Wednesday, 14 May 2025
NEWS

นายกฯ ห่วงใยแรงงานไทยเสียชีวิตและบาดเจ็บจากแรงระเบิดในฉนวนกาซา สั่ง รมว.เฮ้ง ดูแลช่วยเหลือเร่งด่วน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย นายกรัฐมนตรี ห่วงใยแรงงานไทยเสียชีวิตและบาดเจ็บจากแรงระเบิดจากการโจมตีของกลุ่มฮามาส สั่งการดูแลสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย พร้อมประสานแจ้งญาติทราบการช่วยเหลือในทันที

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จากการโจมตีโดยกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา ว่า ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของแรงงานไทยที่เสียชีวิตและห่วงใยผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิด และสั่งการให้กระทรวงแรงงานเร่งประสานความช่วยเหลือให้ญาติพี่น้องและครอบครัวของแรงงานไทยที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บทราบ รวมทั้งให้การช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายในทันที

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า จากรายงานของฝ่ายแรงงานฯ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ
ว่า ได้รับแจ้งข้อมูลจากนาย Eyal Siso รองอธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลว่า จากการโจมตีโดยกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 14.35 น.แรงงานระเบิดทำให้คนงานไทย จำนวน 2 รายเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บอีก 8 ราย นอกจากนี้ ยีงมีแรงงานอีก 15 คน ที่มีอาการตกใจกลัว 

สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล Soroka ซึ่งฝ่ายแรงงานฯ ได้ติดต่อไปยังนายปรีชา แซ่ลี้ แรงงานไทยที่โดนสะเก็ดระเบิดได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ว่าหากนายปรีชาฯ และแรงงานไทยอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีความต้องการให้ฝ่ายแรงงาน ฯ ประสานงานหรือให้ความช่วยเหลือในเรื่องใดให้ติดต่อมาโดยด่วน ทั้งนี้ ฝ่ายแรงงานฯ อยู่ระหว่างการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับรายชื่อผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งจะติดตามดูแลคนไทยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างใกล้ชิด

“สำหรับการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นผมได้ให้ สำนักงานแรงงาน (สนร.) โดยฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ เข้าไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บและดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ให้ได้รับเงินสงเคราะห์จากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งได้สั่งการให้สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ประสานให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานลงพื้นที่ภูมิลำเนาของแรงงานไทยที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ไปเยี่ยมครอบครัวและญาติ เพื่อให้กำลังใจ และแจ้งสิทธิประโยชน์การดูแลคุ้มครองตามกฎหมายแก่ครอบครัวและทายาททราบต่อไป” นายสุชาติ กล่าวในท้ายสุด

'ชีวานนท์' ผู้นำคนพิการ ส่งขวัญกำลังใจ มอบรถเข็นวีลแชร์พร้อมถุงยังชีพในช่วงสถานการณ์โควิด-19

นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านแรงงาน ที่ปรึกษา นายมานะ โลหะวนิชย์ ประธานคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร (สส.จังหวัดชันภูมิ) ลงพื้นที่ หมู่ 13 ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ นำรถเข็นวีลแชร์ที่ได้รับจากนายสายัณห์ ดีเลิศ นายกสมาคมคนพิการและถุงยังชีพที่ได้รับมอบส่งต่อจากอาจารย์ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก ‘คุณกัญจนา ศิลปอาชา’ ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

โดยในวันนี้นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล ได้กล่าวว่า วันนี้เป็นอีกหนึ่งวัน ที่มีความรู้สึกปลาบปลื้มมากกว่าวันใด ๆ คือได้มีโอกาส กลับมาทดแทนพระคุณ ‘ย่าชะลอ’ ปัจจุบันอายุ 86 ปี

ย้อนกลับไปเมื่อสมัยยังวัยรุ่นนั้น ครอบครัวผมความยากจนมาก อยู่วัดตั้งแต่เด็ก พออกจากวัดก็ได้มีบ้านหลังนี้ครอบครัว ‘สุรินันท์’ มีเพื่อน ๆ และ ‘ย่าชะลอ’ ให้พักอาศัยหลับนอน ได้ให้ข้าวกิน และห่างหายไม่ได้พบกันมากกว่า 10 กว่าปี ย้อนกลับมาในวันนี้ได้นำรถเข็นวีลแชร์และถุงยังชีพที่ได้รับมาจากผู้หลักผู้ใหญ่ใจดีมามอบให้กับ ‘ย่าชะลอ’ เพื่อไว้ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประโยคนึงที่ ‘ย่าชะลอ’ พูด คือ ขอให้เอ็งเจริญเจริญรุ่งเรืองนะลูก (น้ำตาคลอ ๆ)

สุดท้ายนี้ นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล กราบขออนุโมทนาบุญกุศลที่ได้รับจากผู้หลักผู้ใหญ่ในวันนี้ ส่งต่อไปยังทุก ๆ ท่านท่านผู้ใจบุญที่ได้ให้การช่วยเหลือคนพิการ คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และยังขอขอบพระคุณ ที่ท่านได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าเป็นตัวแทนในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

‘หมอยง’ ย้ำชัด ผู้หายป่วยจากโควิด ยังต้องฉีดวัคซีน เพราะยังกลับมาติดเชื้อได้อีก ชี้ ชี้ ถ้าเพิ่งหายป่วย 3-6 เดือน ควรได้รับอย่างน้อย 1 ครั้ง

19 พ.ค. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘โควิด-19 วัคซีน ผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 จำเป็นที่จะต้องให้วัคซีนหรือไม่’ มีเนื้อหาว่า ในปัจจุบันทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคโควิด-19 เมื่อหายแล้วสามารถเป็นกลับซ้ำได้อีก ส่วนใหญ่จะเป็นหลัง 3 เดือนไปแล้ว ผู้ที่เป็น Covid-19 แล้วจึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีน หลัง 3 เดือนไปแล้ว

จากการศึกษาเบื้องต้นที่ลงพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine พบว่าการให้วัคซีนในผู้ที่หายป่วยจาก Covid-19 แล้ว การให้เพียงครั้งเดียวจะมีระดับภูมิต้านทานกระตุ้นได้สูงเท่ากับคนธรรมดาที่ไม่เคยป่วยและให้วัคซีนครบ 2 ครั้ง ผู้ที่หายป่วย ควรได้รับวัคซีนหลังจาก 3 เดือนนับจากการติดเชื้อ ส่วนจะให้ 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง ยังไม่ได้สรุปออกมาชัดเจน

แต่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าภูมิต้านทาน ของผู้ที่หายป่วยแล้วจะเริ่มลดลงหลัง 6 เดือนและลดลงไปเรื่อย ๆ ทางศูนย์ที่ดูแลอยู่ ขณะนี้ทำการศึกษาในผู้ที่หายป่วยในช่วง 3-6 เดือนจะให้วัคซีนกระตุ้น 1 ครั้ง และผู้ที่หายป่วยเกินกว่า 6 เดือนหรือเป็นปีแล้วจะให้วัคซีนให้ครบ 2 ครั้ง และกำลังตรวจผลภูมิต้านทาน รวมทั้งระบบหน่วยความจำ ของภูมิต้านทานอย่างละเอียด เพื่อจะได้ใช้เป็นคำแนะนำ ขณะนี้โครงการได้เริ่มแล้วดำเนินไปได้ด้วยดี และอยากเชิญชวนคนที่หายป่วยในระลอกที่ 3 นี้ เข้าร่วมโครงการได้รับวัคซีนด้วย โทร 02 256 4929

ดังนั้นอยากจะสรุปว่า ผู้ที่หายป่วยแล้วควรได้รับวัคซีนป้องกัน Covid อย่างน้อย 1 ครั้ง หรือขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่หายป่วยมาแล้ว ถ้าเพิ่งหายป่วยในช่วง 3-6 เดือน ควรได้รับอย่างน้อย 1 ครั้ง และผู้ที่หายมาแล้วเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป ก็ควรจะได้รับวัคซีนให้ครบ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพราะประเทศของเรามีวัคซีนในปริมาณที่จำกัด และมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่มีการติดเชื้อใน รอบที่ 3 และกำลังจะหายป่วย

ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

มท.2 เติมของกินของใช้ตู้ปันสุขบรรเทาความเดือดร้อน ปชช. ช่วงโควิด

ที่หน้ากระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย พร้อมด้วยนายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง ร่วมเติมของอุปโภค-บริโภคในกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข ส่งต่อความห่วงใยสู้ภัยโควิด-19” ให้กับประชาชนที่พักอาศัยชุมชนโดยรอบกระทรวงมหาดไทย เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส คนไร้ที่พึ่ง และผู้ที่กำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยนำเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็น ทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมกล่อง หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์และของใช้จำเป็นต่าง ๆ ใส่ในตู้ปันสุข 

นายนิพนธ์ กล่าวว่า ขอทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 D-M-H-T-T-A คือ D : Distancing เว้นระยะห่าง M : Mask wearing สวมหน้ากาก H : Hand washing ล้างมือสม่ำเสมอ T : Temperature ตรวจวัดอุณหภูมิ T : Testing ตรวจหาเชื้อโควิด-19 และ A : Application Thaichana ใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ/หมอชนะ เพื่อป้องกันคนในครอบครัวและป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้คนในชุมชน สังคม โดยขอให้ร่วมมือกันอย่างจริงจัง และขอเชิญชวนให้ประชาชนได้ลงทะเบียนและไปฉีดวัคซีนให้มากขึ้น ทั้งนี้ กรมการปกครองได้จัดกำลังสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) ให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และกำกับดูแลแถวให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคมตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด สำหรับประชาชนที่มารับสิ่งของ จะใช้วิธีแจกคูปองให้กับคนในชุมชนเพื่อคัดกรองคนที่จะมารับในเบื้องต้น ขณะที่ในช่วงของการรอรับสิ่งของบริจาคจะมีการเว้นระยะห่าง วัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เกิดความแออัด และจะดำเนินการโครงการนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายต่อไป

ครม.ไฟเขียว ลดเงินสมทบ นายจ้าง-ลูกจ้าง ม.33 เหลือ 2.5 % เป็นเวลา 3 เดือน ผู้ประกันตนมาตรา 39 เหลืออัตราเดือนละ 216 บาท

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ….. โดยให้ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมฝ่ายละ 5% เหลือฝ่ายละ 2.5% ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนมาตรา 39 เหลืออัตราเดือนละ 216 บาท เป็นเวลา 3 เดือนในงวดเดือนมิ.ย.-ส.ค.64

รวมเป็นเงินที่จะกลับมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 20,163 ล้านบาท โดยการลดเงินสมทบครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ ที่กระทรวงแรงงานเสนอ มาตรการแบ่งเบาภาระให้ลูกจ้างและนายจ้างในช่วงวิกฤตโควิด-19

นายสุชาติ กล่าวอีกว่า สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับต่อนายจ้างและผู้ประกันตน ดังนี้ นายจ้าง 481,113 ราย ลดภาระค่าใช้จ่ายลง 9,487 ล้านบาท ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จำนวน 11.1 ล้านคน ลดภาระค่าใช้จ่ายลง 9,487 ล้านบาท ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 1.8 ล้านคน ลดภาระค่าใช้จ่าย 1,189 ล้านบาท รวมผู้ประกันตนทุกมาตราจำนวน 12.9 ล้านคน ลดภาระค่าใช้จ่ายลง 10,676 ล้านบาท

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทรวงแรงงานเล็งเห็นผลกระทบที่จะเกิดต่อแรงงานและนายจ้าง จึงดำเนินการเสนอให้ลดเงินสมทบกองทุนประกันสังคมลง ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2564 โดยครั้งแรกช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 23,119 ล้านบาท รวม 2 ครั้งในปีนี้สามารถเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 43,282 ล้านบาท และเสริมสภาพคล่อง แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าของนายจ้างและผู้ประกันตน ช่วยให้ชีวิดความเป็นอยู่ของผู้ประกันตนดีขึ้น และที่สุดรักษาการจ้างงานไว้” นายสุชาติ กล่าว

นายสุชาติ กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนก.ย.64 เป็นต้นไป นายจ้าง ลูกจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ถึงจะกลับมาจ่ายเงินสมทบในอัตรา 5% ในอัตราปกติตามกฎหมายกำหนด ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะกลับมาจ่าย 432 บาทต่อเดือนตามกฎหมายกำหนดเช่นกัน

มณฑลกวางตุ้ง คุมเข้มสกัดโควิด-19 ออกมาตรการกักตัว และสังเกตอาการผู้เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง รวมประเทศไทย เป็นเวลา 14 วัน บวกสังเกตอาการเพิ่มอีก 7 วัน

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ออกประกาศเมื่อวันที่ 16 พ.ค. ค.ศ.2021 แจ้งมาตรการเพิ่มเติมเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้แก่ การตรวจเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศ โดยต้องตรวจเชื้อ 2 ครั้งในระกว่างการกักตัว 14 วัน สำหรับผู้เดินทางจากกลุ่มประเทศที่มีอัตราเสี่ยงการติดเชื้อฯ สูง ซึ่งรวมประเทศไทยด้วย จะต้องตรวจเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 1, 4, 7, 10, และ 14 ของการกักตัว

นอกจากนี้ ยังต้องอยู่ภายใต้มาตรการสังเกตอาการเพิ่มเติมอีก 7 วัน กล่าวคือ ผู้ที่กักตัวครบ 14 วันแล้ว จะต้องสังเกตอาการอีก 7 วันในที่พักของตน โดยมีการตรวจเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 2 และวันที่ 7 ของช่วงสังเกตการนี้

สำหรับผู้เดินทางเข้าจีนที่เมืองเซินเจิ้น ต้องกักตัว 14 วัน และสังเกตอาการ 7 วันที่เมืองเซินเจิ้น ก่อนออกเดินทางไปเมืองอื่นๆ


https://mgronline.com/china/detail/9640000047686

อาร์ทีไอ/ไต้หวันนิวส์ รายงาน วันที่ 17 พ.ค.ว่าไต้หวันหลังประกาศเตือนระดับ 3 มาแล้ว 3 วัน ยังพบติดเชื้อรายใหม่ เกินร้อยต่อเนื่อง โดยพบผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 335 ราย ในวัน 17 พฤษภาคม

นายโหวโหย่วอี๋ ผู้ว่าการนครนิวไทเป ประกาศเมื่อช่วงเย็นวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.-17 พ.ค. ที่ผ่านมา นครนิวไทเปมีผู้ติดเชื้อสะสม 359 ราย ในจำนวนนี้แบ่งเป็นวันที่ 15 พ.ค. 74 ราย วันที่ 16 พ.ค. 95 ราย และ 17 พ.ค. 144 ราย โดยเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ใน 9 เขต ซึ่งล้วนเป็นเขตที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แบ่งเป็นเขตปั่นเฉียว 94 ราย ซานฉง 44 ราย จงเหอ 41 ราย หย่งเหอ 36 ราย ถู่เฉิง 31 ราย ซินจวง 29 ราย หลูโจว 23 รายวัน ซินเตี้ยน 15 ราย และต้านสุ่ย 10 ราย

ดังนั้นในขณะนี้นิวไทเปควรยกระดับการป้องกันให้สูงกว่าระดับ 3 หรือปรับเป็นระดับ 3 เข้ม หรือ ‘เตรียมเข้าสู่ระดับ 4’ โดยหากพบการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามมาตรการป้องกันโควิด-19 จะสั่งปรับในทันที

ทั้งนี้มาตรการควบคุมโควิด-19 ระดับ 3 กำหนดว่า ออกนอกบ้านต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับ 3,000-15,000 เหรียญไต้หวัน สถานประกอบการและสถานที่สาธารณะต้องใช้มาตรการสวมใส่หน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างทางสังคม ร้านอาหารและภัตตาคารให้ใช้ระบบลงทะเบียนยืนยันตัวตน ใช้แผ่นกั้นและจัดที่นั่งโดยเว้นระยะห่างที่เหมาะสม หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับ 3,000-15,000 เหรียญไต้หวัน (TWD) ห้ามจัดกิจกรรมทางศาสนาหรือสถานประกอบการ 8 ประเภทหยุดให้บริการทั้งหมด หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับ 60,000-300,000 เหรียญไต้หวัน

พร้อมกันนี้ผู้ว่าฯ นครนิวไทเปยังได้เรียกร้องให้ศูนย์บัญชาการควบคุมโรคเร่งหารือเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจในการล็อกดาวน์หรือจัดตั้งมาตรฐานและเงื่อนไขการล็อกดาวน์ให้ชัดเจนกว่านี้

ทั้งนี้ไต้หวัน ใช้ระบบเทคโนโลยี NHI MediCloud System ช่วยในการต่อสู้กับ COVID-19 ระบบนี้ ‘NHI MediCloud System’ ข้อมูลทางการแพทย์ที่กระจัดกระจายอยู่ในโรงพยาบาลและคลินิกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลมณฑลและเมืองต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เปิดข้อมูลตลอดเวลา ไม่มีวันหยุดราชการ


ที่มา : https://mgronline.com/china/detail/9640000047705

ญี่ปุ่นมีวัคซีนเต็มมือแต่บริหารจัดการฉีดได้เชื่องช้า จนอาจต้องทิ้งวัคซีนนับหมื่นโดสที่จะหมดอายุในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้

หลายประเทศขาดแคลนวัคซีนโควิด ญี่ปุ่นมีวัคซีนเต็มมือแต่บริหารจัดการฉีดได้เชื่องช้า จนอาจต้องทิ้งวัคซีนนับหมื่นโดสที่จะหมดอายุในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้

วัคซีนโควิดจากไฟเซอร์มากกว่า 28 ล้านโดสได้เดินทางมาถึงญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนเมษายน แต่วัคซีนเหล่านี้ได้ถูกใช้ไปเพียงแค่ 15% โดยวัคซีนอีกเกือบ 24 ล้านโดสยังถูกอยู่ในตู้แช่แข็งอุณหภูมิ -70 องศา และจนถึงขณะนี้ในประเทศญี่ปุ่นมีผู้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มเพียงแค่ 2% ของประชากรเท่านั้น

ญี่ปุ่นอาจจะต้องทิ้งวัคซีนโควิดนับหมื่นโดสซึ่งเตรียมไว้ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ และจะหมดอายุในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ วัคซีนเหล่านี้ถูกส่งไปให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่กว่า 180 แห่ง แต่สามารถฉีดวัคซีนได้เพียงวันละ 1,000 คน ขณะนี้กำลังปรับแผนเพื่อกระจายวัคซีนไปยังโรงพยาบาลขนาดกลางและเล็กกว่า 2,600 แห่ง มิเช่นนั้นอาจต้องทิ้งไปอย่างสูญเปล่า

ญี่ปุ่นสั่งจองวัคซีนโควิดมากกว่า 344 ล้านโดส เหลือเฟือสำหรับประชาชนทุกคน และเป็นประเทศที่มีวัคซีนมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย แต่กลับบริหารจัดการฉีดวัคซีนได้ล่าช้าอย่างยิ่ง ถึงแม้จะรัฐบาลได้แต่งตั้งให้นายทาโร โคโนะ เป็นรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องวัคซีนเป็นการเฉพาะ

รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าว่าจะฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุ 36 ล้านคนได้ทั้งหมดภายในเดือนกรกฎาคม แต่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้จะต้องฉีดวัคซีนให้ได้มากถึง 800,000 คนต่อวัน หรือทำความเร็วมากกว่า 2 เท่าของที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในญี่ปุ่น ก่อนที่จะจัดงาน “โตเกียวโอลิมปิก” ในอีกไม่ถึง 100 วันข้างหน้า

ทำไมญี่ปุ่นฉีดวัคซีนล่าช้า ?

ญี่ปุ่นเริ่มฉีดวัคซีนโควิดเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ ช้ากว่าในสหรัฐฯ และหลายประเทศ ในช่วงแรก รัฐบาลโทษว่าเป็นเพราะบริษัทไฟเซอร์ ที่ใช้ฐานการผลิตในยุโรปส่งมอบวัคซีนได้ช้า ขณะที่สหรัฐฯ ประกาศว่าจะ “ไม่ปล่อยวัคซีนแม้แต่หยดเดียวออกนอกประเทศ ก่อนที่ชาวอเมริกันจะได้รับวัคซีน”

แต่ขณะนี้บริษัทเร่งผลิตวัคซีนได้จำนวนมาก และการขนส่งก็คล่องตัว แต่ญี่ปุ่นกลับบริหารจัดการฉีดได้ช้าเองจากสาเหตุคือ

1.) ญี่ปุ่นทดสอบวัคซีนซ้ำภายในประเทศ โดยอ้างว่าผลการทดสอบของไฟเซอร์ไม่ได้ครอบคลุมประชากรของญี่ปุ่น ไฟเซอร์ทำการทดสอบวัคซีนในเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน ปีที่แล้ว ในกลุ่มอาสาสมัครราว 44,000 คนใน 6 ประเทศ และมีชาวเอเชียราว 2,000 คน แต่ญี่ปุ่นใช้เวลาอีกหลายเดือนทำการทดสอบซ้ำกับชาวญี่ปุ่น 160 คน ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าการทดสอบในกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อยแค่นี้ไม่ได้พิสูจน์ถึงความปลอดภัยของวัคซีนได้จริง รังแต่จะเสียเวลาเท่านั้น

2.) อนุมัติใช้วัคซีนล่าช้า แม้ว่ารัฐบาลจะเปิด “ทางด่วน” เพื่ออนุมัติการใช้วัคซีนได้ภายใน 2 เดือน จากปกติที่ต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี แต่ขณะนี้ญี่ปุ่นได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนของไฟเซอร์เท่านั้น ส่วนวัคซีนของโมเดิร์นนา และแอสตราเซเนกา ได้ยื่นขออนุมัติใช้ฉุกเฉินมาหลายเดือนแล้ว แต่ก็ยังไม่ผ่านการพิจารณา

3.) ขาดแคลนบุคลากรการแพทย์ กฎหมายของญี่ปุ่นกำหนดให้การฉีดวัคซีนต้องทำโดยแพทย์และพยาบาลเท่านั้น ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด แพทย์และพยาบาลก็มีงานล้นมือ ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลอยู่แล้ว และยังต้องรับภารกิจฉีดวัคซีนอีก

ล่าสุดรัฐบาลได้อนุญาตให้ทันตแพทย์และอดีตพยาบาลที่เกษียณอายุหรือออกจากงานไปแล้วมาช่วยฉีดวัคซีนได้ แต่ก็ยังไม่ได้เรียกร้องกลุ่มคนเหล่านี้

ในสหรัฐฯ และหลายประเทศเปิดทางให้เภสัชกรตามร้านขายยา อาสาสมัครสาธารณสุข หรือผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางการแพทย์เข้ารับการฝึกฝนให้ฉีดวัคซีนได้ แต่เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ในญี่ปุ่น

4.) ไม่มีวัคซีนของตัวเอง ญี่ปุ่นพึ่งพาวัคซีนต่างชาติ และยังตั้งกฎเกณฑ์มากมายในการอนุมัติใช้งานทั้งที่เป็นช่วงเวลาฉุกเฉิน ถึงแม้ญี่ปุ่นจะทุ่มเงินสั่งจองวัคซีนจำนวนมาก แต่การยืมจมูกคนอื่นหายใจก็ไม่เท่ากับพึ่งพาตัวเอง

ญี่ปุ่นได้ชื่อว่ามีแผนรับมือภัยพิบัติได้อย่างดีเยี่ยม แต่เมื่อเผชิญกับภัยโรคระบาด แดนอาทิตย์อุทัยถึงกับ “ไปไม่เป็น” ระบบสาธารณสุขและรัฐสวัสดิการที่หลายคนเคยชื่นชมญี่ปุ่น วันนี้กลับไม่สามารถช่วยชีวิตประชาชนของตัวเองได้


ที่มา : https://mgronline.com/japan/photo-gallery/9640000047620

ชงครม.ไฟเขียวลดส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม 3 เดือน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยให้ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมฝ่ายละ 5% เหลือฝ่ายละ 2.5% ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนมาตรา 39 เหลืออัตราเดือนละ 216 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ในงวดเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2564 ส่วนงวดเดือนกันยายน 2564 เป็นต้นไป ให้ส่งเงินสมทบอัตราเดิม เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกันตนในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่

ทั้งนี้เชื่อว่าการลดเงินครั้งนี้จะช่วยให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถนำเงินสมทบที่ลดลงไปใช้จ่ายเพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2564 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,163 ล้านบาท เป็นการลดปัญหาทางการเงินได้ ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงาน ยังเสนอร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานด้วย

นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทย ยังเสนอร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พร้อมทั้งเสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความด้านทาน และความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ส่วนกระทรวงคมนาคม เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านพรุตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ ตำบลทุ่งลาน และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา และกระทรวงการคลัง เสนอขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

‘เลสเตอร์ ซิตี้’ สร้างปรากฎการณ์บนสังเวียนฟุตบอลอังกฤษอีกครั้ง เมื่อพวกเขาสามารถคว้าถ้วยเอฟเอคัพ มาครองเป็นครั้งแรกใน 137 ปี หลังจากที่เคยคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก อังกฤษ มาครองเป็นครั้งแรกของสโมสร เมื่อปี 2016

‘เลสเตอร์ ซิตี้’ สร้างปรากฎการณ์บนสังเวียนฟุตบอลอังกฤษอีกครั้ง เมื่อพวกเขาสามารถคว้าถ้วยเอฟเอคัพ มาครองเป็นครั้งแรกใน 137 ปี หลังจากที่เคยคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก อังกฤษ มาครองเป็นครั้งแรกของสโมสร เมื่อปี 2016

แน่นอนว่า ความสำเร็จของทีมฉายา ‘จิ้งจอกสยาม’ ส่วนสำคัญเกิดจาก ‘ความมุ่งมั่น และ ตั้งใจ’ ของชายที่ชื่อ ‘วิชัย ศรีวัฒนประภา’ ผู้ปลุกปั้นสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ จากทีมธรรมดา กระทั่งกลายมาเป็นทีมชั้นนำของลีก ที่สามารถต่อกรกับสโมสรยักษ์ใหญ่ได้อย่างสมศักดิ์ศรี ภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี

ขอแสดงความยินดีอีกครั้ง กับแชมป์เอฟเอคัพ ของ เลสเตอร์ ซิตี้

"สุทธวรรณ" จี้ "สมศักดิ์" แก้วิกฤตคลัสเตอร์เรือนจำ ปล่อยตัวผู้ต้องขังลดแออัด และต้องได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียม

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.นครปฐม พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีมาตรการจัดการกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำทั่วประเทศ ที่ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 6,853 คน ทำให้ผู้ติดเชื้อสะสมในเรือนจำทะลุหมื่นราย ว่านายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ต้องรีบแก้ไขวิกฤตการระบาดในเรือนจำเป็นการด่วน ที่บอกจัดการได้ รับมือไหว อยากถามว่าจัดการได้จริง ๆ ใช่หรือไม่ โดยมาตรการหนึ่งที่สามารถทำได้ คือ เร่งปล่อยตัวผู้ต้องขัง เพื่อลดความแออัดในเรือนจำ กรณีผู้ต้องขังที่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ ควรอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว และอาจพิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องขังที่เหลือโทษไม่ถึงสามปีแล้วติดกำไล EM เมื่อได้ออกมาแล้วต้องมีการกักตัวและได้รับการตรวจหาเชื้อ ส่วนการตรวจคัดกรองเชิงรุกยังคงต้องทำอยู่ในเรือนจำและทัณฑสถานอย่างเข้มงวด และแยกตัวมารักษาให้ถูกต้อง

น.ส.สุทธวรรณ กล่าวต่อว่า นายสมศักดิ์ ได้กล่าวไว้ว่า ทุกเรือนจำทั่วประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมทำโรงพยาบาลสนาม และหากเรือนจำใดไม่มีพื้นที่ในการจัดทำโรงพยาบาลสนามก็ให้วางแผนไปใช้พื้นที่ของทัณฑสถานเปิดหรือสถานกักกันนั้น ตนจึงอยากขอให้เร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด ที่สำคัญต้องได้มาตรฐานเดียวกับผู้ป่วยภายนอกอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ขอฝากกำลังใจไปยังเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนักในภาวะวิกฤต และให้กำลังใจกับผู้ต้องขังที่ได้รับเชื้อรวมถึงเป็นกำลังใจให้ครอบครัวผู้เกี่ยวข้องทุกคนด้วย

“ตอนนี้ทุกภาคส่วนควรเข้ามาช่วยเหลืออย่างจริงจัง ทั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต้องรีบดำเนินการแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด ช้ากว่านี้ไม่ได้แล้ว จะปล่อยให้เกิดปัญหานักโทษล้นเรือนจำ จนติดโควิด-19 กันหมดไม่ได้” น.ส.สุทธวรรณ กล่าว

ผบ.ทสส. ห่วงใยปชช. จากการแพร่ระบาดโควิด-19 คลัสเตอร์หลักสี่ เร่งส่งมอบถุงยังชีพ สนับสนุนรัฐบาล แก้ไขปัญหาในทุกมิติ

ที่กองบัญชาการกองทัพไทย ตามที่ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (หน.ศปม.) มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ จึงได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในกองบัญชาการกองทัพไทย เร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 

พล.ต.ภาณุพงศ์ สุวัณณุสส์ รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร เป็นผู้แทนกองบัญชาการกองทัพไทย มอบถุงยังชีพ จำนวน 200 ชุด ให้กับสำนักงานเขตหลักสี่เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในพื้นที่คลัสเตอร์ชุมชน บริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดยมีนายสมบัติ กนกทิพย์วรรณ ผู้อำนวยเขตหลักสี่ เป็นผู้รับมอบ 

โดยสิ่งของอุปโภค-บริโภคประกอบด้วย เจลแอลกอฮอล์ เครื่องวัดอุณหภูมิ หน้ากากอนามัย และไข่ไก่ ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงเวลาของการกักตัวต่อไป

ทั้งนี้ กองบัญชาการกองทัพไทย ยังคงเคียงข้างพี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่ที่ได้รับความเดือนร้อน โดยจะใช้ทุกศักยภาพที่มีในการดูแลประชาชนอย่างเต็มขีดความสามารถ พร้อมทั้งจะดำเนินการช่วยเหลือในพื้นที่อื่น ๆ อย่างต่อเนื่องไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย

ทบ. สนับสนุนรัฐบาลดูแลพื้นที่แพร่ระบาดแบบเฉพาะกลุ่ม พร้อมส่งรถครัวสนามดูแลประขาชนหลังเทศกาลฮารีรายอ

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ร.อ.หญิง กัญญ์ณณัฐ พรนิพัทธ์กุล ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า กองทัพบกยังคงสนับสนุนรัฐบาลช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะโรงพยาบาลสนามกองทัพบกทั้ง 12 แห่งสามารถรองรับผู้ติดเชื้อได้ 1,632 เตียง รวมทั้งโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก ทั้ง 36 แห่งทั่วประเทศสามารถดูแลกำลังพลและครอบครัวได้ระดับหนึ่ง

กองทัพบกยังสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์เข้าปฏิบัติที่โรงพยาบาลสนามผู้สูงอายุบางขุนเทียน และโรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางเชียงใหม่ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 โดยเฉพาะกลุ่ม (Cluster) ใน กทม. 

ทั้งนี้กองทัพบกร่วมกับศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.จอส.) จัดรถครัวสนามพระราชทาน ปรุงอาหารมอบให้ประชาชนในชุมชนคลองเตย ชุมชนดุสิต เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ควบคู่กับการแจกหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ สร้างการรับรู้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

ในพื้นที่ต่างจังหวัดครัวสนามออกดูแลประชาชนในช่วงเทศกาลฮารีรายอของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ หน่วยทหารได้จัดชุดปฏิบัติการล้างสิ่งปนเปื้อน ช่วยทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ พร้อมจัดครัวสนามอาหารฮาลาล รถปันสุขนำเครื่องอุปโภคบริโภค และแจกจ่ายผลิตผลการเกษตรจากโครงการทหารพันธุ์ดีให้ประชาชนชาวไทยมุสลิมในหลายพื้นที่

โฆษก กห. ระบุ มีการปรับลดงบประมาณลงต่อเนื่องหลายปีหลังโควิด ยัน พร้อมแจงในสภา ชี้ ภารกิจหลักของทหารป้องกันประเทศ และการช่วยเหลือปชช. ในทุกเหตุภัย 

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ที่กระทรวงกลาโหม พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยถึง กรณีพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ได้ให้ข้อสังเกตถึงงบประมาณประจำปี 65 ที่กระทรวงกลาโหมได้รับการจัดสรรมากกว่ากระทรวงสาธารณะสุขนั้น กระทรวงกลาโหมพร้อมให้ข้อมูลถึงเหตุผลความจำเป็นตามกระบวนพิจารณาของรัฐสภาที่จะมีขึ้นใน มิ.ย.64  

อย่างไรก็ตาม กระทรวงกลาโหม มีภารกิจหลักในการป้องกันประเทศและการช่วยเหลือประชาชนต่อเนื่องที่ผ่านมา โดยเฉพาะสถานการณ์ของโรคระบาดร้ายแรงที่กำลังเกิดขึ้นเป็นวงกว้างและเป็นความท้าทายร่วมกันของทุกฝ่ายที่ต้องหันหน้าช่วยเหลือกัน ซึ่งกระทรวงกลาโหม โดยทุกเหล่าทัพ ได้ตระหนักถึงภาระงบประมาณของรัฐบาล ที่จำเป็นต้องนำไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และเยียวยาช่วยเหลือประชาชนจากผลกระทบที่เกิดขึ้น 

“กระทรวงกลาโหม ได้มีส่วนร่วมพิจารณาปรับลดงบประมาณในภาพรวมของทุกเหล่าทัพลงกว่า 18,000 ล้านบาทในปี 63 และในปี 64 กระทรวงกลาโหมก็ได้รับการจัดสรรงบประมาณลดลงกว่าปี 63 จำนวนกว่า 17,200 ล้านบาท ต่อเนื่องมาถึง ปี 65 ทั้งนี้ แต่ละกระทรวงก็มีภารกิจที่แตกต่างกัน และ กระทรวงกลาโหม ขอยืนยันถึงความพร้อมในทุกภารกิจเพื่อประชาชน จึงไม่อยากให้นำงบประมาณของแต่ละกระทรวงไปเปรียบเทียบกัน” พล.ท.คงชีพ กล่าว   

รมว.จุติ ผนึก คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ ร่วมโครงการ “ตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 โดยใช้สุนัขดมกลิ่น” สร้างอาสาสมัครตรวจคัดกรองโควิด ผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เตรียมส่งอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เข้าร่วมโครงการ “ตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 โดยใช้สุนัขดมกลิ่น” ซึ่งอบรมโดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า มีความแม่นยำในการตรวจหาเชื้ออยู่ในระดับสูง และมีความปลอดภัยสูง

ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการนำศักยภาพของสุนัขที่มีความสามารถในการดมกลิ่นดีกว่าคนถึง 50 เท่ามาใช้ในการดมกลิ่นเหงื่อของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งยืนยันได้ว่าไม่มีการเจือปนของเชื้อไวรัส โดยนำสำลีและถุงเท้ามาใส่กระป๋องเพื่อให้สุนัขดมกลิ่น เมื่อสุนัขได้กลิ่นก็จะนั่งลงเพื่อบอกว่าคน ๆ นั้นติดเชื้อ

ที่ผ่านมาได้ทำการฝึกสุนัข พันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ 6 ตัว พบว่ามีความแม่นยำในการพบผู้ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการสูงถึง 94.8% ซึ่งนับเป็นต้นแบบในการฝึกสุนัขเพื่องานทางการแพทย์ชุดแรก และถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกในไทย ในการฝึกฝูงสุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเสริมปฏิบัติการคัดกรองปกติ เนื่องจากการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิแบบต่าง ๆ เป็นวิธีการคัดกรองเบื้องต้น และได้ผลสำหรับผู้ที่ติดเชื้อและแสดงอาการแล้วเท่านั้น ส่วนผู้ที่ติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ เครื่องมือเหล่านี้ยังไม่สามารถตรวจพบได้ แต่สุนัขที่ได้รับการฝึกมาแล้วสามารถทำสิ่งนี้ได้

นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พม. มีเป้าหมายที่จะฝึกอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ให้ครบทุกเขต อย่างน้อยเขตละ 2 คน รวม 100 คน โดยแบ่งการอบรมเป็นรุ่น ๆ ละ 15 คน เพื่อเป็นกลไกในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถออกมาตรวจคัดกรองจากนอกชุมชนได้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top