Wednesday, 26 June 2024
NEWS FEED

ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เดินทางเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน Royal Thai Police SWAT Challenge 2023

วันจันทร์ที่ 8 พ.ค 2566 เวลา 10.00 น. พล.ต.ท.ณัฐ สิงห์อุดม ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เดินทางเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน Royal Thai Police SWAT Challenge 2023 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี การแข่งขันในครั้งนี้อยู่ภายใต้โครงการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ระดับกองบัญชาการ ประจำปี 2566 โดยการแข่งขันจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 8-12 พ.ค. เพื่อค้นหาสุดยอดทีมปฎิบัติการพิเศษ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขัน UAE SWAT Challenge ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ช่วงสิ้นปีนี้

การแข่งขัน RTP SWAT Challenge 2023 จัดขึ้นภายใต้ โครงการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมหน่วยปฏิบัติการพิเศษ เป็นการนํา ประสบการณ์จากการแข่งขันที่ประเทศดูไบ มาขยายผลเพื่อให้หน่วย ปฏิบัติการพิเศษในประเทศไทยได้มีโอกาสในการแข่งขัน เพื่อเตรียม ความพร้อมของบุคคล หน่วย และอุปกรณ์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ทางการใช้อาวุธ และยุทธวิธี ที่จะ โดยทีมต่างๆ จะต้องพบกับความท้าทายทั้ง 5 สถานี ทดสอบความชํานาญในด้านต่างๆ ที่จะต้องใช้ทั้งพลังกาย พลังใจ สมาธิ และการวางแผนที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความจําเป็นต่อการปฏิบัติงานของ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ด้วยความมุ่งมั่นในการจัดโครงการนี้ หน่วยนเรศวร 261 ได้ พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างเต็ม ความสามารถเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพ จิตวิญญาณ ค่านิยม และความ เป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันของหน่วยปฏิบัติการพิเศษทั้งประเทศ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมธนาคารไทย เตือนภัยออนไลน์

เนื่องจากในรอบสัปดาห์ มีข่าวการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหลอกลวงประชาชน และมีคดีออนไลน์ ที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่ การแอบอ้างเป็นศูนย์กระจายสินค้า หลอกให้โอนเงินเพื่อสต๊อกสินค้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร./หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทำงาน เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่ออีก จึงได้ร่วมกับ  สมาคมธนาคารไทย โดย นายยศ  กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย(TBA) แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 8 พ.ค.๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (30 เม.ย.-6 พ.ค.2566) มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิม ๆ 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ  3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และ 5) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) 

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. กล่าวว่า ภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์ เรื่องแรก เป็นเรื่องมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารส่ง SMS และโทรศัพท์หลอกลวงผู้เสียหาย มีรายละเอียด ดังนี้

1. คดีนี้รูปแบบแรก มิจฉาชีพส่งข้อความว่า  มีผู้เข้าสู่ระบบธนาคารของผู้เสียหายจากอุปกรณ์อื่น 
หากไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง ให้ผู้เสียหายติดต่อธนาคารทันที โดยเพิ่มเพื่อนใน line กับมิจฉาชีพซึ่งใช้ชื่อธนาคาร และอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วส่งลิงก์มาให้หลงเชื่อและกดลิงก์ เพื่อให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย         

จุดสังเกต  
1) มิจฉาชีพส่งข้อความพร้อมแนบลิงก์คล้ายข้อความจริงจากธนาคาร และใช้ชื่อไลน์คล้ายกับ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร
2) ธนาคารจะใช้หมายเลขโทรศัพท์ของธนาคาร(ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 02)ส่งข้อความ จะไม่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัวหรือเบอร์มือถือ หรืออีเมลส่งข้อความ  และจะไม่มีการแนบลิงก์ให้กดแต่อย่างใด

วิธีป้องกัน 
1) ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้
ติดตั้ง 
2) กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับ call center ของธนาคารโดยตรง 
3) กรณีมีการส่ง Link แปลกปลอม ให้ตรวจสอบจากเวบไซต์ www.who.is 
4) หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ 
Apple Store เท่านั้น 

ธนาคารไม่มีนโยบายการส่งข้อความ SMS แบบแนบลิงก์ทุกชนิด หรือมีข้อความให้แอดไลน์ไอดี หากได้รับ SMS ดังกล่าว  อย่าหลงเชื่อ !!

2. รูปแบบที่ 2 มิจฉาชีพโทรศัพท์หาผู้เสียหายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร แล้วแจ้งว่าบัญชีของ
ผู้เสียหายมีความผิดปกติ หรือติดค้างชำระยอดบัตรเครดิต เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อมิจฉาชีพจะอ้างต่อว่า มีการนำสำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียหายไปใช้ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด แล้วให้โอนเงินไปให้มิจฉาชีพตรวจสอบ 

จุดสังเกต มิจฉาชีพจะโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินต่างๆ แล้วเริ่มบทสนทนาพูดคุยโน้มน้าวให้หลงเชื่อ แล้วส่งต่อให้คุยกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ เพื่อให้เกิดความกลัว แล้วให้โอนเงินให้คนร้ายตรวจสอบ

วิธีป้องกัน 
1) ให้ติดต่อ call center ของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง  เพราะธนาคารไม่มีนโยบายในการ
โทรศัพท์แจ้งให้ประชาชนโหลดแอพพลิเคชั่น หรือโอนเงินไปตรวจสอบ
2) กรณีอ้างหน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ให้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลจาก
หน่วยงานนั้นๆ โดยตรง
3) ถ้ามีการสนทนาทาง Video call ให้มีสติและสังเกตปากกับเสียงตรงกันหรือไม่ หรือ ภาพและท่าทางมีความผิดปกติหรือไม่

นายใหญ่ ‘โตโยต้า’ ขอโทษลูกค้าชาวไทย กรณีปรับแต่งผลการทดสอบ Yaris ATIV

‘โตโยต้า’ ตั้งโต๊ะแถลงข่าวในไทย ประธานบอร์ดบริษัท-ผู้บริหารระดับสูง ขอให้ลูกค้าชาวไทยเชื่อมั่นในแบรนด์

(8 พ.ค. 66) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวชี้แจง กรณีความไม่สมบูรณ์ของการเตรียมการทดสอบการชนด้านข้างของรถยนต์ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ โดยมีผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมการแถลงข่าว ที่สำนักงานใหญ่ของโตโยต้า ประเทศไทย

นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวภายในงานแถลงข่าวว่า วันนี้ ตนได้เดินทางไปยัง โตโยต้า เกตเวย์ ศูนย์การผลิตและการวิจัยรถยนต์ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี และเดินทางไปพบผู้แทนจำหน่าย (ดีลเลอร์)

‘กลุ่มพลังคนพุทธ’ จี้!! ทหารเอาผิดกลุ่มชูธงชาติปฏิวัติมลายูปาตานี ชี้!! ทำลายความสงบสุขในชาติ สั่นสะเทือนความมั่นคงของรัฐฯ

(8 พ.ค. 66) ที่กระทรวงกลาโหม กลุ่ม ‘รวมพลังคนไทยพุทธ องค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ’ (อปพส.) นำโดยนาย ประพันธุ์ กิตติฤดีกุล (ผอ.ดี) เดินทางมายื่นหนังสือ ต่อหน่วยงานความมั่นคง เพื่อให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินคดีตามกฎหมายกับกลุ่มคนที่มายืนตะโกนเป็นภาษามลายูและทำความเคารพ พร้อมชูธงปฏิวัติมลายูปาตานี หน้ากระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 66 ที่ผ่านมา เนื่องจากทางกลุ่มมองว่า เป็นการหยามเกียรติและไม่เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการทำลายเกียรติภูมิของประเทศ

โดยนายประพันธุ์ ได้อ่านแถลงการณ์ว่า กลุ่มตนต้องการให้กระทรวงกลาโหม ตรวจสอบและแจ้งผลการตรวจสอบกลุ่มชายมุสลิมที่มายืนตะโกน เป็นภาษามลายูและทำความเคารพ พร้อมชูธงปฏิวัติมลายูปาตานี หน้ากระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 66 ซึ่งจากการกระทำของกลุ่มชายมุสลิมกลุ่มดังกล่าว เสมือนเป็นการหยามเกียรติ และศักดิ์ศรี เสมือนทำลายเกียรติภูมิ ทำลายภาพลักษณ์ของชาติไทยด้านความมั่นคงของรัฐฯ ทำลายความสงบเรียบร้อย และยังฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไทยหลายมาตราอีกด้วย

‘ทภ.2’ ปล่อยคลิปการ์ตูน สื่อถึงความสำคัญของการมีทหาร ตัดพ้อโซเชียล!! ถูกโจมตี-ถูกตั้งคำถาม ทั้ง ๆ ที่ทำเพื่อชาติ

(8 พ.ค. 66) ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 2 ได้ส่งคลิปภาพการ์ตูนประกอบเพลงแร็ป ที่ชื่อว่า ‘มีทหารไว้ทำไม’ เผยแพร่โดยไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้จัดทำขึ้น เนื้อหาเล่าเรื่องราวการปฏิบัติหน้าที่ของทหารในสนามรบ ท่ามกลางความเป็นห่วงของครอบครัวในเรื่องความปลอดภัย แต่ทหารก็ยังย้ำในหน้าที่ปกป้องชาติ และ ประชาชน ก่อนที่คลิปดังกล่าวจะตัดไปเป็นภาพการ์ตูนผู้ชายใส่เสื้อเชิ้ตขาวชี้นิ้ว และมีข้อความเป็นคำพูดว่า “เราไม่ต้องการทหาร กลับเข้ากรมกองไป ไร้ประโยชน์ ประเทศอื่นเขาไม่รบกันแล้ว สมัยนี้เขาใช้เรือประมงไปรบแล้ว เปลือง และกระจอก เขาไม่รบกันแล้ว รบไปก็ไม่ชนะ“ โดยมีฉากหลังเป็นทหารเดินลาดตระเวนในสนาม 

นอกจากนั้น ยังมีภาพการ์ตูนทหารในภารกิจช่วยประชาชนช่วงน้ำท่วม ตัดสลับกับการ์ตูนชายเชิ้ตขาวคนเดิม ชี้นิ้วพร้อมคำพูดที่ว่า “กลับไป ไม่ใช่หน้าที่ทหาร อย่ามายุ่ง” ก่อนจะเป็นคำพูดของทหารที่บอกว่า “หน้าที่ของพวกเราคือช่วยประชาชนไม่ใช่เหรอ ?” ต่อด้วยประโยคคำพูดที่ว่า “เราคงต้องอดทน อดทนเข้าไว้ ไม่ว่าใครจะเกลียดเรา” 

ตบท้ายด้วยการ์ตูนทหารกราบเท้าหญิงสูงอายุนอนป่วย พร้อมกล่าวอำลา มีข้อความว่า “วันนี้ไม่ชอบทหารก็ไม่เป็นไร แต่ทหารพร้อมช่วยเหลือประชาชนอยู่เสมอ แม้ว่าประชาชนบางส่วนไม่ต้องการทหาร แต่ทหารก็ยังเตรียมตัวพร้อมไว้เสมอ เพราะนี่คือทหารไทยที่พร้อมรับทุกสถานการณ์ ขอให้กำลังใจทหารที่ทำงานมาโดยตลอด อีกทั้งขอขอบคุณทหารไทย จนกว่าจะพบกันใหม่เมื่อประชาชนต้องการ 

‘น้องนาย’ อายุ 12 ปี ฝึกเป็นสัปเหร่อ ทำพิธีได้คล่องสุด ๆ เจ้าตัวบอกชอบอาชีพนี้ อยากช่วยพ่อ-ช่วยศพไร้ญาติไม่มีเงิน

(8 พ.ค. 66) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่วัดชากกอไผ่ ม.1 ต.ชากบก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เพื่อดูการทำงานของสัปเหร่อจิ๋ว ที่มีการแชร์กันบนออนไลน์ เกี่ยวกับสัปเหร่อที่มีอายุน้อยจนเป็นที่ฮือฮา และชื่นชมในความสามารถ ทั้งยังเรียนอยู่เพียงชั้น ป.6

เมื่อเดินทางไปถึงวัดชากกอไผ่ ซึ่งชาวบ้านกำลังเตรียม จัดพิธีฌาปนกิจให้กับศพไร้ญาติ จึงเข้าไปภายในงาน ได้พบกับ ด.ช.วุฒิภัทร์ รอดพ้น อายุ 12 ปี หรือ “สัปเหร่อเจ้านาย” ที่แต่งกายด้วยชุดซาฟารีสีดำ กำลังง่วนอยู่กับการเตรียมพิธีการฌาปนกิจ ทั้งเปิดฝาโลง ล้างหน้าด้วยน้ำมะพร้าว และ สวดมนต์พิธีอย่างคล่องแคล่ว ท่ามกลางสายตาของชาวบ้านที่ต่างก็เฝ้ามองด้วยตวามชื่นชมในความสามารถเกินเด็ก โดยมีนายอรัญ รอดพ้น อายุ 41 ปี บิดา ซึ่งเป็นสัปเหร่อของวัด คอยเป็นผู้ช่วยอยู่ห่างๆ

นายอรัญ กล่าวว่า บุตรชาย ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ที่โรงเรียนตากสินบ้านค่าย จ.ระยอง ช่วงนี้โรงเรียนปิดเทอม จึงมาทำหน้าที่สัปเหร่อ สำหรับบุตรชาย ชอบติดตามตนเองมาทำหน้าที่สัปเหร่อตั้งแต่เด็ก และมีความชอบในอาชีพนี้ พยายามสอบถามเกี่ยวกับขั้นตอน และมนต์พิธี ซึ่งตนเองก็ยินดีสอนให้ เพราะถือเป็นอาชีพที่มีเกียรติ และยังได้ช่วยเหลือสังคมอีกด้วย แต่จะไม่ให้ทิ้งการเรียน โดยใช้เวลาว่างจากการเรียนมาช่วย จนกระทั่งปัจจุบันสามารถประกอบพิธีได้ครบ จนสามารถทำได้เพียงลำพังคนเดียว แต่ตนเองก็จะคอยแนะนำอยู่ด้วย

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เป็นประธานในคพิธีเปิดการอบรมสัมมนาพนักงานสอบสวนและทีมสหวิชาชีพ พัฒนาวามรู้ด้านกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

วันนี้ (8 พ.ค.66) เวลา 09.30 น. พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ผอ.ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง (ศพดส.ตร.) ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมสัมมนาพนักงานสอบสวนและทีมงานสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว และการป้องกันการละเมิดสิทธิตามกฎหมายแรงงาน อันจะนำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รุ่นที่ 5 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับการอบรมประกอบด้วยพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่แรงงาน และเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ จำนวน 100 คน เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพความรู้ในครั้งนี้

การอบรมสัมมนาเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานเกี่ยวเนื่องกับการค้ามนุษย์ในครั้งนี้ นับเป็นรุ่นที่ 5 จากการจัดการอบรมสัมมนามาแล้วทั่วประเทศ ซึ่งปีนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงแรงงาน ให้จัดการอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว ซึ่งมักตกเป็นเหยื่อของการบังคับใช้แรงงานและการละเมิดสิทธิต่างๆ ในการทำงาน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ปฏิบัติงานซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสามารถบูรณาการร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู้การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ระดับประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับแนวทางการแก้ไขในระดับสากล

‘ตุ๊กกี้’ ฟาดยูทูบเบอร์บุกถ่ายบ้านที่ ตจว. - ปลุกพ่อป่วยมาสัมภาษณ์ ลั่น!! ไม่รู้จัก-ไม่สนิทกัน แม้ลบคลิปแล้ว ก็จะเอาเรื่องให้ถึงที่สุด

(8 พ.ค. 66) ทำเอานักแสดงตลกดัง ตุ๊กกี้ สุดารัตน์ ถึงกับขำไม่ออก เมื่อแฟนคลับได้ส่งคลิปของยูทูบเบอร์ช่องนึง ทำคอนเทนต์บุกบ้านพ่อแม่ของตนเองที่ต่างจังหวัด เข้าไปพูดคุยสัมภาษณ์โดยที่ตนเองไม่รู้เรื่องแม้แต่น้อย ทำเอาเจ้าตัวถึงกับต้องลุกขึ้นมาโพสต์ฟาดหนัก ๆ ไว้ว่า

“เสียใจมาก ที่สุด 🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺 ท่านไปบ้านหนูไม่บอกหนูสักคำหนูสงสารพ่อแม่หนูมาก เราไม่รู้จักกันนะคะ ไม่สนิทกันเลย นี่คือการไม่เคารพสิทธิ์ ของมนุษย์
พ่อหนูไม่สบาย ก็ปลุกมาสัมภาษณ์ ท่านไม่ติดต่อลูกเค้าเลย ท่านก็รู้นี่คือพ่อแม่ตุ๊กกี้

#พ่อกับแม่ก็บ้านนอก เค้าให้ทำไรก็ทำ
#ดูไปร้องไห้ไป ทำไมใจร้าย และ ไม่ให้เกียรติกันขนาดนี้
#เพื่อยอดวิว จนลืมกาละเทสะ 🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺🥺
#ใหญ่หน้ายาว
#เชื่อมะหนูเพิ่งเห็นคลิป จากการส่งมาจาก แฟนคลับ ที่อุบล !!!!!! 😡😡😡😡😡😡😡😡.

#ตุ๊กกี้ กะคนมีชื่อเสียง หาตัวง่ายมาก
สังกัด เวิร์คพอยท์ !!!!!!!!!
#ควรทำไงดี ฟ้องดีไหมคะ ?”

ศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ Election Security and Public Order Management Centre

ตำรวจ รปภ.เข้มส่งบัตรเลือกตั้งกาแล้ว เข้าศูนย์ไปรษณีย์ หลักสี่
“ศลต.ตร.เผย” เลือกตั้งล่วงหน้า พบถ่ายรูปบัตรเลือกตั้ง - ขายเหล้า 12 คดี
 

วันนี้ ( 8 พฤษภาคม 2566 ) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( ตร. ) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร. ) มอบหมาย ศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศลต.ตร.) ภายใต้อำนวยการของ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศลต.ตร. ร่วมในภารกิจการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป พ.ศ.2566 ในด้านการรักษาความปลอดภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
พล.ต.ท.นิธิธร จินตกานนท์ ผู้บัญชาการ ประจำสำนักงาน ผบ.ตร. ทำหน้าที่ โฆษก ศลต.ตร.เปิดเผยว่าภายหลังปิดหีบเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ศลต.ตร.ได้ส่งกำลังตำรวจทางหลวง ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจนครบาล และตำรวจภูธร คณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต. ) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมภารกิจขนส่งบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าที่ลงคะแนนแล้ว จากศูนย์ไปรษณีย์ 15 แห่งทั่วประเทศ กลับมายังศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ กทม. เพื่อคัดแยกส่งยังหน่วยเลือกตั้งต่อไป โดยขบวนรถขนบัตรเลือกตั้ง เดินทางออกจากศูนย์ไปรษณีย์จังหวัดต่าง ๆ ตั้งแต่เวลา 21.00 น. และถึงจุดหมายที่ศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่เป็นที่เรียบร้อยทั้ง 15 ขบวน ตั้งแต่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา โดยรถทุกคันตำรวจรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด มีตำรวจตระเวนชายแดนพร้อมอาวุธนั่งประจำรถ มีรถตำรวจทางหลวงนำขบวน และปิดท้ายขบวน โดยมีตำรวจท้องที่คอยดูแลความปลอดภัยระหว่างพักรถ  
 
สำหรับสถานการณ์โดยรวมในวันเลือกตั้งล่วงหน้า และการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งนั้น โฆษก ศลต.ตร.กล่าวว่า ภาพรวมทั่วประเทศสถานการณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย  ศลต.ตร.ได้รับรายงานการกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 12 คดี เป็นคดีจำหน่ายสุรา ในเวลาห้าม 8 คดี ในท้องที่ สน.ลุมพินี 2 คดี สน.คลองตัน 1 คดี สภ.โซ่พิสัย จว.บึงกาฬ 1 คดี สภ.ป่าตอง จว.ภูเก็ต 1 คดี ,สภ.วิชิต จว. ภูเก็ต 1 คดี, สภ.บ่อผุด จว.สุราษฎร์ธานี 1 คดี และ สภ.เมืองนครศรีธรรมราช 1 คดี

ก.แรงงาน ติวเข้มเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รุ่นที่ 2 ผนึกกำลังทีมสหวิชาชีพ ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ มุ่งไทยสู่เทียร์ 1 

วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน 
เป็นประธานพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับปี พ.ศ. 2565) รุ่นที่ 2 โดยมี นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางโสภา เกียรตินิรชา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมด้วย นางสาวโสภณา บุญ-หลง  ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กล่าวรายงาน ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร 

นายบุญชอบ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานสำคัญและเป็นหน่วยงานหลักในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านความมั่นคง โดยรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพหลักในการป้องกันการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ในการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองดูแลและป้องกันไม่ให้แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงแรงงาน “MOL พลิกโฉมตลาดแรงงานไทย” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ได้กำหนดให้ “เร่งรัดการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและป้องกันการค้ามนุษย์ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Tier 1” ซึ่งนโยบายดังกล่าวหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้นำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ในการคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการบังคับใช้แรงงาน และการนำแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติฯ (NRM) นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งการปฏิบัติงานดังกล่าวมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่มศักยภาพด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้แก่เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทีมสหวิชาชีพ ให้มีความความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน และได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 

“กระทรวงแรงงาน พร้อมที่จะร่วมผนึกกำลังกับทีมสหวิชาชีพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการยกระดับการขับเคลื่อนการต่อต้านการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของสหรัฐฯ และได้รับการจัดอันดับในรายงานการค้ามนุษย์ให้อยู่ในระดับ Tier 1 ต่อไป” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในท้ายที่สุด 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top