Tuesday, 13 May 2025
ECONBIZ

เศรษฐกิจไทยฟื้น ‘กสิกรไทย’ เผยความกังวลค่าใช้จ่าย ของครัวเรือนไทยลดลง พบบางกลุ่มยังคงระมัดระวัง ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

ดัชนี KR-ECI เดือนก.พ. 66 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันครัวเรือนไทยมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าลดลง

(12 มี.ค. 66) ในเดือนก.พ. 66 ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบันและดัชนี 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องที่ 36.6 และ 38.6 จาก 35.1 และ 37.8 ในเดือนม.ค. 66 โดยครัวเรือนยังคงความกังวลแต่มีระดับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าจากมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าที่ชะลอลงสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อไทยเดือนก.พ. 66 อยู่ที่ระดับ 3.79%YoY เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารสดที่ลดลง เช่น เนื้อสัตว์ ผักสดและผลไม้ และราคาพลังงานที่ชะลอลงตามตลาดโลก

นอกจากนี้ ในเดือนมี.ค. 66 ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลปรับลดลงมาอยู่ที่ 34 บาทต่อลิตร หลังจากถูกตรึงให้อยู่ระดับ 35 บาทต่อลิตรมานาน 7 เดือน อีกทั้ง ภาครัฐยังคงให้การอุดหนุนราคาน้ำมันดังกล่าว เช่น การขยายเวลาลดภาษีน้ำมันดีเซลลิตรละ 5 บาทออกไปถึงเดือนพ.ค. 66 สำหรับภาคการท่องเที่ยวที่ถือได้ว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงสะท้อนถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและหนุนให้ครัวเรือนมีมุมมองที่ดีเกี่ยวรายได้และการจ้างงานโดยอัตราการว่างงานเดือนม.ค.66 อยู่ที่ 1.2%YoY ขณะที่สาขาที่มีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น เช่น การขายส่งและขายปลีก ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ทั้งนี้ ในเดือนม.ค. 66 นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า 2 ล้านคนเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศก็สามารถขยายตัวได้แข็งแกร่ง โดยเดือนม.ค.66 การเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของชาวไทยมีจำนวน 15.84 ล้านคน-ครั้ง (64.9%YoY) และสร้างรายได้กว่า 70,328.9 ล้านบาท (47.3%YoY)

อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาระหนี้ในระยะข้างหน้า สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในประเทศจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยขณะนี้มีอัตราอยู่ที่ 1.50% ต่อปี ซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงินของครัวเรือนจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในปี 2566 อาจชะลอตัวลงมาที่กรอบ 84.0-86.5% แต่ภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูงอาจเป็นข้อจำกัดในการเติบโตของการบริโภคภาคครัวเรือนในอนาคต

‘บิ๊กตู่’ ชวนเที่ยวงาน ‘Andaman Craft Festival’ กระตุ้นเศรษฐกิจภูเก็ต พ่วงดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย

(11 มี.ค. 66) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย ตามยุทธศาสตร์ 5 F เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสอดคล้องแนวทาง BCG โมเดล จึงสนับสนุนนำซอฟต์พาวเวอร์มาส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดเม็ดเงินเข้าประเทศ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ 

โดยเชิญชวนพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมงาน 'Andaman Craft Festival' ที่ลานมังกร ถนนคนเดิน จังหวัดภูเก็ตในวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคมนี้ ซึ่งจัดโดย สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) เพื่อร่วมกิจกรรมและจับจ่ายใช้สอยผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ที่มาจากวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ไฮไลท์สำคัญคือ การเปิดตัวกางเกงมวยผ้าไหมไทยตัวแรกของโลก ที่ได้ 'บัวขาว บัญชาเมฆ' หรือ ร.ท.สมบัติ บัญชาเมฆ ยอดนักมวยไทยชื่อดังตำนานแชมป์โลก มาเป็นนายแบบ ต่อยอดศิลปหัตถกรรมไทยเป็นซอฟต์พาวเวอร์ระดับโลก ภายในงานยังมีกิจกรรมแฟชั่นโชว์ผ้าไทยโดย แอนนา เสืองามเอี่ยม Miss Universe Thailand 2022, ขบวนพาเหรดผ้าไทยและผ้าพื้นถิ่น โดย ไฮดี้ อมันดา Miss Grand Phuket เวิร์กช็อปงานหัตถกรรม และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ที่คาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจถึง 7 พันล้านบาท 

ระดับบิ๊กๆ ทั้งนั้น!! 'ต่อตระกูล' ย้ำข่าวดี!! นักธุรกิจจีนทั่วโลกนับพันมาไทย ประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลกที่ศูนย์สิริกิติ์ 24-26 มิ.ย.นี้

(10 มี.ค.66) นายต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า...

ข่าวดีๆ วันศุกร์ ไทยดึงนักธุรกิจจีน 4,000 คนจากทั่วโลก มาร่วมประชุมในประเทศไทย ปีนี้ ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2566 ในงานการ ประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก (World Chinese Entrepreneurs Convention-WCEC) ครั้งที่ 16 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดขึ้นโดยหอการค้าจีน-ไทย

สำหรับเป้าหมายงานนี้จัดขึ้น เพื่อสืบสานจิตวิญญาณของนักธุรกิจชาวจีนและมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังนักธุรกิจชาวจีนรุ่นใหม่ในยุคใหม่ เพื่อเป็นกำลังหลักในการพัฒนาคุณภาพสูงของความทันสมัยสไตล์จีนและความเจริญรุ่งเรืองของชาวจีนในอนาคต และสร้างคุณูปการใหม่ให้กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

โดยประเทศไทยเป็นประเทศศูนย์กลางของอาเซียนและเป็นประเทศที่มีนักธุรกิจชาวจีนอาศัยมากที่สุด มีรากฐานอุตสาหกรรมและการค้าที่แข็งแกร่ง และโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ มีความร่วมมืออย่างกว้างขวางกับจีนและโลกในด้านอุตสาหกรรม การพาณิชย์ การเกษตร เทคโนโลยีขั้นสูง พลังงาน การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

ปัจจุบันรัฐบาลไทยกำลังส่งเสริมการเชื่อมโยงในเชิงลึกระหว่าง 'ไทยแลนด์ 4.0' เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และ 'หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง-BRI' ของจีน รวมถึงการเชื่อมโยงโอกาสจากการพัฒนาอ่าวกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า การพัฒนาเขตการค้าเสรีไห่หนาน ระเบียงเศรษฐกิจปักกิ่ง เทียนสิน เหอเป่ย์ และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงของจีน นอกจากนี้ จากความก้าวหน้าของ RCEP ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นตัวเลือกลำดับแรกสำหรับการลงทุนของนักลงทุนชาวจีน

อยากเป็น SMEs สีเขียว เริ่มต้นจากการ ‘ทิ้ง’ How to ทิ้ง? .. แค่แยก = ลด

-ขยะย่อยสลายได้
นำไปผลิตเป็นพลังงาน

-ขยะรีไซเคิล
นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง

-ขยะอันตราย
นำไปกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อไม่ให้รั่วซึมลงแหล่งน้ำหรือชั้นผิวดิน

-ขยะทั่วไป
นำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน

SMEs ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้โดยไม่ต้องลงทุน เริ่มต้นที่การแยกขยะในสำนักงาน และสำหรับสถานประกอบการ ขยะรีไซเคิลอาจไม่ใช่ขยะอีกต่อไป หลายกิจการมีรายได้จากการรีไซเคิลสิ่งที่เคยเห็นว่าเป็นขยะ

#THESTATESTIMES
#EconBiz
#GoodsVoice 
#NewsFeed
#ทำธุรกิจ
#ธุรกิจ
#ธุรกิจยุคใหม่
#แยกขยะ
#ขยะ

8 เทรนด์คว้าโอกาสธุรกิจบนโลกยุคใหม่


- Global Knowledge Society โลกแห่งการเรียนรู้และโอกาสใหม่ๆ
- Digital Age โอกาสเกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลา
- Connectivity เชื่อมต่อถึงกันง่ายขึ้น
- Urbanization สังคมเมืองขยายตัว โอกาสยิ่งเติบโต
- New Generation โอกาสจากคนรุ่นใหม่
- Womenomics ผู้หญิงเปี่ยมด้วยพลังและโอกาส
- Aging Society คนวัยเก๋าคือโอกาสและอนาคต
- World Friendly รักษ์โลกสร้างโอกาส

ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

SMEs โตอย่าง ‘ยั่งยืน’ ได้จริง ง่ายๆ ด้วยหลัก ABC

A = Act
to Reduce Harm
เริ่มที่ไม่สร้างผลกระทบทางลบกับใคร เริ่มง่ายๆ กับพนักงาน

B = Benefit
to Stakeholder
ตามด้วยหาทางสร้างสิ่งดีๆ ให้กับลูกค้า คู่ค้า และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

C = Contribute
Solution
ขยายผลด้วยการลงมือทำอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งมอบสู่คนรุ่นต่อไป

ที่มา: ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

คนมีรายรับต้องรู้!! ลดหย่อนภาษีปี 2565 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง? มีเงื่อนไข่อย่างไร?

คนมีรายรับต้องรู้!!  ลดหย่อนภาษีปี 2565 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง? มีเงื่อนไขอย่างไร?

9 ขั้นตอนธุรกิจสตาร์ทอัพ ปั้นสินค้าออกสู่ตลาด

>> PRELAUNCH เตรียมพร้อมก่อนนำสินค้าออกสู่ตลาด
-ตั้งเป้าหมายที่ถูกต้อง
-ทำความเข้าใจลูกค้าและึุณค่าของสินค้า
-เริ่มต้นในตลาดที่เหมาะสม
.
>> PRODUCT LAUNCH STRATEGY กลยุทธ์การนำสินค้าออกสู่ตลาด
-ใช้เครื่องมือและช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
-สื่อสารถึงลูกค้าด้วย STORYTELLING
-ทำให้กลุ่มเป้าหมานสนใจทดลองสินค้า
.
>> AFTER LAUNCH PRODUCT WITH GROWTH MARKETING เร่งการเติบโตด้วยตลาด
-เก็บ FEEDBACK เพื่อนำมาปรับปรุง
- สินค้าเริ่มตอบโจทย์ตลาด วัดจาก ORGANIC GROWTH 
-เร่งการเติบโตด้วย GROWTH MARKETING


ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 

อยากเป็นเถ้าแก่ต้องรู้!! 5 กลยุทธ์พื้นฐาน คว้าโอกาสทางธุรกิจ

1.การแข่งขันด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
2.การแข่งขันด้วยความแตกต่าง
3.การแข่งขันด้วยต้นทุนและตลาดเป้าหมายจะแคบลง
4.การแข่งขันที่มุ่งเน้นคุณค่าให้ลูกค้าเหนื่อกว่าคู่แข่ง
5.การแข่งขันด้วยต้นทุนผสมกับความแตกต่าง


ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 

‘อลงกรณ์’ ชู 8 ลมใต้ปีก สร้างโอกาสการค้าของไทย ดึงเม็ดเงินอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง กว่า 10 ล้านลบ.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวในโอกาสบรรยายพิเศษในหัวข้อ 'ศักยภาพและโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลางและอาเซียน' ในงานสัมมนาธุรกิจ & Business Talk ณ ห้องอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ชั้น 4 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ วันนี้ ว่า ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมากรวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น”ลมส่งท้ายถึง ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทย ทางด้านการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวของไทยเริ่มต้นปีด้วยข่าวดีเมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางนโยบายขับเคลื่อนภาคเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ความเป็นเลิศ AIC 23 ศูนย์ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุน ของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า '8 ลมใต้ปีก' จะช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้สำเร็จ ได้แก่

1.) การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดิอาระเบีย 
สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่(New Economic Corridor)ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียและอาเซียนและตะวันออกกลาง

2.) รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋าง 

3.) 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP) 
เขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งรองนายกฯ.จุรินทร์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4.) มินิ-เอฟทีเอ ( Mini-FTA)
เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศเช่น ไห่หนาน กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน เมืองโคฟุของญี่ปุ่น เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5.) FTAและการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจาFTAกับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTAและUAE

6.) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น  โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)

7.) ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่ช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากต่างประเทศ ล่าสุดทางการตั้งเป้าหมายลงทุนใน EEC ระยะที่ 2 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะแรกที่ตั้งเป้าไว้ 1.7 ล้านล้านบาท (2561-2564) 

8.) ฐานการค้าการลงทุนใหม่ 18 กลุ่มจังหวัด
กระทรวงเกษตรฯ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมมือกันเดินหน้าโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพื่อกระจายการลงทุนกระจายฐานเศรษฐกิจใน18กลุ่มจังหวัดครอบคลุม77 จังหวัดจะมีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศจากจีน อาเซียน ตะวันออกกลางและอีกหลายประเทศมาร่วมลงทุนในโครงการนี้เช่น นิคมอุตสาหกรรมเมืองอุดรฯ.ในกลุ่มอีสานตอนบน และโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง ปัจจุบันโลกกำบังเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารและราคาอาการแพง

เติบโตต่อเนื่อง!! ‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! อัญมณี-เครื่องประดับไทย ส่งออกพุ่งเกือบ 50% จ่อดัน ภาคอุตสาหกรรมฯ คาด ปี 66 โตเพิ่มอีก 10 - 15%

(9 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถึงมูลค่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย ปี 2565 ชื่นชมเป็นอีกอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการเติบโตที่สูง มีตัวเลขการส่งออกเป็นอันดับที่ 3 ของไทย โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2566 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย จะสามารถเติบโตได้อีกถึง 10 - 15%

นายอนุชา กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มียอดการส่งออกสูงสุด เป็นอันดับที่ 3 ของไทย โดยจากสถิติช่วงเดือน มกราคม-ธันวาคม 2565 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่าการส่งออกถึง 15,057.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการขยายตัวกว่า 49.82% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ซึ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ, เครื่องประดับทอง, เพชรเจียระไน, เครื่องประดับเงิน, พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน โดยมีตลาดการส่งออกที่สำคัญ (ไม่รวมการส่งออกทองคำ) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, ฮ่องกง, เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, สิงคโปร์, สวิตเซอร์แลนด์, เบลเยียม, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และญี่ปุ่น ตามลำดับ

นายอนุชา กล่าวว่า มูลค่าตลาดการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมส่งออกทองคำ) ทุกตลาดมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแตกต่างกันไป โดยจุดเด่นของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย อยู่ที่การออกแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความปราณีต ในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมาก

นอกจากนี้ จากข้อมูลในปี 2565 ได้มีผู้ประกอบการด้านอัญมณีและเครื่องประดับไทย เป็นจำนวนกว่า 12,892 ราย เพิ่มขึ้นกว่า 2.41% ซึ่งแสดงถึงการเติบโต ของภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ

หนี้สร้างอนาคต!! 'อัษฎางค์' กางตัวเลข หนี้สาธารณะไทย 10.5 ล้านล้านบาท 80% คือ เงินลงทุน สร้างผลตอบแทนต่อชาติในระยะยาว

(9 มี.ค.66) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับความจริงเรื่อง 'หนี้สาธารณะของไทย' ระบุว่า...

หนี้สาธารณะของไทยเราเพิ่มขึ้น 10.5 ล้านล้านบาทนั้น ความจริง 80% คือ เงินที่นำมาใช้ในการลงทุน ซึ่งเป็นหนี้ที่ให้ผลตอบแทน ทั้งระบบคมนาคมขนส่งและชดเชยงบประมาณขาดดุล

ที่สำคัญคือ ครึ่งหนึ่งของยอด 10.5 ล้านล้านบาทนั้นเป็นหนี้ที่เกิดมาตั้งแต่ปี 40 ซึ่งเป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและในเวลาต่อมาก็คือ หนี้จากโครงการจำนำข้าว 

ปีนั้นใครเป็นรัฐบาลและใครเป็นคนสร้างหนี้นี้เอาไว้ ถ้าไม่ใช่พี่น้องตระกูลชาชิน แล้วใครเป็นคนเข้ามาแก้ไข ทำให้เศรษฐกิจไทยเงยหัวขึ้นและกำลังเนื้อหอมในหมู่นักลงทุนต่างชาติ ถ้าไม่ใช่ลุงๆ

ดอกเบี้ยเขย่าโลก 'กอบศักดิ์' เผย คำพูดสั้นๆ เขย่าโลกของประธานเฟด ส่งสัญญาณ 22 มี.ค.อาจขยับดอกเบี้ยถึง 0.5%

(9 มี.ค.66) นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพและประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ในหัวข้อ 'คำพูดสั้นๆ ที่เขย่าตลาด !!!' ว่า...

เมื่อ 2 วันที่แล้วท่านประธานเฟด ไปให้ข้อมูลประจำปี ที่คณะกรรมาธิการการเงินของรัฐสภาสหรัฐ
ท่านพูดว่า... As I mentioned, the latest economic data have come in stronger than expected, which suggests that the ultimate level of interest rates is likely to be higher than previously anticipated. If the totality of the data were to indicate that faster tightening is warranted, we would be prepared to increase the pace of rate hikes.

ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาดไว้ ซึ่งชี้ว่าดอกเบี้ยเฟดคงจะต้องขึ้นไปสูงกว่าที่กรรมการเคยคิดกันไว้ และถ้าข้อมูลที่ประมวลทั้งหมดชี้ว่าจะต้องเร่งการขึ้นดอกเบี้ย กรรมการเฟดก็พร้อมที่จะขึ้นในอัตราที่สูงกว่า +0.25% !!!

โละขายยกล็อต!!!! ‘การเคหะฯ’ ชง ‘ครม.’ เคาะขาย ‘บ้านเอื้ออาทร’ ยกล็อต หาเงินล้างหนี้เฉียด 2 หมื่นล้าน หลังแบกมานานกว่า 15 ปี 

โละขายบ้านเอื้ออาทร ยกล็อต หาเงินล้างหนี้ ‘15 ปี’ เกือบ 2 หมื่นล. เคหะขอครม.อนุมัติ

เมื่อวันที่ (6 มี.ค.66) ที่ผ่านมา นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า กคช.มีแผนจะนำโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ยังคงเหลือ 18,000-19,000 ยูนิต เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ขายยกล็อตให้กับเอกชนและหน่วยงานรัฐที่สนใจในราคายูนิตละ 400,000 แสนบาท รวมเป็นเงินประมาณ 7,600 ล้านบาท เพื่อปิดฉากบ้านเอื้ออาทรหลังกคช.ต้องแบกรับภาระหนี้เงินกู้มากว่า 15 ปี โดยวันที่ 9 มีนาคมจะเสนอเรื่องให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กคช.พิจารณาอนุมัติ หากได้รับการเห็นชอบจะเสนอครม.อนุมัติวันที่ 14 มีนาคมนี้ เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้เงินกู้โครงการบ้านเอื้ออาทรยังมีอยู่ประมาณ 19,000 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนพฤษภาคมนี้ประมาณ 2,000 ล้านบาทและในเดือสิงหาคมอีก 2,000 ล้านบาท

“หากไม่มีเอกชนหรือส่วนราชการสนใจ กคช.จะให้บริษัทเคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทลูกของ กคช.ใช้สิทธิเข้าไปซื้อยกล็อต เพื่อนำมาปรับปรุงใหม่ให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเช่า 1,500 บาทต่อเดือนและซื้อในราคาถูก ในราคาประมาณ 400,000-450,000 บาทต่อยูนิต หากเสนอโครงการเข้าครม. ไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ ต้องเสนอรัฐบาลชุดใหม่อนุมัติต่อไป กคช.ต้องหาเงินก้อนมาชำระหนี้ และต้องกู้เงินเพิ่ม”นายทวีพงษ์ กล่าว

‘Mekha V’ รับรางวัล ‘Microsoft Partner of the Year 2022’ ตอกย้ำการมุ่งสู่ธุรกิจแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีของกลุ่ม ปตท.

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) รับรางวัล Microsoft Partner of the Year 2022 จากนายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในโอกาสที่บริษัท เมฆา วี จำกัด (Mekha V) ซึ่งเป็น Flagship ด้าน AI, Robotics & Digitalization ของกลุ่ม ปตท. ได้รับรางวัลสาขา ‘Intelligent Cloud กลุ่มธุรกิจภาครัฐ ภาคการศึกษา และสาธารณสุข’ สะท้อนความสำเร็จในการพัฒนาและเติมเต็มระบบนิเวศการใช้คลาวด์ (Cloud Ecosystem) ของกลุ่ม ปตท. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัล และสร้างโอกาสการเติบโตไปยังธุรกิจที่ไกลกว่าการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ควบคู่กับการพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลายบนดิจิทัลแพลตฟอร์มให้ตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ ๆ ตามทิศทางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจใหม่ของ ปตท.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top