"สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซุม” จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2564 "New Normal" สุดยิ่งใหญ่!
เมื่อวันที่ 16-18 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา "สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม" (ไทย) ดำเนินการจัดสัมมนาเครือข่ายผู้ปกครองบุคคลออทิสติกและการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 ผ่านระบบทางไกลและ FB สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม (ไทย) ระหว่าง16-18 ก.ย. 2564 สำเร็จเสร็จสิ้นในภารกิจดังกล่าว นับเป็นการประชุมที่ประสบความสำเร็จ สมาชิกเข้าประชุมในระบบ Zoom ทั่วประเทศ และหลายท่านติดตามผ่านเพจในเครือข่ายออทิสติกไทยด้วย
การจัดประชุมดังกล่าว ครบถ้วนทั้ง ภาคเวทีวิชาการ ที่มีวิทยากรทั้งไทยและต่างประเทศ เช่นจาก SAAC หรือ St. Andrew’s Autism Center โดย Bernard Chew และDennis Aug ประเทศ สิงค์โปร์มาร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนกับคณะนักวิชาการและผู้บริหารสมาคมฯของประเทศไทย เน้นต้นแบบระบบการจัดสวัสดิการที่พักอาศัยสำหรับบุคคลออทิสติกในประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งถือเป็น Best Pratise. ที่ดี โดยแบ่งเป็นSession ต่าง ๆ
Session ที่ 1 ด้านนโยบาย การสัมมนากล่าวรายงาน โดย อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ นายกสมาคมกล่าวเปิดโดยอธิบดีสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรม พก. และนำเสนอแนวคิด “Human to Ability” ที่กรม พก.กำหนดเป็นเป้าหมายหลักในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการกว่า 2 ล้านคน โดยนโยบายการทำงาน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือระดับชาติ (National Lever)เน้น Big Data ด้านคนพิการ การขับเคลื่อนการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก การเสริมพลังคนพิการและภาคีเครือข่าย ระดับเชิงประเด็น (Sectorial Lever) เน้นการส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานคนพิการ การปรับเปลี่ยนระบบการจดทะเบียนคนพิการ ให้เป็นระบบดิจิตอล การปรับระบบ การจัดให้มี One Stop Service การปฎิรูปการดำเนินงานกองทุนคนพิการ การปรับปรุงระเบียบด้านสวัสดิการคนพิการและการช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลหรือมีแต่ไม่สามารถดูแลคนพิการได้ ทั้งนี้เน้นการบริหารจัดการองค์กรที่ดี และการพัฒนากำลังคนที่ทำงานด้านคนพิการทั้งระบบ
ช่วงต่อมาผู้เชี่ยวชาญ กรม พก. คุณณัฐอร อินทร์ดีศรี บรรยายถึง กรอบแนวคิดและความคืบหน้าในการจัดทำ อันบัญญัติสวัสดิการคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ที่ผ่านการพิจารณาจากอนุกรรมการด้านสวัสดิกราคนพิการและเตรียมนำเสนอคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติต่อไป
Session ที่ 2 ส่วนความร่วมมือภาคธุรกิจ คุณรมมุก เพียจันทร์ ผู้แทนจากกลุ่มTrue นำเสนอเรื่องการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานกับภาคีออทิสติกไทย ทั้งสมาคมและมูลนิธิออทิสติกไทยและชุมชน เช่น การร่วมจัดงานวันออทิสติกโลก การจัดจ้างงานบุคคลออทิสติก การสนับสนุนการจัดตั้ง”ธนาคารชุมชนออทิสติก” การเปิดช่องทางการตลาดออนไลน์ การสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม การพัฒนาแอปฟลิเคชั่นและระบบการคัดกรองความต้องการจำเป็นพิเศาหรือ STS
Session ที่ 3 ด้านวิสาหกิจเพื่อสังคม ผอ.นภา เศรษฐกร ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม(สวส) ให้เกียรติบรรยายพิเศษ เรื่อง”การขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อสังคม” ซึ่งเครือข่ายออทิสติก มีความเข้าใจและเข้มแข็งในเรื่องนี้มาก มีวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย 2 แห่ง คือ บริษัทออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่มี Brand Art Story by Autisticthai /Bran For All Coffee และ บริษัทเด็กพิเศษวิสาหกิจเพื่อสังคมจังหวัดพังงา มีBran ผลิตภัณฑ์ของตนเอง
Session ที่ 4 ด้านกรณีศึกษาในประเทศ กรณีตัวอย่างการจัด”ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระคนพิการ” หรือ ศูนย์ IL คุณธีรยุทธ สุคนธวิท ประธานสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระฯ ซึ่งบุกเบิกงานนี้มากว่า 20ปี ได้อธิบาย”แนวคิด ประเภทการจัดบริการ และแนวการจัดการ” ให้รับทราบ ซึ่งนับว่า ศูนย์IL มีกิจกรรมที่สนับสนุนคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหวครบทุกมิติ ทั้งมิติสุขภาพ ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบหลักประกันสุขภาพ มิติสังคม ที่มีบริการข้อมูลข่าวสาร บริการให้คำปรึกษาฉันท์เพื่อน บริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระ บริการผู้ช่วยคนพิการ และการพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ เช่น การประสานการรับสิทธิต่าง ๆ รวมถึงช่วงโควิด-19ก็ได้จัดความช่วยเหลือคนพิการในสังกัดหน่วยบริการด้วย
Session ที่ 5 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากประธานกลุ่มโซนภาคของสมาคมจะถอดบทเรียนการทำงานร่วมกัน ในประเด็นการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ซึ่งรายละเอียดติดตามได้ในเวปไซต์ออทิสติกไทยดอทคอม
Session ที่ 6 องค์ความรู้จากต่างประเทศ มีการเชิญวิทยากรต่าง ๆ ประเทศจาก SAAC ประเทศสิงคโปร์ตามกล่าวข้างต้น เล่าถึงระบบการจัดการResidential Home Day Activity Center ทำให้กลุ่มผู้นำสมาคม สามารถนำแนวคิดมา Adopt and Adapt เพื่อนำสู่การพัฒนาระบบ”บ้านพิทักษ์สิทธิออทิสติกในประเทศไทยได้ ตัวอย่างชุดความคิด เรื่อง 10 มิติที่ควรคำนึงถึง ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติก (สุขภาพ การศึกษา ที่พักอาศัย การเดินทาง ความเป็นพลเมือง เศรษฐกิจ การสร้างงาน/สร้างอาชีพ ความสัมพันธ์กับครอบครัว สันทนาการ และคุณค่าความเป็นมนุษย์ ) เป็นหลักสำคัญในการออกแบบบริการกับบุคคลออทิสติกทุกระดับ) โดยการจัดการในบ้านพิทักษ์ในสิงคโปร์ เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เรียกว่าKey Learning Domains ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะเชิงสมรรถนะ การปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน การฝึกอาชีพขั้นพื้นฐานที่เน้น คุณค่าที่ได้ทำงาน นันทนาการ กีฬา ศิลปะ และการพัฒนาทักษะสังคมอารมณ์ ส่วนด้านการบริหารจัดการเน้น การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน โดยระบบของสิงคโปร์รัฐจะอุดหนุนงบประมาณให้บางส่วน และผู้ปกครองสนับสนุนบางส่วน รวมทั้งการจัดหาผู้สนับสนุนต่าง ๆ ด้วย
