Thursday, 9 May 2024
POLITICS

โฆษกรัฐฯเผย “บิ๊กตู่” ห่วงวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ ทำปุ๋ยแลอาหารสัตว์ราคาแพง กำชับพาณิชย์  เกษตรฯ ติดตามระดับราคาซื้อ-ขายในประเทศ กระจายแหล่งนำเข้าวัตถุดิบปุ๋ยและอาหารสัตว์   บรรเทาภาระผู้ประกอบการ เกษตรกรและประชาชน

เมื่อวันที่ 11 มี.ค.นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  มีความเป็นห่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่อระบบการค้าโลกแล้ว โดยราคาน้ำมัน สินค้าโภคภัณฑ์และสินแร่ที่มีการซื้อขายระหว่างประเทศพุ่งสูงขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว และหากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อ จะยิ่งทำให้การค้าโลกมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ยและวัตถุดิบอาหารสัตว์ อาทิ ข้าวสาลี และข้าวโพด จะมีราคาเพิ่มขึ้นอีกเพราะรัสเซียและยูเครนเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ ขณะที่ ไทยยังต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์และปุ๋ยจากต่างประเทศเป็นหลัก 

ประกอบกับราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการขนส่งสินค้าปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปุ๋ยในประเทศมีราคาแพงตั้งแต่ช่วงปลายปี 64 ถึงปี 65  ซึ่งขณะนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เร่งแก้ปัญหา ทั้งติดตามระดับราคาอาหารสัตว์และปุ๋ยให้ขึ้น-ลงสอดคล้องกับสัดส่วนต้นทุนที่แท้จริง  ไม่ให้มีการกักตุน ฉวยโอกาสขึ้นราคา ขณะเดียวกันก็ให้เร่งกระจายการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยและอาหารสัตว์จากแหล่งนำเข้าอื่นๆ เพิ่มเติม รวมทั้งใช้มาตรการอื่นในการอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหา ลดอุปสรรคการผลิต การนำเข้า เพื่อลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรด้วย

นายธนกร กล่าวว่า ในปี 2564 ไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีจาก 45 ประเทศ ปริมาณ  5,520,883 ตัน คิดเป็นมูลค่า 70,103 ล้านบาท โดย 5 ประเทศที่ไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีมากที่สุด ได้แก่ 1. จีน นำเข้า 1.25 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 16,997 ล้านบาท สัดส่วน 22.75% 2. ซาอุดีอาระเบีย   นำเข้า 8.4 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 10,707  ล้านบาท สัดส่วน 15.3 % 3. รัสเซีย นำเข้า 4.4 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 5,604 ล้านบาท สัดส่วน 8.06% 4. โอมาน นำเข้า 3.6 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 4,381 ล้านบาท สัดส่วน 6.64% 5.เกาหลีใต้ นำเข้า 3.3 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 3,417 สัดส่วน 6.14%  ทั้งนี้  ปุ๋ยเคมี และอาหารสัตว์ เป็นสินค้าควบคุมตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ หากจะมีการปรับราคา กระทรวงพาณิชย์จะต้องพิจารณาคำร้องของผู้ประกอบการก่อน ซึ่งขณะนี้ กระทรวงพาณิชน์แจ้งว่า ยังไม่มีใครทำเรื่องขอปรับราคาอย่างเป็นทางการ 

‘ปิยบุตร’ โหนแนวคิด ‘อานันท์’ ชี้ คดีม.112 มีเยอะ ต้องแก้ด้วยการนิรโทษกรรม

นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล ระบุว่า ...

ถึงเวลาหรือยัง "เจตจำนงการเมือง" นิรโทษคดี ม.112? - หวังฝ่าย "รอยัลลิสต์" ออกมาเตือนสติสังคมก่อนจะสาย!

ในรายการ "เอาปากกามาวง" ตอนล่าสุด ได้พูดถึงเรื่องสำคัญหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นั่นก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112" หรือ "ป.อาญา ม.112" หรือที่วันนี้เรามักจะเรียกกันสั้นๆ แต่เข้าใจตรงกันว่า "ม.112"

มี 3 กรณีของบุคคลที่ต้องกลายเป็นผู้ต้องหา และ 1 กรณีของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ที่ชัดเจนว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งได้ออกมาเตือนสติสังคมเรื่องการใช้กฎหมายมาตรานี้

แม้จะพูดไปในรายการแล้ว แต่เห็นว่ามีบางช่วงบางตอนซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่อยากจะชี้ให้เห็น จึงขอนำมาบอกกล่าวเป็นข้อเขียนตรงนี้อีกครั้งแบบสรุปรวบยอด ดังนี้

เริ่มที่ 3 กรณี ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ต้องกลายเป็นผู้ต้องหาคดี ม.112

***กรณีแอดมินเพจ 'กูKult' ต้องไม่ตีความรวม "วัตถุสิ่งของ"***

กรณีแรก คือกรณีของ นรินทร์ กุลพงศธร แอดมินเพจ 'กูKult' ซึ่งไปติดสติกเกอร์บนพระบรมสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ 10 ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563

มีเรื่องที่อยากชวนคิดหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการพิจารณาในศาล ที่จากรายงานของไอลอร์พบว่า ในการสืบพยานมีการแนะนำ แนะแนวเรื่องของการยอมรับผิด ลดโทษต่างๆ กับทางผู้ต้องหา, เรื่องการไม่บันทึกการถามค้านของพยานถึง 5 ประเด็น โดยหนึ่งในนั้นก็คือคำถามเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการทำลายพระบรมสาทิสลักษณ์ว่าเป็นความผิดทางไหน ทำลายทรัพย์สินราชการ หรือเข้าข่ายผิด ป.อาญา ม.112

รวมถึงการตัดพยานผู้เชี่ยวชาญของจำเลยออก โดยศาลให้เหตุผลว่าสามารถพิจารณาได้เอง จนทำให้ในที่สุด คดีนี้ก็มีคำพิพากษาออกมาอย่างรวดเร็วมาก และน่าจะเป็นคดี ม.112 คดีแรกที่เกิดจากการชุมนุม ในช่วงปี 2563-2564 ที่ศาลพิพากษาแล้วว่ามีความผิด ซึ่งจำเลยเตรียมที่จะอุทธรณ์ต่อไป

สิ่งที่อยากชวนพิจารณาคือว่า ในคำอธิบายกฎหมายอาญา ของปรมาจารย์ของผู้พิพากษาทั้งหลายอย่าง ศ.หยุด แสงอุทัย และ ศ.จิตติ ติงศภัทิย์ เขียนตำราระบุคำอธิบายในรายมาตรา 112 โดยอธิบายความหมายของคำว่าหมิ่นประมาทและดูหมิ่น โดยที่คำว่า "หมิ่นประมาท" ก็ให้ไปดูแบบ ม.326 คือให้เป็นแบบหมิ่นประมาทคนธรรมดา, หรือคำว่า "ดูหมิ่น" ก็ให้ตีความคำว่าดูหมิ่น เหมือน ม.134, ม.136, ม.393 เรื่องดูหมิ่นคนธรรมดา เช่นกัน

ตำรากฎหมายของปรมาจารย์ทั้งสองท่านระบุชัดว่า คำว่า "หมิ่นประมาท" กับ "ดูหมิ่น" ที่ปรากฏอยู่ใน ป.อาญา ม.112 ใช้นิยามเดียวกับคนธรรมดา คือต้องกระทำต่อตัวบุคคล จะขยายความกว่านี้ไม่ได้ ยิ่งกฎหมายอาญานั้น การตีความต้องเคร่งครัด

แต่จากกรณีของคุณนรินทร์ เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า "หมิ่นประมาท" กับ "ดูหมิ่น" นั้น มีแนวโน้มของศาลที่จะขยับไปถึงเรื่องวัตถุสิ่งของด้วย

***วอนศาลพิจารณาอนุญาต ให้ "รวิสรา" ได้ไปเรียนต่อ***

ต่อมา คือกรณีของรวิสรา เอกสกุล บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในจำเลยของคดี ม.112 จากการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนีเมื่อ 26 ตุลาคม 2563 ซึ่งเธอเป็นคนอ่านแถลงการณ์เป็นภาษาเยอรมัน โดยต่อมาเธอสอบได้ทุนจาก ศูนย์บริการการแลกเปลี่ยนทางวิชาการเยอรมัน (DAAD) ของรัฐบาลเยอรมัน แต่ติดปัญหาคือ ติดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

แม้เคยมีคำร้องขออนุญาตศาลมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ศาลไม่อนุญาต และล่าสุด ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็ยกคำร้องอีกเช่นเคย โดยอธิบายว่า ศาลเห็นว่าจำเลยยังไม่ผ่านการคัดเลือกว่าจะได้รับทุนหรือไม่ ทั้งเงื่อนไขที่จำเลยเสนอมาว่าหากได้รับอนุญาต จำเลยยินดีจะไปรายงานตัวและแสดงที่อยู่ต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศเยอรมัน ทุกๆ 30 วัน โดยขอให้อาจารย์ที่ปรึกษาและบิดาเป็นผู้กำกับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข แต่บุคคลทั้ง 2 อยู่ในประเทศไทย แต่จำเลยอยู่ต่างประเทศ จึงเป็นการยากที่จะกำกับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ จึงไม่เป็นการหนักแน่นเพียงพอ ที่จะแสดงให้เห็นว่า จำเลยจะปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยเคร่งครัด

ทั้งที่ เอกสาร หลักฐานที่ใช้ยื่นคำร้องต่อศาลชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นจดหมายเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย เอกสารรับทุน DAAD แต่ก็ถูกพิจารณาด้วยว่า เพราะว่าการไปอยู่ต่างประเทศดูแลได้ยากที่จะกำกับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกันตัว

นี่คืออนาคตของเยาวชนคนหนึ่ง อนาคตของคนที่จะได้ไปศึกษาหาความรู้ นำความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์กลับมาพัฒนาประเทศไทย

อยากให้ศาลพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพราะจากประสบการณ์ คนที่ไปเรียนต่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วเวลาปิดภาคการศึกษาก็อยากกลับมาเยี่ยมครอบครัว มาเยี่ยมบ้าน คงไม่มีใครอยู่ดีๆ แล้วอยากหนีคดี

'วิโรจน์-ศิริกัญญา' เปิดนโยบายที่อยู่อาศัยเมืองกรุง หวังเปลี่ยนที่ดินกองทัพ ปรับเป็นที่ดินเพื่อปชช.

ยกแฟลตทหารเทียบ!! 'วิโรจน์-ศิริกัญญา' เดินสำรวจที่อยู่อาศัย 'นายพล' ใจกลางเมือง พร้อมเปิดนโยบายที่อยู่อาศัย 'เพื่อประชาชน'

‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย ‘ศิริกัญญา ตันสกุล’ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางไปยังแฟลตสวัสดิการข้าราชการกองทัพบก เพื่อเปิดนโยบาย Affordable Housing ที่อยู่อาศัยเพื่อประชาชน 

ทั้งนี้ วิโรจน์ ชี้แจงถึงเหตุผลที่เลือกแฟลตสวัสดิการข้าราชการกองทัพบกเป็นที่เปิดนโยบายนี้ว่า...

“หากเราสามารถสร้างที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองให้กับเหล่านายพลได้ เราก็ควรต้องสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนได้เช่นเดียวกัน”

“แฟลตนี้เป็นตัวอย่างให้กับเราในการพัฒนานโยบายสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อประชาชน แน่นอนว่าเราคงไม่สร้างขนาดใหญ่โตขนาดนี้ เพราะแฟลตแต่ละยูนิตประกอบด้วย ห้องนอน 3 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง ห้องนั่งเล่น 1 ห้อง โดยห้องนอนทุกห้องมีระเบียง เราคงสร้างหรูหราขนาดนี้ไม่ได้แน่ๆ”

“แต่ที่เราทำได้คือ ทำเลต้องดีแบบนี้ ขนาดห้อง 35-70 ตร.ม. แล้วแต่ขนาดครอบครัว ค่าเช่าเดือนละ 3,500 - 9,000 บาท แล้วแต่ขนาดห้อง โดยให้เช่าระยะยาว 1 ชั่วอายุคน (30 ปี) วัสดุในการก่อสร้างต้องได้มาตรฐานแบบนี้”

‘เทพไท’ ข้องใจ! รู้ทั้งรู้ ‘ทักษิณ’ อยู่สิงคโปร์ แต่รัฐบาลกลับเมินเฉย ตั้งคำถาม ผิด ม.157 หรือไม่

อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งคำถามแปลกใจ “ทักษิณ” อยู่สิงคโปร์แต่รัฐบาลกลับ เมินเฉย ตั้งคำถาม ผิด ม.157 หรือไม่ จี้อยากเห็น ‘พล.อ.ประยุทธ์’ สะสางปัญหาระบอบทักษิณเด็ดขาด

วันนี้ (10 มี.ค.) นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนได้เห็นข่าวนายทักษิณ ชินวัตร เดินทางมาพำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และมีสมาชิกพรรคเพื่อไทยหลายคน เดินทางไปพบกับคุณทักษิณ ตนในฐานะนักการเมืองคนหนึ่ง จึงให้ความสำคัญและได้ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด เพราะเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับการเมืองภายในประเทศ อย่างปฏิเสธไม่ได้ รัฐบาลต้องไม่ลืมว่า สถานะของนายทักษิณ คือนักโทษหนีคดี ที่รัฐบาลไทยจะต้องนำตัวมาลงโทษตามกฎหมายให้ได้ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลทุกชุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาล คสช. ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่พลเอกประยุทธ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ก็ยังไม่เห็นท่าทีของพลเอกประยุทธ์ ในการเร่งรัดบังคับใช้กฎหมายกับนายทักษิณเลย ทั้งที่ประกาศมาโดยตลอดว่า รัฐบาลชุดนี้จะยึดหลักนิติรัฐนิติธรรมอย่างเคร่งครัด

“ประยุทธ์” หารือเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ฯ ยืนยันไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายพร้อมสนับสนุนประเด็นด้านการศึกษา และวัฒนธรรม

ที่ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายโจเซฟ แอนโทนี คอตเตอร์ (H.E. Mr. Joseph Anthony Cotter) เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสอำลาพ้นจากหน้าที่

นายกรัฐมนตรี กล่าวชื่นชมบทบาทของเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ฯ ที่ได้ปฏิบัติงานอย่างแข็งขันตลอด 4 ปี โดยได้ผลักดันความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน รวมถึงด้านการศึกษาและวัฒนธรรม เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับไอร์แลนด์ที่ดีต่อกันเสมอมา ซึ่งในอีก 3 ปีข้างหน้าจะเป็นวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – ไอร์แลนด์ พร้อมแสดงความยินดีในโอกาสวันชาติของไอร์แลนด์ (St. Patrick's Day) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม 2565 โดยทราบว่าปีที่แล้วได้มีการจัดกิจกรรมเปิดไฟสีเขียวที่วัดอรุณฯ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี และเชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศจะสานต่อความร่วมมือต่อไปทั้งในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาคและภูมิภาค โดยเฉพาะในช่วงการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์โควิด-19

ขณะที่ เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ กล่าวยินดีว่า เป็นเกียรติอย่างยิ่งในตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งในประเทศไทย ขอบคุณรัฐบาลไทย และหน่วยที่เกี่ยวข้องที่ให้การต้อนรับและสนับสนุนความร่วมมือที่ดีเสมอมา โดยยืนยันที่จะกระชับความสัมพันธ์ไทย – ไอร์แลนด์ให้ใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อสานต่อความร่วมมือให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งด้านการค้าการลงทุนใน EEC ด้านเทคโนโลยี อาหาร และเกษตรแปรรูป เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ ตลอดจนอุปกรณ์การแพทย์ และเวชภัณฑ์ รวมทั้งยินดีผลักดันให้ไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดับลิน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในมิติอื่น ๆ ต่อไป

โดยทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องว่า ไทยและไอร์แลนด์ยังมีศักยภาพระหว่างกันในอีกหลายมิติ โดยได้หารือในประเด็นความร่วมมือระหว่างกัน ดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรียืนยันว่าไทยพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการค้า และการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไอร์แลนด์มีศักยภาพด้านดิจิทัล และเป็นแหล่งของบริษัทยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ชั้นนำของโลก จึงขอเชิญชวนให้เข้ามาลงทุนในไทยในสาขานี้เพิ่มเติม

“บิ๊กตู่”สั่งเร่งแก้กฎหมายฟอกเงินเอาผิดเครือข่ายบัญชีม้า สกัดเส้นทางโอนเงินแก๊งค์มิจฉาชีพ

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้รับรายงานจากนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางออนไลน์ ว่า ขณะนี้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เสนอแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ป้องกันและปรามปรามการฟอกเงิน ซึ่งได้กำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดบัญชีม้าหรือบัญชีทางผ่านเพื่อรับโอนเงินระหว่างเหยื่อและมิจฉาชีพ จะต้องมีความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาบัญชีม้าได้จะสกัดเส้นทางการรับและโอนเงินในขบวนการของมิจฉาชีพ

“พล.อ.ประยุทธ์  ได้มีข้อสั่งการให้เร่งรัดกระบวนการแก้ไขกฎหมายให้ได้มีผลบังคับโดยเร็ว เพื่อให้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปราบปรามการกระทำผิด เนื่องจากขณะนี้อาชญากรรมทางออนไลน์เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ นอกจากคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงให้โอนเงินแล้วยังมีรูปแบบอื่นๆ ซึ่งหากแก้ไขปัญหาบัญชีม้าได้ จะลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากอาชญากรรมเหล่านี้ได้มาก นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กำชับว่านอกจากเพิ่มประสิทธิภาพของกฎหมายแล้ว หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องเร่งให้ความรู้กับประชาชนว่าการรับจ้างเปิดบัญชีม้า รวมถึงพฤติการณ์ใดๆ ที่เป็นการเข้าไปสนับสนุนเพื่อให้มีบัญชีม้านั้นเป็นความผิดตามกฎหมาย เพื่อประชาชนจะได้ไม่ทำความผิดหรือระมัดระวังตัวไม่ให้ถูกหลอกลวงให้กระทำผิด”รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

แบ่งพื้นที่ชัดเจน ! "อนุทิน" เผย รพ.แยกรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ออกจากโรคทั่วไป ขอประชาชนมั่นใจมาตรฐานความปลอดภัย

ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวกับผู้สื่อข่าว ถึงรูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด -19 ระบุว่า

ปัจจุบัน ผู้ป่วยที่ ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อนมากๆ ทางกระทรวงการจำแนกให้เป็นผู้ป่วยนอกตามนโยบาย "เจอ แจก จบ" ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมาประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งนับเป็นการช่วยกันดูแลระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เพิ่มภาระให้กับ รพ.และบุลคลากรแพทย์ ทำให้เรามีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยเกณฑ์สีเหลือง และแดงได้มากขึ้น 

การจะทำให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) เราต้องทำให้คนเข้าใจที่จะอยู่กับโรค เรากำลังเร่งเดินหน้ามาตรการต่างๆ เพื่อให้สามารถอยู่กับโรคได้ และเศรษฐกิจ ก็ต้องไปได้ เช่น วัคซีน เราเร่งการฉีดให้มากขึ้น เพื่อให้อัตราสูญเสียลดลง จนเข้าเกณฑ์โรคประจำถิ่น ที่ต้องมีอัตราเสียชีวิตต่ำกว่า 1 ใน 1,000 ราย หรือ ร้อยละ 0.1

ตั้งแต่ สธ.เปิดให้บริการผู้ติดเชื้อโควิด-19 เกณฑ์สีเขียว เป็นผู้ป่วยนอก ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ข้อมูล คือ ร้อยละ 60 เป็นสายจากกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 4 มีนาคม จึงเปิดให้บริการเพิ่มเติมใน 14 จังหวัด ที่อยู่รอบๆ กรุงเทพฯ  ได้แก่ นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี กาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี จันทบุรี ชลบุรี และ สมุทรปราการ 4 วันที่ผ่านมา ให้บริการสะสมแล้ว 8,000 ราย โดยสัดส่วนของการจ่ายยา คือ การจ่ายยารักษาตามอาการ ร้อยละ 50 ยาฟ้าทะลายโจร ร้อยละ 22 และยาฟาวิพิราเวียร์ ร้อยละ 28

“ราเมศ” ไม่เห็นด้วย แนวคิดรับเงินซื้อเสียง-จัดเลี้ยง ถูกกฎหมาย ย้ำ จุดยื่นปชป.การเมืองสุจริต ต้องไม่มีอะไรมาจูงใจเพื่อให้ลงคะแนน

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.นำเสนอแนวคิดรับเงินซื้อเสียงไม่ผิดกฎหมาย สามารถจัดมหรสพ และจัดเลี้ยงได้ว่า ส่วนตัวรับฟังแนวความคิดที่หลากหลาย แต่โดยหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมายปัจจุบันนั้นดีอยู่แล้ว ที่ป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง ป้องกันการใช้เงินมาเป็นปัจจัยในการจูงใจประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้ง การจูงใจประชาชนตามหลักการประชาธิปไตยผู้ที่เสนอตัวเป็นผู้แทนราษฏร ต้องจูงใจด้วยความดี ด้วยความตั้งใจทำงานให้กับพี่น้องประชาชน นำเสนอนโยบายที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ภาคปฏิบัติในทางการเมืองสำคัญที่สุด การเมืองที่สุจริต ต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อามิสสินจ้าง เชื่อว่าทุกคนต้องการส่งเสริมและพัฒนาระบบประชาธิปไตยให้ดีขึ้นในวันข้างหน้า แม้ใช้เวลานานก็ต้องร่วมกันเริ่มต้นทำ 

นายราเมศกล่าวต่อว่า การจะทำให้การป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง ทำได้หลายกรณี กฎหมายเดิมใช้ได้ดีอยู่แล้ว การป้องปราม องค์กรที่มีหน้าที่ก็ต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น ส่งสายลับสายสืบไปตรวจไปดู การกันประชาชนเป็นพยานเพื่อจัดการกับนักการเมืองที่ซื้อเสียง มีประสิทธิภาพมากกว่าหากจริงจังในการแก้ปัญหาการซื้อเสียง อีกกรณี การที่จะให้จัดมหรสพ จัดเลี้ยงได้นั้น ทุกอย่างต้องมีเงินมาเป็นปัจจัยนำการเมืองสุจริต ซึ่งผิดหลัก แล้วคนดีที่ตั้งใจอาสาเข้ามาทำหน้าที่เพื่อบ้านเมืองจะทำอย่างไร ความไม่เท่าเทียมจะเกิดขึ้น ฉะนั้นหากให้กระทำการกันอย่างอิสระเสรี ทุกอย่างจะปั่นป่วนไปหมด จะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนรับจะไปแจ้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)

'กบฉ.ไฟเขียว' ต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ '3 จ.ใต้' ย้ำ เข้มมาตรการ เฝ้าระวังชายแดน-โควิด-19-งานข่าวในพื้นที่ 

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2565 มีพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เข้าร่วม

โดยที่ประชุมเห็นชอบขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3เดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่ 20 มี.ค.- 19 มิ.ย.65 โดยเป็นการขยายระยะเวลา ครั้งที่ 67 ยกเว้น อ.ศรีสาคร ,อ.สุไหงโก-ลก ,อ.แว้ง ,อ.สุคิริน จ.นราธิวาส  อ.ไม้แก่น ,อ.แม่ลาน จ.ปัตตานีและ อ.เบตง ,อ.กาบัง จ.ยะลา ตามข้อเสนอของ กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า เสนอ เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจเาหน้าที่เกิดความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ต่อไป 

นอกจากนั้น รับทราบผลการปฏิบัติงานตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตั้งแต่ 20 ธ.ค.64-10 ก.พ.65 โดยภาพรวมสถานการณ์การก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง และประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐด้วยดี รวมถึงรับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามแผนปรับลดพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับลดพื้นที่เพิ่มขึ้น

‘ท่านใหม่’ เตือนไทย อย่าหลงเชื่อพวกคนแดนไกล ทำลาย ‘สัมพันธ์ - ต่อต้าน’ และถึงขั้นรบกับจีน 

ไม่นานมานี้ ‘ท่านใหม่’ หม่อมเจ้า จุลเจิม ยุคล ได้โพสต์เฟซบุ๊กเตือนสติคนไทยและรัฐบาลไทย หลังจากระยะหลัง เริ่มวางบทบาทที่อาจจะไปกระเทือนความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีน ด้วยการหลงเชื่อกลุ่มประเทศจากแดนไกล ว่า... 

ประเทศไทยต้องไม่เป็นยูเครนสอง

อย่าคิดทำลายมิตรภาพที่ดีระหว่างประเทศจีน และประเทศไทย ไปหลงเชื่อพวกคนแดนไกล

ขณะนี้ประเทศไทย เรา รัฐบาลเรา ก็ประพฤติปฏิบัติอย่างเดียวกันกับยูเครน นั่นคือ ได้ไปทำข้อตกลงกับสหรัฐฯ ก่อตั้งพันธมิตรตามยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ในการต่อต้านภัยคุกคามจากจีน โดยจะมีญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์เข้ามาผสมโรงด้วย 

พูดง่ายๆ ก็คือเอาประเทศไทยเข้าเป็นพันธมิตรกับอเมริกา ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ของนาโต้ และสมุนบริวารเพื่อตั้งตัวเป็นศัตรูกับจีน ‘ต่อต้านจีน’ กระทั่งอาจเตรียมที่จะทำสงครามกับจีนด้วย (หวังว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น)

ไปตั้งความตกลงนี้กันอย่างปกปิดเงียบเชียบโดยคนไทยทั้งประเทศไม่มีใครรู้เห็น จนกระทั่งสถานทูตสหรัฐฯ นำข้อตกลงนี้ออกมาเผยแพร่ คนไทยจึงเพิ่งรับรู้กันในระยะไม่กี่วันมานี้ จึงมีการกล่าวขานกันอย่างกว้างขวางว่า “นี่คือการกระทำที่ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้านอย่างเดียวกันกับยูเครน”

...ไม่สำเหนียกเลยว่าประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-จีน นั้นมีแต่ความเป็นพี่น้องกัน 
...ไม่มีครั้งไหนที่ไทยเดือดร้อนแล้วจีนจะไม่ให้ความช่วยเหลือ 
...ไม่ว่าจากศึกเหนือเสือใต้หรือจากภัยพิบัติ หรือจากปัญหาเศรษฐกิจ จีนก็เอื้อเฟื้อช่วยเหลือตลอดมา 
...ไม่เคยกระทำการใดๆ ที่เป็นภัยต่อประเทศไทยเลย 

แม้กระนั้นก็มิได้สำนึกในบุญคุณ กลับทรยศต่อมิตรไปคบคิดกับคนแดนไกล (อเมริกา) มาก่อความขัดแย้งใหญ่ขึ้นในภูมิภาค ในพระราชอาณาจักรเรา ที่มีแต่ความสงบสุข มาเป็นเวลากว่า ร้อยๆ ปี

'โฆษกรัฐบาล' เผย ไทยเตรียมพร้อมมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดของโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น สอดคล้องกับระดับสถานการณ์และมาตรฐานองค์การอนามัยโลก - นายกฯ เน้น ให้ประชาชนดำรงชีวิตได้เป็นปกติใหม่ภายใต้หลัก Universal Prevention 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึง ความพร้อมสำหรับมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดของโรคโควิด - 19 สู่โรคประจำถิ่น เป็นไปตามนโยบายและข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมสอดคล้องกับระดับสถานการณ์ โดยคำนึงถึงทั้งสุขภาพของคนไทย รวมทั้งการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ   โดยนายกรัฐมนตรีเน้นบริหารจัดการ เตรียมความพร้อมในทุกมิติ ครอบคลุมทั้งการเฝ้าระวังสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศ การบริหารจัดการวัคซีน มาตรการป้องกันและควบคุมโรค คู่ขนานไปการรักษาระบบเศรษฐกิจสร้างรายได้เข้าประเทศ เพี่อให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้เป็นปกติใหม่ภายใต้หลัก Universal Prevention 

สำหรับมาตรการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โรคประจำถิ่นมีแผนดำเนินการที่ครอบคลุมทุกมิติ โดยอัตราความรุนแรงของโรคจะต้องสามารถควบคุมได้ มีสถานพยาบาลที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับจำนวนผู้เสียชีวิตอยู่ภายใต้อัตราส่วนของสากล สอดคล้องกับมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ทั้งนี้  ประชาชนยังต้องปฏิบัติตามมาตรฐานป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด และการได้รับวัคซีนครบถ้วน รวมทั้งวัคซีนเข็มกระตุ้น เพี่อช่วยลดอัตราความรุนแรงของโรคได้

“นายกฯ” ยัน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานสตรี เร่ง แก้กฎหมายลาคลอด จ่ายค่าจ้างให้ครบ 98 วัน

ที่ทำเนียบรัฐบาล รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่เครือข่ายสตรี มีข้อเรียกร้องถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในวันสตรีสากล 8 มี.ค.ที่ผ่านมา  เกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้าง เรื่องวันลาคลอดบุตร ที่ปัจจุบันให้ลาได้ 98 วัน แต่จ่ายค่าจ้างเพียง 90 วัน เนื่องจากข้อกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างลา แต่ไม่เกิน 45 วัน โดยค่าจ้างอีกครึ่งหนึ่ง (45วัน) ลูกจ้างรับจากสำนักงานประกันสังคม(สปส.) ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน โดยวันลา 8 วัน ที่เพิ่มขึ้น ลูกจ้างยังไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่าจ้าง

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นายกฯรับข้อเรียกร้อง และติดตามการปรับปรุงข้อกฎหมาย เพื่อให้นายจ้าง และสปส. ร่วมกันจ่ายค่าจ้างให้ครอบคลุมวันลาทั้งหมด ขณะนี้กระทรวงแรงงาน อยู่ระหว่างดำเนินการให้สปส.เสนอปรับแก้ไขกฎหมาย เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้าง โดยจะปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนให้ผู้ประกันตน จากร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน เป็นร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 98 วัน จะมีผลให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างในวันลาเพิ่มขึ้นจากสิทธิเดิม อีก 4 วัน ในส่วนของค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร อีก 4 วัน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานประเมินผลสัมฤทธิ์กฎหมาย เพื่อปรับแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้างต่อไป

'อนุชา' เร่งผลักดันการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ทุกระดับ ต่อยอด ฟื้นฟู พัฒนาประเทศยุคดิจิทัล ใช้ประโยชน์จากไทยเป็นเจ้าภาพเอเปค แสดงศักยภาพต่อประชาคมโลก

ที่กรมประชาสัมพันธ์ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์เพื่อเตรียมการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1/2565 (ผ่านระบบ Video Conference) โดยมี นายรณภพ ปัทมะดิษ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.ท.สรรเสริญ  แก้วกำนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ นายธานี  แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และคณะอนุกรรมการฯ เข้าร่วม 

นายอนุชา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการดำเนินการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค 2565 โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ให้ทุกหน่วยงานใช้โอกาสในการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย เพื่อผลักดันและส่งเสริมผลประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและประชาชนคนไทยในทุกด้าน พร้อมเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนชาวไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความภาคภูมิใจและร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดี ต้อนรับผู้นำจากทั่วโลกที่จะเข้าร่วมการประชุมตลอดปีนี้

ในการประชุมได้รับทราบรายงานความคืบหน้าด้านการประชาสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมจากคณะอนุกรรมการฯ แต่ละหน่วยงาน อาทิ กรมประชาสัมพันธ์ กรมสารนิเทศ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

การที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเปคในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่สุดของไทยในทุกด้าน ขอให้คนไทยใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศมากที่สุด โดยเฉพาะในการประชุมผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะได้เห็นท่าทีและพลังของสมาชิกที่สำคัญ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเอเปคจึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งคนไทยและคนต่างชาติ  จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ เน้นการสื่อสารประโยชน์ของเอเปคที่คนไทยได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม และสื่อสารประชาสัมพันธ์เรื่องที่คนสนใจ ใกล้ตัว และเข้าถึง เข้าใจง่าย เช่น การท่องเที่ยว อาหาร และการบริการ เพื่อดึงดูดความสนใจประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมและเห็นโอกาสจากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี รวมทั้งประชาสัมพันธ์ความพร้อมของมาตรการด้านสาธารณสุขในการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 สร้างความเชื่อมั่นแก่ชาวต่างชาติในช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค 2565 

“บิ๊กตู่”นำถก กพช. ย้ายกลับมาประชุมที่ตึกภักดีบดินทร์เหมือนเดิม หลังแจ้งเปลี่ยนถกบนตึกไทยคู่ฟ้ากันการครหาหลบหน้าสื่อ

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบ Video Conference ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี ได้หารือกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน บนตึกไทยคู่ฟ้าก่อนเริ่มการประชุมเป็นเวลาเกือบ 30 นาที 

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากช่วงเช้าวันนี้มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานที่การประขุมกระทันหัน จากเดิมที่นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมการประชุมที่ตึกภักดีบดินทร์ ไปเป็นตึกไทยคู่ฟ้าแทน จนมีการตั้งข้อสังเกตว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการพบกับสื่อมวลชนนั้น  แต่ก่อนเวลาการประชุมเพียงเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงกำหนดการกลับมาใช้ตึกภักดีบดินทร์เป็นสถานที่จัดการประชุมเช่นเดิม คาดว่าเพื่อลบครหาหลีกเลี่ยงสื่อดังกล่าว 

ทอ.ยกพรบ.กลาโหม จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ทดแทน เพิ่มศักยภาพป้องน่านฟ้าทัดเทียบประเทศเพื่อนบ้าน ทดแทนบินรบลำเก่าที่มีอายุใช้งานยาวนาน 

พล.อ.ต.ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดซื้อเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนว่า ตาม พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551  มาตรา 21 ระบุให้ กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ การป้องกันราชอาณาจักรและดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศ ตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ  

และตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศด้านความมั่นคง ของกระทรวงกลาโหม และแผนปฏิบัติการด้านการปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของกองทัพไทย ซึ่งกำหนดแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ระบุว่ากำลังทางอากาศต้องมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการเชิงรุกที่ได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม และปฏิบัติการร่วมทั้งในและนอกประเทศ โดยใช้ระบบเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations) ทำให้กองทัพอากาศต้องเตรียมยุทโธปกรณ์ให้มีความพร้อม ทันสมัย มีศักยภาพทางทหารที่ทัดเทียมกับประเทศรอบบ้าน  

ปัจจุบันเครื่องบินรบส่วนใหญ่ของกองทัพอากาศ มีขีดความสามารถจำกัดในการปฏิบัติการทางอากาศมีอายุการใช้งานมาอย่างยาวนาน และจะเริ่มทยอยปลดประจำการตั้งแต่ พ.ศ.2564 จนถึง พ.ศ.2574 โดยใน พ.ศ.2575 กองทัพอากาศจะคงเหลือเครื่องบินขับไล่โจมตีต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถของกำลังรบทางอากาศลดลงจนไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ และยังต้องแบกรับภาระการส่งกำลังและซ่อมบำรุงกับเครื่องบินรบจำนวนมาก ที่มีอายุการใช้งานสูงถึง 28 - 54 ปี จึงต้องพัฒนาและจัดหายุทโธปกรณ์ที่จำเป็นและเพียงพอต่อหน้าที่ในการเตรียมการใช้กำลังทางอากาศ โดยคำนึงถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานภาพงบประมาณของกองทัพอากาศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ รองรับแผน ปฏิบัติการของกระทรวงกลาโหมและกองทัพไทย 

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top