกลุ่มที่ยากจนที่สุดที่ถ้าโดนไล่รื้อจะเสี่ยงเป็นคนไร้บ้านให้มีทางออกที่เหมาะสม” อภิชาติ กล่าว

'สื่ออาวุโส' เชื่อ!! หากวันใดที่ 'วันแม่' ไม่ใช่ 12 สิงหาคม 'วันนั้น-ปีนั้น' จะไม่มีพลังบวกมากมายเหมือนในวันนี้

เถกิง สมทรัพย์ สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'วันแม่ 12 สิงหา' กับสังคมไทยในครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ระบุว่า...

นับว่าเป็น 'วัน' ที่ส่งกระแสพลังบวกให้กับคนไทยในสังคมอย่างมีคุณค่ามากที่สุดวันหนึ่ง

เพราะประเทศส่วนใหญ่ในโลกล้วนมี 'วันแม่' ให้เชื่อมสัมพันธ์กันระหว่างครอบครัวกันแทบทั้งนั้น

แม้กระทั่งในสมัยโบราณที่นับเอาเทพี หรือ ราชินี มาเป็นองค์สำคัญในการสร้างความสำคัญให้กับ 'แม่ลูก' ก็เพื่อแสดงความนับถือต่อผู้ให้กำเนิด

ประเทศไทยเริ่มมีวันแม่ในปี 2493 สมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม กำหนดให้วันที่ 15 เมษายน ของทุกปีเป็นวันแม่

จากนั้นมีกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคม เป็น 'วันแม่' ตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา

'วันแม่' ของเมืองไทยจะคึกคักมากกว่าวันแม่ในหลายๆ ประเทศ เพราะวันแม่ของเรามีความเชื่อมโยงต่อสถาบันอันเป็นที่รักของคนไทย

และการที่สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกพื้นที่ในแผ่นดิน ทรงใกล้ชิดราษฎรมาโดยตลอด ยิ่งทำให้พระองค์ท่านเป็นแบบอย่างที่มีพลังบวกต่อประชาชนในการระลึกถึงความเป็นแม่

'วันแม่' ในเมืองไทยเป็นวันกระชับความสัมพันธ์ของครอบครัวได้ดีที่สุดวันหนึ่งในบรรดาวันพบญาติทั้งหมดของไทย

ไม่ใช่แค่วันพบปะสังสรรค์กันในครอบครัวแบบปีใหม่ สงกรานต์หรืองานบวช งานแต่ง
 

เตือนสติ 'สังคมโชว์เหนือ' ปล่อยความเห็นทะลุกลางปล้อง ความต่ำตมของสิ่งมีชีวิต ที่ใช้ความเป็นคนไม่เป็น

นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจฟาร์มปลาสวยงามและอดีตนักเรียนในเกาหลีใต้ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เตือนใจผู้คนในสังคมยุคปัจจุบัน ที่ชอบแสดงความคิดเห็นย้อนแย้งกับฉันทามติในสังคม เพียงให้ตัวเองดูดี ดูเหนือชั้น ไว้ว่า...

ผมเป็นคนไม่ชอบกินเค้ก แต่ก็ไม่เคยตะโกน เวลาคนเขากำลังจะเป่าเค้กวันเกิดว่า ทำไม ไม่เป่าห่อหมก หรือ ขนมกุ้ยช่าย

ผมไม่ได้คิดว่า วันอีสเตอร์ หรือวันคริสตมาส ต้องเป็นวันสำคัญที่สุดทางศาสนา แต่ก็ไม่บ้าขนาดจะไปยืนแหกปากหน้าต้นสนบ้านใคร ว่า ทำไมต้องให้ความสำคัญกับวันนั้นเป็นพิเศษ

และแม้ผมจะตระหนักดีว่า ความรักความผูกพัน และความกตัญญู ที่มีต่อพ่อแม่ หรือครูบาอาจารย์นั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในสามัญสำนึกที่จะประพฤติปฏิบัติทุกๆ วัน กันทุกๆ คน

'ปิยบุตร' ผุดแคมเปญให้ ส.ส. เป็นได้ 1-2 วาระ เพื่อหยุดการส่งต่ออำนาจ ทลายสมบัติประจำตระกูล 

(13 ส.ค. 65) นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กกล่าวถึงการทำหน้าที่ของส.ส. และระบบการเมืองเครือข่ายอุปถัมภ์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

หน้าที่ ส.ส. / การทำพื้นที่ / การเมืองเครือข่ายอุปถัมภ์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ ผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่หลายประการ

ประการแรก เสนอ พิจารณา และลงมติให้ความเห็นชอบ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และอนุมัติพระราชกำหนด

ประการที่สอง ลงมติเลือกบุคคลไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ประการที่สาม ตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านกลไกต่างๆ ของรัฐสภา เช่น การตั้งกระทู้ถาม การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญ

ประการที่สี่ เป็นผู้แทนของประชาชน นำปัญหาของประชาชนมาอภิปรายในสภา ผลักดันเป็นกฎหมาย หรือเสนอแนะฝ่ายบริหาร

ประการที่ห้า อำนาจหน้าที่อื่นๆ ที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นกำหนดให้กระทำในนามของสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา เช่น รับทราบรายงานประจำปีขององค์กรต่างๆ ให้ความเห็นชอบบุคคลไปดำรงตำแหน่ง ประกาศสงคราม รับทราบการขึ้นครองราชย์ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ในระบบรัฐสภาแล้วบทบาทของ ส.ส. คือ งานเกี่ยวกับการตรากฎหมาย การเลือกนายกรัฐมนตรี และการควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหาร

เมื่อพิจารณาบทบาทและภารกิจของ ส.ส.เช่นนี้แล้ว การตัดสินใจเลือก ส.ส. ก็น่าจะพิจารณาเลือกคนไปเป็น 'ผู้แทน' ในการตรากฎหมาย การเลือกนายกรัฐมนตรี และการควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหาร เป็นสำคัญ

เช่นเดียวกัน ผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองต้นสังกัด ก็ควรรณรงค์และนำเสนอแนวนโยบายของตนและพรรคเกี่ยวกับการตรากฎหมาย การเลือกนายกรัฐมนตรี และการตรวจสอบฝ่ายบริหาร แต่เหตุใดการเมืองไทย ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประชาชนจึงเลือก 'ผู้แทนราษฎร' โดยพิจารณาจากการดูแลประชาชนในพื้นที่เขตเลือกตั้ง? เหตุใดประชาชนจึงเรียกร้องหรือขอการช่วยเหลือสนับสนุนจาก ส.ส.ในเขตเลือกตั้งตนหรือผู้สมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้งตน?

ทั้งๆ ที่การดูแลประชาชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข คือ อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ของรัฐมนตรี ข้าราชการ และนายกฯ ท้องถิ่น พวกเขาเหล่านี้มีทั้งอำนาจตามกฎหมาย มีทั้งบุคลากร มีทั้งงบประมาณ ในขณะที่ ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส.ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย สั่งการข้าราชการก็ไม่ได้ งบประมาณก็ไม่มี

ยิ่งไปกว่านั้น หาก ส.ส.คนใดเข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ ก็อาจต้องรับโทษตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อีกด้วย เช่นเดียวกัน เหตุใด ส.ส.และผู้สมัคร ส.ส.ในแต่ละเขตเลือกตั้ง ต่างก็แข่งขันกันสร้างผลงานช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างเอาการเอางาน ทั้งๆ ที่ตนเองไม่มีงบประมาณ ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย? แล้วในการแข่งขันเช่นว่านี้ มีบ้างหรือไม่ที่ช่วยเหลือประชาชนไปแล้ว โดนไม่คาดหวังว่าประชาชนจะเลือกตนเป็น ส.ส.? มีใครที่พร้อมเป็น 'นักบุญ' ช่วยเหลือประชาชน โดยไม่ได้ต้องการการตอบแทนเป็น 'คะแนนเสียง' ?

ปัญหาดังกล่าว สืบเนื่องมาจากเหตุต้นตอ 2 ประการ

ประการแรก รัฐบาลไม่สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนได้ถ้วนทั่ว การเรียกร้องเอากับรัฐบาล รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ข้าราชการประจำ เป็นเรื่องยากลำบาก มีอุปสรรค และพวกนี้อยู่ไกลประชาชน ทำให้ประชาชนเรียกหาคนที่ใกล้เขาที่สุด นั่นคือ ส.ส.ในเขตเลือกตั้งตนเอง

ประการที่สอง การไม่กระจายอำนาจ/งบ ให้กับท้องถิ่นมากเพียงพอต่อการจัดการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันให้กับประชาชน ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของประชาชนได้ดีเพียงพอ ประชาชนจำต้องพึ่งพิงและเรียกร้องเอากับ ส.ส. ที่เป็น 'ผู้แทน' ของเขาในเขตพื้นที่

เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้แล้ว ส.ส.และผู้สมัคร ส.ส.ปฏิเสธไม่ช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้งตนได้หรือไม่?

แน่นอนว่า ไม่มีกฎหมายที่ไหนมาบังคับให้ ส.ส.ต้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้ง (เพราะอำนาจหน้าที่ งบประมาณ และบุคลากรเป็นของรัฐบาล) แต่คงไม่มี ส.ส.หรือผู้สมัคร ส.ส.คนใดกล้าปฏิเสธไม่ช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้ง เพราะ หากไม่ช่วยเหลือ ก็เสี่ยงที่จะ 'สอบตก' ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ในขณะที่ประชาชนก็รู้สึกว่านี่คือ 'ผู้แทน' ที่พวกเขาเลือกมา นี่คือ 'ผู้แทน' ในพื้นที่บ้านของพวกเขา และใกล้ชิดกับพวกเขามากที่สุด ก็ต้องเรียกหาเรียกใช้ได้ นี่จึงเป็นที่มาที่ ส.ส.และผู้สมัคร ส.ส. ต้องทำในสิ่งที่แวดวงการเมืองการเลือกตั้งเรียกกันว่า 'การทำพื้นที่'

ปัญหาที่ต้องขบคิดกันต่อไป ก็คือ 'การทำพื้นที่' ต้องใช้เงิน ใช้ทรัพยากร เพื่อเป็น 'เครื่องมือ' ในการเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ในการหาโอกาสเข้าไปสัมผัสใกล้ชิดประชาชน เริ่มตั้งแต่ ทำบุญใส่ซองในงานบวช งานแต่ง งานศพ จัดหาน้ำดื่ม อาหาร โต๊ะ เก้าอี้ หลังคาผ้าใบ เต๊นท์ ในงานประเพณีต่างๆ

ฉีดยาฆ่ายุงลาย ทำหมันหมา ตัดผมฟรี ตัดแว่นฟรี ตรวจโควิดฟรี หาช่องทางให้ได้วัคซีน หารถพยาบาลนำส่ง ถุงยังชีพ ในยามประสบภัยพิบัติ ฝากลูกเข้าโรงเรียน / ฝากเพื่อนสนิทมิตรสหายในเครือข่ายการเมืองในพื้นที่เลือกตั้งได้เลื่อนขั้น วิ่งเต้น (เรียกให้ดูดี คือ ประสานงาน) กับรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เอางบประมาณ เอาโครงการ มาในพื้นที่เลือกตั้งของตน ไม่มีสนามบิน ก็เอาสนามบินมาลง ไม่มีถนน ก็เอาถนนมาลง เป็นต้น ฯลฯ

แล้ว ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส.จะหางบประมาณมาช่วยจากไหน? เอาเงินจากไหนมาซื้อของแจกหรือจัดทำบริการฟรีให้ประชาชน? เอาเงินจากไหนมาจ่ายค่าน้ำมันรถ? เอาเงินจากไหนมาจ่ายให้ทีมงานที่รับหน้าที่ดูแลประชาชน?

ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส.จะ 'วิ่งเต้น' กับรัฐมนตรีอย่างไร เพื่อให้รัฐมนตรีนำงบประมาณและโครงการมาลงในพื้นที่? หาก ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส. สังกัดพรรคฝ่ายค้านล่ะ จะทำอย่างไรถึงจะ 'วิ่งเตัน' กับรัฐมนตรีได้?

ทั้งหมดนี้ นำมาซึ่งการก่อสร้างการเมืองเครือข่ายอุปถัมภ์

ที่เรียกกันว่า 'บ้านใหญ่ประจำจังหวัด' หรือ 'ตระกูลการเมือง' ก็มีต้นกำเนิดมาจากเรื่องเหล่านี้

เมื่อ ส.ส. หรือ ผู้สมัคร ส.ส. ต้องการเงินและทรัพยากรใน 'การทำพื้นที่' แต่ละเดือนๆ เงินเดือน ส.ส.ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้แน่นอน แล้วจะทำอย่างไร? ถ้าผู้สมัคร ส.ส.หรือ ส.ส.คนนั้น มีสถานะทางเศรษฐกิจดี มีธุรกิจ มีมรดกตกทอด มาจากครอบครัวเศรษฐี ก็สามารควักเงินตนเองได้ แต่ถ้าไม่มีล่ะ?

ผู้มีทุนผู้มั่งมีก็จะเข้ามา เสนอซื้อ เสนอให้ ลงทุนให้ จ่ายรายเดือนให้แก่ ส.ส.หรือผู้สมัคร ส.ส. ไม่ก็ ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส.ก็วิ่งเร่ขาย หา 'มุ้ง' สังกัด โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี การลงทุนฟรีๆ ไม่มี ก็ต้องแลกเปลี่ยนกับการที่ ส.ส.ผู้สมัคร ส.ส.นั้นๆ ต้องอยู่ภายใต้บังคับของเขา หรือที่เรียกกันว่า 'มุ้ง'

ผู้มีทุนผู้มั่งมีสร้าง 'มุ้ง' กักตุนจำนวน ส.ส.ในสังกัด เมื่อครบจำนวน ก็นำไปแลกเป็นรัฐมนตรี มุ้งตนเองได้ ส.ส.มากเท่าไร ก็มีพวกของตนไปเป็นรัฐมนตรีมากเท่านั้น มุ่งตนเองได้ ส.ส.มากเท่าไร ก็แลกเอากระทรวงเกรดเอที่มีงบประมาณมหาศาลได้มากเท่านั้น

เมื่อ 'ผู้ลงทุน' 'หัวหน้ามุ้ง' 'ลูกพี่' ได้ไปเป็นรัฐมนตรี ก็ตามมาด้วยการหาเงินคืนทุนที่จ่ายไป ทุจริตคอร์รัปชัน หัวคิว/เงินทอนจากโครงการต่างๆ จึงเกิดขึ้น ให้สัมปทานโครงการต่างๆ แก่บริษัทพรรคพวกของตนเอง ถ้าสัญญาใกล้หมด ก็ต่อสัญญาให้ชนิดที่รัฐเสียเปรียบ นอกจากนั้น ก็ยังออกนโยบายเอาโครงการประเภท 'สร้าง/ซ่อม/ขุด/กลบ' ไปไว้ยังพื้นที่ของตน

'นายกฯ' ชื่นชมวิสาหกิจสตรี 'บาราโหม' ปัตตานี ใช้ Soft Power สร้างรายได้-ชูเอกลักษณ์ท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 13 ส.ค. รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ กล่าวถึงความคืบหน้าการผลักดันนโยบายส่งเสริมบทบาทสตรี ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มรายได้ครัวเรือน และพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างยั่งยืน ว่า จากการลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนหลายแห่ง เห็นได้ชัดเจนว่าผู้หญิงคือกำลังหลัก และมีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการได้อย่างทัดเทียมผู้ชาย ภาครัฐจึงพร้อมให้การสนับสนุนเพื่อต่อยอดดำเนินกิจการให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น

น.ส.รัชดา กล่าวว่า จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนกลุ่มวิสหากิจชุมชนบาราโหม พลาซ่า ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้นำความห่วงใยของนายกรัฐมนตรี ไปบอกต่อประชาชนรับทราบ โดยกลุ่มสตรีฝากเสื้อเชิ้ตผ้าบาติกตัดเย็บสวยงาม ย้อมสีด้วยกาบมะพร้าวเพื่อมอบให้นายกรัฐมนตรี 

ทั้งนี้วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ เป็นหนึ่งตัวอย่างของความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยพลังผู้หญิงคนรุ่นใหม่ เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ครบวงจร และใช้ศักยภาพพื้นที่อย่างเต็มที่ ครอบคลุมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่หลายร้อยปี สมัยเจ้าเมืองปัตตานีพระองค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม และสถาปนาเมืองปัตตานีเป็น นครปาตานีดารุสลาม ศึกษาวิถีชาวพุทธ-มุสลิม ที่อยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ได้ท่องเที่ยวธรรมชาติ นั่งเรือชมป่าโกงกางและดูวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน มีร้านอาหารรสชาติท้องถิ่นดั้งเดิม สร้างรายได้ที่ดี จากที่เคยไปทำงานร้านต้มยำกุ้งฝั่งมาเลเซีย ไม่คิดจะกลับไปอีกแล้ว นอกจากนั้นยังมีร้านขายสินค้าผ้าบาติก ของที่ระลึกที่มีอัตลักษณ์บาราโหม ทั้งนี้รายได้จากการขายอาหารและสินค้าทุกชิ้น จะจัดสรรเพื่อการกุศลช่วยเหลือเด็กกำพร้าในพื้นที่

'อนุทิน' โต้กลับ!! ไม่เคยด้อยค่า 'จุรินทร์' ลั่น!! สอนลูกพรรคเสมอให้ทำเพื่อปชช.

เมื่อเวลา 09.50 น. วันที่ 13 ส.ค. ที่จ.กระบี่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวกรณีพรรคประชาธิปัตย์ออกมาระบุอย่าด้อยค่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า...ไม่มี เราไม่เคยด้อยค่าใครอยู่แล้ว พรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคที่ถูกกระทำมาโดยตลอด เราไม่เคยไปฟ้องร้องหรือทำอะไร หรือให้ร้ายกับคู่แข่งเลย มีแต่เราถูกคู่แข่งให้ร้ายว่ากล่าว และถูกฟ้องร้องตกเป็นจำเลยด้วยซ้ำ มาวันนี้ยังถูกกล่าวหาว่าขนอสม.มา ทั้งที่ไม่มีความจริงแม้แต่น้อย เรามาทำงาน มาเสนอนโยบาย ให้กับประเทศชาติ ไม่เคยไปท้าตีท้าต่อยกับใครอยู่แล้ว 

‘สมชัย’ ยก 8 ข้อ ชำแหละ ‘พปชร.-พท.’ เหตุใดถึงหนุนปาร์ตี้ลิสต์สูตรหาร 100

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่...) พ.ศ....โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

มีคำถามที่นักวิเคราะห์การเมืองคิดไม่ตก คือ ทำไม พปชร. และเศรษฐกิจไทย ที่อยู่อีกซีกฝั่งทางการเมืองจึงหนุนหารร้อยทั้งๆ ที่ คือการป้อนชัยชนะในการเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ให้กับเพื่อไทย

นี่คือมุมมอง ที่เก็บตกจากการวิเคราะห์ของหลายๆ คนที่ปรากฏตามสื่อ อาจใช่หรือไม่ใช่ทั้งหมด

1.) พปชร. ยังมีมุมการวิเคราะห์ว่า เขายังคงเป็นพรรคใหญ่ มีความได้เปรียบในฐานะรัฐบาล เชื่อว่าชื่อพลเอกประยุทธ์ยังขายได้ ดังนั้น แนวทางหารร้อยจึงยังเป็นแนวทางที่พรรคได้ประโยชน์ เรียกง่ายๆว่า หลงตัวเองว่า จะชนะเลือกตั้ง

2.) อาจมีดีลระหว่าง พปชร. กับ เพื่อไทย ในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมในอนาคต โดยไม่เอาพลเอกประยุทธ์ เป็นนายก ซึ่งเพื่อไทยรับได้ และ ลุงในป่าก็อยากได้ คนชื่อ พ. ไป คุยกับคนชื่อ ท. เรียบร้อย แต่เชื่อเหอะ ท. รอบจัดกว่าเยอะ

3.) นักการเมืองใน พปชร. จำนวนไม่น้อยมีรากมาจากเพื่อไทย วันนี้ร่วมยุทธการกับเพื่อไทยเป็นไมตรี วันหน้า หาก พปชร. ไม่รุ่ง เพื่อไทยคือที่พักใหม่ที่จองผ่านอโกด้าและจ่ายมัดจำไว้เรียบร้อยแล้ว

4.) ผู้มีอำนาจเบื่อเหนื่อยกับการแจกกล้วยพรรคเล็ก ที่ผ่านมาหมดไปหลายสวน หากหารห้าร้อยเกรงว่า กล้วยจะหมดโกดัง ถึงเวลาฆ่าลิง

5.) ทั้ง เพื่อไทยและ พปชร. หวั่นไหวต่อพรรคการเมืองรุ่นใหม่ที่กระแสมาแรงแล้วจะมาแทนที่ หารร้อยคือการทำให้พรรคใหม่ไม่โตเร็วเกินไป

'ซัลมาน รัชดี' ถูกแทงคออาการสาหัส ขณะร่วมงานวรรณกรรมที่สหรัฐฯ

(13 ส.ค. 65) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ซัลมาน รัชดี นักเขียนชื่อก้องโลกที่ถูกขู่ฆ่าและทำร้ายมาตลอด ถูกคนร้ายบุกรัวแทงและชกต่อยบนเวทีบรรยายทางวิชาการ เจ้าหน้าที่ต้องนำตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปรักษาอาการโดยเร่งด่วน

ตำรวจเปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุสามารถรวบตัวผู้ก่อเหตุไว้ได้ เป็นชายวัย 24 ปี ชื่อว่า นายฮาดี มาทาร์ จากรัฐนิวเจอร์ซี ซึ่งตำรวจกำลังเร่งสอบปากคำหาแรงจูงใจในการก่อเหตุ ขณะที่ล่าสุด นายแอนดรูว วีลีย์ ตัวแทนของนักเขียนชื่อดังเปิดเผยว่า แพทย์ระบุว่า นายรัชดีมีอาการสาหัส ต้องสวมเครื่องช่วยหายใจและยังไม่สามารถพูดได้ โดยเขามีโอกาสสูญเสียตา 1 ข้าง นอกจากนี้เส้นประสาทที่แขนและอวัยวะตับของเขาที่ถูกมีดแทงได้รับความเสียหายอย่างมาก

นายกฯ พอใจ!! ไทยครองอันดับ 1 ส่งออกยางพารา ย้ำ!! พัฒนายางเพิ่มมูลค่า เจาะตลาดประเทศใหม่ๆ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายใต้แนวทาง 'เกษตรผลิต พาณิย์ตลาด' ของรัฐบาล ทำให้ยอดการส่งออกยางพาราครึ่งปีแรกปี 2565 ของไทย ครองตำแหน่งผู้ส่งออกยางอันดับ 1 ของโลก โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รายงานว่า ช่วง ม.ค.-มิ.ย. ปีนี้ มีปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ยาง 2.19 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 2.4 แสนล้านบาท จีนนำเข้ายางไทยเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็น 49% ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 10% สหรัฐอเมริกา 7% ญี่ปุ่น 6% เกาหลีใต้ 4%

สำหรับแผนการขยายตลาดสู่ตลาดใหม่ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า ได้สั่งการให้คณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายาง ทำการระดมสมองจากทูตเกษตรทุกภูมิภาคทั่วโลก เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลและออกมาตรการเชิงรุก ซึ่งได้ข้อสรุป 6 มาตรการ ดังนี้

1.) มาตรการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก เช่น การผลิตสื่อดิจิทัลเผยแพร่ในตลาดต่างประเทศ 
2.) มาตรการการตลาดเชิงรุก เน้นความต้องการผลิตภัณฑ์ยางรายตัวสินค้าและรายประเทศคู่ค้า (product based & country based) เช่น ความต้องการยางจักรยานและยางรถบัสเพิ่มขึ้นในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปและผลิตภัณฑ์ยางที่อียูแบนสินค้าจากรัสเซีย หรือผลิตภัณฑ์ยางที่รัสเซียระงับการนำเข้าจากอียู
3.) มาตรการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ใช้แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน สวนยางยั่งยืนและระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อตอบโจทย์ ประเด็นสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะเป็นเรื่องที่หลายประเทศในยุโรปให้ความสำคัญ
4.) มาตรการระยะสั้นรายไตรมาส เพื่อการบริหารจัดการตามปฏิทินฤดูการผลิตประจำปี โดยมอบ กยท. ภาคเอกชน และภาคเกษตรกรหารือกันเพื่อกำหนดมาตรการร่วมกัน
5.) มาตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ยางมูลค่าสูง เน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เช่น วัสดุภัณฑ์ก่อสร้างบ้านและอาคาร ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง สถาบันยางและผู้ประกอบการ ผ่านการทำงานร่วมระหว่าง กยท. และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์ AIC) นำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้จริง
6.) มาตรการเชิงกลไกการตลาด เช่น การบริหารซัปพลายและดีมานด์ กลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริง และระบบการประมูลยางออนไลน์เป็นระบบที่เปิดกว้างเพิ่มผู้ซื้อทั้งลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการกำหนดราคาโดยผู้ซื้อน้อยราย หรือการฮั้วหรือการผูกขาด
 

ควันหลง ‘บิ๊กป้อม’ ลงพื้นที่พบปะพี่น้องชาวหนองคาย พร้อมประกาศลั่นอีสานจะไม่แห้งแล้งอีกต่อไป แถมพวงยุทธศาสตร์ใหม่ เตรียมผุดโครงสร้างพื้นฐาน ดันพื้นที่ภาคอีสานเชื่อมเศรษฐกิจโลก ผ่านนโยบายสุดเก๋ ‘ผ้าขาวม้าเชื่อมโลก’

หากใครได้ติดตามการลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นอกจากพล.อ.ประวิตร จะได้ทักทายพี่น้องประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับโชว์ผลงานการบริหารจัดการน้ำ กระทั่งทำให้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ภาคอีสานแทบจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำแล้งเลย

แต่สิ่งที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือ พล.อ.ประวิตร ได้ประกาศจะทำให้ภาคอีสานเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงเศรษฐกิจไปทั่วโลก 

โดยพล.อ.ประวิตร กล่าวในตอนหนึ่งในช่วงปราศรัยว่า ทุกครั้งที่มาภาคอีสาน คนอีสานจะต้อนรับด้วยความอบอุ่น จากการคาดผ้าขาวม้า ทำให้ผู้มาเยือนเกิดความประทับใจทุกครั้ง อยากบอกว่า “ผ้าขาวม้าเชื่อมโลก” เป็นนโยบายที่ต่อไปนี้ภาคอีสานจะเป็นภาคที่เชื่อมโลก พร้อมกับการกระจายสินค้าต่าง ๆ ไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น 

รอง หน.ประชาธิปัตย์ ประกาศผลักดันจังหวัดหวัดชายแดนใต้ เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร เจาะตลาดชาวมุสลิมกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก ยกระดับคุณภาพชีวิต ปชช.ในพื้นที่ ก้าวข้ามความขัดแย้ง

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2565 ที่จ.ปัตตานี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะประกาศผลักดันจังหวัดหวัดชายแดนใต้ให้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้ยุทธศาสตร์ เกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาด โดยตั้งใจจะให้ทุกจังหวัดของชายแดนใต้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร เพื่อการบริโภคในพื้นที่บริโภคภายในประเทศ และเป็นครัวของโลก โดยเฉพาะประชากรมุสลิมกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก

นายนิพนธ์ฯ กล่าวว่า จากการศึกษาและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประชาชนในหลายพื้นที่พบว่าความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้ จึงต้องส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา ผลผลิตที่สอดคล้องความต้องการของตลาด อย่างหลากหลาย รวมทั้งด้านปศุสัตว์ พร้อมทั้งการจะพลิกนาร้างให้เป็นนาข้าว ร่วมสามแสนไร่ให้เป็นนาข้าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจะจัดระบบชลประทานให้เข้าไปถึงที่นาแห่งนี้ และสร้างผล ตอบแทนทางการเกษตรที่เรียกว่านาข้าวเลี้ยงคนในพื้นที่ได้ 

“กระทรวงเกษตรฯ.” เร่งขับเคลื่อน ”สภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.” ผนึกทุกเครือข่ายเดินหน้าเกษตรออร์กานิคดันไทยขึ้นแท่นฮับอาเซียน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นประธานพิธีเปิดและปาถกฐาพิเศษ เรื่อง “เกษตรอินทรีย์และเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.”ที่รร.อมารี ดอนเมือง ผ่านระบบออนไลน์โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มที่ เป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food)ที่มีโอกาสเติบโตในตลาดโลกได้อย่างมากจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ด้านการผลิต การแปรรูป การบริโภค การค้าสินค้า และ การบริการเกษตรอินทรีย์ ที่มีความยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลภายใต้”ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564” โดยมีคณะกรรมการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติและคณะกรรมบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเป็นกลไกระดับนโยบายและมีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภายใต้3คณะทำงานได้แก่คณะกรรมการด้านเกษตรอินทรีย์ คณะทำงานด้านเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสานและคณะทำงานด้านวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ ได้เร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการปี 2564-2565เดินหน้าจัดทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ 2566-2570 และร่างพรบ.เกษตรกรรมยั่งยืนพร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติรวมทั้งการจัดทำโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Farming)และโครงการธนาคารสีเขียว(Green Bank) ประการสำคัญคือการจัดตั้งสภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ19สิงหาคม2564 โดยมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)จัดทำหลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS)หรือเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชน
   วันนี้ถือเป็นวันสำคัญที่สภาเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส.แห่งประเทศไทยได้เห็นชอบธรรมนูญของสภาฯ.และคณะกรรมการบริหารอย่างเป็นทางการชุดแรกแทนคณะกรรมการบริหารชุดเฉพาะกิจด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเครือข่ายองค์กรเกษตรอินทรีย์หลักๆเช่น มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย มูลนิธิ เกษตรกรรมยั่งยืน สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทย พี จี เอส สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่ง ประเทศไทย ยังมีกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ในเครือข่ายอื่นๆ อีกเป็นจํานวนมากที่พร้อมจะร่วมกันขับเคลื่อนสภาเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส และแผนดําเนินงานขับเคลื่อนระบบ พี จี เอส ของประเทศให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (1) เพิ่มพื้นที่และปริมาณการผลิตเกษตรอินทรีย์ (2) เพิ่มการค้าและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ (3) เพื่อให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ (4) เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (Hub) ของสินค้าและบริการด้านเกษตรอินทรีย์ในระดับภูมิภาคอาเซียน 


   

'พิธา' เชิญชวนประชาชนร่วมตามหาอนาคตใหม่ให้กับพรรคก้าวไกล  ชูแคมเปญ 'ก้าวไกล NEXT' เปิดระดมความคิดเห็นเพื่อปฏิรูปพรรคทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เตรียมจัดทาวน์ฮอลล์ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า แคมเปญ 'ก้าวไกล NEXT' ถ้าให้ความหมายตรงๆ ก็คือการปฏิรูปพรรคโดยเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม แต่ถ้าใช้หัวใจตอบก็ต้องบอกว่า นี่คือการตามหาอนาคตใหม่ให้กับพรรคก้าวไกล ซึ่งในความหมายนี้มี 2 มิติ ได้แก่ 1.มิติสู่อนาคต คือ ปัญหาต่างๆ ที่ประเทศไทยเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นโควิด ภูมิรัฐศาสตร์ โลกร้อน น้ำท่วม ไฟป่า รวมถึงของแพงค่าแรงถูกที่หนักสุดในรอบ 20 ปีนี้ สิ่งที่เราเป็นอยู่อาจยังไม่เพียงพอ ดังนั้น ต้องทำงานให้หนักขึ้นกว่าเดิม เป็นนักรบอยู่ห้องแอร์อย่างเดียวคิดกันเองไม่ได้ ต้องไปฟังความคิดเห็นประชาชนด้วย 2.มิติสู่อดีต ในที่นี้คือการตามหาสปิริตของพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งสิ่งที่เราเคยเริ่มต้นไว้นั้นก็คือการทำพรรคการเมืองให้เป็นพรรคมวลชน เป็นพรรคของประชาชน มีฐานการเมืองที่เข้มแข็ง ไม่ได้เป็นพรรคใครคนใดคนหนึ่ง วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะกลับไปตามหาสปิริตนั้น ทำให้พรรคก้าวไกลกลับมาคึกคัก เตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง

"ในส่วนของการปฏิรูปพรรค เมื่อดูแล้วเรากำหนดคร่าวๆ 7 มิติ เพื่อให้ประชาชนได้มาร่วมกันแสดงความเห็น คือ 1.ผู้แทนที่คุณอยากเห็น 2.การสื่อสารของพรรค 3.การนำเสนอนโยบาย 4.งานในสภาและกรรมาธิการ 5.การทำงานพื้นที่ 6.งานสมาชิกและอาสาสมัคร และ 7.การระดมทุน โดยทั้งหมดนี้จะเปิดกว้างให้ประชาชนได้เข้าร่วมใน 2 รูปแบบ คือ 1.การจัดทำกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นในลักษณะของทาวน์ ฮอลล์ โดยผมและแกนนำพรรคก้าวไกลจะเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อพบปะประชาชน และ 2. ร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์  https://next.moveforwardparty.org โดยกิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ มีวงคุยแรกนี้กับสื่อมวลชน จากนั้นจะตระเวนไปทุกภูมิภาค ก่อนที่จะมีเวทีใหญ่วันที่ 28 สิงหาคม และทั้งหมดที่เราระดมความเห็นนี้ ก็จะนำมาสู่การเปิดแคมเปญใหญ่ในวันที่  9 เดือน 9 ซึ่งจะเป็นก้าวต่อไปของเราที่จะก้าวไกลกว่าเดิม จริงอยู่ว่าเราต้องการ ส.ส.เข้าสภาให้มากที่สุด แต่เราก็ต้องทำงานทางความคิดด้วย ทำให้คนชื่อว่าสังคมที่ก้าวหน้าเป็นไปได้ ยังมีความหวัง ในช่วงเวลาที่ประชาชนหมดหวังมากที่สุดตลอดหลายสิบปีมานี้" พิธา กล่าว

'บิ๊กตู่' พอใจ ช่วยประชาชนไกล่เกลี่ยหนี้สำเร็จ กว่า 5.6 หมื่นราย  พร้อมชม 'สมศักดิ์' จัด มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ได้ผล ขณะที่กระทรวงยุติธรรม เตรียมจัดต่ออีก 7 จังหวัด

เมื่อวันที่ 7 ส.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ติดตามข้อสั่งการในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ตามที่ได้ประกาศให้ปีนี้เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน” โดยกระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการ “มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สิน หนี้ครัวเรือน”  ผลการไกล่เกลี่ยล่าสุดข้อมูลวันที่ 6 สิงหาคม 2565 มีผู้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย รวมทั้งสิ้น 59,436 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ จำนวน 56,674 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.35 รวมทุนทรัพย์ 11,995 ล้านบาท ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 5,114 ล้านบาท ภายในงานได้จัดนิทรรศการและบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีให้แก่ประชาชนที่มาร่วมงาน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก

นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายในการช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้ กยศ. หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้เช่าซื้อรถยนต์ (ลิสซิ่ง) ทั่วประเทศ การจัดมหกรรมยุติธรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนฯ ทั่วประเทศ จะเหลืออีก 7 ครั้ง  ที่จังหวัดสระแก้ว นครนายก สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ตราด จันทบุรี และชลบุรี เสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม ซึ่งการจัดงานแต่ละครั้งจะมีการไกล่เกลี่ยของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ที่เป็นหนี้ก่อนฟ้อง และการไกล่เกลี่ยของกรมบังคับคดี ที่เป็นหนี้ภายหลังศาลมีคำพิพากษาแล้ว โดยมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และสถาบันการเงิน หลายหน่วยงาน อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์  ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน)  บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด บริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมด้วย

‘อุ๊งอิ๊ง’ หาเสียงกับชาวเชียงราย ‘ทักษิณ’ กลับไทย โวลั่น!! หากได้เป็นรัฐบาล ขอแค่ 1 ปี ปัญหาใหญ่จะถูกแก้

7 ส.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะแกนนำพรรคเพื่อไทย และครอบครัวเพื่อไทย นำโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย นายพานทองแท้ ชินวัตร สมาชิกพรรคเพื่อไทย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยคณะแกนนำ คณะกรรมการบริหารพรรค ส.ส.เชียงราย และส.ส.ภาคเหนือ หลายจังหวัด เดินทางมาจังหวัดเชียงราย เพื่อจัดกิจกรรมครอบครัวเพื่อไทย "ระดมพลคนเจียงฮาย เพื่อไทยมาเหนือสุด" พร้อมกับเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.เขต และระบบบัญชีรายชื่อ บางส่วน

ประกอบไปด้วยร.ต.อ. ดร.ธนรัช จงสุทธานามณี นายวิกรม เตชะธีราวัฒน์ น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน นายอิทธิเดช แก้วหลวง และ น.ส.ละออง ติยะไพรัช

นางสาวแพทองธาร ปราศรัยช่วงหนึ่งว่า พี่น้องชาวเชียงรายสบายดีหรือไม่ ไม่ค่อยสบายใช่หรือไม่ ทำมาหากินลำบาก หนี้สินท่วมท้นใช่หรือไม่ ไม่เป็นอะไร ขอให้พี่น้องอดทนอีกนิด ถ้าวันนี้ทุกข์ยาก พรุ่งนี้ต้องดีขึ้นแน่นอน ถ้าพรรคเพื่อไทยได้กลับมาดูแลประชาชนอีกครั้ง รู้สึกเป็นเกียรติที่มาเยี่ยมชาวเชียงราย ชาวเชียงรายไม่เคยลืมพรรคเพื่อไทย เหมือนที่พรรคเพื่อไทยไม่เคยลืมชาวเชียงราย

หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย กล่าวว่า คุณพ่อกับคุณอาฝากความคิดถึงมาให้พี่น้อง เพิ่งกลับจากการไปเยี่ยม ทั้ง 2 คน ดีใจที่ตนได้มาเชียงราย ทุกท่านทราบดีว่า นายทักษิณ และน.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นคนเชียงใหม่ แต่คนในครอบครัวทั้งพี่เขย และพี่สะใภ้ เป็นคนเชียงรายแท้ๆ

"คุณพ่อตั้งใจว่า ถ้าได้มีโอกาสกลับมาเมืองไทย อยากให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน มีอะไรร่วมมือกันไม่ขัดแย้งกัน เพราะพี่น้องกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ สิ่งที่ตั้งใจให้เกิดขึ้นคือ ให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ให้พี่น้องพ้นจากความทุกข์ยาก"


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top