Tuesday, 13 May 2025
ECONBIZ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 6 - 10 ก.พ. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 13 - 17 ก.พ.66

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent และ NYMEX WTI เฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความกังวลว่าอุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มตึงตัว หลังนาย Alexander Novak รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย เผยแผนลดการผลิตน้ำมันดิบในเดือน มี.ค. 66 ลง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 5% ของปริมาณการผลิตของรัสเซีย เพื่อตอบโต้ชาติตะวันตกที่ออกมาตรการตั้งเพดานราคาน้ำมัน (Price Cap) จากรัสเซียซึ่งขนส่งทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 65 พร้อมทั้งกล่าวย้ำว่าจะไม่จำหน่ายน้ำมันให้แก่ชาติที่เข้าร่วมมาตรการ Price Cap น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากรัสเซียทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ รัสเซียผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ก.พ. 66 อยู่ที่ 10.93 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ผลิตคอนเดนเสทประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน)

ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยธนาคาร Australia and New Zealand Banking Group Ltd. (ANZ) ของออสเตรเลียชี้ว่าอุปสงค์น้ำมันของจีนที่ฟื้นตัว หลังยกเลิกมาตรการ Zero-COVID ที่ดำเนินการอย่างเข้มงวดมานานกว่า 3 ปี จะเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันโลกในปีนี้ ทั้งนี้ ANZ คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันของจีนในปี 66 จะเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า หรือประมาณ 50% ของอุปสงค์โลกซึ่งจะเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า ขณะที่เลขาธิการ OPEC นาย Haitham al-Ghais คาดว่าอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 66 จะอยู่ที่ 102 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 และจะเติบโตสู่ 110 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 68

สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 83 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยนาย Haitham al-Ghais คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะแตะระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในปี 66 ขณะที่นาย Afshin Javan ผู้แทนอิหร่านประจำ OPEC คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในช่วงครึ่งหลังของปี 66

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! Financial Times ชื่นชมไทย ยกเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อน้อยที่สุด

(13 ก.พ. 66) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า…

พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน 

วันนี้ มีบทความเกี่ยวกับประเทศไทย ใน Financial Times ซึ่งเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลทั่วโลก นำเสนอเนื้อหาชื่นชมประเทศไทยว่ามีการบริหารเศรษฐกิจด้วยความเชี่ยวชาญ และมีความรับผิดชอบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับความปั่นป่วนครั้งใหญ่ในหลาย ๆ เรื่อง ส่งผลให้สามารถพูดได้ว่าเงินบาทเป็นสกุลเงินที่มีความมั่นคงที่สุดเป็นอันดับแรกของโลก และทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อน้อยที่สุดด้วยครับ

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! ต่างชาตินิยมยกกองถ่ายหนังในไทย ดันอุตฯ หนังไทยโต โกยรายได้กว่า 9 ล้านพันบาท

(13 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบและยินดีที่ ประเทศไทยเป็นสถานที่ยอดนิยมที่ต่างประเทศมักเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ ทำให้สถานที่สวยงามของไทยเป็นที่รู้จัก เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งยังมีส่วนในการกระจายรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศไปในโอกาสเดียวกันด้วย

นายอนุชา กล่าวว่า จากรายงานของกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่า ในปี 2565 มีการถ่ายทำภาพยนต์ต่างประเทศในประเทศไทยถึง 348 เรื่อง โดยเดือนกันยายน และพฤศจิกายน 2565 มีการถ่ายทำสูงสุดที่ 42 เรื่อง ในขณะที่ล่าสุด เดือนมกราคม 2566 มีการถ่ายทำไปแล้วถึง 34 เรื่อง สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 298.11 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2566)

นายอนุชา กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย ภาครัฐยังได้ให้การสนับสนุนเป็นสิทธิประโยชน์ในรูปแบบการคืนเงิน (Cash Rebate) ตามมติ ครม. (7 ก.พ. 2566) ร้อยละ 20-30 เป็นระยะเวลา 2 ปี สิทธิประโยชน์หลักอยู่ที่ร้อยละ 20 เมื่อมีการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ส่วนสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกินร้อยละ 10 

นายอนุชา กล่าวว่า ยังมีการปรับเพิ่มการคืนเงินจากเดิม 75 ล้านบาท/เรื่อง เป็น 150 ล้านบาท/เรื่อง จะทำให้เพดานเงินลงทุนสร้างภาพยนต์ต่อเรื่องเพิ่มเป็น 750 ล้านบาท จากเดิม 375 ล้านบาท เพื่อเป็นการรับกับแนวโน้มที่คณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาในไทยเป็นผู้สร้างรายใหญ่ เงินทุนสูง โดยเฉพาะภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์

รมว.สุชาติ มอบ ผู้ช่วยฯ ต้อนรับ ประธาน JETRO Bangkok และ JCC Bangkok นำเสนอผลสำรวจ สร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการญี่ปุ่นต่อการค้าการลงทุนในไทย


( 10 ก.พ. 66) เวลา 15.30 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นายจุน คุโรดะ (Mr.KURODA Jun) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ และ นายทาเคโอะ คะโต้ (Mr.Takeo Kato) ประธานหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ โดยมี ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน

นายสุรชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานขอขอบคุณ JETRO Bangkok และ JCC Bangkok ที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการและองค์การทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และมีบทบาทในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น และผลักดันการนำเข้าของสินค้าไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นและเผยแพร่บรรยากาศที่ดีของการลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเช่นนี้ ทำให้มีบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยเกิดการจ้างงานจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

ยานแม่ 'ฮุนได' ลุยเอง!! ปักหมุดไทยไลน์ประกอบรถยนต์ EV พร้อมเปิดตัว บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) 1 เม.ย.นี้

หลังจากแหล่งข่าวของบริษัท ฮุนไดมอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับบริษัท ฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี เพื่อเข้ามาดูแลและทำตลาดรถยนต์ฮุนไดในประเทศไทยเองทั้งหมด ซึ่งเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ผู้บริหาร ฮุนได มอเตอร์ แสดงความพร้อมดำเนินธุรกิจในประเทศไทย 100% โดยมีแผนจะรุกทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างจริงจังนั้น

ล่าสุด บริษัทแม่ Hyundai เตรียมลงมือมาบริหารตลาดในประเทศไทยเอง หลังยอดขายรถ EV มาแรง โดยจ่อที่จะขึ้นไลน์ผลิตในประเทศไทยในวันที่ 1 เมษายนนี้ ภายใต้ทุนจดทะเบียนกว่า 70 ล้านบาท ภายใต้ชื่อบริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย)

รมว.กระทรวงพาณิชย์เปิดงานโครงการ 'พาณิชย์…ลดราคา! Grand Sale ทั่วไทย'

กระทรวงพาณิชย์เดินหน้าลดราคาสินค้า บรรเทาความเดือดร้อน ลดค่าครองชีพให้พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการและเกษตรกร ทำให้ประชาชนสามารถจับจ่ายใช้สอยได้เพิ่มมากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ภายใต้โครงการพาณิชย์...ลดราคา! Grand Sale ทั่วไทย จำนวน 274 จุด ทั่วประเทศ 

คาดว่าสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนประมาณ 350 ล้านบาท ในครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดงานจำหน่ายสินค้าลดราคาให้แก่ประชาชน โดยได้รับความร่วมมืออันดีจากผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ/ห้างท้องถิ่น นำสินค้าอุปโภคบริโภค มาจำหน่ายรวม 10 หมวดสินค้า กว่า 1,000 รายการ โดยลดสูงสุด 75 % ประกอบด้วย หมวดอาหารสด อาหารแปรรูป ข้าวสาร ซอสปรุงรส สินค้าชำระร่างกาย ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ของใช้ประจำวัน เครื่องแต่งกาย เครื่องครัว/เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าชุมชน ระหว่างวันที่ 10 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริเวณลานกีฬาใต้สะพานพระราม 8 กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายสินค้าไฮไลท์ในราคาพิเศษทุกวัน อาทิ

'บิ๊กตู่' ขอบคุณ ‘รัฐ - เอกชน’ ทุกภาคส่วน ร่วมช่วยผู้ประกอบการ SMEs รอดพ้นวิกฤติโควิด

นายกฯ ขอบคุณ สมาคมธนาคารไทย-ธปท.-ภาคเอกชน ร่วมมือภาครัฐ หนุน ‘มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว’ ขยายวงเงินกู้สูงสุด 150 ล้านบาท เสริมศักยภาพ SMEs รับธุรกิจโลกยุคใหม่ 

(10 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอบคุณในความร่วมมือของสมาคมธนาคารไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และภาคเอกชน ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาคมธนาคารไทยได้ร่วมมือกับ ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในระยะสั้น 

โดยสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้ถึง 7.7 หมื่นราย วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ให้ความช่วยเหลือ 5.9 หมื่นราย คิดเป็นยอดอนุมัติสินเชื่อกว่า 2.1 แสนล้านบาท มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ให้ความช่วยเหลือ 413 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนราว 5.8 หมื่นล้านบาท รวมถึงมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ที่ช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาหนี้ได้ตรงจุด ทันการณ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านวิกฤต มีความพร้อมกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

'ชัยวุฒิ' เสนอ 'อาเซียน' จับมือตั้งหน่วยงานข้ามชาติ ขจัด 'หลอกลวงลงทุนออนไลน์-แก๊งคอลเซ็นเตอร์'

(9 ก.พ. 66) นาย ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม เป็นผู้เเทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลครั้งที่ 3 ที่ เกาะโบราไคย์ ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม และนายตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูตประจำกรุงมะนิลา เข้าร่วมประชุมด้วย 

นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านดิจิทัลของกลุ่มประเทศ 10 ประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสารไอซีทีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการนำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ
 

'มาคาเลียส' จัดโปรฯ 'สุดสวีท' แถมลดสูงสุด 80% พาคนที่คุณรัก 'พัก-กิน-ชิล' ฟินรับวาเลนไทน์

'มาคาเลียส' (Makalius) แหล่งรวมอี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทยต้อนรับเทศกาลแห่งความรัก จัดโปรโมชันพิเศษฉลองวาเลนไทน์ 

เอาใจบรรดาคู่รักให้ฟินไปกับ 4 ดีลที่พักสุดเอ็กซ์คลูซีพติดริมทะเล อาทิ...

>> Dusit Thani Pattaya (โรงแรมดุสิตธานี พัทยา) 
>> Forest Pool Villas by IP Plus (เดอะ ฟอเรสต์ พูลวิลล่า พัทยา)  
>> The Gems Mining Pool Villas Pattaya (เดอะเจมส์ ไมนิ่ง พูลวิลล่า พัทยา) 
>> และ Wora Bura Hua Hin Resort and Spa (วรบุระ หัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา หัวหิน) 

เดินเครื่อง!! โครงการพัฒนาคลองหมายเลข 3 พลิก ‘ปทุมธานี’ สู่ถิ่นวิถีท่องเที่ยวทางสายน้ำ

แนวคิดในการพัฒนา จังหวัดปทุมธานี ให้เป็นมากกว่าเมืองผ่าน แต่ต้องกลายเป็นเมืองแวะเริ่มเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่ง ก็ต้องยอมรับว่าการมีภาคท้องถิ่นที่เอาจริงเอาจัง ช่วยได้มาก โดยในจังหวัดปทุมธานีนั้น เดิมจะมี นายเสวก ประเสริฐสุข หรือ ‘นายกใหญ่’ อดีต นายก อบต.เชียงรากใหญ่ และ อดีตรอง นายก อบจ.ปทุมธานี ผู้ได้รับฉายา ‘พี่ใหญ่ มีแต่ให้’ ที่คนปทุมฯ รู้จักกันดี คอยเป็นมือประสาน 10 ทิศกับทุกหน่วยงานในจังหวัด, ช่วยหางบประมาณ, ศึกษาปัญหาด้วยการพูดคุยชาวบ้าน หวังปั้นให้ ‘ปทุมธานี’ ไม่น้อยหน้าพื้นที่ใกล้เคียงอย่างกรุงเทพฯ, นนทบุรี, อยุธยา

เมื่อมีคนเริ่ม ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะรับไม้ต่อ ซึ่งหากย้อนไปในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดปทุมธานี ครั้งที่ 1/2566 ช่วงเดือนมกราคม จะพบว่า ตอนนี้มีการผลักดันโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองหมายเลข 3 จังหวัดปทุมธานี งบประมาณ 1.5 พันล้านบาท (ระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี) ให้สายน้ำในจังหวัดปทุมธานีกลายเป็นพิกัดสำคัญทางเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัด หรือด้วยการปั้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมานั่นเอง

โดยที่ประชุมในวันนั้นมีบุคคลสำคัญ ทั้งนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดปทุมธานี ครั้งที่ 1/2566 และ พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

สาระสำคัญอยู่ที่การติดตามเรื่องสืบเนื่องในการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่คลองหมายเลข 3 ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางสายน้ำ / การดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองหมายเลข 3 (คลองน้ำอ้อม คลองบางหลวงเชียงราก และคลองบ้านพร้าว) จังหวัดปทุมธานี ตามมติที่ประชุมก่อนหน้าเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 

โดยในที่ประชุมได้มีมติสำรวจคลองหมายเลข 3 แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีสายน้ำตามวิถีชีวิตของชุมชน โดยใช้จุดแข็งของชุมชนที่มีอยู่ ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ รวมถึงวัดวาอาราม และร้านรวงโดยรวมมาเป็นจุดขาย ซึ่งประกอบไปด้วย…

วัดสำคัญ อาทิ วัดบ้านพร้าวนอก / วัดดาวเรือง / วัดเสด็จ ปทุมธานี / วัดศาลเจ้า (เซียนแปะโรงสี) / วัดบางพูน / วัดหงษ์ปทุมาวาส (วัดมอญ) และ วัดตระพัง ส่วนสถานที่โดยรอบก็จะประกอบไปด้วยร้านอาหาร คาเฟ่ เช่น ครัวกันเองบ้านป่า / ครัวนาริมคลอง / P-river Cafe & Restaurant / ร้านอาหารป่าริมน้ำ / บ้านตานัด Baan Ta nid River Lodge’n Art Camp / สวนอาหารเพชรน้ำหนึ่ง / Prem Cafe in the Garden / ร้านอาหารริมคลองน้ำอ้อม รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น ชุมชนวัดศาลเจ้า และที่ทำการเชียงราก การประปานครหลวง (อาคารสถาปัตยกรรมสมัย ร.5)

อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดได้มีการตั้งเป้าหมายเพื่อปรับปรุงทัศนียภาพ ความสะดวกในการเดินทางทางน้ำ การขจัดสิ่งกีดขวาง ตั้งแต่คลองน้ำอ้อม คลองบางหลวงเชียงราก และคลองบ้านพร้าว สิ้นสุดที่วัดบ้านพร้าวนอก รวมระยะทาง 21 กิโลเมตร ซึ่งจากการล่องเรือในวันที่ได้ไปสำรวจ พบว่า ช่วงประตูน้ำที่การประปานครหลวง น้ำเชี่ยวมากและเรือที่มีประทุนไม่สามารถผ่านไปได้และหลายช่วงมีผักตบชวาหนาแน่น ทำให้ไม่สามารถเชื่อมคลองน้ำอ้อม คลองบางหลวงเชียงราก และคลองบ้านพร้าว 

โดยปัจจุบัน คลองหมายเลข 3 มีประตูน้ำปิดที่ปากแม่น้ำทั้ง 3 จุด จนกลายเป็นคลองปิด ส่งผลให้มีการสัญจรและใช้งานน้อยลง เนื่องจากช่วงปี พ.ศ. 2542 ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ และมีการถมคลองไปช่วงหนึ่งเพื่อทำถนนแล้ววางแนวท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร 2 ท่อด้านล่างแทน ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่าถูกลดความสำคัญลงไปอีก ขณะที่ส่วนที่เหลืออยู่ก็กลายสภาพเป็นคลองน้ำนิ่ง ทำให้มีผักตบชวาขึ้นหนาแน่น 

แผนเบื้องต้น ก็คือ ช่วงคลองหมายเลข 1 ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ คลองบ้านพร้าว จะมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำถาวรขนาด 3 ลบ.ม. ต่อวินาที จำนวน 4 เครื่อง / ช่วงคลองหมายเลข 2 ประตูระบายน้ำ คลองเชียงรากใหญ่ ไม่ต้องมีเครื่องสูบน้ำ และช่วงคลองหมายเลข 3 ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ คลองบางหลวงเชียงราก จะมีการเครื่องสูบน้ำถาวรขนาด 3 ลบ/ม. ต่อวินาที จำนวน 6 เครื่องยนต์

'สุริยะ' สั่ง!! กรมโรงงานฯ เฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 จากโรงงาน หากพบเกินค่า สั่งหยุดและดำเนินคดีทันที

(9 ก.พ. 66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และอุตสาหกรรมจังหวัดในปริมณฑล 5 จังหวัด เร่งดำเนินการมาตรการป้องกันและกำกับการตรวจฝุ่น PM2.5 จากการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ 3 มาตรการ คือ...

1.) มาตรการเร่งด่วน เข้มงวด กรณีตรวจพบโรงงานปล่อยเกินมาตรฐาน ให้ออกคำสั่งหยุดปรับปรุงแก้ไข และส่งดำเนินคดีทันที 

2.) มาตรการระยะกลาง พัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษทางอากาศระยะไกล (Pollution Online Monitoring System: POMS) 

และ 3.) มาตรการระยะยาว ทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล 

หลังดำเนินการตรวจเชิงรุกด้านฝุ่นละอองโรงงานที่มีกระบวนการเผาไหม้ โรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ โรงงานหลอมเหล็กหรือโลหะ โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และโรงงานผลิตแอสฟัลติก ที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 896 โรงงาน ผลจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบพื้นที่เขตประกอบการ และชุมชนอุตสาหกรรม ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 พบว่าค่า PM2.5 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คือ ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในปีนี้โรงงานมีความตื่นตัวเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น ด้วยการกำกับการประกอบกิจการของตนเองให้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

'อลงกรณ์' ดัน 5 มติ เตรียมเสนอ 'รมต.เฉลิมชัย' เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมง

'อลงกรณ์' เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนชาวประมง สรุปมติ 5 ข้อเตรียมเสนอ 'รัฐมนตรีเฉลิมชัย' ยกเลิกคำสั่งคสช.พร้อมชะลอประกาศกรมประมงเรื่องรางวัลนำจับเพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

วานนี้ (8 ก.พ.66) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมหารือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงโดยมีนายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและกรรมการตลอดจนตัวแทนนายกสมาคมชาวประมง เจ้าของเรือประมงที่ได้รับผลกระทบจากพระราชกำหนดประมงปี 2558, นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ, นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง, นายเดชา ปรัชญารัตน์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมประมง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  

นายอลงกรณ์ แถลงถึงผลการประชุมวันนี้ว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาโดยจะเสนอ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้....

1.) เห็นควรเสนอให้มีการปรับปรุงประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง คณะกรรมการเปรียบเทียบ และหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบ พ.ศ. 2561 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 170 วรรคสองและวรรคสาม แห่ง พรก.การประมง พ.ศ.2558 

2.) เห็นควรยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 22/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

3.) กรณีที่มีการออกกฎระเบียบใดๆ จะต้องกำหนดห้วงเวลาก่อนการบังคับใช้เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ชาวประมง โดยกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการบังคับใช้ หลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

4.) มอบหมายกรมประมงหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาประเด็นความคลุมเครือในมาตรา 38 และมาตราอื่น ๆ เช่น มาตรา 19 และมาตรา 20 และมาตรา 105 เป็นต้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้และการตีความกฎหมายเพื่อความเป็นธรรม

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! RCEP ดัน ศก.อาเซียนโตเหนือปี 65 ขยายตัว 7% มูลค่ารวม 10 ล้านล้านบาท

(9 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พอใจผลรายงานความตกลง RCEP ซึ่งทำให้การค้าไทยและประเทศสมาชิกขยายตัวร้อยละ 7.11 มูลค่าการค้ารวม 10 ล้านล้านบาท

นายอนุชา กล่าวว่า จากผลบังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ซึ่งได้มีผลบังคับใช้ครบ 1 ปี ส่งผลให้การค้าของไทยกับประเทศสมาชิก RCEP อาทิ อาเซียน, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ขยายตัว 7.11% จากปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าการค้ารวม 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 10 ล้านล้านบาท

นายอนุชา กล่าวว่า โดยแบ่งเป็นการส่งออกจากไทยไปประเทศสมาชิก RCEP มูลค่า 1.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.8 ล้านล้านบาท) โดยประเทศอาเซียน คือ อินโดนีเซีย, กัมพูชา และสิงคโปร์ เป็นตลาดส่งออกอันดับต้น รองลงมาเป็นเกาหลีใต้และออสเตรเลีย และการนำเข้าจากประเทศสมาชิก RCEP มูลค่า 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.7 ล้านล้านบาท) ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าจากบรูไนดารุสซาลาม, ออสเตรเลีย และเมียนมา เป็นอันดับต้น

ท่าเรือ 'มาบตาพุด' ระยะ 3 คืบ!! คาดปี 70 เปิดใช้ท่าเรือก๊าซ ช่วยรองรับการขนส่งก๊าซธรรมชาติได้ 31 ล้านตันต่อปี

(8 ก.พ. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ว่า เป็นการรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนทั้งโครงการ 6.4 หมื่นล้านบาท เป็นการลงทุนของภาคเอกชน 5.2 หมื่นล้านบาท ภาครัฐ 1.2 หมื่นล้านบาท แบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 เป็นการร่วมทุนระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับเอกชน เพื่อขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นพื้นที่ถมทะเล 1,000 ไร่ (พื้นที่หลังท่าและหน้าท่าพร้อมใช้งาน 550 ไร่ และพื้นที่กักเก็บตะกอนดิน 450 ไร่)
ช่วงที่ 2 เพื่อก่อสร้างท่าเรือสินค้าเหลว (แปลง A) และพื้นที่คลังสินค้าธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (แปลง C)

โดยในช่วงที่ 1 ได้ดำเนินการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและงานออกแบบรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ส่วนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งเป็น การถมทะเลคืบหน้า ร้อยละ 35.88 เร็วกว่าแผน ร้อยละ 2.91 ขณะที่การดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกันทราย (Revetment) ก่อสร้างได้ระยะทาง 5,410 เมตร มีการใช้หินสะสม 1.17 ล้านลบ.ม. และได้เริ่มงานลงหิน Toe Rock & Rock Underlayer ก่อสร้างได้ระยะทาง 240/5,410 เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดดำเนินการท่าเรือก๊าซได้ในปี 2570

เสร็จแล้ว 1 พื้นที่ สานต่ออีก 7 โครงการ ‘บ้านคนไทยประชารัฐ’ เอาใจผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-ผู้มีรายได้น้อย

(7 ก.พ. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ครม. รับทราบผลการดำเนินโครงการ ‘บ้านคนไทยประชารัฐ’ บนที่ดินราชพัสดุ และมีมติอนุมัติให้กำหนดระยะเวลาการให้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน สำหรับธุรกรรมนโยบายภาครัฐ โดยขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี ระหว่างวันที่ 3 ม.ค. 2566 - 2 ม.ค. 2567 เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยคงเดิม โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติ ตามประกาศ ธปท. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมติ ครม. อย่างเคร่งครัด

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มุ่งมั่นดำเนินโครงการบ้านคนไทยประชารัฐ จำนวน 2,757 ยูนิต เพื่อให้ประชาชน 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ได้รับสิทธิในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ / ผู้มีรายได้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อเดือน และประชาชนทั่วไปได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยเป็นโครงการบ้านแฝด บ้านแถวอาคารชุดพักอาศัย ที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 28 ตร.ม. ในระดับราคา 350,000-700,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการการผ่อนชำระสู่การเช่าระยะยาว กรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเป็นของผู้ได้รับสิทธิอยู่อาศัยและผู้ได้รับสิทธิพัฒนาโครงการ ซึ่งมีมาตรการสินเชื่อ ดังนี้... 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top