Wednesday, 14 May 2025
ECONBIZ

'บิ๊กตู่' หนุนความร่วมมือ 'ไทย-ญี่ปุ่น' ต่อยอดการค้า การลงทุน 'ระดับท้องถิ่น-นิคมฯ'

(1 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ภายหลังกระทรวงอุตสาหกรรมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนบูรณาการการทำงานร่วมกัน ผลักดันความร่วมมือด้วยการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงนิคมอุตสาหกรรมเพื่อต่อยอดการค้าการลงทุนให้ไทยเป็นฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต

นายอนุชา กล่าวว่า การลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น จังหวัดอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมเส้นใยและสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และอุตสาหกรรมเกษตร และถือเป็นรัฐบาลท้องถิ่นแห่งที่ 23 ที่ได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นตัวแทนหลักในการประสานความร่วมมือในลักษณะพื้นที่ต่อพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของคู่ค้า

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 23 - 27 ม.ค. 66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 30 ม.ค - 3 ก.พ.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกฟื้นตัว จากจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นำเข้าน้ำมันดิบในเดือน พ.ย.65 รวมเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 21.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะจีนหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 และเปิดประเทศ โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) คาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนในปี 66 จะขยายตัวอยู่ที่ +4.8% จากปีก่อนหน้า

สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 85 - 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ด้านปัจจัยเคลื่อนย้ายเงินทุนคาดว่าจะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นหลังการประชุมนโยบายการเงิน Federal Open Market Committee (FOMC) ของสหรัฐฯ วันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ. 66 โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งละ 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.0% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ. 66 และวันที่ 15 - 16 มี.ค. 66 และจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวจนถึงปลายปี 66

จับตามาตรการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันสำเร็จรูปรัสเซียซึ่งขนส่งทางทะเล วันที่ 5 ก.พ. 66 โดยกลุ่มชาติมหาอำนาจ G7 (แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ) และสหภาพยุโรป (EU) เห็นพ้องกำหนดเพดานราคา Diesel ที่ 100-110 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (ปัจจุบันราคา Diesel รัสเซียอยู่ที่ 115-120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาตลาดยุโรปซึ่งอยู่ที่ประมาณ 125 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) ซึ่งมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลต่ออุปสงค์น้ำมันดิบ

‘เสี่ยเฮ้ง’ เผย ครม.เคาะค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ หนุนแรงงานรับค่าจ้างเหมาะสม - เป็นธรรม

(31 ม.ค. 66) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (31 มกราคม 2566) เห็นชอบประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ สำหรับแรงงาน 3 กลุ่มอาชีพ 17 สาขา เพื่อส่งเสริมให้แรงงานที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในแต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงาน

นายสุชาติ ชมกลิ่น กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับแรงงาน 3 กลุ่มอาชีพ 17 สาขา ได้แก่ 

>>กลุ่มช่างอุตสาหการ ประกอบด้วย 
-ช่างระบบส่งถ่ายกำลัง ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 495 บาท 
-ช่างระบบปั๊มและวาล์ว ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 515 
-ช่างประกอบโครงสร้างเหล็ก ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 500 
-ช่างปรับ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 500 บาท 
-ผู้ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก - แม็ก ด้วยหุ่นยนต์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 520 บาท 
-ช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ระดับ 1 อัตราค่าจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 545 บาท ระดับ 2 ไม่ต่ำกว่าวันละ 635 บาท และระดับ 3 ไม่ต่ำกว่าวันละ 715 บาท

'แกร็บ' ชี้ไทยติดท็อป 3 ประเทศยอดนิยมในภูมิภาค เผยผู้ใช้บริการต่างชาติเรียกรถพุ่ง 45%

แกร็บ ประเทศไทย ชี้ตลาดท่องเที่ยวในประเทศไทยฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3/2565 ดันยอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตขึ้น 45% พร้อมเผยอินไซต์นักท่องเที่ยวจากผลสำรวจของผู้ใช้บริการจาก 6 ประเทศในภูมิภาค โหวตไทยติด 1 ใน 3 ประเทศที่อยากไปมากที่สุด

(31 ม.ค. 66) นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า การท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยภายหลังจากการประกาศผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และมีการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบ เราเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกของตลาดท่องเที่ยวผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทยอยเดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ของปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมตลอดทั้งปีที่ผ่านมาสูงกว่าเป้าหมายที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้ใช้บริการเรียกรถของแกร็บในกลุ่มชาวต่างชาติที่มีอัตราการเติบโตสูงถึง 45% (เปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้บริการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 กับไตรมาสก่อนหน้า) โดย 5 อันดับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันของแกร็บมากที่สุดในปีที่ผ่านมา คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

“ในฐานะแพลตฟอร์มผู้ให้บริการเรียกรถสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก แกร็บมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย ด้วยการนำเสนอบริการการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัยและมีมาตรฐานเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ 3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันของแกร็บ คือ 1) ตอบโจทย์ด้านความสะดวกสบาย โดยนักท่องเที่ยวสามารถเรียกใช้บริการได้ง่ายและสะดวกผ่านสมาร์ทโฟน เพียงเลือกจุดหมายปลายทางที่ต้องการก็มีพาร์ทเนอร์คนขับมาให้บริการถึงที่ ทั้งยังมีฟีเจอร์แชตและแปลภาษาที่ช่วยในการสื่อสารกับพาร์ทเนอร์คนขับ 2) อุ่นใจในมาตรฐานด้านความปลอดภัย ทั้งเทคโนโลยีและมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ที่มาพร้อมระบบคัดกรองพาร์ทเนอร์คนขับที่เข้มข้น อาทิ การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้าก่อนให้บริการทุกครั้ง หรือการตรวจประวัติอาชญากรรมย้อนหลังอย่างน้อย 7 ปี และ 3) มั่นใจในราคาที่โปร่งใส ด้วยระบบแสดงค่าโดยสารล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนเรียกรถ ซึ่งช่วยประกอบการตัดสินใจและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องการพกพาเงินสด ด้วยช่องทางการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย” นายวรฉัตร กล่าวเสริม

นอกจากนี้ แกร็บ ยังได้เผยเทรนด์ด้านการท่องเที่ยวที่น่าสนใจจากผลการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการแกร็บจำนวน 10,046 รายจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมถึงไทย ดังนี้

'โซนี่’ ย้ายสายการผลิตกล้องถ่ายรูปจากจีนมาไทย สำหรับขายในตลาด ‘สหรัฐฯ-ยุโรป-ญี่ปุ่น’

(29 ม.ค.66) เว็บไซต์ นสพ. Nikkei Asian Review ของญี่ปุ่น เสนอข่าว Sony separates production of cameras for China and non-China markets ระบุว่า โซนี่ บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ตัดสินใจแยกสายการผลิตกล้องถ่ายรูปสำหรับจำหน่ายในตลาดสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป และประเทศญี่ปุ่น ย้ายออกจากจีนมายังประเทศไทย เพื่อปกป้องระบบห่วงโซ่อุปทานโดยการลดการพึ่งพาจีน โดยโรงงานโซนี่ที่ประเทศจีนจะผลิตกล้องสำหรับจำหน่ายในตลาดจีน

ในปัจจุบัน กล้องของโซนี่ถูกส่งออกจากโรงงานในจีนและไทย ไซต์ดังกล่าวจะคงไว้ซึ่งโรงงานผลิตบางส่วนเพื่อนำกลับมาออนไลน์ในกรณีฉุกเฉิน ทั้งนี้ นับตั้งแต่เริ่มเกิดสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ โซนี่ได้ย้ายสายการผลิตกล้องถ่ายรูปสำหรับตลาดสหรัฐฯ เป็นแห่งแรก ต่อมาจึงเป็นการย้ายสายการผลิตสำหรับตลาดญี่ปุ่นและยุโรปในช่วงปลายปี 2565

รายงานของยูโรมอนิเตอร์ (Euromonitor) บริษัทวิจัยตลาดข้ามชาติซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ พบว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมา กล้องถ่ายรูปแบบมิเรอร์เลสของโซนี่ ซีรีส์อัลฟา ขายไปได้ถึง 2.11 ล้านตัว แต่ในจำนวนนี้มาจากตลาดจีนเพียง 1.5 แสนตัว ส่วนที่เหลืออีกราวร้อยละ 90 เป็นตลาดอื่น ๆ นั่นหมายความว่าสายการผลิตกล้องของโซนี่ส่วนใหญ่ย้ายจากจีนไปไทยแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางโซนี่ได้ชี้แจงว่า ยังให้ความสำคัญกับตลาดจีนและยังไม่มีแนวคิดเรื่องการออกจากตลาดดังกล่าว นอกจากนั้น โรงงานของโซนี่ในจีน จะยังคงผลิตสินค้าอื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอเกม และเลนส์กล้องถ่ายรูป สำหรับส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม คนว่างงานลดลง 9.5 หมื่นราย สะท้อน!! ศก.กำลังฟื้น ส่งผลการจ้างงานเพิ่มขึ้น 

(29 ม.ค.66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้ความสำคัญกับการติดตามการมีงานทำของประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าสถานการณ์ได้กลับเข้าใกล้ภาวะปกติหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยข้อมูลล่าสุด ณ เดือน พ.ย. 65 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้รายงานให้เห็นภาวะมีงานทำและการว่างที่ดีขึ้นต่อเนื่องต่อเนื่อง

“นายกรัฐมนตรีพอใจกับสถานการณ์การมีงานทำของประชาชนในภาพรวม ที่ข้อมูลล่าสุด ณ เดือนพ.ย. 65 พบว่าประชาชนมีงานทำ 39.82 ล้านคน การว่างงานที่ร้อยละ 1.2 ถือว่าใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 ในปี 2562 ที่ร้อยละ 0.9 และมั่นใจว่าเศรษฐกิจที่กำลังดีขึ้นโดยเฉพาะจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจะส่งผลบวกต่อการมีงานทำของไทยมากขึ้นอีก โดยนายกรัฐมนตรีขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการผลักดันการยกระดับขีดความสามารถของคนไทยเพื่อนำไปสู่การได้ค่าจ้างและรายได้ที่สูงขึ้นตามความสามารถ” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

นักลงทุนต่างชาติพร้อมย้ายฐานกลับมาลงทุนไทย หลังปัจจัยบวกเอื้อสูง แซงหน้าประเทศเพื่อนบ้าน

นายเอียน แพสโค ประธานกรรมการบริหาร แกรนท์ ธอนตัน ประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจในฐานะบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการอย่างมืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศไทย ได้เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในประเทศไทยครึ่งหลังปี 2565 โดยเป็นการสำรวจธุรกิจขนาดกลางทั่วโลก พบว่า...

ธุรกิจไทยเป็นผู้นำของโลกด้านสถานภาพทางธุรกิจ และเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ที่สภาพธุรกิจของประเทศไทย มีปัจจัยบวกแซงหน้าประเทศเพื่อนบ้าน ที่เป็นคู่แข่งในกลุ่มที่เป็นฐานการลงทุน เช่น เวียดนาม, สิงคโปร์ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจที่เคยไปลงทุนในประเทศเหล่านั้น ย้ายกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

‘นักท่องเที่ยวจีน’ หวนเยือน ‘ไทย’ จุดประกายความหวังท่องเที่ยวคึกคัก

กรุงเทพฯ, 26 ม.ค. (ซินหัว) — หลังจากเผชิญภาวะหยุดชะงักนาน 3 ปี ไทยพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนกลับสู่หาดทรายสีทอง วัดวาอารามงามงด และศูนย์การค้าสุดหรูอีกครั้ง โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจีนที่หลั่งไหลเข้าประเทศจะช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

หลิวหลิงหลิง นักท่องเที่ยวจากนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน ซึ่งวางแผนใช้เวลาช่วงวันหยุดตรุษจีนในไทย กล่าวว่าการเดินทางครั้งนี้ถือเป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกของครอบครัวตั้งแต่มีการระบาดใหญ่ โดยทุกคนตื่นเต้นและมีความสุขมาก รวมทั้งรู้สึกได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นในไทยด้วย

หลิวมีแผนเดินทางไปภาคใต้ของไทยพร้อมกับครอบครัวเพื่อพักที่รีสอร์ตริมทะเล หลังจากใช้เวลาในกรุงเทพฯ 2-3 วัน โดยเธอเป็นหนึ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เลือกไทยเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรก นับตั้งแต่ยุทธศาสตร์การรับมือโรคโควิด-19 ฉบับปรับปรุงของจีนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 ม.ค.

เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สองหลังจากการปรับยุทธศาสตร์ของจีน อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย พร้อมเจ้าหน้าที่อาวุโสคนอื่น ๆ ร่วมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนกลุ่มแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยดอกไม้และของขวัญ

บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่าการจัดงานระดับสูงนี้สะท้อนความสำคัญที่ไทยมีต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนกลับสู่ประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกัน บรรยากาศช่วงเทศกาลตรุษจีนแผ่อบอวลทั่วย่านใจกลางกรุงเทพฯ โดยห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ พร้อมใจประดับประดาสิ่งตกแต่งกลิ่นอายเทศกาลตรุษจีน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนที่หลั่งไหลเข้าไทยในช่วงวันหยุด 'สัปดาห์ทอง' (Golden Week) ครั้งแรก หลังจากจีนปรับมาตรการรับมือโรคโควิด-19

ถนนเยาวราชความยาว 200 เมตร ถูกประดับประดาด้วยแสงสีและโคมไฟหลายรูปแบบ เพื่อเฉลิมฉลองวันตรุษจีนซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 22 ม.ค. และเป็นวันแรกของปีเถาะหรือปีกระต่าย ซึ่งณัฐพร เชฟร้านอาหารบนถนนเยาวราช เชื่อว่าจะเป็นปีที่เต็มไปด้วยความคึกคักและเจริญรุ่งเรือง

ณัฐพรบอกเล่าว่าทางร้านกักตุนวัตถุดิบอาหารสำหรับช่วงเทศกาลตรุษจีนแล้ว ซึ่งมักเป็นเวลาที่ดึงดูดลูกค้าต่างชาติจำนวนมาก พร้อมเสริมว่านักท่องเที่ยวจีนถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของไทย พวกเขากลับมาแล้วในปีนี้ และผมคิดว่าธุรกิจของเราจะกลับมาดีเหมือนช่วงก่อนการระบาดใหญ่

ด้านกลุ่มสายการบิน โรงแรม ร้านอาหาร และผู้ประกอบการการท่องเที่ยวอื่น ๆ ต่างเฝ้ารอต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นในปีนี้เช่นกัน

วิชัย (Wichai Kinchong Choi) รองประธานอาวุโสของธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่าการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนได้เพิ่มความหวังต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในไทยและนานาประเทศทั่วโลก

ปิติ ดิษยทัต เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าภาคการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวรวดเร็วขึ้นเพราะการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ขณะเศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเยือนประเทศระหว่าง 7-10 ล้านคนในปี 2023 โดยแบ่งเป็น 300,000 คนในช่วงไตรมาสแรก

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ปี 65 ยอดจดทะเบียนธุรกิจพุ่ง 7.6 แสนราย สะท้อนนักลงทุนเชื่อมั่น - เกิดการจ้างงานในระยะยาว

(27 ม.ค. 66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้รับทราบข้อมูลด้านการลงทุนที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยยอดธุรกิจตั้งใหม่ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุน การออกบัตรส่งเสริมที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ออกให้แก่นักลงทุนไทยและต่างชาติตลอดปี 2565 ที่เพิ่มขึ้นมากเป็นสัญญาณชี้การลงทุนใหม่ในระยะต่อไป ที่จะนำไปสู่การจ้างงานและการมีงานทำของประชาชนในระยะยาว

“นายกรัฐมนตรีพอใจกับยอดธุรกิจตั้งใหม่และการขอรับส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งการลงทุนใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะนำไปสู่การจ้างงาน การมีรายได้และกำลังการใช้จ่ายของประชาชนในระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายที่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลให้ความสำคัญ” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

‘นิพนธ์’ ลุยยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหาร มอบทุนส่งเสริม 14 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคลังกาสุกะ

‘เฉลิมชัย’ มอบ ‘นิพนธ์’ เดินหน้ายุทธศาสตร์ ทำชายแดนใต้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหาร มอบทุนส่งเสริม 14 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคลังกาสุกะ ห้าจังหวัดชายแดนใต้

เมื่อวานนี้ (26 ม.ค. 66) นายนิพนธ์ บุญญามณี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้รับมอบหมายจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญากู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส พร้อมทั้งมอบป้ายสนับสนุนเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ให้แก่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส จำนวน 14 กลุ่ม  และมอบนโยบายการขับเคลื่อน โครงการเมืองปศุสัตว์ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รองผวจ. ปัตตานี นายอำเภอกะพ้อ หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 14 กลุ่ม และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ณ สนามฟุตบอลตำบลปล่องหอย หมู่ที่ 5 ตำบลปล่องหอย อำเภอกะพ้อจังหวัดปัตตานี

โดยที่กองบริหารกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พิจารณาอนุมัติ สัญญายืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรเลี้ยงโคให้กับวิสาหกิจชุมชนจำนวน 14 กลุ่ม 14 โครงการ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการต่อยอดอาชีพ การเลี้ยงโคเนื้อ และยกระดับสินค้าโคเนื้อให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากระดับชุมชน นำไปสู่การพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้ออย่างยั่งยืน รวมวงเงินทั้งสิ้น 54,149,600 บาทประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี จำนวน 13 กลุ่ม 13 โครงการ วงเงิน 50,538300 บาท 

และในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสจำนวน 1 กลุ่ม 1 โครงการ วงเงิน 3,611,300 บาท โดยนายนิพนธ์ บุญญามณี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญากู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส และมอบป้ายสนับสนุนเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้แก่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาสจำนวน 14 กลุ่ม โดยมีตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคลังกาสุกะ มารับมอบจากรองปลัดกระทรวงเกษตรฯ 

นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมจะร่วมขับเคลื่อนการทำงานให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม ผ่านโครงการสำคัญในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร เช่นโครงการเมืองปศุสัตว์ชายแดนภาคใต้ โดยกรมปศุสัตว์และหน่วยงานในสังกัดได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ และการพัฒนางานด้านการเกษตร ได้มีการมอบหมายหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การพัฒนาส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน 'ฮาลาล' ในพื้นที่ชายแดนใต้ การพัฒนาแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

‘บิ๊กตู่’ เร่งเดินหน้าโครงการสนามบินอู่ตะเภา ยัน เริ่มก่อสร้างต้นปี 66 ช่วยฟื้นฟูอุตฯการบิน

‘บิ๊กตู่’ เร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เริ่มก่อสร้างต้นปี 66 นี้แน่นอน คาดสร้างผลตอบแทน 3.05 แสนล้าน จ้างงานเพิ่ม 15,600 ตำแหน่ง/ปี ใน 5 ปีแรก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโต ฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน 

(27 ม.ค. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) ให้ความสำคัญเดินหน้าปฏิรูปประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนในทุกมิติ โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญเร่งด่วน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ จึงเร่งผลักดันโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักสำคัญของ EEC เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation เป็นศูนย์กลางของ 'มหานครการบินภาคตะวันออก' รวมถึงเป็น 'เมืองท่าที่สำคัญ' เชื่อมโยงขยายกรุงเทพไปทางตะวันออก ทั้งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,500 ไร่ ตั้งอยู่ในต.พลา อ.บ้านฉาง จังหวัดระยอง เป็นโครงการในรูปแบบ PPP มีมูลค่าการมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 290,000 ล้านบาท ล่าสุดเมื่อวันพุธที่ 28 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่ประชุมกพอ.ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน ได้รับทราบและพิจารณาความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก หลังจากเอกชนคู่สัญญา และกองทัพเรือ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงการใช้สนามบินอู่ตะเภาร่วมกัน (Joint Use Agreement) และรายงาน EHIA ได้รับการอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรี โดย สกพอ. ได้แจ้งให้เอกชนรับสิทธิตามสัญญาแล้ว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 จากนี้ สกพอ. จะแจ้งให้เอกชนเริ่มงานก่อสร้างได้ในช่วงต้นปี 2566  หลังจากเงื่อนไขบังคับก่อนตามสัญญาร่วมลงทุนครบถ้วน

‘ศักดิ์สยาม’ หารือร่วม ‘JETRO - หอการค้าญี่ปุ่น’ ยัน!! ไทยมีแผนพัฒนา ศก. หลังโควิด-19 คลี่คลาย

‘ศักดิ์สยาม’ หารือร่วม ‘JETRO - หอการค้าญี่ปุ่น’ ถกแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทย หวังการท่องเที่ยวปี 66 ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย พร้อมอัปเดตโปรเจกต์คมนาคม - ขับเคลื่อน EV - เปิดประเทศ

(26 ม.ค.66) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2566 นายคุโรดะ จุน (Mr.Kuroda Jun) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JETRO Bangkok) และนายคาโต้ ทาเคโอะ (Mr.Kato Takeo) ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCCB) เข้าพบ เพื่อหารือแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย

ทั้งนี้ นายคุโรดะ จุน ได้รายงานในที่ประชุมถึงผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 (ก.ค.-ธ.ค. 2565) โดยแนวโน้มเศรษฐกิจจากทัศนะของผู้ประกอบการญี่ปุ่นยังเป็นไปในทิศทางบวก และดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ อาทิ ราคาต้นทุนวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่สูงขึ้น รวมถึงราคาพลังงานที่ปรับราคาสูงขึ้น และอุปสงค์ที่มีต่อการส่งออกลดลง แต่ก็หวังว่าการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย จะส่งผลดีกับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยในปี 2566

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ได้กล่าวขอบคุณข้อเสนอแนะ และยืนยันเป้าหมายของรัฐบาลไทย ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย โดยกระทรวงคมนาคมยังคงดำเนินภารกิจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง สนับสนุนมาตรการส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในภาคการขนส่งสาธารณะ มุ่งเน้นการดำเนินการด้านความเป็นกลางด้านคาร์บอน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามขอบเขตของกิจกรรมทางธุรกิจ

ทั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างการดำเนินโครงการถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) ที่จะเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 4 ปี และการสานต่อการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและชานเมือง พร้อมทั้งแจ้งความคืบหน้าโครงการ Landbridge โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดทำ Concept Design เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ก่อนการประชาสัมพันธ์โครงการฯ (Road Show) ทั้งในและต่างประเทศเพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุนทั่วโลก

ฟรุ้ทบอร์ด ไฟเขียวแก้ปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ เล็งใช้เส้นทาง ‘รถไฟจีน-ลาว’ รองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 66

ฟรุ้ทบอร์ด เห็นชอบ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ ตามนโยบายของรัฐมนตรีเกษตรพร้อมจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการตู้และขบวนรถไฟจีน-ลาว รองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 2566 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) เปิดเผยภายหลังการประชุมวันนี้ว่า ที่ประชุมได้รับทราบ

1.) รายงานความก้าวหน้าโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2564/2565 รอบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี

2.) รายงานความก้าวหน้าโครงการพัฒนาลำไยอย่างยั่งยืน ปี 2566 – 2568 จากการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1/2565 มีมติมอบกรมส่งเสริมการเกษตรฝ่ายเลขาฯ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแนวทางหรือโครงการนำร่องการแก้ไขปัญหาผลผลิตลำไยอย่างยั่งยืนระยะยาว โดยการปรับโครงสร้างการผลิตลำไยในฤดู และนอกฤดู ให้เท่ากับร้อยละ 60 : 40 ภายในปี 2567 เพื่อให้ลำไยมีการกระจายการผลิตได้ทั้งปี ผลผลิตในฤดูไม่ซ้อนทับกันมาก เป็นทางเลือกให้แก่ตลาดได้ทุกฤดูกาล/ทุกเทศกาล ที่ต้องการลำไย โดยในฤดูกาลปกติจะลดภาวะ over supply ลงได้ร้อยละ 10 แต่ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรไม่ลดลง

3.) รายงานสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2566 โดยคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

4.) รายงานผลการประชุมคณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี ครั้งที่ 1/2565
โดยใช้แนวทางการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือ PPP) 

5.) รายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า 

6.) รายงานสรุปผลการประชุมเฉพาะกิจการเตรียมความพร้อมในการใช้เส้นทางรถไฟจีน – ลาว ซึ่งเป็นโอกาสของฝ่ายไทยและขยายเส้นทางการขนส่งทางรางเพื่อเพิ่มศักยภาพการนำเข้า - ส่งออกสินค้าไปจีนและผ่านจีนไปยังสหภาพยุโรปผ่านเส้นทางตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง มีการดำเนินการ ดังนี้ (1) การจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการตู้และขบวนรถไฟ มีหน้าที่ในการรับจองตู้และขบวนรถไฟ เพื่อรองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 2566 โดยความร่วมมือภาคีเครือข่ายภาคเอกชน โดยประสานงานกับสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (2) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟ ไทย - จีน -ลาว รวมไปถึงการขยายเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านจีนไปสู่ภูมิภาคอื่น (3) เร่งรัดการเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนสำหรับระบบตรวจสอบ รวมไปถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และโครงการพื้นฐานของด่านส่งออกที่สำคัญ เช่น ด่านมุกดาหาร ด่านนครพนม และด่านหนองคาย (4) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การขนส่งสินค้าเกษตรจากประเทศไทยสร้างการรับรู้ ข้อปฏิบัติ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟไทย - จีน - ลาว ในระดับพื้นที่ควบคู่ไปด้วย

'รมว.สุชาติ' เยี่ยมการฝึกบุคลากรดูแลผู้สูงอายุ ป้อนสถานประกอบการ รองรับสังคมผู้สูงอายุ

(26 ม.ค. 66) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเยี่ยมชมการฝึกเตรียมเข้าทำงาน หลักสูตร การดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง โดยมี ดร.อุดม สุวรรณพิมพ์ ผู้ช่วยคณบดี คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเชียงราย และผู้เข้ารับการฝึกอบรม ร่วมต้อนรับ ณ ศูนย์ฝึกอบรมวิสาหกิจชุมชนอำเภอแม่จัน (ป่าตึง) เชียงราย หลั่นล้าอีโคโนมี ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย

นายสุชาติ กล่าวว่า ในวันนี้ผมและคณะได้ลงพื้นที่มายังจังหวัดเชียงราย เพื่อเยี่ยมชมการฝึกเตรียมเข้าทำงาน หลักสูตร การดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานส่งเสริมคนไทยมีงานทำ เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานให้สามารถนำทักษะไปประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน จึงได้ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 20 เชียงราย เป็นผู้ดำเนินการฝึกตามโครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการสร้างทักษะฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาบุคลากรหรือแรงงานที่ให้บริการด้านการดูแลผู้สูงอายุให้มีทักษะเพิ่มขึ้นเตรียมพร้อมก่อนเข้าทำงาน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทยที่จะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และหลายประเทศที่มีลักษณะของโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้ตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการผู้มีความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น 

ด้าน นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า โครงการดังกล่าว สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 20 เชียงราย ได้บูรณาการกับโรงเรียนนวัตกรรมบริหารจัดการสถานพยาบาล คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งได้รับการรับรองให้ดำเนินการฝึกอบรมนอกสถานที่จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) มีผู้รับการฝึกซึ่งเป็นสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนอำเภอแม่จัน (ป่าตึง) เชียงราย หลั่นล้าอีโคโนมี จำนวน 26 คน ฝึกระหว่างวันที่ 16 ม.ค.65 - 8 พ.ค. 66

'บิ๊กตู่' จัดงานเฉลิมฉลอง 'ปีแห่งนวัตกรรมไทย-ฝรั่งเศสปี 2566' ตอกย้ำ!! ความร่วมมือ 'นวัตกรรมไทย-ฝรั่งเศส' เป็นรูปธรรม

(26 ม.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยินดีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและฝรั่งเศสขับเคลื่อนความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างกันอย่างต่อเนื่องจนเป็นรูปธรรม ผ่านการจัดงานเฉลิมฉลอง ‘ปีแห่งนวัตกรรมไทย - ฝรั่งเศสปี 2566 (2023 Thailand - France Year of Innovation)’ ในวันที่ 26 มกราคม 2566 ณ สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานคร

นายอนุชา กล่าวว่า ไทยและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมายาวนาน และมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในหลายมิติ ซึ่งความร่วมมือด้านนวัตกรรมก็เป็นอีกมิติที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยทั้งสองฝ่ายได้กำหนดให้ปี 2566 เป็นปีแห่งนวัตกรรมไทย - ฝรั่งเศส เป็นการขับเคลื่อนที่ต่อเนื่องมาจากการเดินทางเยือนไทยของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง เมื่อเดือนพ.ย.2565 ที่ผ่านมา โดยสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องของไทยและฝรั่งเศส ได้ประสานความร่วมมือกัน และมุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกันในมุมมองที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันของทั้งสองประเทศ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top