Tuesday, 13 May 2025
ECONBIZ

'ดร.กอบศักดิ์' เชื่อ!! รัฐเคาะ 50% ของงบจัดซื้อต้องเป็นสินค้าจาก SME ช่วยกระจายเม็ดเงินกว่าแสนล้านต่อปีสู่ผู้ประกอบการ

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า

นโยบายที่ใช่ เพื่อช่วย SME ในยามที่ Global recessions จะมาเยือน !!!

ต่อไป 50% ของสินค่าและบริการต่าง ๆ ที่รัฐบาลซื้อ จะต้องมาจาก SME

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริม SME กับท่านนายกฯ ได้กำหนดเป้าหมายให้ทุกส่วนราชการ จัดซื้อสินค้าและบริการจาก SME ให้ได้ 'ครึ่งหนึ่ง' ของเม็ดเงินงบประมาณในเรื่องนี้ของส่วนงานนั้น ๆ ในแต่ละปี

‘บิ๊กตู่’ ยินดี ‘สุราษฎร์ธานี’ สุดพีค หลัง นทท. มาเยือนพุ่งอันดับ 1 ของประเทศ

‘บิ๊กตู่’ ยินดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสถิตินักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 600% เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ รายได้สูงขึ้น 912.04% นักท่องเที่ยว 3.6 ล้านคน ทำรายได้กว่า 2.8 หมื่นล้านบาท ในปี 2565

(1 มี.ค.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรับทราบรายงานจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่าในปี 2565 ที่ผ่านมา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีอัตรานักท่องเที่ยวเติบโตสูง สถิตินักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนกว่า 3.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 600% ทำให้มีรายได้ในจังหวัดเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลการท่องเที่ยวของกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี 2565 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีรายได้จากนักท่องเที่ยวจำนวน 27,661 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยวจำนวน 3,690,642 คน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 รายได้สูงขึ้น จำนวน 912.04 %

‘อลงกรณ์’ เร่งเจรจาเขตการค้าเสรี กับ อียู - อังกฤษ ดันไทยขึ้นแท่น Top 10 มหาอำนาจด้านอาหารของโลก

(28 ก.พ. 66) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวปาฐกถาเปิดงานเสวนาบนเวทีของงานแถลงข่าวประจำปี NRF 2023 Annual Press conference ‘Big Move’ ภายใต้ประเด็นเสวนา ‘ปัญหาและโอกาสสู่ทางออก ของการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทย ในตลาดยุโรปและอังกฤษ’ โดยมี คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NRF คุณอิทธิพล เลิศศักดิ์ธนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ Exim Bank และคุณณัฐศักดิ์ มนัสรังษี K Fresh เข้าร่วม ณ ลิโด้ คอนเนคท์ (ห้องลิโด้ 1) สยามสแควร์ซอย 3

โดยการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญภาครัฐได้แสดงความคิดเห็น และแชร์ประสบการณ์ให้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ และรายย่อยในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของไทย เพื่อร่วมต่อยอดความคิดและร่วมหาทางแก้ปัญหา อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการผลักดัน สินค้าเกษตรและอาหารไทยไปสู่ตลาดยุโรปและอังกฤษโดยเฉพาะบริษัทชั้นแนวหน้าของไทย เช่น เอ็นอาร์เอฟ (NRF) ที่มีเป้าหมายขยายเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าอาหารไทยและเอเซีย ในอังกฤษและยุโรป ซึ่งมีมูลค่าตลาดนี้ 10 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3 แสนล้านบาท

นายอลงกรณ์ กล่าวปาฐกถาว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ และผู้ประกอบการเอกชน ในการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยไปสหภาพยุโรปและอังกฤษ ซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย จึงให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เร่งเปิดทางสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไปอียูและอังกฤษ

โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้ลงนามเอ็มโอยู กับกระทรวงสิ่งแวดล้อมอาหารและกิจการชนบทของอังกฤษ เพื่อขยายความร่วมมือทางการเกษตรทุกมิติรวมทั้งการขจัดอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหารเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ เร่งเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) 3 กรอบสำคัญ คือ

เอฟทีเอไทย-อียู
เอฟทีเอไทย-อังกฤษ
เอฟทีเอไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA)

ซึ่งมีสมาชิก 5 ประเทศ คือ รัสเซีย, คาซัคสถาน, เบลารุส, อาร์เมเนีย และคีร์กีซสถาน เป็นก้าวใหม่ก้าวใหญ่ของภาครัฐ ผสมผสานกับบิ๊กมูฟของภาคเอกชนในวันนี้ จึงมั่นใจว่าประเทศไทยจะบรรลุความสำเร็จที่ตั้งเป้าหมาย เป็นมหาอำนาจทางอาหารท็อปเทนของโลกภายในปี 2030 เป็นอาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของสำนักงาน มกอช.ตั้งแต่ฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm 2 Tables) ภายใต้การพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาภาวะโลกร้อน สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรปและอังกฤษ ตลอดจนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางเรือ ทางอากาศและทางบก โดยเฉพาะการขนส่งทางรางบนเส้นทางรถไฟสายไทย-จีน-ลาว-ยุโรป

สำหรับโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ทั้งในเรื่องการรักษาและขยายส่วนแบ่งการตลาดในสินค้าหลักที่มีฐานการตลาดอยู่เดิม ได้แก่

1.) สินค้าปศุสัตว์ - ไก่แปรรูปและไก่หมักเกลือ (สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์) โดยในปี 2565 ประเทศไทยส่งออกไก่แปรรูปไปยังสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร มูลค่า 38,000 ล้านบาท ซึ่งขยายตัวจากปี 2564 ถึงร้อยละ 69

2.) สินค้าพืชผักผลไม้สดผลไม้แปรรูป และข้าว (สหราชอาณาจักร อิตาลี เนเธอร์แลนด์) สับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดกระป๋อง และผลไม้กระป๋อง (เนเธอร์แลนด์และเยอรมนี)

3.) สินค้าประมงและสัตว์น้ำ (แช่แข็งและแปรรูป) ปลาหมึกแช่แข็ง (อิตาลี) ปลาทูน่ากระป๋อง (เนเธอร์แลนด์)

4.) ยางพาราและผลิตภัณฑ์ (เยอรมนี เนเธอร์แลนก์ สเปน เบลเยียม อิตาลี)

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 20 - 24 ก.พ.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 27 ก.พ. - 3 มี.ค.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงขึ้น ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน โดยตลาดคาดว่าในปี 66 Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบัน สู่ระดับ 5.25-5.50% มากกว่าที่เคยคาดการณ์ 0.25% ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน โดยดัชนีดอลลาร์ (DXY Index) ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลก วันที่ 24 ก.พ. 66 ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 0.61 จุด จากวันก่อนหน้า อยู่ที่ 105.21 จุด สูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ กดดันราคาน้ำมัน

อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันโลกจะได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์น้ำมันของจีนที่กำลังฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการเดินทางทางอากาศ โดยสำนักวิเคราะห์ Wood Mackenzie, FGE, Energy Aspects และ S&P Global Commodity Insight คาดการณ์ว่าจีนจะนำเข้าน้ำมันดิบในปี 66 เพิ่มขึ้น 0.5 – 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 11.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ตลาดกังวลว่าอุปทานน้ำมันจากรัสเซียจะตึงตัว หากรัสเซียลดการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทมากกว่า 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. 66 ตามที่เคยประกาศไว้ เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรและตั้งเพดานราคาน้ำมัน (Price Cap) ของชาติตะวันตก โดย Reuters รายงานรัสเซียมีแผนลดการส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Primorsk และ Ust-Luga ในทะเลบอลติก และท่า Novorossiysk ในทะเลดำ 25% ในเดือน มี.ค.-เม.ย. 66

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 80 – 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

'การรถไฟ' แก้แบบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาใหม่ ช่วยลดผลกระทบต่อโบราณสถานและมรดกโลก

(28 ก.พ. 66) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้ Update ข้อมูลสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ระบุว่า...

สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา จะอยู่ตรงไหน มีหน้าตาอย่างไร มาช่วยกันหาทางออก เพื่อพัฒนาเมืองในการศึกษา HIA 10 มีนาคม 2566 นี้!!! ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อยุธยา

ติดตามและแสดงความคิดเห็นได้ที่ Line
https://lin.ee/WU1GxB7 

HIA Historic City of Ayutthaya

เพื่อน ๆ ยังจำการที่ ‘กรมศิลปากร’ ออกมาคัดค้านในการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ด้วยเหตุผลการกระทบกับโบราณสถาน และมรดกโลก ซึ่งขอให้การรถไฟ ทำการศึกษา HIA (ศึกษาผลกระทบกับโบราณสถาน) ซึ่งทำให้โครงการเกิดการชะงัก และกับมาพิจารณากันใหม่

โดย กรมศิลปากรเป็นห่วงในเรื่องความสูงของทางวิ่ง และตัวอาคารสถานี ที่อาจจะสูงมากจนทำให้เป็นทรรศนะอุจาด ของเมืองอยุธยาได้

แต่ถ้าดูตามบริบทของพื้นที่ สถานีรถไฟอยุธยา ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับสถานีรถไฟความเร็วสูง อยู่นอกเขตเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งจากเขตของมรดกโลก มากกว่า 1 กิโลเมตร

ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟได้จ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษา HIA (ศึกษาผลกระทบกับโบราณสถาน) เพื่อหารูปแบบ และป้องกันผลกระทบในทุกด้านกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน

คนอยุธยาช่วยกันออกมาแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้สิ่งที่คนอยุธยาต้องการจริง ๆ นะครับ

เผื่อใครยังไม่ได้อ่านรายละเอียด ประเด็นปัญหาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา

ซึ่งผมเคยพูดถึงดรามานี้ไปจนใหญ่โต เรื่อง สถานีอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ ตามลิงก์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1201611603610650/ 

การทำ HIA ตามที่กรมศิลป์ฯ และ UNESCO ต้องการ ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1202420353529775/?d=n 

การเปรียบเทียบ โครงการอื่นๆ ที่ผ่านใกล้กับมรดกโลก จากทั่วโลก
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1286300595141750/?mibextid=BfDkjB

ซึ่งหลังจากที่กรมศิลปากร มีข้อเป็นห่วงกับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ก็มีการปรับปรุงรายละเอียดเพื่อลดผลกระทบ

โดยจะแก้ไขรายละเอียดสถานีและทางวิ่งช่วงผ่านเมืองอยุธยา คือ...

- ปรับลดคานทางวิ่งของทางรถไฟยกระดับลง 
จาก 21.62 เมตร >>> เหลือ 17 เมตร 

- ใช้ระยะสูงสุดของอาคารตาม EIA เดิม

หลังคากลางอาคารสูงสุด อยู่ที่ 37.45 เมตร...
ระดับชั้น 3 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง 21.62 เมตร
ระดับชั้น 2 ชานชาลาพื้นที่ยานตั๋วและรอรถ 12.00 เมตร
ระดับชั้น 1 สถานีเดิม ชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงในอนาคต 1.50 เมตร

'คลัง' ยันเสถียรภาพ ศก.ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ดัชนีเชื่อมั่นโต อัตราเงินเฟ้อลด

(27 ก.พ. 66) นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และสูงสุดในรอบ 26 เดือน ขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.7 จากระดับ 49.7 ในเดือนก่อน

ทั้งนี้ สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น ส่วนเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในเดือนมกราคม 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -7.3% แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 6.6%

ขณะที่ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนมกราคม 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่10.1% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 2.1%

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ‘ไทย’ เป็นเจ้าภาพประชุมใหญ่ ‘AFECA-ICCA’ สะท้อนความน่าเชื่อถือ พร้อมดัน ‘ธุรกิจไมซ์’ ขับเคลื่อน ศก.

(27 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่น และชื่นชมในศักยภาพการจัดการประชุม ซึ่งไทยทำได้ดีมาโดยตลอด

นายอนุชา กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติ 2 รายการ ได้แก่ สมาคมการประชุมนานาชาติ (International Congress and Convention Association: ICCA) ประกาศจัดประชุมใหญ่ประจำปีที่ไทยในเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ และสมาคมสหพันธ์นิทรรศการและการประชุมแห่งเอเชีย (Asian Federation of Exhibition and Convention Associations: AFECA) ประกาศอย่างเป็นทางการ ให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสามัญประจำปี Annual General Meeting 2023 (AFECA AGM 2023) ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ภายใต้แนวคิด ‘ASIA UNITES’ โดยจะมีสมาชิก 155 องค์กรจาก 19 ประเทศเดินทางมาร่วมประชุม ซึ่งการที่ไทยได้รับเกียรตินี้ สะท้อนและยืนยันถึงศักยภาพการเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของไทย เชื่อมั่นว่าจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจำนวนมาก

BEM แจงปม รถไฟฟ้าสายสีส้ม ไร้ทุจริต ยัน!! เข้าร่วมประมูลถูกต้องตามกฎหมาย

(26 ก.พ.66) จากกรณีมีการให้ข้อมูลปรากฏเป็นข่าวว่า การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่อว่ามีการทุจริตและเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) นั้น บริษัทขอชี้แจงว่า BEM เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจโดยสุจริต โปร่งใส ยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด

และในการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งบริษัทเป็นผู้ชนะการคัดเลือกและอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

'บิ๊กตู่' ผลักดัน นโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ยกระดับ 'ไทย' เมืองศูนย์กลางด้านสุขภาพของโลก

(26 ก.พ.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมให้ความสำคัญกับระบบสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะการส่งเสริมนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (เมดิคอลฮับ) เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่การเป็น เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลก 

โดยนายกฯ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้สำเร็จตามแผน และผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (ปี 2560 - 2569) ได้ดำเนินการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังนี้ 

เปิดแล้ว!! สะพานมิตรภาพ ไทย-กัมพูชา 'หนองเอี่ยน-สตึงบท' จุดผ่านแดนแห่งใหม่ รองรับสินค้า ส่วนหนึ่งของถนนสายเอเชีย

ไม่นานมานี้ เฟซบุ๊กเพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้รายงานความคืบหน้าสะพานมิตรภาพ 'ไทย-กัมพูชา' ระบุว่า...

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปอรัญประเทศมา เลยเอาความคืบหน้าของโครงการถนน สะพานมิตรภาพ และด่านผ่านแดนแห่งใหม่ หนองเอี่ยน-สตึงบท ที่เสร็จมาพักหนึ่ง 

ซึ่งตอนนี้เร่งเปิดให้บริการเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหา การขีดขวางจราจรของตัวเศษซากอาคารอาคาร จากไฟไหม้คาสิโน ในฝั่งกัมพูชา เมื่อสิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา

โดย สะพานมิตรภาพ หนองเอี่ยน-สตึงบท แห่งนี้ เป็นด่านที่เน้นรองรับการขนส่งสินค้า ซึ่งในฝั่งกัมพูชาจะบรรจบกับบ้านสตึงบท ที่จะลึกเข้ามาในฝั่งกัมพูชา ไม่ผ่านเมืองปอยเปต ที่มีปัญหาจราจรติดขัด และผ่านแหล่งชุมชน

>> รายละเอียดโครงการ ถนน และสะพานมิตรภาพ หนองเอี่ยน-สตึงบท

ในปัจจุบัน ด่านอรัญประเทศ มีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก มากกว่า 100,000 ล้านบาท!!!

ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาด่านพรมแดนและการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ)

ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ...

- ถนนเลี่ยงเมืองอรัญประเทศ เชื่อมต่อ ด่านชายแดน หนองเอี่ยน-สตึงบท ระยะทาง 30 กิโลเมตร เป็นถนนคอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจร

- สะพานมิตรภาพหนองเอี่ยน-สตึงบท ขนาด 2 ช่องจราจร ระยะทาง 620 เมตร

- ด่านพรมแดนอรัญประเทศแห่งใหม่ (หนองเอี่ยน) 

ลิงก์ภาพรวมโครงการ

http://www.stabundamrong.go.th/web/asean/asean_15.pdf

เติบโตต่อเนื่อง!! ‘บิ๊กตู่’ สั่ง เสริมศักยภาพ ‘อินทราโลจิสติกส์’ ไทย หวังมุ่งสู่มาตรฐานสากล-ศูนย์กลางอาเซียน

(25 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งยกระดับและส่งเสริมศักยภาพการจัดการคลังสินค้าไทยสู่มาตรฐานระดับสากล หลังแนวโน้มของอุตสาหกรรมระบบการจัดการคลังสินค้าภายในองค์กร หรือ ‘อินทราโลจิสติกส์’ (Intralogistics) ในปี 2566 คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 10-15%

จากข้อมูลโดยสมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย การเติบโตของระบบการจัดการคลังสินค้าภายในองค์กร (อินทราโลจิสติกส์) ซึ่งในปี 2565 มีมูลค่าถึง 6,000-8,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปี 2564 ประมาณ 5-8% พร้อมมองว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2566 ที่เริ่มฟื้นตัว และโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีความคืบหน้าเพิ่มเติมจากการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเร่งด่วน จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทย กับต่างประเทศมากขึ้น และเชื่อว่าจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอินทราโลจิสติกส์ขยายตัวได้ดีถึง 10-15% เทียบเท่าก่อนสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19

สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทยยังเตรียมจัดงาน LogiMAT | Intelligent Warehouse 2023 ระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม 2566 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อแสดงสินค้าชั้นนำที่เกี่ยวกับนวัตกรรมในการวางระบบคลังสินค้า และนำเสนอเทคโนโลยีการจัดการคลังสินค้าในอนาคต โดยจะเป็นงานที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการ ผู้มีศักยภาพด้านการลงทุน และผู้มีส่วนตัดสินใจขับเคลื่อนองค์กร จากทั้งไทยและนานาชาติมากกว่า 100 แบรนด์/บริษัท สามารถดึงดูดนักลงทุนด้านโลจิสติกส์และผู้ที่สนใจได้มากกว่า 6 พันคน ซึ่งจะทำให้มีเงินสะพัดในงานรวมกว่า 1,000 ล้านบาท

“นายกรัฐมนตรียินดีที่อุตสาหกรรมคลังสินค้าอัจฉริยะ หรือ อินทราโลจิสติกส์ มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2566 ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่ง และระบบโลจิสติกส์มาโดยตลอด พร้อมยินดีร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับการจัดการคลังสินค้าไทยสู่มาตรฐานระดับสากล เพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการไทย รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต” นายอนุชา กล่าว

'เพจดัง' เผย ทุนสำรองไทยแกร่ง อันดับ 14 ของโลก ขึ้นแท่นประเทศที่มีทองคำมากที่สุดในภูมิภาค

'เพจลุงตู่ตูน' ยกข้อมูล 'แบงก์ชาติ' เผย สถานะทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย สุดแกร่ง อยู่อันดับ 14 ของโลก เหนือ 'ฝรั่งเศส-อิตาลี' เป็นที่ 2 อาเซียน รองแค่ 'สิงคโปร์' แต่มีทองคำมากสุดในภูมิภาค แถมขึ้นชั้น 'เจ้าหนี้' ปล่อยกู้ IMF ด้วย

วันนี้ (24 ก.พ.66) แฟนเพจเฟซบุ๊กลุงตู่ตูน ซึ่งสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อ 'ข่าวดีประเทศไทย ‘นายกฯ ลุงตู่’ จัดให้' ถึงสถานะทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศไทย โดยระบุว่า...

ประเทศไทย มีทุนสำรองระหว่างประเทศมากถึง 8,255,996.80 ล้านบาท (237,582.64 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) จัดอยู่ในอันดับที่ 14 ของโลก เหนือประเทศฝรั่งเศส และอิตาลี ที่อยู่ลำดับที่ 15-16 และมีทุนสำรองระหว่างประเทศ ใกล้เคียงกับประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ในลำดับที่ 13

‘มาคาเลียส’ ผุดแพ็กเกจสุดพิเศษ เริ่มต้น 3,999 บาท/คืน เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน ท่องเที่ยวแบบครบวงจร

(24 ก.พ. 66) นางสาวณีรนุช ไตรจักร์วนิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาคาเลียส ประเทศไทย จำกัด (Makalius) แหล่งรวมอี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เดินหน้าลุยตลาดท่องเที่ยวประเทศไทยปี 2566 เต็มรูปแบบภายใต้กลยุทธ์ ‘Customize & Quality Traveler’ เน้นสร้างประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพให้นักท่องเที่ยว ด้วยการเสริมความแข็งแกร่งผ่าน 3 แนวคิด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product) แพลตฟอร์ม (Platform) และพันธมิตร (Partner)

'บิ๊กตู่' ผลักดันนโยบาย 'อาหารไทย อาหารโลก' เน้น!! การขยายตลาดอาหารไทยไปยังตลาดโลก คู่กับ 'ส่งเสริม' สินค้าฮาลาล อย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 66 รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) พร้อมด้วย...

- ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย 
- นายสามารถ มะลูลีม กรรมการอำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- นายประสาน ศรีเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี 
- นายประทีป กีรติเรขา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 
- คณะผู้บริหารศวฮ.และเจ้าหน้าที่

ให้การต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะในการเยือนศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิธีเปิดเริ่มด้วยการกล่าวต้อนรับ โดยศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การกล่าวสรุปกิจการฮาลาลประเทศไทย โดยพล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

จากนั้น รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์ฯ บรรยายสรุปพันธกิจและ กิจกรรมของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ดังนี้...

1. ประวัติและผลงานของ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ
2. โครงสร้างการบริหารกิจการฮาลาลประเทศไทย
3. บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบาย และเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล และห้องปฏิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล ณ ชั้น 11 – 13 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

‘เฉลิมชัย’ ผุดไอเดียเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย สู่ตลาด Sex Toy - Made in Thailand

ไม่นานมานี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

‘Sex Toy - Made In Thailand’ กอบกู้ ‘ยางไทย’ เพิ่มมูลค่า #น้ำยางไทยดีที่สุดของโลก เพื่อกู้ราคายางในไทย

วันนี้เราต้องกล้าตัดสินใจ แปรรูปยางเข้าสู่ตลาด Sex Toy เพื่อทำกำไรเข้าประเทศ และไม่ใช่แค่เรื่องลามกจกเปรต แต่เป็นเรื่องของ ‘สุขภาวะทางเพศ’

ในปี 2021 ที่ผ่านมา ตลาด Sex Toy ทั่วโลก มีขนาด 1.3 ล้านล้านบาท!

ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2016 ตลาด Sex Toy เติบโตขึ้น 300% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท ในปี 2030


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top